Wednesday, July 29, 2015

ความจำเป็นของการสปอนเซอร์ วีซ่า 457

การขอวีซ่าทำงาน subclass 457 และการขอ PR โดยมีนายจ้างเป็นคนสปอนเซอร์ (ENS) นั้นเป็นวีซ่ายอดฮิตของคนไทยเลยทีเดียว รัฐบาลออสเตรเลียชอบวีซ่าประเภททำงาน เพราะเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของประเทศ

นอกเหนือจากตำแหน่งงานที่ต้องอยู่ในสาขาอาชีพและแรงงานที่ขาดแคลนแล้ว นายจ้างหรือสปอนเซอร์ก็ต้องโชว์ด้วยนะครับว่านายจ้างมีความต้องการที่จะต้องจ้างพนักงานคนนี้จริงๆมากน้อยแค่ใหน หรือศัพท์ทางภาษาอิมมิเกรชั่นเราเรียกว่า genuine of position

ซึ่งก็หมายความว่า ไม่ใช่เราจู่ๆนึกอยากจะสปอนเซอร์ใครสักคนเราก็จะสปอนเซอร์ได้เลย เราต้องเขียน case อธิบายเข้าไปด้วยว่าธุรกิจเรามีความจำเป็นที่จะต้องสปอนเซอร์พนักงานคนนี้ยังไง 

  • ถ้าเราจ้างแล้วพนักงานคนนี้แล้ว เค๊าจะทำให้ธุรกิจเราเจริญก้าวหน้ายังไง
  • ถ้าเราไม่จ้างพนักงานคนนี้แล้ว ผลเสียอะไรจะเกิดแก่ธุรกิจของเรา
สรุปก็คือการยื่นเรื่องทำอะไรแต่ละอย่างแต่ละที ไม่ใช่แค่นั่งกรอกๆฟอร์ม กรอกๆข้อมูลไป ไม่ใช่ครับ มันมีมากกว่านั้นอีกเยอะแยะ เราต้องรู้จักที่จะเขียน case เขียนอธิบายข้อมูลเข้าไปด้วย เพราะไม่อย่างนั้นก็คงจบข่าว

สรุปง่ายๆก็คือ ต้องชอบการเขียนนะครับ ถ้าไม่ชอบ ทำไม่เป็น ผมก็แนะนำให้ expert เค๊าทำไปเลยดีกว่า ให้ทนายหรืออิมมิเกรชันเอเจนย์อะไรก็ว่าไป

การที่เราจะสามารถแสดงว่า ตำแหน่งงานนั้นมีความจำเป็นต่อการอยู่รอดของธุรกิจของเรานั้น สามารถทำได้หลายวิธี อย่างเช่น
  • อวดอ้างสรรคุณของพนักงานว่าเก่งกาจสามารถอะไรขนาดใหน
  • อวดอ้างสรรคุณว่าธุรกิจเรากำลังขยายหรือกำลังเติบโต ต้องการจ้างคนที่มีฝีมือมาทำงาน
การเขียน case อธิบายเรื่องความจำเป็นในตำแหน่งของการสปอนเซอร์นั้นไม่มีกฏตายตัวนะครับ ขอให้เรา creative หรือมีความสร้างสรรค์ในการเขียนนิดหนึง ก็ใช้ได้ละ

ใครต้องการอยากรู้อะไรเพิ่มเติมเรื่อง genuine of position, ก็สามารถติดต่อ J Migration Team ได้ครับ

ยินดีให้ความช่วยเหลือและคำปรึกษา ไม่ว่าให้เราทำ case หรือทำเองก็ตาม ไม่ว่ากัน

Saturday, July 25, 2015

Labour market testing คืออะไร

ใหนก็ได้เกริ่นเรื่องวีซ่าทำงานหรือวีซ่า subclass 457 และการทำ PR ที่มีนายจ้างเป็นเป็นสปอนเซอร์ไปแล้ว (Employer Nomination Scheme: ENS) งั้นก็ขอเดินต่อด้วยเรื่อง Labour Market Testing เลยก็แล้วกัน

