Monday, August 31, 2015

การขอสัญชาติออสเตรเลีย


เดี๋ยววันนี้เรามาอ่านอะไรเกี่ยวกับการขอสัญชาติออสเตรเลีย หรือ ซิติเซ่น citizen กันดีกว่าครับ เพราะเขียนเรื่องวีซ่า 457, PR และก็วีซ่าแต่งงาน มาเยอะแล้ว

การที่เราจะสามารถสมัครเป็นซิติเซ่นได้นั้นเราทำได้หลายแบบ แต่คนไทยเราส่วนมากก็จะขอซิติเซ่นแบบ conferral กัน ซึ่งก็คือ ได้ PR แล้ว และก็ทำเรื่องขอสัญชาติหลังจากนั้น ดังนั้นเราจะขอเขียนเฉพาะ case ของ conferral นะครับ ถ้าใครอยากทราบ case อะไรแบบอื่นก็ติดต่อมาได้นะครับ

การขอซิติเซ่นของออสเตรเลีย แบบ conferral มีกฏง่ายแค่ 2 ข้อคือ

  • ต้องอยู่ที่ออสเตรเลียด้วยวีซ่าที่ถูกต้อง อย่างน้อย 4 ปี 4 ปีที่ผ่านมาอาจจะอยู่ด้วยวีซ่าอะไรก็ได้ อย่างเช่นวีซ่านักเรียน วีซ่า 457 วีซ่าท่องเที่ยวสำหรับคนที่ได้วีซ่ายาว ๆ มาเยี่ยมลูก อะไรก็ว่าไป
  • ต้องอยู่ที่ออสเตรเลียด้วย PR อย่างต่ำ 1 ปี ดังนั้นถ้าใครถือวีซ่าอะไรมาก่อน 3 ปี แล้วได้ PR อีก 1 ปี ก็ทำเรื่องขอสัญชาติได้เลยครับ 

ถ้าเรามีลูกที่อายุต่ำกว่า 16 ปี เราก็สามารถรวมลูกเข้าไปได้เลยกับใบสมัคร ถ้าใครอายุเกิน 16 ปี เค๊าก็ต้องทำเรื่องขอสัญชาติเอง แยกใครแยกมัน

ค่าสมัครตอนนี้ก็ถูกๆเองครับ คนละ $260 เด็กที่อายุต่ำกว่า 16 ปี ไม่ต้องจ่ายครับ

ก่อนที่จะเป็นซิติเซ่น กลายเป็นคนที่ออสเตรเลียแบบเต็มตัว เราก็ต้องมีการสอบด้วยนะครับ สอบเป็น multiple choices แบบ ก ข ค ง ง่ายๆ คำถาม 20 ข้อ ต้องตอบให้ถูก 15 ข้อ และให้เวลาในการสอบ 45 นาที ข้อสอบก็เป็นข้อสอบในคอมพิวเตอร์ สอบผ่านหรือไม่ผ่าน เราจะรู้ผลสอบทันที 

ถ้าสอบไม่ผ่าน ก็สอบได้อีกหลายๆรอบใน 1 วัน ถ้าเจ้าหน้าที่ว่างนะครับ เอาง่ายๆคือประมาณว่า แจกกันไปเลยครับ สอบไม่ผ่านตอนเช้า ตอนบ่ายสอบอีกก็ได้

คำถามก็จะเป็นคำถามทั่วๆไปเรื่องการใช้ชีวิตอยู่ที่ออสเตรเลีย ถ้าเราอยู่ที่ออสเตรเลียมา 4 ปีแล้ว รับรองว่าผ่านแน่นอนครับ

ทางอิมมิเกรชั่นเองก็มีหนังสือคู่มือประมาณ 40 หน้าให้อ่าน ถ้าใครอยากจะอ่านหนังสือก่อนสอบ หนังสือก็มีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ก็ลองติดต่ออิมมิเกรชั่นดูนะครับ

หากใครได้ PR มาเกิน 1 ปีแล้ว และก็อยู่ที่ออสเตรเลียเกินมา 4 ปี ก็ลองศึกษาดูนะครับ ว่าอยากได้สัญชาติออสเตรเลียมั๊ย โดยเฉพาะคนที่คิดจะเรียนต่อที่มหาลัยหรือ TAFE เพราะค่าเรียนที่นี่แพงมาก แต่ถ้าเป็นซิติเซ่น เราก็สามารถกู็เงินเรียนได้ โดยใช้ HECS หรือคนที่มีลูกและอยากให้ลูกเรียนที่นี่แบบถูกๆ เรียนแบบราคาของคนที่เป็นซิติเซ่น (ซิติเซ่น เรียนฟรีตั้งแต่อนุบาล - ม.6)

การเป็นซิติเซ่นก็มีประโยชน์อะไรอีกหลายอย่างนะครับ เดี๋ยววันนี้ขอเขียนเอาไว้แค่ขั้นตอนการสมัครทั่วๆไปก่อน เดี๋ยวโอกาสหน้า เรามาว่ากันใหม่.....



Saturday, August 29, 2015

ถือวีซ่า 457 อยากเป็นเจ้าของธุรกิจ ทำไงดี


เข้าใจนะครับว่า ความฝันของหลายๆคนก็คือการเป็นเจ้าของธุรกิจ เป็นนายของตัวเอง เลิกเป็นลูกจ้าง เลิกเป็นพนักงาน และเลิกเป็นเบี้ยล่างของคนอื่นเค๊า

อย่างที่ผมเคยเอาไว้คราวก่อนๆว่า วีซ่าอะไรๆก็ทำธุรกิจได้ และผมก็ได้เน้นเอาไว้ด้วยเหมือนกันว่า ทำงานได้ กับ ทำธุรกิจได้ นั้นไม่เหมือนกัน หากใครยังไม่อ่านก็แนะนำให้ลองอ่านกันดูนะครับ

สำหรับคนที่ถือวีซ่า 457 และโดยเฉพาะคนที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ ไม่ใช่กลุ่มที่สปอนเซอร์ตัวเอง เราต้องดู visa conditions ของเราด้วยนะครับ เพราะว่าวีซ่า 457 เราจะเป็นเบี้ยล่างนายจ้างนะครับ ขอใช้ภาษาง่ายๆนะครับ ชีวิตเราแขวนไว้กับนายจ้างนะครับ ดูมันเศร้าๆยังไงบอกไม่ถูกน๊อ แต่มันก็จริงนี่นา

visa conditions ของวีซ่า 457 มีบอกเอาไว้ว่าเราต้องทำงานให้กับนายจ้างที่ทำเรื่องสปอนเซอร์ให้เราเท่านั้น ก็เค๊าสปอนเซอร์เราแล้วหนิ มันก็ make sense ที่เราต้องทำงานให้เค๊า อย่างน้อยก็จนกว่าเราจะได้ PR แหละ

เราไปทำงานกับนายจ้างเจ้าใหม่ไม่ได้ นอกเสียจากนายจ้างเจ้าใหม่จะทำเรื่องสปอนเซอร์เรา ซึ่งเราก็สามารถเปลี่ยนสปอนเซอร์ได้อยู่แล้ว 

แต่ก็อย่าลืมว่าความฝันของคนหลายๆคนคือการอยากได้ PR กัน และถ้าอยากได้ PR กัน เราก็ต้องทำงานให้กับนายจ้างนั้นไปจนถึง 2 ปี (Transitional Stream) ถ้าเราเปลี่ยนนายจ้าง เราก็ต้องเริ่มนับ 1 ใหม่ ต่อให้เราซื้อธุรกิจแล้วสปอนเซอร์ตัวเองก็เถอะ มันก็ถือว่าเป็นนายจ้างเจ้าใหม่ new employer อยู่ดี เพราะเป็น ABN หรือ ACN ตัวใหม่ เราก็ต้องมานั่งเริ่มต้นนับใหม่อยู่ดี

ก็มีหลายคนนะครับ ที่ทำงานอยู่กับนายจ้างแล้วก็คิดอยากจะซื้อกิจการต่อจากนายจ้างกัน เพราะเราเองก็ทำงานอยู่ที่นั่นมา รู้ระบบการบริหารอะไรต่างๆนาๆ ก็เลยคิดว่าจะซื้อและเซ้งกิจการจากนายจ้างสะเลย อะไรประมาณนั้น

