Wednesday, September 30, 2015

Partner Visa กับการจดทะเบียนความสัมพันธ์ register of relationship


วันก่อนได้เขียนเรื่องของ Partner Visa ว่าจะจดทะเบียนสมรสดีหรือไม่จดทะเบียนสมรสดี เดียววันนี้เราต่อด้วยเรื่องของการจดทะเบียนความสัมพันธ์ register of relationship กันนะครับ

ไม่ว่าจะเป็นคู่รักเพศเดียวกันหรือคู่รักต่างเพศก็สามารถจดทะเบียนความสัมพันธ์ register of relationship ได้ทั้งนั้น เราไม่ขอเปรียบเทียบเรื่องข้อดีและข้อเสียของการจดทะเบียนความสัมพันธ์ register of relationship นะครับ เพราะได้เขียนเอาไว้แล้วก่อนหน้านี้ แต่ละรัฐก็จะมีความแตกต่างกันออกไป

การจดทะเบียนความสัมพันธ์ register of relationship เอกสารที่ต้องนำไปก็จะมีแค่ ID, พวก passport หรือ driver license อะไรต่างๆก็ว่าไป ก็แค่นั้นเอง ไม่ต้องเอาใบโสดหรือใบหย่าไป ที่ออสเตรเลียไม่มีการใช้ใบโสดนะครับ ไม่เหมือนเมืองไทย

เราก็แค่กรอกใบสมัครและจ่ายค่าสมัครก็แค่นั้นเอง

การจดทะเบียนความสัมพันธ์ register of relationship ไม่ได้มีทุกรัฐนะครับ และรัฐที่มีการจดทะเบียนความสัมพันธ์ register of relationship ก็จะมี requirement ที่แตกต่างกันออกไป เดี๋ยวเรามาดูข้อมูลของแต่ละรัฐกันครับ

** ราคาของแต่ละรัฐไม่เหมือนกัน และอาจมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ๆ  **

NSW:

  • ยื่นทางไปรษณีย์ได้
  • ต้องเป็นโสดด้วยกันทั้งคู่
  • cooling off period 28 วัน ถ้าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเปลี่ยนใจ
  • แค่คนใดคนหนึ่งพักอยู่ที่ NSW ก็เป็นพอ
  • Website: http://www.bdm.nsw.gov.au/ 

ACT:

VIC:
  • ยื่นทางไปรษณีย์ได้
  • ต้องเป็นโสดด้วยกันทั้งคู่
  • cooling off period 28 วัน ถ้าหากฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งเปลี่ยนใจ
  • ต้องอยู่ที่ VIC อย่างต่ำ 12 เดือน, หาบิล หาหลักฐานอะไรก็ได้ไปโชว์
  • ต้องอยู่ที่ VIC ทั้ง 2 คน
  • Website: http://www.bdm.vic.gov.au/ 

QLD:

TAS:
  • ยื่นทางไปรษณีย์ได้
  • ไม่ได้บอกว่าต้องอยู่ที่ TAS หรือเปล่า
  • Website: http://www.justice.tas.gov.au/bdm 

Sunday, September 27, 2015

Partner Visa จะจดทะเบียนสมรสหรือไม่จดดีนะ


Partner Visa ซึ่งแต่เดิมเรียกว่า Spouse Visa เรารู้สึกเห็นด้วยอย่างยิ่งที่รัฐบาลได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก Spouse Visa มาเป็น Partner Visa Spouse Visa หมายถึงวีซ่าสำหรับคู่ที่แต่งงานกัน เพราะ Spouse แปลว่าสามีภรรยาที่แต่งงานกันถูกต้องตามกฎหมาย แต่ Partner แปลว่า คู่รัก คู่คิด ที่ใช้ชีวิตร่วมกัน ซึ่งดูๆแล้ว Partner Visa เป็นอะไรที่ครอบคลุมได้เยอะกว่า ไม่ได้เฉพาะเจาะจงเฉพาะคู่ที่แต่งงานกันอีกต่อไป ดูๆแล้วมันเหมาะ เข้ากับยุคและสมัยปัจจุบัน เพราะมันหมดสมัยแล้วที่จะคาดหวังให้คน 2 คนแต่งงานกัน

การที่จะทำ Partner Visa ถ้าคนใหนคิดจะจดทะเบียนสมรสก็ OK จดทะเบียนสมรสไป ก็ไม่มีอะไรวุ่นวาย จดทะเบียนสมรสเสร็จก็ทำเรื่องขอ PR ได้เลย

แต่..... ก็อยากให้ลองมอง การจดทะเบียนความสัมพันธ์ หรือ register of relationship กันดูบ้าง เราก็เคยเกริ่นๆเรื่อง register of relationship  เอาไว้นานแล้วรอบหนึ่ง แต่คราวนี้ขออธิบายข้อมูลแบบเจาะลึกไปเลยก็แล้วกัน

การจดทะเบียนความสัมพันธ์ก็เหมือนว่า เราจดทะเบียนเป็นแฟนกัน ซึ่งก็สามารถใช้ได้ทั้งคู่รักที่เป็นเพศเดียวกัน หรือคู่รักต่างเพศ การจดทะเบียนความสัมพันธ์ของแต่ละรัฐก็มีความแตกต่างกันออกไป และก็มีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไปด้วย แต่เพื่อความง่าย เราขอเรียกว่า register of relationship ตามรัฐ NSW ไปเลยก็แล้วกัน ง่ายดี

คู่รักถ้าหากยังไม่พร้อมที่จะจดทะเบียนสมรส การจดทะเบียนความสัมพันธ์ก็เป็นอีกทางออกที่ดีที่สุด นอกเสียจากว่าจะไม่จดอะไรเลย อยู่กันไปเรื่อยๆเป็น de facto relationship ก็ได้

เราอยู่ที่ออสเตรเลียมานาน นานพอที่เห็นชีวิตการแต่งงานของคนรอบข้าง โดยเฉพาะเราทำงานทางด้านกฎหมายด้วยแล้ว เห็นชีวิตคู่ของแต่ละคนที่เข้ามาปรึกษาแล้วแทบทุกรูปแบบ ในความคิดเห็นส่วนตัวแล้วคิดว่า ถ้าหากคู่รักที่รักกันยังไม่มากพอถึงขั้นที่จะตายแทนกันได้หนะ ก็อย่าแต่งเลยดีกว่า มาลองศึกษาการจดทะเบียนความสัมพันธ์กันดูว่า มันก็เป็นอะไรที่คล้ายๆการจดทะเบียนสมรสนั่นแหละ

แต่ถ้าหากใครรักกันหวานชื่น ดูดดื่มอุรา คิดว่าคงได้ถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชรร่วมกัน รักกันชั่วฟ้าดินสลาย ก็แต่งเลยก็ได้นะครับ เราก็ขอแสดงความยินดีด้วย 

ถ้าคิดจะแต่งงานกับใครสักคนก็ต้องคิดให้ดีๆ อย่าแต่งเพราะความมักง่าย ที่คิดว่าอยากได้ ใบกระดาษสักใบเพื่อมาทำวีซ่า เพื่อมาขอ PR เพื่อที่จะได้มาอยู่ที่ออสเตรเลีย หนีความลำบาก หนีความยากจน ขอบอกได้เลยว่าชีวิตที่ออสเตรเลียไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลายเสมอไป...

