Tuesday, December 29, 2009

Job Ready Program

เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 Jan 2010 เป็นต้นไป, คนที่ขอ PR โดยใช้ skill ในการขอ เวลาทำ skill assessment จะต้องทำ "Job Ready Program" ด้วย Job Ready Program นี้ ก็จะมีผลบังคับใช้เฉพาะคนที่ใช้ trade skill occupations เท่านั้น ซึ่งน้องๆคนไทยส่วนมากอาจจะเข้าข่ายนี้ เพราะว่า Commercial Cookery และ Hairdressing ซึ่งคนไทยเรียนกันเยอะเหลือมาก ก็เข้าข่ายนี้ครับ ใครต้องการเช็คสาขาอาชีพอื่น ก็ติดต่อพี่จอห์นได้นะครับ มีจอห์นมี list ให้

Job Ready Program นี้ เป็นส่วนหนึ่งของ skill assessment โดย Trades Recognition Australia (TRA)

Job Ready Program นี้ก็คงทำให้นักเรียนต่างชาติหลายๆคนไม่ happy กันเยอะทีเดียวหละ เพราะว่า รายละเอียดจะเยอะมากขึ้น และค่าใช้จ่ายก็จะสูงมาก

สิ่งที่หลายๆคนควรรู้
- Job Ready Program นี้จะมีผลบังคับใช้ เฉพาะคนที่สมัครภายในประเทศออสเตรเลีย (onshore)
- Job Ready Program จะมีผลบังคับใช้ เริ่มจากวันที่ 1 Jan 2010 เท่านั้น คนใหนที่ยื่นเรื่องไปแล้วก็ถือว่าโชคดีไป
- Job Ready Program นี้มีผลบังคับใช้เฉพาะคนที่ใช้ trade skill เท่านั้น
- ค่าใช้จ่ายอาจสูงถึง $4,550.00.

นี่คือวีซ่า 3 ประเภท ที่มีผลบังคับใช้นะครับ:
- Skilled; Independent (Residence) Visa (Subclass 885)
- Skilled; Sponsored (Residence) Visa (Subclass 886)
- Skilled; Regional Sponsored (Provisional) Visa (Subclass 487)

จุดประสงค์ของ Job Ready Program ก็เพื่อเป็นการเช็คและเตรียมความพร้อมว่าเราหนะ มีความพร้อมที่จะทำงาน มากน้อยแค่ใหน เพราะถ้าเรามีความพร้อมมาก จะทำให้เราหางานได้ง่ายขึ้น มีโอกาสมากขึ้น ว่างั้นเถอะ เพราะปัญหาตอนนี้คือ คนที่ได้ PR แล้ว หางานไม่ได้กันเยอะ สรุปก็ต้องมาเป็นภาระขอเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล (CentreLink)

ให้ take note ด้วยนะครับว่า คนที่สมัครภายนอกประเทศ หรือ offshore ไม่มีผลบังคับใช้อะไรทั้งสิ้น ก็สบายไป :)

ดูๆเหมือนว่า ทุกอย่างจะเริ่มยากขึ้น แนะนำว่าให้ปรึกษาผู้รู้นะครับ อย่าปรึกษาเพื่อน หรือเชื่อข่าวลือ
ถ้าจะยื่นเรื่องก็แนะนำให้ทนายหรืออิมมิเกรชั่นเอเย่นต์ (อย่างพี่จอห์น เป็นต้น) เป็นคนยื่นให้ ให้จำไว้เสมอว่า "เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย" นะครับ

Sunday, December 27, 2009

email มาปรึกษา

ช่วงนี้พี่จอห์นมี email เข้ามาเยอะมาก เนื่องจากว่า เขียน blog นี้ที่เป็นภษาไทย และยังเขียนอีก blog หนึ่งที่เป็นภาษาอังกฤษ http://immiteam.blogspot.com ก็อยากจะบอกว่า มี email เข้ามาจากทั่วมุมโลกจริงๆ ก็เลยอยากจะบอกทุกคนว่า เวลา email มาขอคำปรึกษาพี่จอห์นเนี๊ยะ พี่อยากจะให้ทุกคนเขียนเข้ามาแบบที่มีข้อมูลเยอะที่สุด เท่าที่จะเยอะได้ เพราะถ้าพี่จอห์นมีข้อมูลครบ ก็จะสามารถตอบคำถามไปได้เลยใน email เดียว จะได้ไม่ต้องส่งกันส่งกันมา พี่จอห์นไม่ได้ขี้เกียจนะครับ เพียงแต่ชอบการทำงานแบบ efficiency ก็เท่านั้นเอง

พี่จอห์นพร้อมที่จะตอบ email ทุกฉบับที่เข้ามา ก็เป็น FREE service อยู่แล้ว email กันเข้ามาได้ตลอด ถ้าจะให้ดี ทุกคนที่ email เข้ามาพี่จอห์นอยากให้เขียนประวัติตัวเองย่อๆมาด้วย resume หนะ เขียนมาเลย ใน resume พี่จอห์นอยากให้มีข้อมูลดังต่อไปนี้

- อายุ, วัน เดือน ปี เกิด
- สัญชาติ, คนไทยตอนนี้ถือหลายสัญชาติกันเยอะ
- ความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ ถ้ามีผลสอบ IELTS ด้วย จะดีมากเลย
- ประวัติการศึกษา ตั้งแต่จบ ม.ปลาย
- ประวัติการทำงาน (ถ้าเคยทำงานมาก่อน) วันที่เข้างาน และวันที่ออกจากงาน และหน้าที่รับผิดชอบใหนแต่ละตำแหน่งที่เคยทำมา
- สถานภาพสมรส
- มีลูกหรือเปล่า ถ้ามี มีกี่คน
- ถ้าแต่งงาน ก็ขอข้อมูลของแฟน เหมือนทุกอย่างที่อยู่ข้างบน ด้วยเหมือนกัน

ข้อมูลยิ่งเยอะ ยิ่งดี
ก็ email กันเข้ามาได้นะครับ ยินดีช่วยเหลือทุกคนนะครับ

Tuesday, December 22, 2009

Skills Assessment change from 1 Jan 2010

From 1 January 2010, applicants for Subclasses 487, 885 and 886 must have obtained a suitable skills assessment from the relevant skills assessing authority prior to making their visa application.

There will be changes to Skills assessment for onshore general skill migrants:
- Skilled – Independent (Residence), subclass 885
- Skilled – Sponsored (Residence), subclass 886, and
- Skilled – Regional Sponsored (Provisional), subclass 487

All these 3 subclasses need to have skills assessment done before lodge the application. These changes will take effect from 1 Jan 2010.

Skill assessment can take up to 30 working days, depends on the skills assessing authority. But, remember that 1 month is only 20 working days (Mon-Fri). Therefore, 30 working days is in fact 1.5 month.

Seems that things are getting tougher.

If you are in doubt, get the expert to help you out.

Saturday, December 19, 2009

AoS for Partner Visa: Onshore Temporary and Permanent (Subclasses 820 and 801)

เนื่องด้วยว่าพี่จอห์นได้มีโอกาสได้ให้คำปรึกษากับน้องคนหนึ่งที่สนิทกัน เกี่ยวกับ AoS for Partner Visa: Onshore Temporary and Permanent (Subclasses 820 and 801)ก็เลยขอเขียนไว่ตรงนี้ให้คนได้อ่านกัน ก็หวังว่าจะได้เป็นประโยชน์กับใครอีกหลายๆคน

Partner Visa คือวีซ่าสำหรับคู่แต่งงาน หรืออยู่กันแบบ de facto ไม่ว่า เพศเดียวกัน หรือเพศตรงข้าม ก็สามารถขอวีซ่านี้ได้ครับ

AoS; Assurance of Support คือเงินค้ำประกันสำหรับคนที่ขอวีซ่า เพื่อ make sure ว่า คนเหล่านั้นจะไม่มาขอเงินประกันสังคม ในช่วง 2 ปีแรก ที่ได้วีซ่า

การที่อิมมิเกรชั่นจะเรียกให้เรามี AoS; Assurance of Support หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับ case ของเรา และความต้องการของ case officer ด้วย แต่ด้วยลักษณะของ Partner Visa ซึ่งต้องมี sponsor เป็นคน sponsor ให้อีกฝ่ายหนึ่งได้วีซ่า ถ้าหาก sponsor ยังเป็นนักเรียนอยู่ และยังไม่มีรายได้ หรืออาจจะไม่ใช่นักเรียนก็ได้ แต่เป็นคนที่มีรายได้ต่ำ โอกาสสูงมากที่ทางอิมมิเกรชั่นจะเรียกให้มี AoS.

AoS นี้จะเป็นหน้าที่หน่วยงานของ CentreLink นะครับ ไม่ใช่หน้าที่ของอิมมิเกรชั่น การมี AoS นี้คือเราต้องหาคนมาค้ำประกัน ซึ่งคนค้ำประกันก็ต้องมีรายได้ขั้นต่ำ เท่าโน้นเท่านี้ก็ว่ากันไป รายได้ขั้นต่ำของคนค้ำประกันนั้นจะขึ้นอยู่กับว่า คนค้ำประกันนั้นโสดหรือเปล่า แต่งงานหรือเปล่า มีลูกหรือเปล่า มีลูกกี่คน ทุกอย่างจะ factor เข้ามาหมดเลย ดังนั้นอย่าเหมาเอารวมๆว่า คนค้ำประกันต้องมีรายได้เท่าโน้น หรือเท่านี้ พี่จอห์นแนะนำให้โทรไปเช็คกับทาง CentreLink แล้วเค็าจะบอกตัวเลขที่แน่นอนให้ได้ เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับน้องคนนี้คือ เพื่อนคนแรกที่จะช่วยเป็นผู้ค้ำประกันนั้นยังไม่แต่งงาน ทาง CentreLink ก็จะบอกว่าเค๊าต้องมีรายได้เท่านั้นเท่านี้ แต่พอเพื่อนคนนี้เปลี่ยนใจไม่อยากเป็นผู้ค้ำประกันหละ น้องคนนี้ก็ไปหาคนค้ำประกันอีกคนหนึ่ง แต่คนนี้แต่งงานแล้ว มีลูก 2 คน รายได้ของผู้ค้ำประกันคนนี้ก็ต้องเป็นอีกแบบหนึ่ง

รายได้ขั้นต่ำของผู้ค้ำประกันจะมีการ review ทุกๆปี ถ้าจะให้ได้ข้อมูลที่แน่นอน ก็ต้องเช็คกับทาง CentreLink นะครับ

Wednesday, December 16, 2009

Skilled – Independent (Residence) visa (subclass 885)

เนื่องด้วยช่วงนี้นักเรียนต่างชาติพากันจบเยอะ และหลายคนก็รีบจัดการเรื่องขอ PR โดยทันที หลายๆคนเร่งให้ยื่นเรื่องก่อนวันที่ 1 Jan 2010 ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางกฏหมาย โดยเฉพาะน้องๆคนไทยที่เรียน Commercial Cookery และ Hairdressing ซึ่งก็เป็นสาขาเรียนยอดฮิตของนักเรียนไทยส่วนใหญ่

ช่วงนี้ก็เลยมีคนสอบถามเรื่องการขอ PR "Skilled – Independent (Residence) visa (subclass 885)" กันเข้ามาเยอะมาก เนื่องจากว่ามีหลายคนที่ต้องเร่งยื่นเรื่อง ไม่ว่าจะเนื่องมาจาก อยากยื่นก่อนวันที่ 1 Jan 2010 หรือ วีซ่าใกล้จะหมดก็ตาม ก็มีอยู่ 2 เรื่องที่พี่จอห์นอยากจะแจ้งให้ทราบ

1. เรื่องตรวจร่างกาย เราไม่ต่้องรอผลตรวจร่างกายนะครับ หรือไม่ต้องรอวันตรวจก็ได้ เราสามารถเอา receipt จาก appointment หรือการ book ตรวจร่างกาย ยื่นไปก่อนก็ได้ ตรวจร่างกายเมื่อไหร่ ผลออกเมื่อไหร่แล้วค่อยยื่นเอกสารตามก็ได้

2. เรื่องการทำ skill assessment ก็เหมือนกัน จริงๆแล้วเราก็ไม่ต้องผลของ skill assessment เราสามารถเอา receipt จาก post office มาโชว์ว่าเรายื่นเรื่องไปแล้วก็พอ เพราะ skill assessment จะเป็นอะไรที่ take time มาก ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องรอ พี่จอห์นก็แนะนำให้ยื่นเรื่องไปก่อน แล้วได้ผลจาก skill assessment เมื่อไหร่ ก็ค่อยส่งตามไปทีหลัง

Monday, December 14, 2009

สามารถติดต่อพี่จอห์นได้หลายวิธี

วันนี้ก็นั่งทำ case ให้ลูกค้าท่านหนึ่ง แต่ก็ขอแอบมาเขียน blog หน่อยก็แล้วกัน เพราะพี่จอห์นคิดว่าคงจะเป็นประโยชน์กับหลายๆคน

ช่วงนี้คน search เจอ blog นี้กันเยอะ ซึ่งพี่จอห์นก็เขียน blog นี้เป็นภาษาไทย และอีก blog หนึ่งก็จะเป็นภาษาอังกฤษซึ่งก็จะ target ลูกค้าและคนอ่านคนละกลุ่มเป้าหมาย

ช่วงนี้มีคนตืดต่อเข้ากันเยอะเพราะ search เจอพี่จอห์นใน Internet ก็จะมีคนติดต่อมาจากทั่วโลก เมืองไทย อเมริกา พม่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และก็เกือบทุกรัฐในออสเตรเลียเอง

