Wednesday, February 22, 2023

Partner Visa และความลื่นไหลในรสนิยมทางเพศ

"สมชาย" ณ กาลครั้งหนึ่งเคยคบหากับ "สมหญิง" เป็นแฟนกันแบบจริงจัง รักกันจริง ๆ ไม่ได้ set up อะไรขึ้นมา ทั้ง 2 คนก็ทำวีซ่านักเรียนติดตามกัน

แต่ความลื่นไหลทางเพศ มันไม่ได้เข้าใครออกใคร
และทุกสิ่งอย่างก็ไม่มีถูก ไม่มีผิด แล้วแต่มุมของใครที่จะเลือกมอง

เมื่อวันใด ใครคนหนึ่งค้นหาตัวเองเจอ แล้วรู้ว่าจริง ๆ แล้วเขาต้องการอะไรในชีวิต ต่างฝ่ายก็ต่างแยกย้ายกันไป เป็นเพื่อนที่ดีต่อกันได้

แล้ว "สมชาย" ก็พบรักใหม่กับ "สมหมาย" ซึ่งก็ไม่ผิดอะไร
ความรักก็คือความรัก

Love is Love.
Make Love, Not War.

สมชายกับสมหมายก็สามารถทำเรื่องติดตามกันได้ หรือถ้าสมหมายเป็น PR หรือ citizen สมหมายก็สามารถทำเรื่อง Partner Visa ให้กับสมชายได้

กฎหมายอิมมิเกรชั่น บางทีก็ซับซ้อน
บางทีก็ไม่ซับซ้อน
แล้วแต่จะเลือกมองแบบไหน

เพื่อความชัวร์ ปรึกษาคนที่มี MARN ดีที่สุดครับ

Monday, February 20, 2023

Partner Visa: ยังไม่หย่ากับแฟนเก่า



"สมสวย"แต่งงานมีสามีแล้วอยู่ที่เมืองไทย
สมสวยถือวีซ่านักเรียน มาเรียนหนังสือที่ประเทศออสเตรเลีย

ด้วยระยะทางที่ห่างไกล สมสวยกับสามีที่เมืองไทยได้เลิกรากันไป แต่สมสวยยังไม่มีเวลาบินไปหย่ากับสามีที่เมืองไทย แต่ทั้ง 2 เลิกรากันไปแล้วจริง ๆ ต่างฝ่ายต่างไปมีชีวิตใหม่

สมสวยเองก็เจอเจ้าชายในฝัน เป็นหนุ่มออสซี่ เป็นคนที่นี่ เกิดที่นี่ ไม่เคยทำเรื่อง Partner Visa ให้ใครมาก่อน

สมสวยกับแฟนหนุ่มคบกัน ดูใจกันซักระยะหนึ่ง และก็คิดว่านี่แหละ "กิ่งทองใบหยกของฉัน"

แต่เนื่องด้วยอุปสรรคกับการมีทะเบียนสมรสอยู่ที่เมืองไทย และสมสวยเองก็ไม่ได้มีเวลาที่จะบินกลับไปหย่าอะไรให้เรียบร้อย

ครั้นจะจด register of relationship ก็ทำไม่ได้ เพราะสมสวยเองก็ไม่ได้โสด (บางรัฐอาจจะจดได้)

งั้นสมสวยกับแฟนหนุ่มก็ต้องเก็บเอกสารร่วมกันให้ถึง 12 เดือนแล้วค่อยเรื่องเป็นแบบ de facto partner

สมสวยกับแฟนหนุ่มตาน้ำค้าง เปิดบัญชีคู่ร่วมกัน 14 Feb 2022 วันแห่งความรัก

ดังนั้นเมื่อเอกสารครบ 12 เดือน
สมสวยกับแฟนหนุ่มจึงสามารถยื่นเรื่องได้ 14 Feb 2023
โดยที่ตัวสมสวยเอง ยังไม่ได้หย่ากับสามีที่เมืองไทย (แต่ต้องเลิกรากันแล้วจริง ๆ นะครับ แค่ไม่ได้มีเวลาบินไปหย่าเฉย ๆ )

กราบขอบคุณสมสวยและแฟนหนุ่มที่เลือกใช้บริการของเรา

เรื่องของความรัก
ไล่ timeline กันให้ดี ๆ 

เลิกราแต่ยังไม่ได้หย่า ไม่ได้ถือว่าเป็นคบซ้อน ดังนั้น ทำเรื่อง Partner Visa ได้ตามปกติ

Copyright: ถ้าจะแชร์ให้แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น, ไม่ copy & paste,  ไม่ screen capture.