คนไทยเราจะไม่ค่อยรู้เรื่อง Labour Market Testing สักเท่าไหร่เพราะคนไทยเราไม่ต้องทำ Labour Market Testing กัน

เนื่องด้วยเพราะประเทศไทยและประเทศออสเตรเลียได้เซ็นสัญญาเป็นคู่ค้าเสรี หรือ Free Trade Agreement ดังนั้นคนไทยเราก็เลยได้รับการยกเว้นในเรื่องของการทำ Labour Market Testing เวลาทำ visa subclass 457 หรือ ENS

แต่รู้ใว้ใช้ว่า ใส่บ่าแบกหามนะครับ งั้นรู้สักหน่อยก็ดีนะครับ ถือว่าประดับความรู้

Labour Market Testing ก็คือการที่นายจ้างจะทำเรื่อง sponsor เอาคนต่างด้าวมาทำงาน ทางนายจ้างเองก็ต้องโชว์ว่า

  • นายจ้างเองได้พยายามหาคนงานที่เป็น local (PR หรือ ซิติเซ่น) แล้ว แต่ก็ยังหาไม่ได้ ดังนั้นนายจ้างต้องโชว์ว่านายจ้างได้ทำการลงโฆษณาหาพนักงานในตำแหน่งนั้น มีคนสมัครกี่คน สัมภาษณ์ไปกี่คน แล้วทำไมถึงยังหาคนที่จะมาทำงานยังไม่ได้อีก การลงโฆษณาก็สามารถทำได้โดยลงโฆษณาใน Internet หรือหนังสือพิมพ์อะไรก็ว่าไป บางบริษัทต้องทำ Labour Market Testing report ถึง 40-50 หน้าก็มีนะครับ
  • นายจ้างต้องโชว์ด้วยว่าตำแหน่งงานลักษณะนี้ ค่าจ้างแรงงานต้องเท่าไหร่ นายจ้างเองก็ต้องจ่ายตามอัตราค่าจ้างที่เท่ากันกับอัตราค่าจ้างของที่นี่ รัฐบาลออสเตรเลียมี website ให้เราเข้าไปเช็คได้ว่าตำแหน่งงานอะไร ได้ค่าจ้างเท่าไหร่ ก็ลองเข้าไปดูที่ JobOutlook.gov.au นะครับ เป็น website ของรัฐบาล

ประเทศที่เซ็นสัญญาเป็นคู่ค้าเสรีกับประเทศออสเตรเลียก็ถือว่าโชคดีไป เราไม่ต้องทำ Labour Market Testing คือไม่ต้องมีการทำลงโฆษณา นั่น นี่ โน่น ให้วุ่นวาย แต่ในเรื่องค่าจ้างนั้นตามกฏหมายแรงงานที่นี่ นายจ้างก็ต้องจ่ายตามอัตราการว่าจ้างอยู่แล้วแหละ

ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่เป็นประเทศคู่ค้าเสรีกับประเทศออสตรเลีย ยังมีอีกหลายประเทศครับ ที่ได้รับการยกเว้นในเรื่องของ Labour Market Testing

เราก็ถือว่าเราสบายไปอีกหนึ่งเปราะ ที่เราไม่ต้องไปวุ่นวาย เพราะวีซ่าทำงาน subclass 457 และ ENS เอกสารและการเตรียมการอะไรอื่นๆก็วุ่นวายอยู่แล้ว

Friday, July 24, 2015

Training Benchmark คืออะไร


ธุรกิจไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารหรือร้านนวดอะไรก็ตามแต่ การที่เราจะทำเรื่องสปอนเซอร์คนงานทำวีซ่า subclass 457 หรือทำ PR (ENS) ก็ตามแต่ เราต้องทำเรื่อง training benchmark ด้วยนะครับ

Visa subclass 457 มีเอาไว้เพื่อให้นายจ้างจ้างพนักงานที่เป็นชาวต่างชาติเพื่อที่จะเอาพนักงานต่างชาติมาทำงานในตำแหน่งที่นายจ้างหาพนักงานที่เป็นคน local ไม่ได้แล้ว นั่นคือจุดประสงค์หลักของรัฐบาลที่ออสเตรเลีย

