Tuesday, January 31, 2023

จากวีซ่าท่องเที่ยว สู่วีซ่าทำงานทีมีนายจ้างสปอนเซอร์ และเส้นทางสู่ PR

Bridging Visa E

ช่วงที่ประเทศออสเตรเลีย (และทั่วโลก) ประสบปัญหาและสถานการณ์ของ COVID ช่วงนั้นมีการปิดประเทศ คนเดินทางไปมาไม่ได้ หลายคนติดเรื่องอยู่ที่ AAT พอ AAT แพ้ ถ้าไม่ไปต่อที่ศาลสูงก็ต้องขอ Bridging Visa E เพื่อที่จะอยู่ต่อภายในประเทศออสเตรเลีย อย่าปล่อยให้ตัวเองวีซ่าขาดนะครับ

บางคนก็บอกว่า "ทนายคนนั้นคนนี้บอกว่าอย่าทำ เพราะจะโดนแบน 3 ปี"

...hmmm.... กฎหมายทุกอย่างมีข้อยกเว้น...

บางทีเราก็ขี้เกียจเถียงหรือโต้แย้ง
บางที "อธิบายไปก็เท่านั้น"
คนเขามีความคิดแบบนั้นอยู่แล้ว บางทีมันก็ป่วยการที่จะต้องอธิบาย เพราะจริง ๆ แล้วที่ส่งข้อความกันมาทาง LINE และ inbox ก็เป็น "free consultation" ทั้งนั้น คือเราไม่ได้คิดตังค์ (หลายปีก่อนเคยคิด แต่ไม่คุ้มเพราะบางคนคิดว่าจ่ายทีเดียวแล้วสามารถส่ง inbox/LINE ถามได้ตลอดชีพ ทุกวันนี้เลยทำ face-to-face ทั้งที่แบบตัวเป็น ๆ ที่ office หรือไม่ก็เป็น video call ผ่าน Google Meet หรือไม่ก็คุยทางโทรศัพท์ ทีเดียวจบ... แยกย้าย)

ทุกวันนี้เราเลิกตอบข้อความใน LINE Official แล้วนะครับ จริง ๆ ลองเลิกใช้มา 4-5 เดือนแล้ว ลองดูว่ามีผลกระทบอะไรต่อ business หรือเปล่า ที่ผ่านมา ก็ไม่ได้มีผลอะไร กลับดีเสียอีก เราค่อนข้าง productive กับการใช้ email เอาเวลาในการตอบ LINE ไปนั่งทำ case ได้ตังค์เยอะกว่า 

01 Jan 2023 ก็เลยตัดสินใจเลิกตอบ LINE Official ไปเลย (มันหลายช่องทางเกิน)

01 Jan 2023 ก็เลยตัดสินใจเลิกใช้ facebook page inbox ไปเลย เราตั้งค่า auto-reply เอาไว้แแล้วว่ามีอะไรให้ติดต่อทาง email (ถ้าคนเขาอ่านกันนะ แต่ถ้าไม่อ่านก็ไม่เป็นไร ก็ถือว่าศีลไม่เสมอ ก็แค่นั้นเอง อายุ "21" แล้วครับ ไม่คิดมากแล้ว เปลือง)

กลับมาที่ case บาง caes ที่เพิ่งได้ PR (Permanent Resident) ไปเมื่อไม่นานมานี้ คนก็สมัครก็เคยถือ Bridging Visa E มาก่อน ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไร... OK... เขาก็ได้ PR กัน

บางทีก็เหนื่อยที่ต้องอธิบาย
มันป่วยการ
ก็ปล่อยให้ผลงานเล่าเรื่องละกัน

กราบขอบคุณลูกค้าที่ตัดสินใจเลือกเรา ไม่เรื่องมาก ไม่ถามโน่นถามนี่เยอะ

คือตัดสินใจ "ทำ" ก็ทำเลย เพราะบางคนก็ซุ่ม follow page เรามาหลายปี ก่อนที่จะตัดสินใจทำ เรากราบขอบคุณจากใจจริง ที่เป็นลูกค้าที่น่ารักมาก เรื่องไม่เยอะ บางคนยังไม่เคยเจอกันตัวเป็น ๆ เลยครับ!!!