Friday, February 17, 2023

คุมซ่องยังไงให้ได้ PR


blog นี้เราขอใช้คำง่าย ๆ เพื่อให้เข้าถึงได้กับทุกคน ทุกระดับ


สาขาอาชีพที่สามารถขอ PR ได้ มีเยอะแยะมากมาย ที่แบ่งออกเป็นแบบ long-term list, short-term list และ ROL; Regional Occupation List

long-term list คือเราสามารถขอ PR ได้ด้วยตัวเองโดยที่ไม่ต้องมีนายจ้างสปอนเซอร์ ที่เราเรียกว่า Skilled Migrant; subclass 189, subclass 190 และ subclass 491

long-term list ก็สามารถขอ PR ได้ด้วยการมีนายจ้างสปอนเซอร์ได้ด้วยเหมือนกัน ก็ขอเป็น subclass 482 TSS แล้วตามด้วย subclass 186 ENS หรือจะขอเป็น subclass 186 ENS Direct Entry เลยก็ได้

short-term list ไม่สามารถขอ PR ได้ ยกว้นคนที่ถือหรือยื่นวีซ่า subclass 457 ณ วันที่หรือก่อน 18 Apr 2017 หรือคนที่อยู่ในประเทศออสเตรเลียช่วงที่เป็น COVID อย่างน้อย 12 เดือนช่วง 01 Feb 2020 - 14 Dec 2021

ROL; Regional Occupation List หลาย ๆ สาขาอาชีพที่อยู่ใน short-term list ก็จะอยู่ใน ROL ด้วย ROL มี pathway ที่จะขอ PR ได้ แต่นายจ้างต้องอยู่เมืองรอบรอบนอกเท่านั้น (regional area) ก็ขอเป็น subclass 494 ก่อน แล้วค่อยตามด้วย subclass 191 (PR) หรือบางคนก็อาจจะอ้อมหน่อย ก็สามารถขอเป็น subclass 482 TSS, แล้วตามด้วย subclass 494 แล้วค่อยขอ PR เป็น subclass 191 (PR) ก็ได้

คนไทยส่วนมาก (ไม่ทุกคน) ยังยึดติดอยู่กับภาพเดิม ๆ สาขาอาชีพเดิม ๆ ที่พวกเราคุ้นเคยกัน อย่างเช่น chef, cook, restaurant manager หรือ massage therapist

จะมีซักกี่คนที่มานั่งศึกษาและไล่ดูสาขาอาชีพที่อยู่ใน ROL แบบเชิงลึก

เธอจะรู้หรือเปล่านะว่าสาขาอาชีพ Accommodation and Hospitality Managers (nec); ANZSCO 141999 นั้นมันรวมไปถึงอะไรบ้าง

มันรวมไปถึง Hospitality, Retail, And Service Managers (nec); ANZSCO 1419999

ซึ่งในนั้นก็จะมี 

Abattoir Manager; ผู้จัดการโรงฆ่าสัตว์
Brothel Keeper; คนคุมซ่อง
Laundrette Owner; เจ้าของร้านซัก อบ รีด
Taxi Proprietor; เจ้าของบริษัทรถแทกซี่
Weight Loss Centre Manager; ผู้จัดการศูนย์ลดน้ำหนัก


สาขาอาชีพอื่น ๆ มันธรรมดาไป
เรามาเจาะลึก Brothel Keeper; คนคุมซ่อง กันดีกว่า

ซ่องหรือสถานบริการทางเพศ ในหลาย ๆ รัฐ; NT, QLD, NSW, VIC, ACT ถือว่าเป็นธุรกิจที่ถูกกฎหมาย

 ถูกกฎหมาย จ่ายภาษี GST; 10%...