 คนที่เป็น local ไม่จำเป็นต้องเป็นฝรั่งขอให้เค๊าเป็น PR หรือ ซิติเซ่นก็พอ ไม่ว่าจะหัวดำ หัวขาว หัวทอง ได้หมด

ส่วนเจ้าของธุรกิจเองก็ต้องโชว์ด้วยว่าเจ้าของธุรกิจเป็นนายจ้างที่ดี นายจ้างที่ดีในสายตาของรัฐบาลของออสเตรเลียคือนายจ้างต้องมีการจ้างงานคนที่เป็น local, จ่ายภาษีถูกต้อง เพื่อรัฐบาลจะได้นำเงินเหล่านี้ในการพัฒนาและบริหารประเทศ ดังนั้นจึงเป็นความสำคัญมากที่ธุรกิจนั้นต้องโชว์ว่านายจ้างมีความตั้งใจที่จะให้งานกับคนที่เป็น local ด้วย เพราะถ้าไม่อย่างนั้นคนที่เป็น local ก็จะพากันตกงานกัน ดังนั้นเจ้าของธุรกิจก็ควรจ้างพนักงานที่เป็น local ด้วยนะครับ เราจ้างพนักงานที่เป็น local ก็ยังไม่พอนะครับ เราก็ต้องทำการฝึกงานหรือ train พนักงานด้วย เพราะธุรกิจเราสามารถเปิดมาแล้วก็ปิดไปได้ แต่พนักงานก็ต้องมีการเพิ่มทักษะในการดำงานด้วย เพราะถ้าธุรกิจเราปิดตัวไป พนักงานที่เป็น local ก็จำเป็นที่จะต้องมีทักษะและความสามารถเพื่อสามารถไปสมัครหางานที่ใหม่ด้วย ไม่งั้นคนที่นี่ก็จะพากันตกงานกัน

ดังนั้นนายจ้างต้องโชว์ว่านายจ้างได้จ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกพนักงานที่เป็น local ด้วย ไม่ว่าจะเป็นการส่งพนักงานไปเรียนเพิ่มเติมที่ TAFE หรือไปเรียนที่ใหนก็ได้ ก็อาจจะเป็นสัมมนาหรือ workshop อะไรก็ได้  ค่าใช้จ่ายในการฝึกงานให้กับพนักงาน เราเรียกว่า training benchmark 

นายจ้างเองต้องโชว์ commitment ด้วยว่านายจ้างมีการฝึกงานให้กับพนักงานที่ local ทุกปี ดังนั้นนายจ้างต้องมีค่าใช้จ่ายเรื่อง training benchmark ทุกๆปี ไม่งั้นทางอิมมิเกรชั่นสามารถยกเลิก business nomination ของ subclass 457 ได้

การ training ไม่จำเป็นต้องไปเรียน face-to-face อย่างเดียว สมัยนี้มี online training มีเยอะแยะครับ 

J Migration Team เราสามารถช่วยท่านทำเรื่อง training benchmark ได้นะครับ คนสนใจก็ติดต่อมาได้นะครับ

Thursday, July 16, 2015

Student Visa: เงินโชว์ใน bank statement

เดี๋ยววันนี้เรามาอ่านเรื่องการโชว์เงินในบัญชีเพื่อทำวีซ่านักเรียนกันนะครับ

เงินที่โชว์ในบัญชี ต้องเป็นบัญชีของเราเองหรือของคนในครอบครัวนะครับ ที่บอกว่าคนในครอบครัวก็หมายถึง พ่อ แม่ พี่ น้อง สามีหรือภรรยานะครับ ญาติๆก็ได้ แต่ก็จะไม่หนักแน่นเท่ากับคนในครอบครัวเราเอง 

ถ้าเงินที่โชว์ในบัญชีเป็นเงินของเราเอง ปัญหาทุกอย่างมันก็ไม่มี

แต่ถ้าเราจะเอาบัญชีของคนในครอบครัวมาโชว์ ก็โชว์ได้นะครับ แต่เราก็ต้องอธิบายให้ case officer หรือเจ้าหน้าที่ด้วยว่าบัญชีนั้นเป็นบัญชีของใคร