- ถ้าจะโทรมา พี่จอห์นก็แนะนำว่าไม่ให้ใช้ "private number" หรือเบอร์โทรส่วนตัวโทร เพราะบางทีพี่จอห์นไม่ว่างรับสาย ถ้าเป็น private number แล้วพี่จอห์นก็โทรกลับไม่ได้ จริงๆพี่จอห์นก็อยากจะรับสายทุกสายที่เข้ามา แต่บางทีก็ติดลูกค้าคนอื่น หรือบางทีก็โทรดึกเกินไป ยังไงก็เช็คเวลาของออสเตรเลียด้วยนะครับ เวลาของเรา ใช้เวลาที่ Sydney นะครับ หรือถ้าโทรวันอาทิตย์ พี่จอห์นก็คงไม่รับสาย เพราะอยากพักผ่อนจริงๆ สำหรับวันอาทิตย์

- วิธีที่ดีที่สุดก็คงเป็น SMS นะครับ SMS กันเข้ามาได้ตลอดเวลา ไม่ต้องกังวลเรื่องเวลา หรือวันอาทิตย์ เพราะ SMS เนี๊ยะ พี่จอห์นก็จะตอบกลับเมื่อว่าง หรือนัดคุยกันช่วงที่ว่างอะไรประมาณเนี๊ยะ SMS เนี๊ยะ คือได้ตลอด 24 ชั่วโมงเลย ไม่มีปัญหา

- หรือไม่ก็ทาง email ซึ่งพี่จอห์นจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง email ก็อยู่ข้างบนนะครับ ให้สังเกตุว่า พี่จอห์นจะจงใจใส่ space ตรงเครื่องหมาย "@" เพื่อป้องกันพวก junkmail ดังนั้นเวลาส่ง email มา ก็ลบตรง space ตรงเครื่องหมาย "@" ออกไปก็แล้วกันนะครับ

- หรือถ้าใครอยากได้ยินเสียง ก็แนะนำให้ใช้ Skype นะครับ ID ของพี่จอห์นคือ paopeng ก็ลอง add กันเข้ามาก็แล้วกัน

Wednesday, December 9, 2009

วีซ่าแต่งงาน 3 วัน ผ่าน

ยื่นเรื่องขอ PR วีซ่าแต่งงานให้ลูกค้า ยื่นวันที่ 3 Dec 2009 วีซ่าผ่านวันที่ 8 Dec 2009 เมื่อวานนี้เอง
เอกสารครบ ทุกอย่างผ่านไปด้วยดี ซึ่งก็ผ่านภายใน 3 วันทำการ (ไม่นับเสาร์-อาทิตย์)

เสร็จไปหนึ่ง case เดี๋ยวอาทิตย์นี้มีอีก case ที่ต้องรีบ

refering ถึง blog ที่เขียนไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว; 4 Dec 2009 เกี่ยวกับน้องที่ถือวีซ่านักเรียน แล้วทำเรื่องแต่งงาน
นี่คืออีกตัวอย่างหนึ่งที่เอเยนต์ในซิดนีย์บอกน้องคนนี้ว่าทำไม่ได้ ลาออกจากโรงเรียนไม่ได้ เดี๋ยววีซ่าจะขาด (จริงๆแล้วอยากได้ค่าเทอม)

ตอนนี้น้องคนนี้วีซ่าก็ผ่านไปแล้วเรียบร้อย ภายใน 5 วัน
สบายไปแล้วหนึ่งคน ไม่ต้องไปเสียเงินลงทะเบียนเรียน เพื่อเสียค่า commission ให้เอเยนต์ในซิดนีย์อีกต่อไป

Saturday, December 5, 2009

เลือกใช้อิมมิเกรชั่นเอเยนต์ที่มี MARN เท่านั้น

สืบเนื่องจากการเขียน blog ไปเมื่อวาน รู้สึกว่ามีอาการค้างคาใจที่อยากจะต้องเขียนต่อ เพราะหลายๆคน โดยเฉพาะคนไทยที่ไม่ค่อยรู้เรื่องนี้เท่าไหร่

ตามกฎหมายอิมมิเกรชั่นของที่ออสเตรเลีย อิมมิเกรชั่นเอเจนท์ที่ถูกกฎหมายและลงทะเบียนถูกต้อง หรือ Registered Migration Agent ทุกคนจะต้องมีหมายเลขประจำตัวคือ MARN และกฎหมายก็บังคับด้วยว่า การโฆษณาทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น email, Internet, นามบัตร และการโฆษณาตามสื่อต่างๆ อิมมิเกรชั่นเอเจนท์ที่ถูกต้อง จะต้องแจ้งหรือแสดง MARN ตลอด ลืมไม่ได้ เพราะนี่คือกฎหมายบังคับ

ถ้าใครไม่มี MARN ก็แสดงว่าไม่ใช่อิมมิเกรชั่นเอเจนท์ที่ถูกกฎหมาย หรือเรียกง่ายๆว่า "ของเก๊" "ของปลอม" ดังนั้นอยากให้ทุกคนระหวังให้ดี เพราะคนบางคนคิดว่า ไปอ่านหาข้อมูลจาก website ของกระทรวงอิมมิเกรชั่น แล้วก็มาเสนอตัวเป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์ แบบนี้ผิดกฎหมายครับ แต่ด้วยความที่หลายๆคนไม่รู้ว่าอิมมิเกรชั่นเอเจนท์ที่ถูกต้อง จะต้องมี MARN โชว์ตลอด

การที่จะเป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ใช่ว่าทุกคนก็สามารถเป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์ได้ โดยเฉพาะหลัง 1 July 2006 (เอ... หรือว่าเราจำปีผิดหว่า ไม่แน่ใจ) การที่จะเป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์นั้น ต้องจบ Graduate Certificate in Australian Migration Law & Practice จากมหาวิทยาลัย ซึ่งตอนนี้เปิดสอนอยู่แค่ 4 มหาวิทยาลัยเอง ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มี ANU (The Australian National University) ซึ่งพี่จอห์นจบมา และจบมาก็ไม่ใช่ง่ายๆ ตอนลงทะเบียนเรียนหนะ มีคนเรียนเยอะแยะ แต่พอแต่ละเทอมผ่านไป คนก็เริ่มน้อยลง น้อยลง

พอเรียนจบได้เป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์ ทุกๆปีเราก็ต้องมีการต่อใบอนุญาตเพื่อเอา MARN ต่อ เราก็จะมี seminar และวิชาเรียนที่เราต้องไป ซึ่งพี่จอห์นเองก็เลือกที่จะเรียนและสอบอยู่ที่บ้าน เพราะไม่ชอบเดินทางเข้า Sydney ซึ่งทั้งหมดก็มี 10 วิชา ดังนั้นก็ไม่ง่ายนะที่จะ continue เป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์

ที่นี้กฎหมายมันก็มีช่องโหว่ที่ว่า
1. ถ้าคนที่เป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์ถูกต้องตามกฎหมาย มี MARN สามารถเปิดบริษัทหรือสำนักงาน โดยที่เจ้าของบริษัทหรือสำนักงานเป็นคนที่มี MARN คนเดียวก็พอ พนักงานคนอื่นในบริษัทหรือสำนักงานไม่จำเป็นต้องมี แต่คนที่มี MARN จะต้องฝึกและ train คนที่ไม่มี MARN

2. อิมมิเกรชั่นเอเจนท์ที่อยู่ต่างประเทศ ไม่จำเป็นต้องมี MARN สังเกตุได้เลย เอเยนต์ที่เมืองไทย มีใครมั่งที่มี MARN

มีหลายครั้งเหลือเกินที่น้องคนไทยที่นี่ ได้รับคำปรึกษามาจากพนักงานในสำนักงาน และเอเจนท์ที่ซิดนีย์ และพนักงานเหล่านั้นก็ไม่ได้เป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์แต่อย่างไร เพียงแต่แค่ทำงานในบริษัทนั้น ช่วยกรอกฟอร์ม ทำโน่นทำนี่ไป บางทีคำแนะนำต่างๆเหล่านั้น ไม่ตรงกับตัวกฎหมายที่ทางกระทรวงอิมมิเกรชั่นออกมา เพราะการอ่านเอาข้อมูลจาก website ของกระทรวงอิมมิเกรชั่นนั้น เป็นแค่ข้อมูลทั่วๆไปที่ open to public ซึ่งทุกคนสามารถเข้าไปอ่านได้อยู่แล้ว แต่สำหรับ Registered Migration Agent หรืออิมมิเกรชั่นเเอเจนท์ที่ถูกต้องตามกฏหมาย และมี MARN เราจะตีความบทบรรยัติทางกฎหมายที่จะซับซ้อนไปกว่านี้เยอะ มันไม่ใช่แค่ plain English ทั่วๆไป เราต้องเรียนกันจากมหาวิทยาลัย และข้อมูลที่อิมมิเกรชั่นเอเจนท์ใช้ จะเป็นข้อมูลตัวเดียวกันที่ case officer ใช้ คือเราไม่ได้ใช้ข้อมูลจาก website เราอ่านกันจาก legislation เลย

ส่วนเอเจนท์ที่เมืองไทยหนะ ก็ไม่ต้องพูดถึงเลย จะมีสักกี่คนที่เป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย เอาเป็นว่า พี่จอห์นจะเขียนเรื่องนี้แยกไว้อีกต่างหากก็แล้วกัน เพราะแค่นี้ blog นี้ก็จะยาวเกินไปแล้ว

Friday, December 4, 2009

วีซ่านักเรียน แต่งงาน ขอ PR จะมีปัญหามั๊ย

พี่จอห์นขอตอบคำถามที่น้องๆหลายคนสงสัยกันเยอะ และก็ได้ข้อมูลไม่ค่อยตรงเท่าไหร่ โดยเฉพาะข้อมูลจากโรงเรียนและเอเยนต์ที่หาเด็กเข้าไปเรียนเพื่อที่ต้องการค่า commision โดยที่ไม่ได้นึกถึงความต้องการของเด็ก และไม่ได้เป็นอิมมิเกรชั่นเอเยนต์อะไรเลย เพราะตอนนี้ โดยเฉพาะที่ Sydney ที่เอเยนต์ทำหน้าที่ทั้ง อิมมิเกรชั่นเอเยนต์ และ Education Agent ควบกันไปด้วย เดี๋ยวพี่จอห์นจะแยกเขียน blog เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อีกหัวข้อก็แล้วกัน

น้องๆที่ถือวีซ่านักเรียน พอแต่งงานกับแฟนที่เป็นคน local ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็น PR หรือ Citizen ก็ตามแต่ พอแต่งงานเสร็จ สามารถยื่นเรื่องขอ PR ได้เลยทันทีครับ ไม่ต้องรอ แต่งวันนี้ ยื่นขอ PR พรุ่งเลยยังได้

ปัญหาที่น้องๆหลายคนเจอก็คือ วีซ่านักเรียนที่ได้มา เป็นวีซ่ายาว เพราะลงทะเบียนเรียนไป 2-3 ปี แต่จ่ายค่าเทอมเป็นเทอมๆไป ทางโรงเรียนก็จะบอกว่า ลาออกไม่ได้นะเพราะถ้าลาออกแล้ววีซ่านักเรียนจะโดนตัด เพราะว่าทางโรงเรียนอยากได้ตังค์ไงหละ

จริงๆแล้วลาออกได้ครับ แต่ต้องลาออกหลังจากเรายื่นเรื่องนะ ถ้าเรายื่นเรื่องแล้ว ก็สามารถลาออกได้เลย เพราะเราจะได้ bridging visa ซึ่งจะ take effect ทันทีหลังจากวีซ่านักเรียนเราโดน cancel

คนทั่วไปรู้เรื่อง bridging visa น้อยมาก ต้องอิมมิเกรชั่นเอเยนต์เท่านั้นที่รู้เรื่อง bridging visa จริงๆ ดังนั้นเวลาขอคำปรึกษาจากใครต้องเช็คด้วยว่า คนนั้นหนะ เค๊าเป็น อิมมิเกรชั่นเอเยนต์ที่ถูกกฏหมายหรือเปล่า เพราะอิมมิเกรชั่นที่ถูกกฏหมาย ทุกคนต้องมีหมายเลข MARN ดังนั้นพี่จอห์นแนะนำให้น้องๆเช็คด้วยว่า นามบัตร เค๊าเหล่านั้นมี MARN หรือเปล่า

bridging visa นี้ก็เป็น visa มหัสศจรรย์ที่ทันทีที่วีซ่านักเรียนหมดอายุ หรือโดนตัด bridging visa ก็จะ take effect ทันที และน้องที่ยื่นเรื่องแต่งงานเข้าไปก็จะได้ bridging visa ไปจนกว่าผลเรื่อง PR จากการแต่งงานจะออก

และจากประสบการณ์ที่พี่จอห์นยื่นเรื่องวีซ่า PR แบบแต่งงานให้น้องๆมาหลายคู่ ถ้าเอกสารทุกอย่างครบ ก็ประมาณ 2-3 อาทิตย์ ผลก็ออกแล้วครับ

Tuesday, December 1, 2009

ภาษาอังกฤษที่จะยากขึ้นหลังจาก 1 January 2010

มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง?

ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของ requirement ของเรื่องภาษาอังกฤษอยู่ 2 ประเด็น
ประเด็นแรกคือ คนที่เป็น trade occupation งานช่าง ที่ต้องใช้ฝีมือและทักษะเฉพาะตัว; ช่างตัดผม หรือ เชฟ และอื่นๆอีก ประเด็นที่สองคือ คนที่สมัครแบบออกไปอยู่ตามท้องถิ่น หรือ Skilled-Regional Sponsored visa.

มีการประกาศมาจากกระทรวงอิมมิเกรชั่น เมื่อวันที่ 12 May 2009 (ก็นานมาแล้ว นำมาเขียนย้ำ เพราะใกล้วันที่ 1 Jan 2010 แล้ว) ว่า ผู้สมัครขอ PR ประเภทช่างทักษะและฝีมือ หรือ trade occupation จะเพิ่ม IELTS ขั้นต่ำเป็น 6.0 ตั้งแต่วันที่ 1 Jan 2010 เป็นต้นไป สำหรับคนที่สมัครขอ PR แบบที่ต้องไปอยู่ตามท้องถิ่น Skilled-Regional Sponsored ก็เช่นเดียวกัน IELTS ขั้นต่ำก็จะเป็น 6.0 ตั้งแต่วันที่ 1 Jan 2010


จะมีผลกระทบต่อใครมั่ง?

