มีคน email มาปรึกษาเรื่องการยื่นขอ PR โดยมีนายจ้างสปอนเซอร์ ซึ่งคนที่ email เข้ามาก็ได้รับคำปรึกษาจากเพื่อนมาบ้างแล้ว คนที่เขียนเข้ามาเป็นคนทำงานในครัวร้านอาหารไทย ซึ่งก็เป็นอาชีพยอดฮิตของคนไทยอยู่แล้ว ก็ลองอ่านกันดูนะครับ เพราะผมคงจะไม่เอาคำถามหรือ email ที่ส่งเข้ามา มาลงทั้งหมด แต่คิดว่าถ้าได้อ่านแล้ว คงพอเดาได้ว่าคำถามคืออะไรบ้าง
1. ที่เพืีอนบอกว่าไปเรียนภาษาอังกฤษเพิ่ม และไปลงเรียนเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดในครัว เป็นเรื่องที่ดีนะครับ แต่ที่บอกว่าเป็นกฏหมายใหม่จากอิมมิเกรชั่นหนะ ไม่เป็นความจริงครับ เดี๋ยวผมจะเขียนอธิบายข้างล่างให้นะครับ
2. เปรียบเทียบค่าสมัครก่อนและหลังวันที่ 1 July 2009 นะครับ
ก่อน 1 July 2009
นายจ้าง จ่ายค่าสมัคร $370
ลูกจ้าง จ่ายค่าสมัคร PR $2105 (ยื่นภายในประเทศ)
ลูกจ้างจ่ายงดที่ 2 สำหรับคนที่จะได้ PR เท่านั้น คนที่ไม่ผ่าน ก็จะไม่การเรียกเก็บ $5865
หลังวันที่ 1 July 2009
นายจ้าง จ่ายค่าสมัคร $445
ลูกจ้าง จ่ายค่าสมัคร PR $2525 (ยื่นภายในประเทศ)
ลูกจ้างจ่ายงดที่ 2 สำหรับคนที่จะได้ PR เท่านั้น คนที่ไม่ผ่าน ก็จะไม่การเรียกเก็บ $7040
สำหรับคนที่ยื่นเรื่องก่อนวันที่ 1 July 2009 ก็จ่ายค่าสมัครในอัตราเก่า และถ้าเรื่องผ่านก่อนวันที่ 1 July 2009 และทางอิมมิเกรชั่นมีการเรียกเก็บเงินงวดที่ 2 ก็จ่ายในอัตราเก่า คือ $5865
ถ้าคนที่ยื่นเรื่องก่อนวันที่ 1 July 2009 ก็จ่ายค่าสมัครในอัตราเก่า แต่ถ้าเรื่องผ่านหลังวันที่ 1 July 2009 และทางอิมมิเกรชั่นมีการเรียกเก็บเงินงวดที่ 2 ในกรณีนี้ เงินงวดที่ 2 ก็ต้องจ่ายในอัตราใหม่นะครับ ทางอิมมิเกรชั่นก็ต้องการหารายได้เหมือนกัน ตรงนี้เราควบคุมไม่ได้จริงๆ มันกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้วหละ
3. กลับไปเรื่องเรียนที่ผมเขียนไว้ข้างบน ถ้าคะแนน IELTS หรือภาษาอังกฤษเราไม่ดี เราก็ขอทำเรื่องยกเว้นภาษาอังกฤษไปเลย เหตุผลที่ทางอิมมิเกรชั่น ต้องการวัดคะแนนความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษก็เพราะว่า:
- ต้องการให้คนทำงานเข้าใจเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน
- สามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะให้กับคนท้องถิ่นได้
ถ้าเราเขียน case เข้าไปขอยกเว้น ถ้าเราสามารถอ้างได้ว่า ข้อมูลทุกอย่างที่เกียวกับความปลอดภัยในที่ทำงาน มีการแปลเป็นภาษาไทย ทุกคนทำงานในครัวพูดภาษาไทยได้ เราสื่อสารกันเป็นภาษาไทย และคนท้องถิ่นที่เป็น PR หรือ ซิติเซ่น ก็ภาษาพูดภาษาไทยได้ ดังนั้นการฝึก สอน และ training ต่างๆ ก็สอนกันเป็นภาษาไทย ดังนั้นสำคัญนะครับที่นายจ้างต้องจ้างคนที่เป็น local จะเป็น PR หรือ ซิติเซ่น ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นฝรั่ง ถ้าเป็นคนไทยที่เป็น PR หรือ ซิติเซ่น ก็ได้