ถ้าเป็น พี่หรือน้อง ก็ต้องมีหลักฐานมายืนยันด้วยว่าเป็นพี่หรือเป็นน้องกันจริงๆ หลักฐานก็อย่างเช่น ใบเกิดเรา กับใบเกิดพี่(หรือน้อง) เพราะใบเกิดเรากับใบเกิดพี่(หรือน้อง) มันต้องมีชื่อพ่อกับชื่อแม่ที่เป็นชื่อเดียวกัน อะไรประมาณเนี๊ยะ

หรือถ้าเป็นบัญชีของพ่อหรือแม่ ก็จะยิ่งง่ายใหญ่เลย เราก็เอาใบเกิดเรามาโชว์ ก็แค่นั้นเอง เพราะใบเกิดเราจะก็มีชื่อพ่อกับชื่อแม่อยู่แล้ว

สรุปคือเราต้องเชื่อมโยงให้ได้ว่าเค๊าคนนั้นเกี่ยวข้องกับเรายังไง ไม่ใช่จู่ๆก็บอกว่า เออ คนนี้เป็นพี่เรานะ คนนี้เป็นน้องเรานะ case officer ไม่ได้ทำงานแบบนั้นนะครับ

อีกวิธีที่ง่ายที่สุด ถ้าไว้ใจกันจริงๆ ก็ยืมตังค์ใครก็ได้เอามาใส่ในบัญชีไว้ก่อน แล้วก็ยื่นทำเรื่อง พอวีซ่าผ่านเราก็คืนตังค์เค๊าไป คือเราก็แค่ยืมเอามาโชว์ในบัญชีเฉยๆ

หากสงสัยอะไรก็ติดต่อเข้ามาได้นะครับ

Monday, July 13, 2015

การเตรียมเอกสารสำหรับทำ Partner Visa

การเตรียมเอกสารในการทำวีซ่า Partner Visa นะครับ ไม่ว่าจะเป็นแบบแต่งงาน หรือ de facto และก็แบบทั้งเพศเดียวกัน และต่างเพศ

เอกสารของผู้สมัคร (ทุกอย่างต้องแปลเป็นภาษาอังกฤษนะครับ ยกเว้นเอกสารอันใหนที่มีภาษาอังกฤษอยู่แล้ว)

  • Passport
  • ใบเกิด
  • ใบเปลี่ยนชื่อหรือนามสกุลทั้งหมดที่มี
  • ถ้าเคยหย่าหรือแต่งงานมาก่อน ก็เอาใบทะเบียนสมรสและใบหย่ามาด้วยนะครับ
  • ถ่ายเอกสารหน้า-หลัง บัตรประชาชนไทย
  • สมุดบัญชีธนาคารส่วนตัว
  • บิลอะไรต่างๆที่มาที่อยู่ ที่เราอยู่ปัจจุบัน
  • ใบตรวจประวัติ police check ทั้งที่ออสเตรเลียและก็เมืองไทย

เอกสารของคนสปอนเซอร์
  • Passport
  • ถ้าไม่มี passport ก็เอาใบเกิดที่สามารถยืนยันว่าคนที่สปอนเซอร์เราหนะเป็น PR หรือซิติเซ่นที่นี่
  • บัตร Medicare, หรือใบขับขี่
  • สมุดบัญชีธนาคารส่วนตัว