จะมีผลเฉพาะกับคนที่ยื่นใบสมัครหลังจากวันที่ 1 Jan 2010 เท่านั้น (วันที่ 1 Jan วันปีใหม่ เป็นวันหยุดนะคร๊าบบบบบ) ใครที่ยื่นก่อนวันที่ 1 Jan 2010 ก็จะไม่มีผลกระทบกับกฏใหม่อันนี้


เหตูผลที่มีการปรับเปลี่ยนเพิ่ม requirement ระดับของภาษา?

เนื่องด้วยสาขาอาชีพทุกสาขาอาชีพที่นอกเหนือจาก trade occupation ได้มีการปรับระดับ requirement ของภาษาอังกฤษ ดังนั้น สาขาอาชีพใน trade occupation ก็ต้องมีการเพิ่มด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับสาขาอาชีพอื่นๆ และที่สำคัญก็คือ การที่เรามีความสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร มันก็จะเป็นการง่ายต่อเรา ที่จะออกไปหางานทำได้


จะมีการยกเว้นสำหรับนักเรียนที่เพิ่งลงทะเบียนเรียนไปหรือเปล่า?

ข่าวร้ายครับ จะไม่มีการยกเว้นสำหรับนักเรียนที่เพิ่งจะลงทะเบียนเรียน หรือตอนนี้เรียนสาขาอาชีพใน trade occupation เป็นอันขาด เพราะทางอิมมิเกรชั่นได้ออกมาประกาศตั้งแต่เดือน May 2009 ซึ่ง ถึงวันที่ 1 Jan 2010 ก็ประมาณ 7 เดือน ซึ่งก็ถือว่านานพอสมควรในการเตรียมตัว

นักเรียนต่างชาติที่มาเรียน Certificate III, trade course ก็ต้องมีผลสอบภาษาอังกฤษ IELTS 5.0 อยู่แล้ว แล้วถ้าเรียนต่อที่นี่อีก 2 ปี พอถึงตอนนั้น ภาษาอังกฤษก็ควรจะดีขึ้น ดังนั้น IELTS 6.0 ก็ไม่น่าจะมีปัญหา

คะแนน points ของ partner จะได้รับผลกระทบอะไรหรือเปล่า?

ถ้าเราต้องใช้คะแนน points จาก partner เรา การเพิ่ม requirement ของภาษาอังกฤษในครั้งนี้ก็มีผลกระทบด้วยครับ

ทำใม requirements ของ skilled migration เปลี่ยนแปลงบ่อยจังเลย?

Skilled migration programs คือวิถีอีกทางหนึ่งที่รัฐบาลออสเตรเลียใช้ในการดึงดูดคนเข้ามาทำงานในสาขาอาชีพที่ออสเตรเลียขาดแคลน สภาพการของเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยๆ จึงมีผลกระทบต่อ Skilled migration programs ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนไปตามสภาพเศรษฐกิจของประเทศ และทางรัฐบาลของออสเตรเลียก็ต้องการ make sure ว่าคนที่ได้ PR นั้น มีความชำนาญและความสามารถในสาขาอาชีพนั้นๆจริง และภาษาก็สำคัญในการสมัครและหางานทำที่นี่

และเนื่องด้วยกฏหมายมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย พี่จอห์นก็แนะนำให้คนที่ต้องการทำเรื่องขอ PR ให้ปรึกษาทนายและนักกฏหมายด้านอิมมิเกรชั่น ซึ่งพี่จอห์นเองก็เป็นหนึ่งในนั้น เพราะกฏหายจะมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ให้จำไว้เสมอว่า เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่ายนะ

Tuesday, November 24, 2009

ลงทะเบียนเรียน เพียงเพื่ออยากได้ PR นั้น ดีจริงเหรอ

ที่พี่จอห์นจะเขียนใน blog ต่อไปนี้ เป็นความคิดเห็นส่วนตัว จากประสบการณ์ที่ได้เรียนมา และการใช้ชีวิตในต่างแดน พบและเจออะไรมาเยอะ ก็อยากจะแนะนำน้องๆเหลือเกินว่า จะเลือกลงทะเบียนในสาขาอะไรหนะ ควรเลือกเรียนในสิ่งที่เราชอบ ในสิ่งที่เราอยากจะเรียน อย่าเลือกที่จะเรียนเพราะสามารถยื่นเรื่องขอ PR ได้ เพราะกฏหมายอิมมิเกรชั่นนั้น มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ สาขาอาชีพ และวิชาที่เรียนมาวันนี้อาจจะสามารถยื่นเรื่องขอ PR ได้ แต่อีกปีถัดไป หรือ 2 ปี ถัดไป เราไม่สามารถรู้ได้ว่า สาขาอาชีพ และหน่วยงานที่เราได้เรียนมานั้น ยังที่จะสามารถยื่นเรื่องขอ PR ได้หรือเปล่า เพราะถ้าเรียนจบมา แล้วมาเจอกกหมายอิมมิเกรชั่นเปลียน นี่ก็แย่มากเลย สู้เราเรียนในสาขาที่ชอบจะดีกว่า เพราะถ้าเรียนในสิ่งที่ชอบ ในสิ่งที่อยากจะทำ เรายังสามารถเอาความรู้เหล่านั้น ไปประกอบวิชาชีพ ทำมาหากินได้

ตัวพี่จอห์นเอง เป็นอิมมิเกรชั่นเอเยนต์ มีหน้าที่ช่วยเหลือคนดำเนินการเรื่องของวีซ่า ไม่ได้มีหน้าที่หานักเรียนให้กับสถาบันการศึกษา เหมือนเอเยนต์อื่นๆ ดังนั้น พี่จอห์นบอกไว้ก่อนเลยว่า พี่จอห์นไม่ใช่ Education Agent ดังนั้น เราจะไม่ค่อยโปรโมตเรื่องเรียนอะไรมากสะเท่าไหร่ เราจะเน้นเรื่องของวีซ่ามากกว่า ทั้ง PR, วีซ่าชั่วคราว และวีซ่าอื่นๆ คือ แบบว่า เอาแบบเน้นๆ ไม่เอาน้ำ ว่างั้นเถอะ

Sunday, November 22, 2009

การเปลี่ยนแปลงของวีซ่านักเรียน 9 Nov

จากวันที่ 9 Nov 2009 จะมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับวีซ่านักเรียน อยู่ 3 ประการ สืบเนื่องมาจากการปิดของ private college ที่ผ่านมา
  1. จากวันที่ 9 November 2009, ทางอิมมิเกรชั่นจะคืนเงินค่าสมัครวีซ่านักเรียน สำหรับนักเรียนที่ทาง private college โดนปิดภายในปีนี้ และจำเป็นต้องขอวีซ่านักเรียนใหม่
  2. ทางอิมมิเกรชั่นกำลังยื่นเรื่องเสนอ ให้ออกเป็นกฏหมาย เพื่อที่จะให้นักเรียนที่ private college โดนปิด สามารถยื่นเรื่องขอวีซ่านักเรียนโดยที่ไม่ต้องจ่ายค่าสมัครวีซ่า ถ้ากฏหมายผ่าน ก็จะผลเริ่มใช้วันที่ 1 January 2010 ก็ให้ติดตามอ่าน blog ของพี่จอห์นก็แล้วกัน จะ update อยู่เรื่อยๆ
  3. ทางอิมมิเกรชั่นกำลังยื่นเรื่องเสนอ ให้ออกเป็นกฏหมาย ให้คนที่สมัครวีซ่านักเรียนต้องมีเงินโชว์ในบัญชี $18,000 ต่อปี จากเดิมที่เคยเป็นแค่ $12,000 ต่อปี ถ้ากฏหมายผ่าน ก็จะมีผลบังคับ เริ่มใช้จากวันที่ 1 January 2010 ก็ให้ติดตามอ่าน blog ของพี่จอห์นก็แล้วกัน จะ update อยู่เรื่อยๆ ว่าสรุปแล้วจะสามารถออกมาเป็นกฏหมายบังคับใช้ได้หรือเปล่า

Wednesday, November 11, 2009

private colleges โดนปิด

เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา มี private colleges ที่อยู่ใน Sydney และ Melbourne โดนสั่งปิดไป นักเรียนประมาณ 3,400 คน วีซ่า มีปัญหา

โดยส่วนตัวแล้ว พี่จอห์น ไม่แนะนำให้ลูกค้าของพี่จอห์นเรียนที่ private college จะแนะนำให้เรียนที่มหาวิทยาลัย หรือ TAFE ของรัฐบาลไปเลย รับรองไม่มีปัญหาเรื่องคุณภาพในการเรียน และการสอน

ดังนั้น ใครก็ตามแต่ที่คิดจะหาอะไรลงเรียนที่ private college ก็อยากจะแนะนำว่า ให้คิดให้ดีๆก็แล้วกัน เดี๋ยวจะได้ไม่คุ้มเสียนะ

อ่านข่าวของ ABC news ได้นะครับที่ http://www.abc.net.au/news/stories/2009/11/06/2734900.htm

Sunday, November 1, 2009

processing backlog in Australia’s skilled migration

This week’s National Interest program on ABC Radio National is looking at the huge processing backlog in Australia’s skilled migration program and the distress this is causing to many migrants who now face a wait of at least two years on their applications for permanent residency in Australia. Host Peter Mares will be speaking to Migration Institute of Australia (MIA) board member Mark Webster and to a graduate of La Trobe University who is affected by the changes.

The National Interest is broadcast live to air on Friday evening at 6.10pm in Victoria, NSW, the ACT, Tasmania , South Australia and in Darwin; 5pm in Queensland and the Northern Territory outside Darwin, and 3pm in WA. It can also be downloaded at any time after broadcast from the http://mpegmedia.abc.net.au/rn/podcast/2009/10/nit_20091030_1830.mp3

MIA has raised this matter with DIAC on numerous occasions. A submission is now being sent to the Minister, drawing his attention in particular to the unfairness inherent in his priority processing decisions:
  • applications which were made as long ago as last year, and many of which were almost finalised, have suddenly been pushed back in the queue, often after new police and health checks had been paid for;
  • thousands of applicants will spend years on Bridging visas with no certainty that they will maintain eligibility for GSM, or be able to plan for their future, and will find it difficult to get work, despite having permission to work, as many employers insist that their employees be permanent residents;
  • thousands of applicants who in good faith paid visa applications charges with the quite reasonable expectation that their applications would be finalised within published service standard times find themselves in limbo
  • thousands of currently enrolled overseas students who are paying large fees to Australian education providers and who intend to use the perfectly legitimate and government designed pathway to permanent residence have had their plans derailed.

Friday, October 30, 2009

Vetassess skills assessment from 1 January 2010

From 1 January 2010, Vetassess will be changing its requirements for skills assessments for migration purposes.

The essential changes are that:

  • the qualification must be relevant to the nominated occupation
    AND
  • that at least one year’s relevant work experience will be required. This has to be work experience/on-the-job training completed in the five years before the date of application for a skills assessment.
  • In some cases, one or two additional years of relevant employment may be required IF the qualification does not have enough content which is relevant to the nominated occupation.

Vetassess advises that “the new assessment process will help to ensure that applicant’s [sic] who meet the requirements under the new process are job ready and have the relevant skills and qualifications for employment in Australia in their nominated occupation”.

NOTE: Subclass 485 (Skilled - Graduate Temporary) visa applicants

There will be a Stage 1 skills assessment for Subclass 485 (Skilled - Graduate Temporary) visa applicants, which will not require one year’s work experience. The full skills assessment (which will require work experience) must be done for an application for a permanent GSM visa.

Subclass 485 applications can only apply for a Vetassess skills assessment if they have a nominated occupation in Vetassess’s new occupation Groups A and B (see below).

Vetassess has placed particular occupations in particular groups:

Group A
[for example, Agricultural Scientist; Biochemist ; Chemist; Geologist ; Life Scientists [nec]; Teacher - Education Officer; Teacher - Vocational Educational Teacher (non trades); Urban and Regional Planner]

Requires:

  • a qualification at least at an Australian bachelor degree level , with a major “highly relevant” to the nominated occupation,
  • AND at least one year of relevant employment experience at “an appropriate level”.

Group B
[for example, Advertising Specialist; Construction Project Manager; Environmental Health Officer; Hotel or Motel Manager (Degree); Marketing Specialist; Production Manager (Manufacturing); Research and Development Manager]

Requires:

  • a qualification at least at an Australian bachelor degree level , with a major “highly relevant” to the nominated occupation,
  • AND at least one year of relevant employment experience at “an appropriate level”.
  • AND either two or three years of relevant employment experience will be required IF the qualification/s is identified as having a shortfall in content relevance.

Group C
[for example: Architectural Associate; Building Associate; Financial Investment Adviser; Hotel or Motel Manager (Diploma); Office Manager; Project or Program Administrator]

Requires:

  • a qualification at least at an Australian Diploma level, with a major “highly relevant” to the nominated occupation,
  • AND one year of relevant employment experience at an appropriate level.
  • OR (if the major is not “highly relevant”) two years of work experience AND another “highly relevant” major at least at Australian Certificate IV level.

Group D
[Building Associate Professionals (nec); Civil Engineering Technician; Metallurgical and Materials Technician]

Requires:

  • a qualification at least at the level of an Australian Certificate IV, with a major “highly relevant” to the nominated occupation,
  • AND at least one year of relevant employment experience at an appropriate level,
  • OR (if the major is not “highly relevant”) two years of work experience.


