Tuesday, June 29, 2021

Subclass 187; RSMS Transitional Stream กับผลการเรียน 5 ปี



สำหรับใครที่ตอนนี้ถือวีซ่า subclass 482 TSS หรือ subclass 457 แล้วพยายามแล้วในการสอบภาษาอังกฤษ แต่มันก็ไม่ได้สักที

IELTS general; 6 each band หรือ PTE Academic; 50 each band

ลองอ่าน blog นี้ดูนะครับ เผื่อจะมีทางออก

เริ่ม 16 Nov 2019; subclass 187 RSMS; Direct Entry ทำไม่ได้แล้ว แต่ Subclass 187 RSMS; Transitional Steam ยังทำได้อยู่

ข้อดีคือ:
- subclass 187 Transitional Stream สามารถใช้ผลการเรียน 5 ปีแทนผลสอบภาษาอังกฤษได้

คุณสมบัติคือ:
- ร้านอยู่เมืองรอบนอก ณ วันที่ยื่น บางบริษัทตั้งใจมาเปิดอีกสาขาที่เมืองรอบนอกก็ได้ ต่อให้ก่อนหน้านั้นเปิดในเมืองมาโดยตลอดก็ทำได้ครับ เราทำมาแล้ว ผ่าน น้องได้ PR และ citizen ไปแล้ว ตอนนี้ซื้อบ้านกันแล้วเรียบร้อย

- ถ้าเรายื่นเรื่อง subclass 457 ก่อนหรือ ณ วันที่ 18 Apr 2017, สาขาอาชีพอะไรก็ช่าง สามารถทำได้หมด ไม่ว่าจะเป็นสาขาอาชีพที่อยู่ใน long-term list หรือ short-term list อายุต่ำกว่า 50 ปี คนในกลุ่มนี้เราเรียกว่า "Transitional 457 Workers under 50" 

- ณ วันที่ 20 Mar 2019 (วันที่ต่างกัน และ subclass ก็แตกต่างกันนะครับ) ถ้าเรายื่นเรื่องหรือถือวีซ่า subclass 482 ในสาชาอาชีพที่อยู่ใน long-term list; Medium and Long‑term Strategic Skills List (ย้ำว่า "long-term list" เท่านั้น) คนในกลุ่มนี้เราเรียกว่า "Transitional 482 Workers" อายุต่ำกว่า 45

- ทั้ง "Transitional 457 Workers under 50" และ "Transitional 482 Workers" สามารถยื่นเรื่อง subclass 187; RSMS Transitional Stream โดยใช้ผลการเรียน 5 ปีแทนการสอบภาษาอังกฤษได้ครับ

- แต่ก็ต้องยื่นก่อน 18 March 2022 นะครับ

เมืองที่เป็น regional, เอา postcode ณ วันที่ยื่น ต่อให้ก่อนหน้านั้นเมืองนั้นไม่ได้เป็น regional มาก่อนก็ตาม อย่างเช่น; Wollongong, New Castle, Gold Coast และ Perth....etc...etc...

อยากรู้ว่าเมืองไหนเป็น regional ให้ check ใน link นี้

https://www.legislation.gov.au/Details/F2019L01446

เข้าใจว่าการเดินทางของชีวิตของทุกคนนั้นไม่ง่ายอย่างที่คิด ถ้าง่ายทุกคนเขาก็ทำกันได้หมดแล้วสิ

เหนื่อยได้
ท้อได้
พักได้
แต่อย่าหยุดนะครับ

Winner never quit.
Quitter never win.

การลงมือทำ จะทำให้เรารู้ว่าสำเร็จหรือไม่สำเร็จ
แต่การไม่ลงมือทำมีคำตอบเดียวคือ “ไม่สำเร็จ” แน่นอน

เราเป็นกำลังใจให้นะครับ

Note: The definition of a "transitional 457 worker" has been recently amended for the purposes of a nomination or visa application made for the RSMS under the TRT stream. It has been changed to:

“Transitional 457 worker means a person who held a Subclass 457 (Temporary Work (Skilled)) visa at any time occurring on or after 18 April 2017”.

https://immi.homeaffairs.gov.au/what-we-do/skilled-migration-program/skilled-visa-newsletters/november-2019

https://www.legislation.gov.au/Details/F2019L01423


Monday, June 28, 2021

Subclass 408; COVID Visa



สำหรับคนที่ประสบการณ์ในการทำงานยังไม่ถึงในการที่จะทำวีซ่า subclass 482 หรือ subclass 494

ก็อย่าลืมใช้วีซ่า subclass 408 ให้เป็นประโยชน์นะครับ

subclass 408 ที่สามารถออกได้นานถึง 12 เดือนในช่วง COVID
ถ้าเราทำงานอยู่ใน critical sectors ในช่วง COVID-19 pandemic:

- Agriculture: ทำงานที่ฟาร์ม หรือพวกเกษตรกรรม
- Food processing: โรงงานผลิตอาหาร
- Health care: งานที่เกี่ยวกับสาธารณสุข
- Aged care: ดูแลคนแก่
- Disability care: คนแลคนพิเศษ
- Child care: ดูแลเด็ก 
- Tourism and Hospitality: พวกร้านอาหาร โรงแรม การท่องเที่ยว ต่าง ๆ นานา

subclass 408 สามารถทำงานได้ full-time
ไม่ต้องสอบ IELTS
ไม่ต้องใช้ bank statement (เพราะใช้สัญญาจ้างงานแทน)

subclass 408 สามารถต่อได้อีก จนกว่าสถานการณ์ COVID จะดีขึ้น จนกว่าจะมีการประกาศออกมาใหม่จากอิมมิเกรชั่น