ดังนั้นที่บอกว่าต้องไปลงเรียนอะไรหนะ ไม่จำเป็นนะครับ ไม่ต้องกังวล เพียงแต่ว่าถ้าว่าง ไปลงเรียนก็ได้ เราจะได้มีความรู้ ถ้าไม่ว่าง ไม่มีเวลา ก็ไม่เป็นไรนะครับ กฏหมายไม่ได้บังคับ ที่บอกว่ากฏใหม่อะไรนั่นหนะ ให้ถามอิมมิเกรชั่นเอเย่นต์หรือนักกฏหมายนะครับ อย่าถามเพื่อนเลย ข่าวลือทั้งนั้น
4. มีอีกเรื่องหนึ่งที่ทุกคนกังวล ก็คือเรื่องค่าใช้จ่าย งวดที่ 2 ที่ต้องจ่าย $5865 ($7040 หลังวันที่ 1 July 2009) ตรงจุดนี้ก็ยังไม่ต้องกังลนะครับ กรณีนี้ทางอิมมิเกรชั่น ก็จะพิจารณาเป็น case by case ไป บาง case ก็ไม่ต้องจ่ายก็มี ถ้าเราเขียน case ดีๆ แล้วยื่นไปทางอิมมิเกรชั่น เพราะค่าใช้จ่ายงวดที่ 2 เนี๊ยะ จะเกี่ยวกับเรื่องภาษาอังกฤษ ถ้าเราสามารถอ้างได้ว่า ถึงแม้ภาษาอังกฤษเราจะไม่ดี แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคในการทำงาน และเราก็สามารถถ่ายทอดความรู้ ให้กับคนท้องถิ่นได้ (PR หรือ ซิติเซ่น) ตรงจุดนี้สำคุญ เพราะอิมมิเกรชั่นเน้นมากเรื่องการถ่ายทอดความรู้ใหักับคนท้องถิ่น (PR หรือ ซิติเซ่น) เพราะอิมมิเกรชั่นเกรงว่า เราจะมาแย่งงานคนท้องถิ่นทำ
5. ผมเคยยื่นเรื่องแบบนี้ไปแล้ว ลูกค้าเราไม่ต้องจ่าย $5865 และได้ PR ภายใน 3 อาทิตย์ ซึ่งเราก็มีการฉลองกันใหญ่โต เพราะสามารถประหยัดตังค์ไปได้ถึง $5865 แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ผมก็ต้องออกตัวไว้ก่อนว่า ทุกอย่างเป็น case by case จริงๆ และก็ขึ้นอยู่กับการเขียน case เขียนเรื่องเข้าไป support
6. Profile ของนายจ้างก็สำคัญนะครับ นายจ้างต้องมีการจ้างการคนท้องถิ่น ถ้าพนักงานเป็นคนท้อถิ่นสะ 60% ขึ้นไปนี่ดีเลย และถ้าเคยได้รับรางวัลอะไร หรือลงหนังสือพิมพ์อะไรมาก็ยิ่งดี และนายจ้างก็ควรเป็นส่วนหนึ่งของสังคมด้วย ถ้าเผื่อนายจ้างเคยสปอนเซอร์งานอะไร(งานนักเรียนไทยแข่งกีฬา อะไรประมาณเนี๊ยะ) บริจาคอะไร ถ้าเค๊ามีหนังสือขอบคุณกลับมาเนี๊ยะ ก็จะดีมากๆเลย
ผมหวังว่า คงจะกระจ่างขึ้นนะครับ
อยากทราบอะไรเพิ่มเติมก็ email มาได้นะครับ ผมยินดีช่วยเสมอ
จอห์น
J The Migration Team
MARN: 0851174
Mobile: 0412-470969
http://jpp168immi.blogspot.com
ให้คำปรึกษาและบริการทางด้านกฎหมายอิมมิเกรชั่น และวีซ่าออสเตรเลีย
Facebook page: J Migration Team วีซ่าออสเตรเลีย
John Paopeng จอห์น เผ่าเพ็ง
Registered Migration Agent (MARN: 0851174)
Wollongong, Sydney, Melbourne, Brisbane, Gold Coast, Adelaide, Canberra.