จะยังไงเสียก็แนะนำให้คิดให้ดีๆนะครับ คิดหน้า คิดหลัง ทั้งแง่ดีและแง่บวก 

ชีวิตคนเรามันก็ต้องมีการเดินไปข้างหน้าแหละนะ จะให้เรามามัวย่ำอยู่กับที่ก็คงเป็นไปไม่ได้ แต่เราก็ต้องคิดต้องวางแผนงานอะไรนิดหนึ่งนะครับ

ถ้าเราไม่ mind ที่จะเริ่มต้นนับหนึ่งใหม่ เราก็สามารถซื้อธุรกิจได้ แล้วเอาธุรกิจเรามาสปอนเซอร์ตัวเองได้ แต่อย่าลืมว่าถ้าเราเปิดธุรกิจใหม่ ธุรกิจไม่ถึง 12 เดือน เวลา approve ธุรกิจสปอนเซอร์ก็จะสปอนเซอร์ได้แค่ 1.5 ปีเองนะครับ พอเปิดธุรกิจไปได้ถึง 12 เดือนก็ค่อยมาทำเรื่องสปอนเซอร์อีกรอบ เพราะถ้าไม่งั้นเราก็ทำงานไม่ถึง 2 ปี ทำ PR ไม่ได้

อีกแหละ ถ้าไม่ mind ที่จะทำเรื่องสปอนเซอร์รอบที่ 2 ก็ไม่เป็นไร เพราะของแบบนี้ สถานการณ์ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน หลายๆคนก็เบื่อที่จะเป็นลูกจ้าง ซึ่งตรงจุดนี้เราก็ไม่ว่ากันครับ

ที่เขียนมานี้ก็เพื่อเป็นข้อมูลให้คนได้อ่านกันนะครับ เพราะก็มีพี่ๆเค๊าโทรมาปรึกษา...

Just another วิทยาทาน จาก J Migration Team นะครับ อ่านแล้วชอบก็บอกต่อนะครับ...

Friday, August 28, 2015

วีซ่า 457 ทำที่ใหนก็เหมือนกัน


วีซ่ามาประเทศออสเตรเลียมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ ดังนั้นการที่เราได้รับข่าวสารข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้จึงเป็นสิ่งสำคัญ และแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ก็ควรที่จะเป็นนักการกฏหมายที่ถือใบประกอบวิชาชีพและ license และมีหมายเลย MARN ที่ถูกต้อง

จะสังเกตุเห็นว่า J Migration Team ช่วงนี้เขียน blog เกี่ยวกับ วีซ่า 457 บ่อย สาเหตุที่เขียนบ่อยก็เพราะคนติดต่อสอบถามเข้ามาเยอะมาก เรื่องวีซ่า 457 และเราก็ได้สังเกตุเห็นว่า ลูกค้าที่ติดต่อสอบถามเข้ามา หลายๆคนได้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนมา เพราะบางทีก็ได้ข้อมูลของวีซ่า 457 เมื่อปีที่แล้ว หรือหลายๆปีที่ผ่านมา

ตอนนี้ยังมีหลายๆคนที่คิดว่าถ้าขอวีซ่า 457 มาจากเมืองไทยแล้วต้องรอเรื่องอยู่ที่เมืองไทย ตอนนี้ไม่ต้องแล้วครับ เพราะรัฐบาลมีความยืดหยุ่นกับวีซ่า 457 พอสมควร ตอนนี้ไม่ว่าเราจะยื่นวีซ่า 457 มาจากข้างนอก offshore หรือยื่นภายในประเทศเป็นพวก onshore ตอนนี้ความแตกต่างก็อยู่แค่ที่ว่าวีซ่า 457 ที่ขอมาจากข้างนอกประเทศ จะไม่ได้ Bridging Visa A ก็เท่านั้นเอง

สำหรับคนที่ขอวีซ่า 457 ก็สามารถเข้ามารอเรื่องที่นี่ออสเตรเลียได้ ไม่มีปัญหา ส่วนจะมารออยู่ด้วยวีซ่าอะไรนั้นก็อีกเรื่องหนึ่ง

ดังนั้นขอสยบข่าวลือและข้อมูลที่บอกว่ายื่นวีซ่า 457 มาจากข้างนอก ก็ต้องรอวีซ่าอยู่ข้างนอก ไว้ ณ ตรงนี้นะครับ

แต่พูดถึงแล้วนะ วีซ่า 457 ถ้าเอกสารครบ มันก็ grant ได้ภายใน 4-5 weeks เองนะ

ปรึกษาเรื่องกฎหมายจากคนที่มี MARN เท่านั้น


จะสังเกตุเห็นว่า J Migration Team ช่วงนี้เขียน blog เกี่ยวกับ วีซ่าออสเตรเลีย นั่น นี่ โน่น อยู่บ่อยๆ สาเหตุที่เขียนบ่อยก็เพราะอยากจะให้ข้อมูลที่ถูกต้องกับคนไทยด้วยกัน เพราะเราก็ได้สังเกตุเห็นว่า ลูกค้าที่ติดต่อสอบถามเข้ามา หลายๆคนได้ข้อมูลที่คลาดเคลื่อนมา เพราะบางทีก็ได้ข้อมูลของวีซ่าเก่าๆ เมื่อปีที่แล้ว หรือหลายๆปีที่ผ่านมา

วีซ่าของประเทศออสเตรเลียมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ ดังนั้นเราต้องสอบถามผู้ที่มีความรู้ทางด้านกฎหมาย ไม่ใช่ถามแต่คนที่เรารู้จัก หรือเคยทำวีซ่านั้นๆมาแล้ว คนที่เคยทำวีซ่านั้นๆมาแล้วก็เหมือนกัน ข้อมูลที่บอกเพื่อนๆไปก็ต้องเค๊าด้วยว่า ตัวเองทำวีซ่าไปปีใหน ได้วีซ่าตอนปีใหน จากปีโน้นถึงปีนี้กฎหมายวีซ่าออสเตรเลียมีการเปลี่ยนแปลงกี่รอบ มีการเปลี่ยนรัฐบาลกี่ครั้ง รัฐบาลเดีวกันแต่เปลี่ยนรัฐมนตรีกี่รอบ ฉันใดก็ฉันนั้น มีการเปลี่ยนแปลงรัฐมนตรี ก็มีการเปลี่ยนแปลงกฎหมายวีซ่าออสเตรเลีย ดังนั้นข้อมูลก็ต้อง update อยู่ตลอดเวลาเช่นเดียวกัน

นักกฎหมายเรื่องวีซ่าของประเทศออสเตรเลีย ถ้าเป็นนักกฎหมายที่อยู่ในประเทศออสเตรเลีย ก็ต้องมีหมายเลขประกอบวีชาชีพ MARN ซึ่งทุกคนต้องมี ถ้าคนใหนไม่มีหมายเลข MARN ก็ให้คำปรึกษาทางด้านกฎหมายอิมมิเกรชั่น หรือวีซ่าออสเตรเลียไม่ได้

แต่สำหรับนักกฎหมายที่อยู่นอกประเทศออสเตรเลียนั้น กฎหมายไม่ได้บังคับว่าเค๊าจะต้องมีหมายเลข MARN เพราะกฎหมายของประเทศออสเตรเลียก็ครอบคลุมได้แค่อยู่ในขอบเขตของประเทศออสเตรเลียเท่านั้น

หมายเลขประกอบวิชาชีพ MARN นี้ก็เป็น license ที่ได้จาก MARAOffice of the Migration Agent Registration Authority ซึ่งก็เป็นหน่วยงานที่คอยสอดส่องดูแล และควบคุมคุณภาพของทนายและอิมมิเกรชั่นเอเจนท์ที่ให้คำปรึกษาทางด้านวีซ่าของประเทศออสเตรเลีย

การที่เราจะได้หมายเลขประกอบวิชาชีพเป็นนักกฎหมายอิมมิเกรชั่นของออสเตรเลียนั้น เราก็ต้องจบมาทางด้านกฎหมายและทุกๆปีเราก็ต้องมีการเข้าคอร์ส, เข้า workshop, เข้าสัมมนา เพื่อที่จะได้ update ความรู้อยู่เรื่อยๆ และเราก็ต้องเข้าคอร์ส, เข้า workshop, เข้าสัมมนา กันให้ได้ครบ 10 points กันทุกปี ถ้าไม่อย่างนั้น ปีต่อไปเราก็ต่อหมายเลข MARN ของเราไม่ได้