หรือสำหรับใครที่ต้องการอยู่ต่อ ทำงานเก็บตังค์ นี่ก็เป็นอีกหนึ่ง subclass ที่เราสามารถขอได้ช่วง COVID-19 นะครับ ถ้าเราทำงานอยู่ใน critical sector ใน 7 sectors ด้านบน

ก็ลองดูนะครับ
เป็นอีกหนึ่งทางเลือก

ก็ดีกว่าจ่ายค่าเทอมไม่ใช่เหรอ???

subclass 408 ที่เรายื่นไป ที่ผ่านมา ผ่านหมดทุก case ครับ

กลัวได้ แต่อย่าหนี
ท้อได้ แต่อย่าถอย
ล้มได้ แต่อย่าเลิก

เราและทีมงานขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนครับ

PMSOL: Priority Migration​ Skilled Occupation List



ในช่วงของสถานการณ์ COVID ประเทศออสเตรเลียยังปิดประเทศ วีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ก็โดน freeze มาตั้งแต่ปีที่แล้ว ก็มาค่อย ๆ ทยอย grant กันหลังจากที่สถานการณ์ต่าง ๆ เริ่มดีขึ้นบ้างนี่แหละ ถึงกระนั้นก็เถอะมันก็ยังเกิดสถานการณ์ขาดแคลนแรงงานอยู่บ้าง

ที่ผ่านมา สำหรับวีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ สาขาอาชีพที่มี case officer หยิบมาพิจารณาคือสาขาอาชีพที่เกี่ยวข้องกับ COVID, สาขาอาชีพที่อยู่ใน critical sector, สาขาอาชีพที่ผลกระทบต่อเศรษฐกิจในระยะยาว

industry ไหนส่งเสียงดังหน่อย รัฐบาลก็ได้ยิน (ที่ไหนก็เป็น ประเทศทุนนิยม ไม่ใช่เรื่องแปลก)

02 Sep 2020: ทางรัฐบาลก็เลยออก PMSOL; The Priority Migration​ Skilled Occupation List เพื่อที่จะเป็น guideline ให้กับ case officer ว่าสาขาอาชีพไหนควรจะหยิบมาพิจารณา หรือสาขาอาชีพไหนควรจะรอไปก่อน (พวกลูกเมียน้อย)

จริง ๆ การมี PMSOL มันก็ดี เพราะอิมมิเกรชั่นเองก็คงขี้เกียจตอบคำถามว่า "เมื่อไหร่ case ของฉันจะได้รับการพิจารณา" ตอนนี้ทุก ๆ คนก็ชี้มาที่ PMSOL จบที่นี่ที่เดียว ไม่ต้องพูดเยอะ

02 Sep 2020 มันก็เริ่มจาก 17 สาขาอาชีพแหละ
และหลังจากนั้นมันก็มีการ add เข้าไปเรื่อย ๆ ตามสถานการณ์เศรษฐกิจ (27 Nov 2020 และ 11 May 2021)

และล่าสุดก็มีการ add เข้าไปเพิ่มอีก 22 สาขาอาชีพเมื่อวันที่ 22 June 2021

ปัจจุบัน PMSOL มีทั้งหมด 41 สาขาอาชีพนะครับ; as of 22 June 2021.

Chief Executive or Managing Director (111111)
Construction Project Manager (133111)
Mechanical Engineer (233512)
Veterinarian (234711)
General Practitioner (253111)
Resident Medical Officer (253112)
Psychiatrist (253411)
Medical Practitioners nec (253999)
Midwife (254111)
Registered Nurse (Aged Care) (254412)
Registered Nurse (Critical Care and Emergency) (254415)
Registered Nurse (Medical) (254418)
Registered Nurse (Mental Health) (254422)
Registered Nurse (Perioperative) (254423)
Registered Nurses nec (254499)
Developer Programmer (261312)
Software Engineer (261313)
Social Worker (272511)
Maintenance Planner (312911)

22 อาชีพที่เพิ่งเพิ่มเข้ามา:

1. Accountant (General) (221111)
2. Management Accountant (221112)
3. Taxation Accountant (221113)
4. External Auditor (221213)
5. Internal Auditor (221214)
6. Surveyor (232212)
7. Cartographer (232213)
8. Other Spatial Scientist (232214)
9. Civil Engineer (233211)
10. Geotechnical Engineer (233212)
11. Structural Engineer (233214)
12. Transport Engineer (233215)
13. Electrical Engineer (233311)
14. Mining Engineer (excluding Petroleum) (233611)
15. Petroleum Engineer (233612)
16. Medical Laboratory Scientist (234611)
17. Orthotist or Prosthetist (251912)
18. Multimedia Specialist (261211)
19. Analyst Programmer (261311)
20. Software and Applications Programmers nec (261399)
21. ICT Security Specialist (262112)
22. Chef (351311)

ดังนั้นสาขาอาชีพเหล่านี้ ถ้ายื่นวีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ ก็ถูกหยิบมาพิจารณาไวนะครับ ล่าสุดที่เรายื่นเข้าไปก็ 2 weeks (onshore)