SA ทำไม่ได้
TAS และ WA จะซับซ้อนนิดหนึง ลองไล่หาอ่าน blog ที่เราเขียนเรื่องขายกล้วย ขายหวีกันนะครับที่ 

https://jpp168immi.blogspot.com/2022/12/blog-post_29.html

Brothel Keeper คือคนคุมซ่อง
เป็นอีกหนึ่งสาขาอาชีพที่สามารถขอ PR ได้
อยู่ใน ROL

"ซ่อง" ในที่นี่ คนที่ให้บริการสามารถเป็นได้ทั้งผู้ชายหรือผู้หญิงนะครับ โลกมีความเท่าเทียวกันในเรื่องนี้ ไม่ว่ารสนิยมทางเพศคุณเป็นยังไง ประเทศออสเตรเลียมีคำตอบให้


ทำงานเป็นเป็นคนคุมซ่อง
อาจจะมีสวัสดิการพนักงานอย่างอื่นแถม


ได้หมด ถ้าสดชื่น

เปิดใจให้กว้าง
โลกเขาไปถึงไหนต่อไหนแล้ว

มีอีกหลายสาขาอาชีพที่สามารถขอ PR ได้

Brothel Keeper; คนคุมซ่อง คือสาขาอาชีพที่สามารถขอ PR ได้ ในเขต reginal area ดังนั้น

Wollongong, Newcastle, Darwin, Gold Coast, Sunshine Coast, Townsville และเมืองในเขต regional อื่นอีกเยอะแยะมากมาย

รออะไรหละจ๊ะ... 
ให้ไว

คนคุมซ่อง... หรือ Brothel Keeper วุฒิการศึกษา skill level 2, จบ Diploma ก็สามารถขอได้แล้ว

Copyright: แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น, ไม่ copy & paste, ไม่ screen capture

...เ ขี ย น เ อ ง ทุ ก ตั ว อั ก ษ ร...

Wednesday, February 15, 2023

ถือ Protection Visa; subclass 866


หลาย ๆ คนสับสนระหว่างคำว่า "ถือ Protection Visa; subclass 866" กับคำว่า "ยื่น Protection Visa; subclass 866"

"ถือ" กับ "ยื่น" ความหมายไม่เหมือนกันครับ

"ถือ" แปลว่าวีซ่าเราผ่านแล้ว เราได้ PR (Permanent Resident) แล้ว เพราะ Protection Visa; subclass 866 คือ PR เลย

"ยื่น" แปลว่ายื่นเรื่องเข้าไปเฉย ๆ แล้วรอการตัดสินจากอิมมิเกรชั่น จาก case officer ว่า case เราจะผ่านหรือเปล่า

"ยื่นเรื่อง" เข้าไป เราก็จะได้ Bridging Visa ไม่ว่าจะเป็น Bridging Visa A หรือ Bridging Visa C

"Bridging Visa" รากศัพท์มาจากคำว่า "Bridge" ซึ่งแปลว่า "สะพาน"

มันคือ "สะพาน" ที่จะพาเราข้ามจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง ฝั่งตรงข้าม มันไม่ได้แปลว่าเราข้ามถึงฝั่งแล้ว เราข้ามเสร็จแล้ว

ตรงนี้เราต้องแยกกันให้ออกว่า "ถือวีซ่า" กับ "ยื่นวีซ่า" ไม่เหมือนกัน

หลาย ๆ คนคิดว่าวีซ่าที่ตัวเองยื่นไปนั้นผ่านแล้ว ได้ PR แล้ว ซึ่งจริง ๆ ไม่ใช่

ทำงานได้
มี Medicare
ไม่ได้แปลว่าเป็น PR

Protection Visa; subclass 866 คือวีซ่าลี้ภัยครับ
สำหรับใครที่มีอันตรายต่อชีวิต ต้องการ protection ไม่สามารถกลับประเทศของตัวเองได้ อาจจะด้วยปัญหาทางสงคราม หรือปัญหาทางด้านการเมือง หรือปัญหาอะไรก็ตามแต่ที่เราคิดว่าชีวิตเราไม่ปลอดภัย ในส่วนนี้เราได้เขียนไปแล้ว

ก่อนที่จะยื่นวีซ่าอะไร คิดก่อนเสมอว่าผลที่ตามมาจะเป็นอะไร ยังไง

ถ้ายื่น Protection Visa เข้าไปแล้ว ได้ Bridging Visa สามารถทำงานได้ เราจะเอาประสบการณ์การทำงานนั้นไปต่อยอดเพื่อขอวีซ่าตัวต่อไปหรือเปล่า