Monday, October 26, 2009

ขอวีซ่า นักท่องเที่ยว เพื่อมาช่วง Christmas

ตอนนี้ทางกระทรวงอิมมิเกรชั่นแนะนำว่า ถ้าหากใครที่คิดจะขอวีซ่านักท่องเที่ยว เพื่อมาเที่ยว หรือมาเยี่ยมญาติ หรือครอบครัวที่ออสเตรเลียช่วง Christmas ทางกระทรวงอิมมิเกรชั่นแนะนำให้ยื่นใบสมัครก่อนวันที่ 6 November นะครับ เพราะช่วงนี้จะมีคนขอวีซ่านักท่องเที่ยวกันมาก ทางเจ้าหน้าที่ก็รับมือกันไม่ค่อยไหวเท่าไหร่ เดี๋ยวท่าน หรือครอบครัว อาจจะได้วีซ่าไม่ทันช่วง Christmas ก็ได้

แถมใกล้ Christmas เมื่อไหร่ เจ้าหน้าที่ทางอิมมิเกรชั่นเอง ก็ต้องมีการลาหยุดไปเที่ยว ไป holiday เป็นเรื่องปกติ

ดังนั้นญาติๆ เพื่อนๆ หรือครอบครัวใคร จะขอวีซ่ามาเที่ยว ให้รีบจัดการซะ อย่าปล่อยให้ใกล้ๆวันแล้วค่อยมาขอ เดี๋ยวไม่ทันการ

ทางอิมมิเกรชั่นได้แจ้งมาทางเอเยนต์ทุกคน เราก็อยากจะส่งข่าวต่อให้ทุกคนทราบ

Thursday, October 22, 2009

แต่งงานกับสามีฝรั่ง อยากเอาลูกวัย 25 มา

มีคนสอบถามเข้ามาว่า ตอนนี้แต่งงานกับสามีฝรั่ง ยังไม่ได้ PR อยาก sponsor ลูกวัย 25 ปีมาอยู่ด้วย จะทำได้มั๊ย เพราะเพื่อนๆหลายคนบอกว่า ลูกเกิน 18 ปีแล้ว คงทำไม่ได้หรอก

คำตอบคือได้ครับ

ไอ้พวกเพื่อนบอกว่าเนี๊ยะ อย่าเชื่อให้มากนะครับ เพื่อนบอกว่า เอา 5 หาร

โอเค เข้าเรื่องเราเลยดีกว่า คุณพี่ผู้หญิงท่านนี้สามารถ sponsor ลูกวัย 25 ปีมาได้นะครับ ถ้า
- ลูกยังไม่แต่งงาน
- ลูกยังต้องอาศัย คุณแม่เป็นฝ่ายเลี้ยงดู เรื่องการเงิน จะด้วยเหตุผลอะไรก็แล้วแต่
- อายุไม่เกิน 25 ปี (ดังนั้น ที่เพื่อนคุณพี่ผู้หญิงบอกว่า เกิน 18 ปี แล้ว ทำเรื่อง PR ติดตามมาไม่ได้ อันนั้นไม่จริง) ต้องรีบทำเรื่องก่อนที่ลูกจะ 26 ปี นะครับ

จริงๆแล้ว คนที่เป็น sponsor ลูก ก็คือคนที่เป็นสามีของคุณพี่ผู้หญิงคนนั้น ไม่ใช่พี่ผู้หญิงเป็นคน sponsor

Wednesday, October 14, 2009

คู่รักเพศเดียวกัน

มีหลายคนอยากทราบว่า มีคู่รักเพศเดียวกันอยู่ที่เมืองไทย จะทำเรื่องเอาแฟนมาอยู่ด้วยได้มั๊ย ตอนนี้คบกันได้เกือบ 1 ปีแล้ว ระหว่างนี้ก็เดินทางไปๆมาๆระหว่างที่นี่และเมืองไทย

คำตอบมีอยู่ข้างล่างนี้แล้วครับ

1. คู่รักเพศเดียวกันก็สามารถทำเรื่องสปอนเซอร์ แฟนที่อยู่ที่เมืองไทยได้แล้วครับ แต่ต้องคบกันให้ถึง 1 ปี ก่อนนะ ดังนั้นวันที่ที่เริ่มรู้จักกัน และวันที่เริ่มเป็นแฟน สำคัญมาก ต้องจดจำวันที่ให้ดี

2. เวลาโทรหาแฟน ต้องเก็บบิลโทรศัพท์ไว้ด้วย แนะนำให้ใช้เบอร์มือถือที่เป็น plan หรือเบอร์บ้านโทร เพราะจะได้มีบิล เก็บเอาไว้โชว์

3. ถ้าคุยกันทาง MSN หรือ Internet ควรเก็บ history file เอาไว้ด้วย เค๊ามีวิธีเซ็ตกันอยู่ ก็ถามเพื่อนๆก็แล้วกันว่า เซ็ตกันยังไง หรือโทรมาหาพี่จอห์นก็ได้ จะบอกว่าทำยังไง

4. เวลาเดินทางกลับไปเมืองไทย ไปหาแฟน ก็เก็บตั๋วเครื่องบินเอาไว้ด้วย เป็นหลักฐาน

สมัยนี้สังคมเปิดกว้างแล้วครับ ยินดีด้วย

พี่จอห์น @J The Migration Team
jpp168.immi @ yahoo.com

Tuesday, October 13, 2009

police name check

เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมา มีพี่คนไทยที่รู้จักคนหนึ่งที่พี่จอห์นช่วยแนะนำแกในเรื่องการทำ police name check ที่นี่

ประทับใจกับการทำงานของ ตำรวจ AFP (Australian Federal Police) ที่แคนเบอร์รามาก เพราะส่งเรื่องไป ก็ได้ผลตรวจสอบประวัติ กลับมาภายในหนึ่งอาทิตย์ อาจจะเป็นเพราะว่า วูลลองกอล กับ แคนเบอร์รา อยู่ใกล้กันหรือเปล่า เราก็ไม่รู้นะ รู้แต่ว่า รวดเร็วทันใจ ดีมากเลย

ก็เลยอยากเอามาเล่าสู่กันฟัง

จอห์น @ J The Migration Team
0412-470969

Monday, October 12, 2009

ฟอร์ม 26 ข้อ 13

ฟอร์ม 26 คือแบบฟอร์มที่กรอกก่อนที่เราจะไปตรวจร่างกาย
ก็มีน้องคนไทยเค๊าถามมา ก็เลยขอเอามาลงใน blog นี้ด้วยเลย เพราะคนอื่นๆจะได้อ่านด้วย

ตรงข้อ 13 ที่เค๊าถามว่าเราเคยตรวจร่างกายทำวีซ่ามาที่ออสเตรเลียหรือเปล่า ถ้าเคยตรวจร่างกายทำวีซ่ามาที่ประเทศออสเตรเลีย เราต้องตอบว่า Yes นะครับ

คือไม่เกี่ยวว่าเราตรวจร่างกายที่เมืองไทยหรือที่ใหนนะครับ เพราะถ้าเคยตรวจร่างกายที่เมืองไทยก็ถือว่าเป็นการตรวจร่างกายเพื่อทำวีซ่ามาที่นี่เหมือนกัน เพราะคำถามเค๊าไม่ได้ถามว่า เราตรวจร่างกายที่ใหน

John @ J The Migration Team
อิมมิเกรชั่นเคลื่อนที่ เราไปหาคุณได้ (ถ้าไม่ลำบากกว่าแรง)

Friday, October 9, 2009

นักเรียนพบรักกับคนถือ Student Guardian วีซ่า

มีคนอยากทราบว่า ถ้าตอนนี้ถือวีซ่านักเรียนอยู่ แล้วพบและเจอรักกับแฟน ซึ่งแฟนตอนนี้ถือวีซ่า Student Guardian Visa อยู้ อยากทราบว่า เค๊าสามารถเปลี่ยนวีซ่านักเรียนของเค๊า เป็นวีซ่าติดตามแฟนคนที่ถือ Student Guardian Visa ได้มั๊ย

คำตอบคือ ไม่ได้ครับ เพราะจุดประสงค์หลักของคนที่ถือ Student Guardian Visa นั้น เพื่อมาดูแลลูกซึ่งเป็นนักเรียน ที่อายุน้อยกว่า 18 นั่นคือจุดประสงค์หลัก ที่ทางอิมมิเกรชั่นอนุญาติออก
Student Guardian Visa ให้มา

คนที่สามารถติดตาม คนที่ถือ
Student Guardian Visa คือลูกที่ยังเด็กอยู่เท่านั้น (ถึง 6 ขวบ)

Sunday, September 27, 2009

Priority Processing Changes for GSM, Employer Sponsored and Business Skills (Provisional) visa applications – from 23 Sept 2009

The Minister has set a new priority processing direction which comes into effect on 23 September 2009.

This Direction applies to applications in the pipeline that have not been finalised, and to applications lodged with the Department of Immigration and Citizenship, on or after 23 September 2009.

Priority processing applies to both onshore and offshore applications.

Processing priorities (highest priority listed first)

  1. ENS and RSMS applications
  2. State/territory nominated applications with nominated occupation on Critical Skills List (CSL)
  3. Family member sponsored applications with nominated occupation on CSL
  4. Applications not nominated or sponsored, but with nominated occupation on CSL
  5. State/territory nominated applications with nominated occupation NOT on CSL
  6. (i) applications with nominated occupation on the Migration Occupations in Demand List(MODL) (ii) Family member sponsored applications with nominated occupation on the MODL
  7. all other applications processed in the order in which they are received

GSM visas subject to priority processing

Skill Matching Subclass 134
Skilled – Independent Subclass 136
Skilled – State/Territory-nominated Independent Subclass 137
Skilled – Australian-sponsored Subclass 138
Skilled – Designated Area-sponsored Subclass 139
Skilled – Independent Subclass 175
Skilled – Independent Subclass 176
Skilled – Regional Sponsored Subclass 475
Skilled – Graduate Subclass 485
Skilled – Regional Sponsored Subclass 487
Skilled – Independent Regional Subclass 495
Skilled – Designated Area-sponsored (Provisional) Subclass 496
Graduate – Skilled Subclass 497
Skilled – Onshore Independent New Zealand Citizen Subclass 861
Skilled – Onshore Australian-sponsored New Zealand Citizen Subclass 862
Skilled – Onshore Designated Area-sponsored New Zealand Citizen Subclass 863
Skilled – Independent Overseas Student Subclass 880
Skilled – Australian-sponsored Subclass 881
Skilled – Designated Area-sponsored Overseas Student Subclass 882
Skilled – Independent Subclass 885
Skilled – Sponsored Subclass 886

GSM visas NOT subject to priority processing

Skilled – Recognised Graduate Subclass 476
Skilled – Designated Area – Sponsored (Residence) Subclass 883
Skilled – Regional Subclass 887.

Processing priority for subclass 485 applications

  1. applications from people who have completed an Australian Doctor of Philosophy (PHD) at an Australian educational institution in Australia
  2. applications from people who have nominated an occupation on the CSL
  3. applications from people who have completed an Australian Bachelor degree and Australian Masters degree at an Australian educational institution in Australia
  4. applications from people who have completed an Australian Bachelor degree and Australian Honours degree (at least upper second class level) at an Australian educational institution in Australia
  5. applications from people who have completed an Australian Bachelor degree or Australian Masters degree at an Australian educational institution in Australia
  6. all other valid applications are to be processed in the order in which they are received.

Processing priority for Business Skills (Provisional) visa applications

  1. applications from people who are sponsored by the Commonwealth or a State/Territory government
  2. all other valid applications are to be processed in the order in which they are received.

DIAC’s estimated processing times

Applications with nominated occupation on CLS: within 12 months of lodgement

If your nominated occupation is not on the CSL and you have applied for an offshore GSM visa or intend to apply for an offshore GSM before the end of 2009, it is unlikely that your visa will be finalised before the end of 2012.

If your nominated occupation is not on the CSL and you applied for an onshore GSM visa or intend to apply for an onshore GSM before the end of 2009, it is unlikely that your visa will be finalised before the end of 2011.

Your ‘nominated occupation’ is the occupation you nominated at the time you lodged your application and cannot be changed.

Sunday, September 13, 2009

IELTS for accountant

From 1 Jan 2009, there are some changes in "accountancy" occupation that the applicant must have achieved a score of at least 7 in each band of the IELTS test and/or has completed the Professional Year in accounting who nominate "Accountant".