ส่วนใครที่ยื่น offshore หลังจากที่โดน freeze ไปเป็นปี ๆ ตอนนี้ก็ได้ case officer แล้ว 2-3 วันหลังจากที่ new PMSOL ประกาศออกมา เหมือน Harry Potter มี magic wand ยังไงยังงั้น

ส่วนสำหรับใครที่เดินทางออกไปนอกประเทศแล้วกลับเข้ามาไม่ได้ ถ้าเราทำงานอยู่ในสาขาอาชีพเหล่านั้น; 41 PMSOL, โอกาสที่จะขอ Travel Exemption ก็มีสูงมากถึงมากที่สุด ก็ลองขอดูกันได้นะครับ

นี่แหละครับ ที่มาและที่ไปของ PMSOL

มีประโยชน์โปรดแชร์


Sunday, June 27, 2021

Register of relationship online

กับสถานการณ์ COVID และการ lockdown แบบนี้ เราขอรวบรวม link ของทุกรัฐที่สามารถจด register of relationship online มาไว้ใน post นี้ละกัน

ส่วนใครจะไปจด in person หรือทาง post ก็สามารถทำได้ เรามีที่อยู่ให้หมดแล้ว ลอง search ดู post เก่า ๆ ดู; 

http://jpp168immi.blogspot.com/2015/09/partner-visa-register-of-relationship.html


NSW: https://www.nsw.gov.au/births-deaths-marriages


VIC: https://www.bdm.vic.gov.au/marriages-and-relationships/register-a-domestic-relationship


QLD: https://www.qld.gov.au/law/births-deaths-marriages-and-divorces/birth-death-and-marriage-certificates/civil-partnership-certificates/fill-in-a-civil-partnerships-certificate-application-form


SA: https://www.sa.gov.au/topics/family-and-community/births-deaths-and-marriages/certificates/marriage-or-relationship


ACT: https://form.act.gov.au/smartforms/servlet/SmartForm.html?formCode=1186


TAS: https://ecertificates.justice.tas.gov.au/tasAFSClient/type

Tuesday, June 22, 2021

คำนวณ point Skilled Migrant; 65 points, 16 Nov 2019


การคำนวณ point ในการทำ Skilled Migrant 

Independent Skilled Migrant; subclass 189, 
Skilled Nominated; subclass 190 และก็ 
Skilled Work Regional (Provisional); subclass 491.

สมัยก่อน pass mark ก็อยู่ที่ 60

01 July 2018; point ก็เพิ่มมาอยู่ที่ 65

16 Nov 2019; ก็มีการนับ point แบบใหม่เข้ามีอีก มีเรื่องโสด ไม่โสดเข้ามาเกี่ยวข้องด้วย ซึ่งเราก็เข้าใจเพราะรัฐบาลเองก็ไม่อยากรับภาระคนสมัครที่คู่ครองของเขาที่ไม่ค่อยมี skill อะไร (เอาเป็นว่ามันเป็นอะไรที่ subjective ต่างคนต่างความคิดก็แล้ว)
 
ก็จะมีหลายสาขาอาชีพที่เขาตัด point กันสูงมาก ให้ลองหาข้อมูลกันดูนะครับ

  • Independent Skilled Migrant (subclass 189) คือการขอวีซ่าเป็น PR โดยใช้ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในการทำงานของตัวเอง ไม่ต้องให้ใครสปอนเซอร์ การที่จะ PR ด้วย subclass นี้เราต้องทำ point ให้ได้ 65 points ขึ้นไป

  • Skilled Nominated (Subclass 190) เป็นการขอ PR โดยให้รัฐบาลของแต่ละรัฐสปอนเซอร์ในสาขาอาชีพที่รัฐนั้นๆต้องการ การขอ PR ด้วย subclass นี้เราต้องทำ point ให้ได้อย่างต่ำ 60 points ก็พอ เพราะอีก 5 points รัฐแต่ละรัฐจะเป็นฝ่ายสปอนเซอร์เอง (60 + 5 = 65 points) 

  • Skilled Regional (subclass 491) เป็นการขอ PR โดยให้รัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละรัฐ (town council) ที่อยู่แถบนอกเมืองใหญ่ (regional area) หรือญาติที่อยู่แถบนอกเมืองใหญ่ (regional area) สปอนเซอร์ในสาขาอาชีพที่รัฐบาลท้องถิ่นนั้นๆต้องการ การขอ PR ด้วย subclass นี้เราต้องทำ point ให้ได้ 50 points ก็พอ เพราะอีก 15 points รัฐบาลท้องถิ่นหรือญาติเราที่อยู่ regional area จะเป็นฝ่ายสปอนเซอร์เอง (50 + 15 = 65 points)

การขอวีซ่าประเภทของ Skilled Migrant เราจะสามารถขอได้ก็ต่อเมื่อเราจบการศึกษามาในสาขาอาชีพที่ทางรัฐบาลออสเตรเลียต้องการ ซึ่งทางรัฐบาลจะมี Medium and Long‑term Strategic Skills List

การขอ PR ของ Skilled Migrant เหมาะสำหรับคนที่มีวุฒิทางการศึกษาสูง Skilled Migrant เป็นที่ต้องการของรัฐบาลในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะพรรคการเมืองใหนเป็นรัฐบาลก็เถอะ 