เดี๋ยวเรามาลองเปรียบเทียบข้อดีและข้อเสียของการจดทะเบียนความสัมพันธ์และการจดทะเบียนสมรสกันนะครับ


การจดทะเบียนสมรส
ข้อดี:
  • ได้เรียกอีกฝ่ายหนึ่งว่า สามี หรือ ภรรยา ได้อย่างเต็มปากเต็มคำ
  • เป็นการทำอะไรที่ถูกต้องตามประเพณี ที่พ่อแม่ต้องการ

ข้อเสีย:
  • ที่ออสเตรเลีย ถ้าเลิกกันแล้ว กว่าจะหย่ากันได้ก็ต้องแยกกันอยู่อย่างต่ำ 12 เดือนก่อน ช่วง 12 เดือนที่แยกกันอยู่ (แต่ยังไม่ได้หย่า) จะทำอะไรก็ลำบาก ติดๆขัดๆไปหมด เพราะยังไม่เป็นอิสระต่อกัน
  • หลังจากที่แยกกันอยู่ได้ 12 เดือนแล้ว ถ้าหากทั้ง 2 ฝ่ายเต็มใจที่จะจดทะเบียนหย่า ทุกอย่างก็จบลงด้วยดี แต่ถ้าอีกฝ่ายไม่อยากหย่า หรือตกลงกันไม่ได้ ไม่ยอมเซ็นเอกสารอะไรสักที สุดท้ายก็ต้องฟ้องหย่า และการฟ้องหย่าคนที่ได้เงินเยอะที่สุดก็คือทนาย และ case บาง case ก็ยืดเยื้อกันเป็นปีก็มี



การจดทะเบียนความสัมพันธ์
ข้อดี:
  • มีผลบังคับใช้เหมือนการจดทะเบียนสมรสทุกอย่าง
  • พร้อมเมื่อไหร่ที่จะจดทะเบียนสมรส ก็สามารถไปจดทะเบียนสมรสได้ ไม่มีปัญหาอะไร
  • ถ้าอยู่ด้วยกันไม่ได้ อยากจะเลิก ก็เก็บข้าวของย้ายออกกันได้เลย
  • ไม่ต้องทำเรื่องหย่า แค่คนใดคนหนึ่งทำเรื่องยกเลิกการจดทะเบียนความสัมพันธ์ กรอกฟอร์มยื่นเข้าไปที่หน่วยงานของรัฐ (เดี๋ยวมีเขียนต่อ) ก็สามารถยกเลิกการจดทะเบียนความสัมพันธ์ได้แล้ว

ข้อเสีย:
  • ก็คงเรียกอีกฝ่ายหนึ่งไม่ได้ว่าเป็น สามีหรือภรรยา
  • ประเพณีสมัยเก่าๆอาจจะไม่ยอมรับ (ก็ได้มั๊ง)
นี่ก็เป็นข้อมูลนะครับ ไม่ได้ชี้แนะอะไร เพียงแต่ไม่อยากให้ใครรีบด่วนตัดสินใจอะไรลงไป 

ความรู้... เป็นสิ่งสำคัญนะครับ อย่าหยุดที่จะเรียนรู้ และขวนขวายหาความรู้กัน จะได้เป็นข้อมูลในการตัดสินใจ

Wednesday, September 23, 2015

หลักในการตอบคำถาม genuine relationship ของวีซ่าแต่งงาน


การขอ Partner Visa ไม่ว่าจะเป็น ตอนที่ขอรอบแรกได้ TR (Temporary Resident) หรือตอนที่ทำรอบที่ 2 เพื่อที่จะทำ PR หรือแม้แต่สำหรับคนที่ทำวีซ่าคู่มั่น Prospective Visa และก็ไม่ว่าจะทำเป็นแบบ offshore หรือ onshore และก็ไม่ว่าจะเป็นแบบเพศเดียวกัน หรือต่างเพศ และก็ไม่ว่าจะเป็นแบบแต่งงานหรือ de facto, มันจะ 5 คำถามเกี่ยวกับความสัมพันธ์คู่ ที่เราต้องตอบ

คำถามนี้ก็เพื่อจะเป็นการบ่งบอกว่า ความสัมพันธ์คู่ของเราเป็นความสัมพันธ์ที่แท้จริง เป็น genuine relationship ไม่ได้จ้างแต่งหรือสร้างละครตบตาอิมมิเกรชั่นเพื่อที่จะเอาวีซ่า 

ส่วนใครจะสร้างฉากรัก ฉากละครตบตาเก่งจนอิมมิเกรชั่นจับไม่ได้ ส่วนนั้นเราก็ไม่รู้และไม่ขอยุ่งด้วย

ใครที่คิดจะทำเรื่อง Partner Visa ก็แนะนำให้เตรียมคำตอบและข้อมูลตรงนี้ด้วยนะครับ อาจจะเตรียมเอง หรือให้ทนายหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์เตรียมให้ก็ว่ากันไป

1. Give details of the financial aspects of the relationship.

ให้อธิบายว่าเรา 2 คน ใช้จ่ายเงินด้วยกันยังไง ก็อาจจะมีบัญชีร่วมกันหรือไม่มีบัญชีร่วมกันก็ได้ ยุคนี้สมัยนี้เราคิดว่ามันหมดยุคที่คู่รัก คู่สามีภรรายาเค๊าเปิดบัญชีร่วมกันแล้วนะ ถ้าไม่มีบัญชีร่วมกันก็ไม่เป็นไรนะครับ ไม่ต้องปอดแหกฟังเพื่อนคนโน้นคนนี้พูดมากเกินไป ไม่มีบัญชีร่วมกัน ไม่ได้หมายความว่าคนเราไม่รักกัน ขอเพียงแต่ว่าเราสามารถอธิบายให้อิมมิเกรชั่นเข้าใจว่า เรา 2 คนมีการใช้จ่ายเงินกันยังไง ใครจ่ายอะไรในบ้าน อะไรประมาณนี้ 

สำหรับหลายๆคู่ก็อาจจะมีแบบว่าทำบัตรเครดิตให้กัน หรือทำประกันชีวิตให้กัน หรือให้อีกฝ่ายได้รับผลประโยชน์จาก super อะไรประมาณนี้ ก็ใช้ได้หมดนะครับ ไม่มีข้อจำกัด แต่ละ case ไม่เหมือนกัน 

case ของเราก็จะเป็นเอกลักษณ์ unique เฉพาะตัวของเรานะครับ ไม่มีอะไรถูกไม่มีอะไรผิด เพราะการดำเนินชีวิตของแต่ละคน แต่ละคู่รักไม่เหมือนกัน ดังนั้นไม่ต้องฟังคนอื่นให้มากนัก

2. Give details of the nature of the household.

ให้อธิบายว่าชีวิตภายในครอบครัวเรา ใครทำอะไร ยังไงมั่งในแต่ละวัน เราก็สามารถเขียนร่ายบรรยายมาเลยก็ได้ว่า ตื่นเช้ามาทำอะไรมั่ง ไปทำงานกี่โมง ไปกันยังไง หรือวันหยุดแต่ละอาทิตย์ทำอะไรกันมั่ง กลับบ้านกี่โมง 

หรือคนที่ไม่ได้ทำงาน ตื่นขึ้นมาแต่ละวันทำอะไรมั่ง ก็สาธยายมาก็แล้วกันนะครับ คือคนอ่าน อ่านแล้วต้องมองเห็นภาพ

เช่นเดียวกัน case ของเราก็จะเป็นเอกลักษณ์ unique เฉพาะตัวของเรานะครับ ไม่มีอะไรถูกไม่มีอะไรผิด เพราะการดำเนินชีวิตของแต่ละคน แต่ละคู่รักไม่เหมือนกัน ดังนั้นไม่ต้องฟังคนอื่นให้มากนัก 