Saturday, August 22, 2009

domestic violence โดนสามีทำร้ายร่างกาย

มีผู้หญิงไทยหลายคน ที่แต่งงาน หรืออยู่กินกันกับ partner แล้วทำเรื่องขอ PR เพืออยู่ต่อที่นี่ หลายคนได้สามี หรือ partner ดี ก็ดีไป แต่ก็มีหลายคนที่ทนลำบาก โดนสามีทำร้ายร่างกาย แต่ก็ต้องทนอยู่เพราะว่าอยากได้ PR อยากอยู่ที่นี่ กลัวว่าถ้าเลิกกันแล้ว วีซ่าจะโดนยกเลิก

พี่จอห์นขอแนะนำผู้หญิงไทยทุกคน ไม่ต้องทนโดนรังแกนะครับ ถ้าโดนทำร้ายร่างกาย เราแนะนำให้ไปแจ้งตำรวจ ไปหาหมอ เก็บหลักฐานการไปแจ้งความ ถ้าร่างกายมีรอยฟกช้ำ ให้ถ่ายรูปเอาไว้ ย้ายออกมาอยู่ข้างนอก กับเพื่อนหรือใครก็ได้ แล้วเข้ามาปรึกษา อิมมิเกรชั่นเอเจนท์ เราสามารถช่วยดำเนินเรื่องให้ได้

มีปัญหาอะไร โทรมานัด ปรึกษาได้ ข้อมูลของลูกค้าทุกคนถือว่าเป็นความลับอยู่แล้ว ไม่ต้องห่วง

อย่าทนอีกต่อไปเลย

Tuesday, August 18, 2009

เวลาในการตัดสินใจออกวีซ่าของ Skilled Migrant Visa

มีน้องๆนักเรียนหลายคนสงสัยว่า จะต้องรอนานมั๊ยหลังจากยื่นเรื่องขอ PR แล้ว ถึงจะได้ PR
บางคนก็กระวนกระวายว่า เมื่อไหร่ผล PR จะออกซะที
พี่จอห์นขอตอบรวมๆไว้ตรงนี้เลยก็แล้วกันน๊อ จะได้หลายสงสัยกัน เพราะดูๆแล้ว พี่จอห์นก็เห็นใจน้องๆที่รอกัน

น้องคนไทยส่วนมาก ที่เรียนจบก็จะยื่นขอ PR ประเภทที่ใช้ Skill ซึ่งก็คือ Skilled Migrant Visa ดังนั้นวันนี้ที่เขียนเนี๊ยะ ข้อมูลใช้ได้กับเฉพาะของ Skill Migrant Visa นะครับ ถ้าเป็นวีซ่าอื่น เช่นวีซ่าแต่งงาน วีซ่าติดตามอะไรประมาณเนี๊ยะ จะไม่เกี่ยวกันนะครับ เพราะจะเป็นคนละแผนกกันที่ทำเรื่องวีซ่า

เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ของปีนี้ เป็นต้นมา ทางกระทรวงอิมมิเกรชั่น มีการประกาศการเปลี่ยนแปลง priority ในการพิจารณาวีซ่าประเภท Skilled Migration Visa

ทางกระทรวงอิมมิเกรชั่นได้มีการยกเลิกระบบ first come, first serve แล้วครับ คือจะไม่มีการแบบว่า ยื่นก่อนได้รับการพิจารณาก่อนอีกต่อไปแล้ว จะใช้ระบบที่ว่า ใครมีความพร้อมที่จะทำงาน หรือมีงานทำแล้ว ก็จะได้รับการพิจารณาก่อน ดังนั้นน้องคนใหนที่ยื่นไป แล้วยังไม่มีงานทำ ไม่มีนายจ้าง sponsor ก็ต้องรอนานนิดหนึ่ง คนใหนมีงานทำ มีนายจ้าง sponsor ก็ประมาณ 2-4 อาทิตย์ได้ นี่คือข้อมูลที่พี่จอห์นไปเข้า seminar กับคนของกระทรวงอิมมิเกรชั่นมาเลยนะ นั่งฟังทั้งวัน ข้อมูลเยอะมาก แล้วพี่จอห์นจะทยอยเอามาค่อยๆเขียนให้ทุกคนได้อ่านกัน

นี่คือ priority ที่ทางกระทรวงอิมมิเกรชั่นใช้นะครับ รายการที่อยู่ข้างบน ก็จะได้รับการพิจารณาก่อน ที่อยู่ข้างล่าง ก็รอนานหน่อย นานเท่าไหร่ เราไม่รู้นะ รู้แต่ว่านาน ดังนั้น ในสถานร์การอย่างนี้ ก็อยากให้ทุกคนใจเย็นๆ บางแผนไว้ล่วงหน้าว่า ช่วงที่รอนานๆเนี๊ยะ จะทำอะไรดีกับชีวิต

1. PR แบบมีนายจ้าง sponsor
2. PR แบบมีรัฐบาล sponsor (ถ้าอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม อีเมลถามได้นะ)
3. PR ในสาขาอาชีพที่ขาดแคลนมากๆ; หมอ, พยาบาล, วิศวกร (Critical Skill List: CSL)
4. PR แบบธุรกิจ เป็นเจ้าของธุรกิจ เจ้าของ Business
5. PR ที่สาขาอาชีพอยู่ใน demand list ที่เป็นสาขาที่อาชีพที่ออสเตรเลียยังต้องการอยู่ (Migration Occupations in Demand List: MODL) น้องคนไทยก็จะอยู่ในกรณีนี้เป็นส่วนใหญ่
6. PR สาขาอาชีพที่นอกเหนือจากข้างบน คือ ประมาณว่า มีความรู้ ความสามารถ แต่ออสเตรเลีย ไม่ขาดแคลน และไม่ต้องการคนในอาชีพนี้แบบเร่งด่วน น้องๆคนไทยก็จะอยู่ในกรณีนี้เยอะเหมือนเกิน ซึ่งก็ต้องรอนานเป็นพิเศษ ดังนั้นก็ต้องใจเย็นๆ หาอะไรทำในระหว่างที่รอก็แล้วกัน :)

พี่จอห์น
J The Migration Team

Monday, August 17, 2009

De Facto Visa กับการกรอกใบคนเข้าเมือง

De Facto Visa วีซ่าถาวร (PR) สำหรับคนที่อยู่ด้วยกันกับแฟนที่เป็นคน local แต่ไม่ได้แต่งงาน และอยู่ด้วยกันอย่างน้อย 12 เดือน

ปัญหาหลายๆอย่างที่พี่จอห์นได้เจอมาคือ ลูกค้าเวลาเดินทางเข้ามาในออสเตรเลีย เวลากรอกใบคนเข้าเมือง เขียนที่อยู่ไม่ตรงกัน กับที่อยู่ที่ยื่นไปตอนขอ PR โดยยื่นแบบ De Facto บางคนบอกว่าอยู่กับแฟนบ้านเลขที่นี้ แต่เวลากรอกใบคนเข้าเมือง เอาอีกที่อยู่หนึ่ง ที่อยู่ลูกหรือญาติที่ตัวเองมาพักด้วย เพราะว่าไปๆมาๆ ระหว่างบ้านญาติ และบ้านแฟน พอทางอิมมิเกรชั่น มีการเช็คฐานข้อมูล database ข้อมูลไม่ตรงกัน ก็เกิดความวุ่นวายกันใหญ่ บาง case ที่อิมมิเกรชั่น มีความสงสัย และเข้ามาขอเช็คที่บ้าน เจอแต่แฟน เจ้าตัวไม่อยู่ นี่ก็ไม่ดีนะครับ

ดังนั้นเวลากรอกใบคนเข้าเมืองในคิดกันนิดหนึ่ง อย่าเอาแต่สะดวก กรอกๆไป เพราะมันจะมีผลตามมาทีหลัง

Sunday, August 16, 2009

Plan ahead

เนื่องด้วยช่วงนี้ มีน้องนักเรียนหลายคนที่เรียนจบแล้ว แล้วอยากจะขอ PR อยากทำเรื่องที่จะอยู่ต่อที่นี่ คำแนะนำของพี่จอห์นก็คือ ให้เตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆ ทุกอย่างต้องมีการ plan ต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า เพราะการยื่นเรื่องขอ PR แต่ละประเภท มีความยุ่งยากและซับซ้อนอยู่ในตัวของมันเองอยู่แล้ว

เนื่องด้วย หลังจากวันที่ 1 July ที่ผ่านมา กฏหมายอิมมิเกรชั่นมีการเปลี่ยนแปลงแบบยกเครื่องเปลี่ยนเลย พี่จอห์นก็เลยต้องไปเข้าร่วมฟัง seminar อยู่เรื่อยๆ ก็ได้ข้อมูล first hand จากทางกระทรวงของอิมมิเกรชั่นมาเลย

เรื่องมีอยู่ว่า ขั้นตอนการตัดสินใจของทางกระทรวงอิมมิเกรชั่น ว่าจะอนุมัติ PR ให้หรือไม่นั้น โดยเฉพาะ PR ที่เป็นแบบ Skilled Migrant ที่น้องๆนักเรียนส่วนใหญ่สมัครกัน ทางอิมมิเกรชั่นจะใช้ข้อมูลและเอกสารที่ทางอิมมิเกรชั่นได้รับตอนนั้นในการตัดสินใจ ถ้าเอกสารไม่ครบ case officer ที่ได้รับเรื่องก็มีอำนาจที่จะไม่อนุมัติ PR ให้ แถมตังค์ก็จะไม่คืนด้วย ถ้า case officer ใจดีหน่อย เค๊าก็จะยืดเวลาให้อีก 28 วัน ให้ส่งเอกสารเพิ่ม แต่ก็อย่าเสี่ยงเลยนะ ดีที่สุด

ดังนั้นน้องๆคนใหนที่จะยื่นเรื่องขอ PR พี่จอห์นแนะนำให้เตรียมตัว เตรียมเอกสารกันตั้งแต่เนิ่นๆดูด้วยว่าวีซ่าตัวเองหมดเมื่อไหร่ จะได้ไม่มีปัญหา เอกสารอันใหนเตรียมได้ ก็เตรียมไปเรื่อยๆ เอกสารบางอย่างเตรียมไม่ได้เพราะยังเรียนไม่จบ หรือผลสอบยังไม่ออก ก็รอเอาไว้เป็นขั้นตอนอันดับหลังๆ แต่อย่ารอให้สอบเสร็จ ให้ได้ผลสอบ แล้วมาเริ่มลงมือเตรียมเอกสาร อย่างนี้ไม่ดี มันจะวุ่นวายและชุลมุนกันไปหมดเลย :)

ด้วยความหวังดีนะเนี๊ยะ

Saturday, July 25, 2009

student visa expire and want to stay with partner (student)

ช่วงนี้น้องคนไทยเรียนจบ รับปริญญากันเยอะ พอเรียนจบวีซ่านักเรียนก็กำลังจะหมด แต่ว่าอยากอยู่ต่อกับแฟน แบบวีซ่าติดตามอย่างเนี๊ยะ จะทำยังไงดี

วันนี้พี่จอห์นมีคำตอบครับ ง่ายๆ ไม่ยาก

สำหรับน้องวีซ่านักเรียนกำลังจะหมด แต่ว่าแฟนยังมีวีซ่านักเรียนอีกยาว อีกหลายปี น้องก็สามารถทำวีซ่าเป็นแบบติดตามแฟนได้นะครับ ก็เอาฟอร์ม 157A ซึ่งมีแบบฟอร์มขอวีซ่านักเรียนนั่นแหละ ให้เอาฟอร์มนี้มากรอก กร์อกง่ายๆ ไม่ยาก แค่ part A, C และก็ D

วีซ่าติดตามนี้ ทำ online ไม่ได้นะครับ ต้องกรอกฟอร์มอย่างเดียว

Wednesday, July 1, 2009

วันนี้วันที่ 1 July, กฏหมายอิมมิเกรชั่น มีการเปลี่ยนแปลง

วันนี้วันที่ 1 July, กฏหมายอิมมิเกรชั่น มีการเปลี่ยนแปลง


  • มีการเพิ่มค่าธรรมเนียมและบริการ
  • มีการใช้แบบฟอร์มอันใหม่ ใครที่ดาวโหลดฟอร์มมาก่อนวันที่ 1 July ให้เช็คด้วยนะครับ
  • มีการเปลี่ยนแปลงคำจำกัดความสำหรับ same sex relationship ซึ่งคราวก่อนได้เขียนไปแล้ว
  • มีการเปลี่ยนแปลง requirement ของภาษาอังกฤษ สำหรับ General Skill Migrant ให้เช็คด้วยนะครับ ว่าวีซ่าที่ตัวเองจะสมัครนั้น มี requirement เกี่ยวกับภาษาอังกฤษว่าไงบ้าง
  • มีการเปลี่ยนแปลงของ bridging visa ด้วย ซึ่งอนุญาติให้ทำงานได้

Migrattion Law changes, take effect today; 1 July 2009

Today is 1 July 2009 and there are a few changes in Migration Law:

These changes include:
  • Increase in fees and charges
  • Form changes
  • Contributory Parent Visas – removal of “split application” strategy
  • Balance of family test – time of application
  • Change of sponsor for remaining relative and parent visas
  • Removal of work limitation condition on Retirement (Subclass 410) visa
  • Extension of entry period for Subclass 462 (Work and Holiday) visa holders
  • Bridging visas – including permission to work arrangements
  • Subclass 050 Bridging (General) visas added to the list of relevant visas under
  • Approval of electronic forms for Approved Destination Scheme visa applications.
  • Same-Sex relationships
  • General Skilled Migration (GSM) – English requirements
  • Subclass 457 visa update
  • Business Skills – Senior Managers Provisions for Subclass 163 – Policy Change

Saturday, June 27, 2009

เป็น Chef สอบ IELTS ได้ 4 อยากขอ PR

มีคน email มาปรึกษาเรื่องการยื่นขอ PR โดยมีนายจ้างสปอนเซอร์ ซึ่งคนที่ email เข้ามาก็ได้รับคำปรึกษาจากเพื่อนมาบ้างแล้ว คนที่เขียนเข้ามาเป็นคนทำงานในครัวร้านอาหารไทย ซึ่งก็เป็นอาชีพยอดฮิตของคนไทยอยู่แล้ว ก็ลองอ่านกันดูนะครับ เพราะผมคงจะไม่เอาคำถามหรือ email ที่ส่งเข้ามา มาลงทั้งหมด แต่คิดว่าถ้าได้อ่านแล้ว คงพอเดาได้ว่าคำถามคืออะไรบ้าง


1. ที่เพืีอนบอกว่าไปเรียนภาษาอังกฤษเพิ่ม และไปลงเรียนเกี่ยวกับการรักษาความสะอาดในครัว เป็นเรื่องที่ดีนะครับ แต่ที่บอกว่าเป็นกฏหมายใหม่จากอิมมิเกรชั่นหนะ ไม่เป็นความจริงครับ เดี๋ยวผมจะเขียนอธิบายข้างล่างให้นะครับ

2. เปรียบเทียบค่าสมัครก่อนและหลังวันที่ 1 July 2009 นะครับ

ก่อน 1 July 2009
นายจ้าง จ่ายค่าสมัคร $370
ลูกจ้าง จ่ายค่าสมัคร PR $2105 (ยื่นภายในประเทศ)
ลูกจ้างจ่ายงดที่ 2 สำหรับคนที่จะได้ PR เท่านั้น คนที่ไม่ผ่าน ก็จะไม่การเรียกเก็บ $5865