กราบขอบคุณที่เลือกใช้บริการของเรา 
สินค้าดีใช้แล้วช่วยบอกต่อ

31 Jan 2023

Monday, January 30, 2023

วีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์


วีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์แบบถูกกฎหมายมีแค่ 3 ประเภท หรือ 3 subclasses นะครับ นั่นคือ:

- subclass 482; TSS (Temporary Skill Shortage Visa)
- subclass 494; Skilled Employer Sponsored Regional
- subclass 186; ENS (Employer Nomination Scheme)

Note: Subclass 187; RSMS (Regional Sponsored Migration Scheme) ถูกยกเลิกไปแล้วเมื่อ 18 Nov 2019, คนที่ทำ subclass 187 ได้คือคนที่ถือหรือยื่น subclass 457 ก่อนหรือ ณ วันที่ 18 Apr 2017 เท่านั้น

วีซ่าท่องเที่ยว; subclass 600 ทำงานไม่ได้

วีซ่านักเรียน; subcass 500 คือมาเรียนครับ ตามชื่อที่บอก และทำงานได้ตาม condition

วีซ่า Work and Holiday (WAH); ไม่ใช่วีซ่าทำงานครับ มันไม่ได้ถูกออกแบบมาเพื่อเป็นวีซ่าทำงานโดยตรง จุดประสงค์จริง ๆ ของรัฐบาลคือให้คนหนุ่มสาวมาเที่ยว มันถึงมีคำว่า "Holiday" อยู่ด้วยไง มาเที่ยวเพื่อ boost economy แต่เนื่องด้วยคนหนุ่มสาวอาจจะมี budget ไม่เยอะ ทางรัฐบาลก็เลยอนุญาตให้ทำงานได้ มันถึงมีคำว่า "Work" อยู่ด้วยไง

ทุก subclass มันมีที่มาและที่ไป
มันมีเหตุและผลของมัน

แต่วีซ่าทำงานที่ถูกกฎหมายจริง ๆ มีแค่ 3 subclasses ครับคือ;
- subclass 482
- subclass 494 และ
- subclass 186

และทั้ง 3 subclassess นี้ ไม่มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับกรมแรงงานที่เมืองไทยทั้งนั้น

ขอย้ำ และย้ำแล้วย้ำอีกว่า "ไม่ส่วนเกี่ยวข้องกับกรมแรงงานที่เมืองไทย" ดังนั้นใครที่โดนหลอกมา หรือกำลังจะโดนหลอก ทำการบ้านกันนิสต์นึงนะครับ

อยากมาทำงานที่ประเทศออสเตรเลียอย่างถูกต้องตามกฎหมาย

สิ่งที่ต้องรู้หรือต้องศึกษาคือ;

1. สาขาอาชีพที่น้องจะมาทำงานนั้น อยู่ในสาขาอาชีพ long-term list, short-term list หรือ ROL (Regional Occupation List) หรือเปล่า

มันจะมีแค่ 3 lists นี้เท่านั้นครับ

2. ตัวเราเองมีวุฒิการศึกษาที่ตรงกับสาขาอาชีพนั้นหรือเปล่า ถ้ามีวุฒิการศึกษาไม่ตรง เราสามารถทำ RPL ได้มั้ย (RPL คืออะไร เคย post ไปแล้ว)

3. เรามีประสบการณ์ในตำแหน่งนั้น ๆ 2 ปีหรือเปล่า (subclass 482) ประสบการณ์เมื่อไหร่ก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นประสบการณ์หลังเรียนจบ หรือ 3 ปี full-time ถ้าเป็น subclass 494 หรือ subclass 186; Direct Entry

4. เรามีผลสอบภาษาอังกฤษหรือเปล่า

Subclass 482:
- short-term list: IELTS (general) overall 5, each band 4.5; พูด อ่าน เขียน ฟัง
- long-term list: IELTS (general) 5 each band; พูด อ่าน เขียน ฟัง

Subclass 494:
- IELTS geneal 6 each band; พูด อ่าน เขียน ฟัง

Subclass 186:
- IELTS geneal 6 each band; พูด อ่าน เขียน ฟัง

5. เราต้องมีนายจ้างสปอนเซอร์

6. อายุ:
- Subclass 482; ไม่กำหนดอายุ
- Subclass 494; อายุต่ำกว่า 45 ปี
- Subclass 186; อายุต่ำกว่า 45 ปี ยกเว้นคนที่มี grandfatering rule อายุต่ำกว่า 50 ปี (Subclass 457)