3. Give details of the socials aspects of the relationship.

ให้อธิบายว่าเรา 2 คนออกงานสังสรรค์ ออกงานสังคมอะไรยังไงกันบ้าง ไปใหนมาใหนด้วยกันยังไง 

หลายๆคนคิดว่า การ "ออกงานสังคม" ต้องเป็นการออกไปงานการ์ลาดินเนอร์อะไรทำนองนั้นไม่ใช่นะครับ ไม่จำเป็น ขอให้เราแบบว่ามีการเปิดเผยหรือโชว์ตัวคู่รักของเราต่อสาธารณชนว่า เออ คนนี้นะเป็นคู่รักเรา สามี ภรรยา คู่หมั้น อะไรก็ว่าไป 

ก็อาจจะเป็นไป BBQ ด้วยกันกับเพื่อนๆ ไป camping กัน
หรือแม้แต่ไปโบสถ์ ไปวัดด้วยกันก็ได้นะครับ 

ก็เขียนอธิบายมา มีรูปประกอบด้วยยิ่งดีไปใหญ่เลย

เช่นเดียวกัน case ของเราก็จะเป็นเอกลักษณ์ unique เฉพาะตัวของเรานะครับ ไม่มีอะไรถูกไม่มีอะไรผิด เพราะการดำเนินชีวิตของแต่ละคน แต่ละคู่รักไม่เหมือนกัน ดังนั้นไม่ต้องฟังคนอื่นให้มากนัก 

4. Give details of the nature of the commitment the applicant and the sponsor have to teach other.

ให้อธิบายว่าเรา 2 คนมีความมุ่งมั่น รักกันจริง รักกันชั่วฟ้าดินสลาย ถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร

เราก็ต้องเขียนอธิบาย เอาแค่แบบย่อๆ ก็แนะนำให้ไปลอกเอามาจาก personal statement นะครับ จะได้ไม่ต้องเขียนหรือตอบหลายรอบ แต่ตอบคำถามแบบนี้ก็ต้องเอาแบบสั้นๆก็พอ เพราะคำตอบแบบยาว ชักแม่น้ำทั้ง 5 เราก็ทำไปแล้วในรูปแบบของ personal statement

ลักษณะการตอบคำถาม เราก็ควรออกมาประมาณว่า

ฉันรักเธอ
เธอรักฉัน
เรารักกัน
ซู่ซ่า....ซู่ซ่า

อะไรประมาณนี้ แต่ไม่ต้องมีเรื่องบนเตียงนะครับ ไม่จำเป็นต้องเอา x-rated

เช่นเดียวกัน case ของเราก็จะเป็นเอกลักษณ์ unique เฉพาะตัวของเรานะครับ ไม่มีอะไรถูกไม่มีอะไรผิด เพราะการดำเนินชีวิตของแต่ละคน แต่ละคู่รักไม่เหมือนกัน ดังนั้นไม่ต้องฟังคนอื่นให้มากนัก

5. Give details of the development of the relationship.

ให้อธิบายว่าเรารู้จักกันยังไง เจอกันยังไง รักกันได้ยังไง อะไรเป็นบ่อเกิดของความรัก ใครชอบใครก่อน เอาแค่แบบย่อๆนะครับ ก็แนะนำให้ไปลอกเอามาจาก personal statement นะครับ จะได้ไม่ต้องเขียนหรือตอบหลายรอบ

เช่นเดียวกัน case ของเราก็จะเป็นเอกลักษณ์ unique เฉพาะตัวของเรานะครับ ไม่มีอะไรถูกไม่มีอะไรผิด เพราะการดำเนินชีวิตของแต่ละคน แต่ละคู่รักไม่เหมือนกัน ดังนั้นไม่ต้องฟังคนอื่นให้มากนัก

ก็เตรียมตัวกันเอาไว้นะครับ 5 คำถามที่เราต้องตอบ ถ้าไม่อยากทำเองก็ต้องปล่อยให้เป็นหน้าที่ของทนายหรืออิมมิเกรเอเจนท์นะครับ

Saturday, September 19, 2015

หลักในการกรอกฟอร์ม 888 ของวีซ่าคู่รัก Partner Visa


ใหนๆก็เขียนเรื่อง personal statement ในการต่อวีซ่าแต่งงาน Partner Visa ไปแล้ว เดี๋ยวก็ขอต่อด้วย หลักในการตอบคำถาม ฟอร์ม 888 ไปด้วยเลยก็แล้วกันนะครับ

ฟอร์ม 888 นี้ก็ถือว่าเป็นฟอร์มขั้นเทพสำหรับคนที่ทำวีซ่าแต่งงาน เพราะฟอร์ม 888 เป็นฟอร์มสำหรับคู่รัก ไม่ว่าจะเป็นเพศเดียวกันหรือต่างเพศ ซึ่งจะต้องหาคนที่มาเป็นพยานรักของเค๊า จะหอบมาเป็น 10 คนเลยก็ได้ แต่อย่างต่ำต้องมี 2 คนขึ้นไป ถ้าไม่มีพยานก็ทำวีซ่าแต่งงานไม่ได้

ฟอร์ม 888 นี้มีอายุการใช้งานแค่ 60 วันนะครับ ถ้าเอกสารอย่างอื่นเรายังไม่พร้อม ก็เตรียมเอกสารอย่างอื่นก่อน พอใกล้ๆวันจะยื่นก็ค่อยให้พยานเซ็น และก็ต้องเซ็นต่อหน้า JP นะครับ

2 คนที่ว่านี้จะเป็นคนในครอบครัว เพื่อนหรือใครก็ได้ ขอให้ 2 คนนั้นเป็น PR หรือ ซิติเซ่นก็พอ ถ้ายื่นวีซ่าภายในประเทศออสเตรเลียนะ (onshore) แต่ถ้ายื่นวีซ่ามาจากข้างนอกประเทศออสเตรเลีย (offshore) พยาน 2 คนก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็น PR หรือซิติเซ่น และพยาน 2 คนนี้ก็ต้องรู้จักเราด้วย ต้องรู้จักทั้งคนที่ขอวีซ่าและคนที่สปอนเซอร์

ฟอร์ม 888 นี้ก็ได้มีการเปลี่ยนไปเปลี่ยนมาหลายรอบ แต่ก่อนก็อนุญาตให้คนที่เป็น PR หรือซิติเซ่นเป็นพยายาน แล้วมาช่วงหนึ่งคนที่สามารถเซ็นได้ต้องเป็นซิติเซ่นเท่านั้น PR เซ็นไม่ได้ แต่ตอนนี้ก็กลับมายืดหยุ่นให้สามารถเซ็นได้ทั้ง PR หรือซิติเซ่นอีกรอบแล้ว ซึ่งก็ไม่รู้ว่าต่อไปจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรอีกมั่งหรือเปล่า

หลักในการตอบคำถาม ฟอร์ม 888 ที่สำคัญๆก็จะอยู่ที่ข้อที่ 3 และข้อที่ 4 ข้อที่ 3 ก็จะประมาณว่าพยานรู้จักคู่รักยังไง เป็นคนในครอบครัว หรือเพื่อน หรือว่าเพื่อนร่วมงานอะไรก็ว่าไป ข้อมูลก็ไม่ต้องมากก็ได้ เพราะเป็นอะไรที่ตรงไปตรงมา

แต่ที่สำคัญที่สุดก็จะอยู่ข้อที่ 4 ที่พยานต้องอธิบายว่าความสัมพันธ์ของคู่รักนั้นมีคุณสมบัติที่สำคัญ 3 ประการคือ:

  • เป็นความสัมพันธ์ที่แท้จริง (genuine)
  • เป็นความสัมพันธ์ระยะยาว (long-term)
  • เป็นความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่อง (continuing)
เราเคยไป workshop และ seminar เรื่องวีซ่าแต่งงานมาก็มี case study ที่น่าสนใจก็คือพยานเขียนอะไรต่อมิอะไรเยอะแยะมากมายในฟอร์ม 888 แต่ไม่ได้กล่าวถึงคุณสมบัติของความสัมพันธ์ที่สำคัญ 3 ประการดังกล่าว และ case officer ก็ไม่ให้วีซ่าผ่านด้วยเหตุผลง่ายๆว่าพยานไม่ได้กล่าวถึงความสัมพันธ์ว่ามีคุณสมบัติของ 3 ประการดังที่ได้กล่าวมา

ดังนั้นก็สำคัญนะครับ ไม่ว่าจะเขียนอะไรไปตรงข้อ 4 ก็ต้อง make sure ว่าพยานเขียนบอกว่าความสัมพันธ์เรามีคุณสมบัติครบทั้ง 3 ประการ 

เคล็ดลับ แต่ตอนนี้คิดว่าคงไม่ลับแล้วหละ พยานจะเขียนอะไรก็ตามแต่ ประโยคสุดท้ายก็ต้องลงท้ายเป็นประโยคว่า

I do believe that their relationship is genuine, long-term and continuing.

แค่นี้แหละครับ ที่เราทำมา ยังไม่พลาดสัก case 

ปกติ case ที่ทำกับ J Migration Team เราก็จะให้พยานเขียนมาเองก่อน แล้วเราก็จะขัดเกลาในเรื่องของภาษาและรูปแบบประโยคอีกรอบหนึ่ง หรือพยานคนใหนที่เป็นคนไทย ก็เขียนมาเป็นภาษาไทยก็ได้แล้วเราจะจัดการเขียนให้เป็นภาษาอังกฤษ

Monday, September 14, 2015

หลักการเขียน personal statement ของวีซ่าแต่งงาน


Partner Visa หรือที่คนไทยเราเรียกว่า วีซ่าแต่งงาน หรือวีซ่า de facto ไม่ว่าจะเป็นแบบเพศเดียวกันหรือต่างเพศ เราก็ควรจะมีหลักในการเขียน personal statement ในการประกอบการขอวีซ่าด้วยนะครับ ไม่ใช่เขียนอะไรไปสุ่มสี่สุ่มห้า เขียนอะไรออกไปมั่วๆ

บางคนก็นิยมทำ Statutory Declaration หรือที่เราเรียกกันสั้นๆว่า Stat Dec ซึ่งก็เป็นการยืนยันข้อมูลใน Stat Dec ว่าทุกอย่างที่อยู่ใน Stat Dec เป็นความจริงทั้งหมด 

Statutory Declaration สำหรับการทำ Partner Visa ก็มี แต่มันก็จะเป็นฟอร์มและเป็นอะไรที่ตายตัวมากเกินไป ไม่ค่อย flexible เหมือน personal statement ที่เราเขียนขึ้นมาเองเลย

การใช้ Statutory Declaration เพื่อเป็นการประกอบการทำวีซ่าแต่งงาน เพื่อเป็นการยืนยันว่าความรักความสัมพันธ์นั้นเป็นความรักความสัมพันธ์ที่แท้จริง ไม่ได้จ้างแต่งเพื่อมาหลอกลวงอิมมิเกรชั่น เพื่อที่จะเอาวีซ่าเฉยๆ ซึ่งจริงๆแล้ว เราก็ไม่จำเป็นที่จะต้องใช้ Statutory Declaration ก็ได้ เพราะถ้าใช้ Statutory Declaration เดี๋ยวเราเซ็นถูกช่องมั่ง เซ็นผิดช่องมั่ง เพราะมีหลายช่องที่เราต้องเซ็นเอง และมีหลายช่องที่ต้องให้ JP; Justice of Peace เซ็น และก็มีอีกหลายช่องที่เราจะต้องมาเซ็นต่อหน้า JP เท่านั้น ซึ่งดูๆแล้วก็เป็นอะไรที่วุ่นวายเกินความจำเป็น

ปกติแล้ว J Migration Team จะไม่ใช้ Statutory Declaration เลย เราจะใช้ personal statement ของทั้งคนที่ยื่นทำเรื่องวีซ่าและก็คนที่เป็นสปอนเซอร์ ซึ่งจะเป็นอะไรที่ง่ายกว่า เป็นอะไรที่ flexible มากกว่า เราอยากเขียนอะไรเล่าเรื่องอะไรยาวๆเราก็สามารถทำได้ หรือบางคนอยากเอาเป็นสั้นๆห้วนๆว่า เออ เนี๊ยะเรารักกันนะ อะไรประมาณนี้เราก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน

แต่เรื่องของการเขียน personal statement เราก็ต้องมีหลักการในการเขียนด้วย เพราะถ้าหากเขียนอะไรมั่วๆไป วีซ่าก็อาจจะไม่ผ่านก็ได้

การเขียน personal statement เราก็แนะนำให้เขียนเป็น shot เป็น shot เป็นฉากๆ (scence) เหมือนในหนัง เดี๋ยวผมจะสรุปหลักการเขียน personal statement เป็นข้อๆ ดังต่อไปนี้นะครับ