หลังวันที่ 1 July 2009
นายจ้าง จ่ายค่าสมัคร $445
ลูกจ้าง จ่ายค่าสมัคร PR $2525 (ยื่นภายในประเทศ)
ลูกจ้างจ่ายงดที่ 2 สำหรับคนที่จะได้ PR เท่านั้น คนที่ไม่ผ่าน ก็จะไม่การเรียกเก็บ $7040

สำหรับคนที่ยื่นเรื่องก่อนวันที่ 1 July 2009 ก็จ่ายค่าสมัครในอัตราเก่า และถ้าเรื่องผ่านก่อนวันที่ 1 July 2009 และทางอิมมิเกรชั่นมีการเรียกเก็บเงินงวดที่ 2 ก็จ่ายในอัตราเก่า คือ $5865

ถ้าคนที่ยื่นเรื่องก่อนวันที่ 1 July 2009 ก็จ่ายค่าสมัครในอัตราเก่า แต่ถ้าเรื่องผ่านหลังวันที่ 1 July 2009 และทางอิมมิเกรชั่นมีการเรียกเก็บเงินงวดที่ 2 ในกรณีนี้ เงินงวดที่ 2 ก็ต้องจ่ายในอัตราใหม่นะครับ ทางอิมมิเกรชั่นก็ต้องการหารายได้เหมือนกัน ตรงนี้เราควบคุมไม่ได้จริงๆ มันกลายเป็นส่วนหนึ่งของชีวิตไปแล้วหละ

3. กลับไปเรื่องเรียนที่ผมเขียนไว้ข้างบน ถ้าคะแนน IELTS หรือภาษาอังกฤษเราไม่ดี เราก็ขอทำเรื่องยกเว้นภาษาอังกฤษไปเลย เหตุผลที่ทางอิมมิเกรชั่น ต้องการวัดคะแนนความสามารถในการใช้ภาษาอังกฤษก็เพราะว่า:
- ต้องการให้คนทำงานเข้าใจเรื่องความปลอดภัยในการทำงาน
- สามารถถ่ายทอดความรู้และทักษะให้กับคนท้องถิ่นได้

ถ้าเราเขียน case เข้าไปขอยกเว้น ถ้าเราสามารถอ้างได้ว่า ข้อมูลทุกอย่างที่เกียวกับความปลอดภัยในที่ทำงาน มีการแปลเป็นภาษาไทย ทุกคนทำงานในครัวพูดภาษาไทยได้ เราสื่อสารกันเป็นภาษาไทย และคนท้องถิ่นที่เป็น PR หรือ ซิติเซ่น ก็ภาษาพูดภาษาไทยได้ ดังนั้นการฝึก สอน และ training ต่างๆ ก็สอนกันเป็นภาษาไทย ดังนั้นสำคัญนะครับที่นายจ้างต้องจ้างคนที่เป็น local จะเป็น PR หรือ ซิติเซ่น ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นฝรั่ง ถ้าเป็นคนไทยที่เป็น PR หรือ ซิติเซ่น ก็ได้

ดังนั้นที่บอกว่าต้องไปลงเรียนอะไรหนะ ไม่จำเป็นนะครับ ไม่ต้องกังวล เพียงแต่ว่าถ้าว่าง ไปลงเรียนก็ได้ เราจะได้มีความรู้ ถ้าไม่ว่าง ไม่มีเวลา ก็ไม่เป็นไรนะครับ กฏหมายไม่ได้บังคับ ที่บอกว่ากฏใหม่อะไรนั่นหนะ ให้ถามอิมมิเกรชั่นเอเย่นต์หรือนักกฏหมายนะครับ อย่าถามเพื่อนเลย ข่าวลือทั้งนั้น

4. มีอีกเรื่องหนึ่งที่ทุกคนกังวล ก็คือเรื่องค่าใช้จ่าย งวดที่ 2 ที่ต้องจ่าย $5865 ($7040 หลังวันที่ 1 July 2009) ตรงจุดนี้ก็ยังไม่ต้องกังลนะครับ กรณีนี้ทางอิมมิเกรชั่น ก็จะพิจารณาเป็น case by case ไป บาง case ก็ไม่ต้องจ่ายก็มี ถ้าเราเขียน case ดีๆ แล้วยื่นไปทางอิมมิเกรชั่น เพราะค่าใช้จ่ายงวดที่ 2 เนี๊ยะ จะเกี่ยวกับเรื่องภาษาอังกฤษ ถ้าเราสามารถอ้างได้ว่า ถึงแม้ภาษาอังกฤษเราจะไม่ดี แต่ก็ไม่เป็นอุปสรรคในการทำงาน และเราก็สามารถถ่ายทอดความรู้ ให้กับคนท้องถิ่นได้ (PR หรือ ซิติเซ่น) ตรงจุดนี้สำคุญ เพราะอิมมิเกรชั่นเน้นมากเรื่องการถ่ายทอดความรู้ใหักับคนท้องถิ่น (PR หรือ ซิติเซ่น) เพราะอิมมิเกรชั่นเกรงว่า เราจะมาแย่งงานคนท้องถิ่นทำ

5. ผมเคยยื่นเรื่องแบบนี้ไปแล้ว ลูกค้าเราไม่ต้องจ่าย $5865 และได้ PR ภายใน 3 อาทิตย์ ซึ่งเราก็มีการฉลองกันใหญ่โต เพราะสามารถประหยัดตังค์ไปได้ถึง $5865 แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น ผมก็ต้องออกตัวไว้ก่อนว่า ทุกอย่างเป็น case by case จริงๆ และก็ขึ้นอยู่กับการเขียน case เขียนเรื่องเข้าไป support

6. Profile ของนายจ้างก็สำคัญนะครับ นายจ้างต้องมีการจ้างการคนท้องถิ่น ถ้าพนักงานเป็นคนท้อถิ่นสะ 60% ขึ้นไปนี่ดีเลย และถ้าเคยได้รับรางวัลอะไร หรือลงหนังสือพิมพ์อะไรมาก็ยิ่งดี และนายจ้างก็ควรเป็นส่วนหนึ่งของสังคมด้วย ถ้าเผื่อนายจ้างเคยสปอนเซอร์งานอะไร(งานนักเรียนไทยแข่งกีฬา อะไรประมาณเนี๊ยะ) บริจาคอะไร ถ้าเค๊ามีหนังสือขอบคุณกลับมาเนี๊ยะ ก็จะดีมากๆเลย

ผมหวังว่า คงจะกระจ่างขึ้นนะครับ

อยากทราบอะไรเพิ่มเติมก็ email มาได้นะครับ ผมยินดีช่วยเสมอ

จอห์น

J The Migration Team
MARN: 0851174

Mobile: 0412-470969
http://jpp168immi.blogspot.com

Tuesday, June 23, 2009

Form และค่าสมัคร เปลี่ยนแปลงจากวันที่ 1 July 2009

เริ่มจากวันที่ 1 July 2009 เป็นต้นไป ทางกระทรวงอิมมิเกรชั่นจะมีการเปลี่ยนแปลงแบบฟอร์มที่ใช้ในการสมัครวีซ่าใหม่นะครับ ถ้าใครจะยื่นเรื่องขอวีซ่าเอง ถ้าตอนนี้นั่งกรอกฟอร์มกันอยู่ ก็เร่งมือเข้านะครับ รีบยื่นก่อนวันที่ 1 July 2009 เพราะหลังจากวันที่ 1 July แบบฟอร์มอันเก่าอาจใช้ไม่ได้ อาจจะต้องมีการมานั่งกร์อกกันใหม่ เสียเวลากันไปอีก

ถ้าใครมีแแบบฟอร์มอยู่ในมือตอนนี้ แล้วกะเก็บเอาไว้ เพื่อขอทำวีซ่าในอนาคต ก็แนะนำให้เช็คก่อนนะครับว่า ฟอร์มใหม่กับฟอร์มเก่าหนะ เหมือนกันหรือเปล่า แต่โดยส่วนตัวแล้ว ถ้าคิดจะยื่นเรื่องขอวีซ่าหลังวันที่ 1 July ก็แนะนำให้เอาฟอร์มใหม่เลยก็แล้วกัน

ถ้าจะไม่แน่ใจหรือไม่รู้ว่าจะใช้ฟอร์มอันใหน ก็แนะนำให้สอบถามกับอิมมิเกรชั่นเอเย่นต์ที่ท่านใช้บริการอยู่นะครับ หรือติดต่อมาทางผมก็ได้ email เข้ามาได้เลย ยินดีช่วยครับ

อีกเรื่องหนึ่งก็คือ ค่าสมัครขอวีซ่าครับ หลังจากวันที่ 1 July เป็นต้นไป ค่าสมัครเพิ่มขึ้นนะครับ ก็แล้วแต่ชนิดและประเภทของวีซ่า บางวีซ่าก็เพิ่มบ้างเล็กน้อย บางประเภทก็เพิ่มขึ้นเยอะเลยทีเดียว

การเปลี่ยนแปลงก็เป็น part of life จริงๆเลยนะเนี๊ยะ

จอห์น
0412-470969
(โทรดึกๆ หรือโทรวันอาทิตย์ ไม่รับสายนะครับ เอาแค่ 10โมงเช้า - บ่าย 3 โมงก็พอ แต่ email มาได้ตลอดนะครับ)

Wednesday, June 17, 2009

อุทาหรณ์เตือนใจ เอกสารปลอม (อย่าทำ)

เดือนนี้มีข่าวไม่ค่อยดีเท่าไหร่ออกมา เนื่องด้วยทางกระทรวงอิมมิเกรชั่นมีการ crack down นักเรียนที่ใช้เอกสารปลอมในการยื่นขอ PR ประเภท Skilled Migrants กันเยอะ

นักเรียนหลาย case ที่โดนตรวจสอบเรื่องหนังสือรับรองทำงาน 900 ชั่วโมงจากนายจ้าง และมีหลายๆๆๆๆ case ที่โดนตรวจสอบเรื่องใบ certificate การเรียนจบ โดยเฉพาะ private college เล็กๆ ที่จุดประสงค์ของ private college พวกนี้ ไม่ใช่การเรียน การสอนเพื่อให้ความรู้แก่นักเรียน แต่เหมือนๆจะเป็นแหล่งออกวีซ่า ขายวีซ่ากันง่ายๆ ว่างั้นเถอะ ลงทะเบียนแล้ว ไม่มาเรียน ขอให้จ่ายเงิน ก็สอบผ่าน พวกนี้เยอะ ซึ่งตอนนี้ทำให้วงการ migration และ education ของออสเตรเลีย ดูแย่ไปเลย

บาง private college ถึงกับมีการจ่ายเงินใต้โต๊ะถึง $20,000 เพื่อออกใบ certificate ปลอมๆเหล่านั้น เดือนนี้ทาง กระทรวงอิมมิเกรชั่น ก็มีการ crack down private college ที่ NSW 5 แห่ง และ ที่ VIC อีก 23 แห่ง ฟังๆดูแล้วก็หดหู่ใจ

สำหรับปีนี้ มีนักเรียนมากกว่า 60 คนที่อาจต้องโดน reject visa application เพราะใช้เอกสารปลอมๆ และใบผ่านงานปลอมๆ พวกนี้

ณ จุดนี้ก็อยากให้ทุกคนอ่าน และก็จำเป็นอุทาหรณ์ก็แล้วกัน มหาลัยมี TAFE มี มาเรียนอะไรที่ได้ standard กันดีกว่ามั๊ย???

Wednesday, June 3, 2009

Subclass 457 IELTS requirements for Chefs and Head Chefs lodged before 14 April 2009

DIAC made the following announcement on 2 June 2009:

"Chefs and Head Chefs - IELTS

Applicants who lodged Subclass 457 visa applications before 14 April 2009 as chefs and head chefs (ASCO 3322-11 and ASCO 3322-01) that were not finalised, were previously advised to provide evidence that they had successfully been tested as having English proficiency at IELTS 4.5.

As at 2 June 2009, applicants in this situation no longer need to meet this requirement. Subclass 457 visa applicants in this position may wish to contact their relevant case officer for further information."

Tuesday, May 12, 2009

Federal Budget on the Migration Program

Highlights of 2009 Federal Budget on the Migration Program

• The Migration Program will total 168,700 places for 2009-10.