ดังนั้นเราจึงมั่นใจว่า คนที่มีหมายเลขประกอบวีชาชีพอิมมิเกรชั่นที่ถูกต้อง มี MARN ที่ถูกต้องนั้น ยังไงๆเสียก็ให้คำปรึกษาได้ดีกว่าเพื่อนข้างบ้านเราแน่นอน

ต่อไปถ้าจะรับฟังอะไรจากใคร ก็ดูด้วยนะครับว่าเค๊ามีหมายเลข MARN มั๊ย ไม่ว่าจะเป็นการอ่านอะไรจากอินเตอร์เนท หนังสือพิมพ์ หรือนิตยสารทั่วๆไป

Thursday, August 27, 2015

คุณสมบัติเจ้าของธุรกิจ วีซ่า 457


วีซ่า 457 เป็นวีซ่าที่ได้รับการ approve เร็ว เพราะทางอิมมิเกรชั่นถือว่าเรามีงานรองรับแล้ว ถ้าได้วีซ่านี้มารับรองไม่มีการตกงานแน่นอน อยู่ไปก็ไม่เป็นภาระของรัฐบาล ถ้าทำวีซ่า PR ในอนาคตก็คงไม่มาขอเงิน Centrelink เป็นภาระของรัฐบาล เป็นภาระของคนที่เสียภาษี

รัฐบาลที่ออสเตรเลียชอบวีซ่า 457, และ Skilled Migrant แบบจะทุกประเภทเพราะว่าคนที่ขอวีซ่าประเภทนี้ เป็นคนมีคุณภาพ มีทักษะ มีศักยภาพในการทำงาน หางานทำได้ง่าย เป็นการเสริมสร้างเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นการขอวีซ่า 457 ถึงได้มีการ approve ได้รวดเร็ว ถ้าเอกสารครบนะครับ

เนื่องด้วยการขอวีซ่า 457 ทำได้เร็ว และคนไทยเราก็เปิดร้านอาหาร และร้านนวดกันเยอะ ซึ่งธุรกิจเหล่านี้ก็สามารถทำเรื่องสปอนเซอร์ลูกจ้าง หรือแม้แต่สปอนเซอร์ตัวเอง ในกรณีที่เราเป็นเจ้าของธุรกิจที่เปิดในรูปแบบของบริษัท ซึ่งเราก็ได้มีการเขียน blog เกี่ยวกับเรื่องพวกนี้มาแล้ว

แต่การทำวีซ่า 457 ก็ไม่ได้หมายความว่าธุรกิจทุกอย่าง อยู่ดีๆก็ลุกขึ้นมาทำเรื่องขอวีซ่า 457 เลย ไม่ใช่นะครับ ร้านอาหารไทย ร้านนวดไทย ก็ควรจะมียอดขายที่ไม่น่าเกียจมากจนเกินไป มีการจ่ายพนักงาน มี payroll ที่ดูดี เพราะถ้ายอดขายดูไม่ดี หรือไม่ก็จ่ายพนักงานเป็นเงินสดหมด ไม่มีการลง payroll เพราะอยากจะเลี่ยงภาษี ซึ่งตรงจุดนี้เราก็เข้าใจ 

แต่ถ้าธุรกิจใหนต้องการที่จะทำเรื่องสปอนเซอร์พนักงานหรือตัวเองทำวีซ่า 457 ก็แนะนำนะครับ ให้เดินบัญชีร้านนิดหนึง มียอดขายที่เพิ่มขึ้นมานิดหนึ่ง มีการลง payroll เพิ่มนิดหนึ่ง จะได้ไม่มีปัญหาในการทำเรื่องขอวีซ่า 457

ยกตัวอย่างง่ายๆ ถ้าร้านอาหาร dine in เปิดทั้งกลางวันและกลางคืน และมีประมาณ 40 ที่นั่งขึ้นไป แนะนำให้มี payroll ประมาณ $12,000 - $200,000 ต่อปีนะครับ ก็แล้วแต่ความเล็ก ใหญ่ ของร้าน เพราะถ้า payroll หรือยอดขายน้อยกว่านี้ ก็บอกได้เลยว่า โอกาสที่จะทำเรื่องสปอนเซอร์ใครทำวีซ่า 457 นั้นมีน้อยมาก

ส่วนบัญชีธนาคารของธุรกิจ เราก็แนะนำให้มีเงินเข้า-ออกอยู่ตลอดเวลาซึ่งตรงจุดนี้ธุรกิจส่วนใหญ่ไม่มีปัญหาอยู่แล้ว เพราะถ้าเปิดธุรกิจ ไม่ว่าจะเป็นร้านอาหารไทยหรือร้านนวดไทย ธุรกิจจะมีเงินเข้า-ออกบัญชีอยู่แทบทุกวันอยู่แล้ว

เราไม่ขอพูดถึงยอดขายของแต่ละร้านนะครับ แต่เงินในบัญชีธนาคารควรมีเงินค้างอยู่อย่างต่ำๆประมาณ $20,000 ขึ้นไป

ได้ข้อมูลตรงนี้แล้ว ก็ลองไปตรวจสอบบัญชียอดขายและ payroll กันดูนะครับว่า บัญชีร้านเรา payroll ร้านเรา เป็นยังไงมั่ง

อยากทราบอะไรเพิ่มเติมก็ติดต่อเราได้นะครับ

Sunday, August 23, 2015

ยกเว้นภาษาอังกฤษ วีซ่า 457


ตอนนี้คุณสมบัติทางด้านภาษาอังกฤษของผู้สมัครวีซ่าทำงาน subclass 457 ได้มีการลดลงแล้ว หลังจากที่แต่ก่อนถ้าสอบ IELTS ก็ต้องอย่างต่ำ 5 ทุกอย่าง; ทักษะการพูด ฟัง เขียน และ อ่าน (speaking, listening, writing and reading) แต่ตอนนี้ผลสอบ IELTS ก็เอาแค่ค่าเฉลี่ยอย่างต่ำ 5, ไม่ใช้ทุกอย่าง อย่างต่ำต้อง 5 เหมือนแต่ก่อน

นอกเหนือจากค่าเฉลี่ยที่ต้องอย่างต่ำ 5 แล้ว ทักษะทุกอย่างอย่างต่ำต้อง 4.5 ซึ่งก็ถือว่าง่ายมากถ้าเปรียบเทียบกับทุกอย่างต้องอย่างต่ำ 5 เหมือนแต่ก่อน

แต่ IELTS ก็ไม่ใช่หน่วยงานเดียวที่ทำการรับรองผลการสอบภาษาอังกฤษเหมือนสมัยก่อน ตอนนี้เราสามารถสอบภาษาอังกฤษได้จากหลายหน่วยงาน ก็ลองไปอ่าน blog post อันอื่นที่ผมเคยเขียนไว้นะครับ

ในเรื่องของภาษาอังกฤษ มันก็มีข้อยกเว้นอยู่บ้าง เช่น ถ้าตอนที่เราเรียน เราเรียนเป็นภาษาอังกฤษ ใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร ไม่ว่าจะเรียนที่ออสเตรเลย หรือเรียนที่ไทยภาคอินเตอร์ หรือประเทศใหนก็ตามแต่ ถ้าเรียนเป็นภาษาอังกฤษอย่างต่ำ 5 ปี ก็สามารถทำเรื่องยกเว้นในเรื่องของภาษาได้แล้วครับ และ 5 ปีนี้ก็ไม่จำเป็นต้องต่อเนื่องด้วย

แต่มันก็มีรายละเอียดปลีกย่อยอยู่ด้วยนะครับ คือ:

  • ช่วงที่เรามาเรียนภาษาอังกฤษช่วงแรกๆนั้นไม่นับ เพราะเป็นแค่ช่วงมาเรียนปรับภาษา คือมันต้องเป็นวิชาทั่วๆไปแล้วใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสารเท่านั้น
  • ถ้าเรียนที่เมืองไทย ไม่ได้เรียนภาคอินเตอร์ แต่ว่าเรียนวิชาภาษาอังกฤษตอนอยู่เมืองไทย แบบนี้ก็ไม่นับเช่นกัน
หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือ สาขาอาชีพที่มีการจ้างแพงๆ ก็จะได้รับการยกเว้นในเรื่องของภาษาเช่นเดียวกัน เพราะทางอิมมิเกรชั่นคิดว่าคนที่ได้ค่าจ้างแพง แสดงว่าเค๊าคงเก่ง เป็นผู้บริหาร ต้องพูดภาษาอังกฤษได้คล่อง อะไรประมาณนี้ ก็เลยไม่จำเป็นต้องโชว์ทักษะทางด้านภาษา