  • เล่าเรื่องราวออกมาเป็นทีละฉาก เหมือนในหนัง ว่าเรา 2 คนเจอกันยังไง รักกันยังไง แล้วคิดยังไงถึงตัดสินใจแต่งงานกัน หรืออยู่กินกันเป็น de facto 
  • แต่ละวันเรา 2 คนดำเนินชีวิตคู่กันยังไง เราดำเนินชีวิตประจำวันยังไง ตื่นเช้ามากิจวัตรประจำวันของเรา 2 คนคืออะไร ไปทำงานยังไง สำหรับคนที่ไม่ทำงาน แต่ละวันเราทำอะไรกันมั่ง
  • ถ้าเราเคยทะเลาะอะไรกัน ก็แนะนำให้เขียนลงไปด้วยนะครับ เพราะนั่นมันเป็นเรื่องธรรมดาของชีวิตคู่ทั่วๆไปที่บางทีเราก็อาจจะมีทะเลาะหรืองอนอะไรกันมั่ง หรือมีอะไรที่บางทีเราก็แบบว่าไม่มั่นใจว่าชีวิตคู่เราจะเป็นอะไรยังไง เราก็สามารถเขียนไปด้วยนะครับ ไม่ต้องกลัวว่าจะทำให้ case เราดูไม่ดี เพราะนั่นถือว่าเป็นชีวิตจริงของคนเราทั่วๆไป
  • ถ้าหากเรามีอุปสรรคอะไรในการใช้ชีวิตคู่ครั้งนี้ ก็แนะนำให้เขียนลงไปด้วยนะครับ ไม่ว่าอุปสรรคจะมาจากอะไรก็ตาม อาจจะเป็นเนื่องด้วยความแตกต่างทางวัฒนธรรม ความแตกต่างทางอายุ หรือความแตกต่างจากการยอมรับของคนในสังคมบางกลุ่ม หรือการยอมรับจากครอบครัวอีกฝ่าย เวลาเราเขียน personal statement เราก็ต้องเขียนไปด้วยว่า เรา 2 คนฝ่าฟันปัญหาอุปสรรคอะไรมาด้วยกัน ฟังดูมันก็ดูเหมือนเรากำลังเขียนนิยายน้ำเน่าอะไรสักอย่าง แต่จริงๆแล้วก็ไม่เชิงน้ำเน่านะครับ เพราะชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน เราจะเอาชีวิตเรามาเป็นบรรทัดฐานเปรียบเทียบกับคนอื่นไม่ได้
  • เสร็จแล้วเราก็ต้องเขียนไปด้วยว่า เราคิดว่าชีวิตคู่เราจะเป็นยังไง จะเดินทางชีวิตจะดำเนินชีวิตอะไรยังไงต่อไป อนาคตชีวิตคู่จะเป็นยังไง คาดเดาเอาไว้ว่าจะถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชรยังไง ตรงจุดนี้เราก็ต้องเขียนลงไปด้วยใน personal statement ของทั้ง 2 ฝ่าย
  • และ paragraph สุดท้ายก็ควรจะเป็นว่าเราวางแผนชีวิตคู่เราเอาไว้ยังไงมั่ง จะซื้อบ้านหลังใหม่ หรือจะเปิดธุรกิจอะไรเล็กๆทำด้วยกันอะไรก็ว่ากันไป ส่วนจะซื้อบ้านหลังใหม่จริงหรือไม่ หรือว่าจะเปิดธุรกิจอะไรเล็กๆหรือเปล่านั้นก็ไม่เป็นไร คือเราแค่เขียนไปเฉยๆ จะเปิดจริงหรือไม่จริงเราไม่สนใจ เพราะเราถือว่าเป็นเรื่องของอนาคตซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงกันได้ แต่ที่แน่ๆก็คือมันเป็นการโชว์ว่าเรามีการวางแผนกับชีวิตเรานะ เราต้องการให้ชีวิตคู่เราเป็นแบบนี้ๆนะ อะไรประมาณนี้ ซึ่งมันก็ทำให้คนอ่าน อ่านแล้วเห็นภาพพจน์ที่ชัดเจน เหมือนกับว่าเรามีการวางแผนชีวิตที่ชัดเจน ไม่ได้อยู่ไปวันๆแบบพวกชีวิตไร้จุดหมาย
  • ปกติแล้ว เราก็แนะนำให้เขียน personal statement ประมาณ 2 หน้านะครับ 2 หน้าเนี๊ยะกำลังพอดี ไม่สั้นเกินไป ไม่ยาวเกินไป ปกติทุกๆ case ที่เราทำมา เราก็จะทำกันประมาณ 2 หน้ากันทั้งนั้น 
เนื้อหาของ personal statement ต้องเป็นอะไรที่ clear และชัดเจน เพราะเราเขียนมาจากชีวิตของเรา ชีวิตคู่ของเรา เราต้องเลือกใช้คำและภาษาแบบพื้นๆ แบบธรรมดา ไม่ต้องหวูหวามากเพราะมันไม่ใช่นิยาย เอาแบบว่า case officer อ่านแล้วรู้เรื่องก็เป็นพอ

เนื้อหาของ personal statement ต้องชัดเจน ชัดเจนแบบที่ว่าคนอ่านต้องอ่านแล้วมองเห็นภาพทันทีว่าชีวิตคู่เราเป็นอะไรยังไง เรื่องราวมันต้องแบบมาเป็นฉากๆ เป็นตอนๆ (ถึงแม้ไม่ใช่นิยายก็เถอะ)

นี่ก็เป็นหลักการเขียน personal statement ที่เราแนะนำลูกค้าเราทุกคนนะครับ ซึ่งลูกค้าคนไทยเราก็ให้เขียนมาเป็นภาษาไทย แล้วทาง J Migration Team จะจัดการแปลเป็นภาษาอังกฤษให้เอง และก็อาจจะมีการดัดแปลงและขัดเกลาเรื่องราวอะไรต่างๆบ้างเล็กน้อยเพื่อให้ personal statement ออกมาแล้วดูดี ซึ่งหลักการนี้เราก็ใช้กับ case ของวีซ่าแต่งงาน ทุกๆ case และที่ผ่านมาก็ผ่านและได้ PR กันทุก case นะครับ

Friday, September 11, 2015

Bridging Visa E


Bridging Visa E ก็เป็นอีก Bridging Visa หนึ่งที่เราคิดว่าคนไทยน่าจะรู้กันไว้ ไม่ต้องไป worries เรื่อง Bridging Visa D หรือ Bridging Visa F เพราะโอกาสที่เราจะได้ใช้ Bridging Visa พวกนั้นมีน้อยมาก (D กับ F)

Bridging Visa E นั้นเป็น Bridging Visa อีก Bridging Visa ที่มีประโยชน์ต่อสถานะภาพของเรา เพราะจู่ๆเราจะไปขอ Bridging Visa E จากอิมมิเกรชั่นไม่ได้ Bridging Visa E มีไว้สำหรับคนที่เป็นผี หรือพวกวีซ่าขาดเท่านั้น ก็คือประมาณว่าแทนที่เราจะอยู่เป็นผี วีซ่าขาด ผิดกฏหมาย เราก็ทำเรื่องขอ Bridging Visa E ได้ อย่างน้อยก็จะได้มีวีซ่าถูกต้อง 

ในกรณีที่ทางอิมมิเกรชั่นมีการเข้าไปจับคนที่ไม่มีวีซ่า คนที่อยู่แบบผิดกฏหมาย ปกติทางอิมมิเกรชั่นก็จะออก Bridging Visa E ให้ได้เลยทันที เราไม่ต้องไปขอที่อิมมิเกรชั่น เจ้าหน้าที่ที่ทำการจับเรา สามารถออก Bridging Visa E ได้เลยตอนนั้น (ถ้าเค๊ามีคอมพิวเตอร์นะ หรือไม่เค๊าก็ต้องโทรเข้ามาที่อิมมิเกรชั่น) แล้วก็เราจัดการเรื่องตั๋วเครื่องบิน หรือเก็บข้าวของกลับประเทศ คืออย่างน้อย เราก็ถือวีซ่าอะไรสักอย่าง ไม่ได้เป็นผีแล้ว เพราะคนต่างด้าวทุกคนอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียต้องมีวีซ่าอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะถ้าไม่มีวีซ่า ก็ถือว่าเป็นผี หรืออยู่แบบผิดกฏหมาย

อย่างน้อยถ้าเจ้าหน้าที่ออก Bridging Visa E ให้เรา ณ ตอนนั้น อย่างน้อยก็ถือว่าเราถือวีซ่า อย่างใดอย่างหนึ่งละ ไม่ได้อยู่อย่างผิดกฏหมาย ไม่มีวีซ่า หรือวีซ่าขาด

และอีกอย่างก็คือ ถ้าเราได้ Bridging Visa E แล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องโดนจับไปที่ศูนย์กักกัน เพราะสมัยนี้เจ้าหน้าที่ไม่ค่อยจับคนเข้าไปที่ศูนย์กักกันแล้วหละ เพราะถ้าเราโดนจับไปที่ศูนย์กักกัน มันก็จะมีค่าใช้จ่ายมีเพิ่มเข้ามา ที่รัฐบาลของออสเตรเลียจะต้องออกจ่ายไปก่อน แล้วค่อยมาเก็บกับรัฐบาลไทยทีหลัง ซึ่งเสียทั้งเวลาและเป็นภาระของรัฐบาลทั้ง 2 ฝ่ายเปล่าๆ

ข้อดีของการได้ Bridging Visa E ก็คืออย่างน้อยเวลาได้ Bridging Visa E เราก็ยังสามารถอยู่บ้านไม่ต้องโดนกักกัน ได้เก็บข้าวเก็บของ เตรียมตัวเดินทางกลับประเทศ ไม่ต้องรีบร้อนอะไรมากมาย