• The Federal Government's 2009 Budget has made a further cut to the permanent skilled migration intake to 108,000 places for the 2009-10 program (a 20% reduction to the previous budget)

• The reduction will be achieved largely through cutbacks in the General Skilled Category

• A job-readiness test will be introduced for onshore skilled applicants

• The Government will be increasing the English language requirement for trades occupation to IELTS 6 from 1 July 2009 for offshore applicants and 1 January 2010 for onshore applicants

• There will be fewer visas granted to trade level occupations

• There will be an increase in family migration places to 60,300, including addition 2500 for partners, 1000 for contributory parents and 300 for child visas

• Increased humanitarian Program to 13,750 (7750 Special Humanitarian and 6000 refugee)

• Increased funding to improve detention centres

• DIAC staff reductions

• Increased costs for DIAC to establish the new Office of the MARA

Saturday, May 9, 2009

Five Year Resident Return Visa (Subclass 155)

มีหลายคนสงสัยว่า Five Year Resident Return Visa (Subclass 155) คืออะไร

อ๋อ วีซ่าตัวนี้ก็เป็นวีซ่าสำหรับคนที่เป็น PR นะครับ ตอนนี้คนที่ได้ PR จะเอา passport ไปติดสติกเกอร์ที่สำนักงานอิมมิเกรชั่นก็ได้ หรือถ้าไม่มีเวลา (ขี้เกียจ) ก็แค่ถือหนังสือ/จดหมาย จากอิมมิเกรชั่น ที่ส่งมาให้เราก็ได้ ปกติแล้ว สติกเกอร์ หรือจดหมายที่อิมมิเกรชั่นส่งมา ก็จะมีอายุการใช้งานแค่ 5 ปี แต่ไม่ได้ความว่าเราได้ PR แค่ 5 ปีนะ

เพียงแต่สติกเกอร์หรือจดหมายจากอิมมิเกรชั่น จะเป็นหลักฐานในการเดินทางเข้าออกประเทศออสเตรเลียเฉยๆ ถ้าเราไม่ต้องเดินทางออกนอกประเทศออสเตรเลีบ สติกเกอร์หรือจดหมายตัวนั้น ก็สามารถยืนยัน สถานะของเราได้ แต่ถ้าจะเดินทางเข้าออกประเทศ ก็ต้องมีสติกเกอร์หรือจดหมายที่ยังไม่หมดอายุ ถ้าสติกเกอร์หรือจดหมายหมดอายุแล้ว ก็ให้ไปยื่นขอ Five Year Resident Return Visa (Subclass 155) ได้ที่สำนักงานอิมมิเกรชั่นทุกที่ เวลาไป ก็ไม่ต้องกรอกฟอร์มอะไรทั้งสิ้น ไม่ต้องนัดด้วย ไปแล้วเจ้าหน้าที่ก็จะติดสติกเกอร์ใหม่ให้ทันที แต่ไม่ฟรีนะครับ ตอนนี้ค่าสมัคร Five Year Resident Return Visa (Subclass 155) ก็อยู่ที่ $240 (รายได้เข้าประเทศครับ อย่าว่ากัน)

อีกวิธีหนึ่งก็คือ กรอกฟอร์ม(1085) แล้วส่งไปที่สำนักงานอิมมิเกรชั่น พร้อมกับ passport แต่ choice อันหลังเนี๊ยะ ไม่ขอแนะนำนะครับ เพราะตัวผมเอง ไม่ค่อยเชื่อใจการทำงานของระบบไปรษณีย์เท่าไหร่ ต่อให้ส่งไปแบบลงทะเบียนก็เถอะ ถ้า passport หายมาหละก็ ยุ่งเลย วิธีที่ดีที่สุด ก็คือไปติดสติกเกรอ์เองเลยที่สำนักงานอิมมิเกรชั่น แถมฟอร์มก็ไม่ต้องกรอกด้วย ไปปุ๊บได้ปั๊บ เสียเวลาเดินทางนิดหน่อย แต่สบายใจกว่ากันเยอะเลย

John/J The Migration Team

Monday, May 4, 2009

IELTS นี้ มีแต่เพิ่มกับเพิ่ม

ช่วงนี้เรื่องราว และกฏหมายของอิมมิเกรชั่น ก็จะออกแนวเคลียดๆนิดหนึ่ง เพราะนอกจาก requirement ของ IELTS ที่ต้องเพิ่มขึ้นสำหรับคนที่ขอวีซ่า 457 สำหรับสาขาอาชีพคนทำอาหาร Chef & Head Chef แล้ว วันที่ 1 July 2009 ที่ใกล้จะถึงนี้ ทาง Skilled Migrant หมวดสาขาอาชีพเภสัช ก็มีการเพิ่มคะแนน requirement ของ IELTS อีกเช่นกัน

คือตั้งแต่วันที่ 1 July 2009 เป็นต้นไป ทาง APC (Australain Pharmacy Council) เพิ่มคะแนน requirement ของ Academic Level ของ IELTS เป็น 7.5 (ผลสอบเฉลี่ย 7.5 และ ทุก band score ต้องได้ 7 เป็นอย่างต่ำ)

ตอนนี้ดูเหมือนว่าทุกสาขาอาชีพ และหน่วยงานจะขยัน เพิ่มคะแนน requirement ของ IELTS กันเป็นว่าเล่น อย่าว่าแต่คนที่จะขอ PR เลย ตัวอิมมิเกรชั่นเอเย่นต์ ต่อไปก็ต้องสอบให้ได้ IELTS อย่างต่ำ 7 เหมือนกัน

ดูเหมือนว่าคนที่นั่งนับเงิน จะเป็นศูนย์สอบ IELTS แล้วสิ :)
เดี๋ยวพี่จอห์นคงเปิดโรงเรียนสอนภาษาอังกฤษสำหรับคนที่จะขอ PR โดยตรงแล้วหละมั๊ง

จอห์น
J The Migration Team
0412-470969

Sunday, May 3, 2009

IELTS Requirements for Chefs and Head Chefs

Subclass 457 IELTS Requirements for Chefs and Head Chefs

หนึ่งในอาชีพยอดฮิตของคนไทยในออสเตรเลีย ก็คงหนีไม่พ้น การเป็นพ่อครัว หรือแม่ครัว; Chefs and Head Chefs หากใครที่เตรียมตัวจะยื่นเรื่องขอวีซ่าทำงานโดยมีนายจ้างเป็นคน sponsor (Subclass 457) ก็อยากจะบอกว่าหลังจากวันที่ 14 April 2009 เป็นต้นไป Chefs and Head Chefs ต้องสอบ IELTS ให้ได้ 5 เป็นอย่างต่ำ ก็เพิ่มขึ้นมาจากเดิมที่เคยเป็น 4.5 นะครับ ผลสอบ IELTS 5 เนี๊ยะ เป็นผลสอบเฉลี่ยนะครับ ไม่จำเป็นว่าต้องได้ ทุก band score 5


ใครที่ยื่นเรื่องไปแล้ว แต่ยังไม่ทราบผล ก็จะโดน requirement ของ IELTS ใหม่นี้เข้าไปด้วยไม่ได้หมายความว่า ยื่นเรื่องก่อนวันที่ 14 April 2009 จะได้ใช้กฏเก่านะครับ application ของใครก็ตาม ที่ยังไม่ finalise ก็จะโดน requirement นี้หมดเลย

ยังไงก็ขอเอาใจช่วยพ่อครัว และแม่ครัวทั้งหลายนะครับ ที่ยังไม่ได้ยื่นเรื่อง และกำลังเตรียมตัวที่จะยื่นเรื่อง ก็ขอให้อย่าเพิ่งท้อ ยังไงเสีย ก็หาเวลาฝึกปรือภาษากันไว้มั่งก็ดี

Thursday, April 30, 2009

ถ้าได้ PR แล้วอยาก sponsor น้องชาย

มีน้องคนหนึ่งอยากรู้ว่า ถ้าเค๊าได้ PR แล้ว นานเท่าไหร่เค๊าถึงจะสามารถ sponsor น้องชายเค๊าได้

คำตอบง่ายๆ สั้นๆ คือ ไม่ต้องรอจ๊ะ sponsor ได้เลย แต่ก็มีเงื่อนไขบ้างเล็กน้อย ไม่ยาก คือ:
  • คนที่ sponsor เนี๊ยะ ต้องอยู่ภายในประเทศออสเตรเลีย ตอนที่น้องชายเค๊ายื่นใบสมัคร
  • คนที่เป็น sponsor เนี๊ยะ ก็ต้องมีเงินในบัญชี ที่สามารถ ดูแลน้องชายเค๊า (ถ้าน้องชายไม่มีงานทำ) ได้อย่างต่ำ 2 ปี
  • คนที่เป็น sponsor เนี๊ยะ ก็ต้องมีที่พักให้น้องชาย จริงๆแล้ว ข้อเนี๊ยะ ก็ common sense นะ เพราะปกติคนไทยเรา คงไม่ปล่อยให้น้องตัวเองเคว้งคว้าง ไม่มีที่นอน :)
ส่วนน้องจะได้ PR หรือไม่นั้น ก็ต้องมาดูคุณสมบัติของน้องชายเค๊าอีกทีหนึ่ง

John, J The Migration Team
0412-470969

Wednesday, April 29, 2009

มีธุรกิจ อยากขอ PR

หลายคนคิดว่า ถ้าทำธุรกิจแล้ว ต้องสมารถขอ PR ได้แน่ๆเลย ตรงจุดนี้ไม่ได้ง่ายอย่างที่หลายๆคนคิดนะครับ ก็มีหลายอย่างที่ต้องดู

- เรื่องอายุ เรื่องภาษา พี่จอห์นเขียนมาแล้วรอบหนึ่ง

- การจะยื่นขอ PR โดยใช้หลักของการมีธุรกิจมาเป็นหลักใหญ่ ต้องยื่นเรื่องมาจากข้างนอกนะครับ

- สามารถยื่นเรื่องภายในประเทศได้ ก็ต่อเมื่อถือวีซ่านักเรียนเท่านั้น อันนี้ก็แปลกเหลือเกิน พี่จอห์นเองก็ไม่รู้ว่า คุณพี่อิมมิเกรชั่นเนี๊ยะ เค๊าคิดอะไรของเค๊าอยู่

- วีซ่าที่ได้จะไม่ใช่ PR เลยทันที อิมมิเกรชั่นจะให้โอกาสพิสูจน์ผลงานก่อน 2 ปี ว่าธุรกิจไปได้ดีมั๊ย ถ้าไปได้ด้วยดี คุณพี่อิมมิเกรชั่น ถึงจะอนุมัติให้ PR ได้


นี่ก็เป็นข้อมูลคร่าวๆนะครับ พอแค่ตอบคำถามของหลายๆคนที่สอบถามกันเข้ามา

พี่จอห์น


Sunday, April 12, 2009

Same-sex relationship

ประกาศ ประกาศ ตั้งแต่วันที่ 1 July 2009 เป้นต้นไป ทางกระทรวงอิมมิเกรชั่นจะมีการเปลียนแปลงเกี่ยวกับความสัมพันธ์ของคนเพศเดียวกัน หรือเรียกกันง่ายๆว่า Same-sex relationship

ภายใต้กฏหมายใหม่นี้ ทางกระทรวงอิมมิเกรชั่น จะให้สิทธิทางอิมมิเกรชั่นให้กับ คนที่มีความสัมพันธ์กันกับคนเพศเดียวกัน เทียบเท่ากับคนที่มีความสัมพันธ์กับเพศตรงข้าม ซึ่งตั้งแต่วันที่ 1 July 2009 เป็นต้นไป applicant สามารถยื่นขอวีซ่าแบบ de-facto ได้ และเวลากรอกใบสมัครทำเรื่องขอวีซ่า ก็สามารถเอาชื่อ partner เป็นส่วนหนึ่งของสมาชิกในครอบครัวได้

หลังจากวันที่ 1 July 2009 วีซ่าของออสเตรเลียก็จะเปิดกว้างมากขึ้น :)
ท่านใดสนใจเรื่องวีซ่าสำหรับ same-sex relationship นี้ก็สามารถสอบถามกันเข้ามาได้ ส่วนท่านใดที่อยากจะยื่นเรื่องทำวีซ่าให้แฟน ก็อดใจรอกันอีกนิดนะครับ ไม่นานเกินรอ

พี่จอห์น
J The Migration Team, Wollongong NSW

Australian pupulation reached 21.5 millions

ผลจากการสำรวจประชากรเมื่อเดือนที่ผ่านมา ตอนนี้ประชาการของประเทศออสเตรเลียอยู่ที่ 21.5 ล้านคน นี่ก็ถือว่าเป็นการเติบโตทางจำนวนประชากรที่มากที่สุดหลังจากสงครามโลก

การเพิ่มขึ้นของจำนวนประชากรในครั้งนี้ ก็เนื่องด้วยมาจากการเพิ่มจำนวนของนักเรียนต่างด้าว และอัตราการเกิดของประชากรที่นี่ เมื่อปีที่ผ่านมา ก็มีจำนวนประชากรเพิ่มขึ้นถึง 389,000 คน และประชากรทั่วประเทศก็ถึง 21.5 ล้านคนเมื่อเดือน Septermber ปีที่แล้ว

จำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้นครั้งนี้ ก็มาจาก อิมมิเกรชั่น ถึง 61% ซึ่งก็ถือว่าเยอะเหมือนกัน
ประชากรจากรัฐ NSW ก็มีการย้ายถิ่นฐานไปรัฐอื่นถึง 22,400 เมื่อปีที่ผ่านมา

ประชากรที่มีการอพยพมาอยู่ที่นี่ ก็มาจาก นิวซีแลนด์, อังกฤษ, อินเดีย, จีน และแอฟริกาใต้

และเนื่องด้วยสภาวะเศรษกิฐที่ถดทอยอของประเทศอังกฤษซึ่งก็มีคนออสเตรเลี่ยนทำงานอยู่ที่นั่นเยอะเหมือนกัน ตอนนี้จำนวนคนออสเตรเลี่ยนที่ทำงานอยู่ที่ประเทศอังกฤษก็เริ่มพากันกลับบ้านเกิดเพื่อมาหางานทำที่นี่ ในขณะเดียวกัน ประชากรจากนิวซีแลนด์ก็พากันเข้ามาหางานทำที่ออสเตรเลียมากขึ้น เนื่องจากตอนนี้เศรษกิจที่นิวซีแลนด์ย่ำแย่กว่าออสเตรเลียเยอะมากเลย

อันนี้ก็เป็นข้อมูลประดับสมองก็แล้วกันนะ

Thursday, April 9, 2009

Student Visa to own a business

กลับมาตามคำสัญญา และก็หวังว่าคราวนี้คงจะได้ตอบปัญหาที่อาจค้างคาอยู่ในใจน้องๆหลายๆคนที่ถือวีซ่านักเรียน และก็อยากทำธุรกิจที่นี่กัน

คำตอบง่ายๆ สั้นๆ คือ ทำได้ครับ น้องๆคนใหนที่ถือวีซ่านักเรียน อิมมิเกรชั่นไม่ได้ห้ามว่า ห้ามทำ business ที่นี่ เคยมีคนพูดปากต่อปากมามากแล้วว่าทำธุรกิจไม่ได้ อันนั้นไม่จริง