ค่าจ้างที่บอกว่าแพงคือ ค่าจ้างต้องมากว่า $96,400 ต่อปี

Friday, August 21, 2015

ยื่น Partner Visa ไม่อยากไปเรียน


มีคำถามยอดฮิตจากหลาย ๆ คน ที่ถือวีซ่านักเรียนว่าถ้ายื่น Partner Visa ไปแล้วไม่ไปเรียนได้มั๊ย เพราะบางคนได้วีซ่านักเรียนมายาวเลยทีเดียว สาเหตุที่หลาย ๆ คนไม่อยากไปเรียนกันก็เพราะว่าค่าเรียนแพง และอยากจะเอาเวลามาทำงานมากกว่า หรือเก็บเงินเพื่อทำธุรกิจครอบครัวเล็ก ๆ หลังจากที่วีซ่าผ่านแล้ว

คำตอบคือ จริง ๆ แล้วก็ไม่ควรนะครับ ก็แนะนำให้ไปเรียนตามปกติจนกว่าวีซ่านักเรียนจะหมด หรือจนกว่าผล Partner Visa เราจะออก เพราะจะได้ไม่ไปขัดกับ condition ของวีซ่านักเรียนที่เราต้องเรียนไปจนกว่าวีซ่าจะหมด

แต่ถ้าถามว่าจริง ๆ แล้วว่า หลังจากยื่น Partner Visa แล้ว ไม่ไปเรียนได้มั๊ย จริง ๆ แล้วทำได้ครับ มีวิธีคือ:

  • หลังจากที่ยื่น Partner Visa ไปแล้ว เราก็จะได้ Bridging Visa A ซึ่งก็มีเอาไว้เพื่อรอฟังผล Partner Visa ของเรา
  • พอเราได้ Bridging Visa A มา, แต่เนื่องด้วยวีซ่านักเรียนเรายังไม่หมด และเรายังคงต้องไปเรียนอยู่เหมือนเดิน พอเราไม่ไปเรียน ทางโรงเรียนก็จะมีการแจ้งไปที่อิมมิเกรชั่น แล้วอิมมิเกรชั่นก็จะ cancel วีซ่าของเรา วีซ่าที่โดน cancel คือจะ cancel ทั้งวีซ่านักเรียนและ Bridging Visa A
  • พอวีซ่าเราโดน cancel ปุ๊บ เราก็สามารถสมัครขอ Bridging Visa E ได้ ซึ่ง Bridging Visa E ตัวนี้ จะเอามาใช้แทน Bridging Visa A ที่ถูกออกให้มาก่อนหน้าโน้น
  • เสร็จแล้วเราก็ถือ Bridging Visa E นี่แหละ อยู่รอฟังผล Partner Visa ของเราไปเรื่อยๆ จนกว่าผลวีซ่าของเราจะออก
การถือ Bridging Visa E ก็มีทั้งข้อดีและข้อเสียนะครับ

ข้อดีคือ:
  • เราไม่ต้องไปเรียนแล้ว ไม่ต้องไปเสียค่าเรียนแพง ๆ อีกต่อไป
  • จริงๆแล้ว Bridging Visa E ไม่สามารถทำงานได้ แต่เราสามารถทำเรื่องขอทำงานได้ทีหลัง
ข้อเสียคือ:
  • เราจะไม่สามารถเปลี่ยน Bridging Visa E เป็นวีซ่าอะไรอย่างอื่นได้เลย เปลี่ยนกลับไปเป็น Bridging Visa A ก็ไม่ได้ คือ Bridging Visa E ที่ได้มา มีเอาไว้เพื่อรอฟังผล Partner Visa อย่างเดียว
  • Bridging Visa E ไม่สามารถเดินทางได้ เพราะจาก Bridging Visa E จะเปลี่ยนไปขอเป็น Bridging Visa B ที่สามารถเดินทางออกนอกประเทศไม่ได้ ดังนั้นคนที่คิดจะทำ Bridging Visa E คือหลาย ๆ คนที่ไม่อยากไปเรียน ต้องคิดให้ดี ๆ ก่อนว่าเราจะมีความจำเป็นอะไรที่ต้องเดินทางออกนอกประเทศหรือเปล่า เพราะถ้าได้ Bridging Visa E แล้ว คือเราเดินทางไม่ได้เลย จะกลับไปเยี่ยมคนที่เมืองไทยอะไรก็ไม่ได้ เราต้องอยู่รอผลวีซ่าจนกว่าผล Partner Visa เราจะออก ซึ่ง standard waiting time ตอนนี้อยู่ที่ 12 เดือน
สรุปทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตมีทั้งข้อดีและข้อเสียนะครับ เราจะเลือกเอาสิ่งใหนก็ลองคิดและไตร่ตรองกันให้ดี ๆ นะครับ

นี่ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งที่สามารถทำได้โดยถูกกฏหมาย สำหรับน้องๆหลายคนที่สอบถามกันเข้ามา เพราะมีหลายคนที่ทำเรื่อง Partner Visa กับแฟนแล้ว และไม่อยากไปเรียน เพราะอยากทำงานเก็บตังค์ ซึ่งจริง ๆ แล้วก็สามารถทำได้

Wednesday, August 19, 2015

อยู่เป็นผี วีซ่าขาด เราช่วยคุณได้


อยู่เป็นผี วีซ่าขาด ไม่มีปัญหาครับ เราช่วยคุณได้ ไม่ว่าวีซ่าพึ่งจะขาดหรือขาดมานานแล้ว ไม่มีปัญหาครับ

คนที่วีซ่าขาด

  • สามารถทำวีซ่าแต่งงานได้เลย ไม่ว่าจะเป็นแบบแต่งงานจดทะเบียน หรือ de facto ไม่ว่าจะเป็นเพศเดียวกัน หรือต่างเพศ ทำได้หมด
ความรักเนี๊ยะ มันช่างวิเศษจริงๆนะ จากคนที่วีซ่าขาด อยู่เป็นผี อยู่ดีๆก็สามารถสมัคร PR ได้

อยากรู้อะไร สงสัยอะไรสำหรับคนที่วีซ่าขาด คนที่อยู่เป็นผี คนที่มีแฟนอยู่แล้ว สามารถทำเรื่องสปอนเซอร์ได้เลย ไม่ต้องอยู่แบบหลบๆซ่อนๆนะครับ 

หลายๆคนกลัวว่า คนที่อยู่เป็นผี คนที่วีซ่าขาดจะต้องกลับไปทำเรื่องมาจากเมืองไทย ไม่จริงนะครับ แนะนำให้สอบถามคนที่เรียนจบกฏหมายมานะครับ ไม่ใช่เพื่อนที่ทำงานในครัวด้วยกัน!

ดังนั้น แนะนำนะครับ คนที่อยู่เป็นผี คนที่วีซ่าขาด ออกมาจัดการเรื่องวีซ่าของตัวเองให้เรียบร้อย ไม่ต้องอยู่แบบหลบๆซ่อนๆ เพราะถ้ายิ่งเป็นคนไทยด้วยกันแล้วหละก็ เห็นมาแล้วเยอะเหลือเกินที่คนที่อยู่เป็นผี คนที่วีซ่าขาดถูกเอารัดเอาเปรียบ ทำงานอย่างหลบๆซ่อนๆ ถูกเจ้านายกดขี่ นั่น นี่ โน่น

ไม่จำเป็นต้องอยู่เป็นเบี้ยล่างใครอีกต่อไปนะครับ

ถ้าใครมีเพื่อนหรือคนที่รู้จัก ที่ตกอยู่ในสถานการณ์อย่างนี้ แนะนำหรือบอกต่อๆกันไปได้นะครับ ว่าคนที่อยู่เป็นผี หรือคนที่วีซ่าหมดนั้น มันไม่ได้หมดหนทางทำวีซ่าอย่างอื่นไปสะเลยทีเดียว

จริงๆคนที่วีซ่าขาด ก็สามารถสมัครวีซ่าอย่างอื่นได้ นอกเหนือจากวีซ่าแต่งงาน แต่ตอนนี้ขออุบเอาไว้ก่อนนะครับ เอาไว้โอกาสหน้าจะมาเขียนให้อ่านกัน

Tuesday, August 18, 2015

วีซ่านักเรียนไม่ได้ต่อได้เรื่อย ๆ


วีซ่านักเรียน ชื่อก็บอกอยู่แล้วนะครับว่าเป็นวีซ่าสำหรับคนที่ต้องการหาความรู้ใส่ตัว แต่ในขณะเดียวกัน วีซ่านักเรียนนี้ก็เป็นอีก tool หรือพาหนะอีกอย่างหนึ่งสำหรับหลาย ๆ คนที่อยากจะมาเริ่มต้นชีวิตใหม่ที่ออสเตรเลีย เพราะหลาย ๆ คนก็แบบว่า นึกอะไรไม่ออก ก็ทำวีซ่านักเรียนก่อนก็แล้วกัน ง่ายดี...