เอกสารที่ใช้ร่วมกัน
  • ถ้าแต่งงานก็เอาใบจดทะเบียนสมรสมา
  • ถ้าไม่แต่งงาน ไม่ว่าจะเป็นแบบต่างเพศหรือเพศเดียวกัน ถ้าจด register of relationship ก็เอา certificate นั้นมานะครับ
  • ถ้าไม่แต่งงาน ไม่ว่าจะเป็นแบบต่างเพศหรือเพศเดียวกัน ถ้าอยู่ด้วยกันแบบ de facto และก็อยู่ด้วยกันเกิน 12 เดือน ก็ต้องหาเอกสารมายืนยันว่าอยู่ด้วยกันเกิน 12 เดือนจริงๆ
  • สมุดบัญชีธนาคารร่วม ถ้ามี ถ้าไม่มีก็ไม่เป็นไร แต่ถ้ามีก็จะดีที่สุด
  • บิลอะไรต่างๆที่มีชื่อร่วมกัน อย่างเช่น บิลค่าเช่าบ้าน หรือบิลผ่อนบ้าน, บิลค่าน้ำ บิลค่าไฟ อะไรก็ว่าไป
  • รูปถ่ายที่ออกงานสังคม ไปใหนมาใหนด้วยกัน
นี่ก็เป็นเอกสารคร่าวๆ แค่พอชี้แนะแนวทางเฉยๆนะครับ ถ้าจะทำเรื่องขอ PR จริงๆก็จะมีมากกว่านี้อีกหลายเท่า แนะนำให้ติดต่อหลังไมค์นะครับ


Sunday, July 12, 2015

มีลูกด้วยกันกับสามี ไม่ได้หมายความว่า Partner Visa เราต้องผ่าน


เมื่อวานได้ฟังรายการดีๆจาก ABC Radio เป็นสถานีวิทยุของรัฐบาล พอดีเค๊ามี case studies ต่างๆเกี่ยวกับ Partner Visa ที่น่าสนใจมากเลยทีเดียว เป็นสิ่งที่คนไทยเราควรรู้โดยเฉพาะคนที่ทำเรื่องขอ PR แบบ Partner Visa 

ปกติแล้วข้อมูลพวกนี้ก็เป็นข้อมูลที่ทนายหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนต์รู้กันอยู่แล้ว แต่บางทีก็เป็นการยากที่เราจะพยายามอธิบายอะไรที่เป็น technical term หรือตัวบทกฏหมาย ให้คนทั่วๆไปเข้าใจได้ โดยที่ไม่ต้องใช้ศัพท์ภาษาทางด้านกฏหมายมากนัก

การที่ Partner Visa จะถูก approve หรือได้ PR นั้น ความสัมพันธ์ของทั้งคู่ต้อง 

  1. เป็นความสัมพันธ์ที่แท้จริง (ไม่ได้จ้างแต่ง หรืออยู่ด้วยกันเพื่อที่จะเอา PR เท่านั้น)
  2. เป็นความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่อง ก็หมายความว่า ยังคบกันอยู่ ยังอยู่ด้วยกันอยู่ ยังไม่ได้เลิกกัน
บางคนก็คิดเอาง่ายๆว่า มีลูกด้วยกัน ก็ได้ PR เองแหละ ไม่จริงครับ แนะนำให้คิดใหม่

ถ้ามีลูกด้วยกันแล้ว และคุณสมบัติตรงตาม 2 ข้อข้างบน ก็ OK เราได้ PR แน่นอน ไม่มีปัญหาอะไร

แต่ถ้าได้ลูกด้วยกันแล้ว ในขณะที่รอเรื่อง PR อยู่นั้น เผอิญทั้งสองฝ่ายไปด้วยกันไม่ได้ ต้องมีการเลิกลากันไป เรื่อง PR เราก็ไม่ผ่านนะครับ ถึงแม้ว่าลูกที่ออกมานั้นจะเป็น citizen ก็เถอะ เพราะลูกที่เป็น citizen กฏหมาย ณ ตอนนี้ ไม่มีวีซ่าตัวใหนที่ลูกที่เป็น citizen สามารถทำเรื่องสปอนเซอร์พ่อหรือแม่ให้เป็น PR ได้นะครับ

ถ้าใครคิดง่ายๆ มีลูกด้วยกันแล้ว ลูกเป็น citizen แล้ว ยังไงเราก็ต้องได้ PR แน่นอน แนะนำให้เปลี่ยนแนวคิดใหม่นะครับ

คนที่ฉลาดเค๊าจะก็พยายามอยู่ด้วยกันไปก่อนจนกว่าจะได้ PR ถึงตอนนั้นถ้าจะเลิกลากันไปก็ไม่เป็นไรละ ไม่ได้หมายความว่าเราแนะนำให้คนเลิกกันนะครับ คือเราแนะนำในแง่ของกฏหมายว่าเราต้องทำยังไง plan ยังไงกับชีวิตเรา ชีวิตเราจะไม่ได้ไม่มีปัญหา และจะได้ไม่มีผลกระทบต่อลูกด้วย