หลักในการคำนวณ point ของ Skilled Migrant มีดังต่อไปนี้

point ทุกอย่างคำนวณตอนที่ทำ EOI และข้อมูลทุกอย่างต้องเอาวันที่จดหมายเชิญ letter of invitation เท่านั้น ข้อมูลตรงนี้สำคัญนะครับเพราะว่าคะแนนในเรื่องของอายุและวันเกิดเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะถ้าจดหมายเชิญให้สมัครวีซ่าถูกส่งมาก่อนหรือหลังวันเกิดเราไม่กี่วันก็สามารถมีผลและปัจจัยต่อคะแนนของเราได้

1. อายุ
18-24 (ยังไม่ถึง 25); 25 points
25-32 (ยังไม่ถึง 33); 30 points
33-39 (ยังไม่ถึง 39); 25 points
40-44 (ยังไม่ถึง 45); 15 points


จะเห็นว่าคนที่มีอายุ 25-32 ปี จะได้ point สูงสุดคือ 30 points เพราะรัฐบาลถือว่าเป็นคนที่อยู่ในช่วงวัยทำงาน ถ้ามีคนทำงานก็แสดงว่าเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของออสเตรเลีย และมีคนเสียภาษีเยอะด้วย ดังนั้นอายุไม่ใช่เพียงแต่ตัวเลขนะครับสำหรับ Skilled Migrant อายุนั้นสำคัญในการนับ point

  • Competent English; IELTS 6 (general) each band/OET B หรือเทียบเท่า, สามารถสมัคร Skilled Migrant ได้ แต่ไม่มี point ให้
  • Proficient English; IELTS 7 (general) each band/OET B หรือเทียบเท่า, 10 points
  • Superior English; IELTS 8 (general) each band/OET A หรือเทียบเท่า, 20 points

3. ประสบการณ์การทำงานจากต่างประเทศ
ประสบการณ์จากประเทศใหนก็ได้ ขอให้ไม่ใช่ประเทศออสเตรเลีย เพราะประสบการณ์จากประเทศออสเตรเลียจะมีการนับ point ที่แตกต่างกันออกไป

ประสบการณ์ทำงานต้องเกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงกับสาขาอาชีพที่ทำเรื่องของ PR

ประสบการณ์ต้องเป็นประสบการณ์หลังจากที่เรียนจบเท่านั้น

ประสบการณ์ต้องเป็น 20 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ขึ้นไป (ซึ่งแตกต่างจากการทำ Direct Entry ของวีซ่า subclass 186)
  • 3 ปี แต่น้อยกว่า 5 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 5 points
  • 5 ปี แต่น้อยกว่า 8 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 10 points
  • 8-10 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 15 points

ดังนั้นถ้าเราทำงานที่ใหนก็อย่าลืมขอจดหมายผ่านงานเป็นภาษาอังกฤษไว้ด้วยนะครับ จดหมายผ่านงาน (work reference) ที่ใช้ในประเทศออสเตรเลียไม่ต้องลงค่าแรงนะครับ ลงข้อมูลแค่ตำแหน่งว่าเราทำงานในตำแหน่งอะไร มีหน้าที่อะไรบ้าง และเริ่มทำงานจากวันที่เท่าไหร่ ถึงวันที่เท่าไหร่

4. ประสบการณ์การทำงานที่ประเทศออสเตรเลีย
ประสบการณ์ทำงานต้องเกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงกับสาขาอาชีพที่ทำเรื่องของ PR

ประสบการณ์ต้องเป็นประสบการณ์หลังจากที่เรียนจบเท่านั้น

ประสบการณ์ต้องเป็น 20 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ขึ้นไป (ซึ่งแตกต่างจากการทำ Direct Entry ของวีซ่า subclass 186/187)

  • 1 ปี แต่น้อยกว่า 3 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 5 points
  • 3 ปี แต่น้อยกว่า 5 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 10 points
  • 5 ปี แต่น้อยกว่า 8 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 15 points
  • 8-10 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 20 points

5. การศึกษา
จากประเทศใหนก็ได้แต่ต้องได้มาตฐานของประเทศออสเตรเลีย สถาบันการศึกษาทุกสถาบันของเมืองไทยได้มาตฐานของประเทศออสเตรเลีย ดังนั้นคนที่เรียนจบจากเมืองไทย ไม่ต้องกังวลในจุดนี้ ประเทศที่จะมีปัญหาก็จะเป็นประเทศ Philippines อะไรประมาณนี้

การศึกษาเรานับ point เอาการศึกษาที่สูงที่สุด ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับสาขาอาชีพที่เราขอก็ตาม

  • ปริญญาเอก; 20 points
  • ปริญญาตรี-ปริญญาโท; 15 points
  • Diploma, ปวช-ปวส; 10 points

6. เรียนที่ประเทศออสเตรเลีย
เรียนอะไรก็ได้ที่ประเทศออสเตรเลียที่ course การเรียนเป็นหลักสูตรเวลาเรียนอย่างต่ำ 2 ปี โดยที่ไม่นับช่วงที่เรียนภาษาอังกฤษ, 5 points

7. โบนัส point ต่างๆ
  • สอบผ่านภาษาต่างประเทศ อย่างเช่นภาษาไทยเป็นต้น ที่รับรองโดย NAATI, ต้องสอบเป็นล่าม หรือ นักแปลระดับ paraprofessional level ขึ้นไป, 5 points
  • Skill assessment ของ partner ในสาขาอาชีพเดียวกันกับคนสมัคร;5 points
  • ถ้า partner ของเราสอบ IELTS general each band 6 หรือ PTE Academic 50 each band; 5 points
  • หรือถ้าเราเป็นโสด เราก็ได้ไปเลย 10 points
  • Professional year, 5 points
    • IT
    • Accounting
    • Engineering
  • เรียนที่ประเทศออสเตรเลียในสถาบันที่อยู่ regional area, 5 points