หรือเราต้องการแค่ซื้อเวลา ทำงานเก็บเงินไปเรื่อย ๆ เฉย ๆ เพราะถ้าเราเคยยื่น Protection Visa ที่ประเทศออสเตรเลียแล้ว ถ้ากลับไปเมืองไทยแล้ว แล้วอยากจะทำเรื่องกลับมาใหม่ในรูปแบบของวีซ่าชั่วคราว อย่างเช่นวีซ่าท่องเที่ยว subclass 600 หรือวีซ่านักเรียน subclass 500 บอกเลยว่าทำเรื่องกลับมายากมากถึงยากที่สุด

แต่ถ้าทำเรื่องกลับมาเป็นวีซ่าถาวร (PR) ก็ไม่มีปัญหาอะไร
อย่างเช่น Partner Visa subclass 300/100 หรือพวก Skilled Migrant Visa; subclass 189, subclass 190 หรือ subclass 186; ENS Direct Entry

ดังนั้นในช่วงที่เราถือ Bridging Visa ไม่ว่าจะเป็น Bridging Visa A หรือ Bridging Visa C เราก็ต้องถามตัวเราเองด้วยว่า ช่วงเวลาที่เราอยู่ใน Bridging Visa ตัวนี้ เราจะทำอะไรกับชีวิตของเรา

เราจะเรียนต่อเพื่อเอาวุฒิการศึกษาแล้วนำไปต่อยอดไปขอ PR เป็น Skilled Migrant Visa; subclass 189, subclass 190 หรือ subclass 491  ได้มั้ย

หรือเราทำงานเสียภาษีให้ถูกต้อง มี payslip, มี PAYG มี Incomes Statements แล้วเราจะต่อยอดกับชีวิตด้วยการขอวีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ด้วย subclass 482, หรือ subclass 494 แล้วขอ PR ด้วย subclass 186 หรือ subclass 191

อะไรประมาณนี้

ถามตัวเอง
หาคำตอบในชีวิตให้เจอ
สายน้ำและวันเวลาไม่เคยหวนกลับ

ใช้เวลาที่อยู่ในประเทศนี้ให้เป็นประโยชน์มากที่สุด

จำไว้เสมอ
"ถือ Protection Visa; subclass 866" กับ
"ยื่น Protection Visa; subclass 866"
นั้นไม่เหมือนกัน

...ฝ า ก เ อ า ไ ว้ ใ ห้ ค ริ ส ต์...

Copyright: ถ้าจะแชร์ให้แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น,  ไม่อนุญาตให้ copy & paste, ไม่อนุญาตให้ screen capture

...เ ขี ย น เ อ ง ทุ ก ตั ว อั ก ษ ร...

Monday, February 13, 2023

วีซ่านักเรียน ทำงานได้ 40 hr/2 weeks; 01 July 2023



โดยปกติแล้ว วีซ่านักเรียนจะทำได้แค่ part-time นั่นคือไม่เกิน 40 ชั่วโมงต่อ 2 อาทิตย์

ยกเว้น:
1. นักเรียน ป.เอก
2. คนติดตามนักเรียน ป.เอก
3. นักเรียน ป.โท ที่เป็น research
4. คนติดตามนักเรียน ป.โท ที่เป็น research
5. คนติดตามนักเรียน ป.โท ที่เป็น coursework

5 กรณีนี้เท่านั้นที่สามารถทำงานได้ไม่จำกัด ทำไปเลย เด็กน้อยร้อยอาชีพทั้งหลาย ทำไป 24 x 7 ไม่ผิดกฎหมาย

นักเรียนที่อยู่ใน category อื่น สามารถทำงานได้แค่ part-time เท่านั้น คือไม่เกิน 40 ชั่วโมงต่อ 2 อาทิตย์

I. นักเรียน ป.โท coursework
II. นักเรียน ป.ตรี
III. คนติดตามนักเรียน ป.ตรี
IV. นักเรียนที่เรียนใน college หรือ TAFE
V. คนติดตามนักเรียนที่เรียนใน college หรือ TAFE

แต่เนื่องด้วยสถานการณ์ COVID ที่ผ่านมา ประเทศออสเตรเลียมีการปิดประเทศ ทำให้แรงงานต่าง ๆ ขาดแคลน รัฐบาลของประเทศออสเตรเลียจึงประกาศและอนุญาตให้นักเรียนทุกคน และผู้ติดตามนักเรียนทุกคน ทุก education sectors สามารถทำงานได้ไม่จำกัดชั่วโมง