ถือวีซ่านักเรียนสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้จริง แต่ก็ยังต้องทำตามเงื่อนไขของวีซ่านักเรียนที่ตัวเองถืออยู่นะ คือทำงานเกิน 20 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ไม่ได้นะครับ ปัญญาตรงนี้ เป็นปัญญาเรื่องของการจัดการ อันนี้น้องๆคนใหนที่อยากเปิดธุรกิจที่นี่ ก็ให้พึงจำตรงนี้ไว้ด้วย จะจ้างพนักงาน หรือผู้จัดการมาบริหารแทน หรืออะไรก็ตามแต่ ก็ต้องระวังตรงจุดนี้ด้วย ก่อนลงมือทำอะไร ปรึกษาทนายความ หรืออิมมิเกรชั่นเอเย่นต์นิดหนึ่ง ก็น่าจะดี

อีกเรื่องหนึ่งก็คือ เรื่องของการเสียภาษี ถ้าถือวีซ่านักเรียนแล้วทำธุรกิจที่นี่ การเสียภาษีรายได้ประจำปี ก็จะเป็นอีกอัตราหนึ่ง ซึ่งจะเสียแพงกว่าที่เป็นคน local บ้างเล็กน้อย ตรงจุดนี้พี่จอห์นก็แนะนำให้ปรึกษา accountant ก่อนที่จะลงมือทำอะไร

จะทำอะไรก็ตามแต่ ก็ขอให้ plan กันให้ดีๆนะครับ ความสำเร็จคงอยู่ไม่ไกลเกินเอื้อม

พี่จอห์น
J The Migration Team, 0412-470969

Thursday, March 26, 2009

Business Visa สนใจอยากทำธุรกิจที่นี่

วันนี้พี่จอห์นมาแปลกนิดหนึ่ง ขอเขียนอะไรที่แหวกแนวหน่อยนะ ไม่งั้นอะไรๆก็จะดู same same ไปสะหมด

วันนี้ขอเขียนอะไรที่เกี่ยวข้องกับการทำธุรกิจที่นี่นิดหนึ่ง พอเป็นความรู้ เอาแบบหอมปากหอมคอ แค่ตอบข้อข้องใจที่หลายๆคนอยากจะรู้นะ คงลงรายละเอียดอะไรให้เยอะไม่ได้ ไม่งั้นคงต้องนั่งเขียนกันอยู่หลายชั่วโมงทีเดียว

มีเรื่องสมมุติว่า มีคุณน้องคนหนึ่ง และคุณพ่อท่านหนึ่ง สนใจอยากทำธุรกิจบางอย่างที่ออสเตรเลีย ทั้งคุณพ่อและคุณน้องเนี๊ยะอยากจะทราบว่า ควณทำเรื่องขอวีซ่ามาในลักษณะใหนดี พี่จอห์นก็อยากจะให้ข้อมูลตรงนี้ให้ทุกคนทราบพอคร่าวๆว่า:

- Business Visa ถ้าจะให้คุณพ่อ เป็นคนขอ ต้องดูอายุคุณพ่อด้วยนะครับ ถ้าเกิน 45 ก็ไม่ได้แล้วหละ

- ถ้าจะให้คุณน้องเป็นคนขอ Business Visa โอกาสก็พอมี ก็ต้องมานั่งดูรายละเอียดอีกว่า คุณน้องเนี๊ยะ มีประสบการณ์หรือความรู้ในธุรกิจที่จะมากน้อยแค่ใหน

- ถ้าคุณน้องอายุยังน้อย ขอเป็นวีซ่านักเรียนก็ได้ ลงทะเบียนเรียน แล้วก็ทำธุรกิจไปด้วย (ทุกคนก็จะเริ่มสงสัยว่า เอ๊ะ เป็นนักเรียน สามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้เหรอ คำตอบคือ ได้สิครับ แต่พี่จอห์นขอเขียนแยกไว้วันอื่นก็แล้วกัน)


- Business Visa ต้องยื่นเรื่องมาจากข้างนอก แต่คนที่ถือวีซ่านักเรียนสามารถยื่นขอ Business Visa ภายในประเทศได้ อันนี้ อิมมิเกรชั่นที่นี่ก็มาแปลกอีกแล้ว

- Business Visa ที่ขอเนี๊ยะ ก็จะเป็นประมาณว่า ถ้าประกอบการธุรกิจ ประสบความสำเร็จ ภายใน 2 ปี ก็จะได้ Permanent Resident (PR) เลย แต่ถ้าธุรกิจไม่ประสบความสำเร็จ ก็จัดกระเป๋ากลับบ้านเลยนะ แต่ก็ไม่ต้องตกใจ กลับบ้านแล้ว ก็ยังสามารถ ทำเรื่องขอวีซ่าตัวอื่นมาได้

- ให้จำไว้เสมอว่า ทุกปัญหาเรื่องวีซ่า มีทางแก้; ปัญหามา ปัญญาเกิด (ถ้าปรึกษาให้ถูกคนนะ อย่าเป็นตาบอด เดินจูงตาบอดก็แล้วกัน)

พี่จอห์น/ Registered Migration Agent
J The Migration Team, Wollongong NSW 2500

Sunday, February 22, 2009

ขอสยบข่าวลือ ไว้ ณ ตรงนี้

มีคนไทยในออสเตรเลียเป็นจำนวนมาก ที่เลือกเรียน หรือลงทะเบียนในสาขาบางสาขา ที่พอจบออกมาจะได้ทำเรื่องขอ PR วิชาหรือสาขาที่เรียนหนะ ชอบหรือไม่ชอบ ไม่สนใจ ขอให้สามารถทำเรื่องขอ PR ได้ ก็เป็นพอ พอได้ PR แล้วค่อยมาว่ากันกันอีกที ว่าจะทำยังไงดีกับชีวิต อะไรประมาณเนี๊ยะ ที่เห็นๆมาก็เยอะ ที่ได้ยินมาก็แยะ โดยเฉพาะสาขาของ การทำอาหาร (Commercial Cookery) และช่างตัดผม (Hairdressing) 2 สาขาวิชานี้ มีคนไทยไปลงทะเบียนเรียนเยอะมาก

ในขณะเดียวกัน ช่วงนี้ ก็มีข่าวช่างหนาหูเหลือเกิน และไอ้ข่าวเนี๊ยะ ก็เป็นข่าวลือ ข่าวไม่จริงสะด้วย พวกได้ยินแล้วก็พูดต่อๆกันมาเนี๊ยะ ชอบกันจั๊งงงงงงงงง.....

ข่าวลือก็มีอยู่ว่า Commercial Cookery และ Hairdressing จะถูกตัดออกจาก Migration Occupations in Demand List. พี่จอห์นเนี๊ยะก็ได้รับทั้ง email และ โทรศัพท์ ถามไถ่ถึงเรื่องนี้ ตอบไปกันเหนื่อยหลายรอบ ก็เลยคิดว่า เออ เอามาเขียนลงใน blog ให้คนได้อ่าน มันจะได้จบๆกันไปซะที ไอ้พวกข่าวลือ พวกเนี๊ยะ คนชอบปล่อยข่าว ก็ชอบ ในขณะเดียวกัน คนที่ได้ยินมา ก็จะเอามาปล่อยต่ออกไปเรื่อยๆ

ก็ขอบอกกลับทุกคน ณ ตอนนี้เลยว่า Commercial Cookery และ Hairdressing ยังอยู่ใน Migration Occupations in Demand List อยู่ ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไร ณ วันนี้ ณ ตอนนี้นะ แต่อนาคตข้างหน้า เราไม่รู้ เพราะทาง Department of Immigration & Citizenship ก็จะมีการประเมินสถานะการณ์ทางเศรษฐกิจและตลาดแรงงานอยู่เรื่อยๆ มีการเปลี่ยนแปลงอะไร พี่จอห์นจะนำมาแจ้งให้ทราบอีกทีหนึ่ง

ต่อไป ใครอยากรู้ข่าวใหนจริง ข่าวใหนปลอม ให้ถามคนที่เป็น migration agents จะดีกว่านะ ดีกว่า เพื่อนไปถามเพื่อน ซึ่งเพื่อนแต่ละคน รู้มาเท่าๆกันเลย ให้ถามจากผู้รู้ หรือ specialize ทางด้านนี้โดยตรง น่าจะดีกว่า เพราะ migration agents แต่ละคน จะมีฐานข้อมูล และ knowledge base ที่ดีกว่า :)

จอห์น/ J The Migration Team
0412-470969

Saturday, February 7, 2009

ศูนย์สอบ IELTS ที่เมืองไทย

อาทิตย์ที่ผ่านมา มีคนโทรสอบถามเกี่ยวกับศุนย์สอบ IELTS ที่เมืองไทย ผมก็เลยขอถือโอกาสนี้ เขียนรายละเอียด และข้อมูลที่เกียวกับการสอบ IELTS ที่เมืองไทยเลยก็แล้วกัน

ศูนย์สอบ IELTS ที่เมืองไทยนะครับ สามารถติดต่อ British Council ที่กรุงเทพ และ เชียงใหม่นะครับ ที่กรุงเทพก็มีหลาย office เหมือนกัน

ที่กรุงเทพ นะครับ
British Council254 Chulalongkorn Soi 64Siam Square, Phyathai RoadPathumwan, Bangkok 10330Tel. +66 (2) 657 5678 Fax. +66 (2) 253 5312

ส่วนที่เชียงใหม่นะครับ
British Council198 Bumrungraj RoadChiangmai 50000Tel. +66 53 242103Fax +66 53 244781

แต่ก็มีหลายเอเย่นต์ที่เมืองไทยที่เค๊ารับลงทะเบียนสมัครนะครับ

British Council Siam Square Tel: +66 (2)657 5678

British Council Pinklao Tel: +66 (2)884 9944-6 ext 101, 102

British Council Ladprao Tel: +66 (2)937 1037-9 ext 0

EF Education First (Emporium Tower) Tel: +66 (2)664 9966

Further Education Co., Ltd (Lake Rajada Office Complex) Tel: +66 (2)661-8862-3

Hands On Education Consultants (Silom Rd.)Tel: +66 (2)635-5230

Mentor International (16th Fl., Regent House, Rajdamri Rd.)Tel: +66 (2) 255 5157-9

ProInterEd (Unit A2, 7th Fl., Siam Tower) Tel: +66 (2)658 0730

SELT Education Link (Floor:F5, Union Mall - Phaholyothin underground station)Tel: +66 (2) 511 4013-4

Target Education (Naradhiwas Rachanakarin Soi 24)Tel: +66 (2) 674 0117-8

ที่กรุงเทพ สอบอยู่ที่ โรงแรมประทุมวัน และ Novotel
ส่วนที่เชียงใหม่ ก็สอบอยู่ที่ British Council เชียงใหม่

ค่าสอบ 5700 บาท

ก็หวังว่าทุกคนคงกระจ่างมากขึ้นนะครับ เกี่ยวกับศูนย์สอบ IELTS ที่เมืองไทย


จอห์น/ J The Migration Team
0412-470969

Thursday, January 15, 2009

ได้ Work and Holiday Visa (462) อยากหาคน sponsor เพื่ออยู่ทำงานต่อ

มีคนถามมาว่า ถ้าได้ Work and Holiday (subclass 462) มาจากเมืองไทยแล้วอยากหางานทำแล้วอยู่ที่นี่ จะทำยังไง

ก่อนอื่นก็บอกก่อนนะครับว่า วีซ่าทำงานที่คนไทยเรากล่าวถึงกันนั้น จริงๆแล้วเรียกว่า Business Visa (subclass 457) นะครับ จะได้มา ก็ต่อเมื่อเรามีนายจ้างเป็นคนยื่นเรื่องที่จะ sponsor เรา ซึ่งก็เป็นที่นิยมกันในหมู่คนทำร้านอาหารไทย จริงๆแล้วธุระกิจอื่นๆก็ทำเรื่อง sponsor ได้นะครับ เพียงแต่คนไทยเราจะคลุกคลี อยู่กับแวดวงร้านอาหารไทยมากกว่า

กลับมาที่คำถามนะครับ ก้ขอตอบไว้ตรงเลยว่า ถ้าเผื่อน้องหานายจ้างก็ยินดีที่จะทำเรื่อง sponsor ให้ได้ business visa พี่ก็ดีใจด้วย แต่มันติดอยู่ตรงที่ว่า วีซ่า Work and Holiday (subclass 462) ของน้องนี่สิ ไม่ได้อยู่ใน list ของ visa ที่สามารถยื่นเรื่องภายในประเทศออสเตรเลียเพื่อขอวีซ่าทำงาน หรือ business visa ได้

แต่ทุกอย่างก็มักจะทางแก้เสมอ

1. กลับเมืองไทย แล้วไปยื่นเรื่องมาจากเมืองไทย

2. เปลี่ยนจากวีซ่า Work and Holiday visa ให้เป็นวีซ่าที่อยู่ใน list ที่สามารถยื่นเรื่องขอ business visa ได้ภายในประเทศออสเตรเลีย พี่คงเอาไม่เอา list ทั้งหมด มาลงที่ blog นี้นะ ก็เอาเป็นว่า ใครอยากได้ หรืออยากรู้ ก็ติดต่อ หรือ email มาก็ได้ แต่ก็บอกได้ว่า 1 ใน นั้น ก็มีวีซ่านักเรียนอยู่ด้วย วีซ่านักเรียนก็เป็นวีซ่ายอดฮิตของคนไทยอยู่แล้ว ก็สามารถลงทะเบียนเรียน เปลี่ยนเป็นวีซ่านักเรียน แล้วก็ยื่นทำเรื่องขอวีซ่าทำงาน ตอนที่ถือวีซ่านักเรียนนี่แหละ ทำได้ครับ

ก็หวังว่า blog คราวนี้คงตอบคำถามของหลายๆคนไปด้วยนะ

พี่จอห์น
J The Migration Team