นี่คือคุณสมบัติคร่าว ๆ ครับ

หากเรามีไม่ครบ ก็เก็บซุ่มตัวหาข้อมูลและทำ profile ตัวเองให้ดี ๆ ให้คุณสมบัติครบนะครับ

"ความอยาก" อย่างเดียวไม่พอ
เราต้องศึกษาข้อมูลด้วย

วีซ่า subclass 482; สาขาอาชีพที่อยู่ใน list นี้เท่านั้น: https://www.legislation.gov.au/Details/F2020C01118

วีซ่า subclass 494; สาขาอาชีพที่อยู่ใน list นี้เท่านั้น: https://www.legislation.gov.au/Details/F2020C01141

วีซ่า subclass 186 (Direct Entry); สาขาอาชีพที่อยู่ใน list นี้เท่านั้น: https://www.legislation.gov.au/Details/F2022C00574

เป็นกำลังใจให้กับทุกคนนะครับ

Copyright: แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น, ไม่ copy & paste, ไม่ screen capture


Sunday, January 29, 2023

Partner Visa ยังไม่หย่ากับแฟนเก่า; เหมยหลิง หยางปิงปิง กับอุ้ยเสี่ยวป้อ รักเราไม่เก่าเลย


อุ้ยเสี่ยวป้อ หนุ่มหล่อเฟี้ยว เป็น PR/Citizen แต่งงานกับเหมยหลิง แต่รักไม่ลงรอย ทั้งสองแยกกันอยู่ ต่างฝ่ายต่างไปมีชีวิตใหม่ แยกย้ายกันไป แต่ยังไม่ได้หย่ากัน


อาจจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่

อาจจะด้วยยังไม่มีเวลาทำเรื่องหย่า

อาจจะด้วยแบ่งทรัพย์สินกันยังไม่ลงตัว

หรืออะไร เรามิอาจทราบได้


แต่ทั้งสองก็แยกย้ายกันไปมีชีวิตใหม่

ต่างคนต่างอยู่ต่างรัฐ ไม่ได้ติดต่อกันนานแล้ว


อุ้ยเสี่ยวป้อเองก็เจอรักใหม่ สาวน้อยจิ้มลิ้มคู่ใจ น้องหยางปิงปิง


เนื่องด้วยตัวอุ้ยเสี่ยวป้อเองยังไม่ได้หย่าอย่างเป็นทางการกับเหมยหลิง สถานะสมรสเป็น "Separated" ไม่ใช่ "Divorced" ดังนั้น:

อุ้ยเสี่ยวป้อไม่สามารถแต่งงานกับน้องหยางปิงปิงได้

อุ้ยเสี่ยวป้อไม่สามารถจด register of relationship (จด de facto) กับหยางปิงปิงได้... เฮ้อ... ชีวิตเศร้า


แต่เนื่องด้วยอุ้ยเสี่ยวป้อก็เริ่มอยู่กินกับน้องหยางปิงปิงมาแล้ว 12 เดือน

เปิดบัญชีร่วมกันแล้ว 12 เดือน

มีบิลค่าน้ำ ค่าไฟ ชื่อร่วมกันแล้ว 12 เดือน


ดังนั้นอุ้ยเสี่ยวป้อสามารถทำเรื่อง Partner Visa (onshore); subclass 820 & subclass 801 ให้กับน้องหยางปิงปิงสุดที่ love ได้


ทุกอย่างก็น่าจะราบรื่นไม่มีอะไร

แต่สิ่งที่ keep น้องหยางปิงปิง awake at night ก็คือ น้องหยางปิงปิงเกรงว่าเหมยหลิงจะสามารถมายกเลิกหรือสร้างความวุ่นวายในการยื่นวีซ่าของเธอหรือเปล่า


คำตอบง่าย ๆ สั้น ๆ ก็คือ "เหมยหลิงไม่สามารถมาทำอะไรเรื่องวีซ่าของน้องหยางปิงปิงกับอุ้ยเสี่ยวป้อ" เพราะ:

- เหมยหลิงกับอุ้ยเสี่ยวป้อ โดยพฤตินัย ไม่ได้เป็นใช้ชีวิตเยี่ยงคู่สามีภรรยากันแล้ว ถึงแม้จะยังไม่ได้หย่าก็เถอะ แต่ทั้ง 2 ก็แยกกันอยู่แล้ว ต่างฝ่ายต่างไปมีชีวิตใหม่