การที่เราจะมาเรียนมาจริง ๆ หรือเราเรียกกันว่า genuine student, เราก็คิดว่าเจ้าหน้าที่หรือ case officer ก็คงพอที่จะดูออกว่า สรุปแล้วคนนี้อยากจะมาเรียนจริงหรือเปล่าหรือแค่ต้องการขอวีซ่านักเรียนเพื่อที่จะมาออสเตรเลียเพื่อหลบทำงาน หรือว่าหาอะไรทำอย่างอื่น

การที่ case officer จะดูว่าเราเป็นนักเรียนที่อยากจะมาเรียนจริงๆ genuine student หรือเปล่านั้น case officer ก็จะดูจากหลายๆปัจจัยมารวมกันนะครับ แต่ละ case ก็ไม่เหมือนกัน case ทุก case ก็จะออกแนว case-by-case basis นะครับ แต่ blog นี้เราไม่ขอพูดถึงก็แล้วกัน เพราะไม่งั้นคงอีกยาว

เราเข้าใจนะครับว่าหลายๆคนอยากมาขุดทองที่ออสเตรเลียกัน แต่อย่าลืมว่าทุกสิ่งอย่างในชีวิตเรามันก็ต้องมีขอบเขต และควรเดินทางสายกลางกัน อยู่กับความพอดี

วีซ่านักเรียนที่พี่ ๆ น้อง ๆ คนไทยหลาย ๆ คนชอบทำกันมานั้น มันอาจจะทำกันมาไม่อยากนัก แต่ก็อย่าลืมนะครับว่าจุดประสงค์ของวีซ่านักเรียนจริงๆแล้วก็เพื่อที่ให้คนเค๊ามาเรียนหนังสือกัน ไม่ใช่ทำงานกันหามรุ่งหามค่ำ โดยเฉพาะพวกทำงานร้านอาหารไทยและร้านนวด และงานอื่นๆอีกมากมาย

ก็เข้าใจนะครับว่าทุกคนดิ้นรนอยากจะทำงานกัน แต่ก็อย่าลืมว่าวีซ่านักเรียนเนี๊ยะมันก็มีวันหมดอายุ วีซ่านักเรียน ถึงแม้ว่ามันจะต่อได้อยู่เรื่อยๆแต่มันก็มีข้อจำกัดคือ มันไม่ได้สามารถต่อไปได้ตลอดไปไม่มีที่สิ้นสุด ไม่ใช่ครับ ในโลกของความเป็นจริงแล้ว ถ้าเราถือวีซ่านักเรียน เปลี่ยนที่เรียนแล้ว เปลี่ยนที่เรียนอีก ไปเรียนมั่ง ไม่ไปเรียนมั่ง ขาด ๆ หาย ๆ จำนวนวันที่เข้าเรียนก็น้อย เรียนไปเรียนมาไม่ได้จบอะไรเป็นชิ้นเป็นอันเลย คำถามมีอยู่ว่า แล้วอย่างนี้จะมี case officer คนใหนเค๊าจะให้เราต่อไปได้เรื่อย ๆ หละ

หรือบางคนก็เรียนไปเรื่อย ๆ จบจากใบหนึ่ง ก็ไปลงเรียนอีกใบหนึ่ง เหมือนมีอาชีพเป็นนักเรียน ยังไงยังงั้น

สมการง่าย ๆ นะครับ ไม่ยาก common sense does make sense.

ดังนั้นถ้าใครคิดจะดันทุรังต่อวีซ่านักเรียนไปเรื่อยๆ 5-6 ปี แต่เรียนไม่จบอะไรสักอันเลย แนะนำให้คิดใหม่นะครับ

ก็เข้าใจนะครับว่าเกือบทุกคนที่ถือวีซ่านักเรียนก็อยากจะอยู่ที่นี่ อาจจะด้วยชีวิต lifestyle และการทำมาหากินที่มันอาจจะสะดวกกว่าที่เมืองไทย แต่ก็อย่าคิดแต่จะเอาวีซ่านักเรียนเป็นหลักนะครับ ลองหันซ้ายมองขวาดู มองหาลู่ทางอย่างอื่นดูบ้างก็ดี เผื่อมันจะมีทางเลือกของวีซ่าตัวอื่นๆบ้าง วีซ่าที่ออสเตรเลียมีหลายประเภท ก็ลองศึกษาและปรึกษาผู้รู้ดูก็แล้วกันว่าวีซ่าตัวใหนจะมีความเหมาะสมกับเราบ้างนะครับ

คนที่ขอวีซ่านักเรียน อยู่เป็นนักเรียนมาแล้ว 7-8 ปี เราคิดว่า ถึงเวลาแล้วหละที่จะต้องมองหาวีซ่าตัวต่อไป เพราะคิดว่าถ้าจะต่อวีซ่านักเรียนอีกรอบต่อไปมันก็คงเป็นไปยากแน่นอน

ก็ลองเก็บเอาข้อมูลวันนี้ไปคิดกันดูนะครับ

Monday, August 17, 2015

เบื่อเมืองไทย อยากมาอยู่ที่นี่สัก 1-2 ปี


เบื่อเมืองไทย อยากมาอยู่ที่ออสเตรเลีย สัก 1-2 ปี มีวีซ่าอะไรหรือเปล่าเอ่ย

ง่ายๆ สั้นๆ คือไม่มีจ๊ะ ไม่มีวีซ่าอะไรที่ให้เรามาอยู่ที่ออสเตรเลียเฉยๆหรอก

ใครนะช่างใจร้ายเบื่อเมืองไทยไปได้...

แต่ก็ไม่เป็นไรครับ ถ้าอยากมาจริงๆ วีซ่าท่องเที่ยวก็มาได้ แต่ก็คงได้ไม่นาน อย่างมากก็แค่ 3-6 เดือน ถ้าคิดจะมากันเป็น 1-2 ปี ก็คงยาก นอกจากจะมีเงินในบัญชีสะมากมาย เอามาถลุงเล่นที่นี่ หรือว่าพ่อแม่ที่มีลูกอยู่ที่นี่ นั่นก็อีกเรื่องหนึ่ง ถ้าพ่อแม่ที่มีลูกอยู่ที่นี่หนะ ของ่ายครับ

วีซ่าอีกอันหนึ่งที่พอจะขอได้ก็คือ พวก work & holiday แต่มันก็อยู่ได้ไม่นาน และปีหนึ่งๆก็จะมีโควต้า ให้มาแค่ไม่กี่ร้อยเอง และก็ต้องขอใบอนุญาติจากกรมแรงงานอีก วุ่นวายครับ แต่ก็ขอได้เฉพาะคนที่อายุไม่เกิน 30 เท่านั้น

ถ้าจะให้ง่ายสุด ก็คงจะเป็นวีซ่านักเรียน ถ้าอยากจะอยู่ 1-2 ปี ก็หาอะไรก๊อกๆแก๊กๆลงเรียนเล่นๆไปก็แล้วกัน college ถูกๆ ไม่มีคุณภาพตามหัวเมืองใหญ่ๆมีเยอะแยะ อย่างเช่น ซิดนีย์ หรือ เมล์เบิร์น มีมากยังก็ดอกเห็ด

อยากเรียน course อะไรก็ลอง search หาในอินเตอร์เน็ตดูนะครับ เผื่อมี course อะไรที่น่าสนใจ

Sunday, August 16, 2015

Training Benchmark เอาไว้ train พนักงาน



จำได้ว่าได้เขียนเรื่อง Training Benchmark เอาไว้เมื่อวันที่ 24/07/2015. วันนี้ก็ต่ออีกนิดหนึ่งนะครับ ไม่ยาวมาก คือ