ที่ผ่านมาเราจึงเห็น YouTubers หน้าใหม่ หน้าเก่า ออกมาโชว์เจ๋งว่าตัวเองทำงานเดือนหนึ่งได้หลายแสนบาท ซึ่งเราก็ยินดีด้วย ทั้งที่คูณ rate อัตราแลกเปลี่ยนถูกและผิด

งานเลี้ยงทุกอย่างต้องมีการเลิกลา

เมื่อประเทศออสเตรเลียเปิดให้คนเดินทางเข้าได้ตามปกติแล้ว
นักเรียนต่างชาติเริ่มหลั่งไหลกันเข้ามาแล้ว
คนถือ Work and Holiday (WAH) ก็เยอะ
ดังนั้นปัญหาแรงงานก็ค่อย ๆ เริ่มดีขึ้น

เริ่มวันที่ 01 July 2023 นักเรียนทุกคนและผู้ติดตามทุกคนต้องกลับมาใช้กฎเดิม ข้อมูลตามที่บอก

1-5: คือทำงานได้ไม่จำกัดชั่วโมง มีแรงก็ทำไป

I - V: ทำได้ไม่เกิน 40 ชั่วโมงแต่ 2 อาทิตย์

กฎหมายมีเอาไว้เพื่อจัดระเบียบสังคม ถ้าทุกคนทำงานกฎ เคารพกฎ ทุกอย่างก็ง่าย

ทำงานต้องจ่ายภาษี ไม่รับเงินสด
นายจ้างเองก็ต้องจ่าย superannuation; 10.50% ให้กับพนักงาน อันนี้คือจ่าย on top of the wages/salary เพื่อเก็บไว้ใช้ตอนเกษียณ

ทุกอย่างแฟร์ ๆ

เป็นกำลังให้สำหรับหลาย ๆ คนที่กำลังจะโยกย้าย
ขอให้โยกย้ายอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง
โยกย้ายแบบไม่ขายฝัน
โยกย้ายเพื่อชีวิตและอนาคตที่ดีขึ้น
โยกย้ายเพื่อเป็นอีกหนึ่งทางเลือกหรือประสบการณ์ของชีวิต
ไม่ได้โยกย้ายเพราะความเกลียดชัง

Copyright: ถ้าจะแชร์ให้แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น,  ไม่อนุญาตให้ copy & paste, ไม่อนุญาตให้ screen capture

...เขียนเองทุกตัวอักษร...

Subclass 408; COVID Visa stream, 2023 update

วีซ่า subclass 408; COVID Visa stream จริง ๆ แล้วไม่ใช่วีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ซะทีเดียว มันถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาและสถานการณ์ของ COVID ที่คนเดินทางกลับประเทศช่วงปี 2020/2021  และหลังจากนั้นก็มีการเปลี่ยนกฎเพื่อใช้เป็นวีซ่าในการแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงาน


Subclass 408; Temporary Activity Visa มีมานานแล้ว มีหลาย stream, stream ของวีซ่าศิลปินก็อยู่ในหมวดหมู่ของ subclass 408


Subclass 408; สามารถขอได้ทั้งจากภายในและภายนอกประเทศออสเตรเลีย


ส่วน Subclass 408 ที่เป็น Covid visa stream นั้นขอได้เฉพาะ onshore


COVID visa stream, subclass 408 as of today 13 Feb 2023 คือ:

- ทุกคนสมัครได้ ถ้ามีนายจ้าง จะทำงานในตำแหน่งไหน อะไร ยังไง สมัครได้หมด (ขอย้ำว่าสมัครได้ทุกตำแหน่ง เพราะมันไม่มี occupation list แล้ว)

- สมัครได้ 90 วันก่อนวีซ่าหมด วีซ่าปัจจุบันเป็นวีซ่าอะไรก็ได้ วีซ่าท่องเที่ยว (เข้ามาก่อน 21 Feb 2022)  วีซ่านักเรียน วีซ่าทำงาน... และอื่น ๆ อีกมากมาย สรุปคือ... ถือวีซ่าอะไรมาก็สมัครได้ ถ้าไม่ติด 8503 หรือ 8534

- หรือ 28 วันหลังจากที่วีซ่าเก่าหมด วีซ่าเก่าต้องเป็นวีซ่าที่ไม่ใช่ Bridging Visa ทุกชนิด