8. Bonus of the Bonus:
ถ้าเรียน 2 ปีที่ออสเตรเลีย หลักสูตร Master degree (research) หรือ PhD ที่อยู่ในสาขาดังนี้ ก็จะได้อีก 10 points

8.1 Natural and physical sciences:

biological sciences
chemical sciences
earth sciences
mathematical sciences
natural and physical sciences
other natural and physical sciences
physics and astronomy

8.2: Information technology
computer science
information systems
information technology
other information technology

8.3 Engineering and related technologies:
aerospace engineering and technology
civil engineering
electrical and electronic engineering and technology
engineering and related technologies
geomatics engineering
manufacturing engineering and technology
maritime engineering and technology
mechanical and industrial engineering and technology
other engineering and related technologies
process and resources engineering.

ก็แนะนำให้ทุกคนลองคำนวณ point ของตัวเองดูนะครับ

Sunday, June 20, 2021

วีซ่าเพื่อการเกษตร; Agriculture Visa???


ใจเย็น ๆ กันก่อนนะครับ

เรื่องวีซ่าเพื่อการเกษตร Agriculture Visa

อะไรที่เป็นข่าว มันก็คือข่าว อย่าเอาไปปั่นให้มากนัก


ตราบใดที่ทางรัฐบาลไม่ได้มีการประกาศออกมาอย่างเป็นทางการ ไม่มี legislation รองรับ เราก็ไม่ควรไป speculate the speculation


ที่มีการแชร์ใน facebook group บาง group เราก็ต้องไตร่ตรองก่อนว่าเชื่อถือได้มากน้อยแค่ไหน


และ facebook page บาง page ก็ประโคมข่าวเรื่องนี้และชอบเอารูปคนทำงานในฟาร์มมาทำให้ชวนเชื่อ คนอ่านเองก็ต้องคิดและพิจารณาด้วยนะครับ 


office เขาอยู่ที่ไหน ชื่ออะไร เบอร์โทรติดต่ออยู่ที่ไหน เพราะที่หน้า page ไม่มีข้อมูลให้ติดต่อเลย เหมือนว่าทุกอย่างต้องติดต่อผ่าน LINE, ระวังกันหน่อยก็ดีนะครับ


เมื่อรัฐบาลพร้อมเมื่อไหร่ เขาจะประกาศออกมาอย่างเป็นทางการนะครับ

จะมี subclass ให้ที่แน่นอน

จะมี legislation รองรับ

แต่ตอนนี้ยังไม่มีอะไรเกิดขึ้นนะครับ ใจเย็น ๆ กันก่อน

ศึกษารู้เท่าทัน เราต้องใช้สติด้วย

อย่าให้ความอยากและความกระหายของเรามาบิดเบือนสติและปัญญาของเราที่มี


รู้สึกเป็นห่วงอยู่ห่าง ๆ 

Tuesday, June 15, 2021

ย้ายประเทศ; เชฟและเภสัช


ถาม:
1. อาชีพเชฟ หากมีนายจ้างที่อยู่ในเขต Regional Area สปอนเซอร์ให้ สามารถทำวีซ่า subclass 186 ได้ใช่มั้ยคะ แล้วต้องทำงานกี่ปีถึงจะขอ PR ได้คะ 

2. อาชีพเภสัช หากทำวีซ่า subclass 494 ต้องหานายจ้างสปอนเซอร์ก่อน ถึงสามารถขอวีซ่านี้ได้ใช่มั้ยคะ แล้วอนาคตสามารถขอ PR ได้มั้ยคะ เพราะที่ดูมาเป็นอาชีพที่อยู่ใน short term list ค่ะ 

3. กรณีที่แฟนหนูได้วีซ่า 186 ไปทำงาน หนูสามารถทำวีซ่าติดตามไปได้มั้ยคะ

ตอบ:
1. chef เป็นสาขาอาชีพที่อยู่ใน Medium and Long‑term Strategic Skills List สามารถหานายจ้างที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นเขต regional

ถ้าทำวีซ่า Subclass 186; Direct Entry ก็เป็น PR เลย ได้ PR เลย ข้อมูลเรื่อง subclass 186; Direct Entry มีอยู่ใน blog แล้วลองหาดู

2. เภสัช หรือ Pharmacist อยู่ใน ROL; Regional Occupational List สามารถขอวีซ่า subclass 494 ได้

วีซ่า subclass 494 จะต้องมีนายจ้างอยู่ที่ regional area 
วีซ่า subclass 494 จะต้องมีนายจ้างก่อนถึงจะขอวีซ่าได้
วีซ่า subclass 494 มี pathway ไปเป็น PR คือ subclass 191

เรื่อง subclass 494; มีอยู่ใน blog, facebook LIVE และ YouTube แล้วลองหาดู

3. ตอนที่ขอวีซ่า เรากับแฟนก็ควรขอพร้อมกันเลย ถ้าแฟนได้ PR; subclass 186 เราก็จะได้ PR ไปเลยพร้อมกัน

Friday, June 11, 2021

สมหล่อผู้ตามหาฝัน สาขา cookery


"สมหล่อ" ปัจจุบันอายุ 31 ปี
สถานะ แต่งงานแล้ว มีลูก 1 คน
จบ ป.ตรี คณะเศรษฐศาสตร์ 
ป.โท Marketing, UK