อุ้ยเสี่ยวป้อกับน้องหยางปิงปิง โดยพฤตินัยแล้วก็ใช้ชีวิตคู่เยี่ยงสู่สามีภรรยาทั่ว ๆ ไป มีเอกสารร่วมกัน 12 เดือนขึ้นไป ถึงแม้จะแต่งงานกันไม่ได้ก็ตาม เพราะอุ้ยเสี่ยวป้อยังไม่ได้หย่าอย่างเป็นทางการ


- หยางปิงปิงไม่ใช่บ้านที่ 2-3-4-5 ของอุ้ยเสี่ยวป้อ ทุกคนโปรดทำความเข้าใจใหม่ เพราะโดยพฤตินัยแล้ว เหมยหลิงกับอุ้ยเสี่ยวป้อไม่ได้ใช้ชีวิตคู่ร่วมกันนานแล้ว หมดแซ่บกันไปนานแล้ว ต่างฝ่ายต่างไปหาที่แซ่บกันที่อื่น


ดังนั้นน้องหยางปิงปิง can sleep well at night นะครับ เรื่อง Partner Visa ไม่มีปัญหาแน่นอน


เรื่องราวซับซ้อน ถ้าทำกันแบบ DIY ก็อาจโดนปฏิเสธได้ ปรึกษาคนที่ทำงานด้านนี้โดยตรงนะครับ คนที่มี MARN เท่านั้น


ระวังจะกลายเป็น "เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย" นะครับ


Copyright: แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น, ไม่อนุญาตให้ copy & paste, ไม่อนุญาตให้ screen capure


เขียนเองทุกตัวอักษร

Friday, January 27, 2023

ก้าวที่กล้า

 


ช่วงนี้คนใน "ครอบครัว J" ออกมาขยับขยาย ทำอะไรกับชีวิตของตัวเองมากขึ้น อาจเป็นเพราะหลัง COVID, ทุกคนก็เริ่มกลับมาใช้ชีวิตตามปกติ รวมไปถึงการมองหาโอกาสทางธุรกิจให้กับตัวเองด้วย

หัวใจเราพองโตเสมอเมื่อวีซ่าของลูกค้าเราผ่าน
แต่หัวใจเราพองโตมากกว่า เมื่อเรารู้ว่าคนใน "ครอบครัว J" หรือลูกค้าของเราออกมาทำขยับขยายทำอะไรให้กับชีวิต ทำอะไรให้กับตัวเอง

ทำอะไรเดิม ๆ ผลลัพธ์ก็จะเดิม ๆ นะครับ
อยากได้ผลลัพธ์ใหม่ ก็ต้องทำอะไรใหม่ ๆ

cafe แห่งใหม่ ขนาดกำลังพอดี
น้องสองคนทำเองหมดทุกอย่าง
อันไหนที่ต้องใช้ช่าง น้องก็ใช้ช่าง
นอกนั้นน้องทำเองหมดเลย ยอมใจมาก

หากเราตั้งใจจริง ทุกอย่างต้องออกมาดี

ซื่อสัตย์
สุจริต
จริงใจ
ขยันและอดทน
P' J เชื่อว่าหากคนเรามี 5 อย่างนี้ ทำอะไรก็จะเจริญ

P' J จะรอดูความสำเร็จของน้อง ๆ นะครับ
เป็นกำลังใจให้เสมอ

8503

"8503"

วีซ่าท่องเที่ยว ถ้าใครติด 8503; ห้ามยื่นเรื่องภายในประเทศออสเตรเลีย

ตอนนี้ขอ waiver ยากมากครับ
เพราะไม่มีปัญหาเรื่องการปิดประเทศแล้ว

ถ้าขอ waiver ไป ส่วนมากจะโดน knocked back กลับมาด้วยเหตุผลว่า

"you ก็ต้องรู้อยู่แล้วว่า you อาจได้ condition นี้ตอน you ขอวีซ่าท่องเที่ยว เมื่อ you ได้มันมา you ก็ต้องยอมรับมันให้ได้"

นอกเสียจากว่าคนในครอบครัวที่ออสเตรเลียป่วยร้ายแรง คนที่ติด 8503 ต้องอยู่ดูแล ดูใจ ให้กำลังใจ อะไรก็ว่าไป แต่อย่าถึงจุดนั้นเลยครับ.... touch wood

#JMigrationTeam
#MARN0851174

Wednesday, January 18, 2023

PR: 15 ปี 5 เดือน 23 วัน

 