Training Benchmark เนี๊ยะ จุดประสงค์คือเรา train พนักงานนะครับ ไม่ใช่เรา train เราเอง ดังนั้น ค่าใช้จ่ายอะไรที่เป็นของเราก็ claim ไม่ได้ 100% นะครับ ถ้าจะให้ดีคือต้องเป็นการ train พนักงานนะครับ

ถ้าจะให้ดีนะครับ sign up ลงเรียนเป็น traineeship หรือ apprenticeship ไปได้เลยยิ่งดีไปใหญ่

Friday, August 14, 2015

เปิดร้านอาหารกันเอง เอาร้านตัวเองสปอนเซอร์ตัวเอง ทำได้ถึง 4 ครับครัวนะ


เดี๋ยววันนี้เรามาเรียนรู้เคล็ดที่ไม่ค่อยลับ แต่ก็ไม่ค่อยมีคนรู้กันดีกว่า ว่าถ้าเรากับเพื่อนๆจะเอาเงินมาลงทุนเปิดร้านอาหารแล้วสามารถทำเรื่องสปอนเซอร์ทำวีซ่า subclass 457 ได้ถึง 4 ครอบครัวนั้นเค๊าทำได้ยังไง

ปกติแล้วร้านอาหารนั่งกินทั่วๆไปสามารถสปอนเซอร์เซฟได้ถึง 2 คน และสปอนเซอร์ผู้จัดการร้านได้ถึง 2 คนนะครับ ถ้าทนายความหรืออิมมิเกรชันเอเจนย์ฉลาดหรือมีไหวพริบพอ 

ก็เข้าใจนะครับว่า paperwork มันเยอะ อาจไม่มีทนายความหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนย์ที่เค๊าแนะนำกัน แต่จริงๆแล้วทำได้

ทำไมถึงสามารถสปอนเซอร์เซฟได้ถึง 2 คน และผู้จัดการร้านได้ถึง 2 คนเหรอ?

อ้าว... เรารู้หรือเปล่าว่า งาน fulltime จริงๆแล้วตามกฏหมายการว่าจ้างงานมันต้องมีการว่าจ้างแค่อาทิตย์ละ 38 ชั่วโมงนะครับ ไม่ใช่ทำกันหามรุ่งหามค่ำ อาทิตย์หนึ่ง 6 วัน มีวันหยุดอาทิตย์ละวัน อะไรประมาณนี้ ดังนั้นร้านอาหารทั่วไปถ้าเปิด 7 วัน 7 คืน เปิดทั้ง lunch และ dinner ก็สามารถสปอนเซอร์เซฟได้ 2 คน คนหนึ่งทำกะกลางวัน คนหนึ่งทำกะกลางคืน หรือสลับกันไปสลับกันมา อะไรก็ว่าไป

ทำนองเดียวกันครับ ร้านอาหารร้านหนึง โดยทั่วๆไปแล้วก็สามารถ
สปอนเซอร์ผู้จัดการร้านอาหารได้ถึง 2 คนเช่นกัน คนหนึงดูแลร้านกลางวัน อีกคนดูแลร้านตอนกลางคืน หรือสลับกันไปสลับกันมา

ดังนั้นร้านอาหารนั่งกินทั่วๆไปก็สามารถสปอนเซอร์คนได้ถึง 4 คน

นี่แค่ร้านอาหารทั่วๆไปนะครับ ถ้าร้านใหญ่มหึมา ขายดี เทน้ำเทท่า ต้องการเซฟหรือกุ๊กเยอะๆก็สามารถทำได้เยอะกว่านี้อักนะครับ

ดังนั้นการที่เราจะเปิดร้านอาหารกับเพื่อนอีกสัก 3 คนนั้น ทำได้ง่ายๆไม่ยากครับ

4 คนหุ้นกัน สมมุติว่าร้านอาหารโดยทั่วไป ไม่ว่าจะตกแต่งขึ้นมาใหม่หรือซื้อต่อจากเจ้าของเดิม ราคาก็ไม่น่าเกิน $100,000 ถ้าหาร 4 ก็ตกคนละ $25,000 ซึ่งจริงๆแล้วก็ไม่มากอะไรมากมาย เพราะที่บอกว่า
สปอนเซอร์ได้ 4 คนนั้น จริงๆแล้วสามารถสปอนเซอร์ได้ถึง 4 ครอบครัวเลย เพราะว่า

  • ถ้าเราสปอนเซอร์เซฟ แล้วเซฟมีแฟนหรือมีลูก แฟนกับลูกก็ติดตามได้เลย
  • ถ้าเราสปอนเซอร์ผู้จัดการร้าน แล้วผู้จัดการมีแฟนหรือมีลูก เค๊าก็สามารถยื่นเรื่องเข้าไปพร้อมกันได้เลย
สรุปคือ ทำได้ถึง 4 ครอบครัวนะครับ 
Happy 4 families.

ถ้าเราฉลาด และ creative นิดหน่อย (think outside the box) ปรึกษาผู้รู้แล้วเอาความรู้นั้นมาทำอะไรให้มันเกิดประโยชน์นะครับ 

ถ้าโอกาสมันไม่มีมาหาเรา เราก็ต้องสามารถโอกาสขึ้นเองได้นะครับ ลงทุนนิดหน่อย แต่ผลพลอยได้ระยะยาวก็ถือว่าคุ้มค่า จะมามัวนั่งรอหานายจ้างมาสปอนเซอร์เราบางทีมันก็ยาก เพราะไม่มีใครอยากมาเป็นธุระให้กับเรา ดีไม่ดีเค๊าถือว่าเป็นภาระเค๊าอีกต่างหาก

ได้ข้อมูลวันนี้แล้วก็ลองเก็บเอาไปขบคิดดูนะครับ

Thursday, August 13, 2015

เป็นเจ้าของธุรกิจ จะสปอนเซอร์ตัวเองยังไง


การที่เราเป็นเจ้าของธุรกิจแล้วต้องการสปอนเซอร์ตัวเองนั้น ทำได้ง่ายๆ ไม่ยากครับ วีซ่ายอดฮิตที่สามารถกันได้ก็คือวีซ่าทำงาน subclass 457

ปกติแล้วคนไทยเราก็จะเอาร้านนวด หรือร้านอาหาร มาสปอนเซอร์ตัวเอง ดังนั้นถ้าใครพอมีงบอยู่มั่ง ก็แนะนำให้เปิดธุรกิจที่สามารถ 
สปอนเซอร์ตัวเองได้นะครับ เราจะได้ไม่ต้องไปง้อนายจ้างเค๊า

ถ้าตังค์มีไม่มากนัก เราก็หุ้นกันกับเพื่อนๆแล้วก็เปิดธุรกิจก็ได้

ขั้นตอนก็มีตามนี้นะครับ

  1. ธุรกิจต้องจดทะเบียนเป็นรูปแบบของบริษัท ห้ามจดเป็นส่วนบุคคล
  2. สาขาอาชีพที่สามารถสปอนเซอร์ได้ ต้องอยู่ใน CSOL (Consolidated Skilled Occupation List) สาขาอาชีพในร้านอาหารก็จะเป็น chef หรือไม่ก็ restaurant manager ถ้าเป็นร้านนวด ก็จะเป็น massage therapist (หมอนวด)
  3. เราจะสปอนเซอร์ตัวเองในตำแหน่งอะไร ก็ต้อง make sure นะครับ ว่าเราเรียนมาทางด้านนี้ หรือมีประสบการณ์ในการทำงานทางด้านนี้ ใครเรียนมาไม่ตรงสาขา ก็แนะนำให้รีบหาที่เรียนในสาขาที่มันตรงกับตำแหน่งข้างบนนะครับ 
ที่เหลือก็ทำการสปอนเซอร์ขอวีซ่าทำงาน subclass 457 ตามปกติ ซึ่งก็จะมี 3 ขั้นตอนคือ
  • Standard Business Sponsor (SBS)
  • Nomination
  • Application
เดี๋ยวขั้นตอนของการทำเรื่องสปอนเซอร์ visa subclass 457 จะเอาไว้เขียนทีหลังก็แล้วกันนะครับ วันนี้เอาแค่ว่าเป็นเจ้าของธุรกิจ 
จะสปอนเซอร์ตังเองยังไงก่อน