ปัจจุบันทำงานได้ 4 ปีแล้วสายงาน Accounting
แต่งานที่ชอบจริงๆคือ "ทำอาหาร" สมหล่อจึงตัดสินใจลงเรียนทำอาหารที่ประเทศไทย 

จุดมุ่งหมายคือต้องการได้ PR ประเทศออสเตรเลีย

คำถามที่อยากจะปรึกษาพี่มี 5 ข้อคือ:

1. ในกรณีที่ผมไม่มีวุฒิฯการศึกษาด้านการประกอบอาหาร แล้วไปเริ่มเรียนและได้ใบ certificate จากประเทศไทย ในกรณีนี้ถ้าผมจะขอ work visa เพื่อไปทำงานที่ประเทศออสเตรเลีย ต้องเป็นในรูปแบบมีนายจ้าง sponsor แบบเดียวใช่ไหมครับ (subclass 482, 494)

2. ถ้าผมไม่มีประสบการณ์ในการทำอาหารเลย ผมจะมีโอกาสได้ sponsor ไหมครับ (ถ้าสถาบันการศึกษามีผลต่อการตัดสินใจของนายจ้าง เช่น เรียนจบจาก Le Cordon Bleu Bangkok)

3. ถ้าในกรณีที่เรียนจบด้านอาหารจากประเทศไทยและไม่มีประสบการณ์ ผมควรเปลี่ยนแผนไปทำวีซ่านักเรียนและไปเรียน Diploma of Hospitality Management ที่ออสเตรเลียดีกว่าใช่ไหมครับ

4. จากข้อที่ 3 ถ้าเรียนจบแล้ว ปัจจุบันนี้ประเทศออสเตรเลียอนุญาตให้ทำงานต่อได้ 18 เดือนใช่ไหมครับ และหลังจากนั้น ถ้าเราอยากต่อ work visa เราต้องคุยกับนายจ้างเพื่อ sponsor เราใช่ไหมครับ

5. ถ้าผมถือ student visa ลูกผมที่ตามมาด้วยจะได้สิทธิบางอย่างของประเทศออสเตรเลียไหมครับ เช่น ค่ารักษาพยาบาลหรือได้เรียนฟรีในโรงเรียนรัฐบาล

"สมหล่อกว่า" ตอบ:
1. ใช่ครับ ถูกต้อง วีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์คือ subclass 482 หรือ  หรือ subclass 494 

ถ้าจะทำวีซ่า subclass 482, แต่ถ้าไม่ได้เรียนจบจากประเทศออสเตรเลีย สมหล่อก็ต้องทำ skill assessment

ถ้าสมหล่อจะทำวีซ่า subclass 494, สมหล่อก็ต้องทำ skill assessment อยู่แล้ว ไม่มีข้อยกเว้น

2. วีซ่า subclass 482 คนสมัครจะต้องมีประสบการณ์ 2 ปี
วีซ่า subclass 494, คนสมัครจะต้องมีประสบการณ์ 3 ปี full-time

พี่ "สมหล่อกว่า" ไม่ขอ comment ในเรื่องของสถาบันการศึกษา

3. มาเรียนที่นี่จะดีกว่าครับ จะได้ไม่ต้องทำ skill assessment ถ้าจะทำ subclass 482 แต่ว่าจะต้องลงเรียน Cert IV Commercial Cookery + Diploma of Hospitality เรียน Diploma of Hospitality อย่างเดียวไม่ได้

4. ใช่ครับ เราเรียกว่า subclass 485; Temporary Graduate Visa

5. ตอนที่สมหล่อถือวีซ่านักเรียน ลูกและแฟนของสมหล่อก็ต้องถือวีซ่านักเรียนด้วย แบบติดตาม ลูกไม่ได้เรียนฟรี ค่ารักษาพยาบาลไม่ฟรี สมหล่อต้องซื้อประกันสุขภาพแบบครอบครัวเพื่อ cover ทั้ง 3 คน ซึ่งประกันสุขภาพของวีซ่านักเรียนแบบครอบครัวจะแพงมาก ให้ check ราคากับ student agent นะครับ

ย้ายประเทศ; พ่อ แม่ ลูก x 2


คุณพ่อ
อายุ 44 อยู่ที่เมืองไทย
คุณแม่อายุ 43 อยู่ที่เมืองไทย สาขาอาชีพ "xyz" อยู่ใน Medium and Long‑term Strategic Skills List
ลูกสาวคนโต เรียน year 12 อยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย
ลูกคนเล็กอยู่กับคุณพ่อและคุณแม่ที่เมืองไทย

ถ้าต้องการย้ายถิ่นฐานมาประเทศออสเตรเลีย สามารถทำอะไรได้บ้าง

Option 1:

1. คุณพ่ออายุ 44 แล้ว ถ้าจะสมัครอะไรเป็น main applicant ก็คงยากแล้ว งั้นเราตัดคุณพ่อออกไปจากการเป็น main applicant เลยละกัน แต่คุณพ่อยังเป็นผู้ติดตามได้อยู่ คนติดตามที่เป็น spouse หรือ partner ไม่ได้กำหนดอายุ

2. คุณแม่เรียนจบมาในสาขาอาชีพที่อยู่ใน Medium and Long‑term Strategic Skills List ดังนั้นคุณแม่สามารถขอ PR ด้วย Independent Skilled Migrant Visa; subclass 189 ได้ โดยให้คุณพ่อและคุณลูกทั้ง 2 คนติดตาม