จบสิ้นกันที วันนี้ที่รอคอย 15 ปี, 5 เดือน, 23 วัน
ชีวิตไม่ง่าย แต่ก็ไม่ยากเกินไปถ้าใจจะสู้

ชีวิตคือการเดินทาง และเส้นทางการเดินทางของแต่ละคนไม่เหมือนกัน บรรทัดฐานของแต่ละคนก็แตกต่างกันออกไป เส้นทางการไปสู่ PR (Permanent Resident) ก็แตกต่างกันออกไปเช่นเดียวกัน

วีซ่าแต่ละ subclass มี pathway ไปสู่ PR ที่แตกต่างกัน เวลาอ่านอะไรตาม facebook group หรือ page อะไรต่าง ๆ โปรดใช้วิจารณญาณในการเสพสื่อ

กับ case บาง case เส้นทางในการเดินทางค่อนข้างยาวนาน 15 ปี 5 เดือน 23 วัน

และกับคำพูดจากคนรอบข้างมากมาย ที่บอกว่า "ทำไม่ได้หรอก"
"ทำได้จริงเหรอ" 
"ใครเป็นคนทำเรื่องให้" "คนนั้นเขาทำได้จริงเหรอ" และอื่น ๆ อีกมากมายที่มันบั่นทอนจิตใจ

ไม่เป็นไร เอาเป็นว่า "ไม่มีใครอยากเห็นเราเด่นเกิน"

ในวันที่เราถึงเส้นชัย
ในวันที่เราได้เฉิดฉาย 
ช้าหน่อยไม่เป็นไร แต่ชีวิตหลังจากนี้คือกำไร จะได้เริ่มต้นอะไรใหม่ ๆ ปักหลักปักฐาน

ในวันที่เราต้องเฉิดฉาย
ใครทนแสงอันเจิดจ้าของเราไม่ได้ก็ต้องใส่แว่นกันแดดนะครับ... no choice

15 ปี 5 เดือน 23 วัน
ในที่สุด สุดที่รัก
ในวันที่ได้หายใจทั่วท้อง
ไม่ต้องเครียด ไม่ต้องพะวักพะวนว่าจะเกิดอะไรกับชีวิต กับวีซ่า
มันคือความมั่นคงอีกหนึ่ง step ของชีวิต ของใครหลาย ๆ คน

เมื่อได้ PR แล้ว จะทำอะไรต่อไปกับชีวิตก็ง่าย จะซื้อบ้านตั้งรกรากปลักฐานอยู่ที่นี่กันยาว ๆ กลายเป็นคน 2 สัญชาติเมื่อได้ citizen ก็สามารถทำได้ อีก 12 เดือน ไม่นานเกินรอ

PR มันเปิดโอกาสทางชีวิตและต่าง ๆ นานา

ขอบคุณที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ "ครอบครัว J" ครอบครัวเล็ก ๆ เฉพาะคนรู้ใจ

ไม่ต้องดีสำหรับใคร
แค่ดีต่อใจเราก็พอ

กราบขอบคุณที่เลือกใช้บริการของเรา
สินค้าดีใช้แล้วช่วยบอกต่อ

FIFO (Fly-In Fly-Out)

เรามีคนใกล้ตัวเป็นฝรั่ง 2 คนที่ทำงาน FIFO อยู่ที่ WA
FIFO เป็นงาน Fly In Fly Out ที่เหมืองที่ WA
เหมืองอยู่ห่างไกลครับ ทางบริษัทจะเหมาเครื่องบินของ Qantas รับส่งพนักงาน

ที่ site งานที่เหมือง จะไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกมาก
หากใครเคยไปเที่ยวที่ Uluru ที่ NT ก็ให้คิดถึงสภาพแบบนั้นแหละครับ หินสีแดงสุดลูกหูลูกตา หรือไม่ก็ทะเลทราย เหมืองที่ WA จะแตกต่างจากเหมืองในรัฐอื่น

คนทำงานที่เหมือง เงินดีมากครับ สวัสดิการฟรีทุกอย่างจากบริษัท และเข้าไปอยู่ในเหมือง ก็ไม่มีค่าใช้จ่ายอะไร เพราะมันไม่มีอะไรให้ซื้อ

2 weeks in
2 weeks out

Mentally ต้อง strong เพราะบางคนห่างลูกห่างเมีย
หลายคนเกิด depression
เกิดปัญหา mental health 
ถ้าจิตใจไม่เข้มแข็ง ก็ต้องระวังด้วยนะครับ