เพราะหลาย case studies ที่นำเสมอที่ ABC Radio นั้นคือแม่ต้องกลับประเทศเค๊า ลูกที่เป็น citizen ก็ต้องไปอยู่กับแม่ที่ต่างประเทศด้วย สรุปก็เป็นปัญหาสังคม เพราะ พ่อ แม่ ลูก ต้องแยกกันอยู่ และลูกที่เป็น citizen แต่ต้องไปอยู่ประเทศอื่นกับแม่ เพราะศาลสั่งให้แม่เป็นคนดูแลลูก อะไรประมาณเนี๊ยะ

ก็หวังว่าเรื่องราวแบบนี้จะไม่เกิดขึ้นกับเรานะครับ

Saturday, July 11, 2015

Partner Visa ความสัมพันธ์ต้องเหนียวแน่น

สำหรับคนที่ต้องการทำเรื่องขอ PR แบบ Partner Visa ไม่ว่าจะเป็นแบบแต่งงาน หรือ de facto ทั้งแบบเพศเดียวกันและต่างเพศ ก็ขอแนะนำนะครับ ถ้าใครคิดจะทำ Partner Visa, ความสัมพันธ์ต้องหนาแน่นนะครับ เพราะการที่วีซ่าจะผ่านหรือไม่ผ่านนั้นขึ้นอยู่กับว่าคนทั้งสองมีความพร้อมที่จะอยู่ด้วยกันเยี่ยงคู่รักทั่วไปมากน้อยแค่ใหน

ถ้าเราพึ่งจะเป็นแฟนกัน พึ่งจะคบกัน หรือพึ่งจะดูใจกันเอง ก็ยังไม่แนะนำให้ทำเรื่องนะครับ แนะนำให้ดูใจกันไปเรื่อยๆ เรื่องชีวิตคู่มันเร่งกันไม่ได้จริงๆ นอกเสียจากว่าเจอปุ๊บ คบกันแล้วมัน "ใช่" เนื้อคู่เราจริงๆ

ถ้าอีกฝ่ายที่จะสปอนเซอร์เรา ทำเรื่องให้เรา ถ้าเค๊ายังกลัวเรื่องคนจะมาหลอกเค๊า จะมาเอาทรัพย์สมบัติเค๊า ก็แสดงว่าเค๊ายังไม่พร้อมที่จะตกล่องปล่องชิ้นกับเราแล้วหละ

ถ้าเป็นแบบนั้น ก็แนะนำนะครับ ไม่ต้องทำ ไม่ต้องยื่นเรื่องดีที่สุด ทำไปก็ปวดหัวเฉยๆ  ถ้าฝ่ายใดหรือฝ่ายหนึ่งยังไม่แน่ใจกับอีกฝ่ายหนึ่ง

ถ้าคนเราไม่รักกันแบบถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชรแล้ว ก็อย่าทำเลยดีกว่า จะดีที่สุด

แนะนำให้ทั้ง 2 ฝ่ายดูใจกันให้เรียบร้อยก่อน ถ้าพร้อมจริงๆ รักกันจริงๆผมถึงจะแนะนำให้ทำเรื่องขอ PR นะครับ

เพราะคู่ใหนนะ ถ้ารักกันจริงๆ ทำอะไรก็ง่าย เอกสารอะไรก็ดูพร้อมไปหมด ถ้าคู่ใหนยังไม่พร้อม ก็ให้รอไปเรื่อยๆ ดูใจกันไปเรื่อยๆก่อนนะครับ ศึกษาใจกันไปพลางๆก่อน ของแบบนี้มันต้องพร้อมทางด้านจิตใจทั้ง 2 ฝ่ายก่อนนะครับ 