email: jpp168.immi@outlook.com
PO Box 5399, Wollongong, NSW 2520
Saturday, June 27, 2009
Tuesday, June 23, 2009
Form และค่าสมัคร เปลี่ยนแปลงจากวันที่ 1 July 2009
เริ่มจากวันที่ 1 July 2009 เป็นต้นไป ทางกระทรวงอิมมิเกรชั่นจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบฟอร์มที่ใช้ในการสมัครวีซ่าใหม่นะครับ ถ้าใครจะยื่นเรื่องขอวีซ่าเอง ถ้าตอนนี้นั่งกรอกฟอร์มกันอยู่ ก็เร่งมือเข้านะครับ รีบยื่นก่อนวันที่ 1 July 2009 เพราะหลังจากวันที่ 1 July แบบฟอร์มอันเก่าอาจใช้ไม่ได้ อาจจะต้องมีการมานั่งกร์อกกันใหม่ เสียเวลากันไปอีก
ถ้าใครมีแแบบฟอร์มอยู่ในมือตอนนี้ แล้วกะเก็บเอาไว้ เพื่อขอทำวีซ่าในอนาคต ก็แนะนำให้เช็คก่อนนะครับว่า ฟอร์มใหม่กับฟอร์มเก่าหนะ เหมือนกันหรือเปล่า แต่โดยส่วนตัวแล้ว ถ้าคิดจะยื่นเรื่องขอวีซ่าหลังวันที่ 1 July ก็แนะนำให้เอาฟอร์มใหม่เลยก็แล้วกัน
ถ้าจะไม่แน่ใจหรือไม่รู้ว่าจะใช้ฟอร์มอันใหน ก็แนะนำให้สอบถามกับอิมมิเกรชั่นเอเย่นต์ที่ท่านใช้บริการอยู่นะครับ หรือติดต่อมาทางผมก็ได้ email เข้ามาได้เลย ยินดีช่วยครับ
อีกเรื่องหนึ่งก็คือ ค่าสมัครขอวีซ่าครับ หลังจากวันที่ 1 July เป็นต้นไป ค่าสมัครเพิ่มขึ้นนะครับ ก็แล้วแต่ชนิดและประเภทของวีซ่า บางวีซ่าก็เพิ่มบ้างเล็กน้อย บางประเภทก็เพิ่มขึ้นเยอะเลยทีเดียว
การเปลี่ยนแปลงก็เป็น part of life จริงๆเลยนะเนี๊ยะ
จอห์น
0412-470969
(โทรดึกๆ หรือโทรวันอาทิตย์ ไม่รับสายนะครับ เอาแค่ 10โมงเช้า - บ่าย 3 โมงก็พอ แต่ email มาได้ตลอดนะครับ)
ถ้าใครมีแแบบฟอร์มอยู่ในมือตอนนี้ แล้วกะเก็บเอาไว้ เพื่อขอทำวีซ่าในอนาคต ก็แนะนำให้เช็คก่อนนะครับว่า ฟอร์มใหม่กับฟอร์มเก่าหนะ เหมือนกันหรือเปล่า แต่โดยส่วนตัวแล้ว ถ้าคิดจะยื่นเรื่องขอวีซ่าหลังวันที่ 1 July ก็แนะนำให้เอาฟอร์มใหม่เลยก็แล้วกัน
ถ้าจะไม่แน่ใจหรือไม่รู้ว่าจะใช้ฟอร์มอันใหน ก็แนะนำให้สอบถามกับอิมมิเกรชั่นเอเย่นต์ที่ท่านใช้บริการอยู่นะครับ หรือติดต่อมาทางผมก็ได้ email เข้ามาได้เลย ยินดีช่วยครับ
อีกเรื่องหนึ่งก็คือ ค่าสมัครขอวีซ่าครับ หลังจากวันที่ 1 July เป็นต้นไป ค่าสมัครเพิ่มขึ้นนะครับ ก็แล้วแต่ชนิดและประเภทของวีซ่า บางวีซ่าก็เพิ่มบ้างเล็กน้อย บางประเภทก็เพิ่มขึ้นเยอะเลยทีเดียว
การเปลี่ยนแปลงก็เป็น part of life จริงๆเลยนะเนี๊ยะ
จอห์น
0412-470969
(โทรดึกๆ หรือโทรวันอาทิตย์ ไม่รับสายนะครับ เอาแค่ 10โมงเช้า - บ่าย 3 โมงก็พอ แต่ email มาได้ตลอดนะครับ)
Wednesday, June 17, 2009
อุทาหรณ์เตือนใจ เอกสารปลอม (อย่าทำ)
เดือนนี้มีข่าวไม่ค่อยดีเท่าไหร่ออกมา เนื่องด้วยทางกระทรวงอิมมิเกรชั่นมีการ crack down นักเรียนที่ใช้เอกสารปลอมในการยื่นขอ PR ประเภท Skilled Migrants กันเยอะ
นักเรียนหลาย case ที่โดนตรวจสอบเรื่องหนังสือรับรองทำงาน 900 ชั่วโมงจากนายจ้าง และมีหลายๆๆๆๆ case ที่โดนตรวจสอบเรื่องใบ certificate การเรียนจบ โดยเฉพาะ private college เล็กๆ ที่จุดประสงค์ของ private college พวกนี้ ไม่ใช่การเรียน การสอนเพื่อให้ความรู้แก่นักเรียน แต่เหมือนๆจะเป็นแหล่งออกวีซ่า ขายวีซ่ากันง่ายๆ ว่างั้นเถอะ ลงทะเบียนแล้ว ไม่มาเรียน ขอให้จ่ายเงิน ก็สอบผ่าน พวกนี้เยอะ ซึ่งตอนนี้ทำให้วงการ migration และ education ของออสเตรเลีย ดูแย่ไปเลย