อีกกรณีหนึ่งที่เราจะได้ Bridging Visa E กันก็คือพวกที่ทำผิดวีซ่า condition แล้วโดนยกเลิกวีซ่า แต่เราก็ยังสามารถถือ Bridging Visa E เพื่ออยู่รอผลวีซ่าตัวใหม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น วีซ่านักเรียน ทำเรื่องวีซ่าแต่งงาน แล้วไม่อยากไปเรียน เราก็สามารถปล่อยให้โรงเรียนแจ้งอิมมิเกรชั่น แล้วยกเลิกวีซ่าเราไปเลย แล้วเราก็ทำเรื่องขอ Bridging Visa E เพื่อที่จะอยู่รอวีซ่าแต่งงานของเราได้ ไม่มีปัญหาอะไร ประหยัดตังค์ ไม่ต้องไปเรียนก็ได้

อีกกรณีหนึ่งที่เราสามารถทำได้ก็คือ ถ้าเราเป็นผี วีซ่าขาด ถ้าเราไม่อยากอยู่ที่นี่แล้ว เราอยากจะกลับเมืองไทยแล้ว เราก็สามารถทำได้ด้วยการไปทำเรื่องขอ Bridging Visa E ที่อิมมิเกรชั่นที่ใหนก็ได้ พอเราได้ Bridging Visa E เราก็สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ ซื้อตั๋วกลับประเทศไทยได้เลย

คือถ้าเราเป็นผี หรือวีซ่าขาด ถ้าอยู่มาวันหนึ่งอยากจะกลับประเทศไทย ก็ไม่ใช่ว่าอยู่ดีๆแล้วไปซื้อตั๋วเครื่องบิน แล้วเดินดุ่มๆไปที่สนามบินนะครับ จริงๆแล้วก็ทำได้ แต่ก็จะกลายเป็นเรื่องฮูฮา เพราะเราไม่มีวีซ่า เดี๋ยวเจ้าหน้าที่อิมมิเกรชั่นก็ต้องมาสัมภาษณ์ นั่น นี่ โน่น ดีไม่ดีอาจจะไม่ทันขึ้นเครื่องก็ได้ วีธีที่ดีที่สุดก็คือไปขอ Bridging Visa E ก่อน แล้วค่อยไปซื้อตั๋วเครื่องบินกลับเมืองไทย แบบนั้นจะได้ไม่มีปัญหาที่สนามบิน จะได้เดินทางออกได้เลย เดินทางด้วยความราบรื่น

อีกกรณีหนึ่งที่เราสามารถขอ Bridging Visa E ได้ก็คือ ถ้าวีซ่าปัจจุบันเรามีปัญหา จะด้วยอะไรก็ตามแต่แล้วยื่นเรื่องอุทรณ์กับ MRT/AAT (เปลี่ยนชื่อเป็น AAT แล้วครับ) ไม่ทัน ปกติแล้ว case officer ก็จะไม่ใจร้ายเท่าไหร่ เราก็จขอ Bridging Visa E ได้ เพราะขอฟรี ทางเจ้าหน้าที่หรือ case officer จะออก Bridging Visa E ให้เราก็ต่อเมื่อ เรารู้ว่าเราจะยื่นวีซ่าตัวใหม่ภายใน 3-5 วัน และเราก็รู้ว่าวีซ่าเราจะผ่าน นี่แนะแหละครับปัญหาของกฏหมายอิมมิเกรชั่นที่นี่ เราไม่ใช่ case officer เราจะรู้ได้ไงว่าวีซ่าเราจะผ่าน นี่ก็เป็นอีกหนึ่งประเด็นที่ทนายความ อิมมิเกรชั่นเอเจนย์ และนักการกฏหมายหลายๆคนได้แนะนำให้ทางอิมมิเกรชั่นแก้ไขกฏหมายตรงนี้ เพราะมันเป็นอะไรที่ไม่ชัดเจนมากเลย แต่รัฐบาลชุดใหนๆก็ไม่ได้ให้ความสำคัญกับเรื่องพวกนี้สะเท่าไหร่ เราก็เลยปล่อยเลยตามเลย แต่นั่นก็ไม่ใช่ปัญหาของเรา สรุปคือถ้าอิมมิเกรชั่นให้ Bridging Visa E เรามา เราก็รีบรับเลยละกัน ดีกว่าอยู่เป็นผี พอได้ Bridging Visa E เราก็ค่อยทำเรื่องขอวีซ่าตัวใหม่ หาทางขยับขยายกันต่อไป

โดยส่วนตัวแล้ว เราคิดว่า Bridging Visa E เป็น Bridging Visa อีกตัวหนึ่งที่ทำประโยชน์ได้หลายอย่างนะครับ จะคิดจะทำอะไรจะได้มีทางหนีที่ไล่ได้ ก็ลองไปศึกษากันดูนะครับ

Monday, September 7, 2015

Bridging Visa C


Bridging Visa C เป็น Bridging Visa สำหรับคนที่เป็นผี หรือวีซ่าขาด เวลายื่นขอ substantive visa อะไรไป แทนที่จะได้ Bridging Visa A เหมือนคนอื่นทั่วๆไปเค๊า คนที่อยู่เป็นผี หรือวีซ่าขาดก็นะได้ Bridging Visa C นี้แทนนะครับ

Bridging Visa C จะได้โดยอัตโนมัตินะครับ ดังนั้นคนที่วีซ่าขาด ไม่ต้องกระโตกกระตาก ตกใจ วี๊ดว๊าย กระตู้ฮู้ไปว่า จู่ๆอยู่เป็นผี วีซ่าขาดมาตั้งนานสองนาน จะทำอะไรก็กลัว จะทำอะไรก็ไม่กล้า กลัวถูกจับส่งกลับเมืองไทยมั่งหละ นั่น นี่ โน่น แล้วจู่ๆทำไมมันมี Bridging Visa C โผล่มาจากใหน อะไร ยังไงเนี๊ยะ เป็นไปได้เหรอ?

เอ่อ..... จริงๆแล้ว Bridging Visa C มันก็มีมาแต่ใหนแต่ไรนะครับ คนไทยเราหลายๆคนอาจจะไม่ค่อยรู้จักกันก็แค่นั้นเอง เพราะส่วนมากจะรู้จักกันแค่ Bridging Visa A เท่านั้น หรือถ้าพูดถึงเรื่อง Bridging Visa หนะเหรอ มีน้อยคนมากที่รู้ ส่วนมากก็เป็นทนายความหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนย์มากกว่าที่รู้ และอีกอย่างเวลาเค๊ารู้ เค๊าก็ไม่ได้ไปป่าวประกาศบอกชาวบ้านอะไรกัน เพราะธุระอะไรไม่ใช่ 

เพราะ Bridging Visa บางทีมันก็เป็นอะไรที่อธิบายให้คนทั่วๆไปเข้าใจยากเหมือนกัน เพราะมันเป็นอะไรที่ละเอียดอ่อน แต่ที่เราตัดสินใจมาเขียน blog พวกนี้ขึ้นมาก็เผื่อว่าเวลาคุยอะไรกับลูกค้าที่เค๊ามีความรู้มาบ้างเล็กน้อย มันก็ทำให้การทำงานของเราง่ายขึ้น จะได้ไม่ต้องอธิบายจนเสียงแหบเสียงแห้ง cafe latte แก้วเดียวคงไม่พอ

อะนะ ว่ากันไป.....