ดู visa conditions เราก่อน

การที่เราอยู่ที่ออสเตรเลียแล้วต้องการต่อวีซ่าตัวเดิมเพื่อที่จะอยู่ให้นานขึ้น หรือขอวีซ่าตัวใหม่เพราะต้องการอยู่ที่นี่ถาวร โดยเฉพาะหลายๆคนที่ได้วีซ่านักท่องเที่ยวมา มาอยู่ด้วยกันกับแฟน แล้วแฟนอยากทำวีซ่าอยู่ต่อให้ เป็นวีซ่าถาวร ทำเรื่องขอ PR อะไรประมาณเนี๊ยะ 

ก่อนที่เราคิดจะทำเรื่องวีซ่าที่จะอยู่ต่อที่นี่นะครับ อย่างแรกเลยที่ผมแนะนำให้ทำก็คือ เช็คดู visa conditions ของเราก่อนว่า เราสามารถยื่นขอวีซ่าภายในประเทศได้มั๊ย หรือเราเรียกว่า onshore นะครับ

วีซ่านักท่องเที่ยว โดยเฉพาะผู้หญิงไทยที่โสด ที่การงานที่เมืองไทยก็ไม่ค่อยมั่นคงเท่าไหร่ หรือวีซ่าที่ได้มาเป็นวีซ่าที่ได้มาครั้งแรก ทางอิมมิเกรชั่นหรือ case officer อาจกลัวว่าได้วีซ่ามาแล้ว จะมาอยู่เลยไม่ยอมกลับเมืองไทย หลายๆคนอาจจะมี condition 8503 ติดมาด้วย

Condition 8503 คือ "No Further Stay"

No Further Stay, ก็หมายความว่า ห้ามอยู่ต่อ ง่ายๆก็คือพอวีซ่าเราหมด เราก็ต้องกลับเมืองไทย ถ้าจะทำวีซ่ามาใหม่ ก็ต้องทำมาจากข้างนอก (offshore)

ที่บอกว่าทำวีซ่ามาจากข้างนอกประเทศออสเตรเลีย ไม่ได้หมายความว่า เราต้องบินกลับไปทำวีซ่ามาจากเมืองไทยเท่านั้นนะครับ เราจะบินออกไปข้างนอก ไปประเทศใหนก็ได้ แล้วก็ยื่นวีซ่าเข้ามาใหม่

ที่บอกว่าทำมาจากประเทศใหนก็ได้นั้น เราก็สามารถบินไป นิวซีแลนด์ ฟิจิ บาหลี หรือประเทศอะไรก็ว่าไป แต่คนไทยส่วนมากก็จะบินกลับเมืองไทยกันแหละครับ อยู่ที่ใหนก็ไม่สุขใจเท่าบ้านเรา

สรุปง่ายๆคือ ถ้าคิดจะต่อวีซ่าที่นี่ อย่างแรกเลยต้องดู visa conditions ของตัวเองก่อนนะครับ ว่าติด visa condition 8503 หรือเปล่า

ถ้าดูไม่เป็น ก็ติดต่อ J Migration Team ได้ เราเช็คให้ได้ง่ายๆ


มีการเปลี่ยนแปลงโควต้าสาขาอาชีพ

ตั้งแต่วันที่ 1 July 2015 เป็นต้นมา มีการเปลี่ยนแปลงโควต้าสาขาอาชีพ SOL ที่สามารถทำเรื่องขอ PR ได้ครับ สาขาอาชีพนี้จะมีผลเฉพาะ Independent Skilled Migrant พวกที่ขอวีซ่าเองจาก point นะครับ ไม่เกี่ยวกับวีซ่าทำงาน subclass 457:

  • Accounting ลดลงมากกว่า 50% จาก 5,478 ในปี 2014-15 เหลือแค่ 2,525 ในปี 2015-16.
  • Registered Nurses ลดลงจาก 15,042 ในปี 2014-15 เหลือแค่ 13,872 ในปี 2015-16
  • ICT Business and Systems Analyst ลดลงจาก 1,620 เหลือ 1,536
  • Software and Applications Programmer เพิ่มจาก 5,004 เป็น 5,364
  • Chefs จาก 2,547 เป็น 2,475 (ก็ลดลงไม่มาก).