สุดท้าย สิ่งที่เกิดขึ้นกับคนใกล้ตัวของเราก็คือ การหย่าร้าง
broken family
และแผลเป็นที่อยู่ในใจไปตลอดชีวิต

ฝากเอาไว้ให้คริสต์ :)

เก็บเอาไว้ในความทรงจำ

 


ปกติเราไม่ค่อยโทรอะไรไปหาใคร ส่วนมากก็จะ email ไปแจ้งลูกค้ามากกว่า

Video call ไม่ต้องพูดถึง ทำงานมา 14 ปี ทำ case มาไม่รู้กี่พัน ๆ case เราน่าจะเคย video call ไปแจ้งข่าวลูกค้าไม่ถึง 5 cases เผอิญว่าเป็นคนเย็นชาและไร้หัวใจหนะจ๊ะ ทำไงได้


แต่กับใครบางคน เขามีบุญคุญกับเรามาก

เขาแนะนำลูกค้ามาให้เราเยอะมาก หากไม่มีเขา ก็อาจจะไม่มีเราในวันนี้ก็ได้


องค์กรของเขาแต่ก่อนมีทนายฝรั่งดูแลเรื่องงานเอกสารของวีซ่าทั้งหมดอยู่แล้ว น้อยองค์กรมากที่อยากจะเปลี่ยนคนดูแล เพราะเขาทำงานด้วยกันมา 10-20 ปีแล้ว ทนายฝรั่งมีเอกสารของทางองค์กรทุกสิ่งอย่าง


การที่องค์กร ๆ หนึ่ง หรือใครคนใดคนหนึ่งจะเปลี่ยนคนดูแลมาเป็นใครก็ไม่รู้ คนไทย หัวดำ no name บริษัทเล็ก ๆ ที่ Wollongong มันยากนะ


จากวันที่เรานั่งคุยกันวันนั้น face-to-face consultation ที่ office แห่งนั้น เรายังจำได้ดี ถึงแม้จะนานหลายปีแล้ว ภาพยังคงตราตึงอยู่ในความทรงจำไม่เคยลืม


เราได้มีโอกาสเข้ามาดูแล case ในองค์กรนั้น งานเราไม่เคยขาดมือ พนักงานในองค์กรน่ารักทุกคน บางคนต้องเดินทาง นั่งรถไฟเข้ามาในเมืองเวลาเราไปทำ face-to-face consultation ที่รัฐนั้น เขาก็เดินทางกันมา น่ารักมาก


เอาจริง ๆ นะครับ แค่เราดูแลองค์กรใหญ่ ๆ ซักแค่ 3-4  องค์กรเท่านั้น บริษัทเราก็อยู่ได้ครับ เพราะเราจะมี case มาจากองค์กรเหล่านั้นไม่ขาดสาย


กับ case บาง case มันท้าทายมาก

คนรอบข้างจะบอกว่า "แน่ใจแล้วเหรอที่จะย้ายมาทำกับ J Migration Team"

"case นี้ยากนะ ทำไม่ได้หรอก" "ความหวังริบหรี่"


case ทุก casee สำคัญหมดแหละ แต่บาง case เดิมพันมันสูงมาก

โอกาสดี ๆ ไม่ได้มีอยู่เสมอไป กฎมันเปลี่ยนไปเรื่อย ๆ 

บางคนเมื่อเขาทำงานในตำแหน่งสูง เขาก็ต้องดูแลคนในองค์กร ปล่อยให้น้อง ๆ ให้คนนั้น คนนี้ทำเรื่องก่อน บางทีก็ลืมดูแลตัวเอง จนกฎเปลี่ยนนั่น นี่ โน่น


บางทีที่กฎหมายมันเปลี่ยน มันเปลี่ยนแบบสายฟ้าแลบเลยนะ หลายคนก็เก็บเสื้อผ้ากลับบ้านก็เพราะแบบนี้ก็มี


เราได้ case นี้มา เป็น case ที่ท้าทายที่สุด มีปัจจัยหลายอย่าง

เราลุ้นมาก เราเดิมพันกับ case นี้มาก เพราะเขามีบุญคุญกับเรามาก ตัวเขาเองวีซ่ายังไม่ผ่านเลย แต่ทุกครั้งที่คนมองหาคนทำเรื่องวีซ่าให้ 110% เขาจะแนะนำเราตลอด เราคุยกันหลังไมค์กันบ่อยมาก และทุกสิ่งอย่างที่เรา ไม่ว่าจะเป็นสินค้า "เจย์ ดอกจิก" หรืออะไร เขาจะคอยอุดหนุนและ support เราตลอด