Bridging Visa C มีทั้งข้อดีและข้อเสียนะครับ

ข้อดีคือ:

  • จากที่เป็นผี วีซ่าขาด ตอนนี้เราก็สามารถยื่นวีซ่าได้แล้ว ไม่ต้องอยู่ต่อไปแบบกล้าๆกลัว วีซ่าที่สามารถยื่นได้ก็มี วีซ่าแต่งงาน Partner Visa, visa พวก skilled migrant อย่างเช่น subclass 189 เป็นต้น (ไม่ขออธิบายเรื่อง visa subclass 189 ตรงนี้นะครับ ไม่งั้นจะยาวเกิน)
ข้อเสียคือ:
  • เดินทางออกนอกประเทศไม่ได้ ไม่เหมือน Bridging Visa A ที่สามารถขอเป็น Bridging Visa B ทำเรื่องเดินทางออกนอกประเทศได้ Bridging Visa C ถ้าออกไปแล้วก็ออกไปเลย 
แต่จริงๆแล้ว เราคิดว่า ข้อดีมันมากกว่าข้อเสียนะครับ

ก็เราอยู่เป็นผี วีซ่าขาดมาตั้งนานสองนาน เดินทางออกนอกประเทศไม่ได้อยู่แล้ว ถ้าออกไปก็โดน exclusion อีก คือเข้ามาอีกไม่ได้กี่ปีๆ ก็ว่าไป ถ้าเราได้ Bridging Visa C แล้วเดินทางออกไปนอกประเทศไม่ได้ ก็ไม่เห็นเป็นไรหนิ อยู่ถือ Bridging Visa C เพื่อรอผลวีซ่าตัวใหม่ออก รออีกนิดหน่อยจะเป็นอะไรไป 
  • วีซ่าแต่งงานก็รอประมาณ 12-14 เดือน
  • วีซ่า subclass 186 ปกติก็ไม่เกิน 2-3 เดือนนะ ขึ้นอยู่กับสาขาอาชีพ
เป็นไงหละ จากที่เป็นผี วีซ่าขาดอยู่ดีๆ ได้ Bridging Visa C มาหนะดีขนาดใหนแล้ว

แต่ก็อย่าลืมนะครับว่า Bridging Visa C เนี๊ยะมีแค่ให้เราอยู่ที่นี่เพื่อรอวีซ่าตัวใหม่จะออกเท่านั้น ส่วนวีซ่าตัวใหม่ จะผ่านหรือไม่ผ่านนั้นมันอีกคนละเรื่อง ขึ้นอยู่กับว่า เราจะ present ข้อมูลของเรายังไง เอกสารอะไรครบใหม

Friday, September 4, 2015

Bridging Visa B


ได้เขียนเรื่อง Bridging Visa A ไปแล้ว เดี๋ยววันนี้เรามาเรียนรู้กันต่อเรื่อง Bridging Visa B กันนะครับ

ในหมวด Bridging Visa ทั้งหมด Bridging Visa B เป็น Bridging Visa ที่สามารถใช้เดินทางเข้าออกประเทศออสเตรเลียได้ ก็แล้วแต่ว่าแต่ละคนจะได้เป็นเดินทางเข้าออกรอบเดียว (single entry) หรือเข้าออกประเทศได้หลายๆรอบ (multiple entries) 

Bridging Visa อย่างอื่นไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ อย่างเช่น Bridging Visa A, Bridging Visa C หรือ Bridging Visa E

Bridging Visa E นี่คือออกแล้ว ออกไปเลย กลับเข้ามาในประเทศไม่ได้ เดี๋ยวคงได้อ่านเรื่อง Bridging Visa E กันเร็วๆนี้นะครับ

ปกติแล้ว Bridging Visa B ก็จะเป็น Bridging Visa ต่อเนื่องจาก Bridging Visa A, เพราะ Bridging Visa ตัวอื่นๆไม่สามารถขอ Bridging Visa B เพื่อเดินทางออกนอกประเทศได้

Bridging Visa B โดยความรู้สึกส่วนตัวแล้ว เป็นวีซ่าให้เปล่า คือแบบว่า 99.99% ยังไงๆก็ได้ ขอให้จ่ายค่าสมัครมาเถอะอะไรประมาณนี้ เพราะว่า Bridging Visa ตัวอื่นๆจะไม่มีค่าสมัครเลย ทางอิมมิเกรชั่นสามารถออกให้ได้เลย ก็มีแต่ Bridging Visa B นี่แหละที่ต้องจ่ายค่าสมัคร $140

Bridging Visa B ปกติแล้วเจ้าหน้าที่ที่ counter สามารถออกให้ได้เลยภายใน 5 นาที ถ้าเป็นที่ซิดนีย์ก็สามารถถือฟอร์มแล้วไปยื่นได้เลย เจ้าหน้าที่ก็จะโทรถาม case officer ว่า case เราใกล้จะออก ใกล้จะ finalize อะไรหรือยัง ถ้าไม่ใกล้ finalize ปกติแล้วก็เดินทางออกได้ ซึ่ง Bridging Visa B ก็สามารถเดินทางเข้าออกได้ถึง 3 เดือน

แต่ถ้า case officer บอกว่า case เราใกล้จะ finalize แล้ว เค๊าก็จะชะงักการออกวีซ่าของเรา แล้วให้เราเดินทางกลับเข้ามาก่อน แล้ว case officer ถึงจะ finalize วีซ่าของเรา

แต่การขอ Bridging Visa B นั้นเราก็ต้องให้เหตุผลด้วยนะครับ ว่าทำไมเราถึงจะต้องเดินทางออกนอกประเทศ ถ้าจะบอกว่า ไปเที่ยวอะไรประมาณนี้ก็อาจจะดูกระไรอยู่ ไม่เหมาะสม ผมก็แนะนำให้บอกไปว่า กลับบ้านไปเยี่ยมพ่อแม่ อะไรก็ว่าไปนะครับ

จากประสบการณ์ที่ผ่านมา เจ้าหน้าที่ที่ซิดนีย์จะออก Bridging Visa  B ให้ได้เลยตรงหน้า counter ทำแป๊บเดียวเสร็จ แต่ที่ Canberra ต้องแบบว่ายื่นไปก่อน วันรุ่งขึ้นถึงจะได้ Bridging Visa B ก็มีหลาย case แล้วที่เป็นแบบนี้ ก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมเจ้าหน้าที่ที่ Canberra ถึงไม่ออก Bridging Visa B ให้ตรงที่ counter เลย แต่ก็ไม่ทราบว่าที่รัฐอื่นเป็นยังไงมั่งนะครับ แต่ที่ซิดนีย์นี่รวดเร็วทันใจ แต่อนาคตก็ไม่รู้จะเป็นไงนะ

Tuesday, September 1, 2015

Bridging Visa A


เดี๋ยวเรามาทยอยเรียนรู้เรื่อง Bridging Visa ของประเทศออสเตรเลียกันนะครับ เดี๋ยวค่อยๆเป็น ค่อยๆไปนะครับ เพราะคนเขียนต้องเจียดเวลามานั่งเขียน

เดี๋ยวเราเริ่มด้วย Bridging Visa A นะครับกันก่อนนะครับ เพราะเป็น Bridging Visa ที่คนไทยเราคุ้นเคยกัน แต่ก็มีแบบรู้จริงมั่ง รู้ไม่จริงมั่ง

ถ้าเรายื่นขอวีซ่า Substantive visa (วีซ่าทุกอย่าง ยกเว้น Bridging Visa) ภายในประเทศออสเตรเลีย เราก็จะได้ Bridging Visa A โดยอัตโนมัตินะครับ โดยเฉพาะคนที่สมัคร online พอเราจ่ายตังค์เสร็จ click submit ปุ๊บ เราก็จะได้ Bridging Visa A เลย บางคนบอกว่าทำไมง่ายจัง ก็ง่ายครับ เพราะมันไม่มีอะไรยากหนิ 