- ถ้าเข้ามา 21 Feb 2022 หรือหลังจากนั้น วีซ่าต้องมี work right


Subclass 408; Covid visa stream document list

  • ใบเกิด และ ใบเปลี่ยนชื่อ (ถ้ามี) ทั้งตัวจริง และ ใบแปล

  • Passport

  • บัตรประชาชนไทย

  • สถานะสมรส

  • Visa grant

  • ที่อยู่ปัจจุบัน

  • Last 10 years residential address

  • เบอร์โทร

  • จดหมายจ้างงาน หรือ contract of employment

  • Australian police check

  • ประกันสุขภาพ 


เมื่อเราถือวีซ่านี้ 1 ปี เราสามารถต่อยอดไปขอวีซ่าอะไรต่อก็ได้
ขอได้ทุกวีซ่าหลังจากถือ subclass 408

ถือ subclass 408 แล้วก็สามารถต่อ subclass 408 ต่อได้อีกเรื่อย ๆ จนกว่ากฎหมายจะเปลี่ยน หรือมีการยกเลิก subclass 408; COVID visa stream ตัวนี้

แต่อย่าลืมว่า งานเลี้ยง ทุกอย่างต้องมีวันเลิกลานะครับ
เมื่อสถานการณ์ COVID ดีขึ้น
เมื่อสถานการ์การขาดแคลนแรงงานค่อย ๆ คลี่คลาย
เมื่อวันนั้นมาถึง เดี๋ยวเราจะแจ้งอีกทีนะครับ

Monday, February 6, 2023

Concession; Subclass 485 Temporary Graduate visa



Concession อะไรต่าง ๆ นานาสำหรับ Subclass 485 Temporary Graduate visa ที่ออกมาเพื่อช่วยเหลือนักเรียนที่ติดอยู่ในประเทศออสเตรเลียช่วง COVID


ก็จะมีให้ถึงแค่วันที่ 30 Jun 2023 นะครับ

ที่บอกว่านักเรียนที่เรียนสาย Diploma อะไรต่าง ๆ ที่สามารถขอ Subclass 485 ได้นั้น ก็สามารถขอได้แค่ถึงวันที่ 30 June 2023 เท่านั้นนะครับ


เริ่ม 01 Jul 2023 ทุกอย่างกลับมาเหมือนเดิมคือ:

- สาย Diploma ที่สามารถขอ subclass 485 ได้นั้นต้องเป็นสายที่เรียนอยู่ในสาขาอาชีพ long-term list (Medium and Long‑term Strategic Skills List) เท่านั้น สาขาธรรมดาขอไม่ได้แล้ว อันนี้ในส่วนของ Graduate Work Stream

- ป.ตรี ป.โท ป.เอก ก็ขอได้ตามปกติ ในส่วนของ Post-Study Work stream


งานเลี้ยงต้องมีวันเลิกลา

Saturday, February 4, 2023

Protection Visa, วีซ่าลี้ภัย สำหรับใครบางคน เขาอาจจะคุณสมบัติครบก็ได้ โปรดอย่าเหมารวม

Protection Visa, วีซ่าลี้ภัย สำหรับใครบางคน เขาอาจจะคุณสมบัติครบก็ได้ โปรดอย่าเหมารวม


OK, Protection Visa มันอาจจะไม่ได้เหมาะกับทุกคน

การที่ใครบางคนทำเรื่องลี้ภัย มันไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องที่เกี่ยวข้องกับ 112 เสมอไป


มันไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่องการเมืองระดับประเทศเสมอไป


กับใครบางคน คุณสมบัติคนสมัคร เราคิดว่า "เข้าข่าย" มีโอกาสขอ มีโอกาสสู้ แต่จะผ่านหรือเปล่านั้นอีกเรื่องหนึ่ง แต่อย่างน้อยก็ได้ลอง


เสียดายที่น้องติดต่อมากระชั้นชิดมาก เราไม่มีเวลารับ case เพราะ case ที่มีความน่าจะเป็นแบบนี้ เราก็อยากจะทำให้เต็มที่ ถึงแม้ว่าโอกาสที่น้องจะได้ PR นั้นไม่ได้ guarantee