บาง private college ถึงกับมีการจ่ายเงินใต้โต๊ะถึง $20,000 เพื่อออกใบ certificate ปลอมๆเหล่านั้น เดือนนี้ทาง กระทรวงอิมมิเกรชั่น ก็มีการ crack down private college ที่ NSW 5 แห่ง และ ที่ VIC อีก 23 แห่ง ฟังๆดูแล้วก็หดหู่ใจ
สำหรับปีนี้ มีนักเรียนมากกว่า 60 คนที่อาจต้องโดน reject visa application เพราะใช้เอกสารปลอมๆ และใบผ่านงานปลอมๆ พวกนี้
ณ จุดนี้ก็อยากให้ทุกคนอ่าน และก็จำเป็นอุทาหรณ์ก็แล้วกัน มหาลัยมี TAFE มี มาเรียนอะไรที่ได้ standard กันดีกว่ามั๊ย???
นักเรียนหลาย case ที่โดนตรวจสอบเรื่องหนังสือรับรองทำงาน 900 ชั่วโมงจากนายจ้าง และมีหลายๆๆๆๆ case ที่โดนตรวจสอบเรื่องใบ certificate การเรียนจบ โดยเฉพาะ private college เล็กๆ ที่จุดประสงค์ของ private college พวกนี้ ไม่ใช่การเรียน การสอนเพื่อให้ความรู้แก่นักเรียน แต่เหมือนๆจะเป็นแหล่งออกวีซ่า ขายวีซ่ากันง่ายๆ ว่างั้นเถอะ ลงทะเบียนแล้ว ไม่มาเรียน ขอให้จ่ายเงิน ก็สอบผ่าน พวกนี้เยอะ ซึ่งตอนนี้ทำให้วงการ migration และ education ของออสเตรเลีย ดูแย่ไปเลย
บาง private college ถึงกับมีการจ่ายเงินใต้โต๊ะถึง $20,000 เพื่อออกใบ certificate ปลอมๆเหล่านั้น เดือนนี้ทาง กระทรวงอิมมิเกรชั่น ก็มีการ crack down private college ที่ NSW 5 แห่ง และ ที่ VIC อีก 23 แห่ง ฟังๆดูแล้วก็หดหู่ใจ
สำหรับปีนี้ มีนักเรียนมากกว่า 60 คนที่อาจต้องโดน reject visa application เพราะใช้เอกสารปลอมๆ และใบผ่านงานปลอมๆ พวกนี้
ณ จุดนี้ก็อยากให้ทุกคนอ่าน และก็จำเป็นอุทาหรณ์ก็แล้วกัน มหาลัยมี TAFE มี มาเรียนอะไรที่ได้ standard กันดีกว่ามั๊ย???
Wednesday, June 3, 2009
Subclass 457 IELTS requirements for Chefs and Head Chefs lodged before 14 April 2009
DIAC made the following announcement on 2 June 2009:
"Chefs and Head Chefs - IELTS
Applicants who lodged Subclass 457 visa applications before 14 April 2009 as chefs and head chefs (ASCO 3322-11 and ASCO 3322-01) that were not finalised, were previously advised to provide evidence that they had successfully been tested as having English proficiency at IELTS 4.5.
As at 2 June 2009, applicants in this situation no longer need to meet this requirement. Subclass 457 visa applicants in this position may wish to contact their relevant case officer for further information."
"Chefs and Head Chefs - IELTS
Applicants who lodged Subclass 457 visa applications before 14 April 2009 as chefs and head chefs (ASCO 3322-11 and ASCO 3322-01) that were not finalised, were previously advised to provide evidence that they had successfully been tested as having English proficiency at IELTS 4.5.
As at 2 June 2009, applicants in this situation no longer need to meet this requirement. Subclass 457 visa applicants in this position may wish to contact their relevant case officer for further information."
Subscribe to:
Posts (Atom)