คำว่า "ครอบครัว J" กับใครบางคน มันก็เหมือนครอบครัวจริง ๆ นะ


กับใครบางคน

กับคนพิเศษ มันก็ต้อง video call แจ้งข่าวดีเลยครับ

ขับรถอยู่ก็ต้องจดรถตั้งสติ รับฟังข่าวดี

บันทึกเอาไว้ในความทรงจำ เหตุการณ์เมื่อวาน 17 Jan 2023


รักที่สุด สุดที่รัก

Monday, January 16, 2023

Bridging Visa E อยากจะเรียนหนังสือ

Bridging Visa E อยากจะเรียนหนังสือก็สามารถลงเรียนได้เลยครับ

แต่ไม่สามารถขอวีซ่านักเรียนได้ เพราะคนที่จะขอวีซ่านักเรียนได้จะต้องเป็นคนที่มี substantive visa เท่านั้น (วีซ่าทุกอย่างที่ไม่ใช่ Bridging Visa) หรือ 28 วันหลังจากวีซ่า substantive visa เก่าหมดอายุ


คนที่ถือ Bridging Visa E "ส่วนมาก" แล้วจะ:

- ติด section 48 bar เพราะโดนวีซ่าปฏิเสธหรือโดนยกเลิกวีซ่า

- วีซ่าขาดมาก่อน


อันนี้คือ "ส่วนมาก" นะครับ ไม่ใช่ทุกคน


ดังนั้นคนที่ถือ Bridging Visa E ถ้าอยากจะเรียนก็สามารถทำได้ครับ เผื่อใครอยากจะต่อยอดชีวิต รักดีหามจั่ว


ถ้าอยากจะเรียนก็สามารถติดต่อ college หรือโรงเรียนได้เลย

ลงทะเบียน จ่ายเงิน แล้วเข้าเรียนได้เลย

ไม่ต้องขอ CoE (Certificate of Enrolment) เพราะเราไม่ได้จะขอวีซ่านักเรียน


วีซ่าออสเตรเลีย ปรีกษาจากคนที่มี MARN นะครับ

ไม่ใช่ปรีกษา Tutor สอนภาษาอังกฤษหรือ YouTuber ทั้งหลาย (ไม่หมดทุกคน บางคนที่น่ารักก็มี แต่มีน้อย!!!)

วีซ่านักเรียนกับการเป็นเจ้าของธุรกิจ

วีซ่านักเรียนสามารถเป็นเจ้าของธุรกิจได้ครับ
แต่จะสามารถเอาธุรกิจนั้นมาทำเรื่องขอวีซ่าหรือขอ PR ได้หรือเปล่านั้นหนะอีกเรื่องหนึ่ง

ระวังโดนหลอกขายร้าน
ศึกษาหาข้อมูลให้ดี ๆ
กฎหมายอิมมิเกรชั่นมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ๆ

ที่เอาร้านตัวเองสปอนเซอร์ตัวเองเหมือนสมัยก่อนหนะ ทำไม่ได้แล้วนะครับ

เข้าใจว่าบางคนต้นทุนหนา แต่ก็ไม่อยากให้ตำพริกละลายแม่น้ำกัน
บางคนก็ตาลุกวาว แต่กฎหมายมีการเปลี่ยนแปลงเรื่อย ๆ นะครับ

ถ้าคิดจะใช้ธุรกิจในการทำเรื่องหรือขอ PR ให้กับตัวเองให้ดู Business Visa; subclass 188 และ subclass 888 ซึ่ง detail ค่อนข้างแตกต่างจากซื้อร้านแล้วสปอนเซอร์ตัวเองเหมือนสมัยก่อน

เงินอยู่ในกระเป๋าเรา กอดไว้ให้แน่น ๆ ครับ
จิ้งจอกเยอะ สมัยนี้ มีมาในทุกรูปแบบ

ยิ่งเขาเห็นเรา desperate เล่ห์กลเขายิ่งเยอะ
ผียังไม่น่ากลัวเท่ากับคนหลอกคนนะครับ 

Friday, January 13, 2023

5-year study English language exemption

 