การลี้ภัยทางการเมือง บางทีการเมืองระดับท้องถิ่น ก็ "เข้าข่าย" มีโอกาสขอ มีโอกาสสู้ เพราะนักการเมืองท้องถิ่นบางคน บางครอบครัวก็โดนขู่ฆ่า มีการรอบทำร้าย มีเอกสารและหลักฐานออกข่าว และอะไรอีกมากมายที่สามารถเอามา support ได้


บอกได้เลยว่าเป็น case ที่ท้าทาย

เป็น case ที่น่าทำ

แค่น้องติดต่อมากระชั้นชิด ก่อนที่วีซ่าน้องจะหมดเฉย ๆ 

ถ้าน้องติดต่อมาก่อนที่วีซ่าจะหมดซัก 5-6 เดือน เราจะได้มีเวลาเตรียมกัน เพราะถ้าเอกสารและข้อมูลแน่นขนาดนี้ มันเป็นอะไรที่น่าทำ มันเป็นอะไรที่น่าลอง แต่นั่นแหละ มันต้อง dig มันต้องลงลึกถึงความขัดแย้ง มันอาจจะมีอะไรที่บั่นทอนจิตใจคนรับทำเรื่องก็ได้ แต่เราก็ไม่ค่อย attach อยู่แล้ว "งาน ก็คืองาน"


ที่บอกว่าถ้าน้องติดต่อมานานกว่านี้ซัก 5-6 เดือนก็เพราะ เราจะได้มีเวลาแปลเอกสาร และ clip ข่าวต่าง ๆ เหตุการณ์ที่เป็นอันตรายถึงชีวิตต่าง ๆ เพราะข่าวและเอกสารอะไรต่าง ๆ มันก็เป็นภาษาไทย จะต้องแปลกัน และจะต้องเขียนเรื่องราวกัน และเราจะได้ศึกษา case ด้วย


ดังนั้น การที่เราเห็นคนไทยบางคนขอวีซ่าลี้ภัย หรือ Protection Visa เราอย่าเพิ่งไป judge ใคร หรือตัดสินใคร 


กับใครบางคน กับครอบครัวบางครอบครัว เขาเข้าข่ายในการขอจริง ๆ ครับ เขามีโอกาสในการขอจริง ๆ ครับ เขาและครอบครัวมีอันตรายถึงชีวิตจริง ๆ ครับ ถ้าเขากลับไปเมืองไทย


ลี้ภัยทางการเมือง ไม่จำเป็นต้องเป็นเรื่อง 112 เสมอไป

ลี้ภัยทางการเมือง ไม่จำเป็นต้องนักการเมืองใหญ่ ๆ โต ๆ ระดับประเทศเสมอไป


แต่ไม่ใช่คนที่มาวีซ่าท่องเที่ยวแล้วทำวีซ่าลี้ภัย เพื่อไปเก็บผลไม้ในฟาร์มนะครับ แบบนั้นคนละแบบกัน อย่าทำ


เสียดายมากที่เรากับน้องคนที่ติดต่อมา ไม่ได้มีโอกาสร่วมกันงาน

แต่ไม่แน่ ถ้าน้องวีซ่าใกล้หมด แล้วยื่น subclass 408; Covid visa stream เพื่อยื้อต่อเวลาอีก 1 ปี เราอาจจะได้มีโอกาสร่วมงานกันนะครับ


ก็แค่อยากจะให้ทุกคนเปิดใจให้กว้างสำหรับคนที่ยื่นวีซ่าลี้ภัย หรือ Protection Visa ด้วยนะครับ ใช่ว่าทุกคนจะเป็นคนวีซ่าขาดเสมอไปที่ยื่นวีซ่าตัวนี้


ใช่ว่าทุกคนจะเป็นคนที่มาด้วยวีซ่าท่องเที่ยวและมายื่นวีซ่าลี้ภัยเสมอไป


คนที่เขามีคุณสมบัติเข้าข่ายก็มีครับ

แต่แค่อาจจะมีน้อย ก็แค่นั้นเอง

เปิดใจให้กว้าง ไม่ต้องใช้บรรทัดฐานของเราไปตัดสินคนอื่น


Copyright: แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น, ไม่อนุญาตไม่ copy & paste, ไม่อนุญาตให้ screen capture