Tuesday, August 11, 2015

ซื้อขายธุรกิจที่ออสเตรเลีย ต้องเตรียมเอกสารอะไรมั่ง


ซื้อขายธุรกิจที่ออสเตรเลีย แทบไม่ต้องใช้เอกสารอะไรเลยครับ เพราะเวลาซื้อขายธุรกิจกันที่นี่เราจะซื้อขายผ่านทนายความกันอยู่แล้ว ทุกอย่างทนายความจะเป็นคนดูแลและจัดการให้หมดเลย เราแทบไม่ต้องทำอะไร มีหน้าที่จ่ายค่าทนายอย่างเดียว

ปกติแล้วทนายเราเค๊าจะดูแลผลประโยชน์ของเรา ไม่ให้เราเสียเปรียบกับอีกฝ่ายหนึ่ง เพราะปกติแล้วเวลาซื้อขายธุรกิจกันที่นี่ บางทีคนขายเค๊าจะมีข้อแม้อะไรแปลกๆเข้ามาเยอะแยะ ถ้าเราไม่มีทนายเราก็อาจจะพลาดท่าเสียเปรียบเค๊าได้

ปกติการแล้วการซื้อขายธุรกิจ ทนายเค๊าจะมี template ที่ใช้กันอยู่แล้วในแวดวงของทนาย เป็น template ที่ standard ทนายคนใหนๆก็จะใช้กัน ดังนั้นเรื่องของ template จะไม่ค่อยมีปัญหา แต่บางทีเราก็สามารถเรียกร้องหรือมีข้อตกลงในการจ่ายตังค์ด้วย จะจ่ายอะไรกันยังไง หรือมีการห้ามเจ้าของกิจการเก่ามาเปิดอะไรใกล้ๆกัน ซึ่งก็สามารถทำเป็นข้อตกลงได้

หลังจากนั้นทนายความก็จะจัดการเปลี่ยนสัญญาเช่าจากเจ้าของธุรกิจคนเดิมให้มาเป็นชื่อเรา ตรงนี้สำคัญนะครับ เพราะสัญญาเช่าตึกเช่าอะไรเนี๊ยะ เป็นอะไรที่ไม่ตายตัว บางทีเจ้าของตึกชอบมีข้อเรียกร้องอะไรที่แปลกๆหรืองี่เง่า เราต้องระวังให้ดี ถ้าเราต้องเสียเปรียบมากก็ไม่แนะนำให้ทำการซื้อขายนะครับ เพราะถ้าในสัญญาบอกว่าเจ้าของตึกสามารถไล่เราออกได้เมื่อไหร่ก็ได้ (สมมุติ) แบบนี้ก็เป็นอันตรายต่อการดำเนินธุรกิจ เพราะถ้าเราซื้อธุรกิจกันมาแพงๆ แล้วจู่ๆเจ้าของตึกมาบอกให้เราออกภายใน 1-2 เดือนอะไรแบบเนี๊ยะ แย่เลย

ดังนั้นผมคิดว่าเรื่องสัญญาเช่าตึกเป็นอะไรที่สำคัญที่สุด ทนายความที่ดี ถ้าเค๊าเห็นข้อเรียกร้องอะไรแปลกๆเค๊าจะเตือนเราก่อน แล้วถามเราว่าจะให้เดินหน้าดำการต่อ หรือถอยหลังดี เราเองก็ต้องตัดสินใจให้ดีๆก็แล้วกัน

Sunday, August 9, 2015

วีซ่าอะไรๆก็ทำธุรกิจได้


มีหลายคนสอบถามเข้ามาว่า เค๊าถือวีซ่าตัวนั้นนะ ตัวนี้นะ จะทำธุรกิจอะไรได้มั๊ย?

และธุรกิจยอดฮิตของคนไทยก็จะเป็นเปิดร้านอาหารไทยหรือไม่ก็ร้านนวดไทย

คำตอบง่ายๆสั้นๆคือ วีซ่าอะไรก็ทำธุรกิจได้ครับ คือเป็นเจ้าของธุรกิจได้

แต่เราต้องเข้าใจว่า ทำงานได้ กับ ทำธุรกิจได้ นั้นไม่เหมือนกัน

ทำงานก็คือการออกแรงออกเวลามาเป็นลูกจ้าง อาจจะทำงานให้กับธุรกิจตัวเองก็ได้ แต่เราก็ต้อง make sure ว่าวีซ่าของเรานั้นมี work right ซึ่งก็หมายความว่า วีซ่าเราต้องสามารถทำงานได้ อย่างเช่น 

  • วีซ่านักเรียน ทำได้ 40 ชั่วโมงต่อ 2 อาทิตย์
  • วีซ่านักท่องเที่ยวทำงานไม่ได้
การทำธุรกิจ หรือเป็นเจ้าของธุรกิจ ไม่ได้หมายความว่าเราต้องทำงาน เพียงแต่ว่าเราจดทะเบียนการค้าเป็นชื่อเราเฉยๆ อาจจะเป็นแบบส่วนบุคคล หุ้นส่วน หรือบริษัท อะไรก็ตามแต่

บางคนอาจจะงงว่า เอ๊ะ เป็นเจ้าของธุรกิจ แล้วไม่ได้ทำงาน ห้ามทำงาน แล้วจะเป็นเจ้าของธุรกิจได้ไง 

เป็นได้สิครับ เราก็จ้างพนักงานสิครับ รัฐบาลออสเตรเลียยิ่งชอบ เพราะว่าถือว่าเป็นการให้งานแก่คนที่นี่ เป็นการดีต่อเศรษฐกิจของประเทศ ดังนั้นรัฐบาลเลยไม่ค่อยมีข้อจำกัดในเรื่องของวีซ่าที่สามารถจดทะเบียการค้าเป็นเจ้าของธุรกิจสักเท่าไหร่ ใครอยากจดก็จดไป อะไรประมาณนี้

ถ้าเราถือวีซ่านักเรียน ทำงานได้ 40 ชั่วโมงต่อ 2 อาทิตย์ เราก็ต้อง make sure ว่าเราลงชื่อทำงานแค่ 40 ชั่วโมงต่อ 2 อาทิตย์ ที่เหลือเราก็ต้องจ้างพนักงาน

ถ้าเราถือวีซ่าที่ไม่สามารถทำงานได้ อย่างเช่นวีซ่าท่องเที่ยว (ยกตัวอย่างเฉยๆนะครับ) เราก็ได้แค่ควบคุมธุรกิจอยู่ห่างๆ เข้าไปทำเองไม่ได้ อะไรประมาณนี้ เราก็ต้องจ้างพนักงานเอา เช่นเดียวกัน

ที่ยกตัวอย่างมาก็แค่อยากจะชี้ให้เห็นว่า วีซ่าอะไรก็ตามแต่ ถ้าอยากที่จะทำธุรกิจอะไรที่นี่ ทำได้เลยครับ ไม่มีปัญหา ส่วนขั้นตอนในการเตรียมเอกสาร เดี๋ยวผมจะเขียนใน blog นี้วันต่อไปก็แล้วกันนะครับ ก็แวะเข้ามาอ่านอีกรอบก็แล้วกัน

"J Migration Team"

Thursday, August 6, 2015

อยากขอวีซ่านักท่องเที่ยว ต้องทำไงมั่ง

จุดประสงค์ของวีซ่านักท่องเที่ยวหรือ Tourist Visa นั้นมีเอาไว้เพื่อที่ให้คนเดินทางมาท่องเที่ยวหรือเยี่ยมญาติๆที่ออสเตรเลีย

การเดินทางมาท่องเที่ยวนั้นเป็นการเดินทางมาที่นี่แค่ชั่วคราว ไม่ได้มาอยู่ถาวร ดังนั้นการที่เราจะขอวีซ่าท่องเที่ยวได้นั้นเราก็ต้องโชว์อิมมิเกรชันว่าเราหนะจะมาเที่ยวจริงๆ ไม่ได้คิดที่มาหนีอยู่ผิดกฏหมายอะไรทำนองนั้น

หรืออีกวิธีหนึ่งก็คือเราต้องสามารถโชว์ได้ว่า จะยังไงเสียเราก็จะกลับไปประเทศเราแน่นอน ดังนั้นเราต้องโชว์ว่าเรามีอะไรที่ผูกมัดเราที่เมืองไทยด้วย อย่างเช่น

  • เรามีการงานที่มั่นคงที่เมืองไทย ยังไงๆก็จะกลับไปทำงานต่อที่เมืองไทยแน่นอน
  • เรามีภาระที่เมืองไทยที่ต้องดูแล อาจจะเป็นลูกหรือพ่อแม่ที่แก่เฒ่าที่เรายังไงๆก็ต้องกลับไปดูแลแน่นอน
  • เรามีธุรกิจการงานที่ต้องกลับมาบริหารต่อ
  • เรามีทรัพย์สมบัติเยอะแยะมากมายที่เมืองไทยและยังไงๆก็ต้องกลับมาดูแลทรัพย์สมบัติของตัวเองหรือครอบครัว
  • เราเป็นนักเรียนหรือนักศึกษาที่ต้องกลับมาเรียนต่อ(ที่เมืองไทย)แน่นอน
อันนี้ก็แค่คร่าวๆนะครับ ว่ามีเอกสารอะไรที่เราสามารถเอามาโชว์ได้ จริงๆแล้วเอกสารอะไรต่างๆอีกเยอะแยะมากมายที่เราสามารถเอามาประกอบในการขอวีซ่าได้

เสร็จแล้วเรามาว่ากันด้วยเรื่องของเงินกันดีกว่า...