3. สิ่งที่คุณแม่ต้องทำก็คือไปสอบภาษาอังกฤษ และทำ skill assessment ให้ผ่าน 

skill assessment สามารถทำได้ online จากเมืองไทย 

EOI ในการยื่น subclass 189 ก็สามารถยื่นได้มาจากเมืองไทยเหมือนกัน และตอนยื่นวีซ่า subclass 189 ก็สามารถยื่นได้มาจากเมืองไทยเหมือนกัน

คุณแม่ก็ต้องไปทำการบ้านมาในเรื่องของการทำ skill assessment และการสอบภาษาอังกฤษ และการนับ point อะไรต่าง ๆ  ด้วย

แต่ก็อย่าลืมว่า อายุของคุณแม่เองก็ใกล้จะ 45 แล้ว ทุกอย่างมีข้อจำกัดในเรื่องของอายุและเวลา

ถามว่าทำได้มั้ย
ทำได้นะ แต่เร่งรีบมาก และอาจจะนำมาซึ่งความเครียดได้

Option 2:

เนื่องด้วยลูกสาวตอนนี้เรียน year 12 อยู่ที่ประเทศออสเตรเลียและจะเข้ามหาลัยปีหน้า ดังนั้นการที่ลูกสาวเลือกเรียนในสาขาอาชีพที่ทางรัฐบาลต้องการนั้นก็สำคัญมาก pathway ที่ 2 สามารถทำได้ดังนี้

1. ลูกสาวเรียนในสาขาอาชีพที่ทางรัฐบาลต้องการ; Medium and Long‑term Strategic Skills List 

ลองจับเข่าคุยกันนะครับว่าลูกสาวชอบเรียนอะไร ในสาขาไหน ลูกสาวต้องชอบในสาขาที่เขาเรียนด้วย

ถ้าอยากได้แต้มเพิ่มก็ควรเรียน Uni ที่อยู่เมืองรอบนอก
มีหลาย ๆ Uni ที่มี campus อยู่เมืองรอบนอก
Uni ดี ๆ มีเยอะ

2. ลูกสาวเรียนจบแล้วขอ PR ด้วยวีซ่า subclass 189; Independent Skilled Migrant

3. เมื่อลูกสาวได้ PR แล้ว ลูกสาวสามารถสปอนเซอร์คุณพ่อและคุณแม่ด้วย Parent Visa; subclass 143 (contributory). เพราะว่าคุณพ่อคุณแม่มีลูกแค่ 2 คน และการที่ลูกสาวเป็น PR ที่นี่ ก็แสดงว่าครอบครัวนี้ผ่าน family balanced test คือคุณพ่อคุณแม่ต้องมีลูกที่เป็น PR/citizen อยู่ที่ประเทศออสเตรเลียครึ่งหนึ่งขึ้นไป (50%) เมื่อคุณพ่อคุณแม่มีลูก 2 คนแล้วได้ PR 1 คน ก็ถือว่าผ่าน family balanced test แล้ว

4. ลูกสาวสามารถสปอนเซอร์คุณพ่อหรือคุณแม่ก็ได้ คนใดคนหนึ่ง โดยทุกคนที่เหลือก็ยื่นเรื่องมาเลยพร้อมกัน เป็น one family unit แต่ที่สำคัญคือ ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ต้องจ่าย $43,600 แยกใครมัน เพราะเป็น contributory stream

Parent Visa; subclass 143, waiting period ตอนนี้อยู่ที่ประมาณ 4.5-5 ปี
ดังนั้นพอยื่นเรื่องไป ทั้งคุณพ่อและคุณแม่ก็มีเวลาหยอดกระปุก 4.5-5 ปีในการที่จะต้องจ่ายคนละ $43,600 ตอนที่ PR จะ grant

$43,600 ไม่ได้จ่ายตอนสมัคร
แต่จ่ายตอนที่ PR จะ grant

ในช่วงระหว่างที่รอ subclass 143, ทั้งคุณพ่อและคุณแม่สามารถขอวีซ่าท่องเที่ยวเข้าออกประเทศได้

วีซ่า subclass 143 สามารถขอได้ทั้งในและนอกประเทศ แต่จะไม่ได้ Bridging Visa A คุณพ่อคุณแม่และน้องชายก็สามารถเข้าออกประเทศด้วยวีซ่าท่องเที่ยว

ทั้งหมดนี้ก็เป็น pathway ในการขอ PR ที่หลาย ๆ ครอบครัวสามารถนำไป adopt and adapt ได้

มันอาจจะเหมาะสำหรับครอบครัวหนึ่ง แต่อาจจะไม่เหมาะกับอีกครอบครัวหนึ่ง

ชอบแบบไหน เลือกเอาแบบนั้น
ทุกสิ่งอย่างในชีวิต ไม่มีถูกไม่ผิด แล้วแต่มุมมองที่เราเลือกจะมอง

วีซ่าออสเตรเลียมีหลายประเภท ลองศึกษาข้อมูลจากแหล่งที่เชื่อถือได้นะครับ

เหนื่อยได้
ท้อได้
พักได้
แต่หย่าหยุด

เราขอเป็นกำลังใจให้กับทุก ๆ คนนะครับ

ศาลเตี้ย ออสเตรเลีย

It's not OK กับการที่ใคร someone เอาข้อมูลใน passport ของใคร หรือ profile facebook ของใครไป post ใน facebook group บาง group เพื่อทวงเงินหรือทำอะไร นั่น นี่ โน่น (ก็อย่าให้เขายืมตั้งแต่แรกสิ)