ดังนั้นหลายๆคนที่มีภาวะล่อแหลมวีซ่าใกล้หมด ไม่แนะนำให้ยื่นวีซ่าเป็นแบบ paper-based นะครับ เพราะถ้าเป็น paper-based กว่าจะยื่น แล้วกว่าจะจ่าย 2-3 วันถึงจะถึงมือเจ้าหน้าที่ แล้วถึงจะได้ Bridging Visa A 

แต่ถ้ายื่น online พอเรา click จ่ายตังค์ และ click submit ปุ๊บ ก็ได้ Bridging Visa A มาเลยทันที โดยเฉพาะคนที่วีซ่าจะหมด ถ้าเรารีบ submit อะไรก็ตามก็รีบๆ submit เข้าไปก่อนเที่ยงคืน ที่เหลือแล้วค่อย upload เอกสารเข้าไปก่อนก็ได้

ดังนั้นถ้าใครสามารถขอวีซ่าภายในประเทศออสเตรเลีย onshore ได้ ก็แนะนำให้ขอภายในประเทศออสเตรเลียนะครับ เพราะเราจะได้ Bridging Visa A, 

แต่ถ้าเราสมัครมาจากข้างนอก เราก็จะไม่ได้ Bridging Visa A, ยกตัวอย่างเช่น วีซ่า 457 ซึ่งไม่ว่าจะสมัครแบบ onshore หรือ offshore เอกสารและ requirement อะไรเหมือนกันหมดเลย แตกต่างกันก็ตรง Bridging Visa นี่แหละ สมัครภายในประเทศออสเตรเลีย (Onshore) เราจะได้ Bridging Visa A แต่ถ้า เราสมัครมาจากข้างนอก (Offshore) เราจะไม่ได้ Bridging Visa A

ข้อดี (บางคนก็บอกว่าเป็นข้อเสีย แล้วแต่สถานการณ์ของแต่ละคนนะครับ) ของ Bridging Visa A ก็คือ Bridging Visa A ไม่มีวันหมดอายุครับ คือประมาณว่า อยู่ได้ไปเรื่อยๆจนกว่าผลวีซ่า Substantive visa จะออก

ที่เราบอกว่าเป็นข้อดีก็เพราะว่า บางคนไม่ mind ที่จะต้องอยู่รอวีซ่าที่ออสเตรเลีย เพราะว่าเค๊าสามารถทำงานได้ ดีกว่าไปรอเรื่องอยู่ที่เมืองไทย เพราะยังไงเสีย ส่วนมากแล้วทำงานที่ประเทศออสเตรเลียแล้ว เราก็ได้ตังค์มากกว่าทำงานที่เมืองไทย

แต่บางคนก็บอกว่า Bridging Visa A ไม่มีวันหมดอายุไม่ดี เพราะบาง case ก็ต้องอยู่รอวีซ่านาน เค๊าไม่รู้อนาคตว่าจะออกหัวหรือออกก้อย ยกตัวอย่างเช่น Partner Visa ที่ต้องรอ case officer ถึง 12-14 เดือน ซึ่งบางคนอาจจะไม่ชอบก็ได้

ก็แล้วแต่สถานการณ์ที่แตกต่างของแต่ละคนนะครับ

Visa condition ของ Bridging Visa A นั้นไม่ตายตัวนะครับ กฏของ Bridging Visa A มีอยู่ว่า visa conditions ของ Bridging Visa A จะตาม visa conditions ของตัว substantive visa ตัวล่าสุดที่เราถือ ก็ประมาณว่า visa conditions อะไรเก่าที่เรามีอยู่ เราก็จะ continue visa condition นั้นๆไป

วีซ่าตัวเก่าบางตัวก็อนุญาตให้เราทำงานได้ บางตัวก็ไม่อนุญาตให้เราทำงาน คนใหนที่มีวีซ่าอนุญาตให้เราทำงานได้ก็ดีไป อย่างเช่น 457 หรือ วีซ่านักเรียน แต่ก็อย่าลืมว่าวีซ่านักเรียนสามารถทำงานได้แค่ 40 ชั่วโมงแต่ 2 อาทิตย์ ถ้าเราต้องการทำงานมากกว่านั้นเราก็สามารถทำเรื่องขอทำงานเพิ่มได้

แต่ถ้าบางคนที่มีวีซ่าตัวเก่า ที่ไม่สามารถทำงานได้ อย่างเช่นวีซ่าท่องเที่ยว พอเราได้ Bridging Visa A มา visa conditions ก็จะเป็นวีซ่า conditions ของตัวเดิมคือวีซ่าท่องเที่ยวซึ่งทำงานไม่ได้ แต่ก็อย่างที่บอกแหละครับ เราสามารถทำเรื่องขอทำงานได้ทีหลัง

สิ่งสำคัญเกี่ยวกับ Bridging Visa A ที่ทุกคนควรจะรู้ก็คือ

  • ถึงแม้ว่า Bridging Visa A จะได้มาโดยอัตโนมัติ Bridging Visa A จะไม่ take affect หรือมีผลใช้จนกว่า วีซ่าเก่า วีซ่า substantive จะหมดอายุ ดังนั้นวีซ่าอะไรที่เรามีอยู่แล้ว substantive visa เราก็ต้องทำตาม visa conditions ของวีซ่าตัวนั้นๆ ยกตัวอย่างเช่น วีซ่านักเรียน เราก็ต้องยังคงไปเรียนตามปกติ จนกว่าวีซ่านักเรียนจะหมด เพราะถ้าเราไม่ไปเรียน ทางโรงเรียนก็สามารถแจ้งอิมมิเกรชั่น และอิมมิเกรชั่นก็สามารถยกเลิกวีซ่าเราได้ เราก็จะกลายเป็นคนที่อยู่ที่นี่โดยผิดกฏหมาย; unlawful non-citizen แต่เราก็มีวิธีแก้ปัญหานี้ได้ครับ...
  • Bridging Visa A ไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ เพราะจุดประสงค์ของ Bridging Visa A คืออยู่รอวีซ่าที่ประเทศออสเตรเลีย ถ้าเราจะเดินทางออกนอกประเทศเราก็ต้องขอ Bridging Visa B (เดี๋ยวจะมีการเขียน Bridging Visa B ต่อไปนะครับ)
สาเหตุที่ Bridging Visa A ถึงแม้ว่าเราจะได้มาโดยอัตโนมัติ แต่ไม่ take affect จนกว่าวีซ่า substantive visa ตัวเก่าจะหมดไป ก็เพราะว่าคนคนหนึ่งจะสามารถมีวีซ่าได้แค่ 1 วีซ่าเท่านั้น คือไม่สามารถถือ 2 วีซ่า (หรือมากกว่า) ได้ภายในเวลาเดียวกัน ดังนั้นเวลาที่เรายื่นเรื่องขอวีซ่าภายในออสเตรเลีย แล้วได้ Bridging Visa A มา เราก็อย่าเพิ่งรีบดีใจกระดี๊กระด๊าว่าได้ Bridging Visa A นะครับ เราต้องรอให้วีซ่าตัวเดิมเราหมดสะก่อน

หากต้องการรู้อะไรเพิ่มเติมก็ติดต่อเราเข้ามาได้นะครับ
หรือติดตามเราที่ Facebook: วีซ่าไปออสเตรเลีย ง่ายๆ ไม่ยาก