การที่คนเราจะเดินทางมาท่องเที่ยวเราก็ต้องมีเงินในบัญชี เพราะเราจะมาเที่ยว จะมาจับจ่ายใช้สอยที่นี่ รัฐบาลออสเตรเลียชอบที่นักท่องเที่ยวเดินทางเข้ามาประเทศและนำเงินตราต่างๆมาจับจ่ายใช้สอยที่นี่ ทำให้เศรษฐกิจที่นี่ดี ทำให้คนมีงานทำ

ดังนั้นจึงสำคัญมากที่คนที่ขอวีซ่าท่องเที่ยวจะต้องมีเงินโชว์อยู่ในบัญชี เพราะถ้าไม่มีเงินในบัญชี มันก็ผิดวิสัยของคนที่เค๊าจะมาเที่ยวกัน เพราะการที่คนจะมาท่องเที่ยวมันก็ต้องมีการจับจ่ายใช้สอย ดังนั้นเงินในบัญชีต้องมีโชว์นะครับ หรือถ้าเรามาเยื่ยมลูกหรือญาติหรือใครๆก็ตามแต่ เราก็สามารถใช้บัญชีของลูกหรือญาติๆได้ แต่จู่ๆจะใช้บัญชีของคนแปลกหน้าหรือคนที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับเราไม่ได้นะครับ อย่างเช่นเอาเบอร์บัญชีเพื่อนเป็นต้น

ก่อนที่จะคิดจะขอวีซ่าท่องเที่ยวยังไงก็เช็คก่อนนะครับว่าเรามีเอกสารอะไรต่างๆพร้อมมั๊ย
  • ถ้าเงินในบัญชีมีไม่เยอะ เราก็ขอยาก
  • ถ้าการงานมั่นคง เราก็ขออยากเหมือนกัน ดังนั้นคนที่เพิ่งจะเริ่มงานใหม่ๆก็แนะนำอย่าเพิ่งรีบขอวีซ่านะครับ แนะนำให้ทำงานไปเรื่อยๆนานๆไปก่อน นอกเสียจากจะทำงานรับราชการ เพราะยังไงเสียงานราชการก็มั่นคงกว่างานเอกชน
ก็ได้แต่หวังว่า blog นี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านไม่มากก็น้อยนะครับ

ถ้าใครต้องการสอบถามอะไรก็สามารถสอบถามมาได้ผ่าน Facebook fanpage วีซ่าไปออสเตรเลีย ง่ายๆไม่ยาก

หรือไม่ก็ทาง LINE นะครับ

Sunday, August 2, 2015

การใช้เอกสารปลอม ไม่ดี

การที่เราจะทำเรื่องขอวีซ่าของประเทศออสเตรเลีย ขอร้องนะครับว่าให้ใช้เอกสารจริงกัน เพราะหากมีการปลอมแปลงแล้วทางสถานทูตหรือิมมิเกรชันจับได้ 

  1. วีซ่ายังไงก็ไม่ผ่าน เพราะว่าใช้เอกสารปลอม
  2. การใช้เอกสารปลอม มีความผิดทางอาญานะครับ
โดยเฉพาะน้องๆนักเรียนที่จะสมัครวีซ่านักเรียนมาแล้วเงินในบัญชีมีไม่พอ ก็พากันไปปลอมแปลงเอกสารมา ไม่ดีนะครับ ไม่แนะนำ

วีซ่านักเรียน คือมันต้องมีเงินในบัญชี เอาไว้โชว์ให้ case officer ดูว่า เรามีตังค์พอ พอกับค่าเล่าเรียนและค่าใช้จ่ายในชีวิตประจำวันที่นี่ เพราะถ้าเงินในบัญชีไม่พอ ก็แสดงว่าเราไม่มีศักยภาพในการจ่ายค่าเทอม ดังนั้นเราไม่สามารถที่จะมาเรียนที่ออสเตรเลียได้

ไม่ได้หมายความว่าต้องเฉพาะคนมีตังค์ถึงจะมีปัญญามาเรียนเมืองนอก ไม่ใช่นะครับ ไม่ได้หมายความว่าอย่างนั้น คือเอาเป็นว่าถ้าเราไม่มีตังค์ในบัญชี แต่อยากมาเรียนที่นี่มาก ไม่ว่าจะอยากมาเรียนจริงๆ หรืออยากจะมาหางานทำก็ตามแต่ แต่ที่แน่ๆคือเราต้องมีเงินโชว์ในบัญชี ถ้าเราไม่มี เราก็ไปหยิบยืมใครมาจากใหนก่อนก็ได้ เอามาโชว์ในบัญชีก่อน พอเรื่องผ่าน เราก็ค่อยเอาตังค์ไปคืนเค๊าก็ได้

ยืมตังค์คนอื่นมาโชว์ในบัญชี มันก็ยังดีกว่าที่เราจะไปปลอมแปลงเอกสารออกมากันเองนะครับ เข้าใจว่าบางคนรู้จักคนทำงานที่ธนาคารแล้วขอให้ธนาคารออกหนังสือรับรองให้ว่าเรามีเงินอยู่ในบัญชีเท่านั้นเท่านี้ ทั้งๆที่จริงๆแล้วเรามีเงินไม่ถึงเลย

ทางสถานทูตที่เมืองไทยเค๊ามีเจ้าหน้าที่คอยโทรเช็คเอกสารกับทางธนาคารนะครับ พอเค๊าโทรไปเช็คแล้วข้อมูลมันไม่ตรงกัน เราไม่มียอดเงินในบัญชีตามที่เอกสารใบรับรองปลอมจากธนาคารออกให้มา เราก็ซวย ก็ถือว่าเรามีการปลอมแปลงเอกสารกัน

ทางสถานทูตที่เมืองไทย ไม่ใช่ว่าเราส่งเอกสารอะไรไปเค๊าจะไม่มีการตรวจเช็คนะครับ

ผิดนะครับผิด

ทางสถานทูตมีการตรวจเช็คเอกสารทุกอย่างนะครับ ดังนั้นค่าสมัครวีซ่าที่เรายื่นเข้าไป ก็ถือว่าเป็นค่าเสียเวลาของพนักงานที่สถานทูตที่เค๊าต้องเช็คเอกสารเรา นั่น นี่ โน่น

ถ้าวีซ่าเราไม่ผ่าน ทางสถานทูตไม่มีการคืนเงินค่าสมัครนะครับ

ค่าสมัครหนะมันไม่เท่าไหร่หรอก แต่มันจะทำให้เรามีประวัติไม่ดีนะครับ เพราะระบบคอมพิวเตอร์ของทางอิมมิเกรชันถือว่าเป็นระบบยอดเยี่ยมอีกระบบหนึง เค๊ามีข้อมูลเชื่อมโยงกันทุกอย่างนะครับ และประวัติเราก็จะมีอยู่ในนั้นด้วย

ไม่ดีนะครับ ไม่แนะนำ
ถ้าใครคิดจะใช้เอกสารปลอม แนะนำให้คิดใหม่นะครับ

เพราะถ้าเกิดอะไรขึ้น มันก็ไม่คุ้มกับการที่เรามีประวัติกับทางสถานทูตและอิมมิเกรชันนะครับ