ไม่ว่าใครจะถูกหรือใครจะผิด เราไม่มีสิทธิ์ที่จะเอาข้อมูลส่วนตัวของคนอื่นมา post แบบนั้น

ถ้าหากใครคิดว่าตัวเองถูกล่วงละเมิด ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของ "พรบ คอมพิวเตอร์" หรือคดีหมิ่นประมาททั่ว ๆ ไป

กฎหมายที่ประเทศออสเตรเลีย อาจจะทำอะไรมากไม่ได้ เพราะ defamation law, เราต้องเอาหลักฐานมาอ้างอิงว่าเราสูญเสียผลประโยชน์ในทางธุรกิจ นั่น นี่ โน่น แต่ถ้าเราบุคคลธรรมดาหละ ไม่ได้ทำธุรกิจ มันก็ฟ้องร้องกันลำบาก

เอาอย่างนี้สิ 
P' J ชี้โพรงให้กระรอก

หนูก็ไม่ต้องฟ้องอะไรที่นี่ก็ได้
หนูก็ไปฟ้องที่เมืองไทยก็ได้หนิ
ไม่ต้องไปเอง แต่งตั้งทนายได้ (P' J มี list ของทนายความที่เมืองไทยอยู่ใน inbox เยอะพอสมควร เดี๋ยวจัดสรรญให้)

ก็ฟ้องทิ้งเอาไว้ได้เลย
เมื่ออีกฝ่ายบินกลับเมืองไทย เดี๋ยวตำรวจก็จะรอรับอยู่ที่สุวรรณภูมิเอง
จะได้เป็นการสั่งสอนไง

อย่าไปแจ้งความจ๊ะ เพราะแจ้งความต้องรอเรียกจำเลยไปรายงานตัว เสียเวลา

ฟ้องเลย ง่ายดี จบ
หรืออยากจะฟ้อง admin group ผู้ให้สถานที่หรืออนุมัติ post ด้วยก็ได้นะ

อยากได้ทนายความที่เมืองไทย ทักมา

ไม่มีเงินจ้างทนายที่เมืองไทย ไม่เป็นไร เราจัดให้ได้ (ไม่อยากเห็นใคนโดนรังแก ไม่ว่าคนนั้นจะถูกหรือผิด)

admin group บาง group, ก่อนที่จะอนุมัติ post อะไร คิดก่อนก็ดีว่ามันเหมาะสมไหม admin บาง group ไหนบอกว่าจบรัฐศาสตร์มาไง!!!

ก่อนที่จะทำตัวเป็นศาลเตี้ย อย่าลืมส่องกระจกดูตัวเองด้วย

ส่วนหน่วยงานราชการไทยในออสเตรเลีย เอาเวลามาสอดส่องสังคมออนไลน์ของคนไทยในออสเตรเลียหน่อยก็ดีนะครับ เหม็น เน่า หนอน มาก

ใครยังคิดอยากจะย้ายมาประเทศนี้อีกไหม
โยกย้ายส่ายสะโพกโยกย้าย

Wednesday, June 9, 2021

Subclass 482; Chef

"สมหล่อ" จริง ๆ เตรียมตัวจะเก็บข้าวของกลับเมืองไทยแล้ว
เพราะผลสอบ IELTS ผลสอบภาษาอังกฤษอะไรก็ไม่มี
ประสบการณ์การทำงานก็ไม่น่าจะถึง 2 ปี full-time

หลายคนพูดอย่างนั้น
หลายคนพูดแบบนี้

หลาย ๆ คนบอกว่าต้องเรียนจบก่อน แล้วค่อยขอ 485 เพื่อเก็บประสบการณ์บ้างหละ

หลาย ๆ คนบอกว่าประสบการณ์ต้องนับหลังจากที่เรียนจบบ้างหละ

จน "สมหล่อ" ได้มาเจอ page P' J

สมหล่อจึงรู้ว่า:
- subclass 482, ใช้ผลการเรียน 5 ปีได้
- ประสบการณ์ทำงานที่เป็น chef, สมหล่อก็ลงเป็น part-time ไม่จำเป็นต้องนับเฉพาะหลังจากที่เรียนจบสักหน่อย

วันนี้วีซ่าของน้องสมหล่อผ่านแล้ว

chef; 4 ปีวน ๆ ไป

ทำงานใหักับนายจ้างอีก 3 ปี ก็ขอ PR; subclass 186 ได้

จากคนที่คิดว่าเรียนเสร็จแล้วก็คงจะเก็บข้าวของกลับบ้าน
ตอนนี้วีซ่าผ่านแล้ว

อนาคต; PR + citizen เห็น ๆ

ศึกษารู้เท่าทัน

ข้อมูลดี ๆ ฟรี ๆ ที่อยู่ที่หน้า page, blog, TimeLINE, YouTube และ podcast ไปหาดู หาอ่าน หาฟังกันเอา แค่ search "J Migratoin Team" มันก็ออกมาละ

เลิกฟังเพื่อนข้าง ๆ บ้าน

ขอบคุณที่เลือกใช้บริการของเรา

ขอบคุณที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ "ครอบครัว J"

สินค้าดีใช้แล้วช่วยบอกต่อ