Note: ไม่ comment เรื่องการเมืองใน page หรือ blog ของเรานะครับ

Thursday, February 2, 2023

เรื่องอยู่ที่ AAT, ถือ Bridging Visa A อยากจะยื่น Partner Visa

"น้องเหน่ง เขย่งฉี่" ตอนนี้ถือ Bridging Visa A เพราะวีซ่าก่อนหน้านั้นที่ยื่นไปไม่ผ่าน สมมุติว่าเราไม่รู้ว่าวีซ่าของน้องที่ยื่นไปไม่ผ่านนั้นเป็นวีซ่าอะไร เอาเป็นว่าตอนนี้วีซ่าของน้องอยู่ที่ AAT, ถือ Bridging Visa A


"น้องเหน่ง เขย่งฉี่" มีแฟนเป็น Australian PR/Citizen 


แฟนจะทำเรื่อง Partner Visa ให้กับน้องเหน่ง 

เพราะเรื่องที่ AAT ก็ไม่รู้ว่าจะออกหัวหรือออกก้อย

เนื่องด้วยน้องเหน่งตอนนี้ถือ Bridging Visa A 
น้องเหน่งไม่สามารถยื่น Partner Visa ภายในประเทศออสเตรเลียได้ (นอกจาก schedule 3)

ในระหว่างที่น้องเหน่งรอเรื่องที่ AAT น้องเหน่งกับแฟนก็เตรียมเอกสาร นั่น นี่ โน่น ในการยื่น Partner Visa

Form 888 พร้อม
หลักฐานเรื่องความสัมพันธ์พร้อม

น้องเหน่งไม่สามารถยื่น Partner Visa ภายในประเทศ (onshore) ได้

สิ่งที่น้องเหน่งสามารทำได้คือ
  • ขอ Bridging Visa B เพื่อที่จะเดินทางออกไปนอกประเทศ ไปประเทศไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นประเทศไทย น้องเหน่งจะไป New Zealand, Bali หรือ Fiji ก็สามารถไปได้หมด ถ้าไปบางประเทศน้องเหน่งก็ต้องขอวีซ่าท่องเที่ยวไปนะครับ
  • ทันทีที่น้องเหน่ง scan passport ที่สนามบิน น้องเหน่งก็ถือว่าอยู่นอกประเทศออสเตรเลีย (offshore) แล้วครับ
  • ในระหว่างที่น้องเหน่ง ไปเขย่งฉี่อยู่ที่ offshore, น้องเหน่ง หรือทนายความ หรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์ของน้องเหน่ง ก็สามารถยื่นเรื่อง Partner Visa ทาง online ให้ได้
  • พอ click submit, จ่ายเงินค่าสมัครแล้วเรียบร้อย น้องเหน่งก็สามารถบินกลับเข้าประเทศออสเตรเลียได้เลย ยื่นเรื่องตอนเช้า บินกลับได้เลยตอนบ่ายครับ
  • พอน้องเหน่ง กลับเข้าถึงประเทศออสเตรเลีย น้องเหน่งก็สามารถอยู่ได้ด้วย Bridging Visa A/B  จาก AAT โดยอัตโนมัติ
  • ในระหว่างที่รอผล AAT, case ของน้องเหน่งก็ process ไปเรื่อย ๆ เป็นการไม่เสียเวลา และน้องเหน่งเองก็ได้อยู่กับแฟน
  • แต่เมื่อไหร่ที่ AAT เรียกแล้วผลการอุทธรณ์ไม่ผ่าน น้องเหน่งก็ต้องเดินทางออกนอกประเทศ และก็ไปรอเรื่อง Partner Visa อยู่นอกประเทศนะครับ อย่างน้อย case ของน้องเหน่งก็ได้ยื่นไปแล้ว ยื่นก่อน ได้คิวก่อน อยู่หน้า ๆ นะครับ case จะได้จะ approve ไว ๆ 

เราก็ขอให้ความรักของ "น้องเหน่ง เขย่งฉี่" สมหวังนะครับ
รักกันตราบจนชั่วฟ้าดินสลาย
ถือไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชร
ความตายเท่านั้นที่จะพรากรักจากน้องและแฟนได้

เป็นกำลังใจให้เสมอ

กฎหมายอิมมิเกรชั่นของประเทศออสเตรเลียมีขั้นมีตอน ทุกสิ่งอย่างครับ ศึกษารู้เท่าทัน ปรึกษาคนที่มีที่หมายเลข MARN เท่านั้น

Copyright: แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น, ไม่ copy & paste, ไม่ screen capture