หลาย ๆ คนที่ต้องการขอวีซ่า subclass 482 แล้ว email มาถามว่า "พี่ครับ/คะ หนู/ผม สามารถใช้ผลการเรียน 5 ปีแทนผลสอบภาษาอังกฤษได้มั้ย"


เอาจริง ๆ นะครับ

ทุกคนสามารถทำตารางแบบนี้แล้วก็นับเองได้เลย

คณิตคิดง่าย ๆ 

1+ 1 = 2

2 + 2 = 4

ลองทำดูก่อนนะครับ มันไม่ได้นับยากอะไรเลย


Note: ตารางที่เราทำ เราทำใช้ในการนับของ subclass 482 นะครับ ถ้า subclass 187 เราจะไม่นับพวก general English ส่วนใครจะนับแบบไหนก็เรื่องของเขา ของเรา "สะดวกแบบนี้"

Family Lawyer

ผัวเลิกกับเมีย

เมียเลิกกับผัว

แบ่งสมบัติกันไม่ลงตัว
เราต้องมี Family Lawyer นะครับ

P' J ไม่ใช่ Family Lawyer นะครับ
P' J ทำในส่วนของ Immigration Law

P' J แนะนำทนายความส่วนตัวของ P' J ชื่อ Andrew Lee
ไม่ใช่คนไทย
นิสัยดีมาก
เป็นคนที่มี empthaty สูง เห็นใจเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน
เขาเป็นคนใจเย็น ดังนั้นพูดช้า ๆ ได้ ไม่ต้องกลัวว่าจะคุยกันไม่รู้เรื่อง

เขาดูแล P' J มา 20 ปีแล้วครับ จากปี 2003 จนถึงปีนี้
P' J ไม่เคยเปลี่ยนทนายความส่วนตัวเลย

P' J แนะนำให้ติดต่อกับ Andrew Lee; 02-97550088
บอกว่า "J Migration Team" จาก Wollongong แนะนำมา

ส่วนใครที่กำลัง work out ความสัมพันธ์กันอยู่ ก็ลองหา marriage counsellor แล้วจับเข่าคุยกันนะครับ

เป็นกำลังใจให้กับทุกคนเสมอ
จะอะไร ยังไงก็ตามแต่ อย่าลืมรักตัวเองนะครับ และที่สำคัญ self-esteem และความเป็นมนุษย์สำคัญที่สุด

Thursday, January 12, 2023

หวังว่าซักวันเหงื่อคงหวาน


ช่วงนี้น้อง ๆ "ครอบครัว J" หลาย ๆ คนออกมาทำธุรกิจเองครับ 

P' J ยินด้วยกับก้าวแรก ก้าวออกมาจาก comfort zone ของน้อง ๆ หลาย ๆ คน

ก้าวออกมาจากจุด ๆ เดิม เพื่อผลลัพธ์ที่แตกต่าง

คนเราถ้าทำอะไรเดิม ๆ ผลลัพธ์ก็จะออกมาเดิม ๆ นะครับ

อยากเห็นการเปลี่ยนแปลง ก็ต้องทำอะไรที่แตกต่างไปจากเดิม

จะล้ม จะลุก อย่างน้อยก็ได้ทำ


เด็ก ๆ สมัยนี้เก่งครับ คิดนอกกรอบกันเยอะ

แตกต่างจากสมัยที่ P' J เรียนอยู่ที่ UOW

สมัย P' J ยังละอ่อน เรียนอยู่ที่ UOW, เราไม่เคยมีความคิดในการออกมาทำธุรกิจอะไรของตัวเองเลย รู้แค่ว่าต้องเรียนให้จบ หางานทำ ไต่ corporate ladder มีเงินเยอะ ๆ มีบ้านหลังซักหลัง และรถซักคัน แล้วก็ retire 


ตอนที่เรียนที่ UOW เราคิดแค่นี้จริง ๆ เหมือนเส้นชีวิตมันขีดเอาไว้แล้ว ว่าจบมหาลัย ก็ต้องหางานทำ เป็นลูกจ้างเขา ความคิดตอนเป็นเด็กหนะนะ ไม่ได้คิดอะไรไปไกล เอาแค่เรียนให้จบก่อนตอนนั้น


แต่สมัยนี้ โลกมันเปลี่ยนไปแล้วครับ

ข่าวสารข้อมูลอะไรต่าง ๆ อยู่แค่ปลายนิ้วมือ

เด็ก ๆ ออกมาทำธุรกิจกันเยอะ ซึ่งถือว่าดีมาก ๆ 


ความคิดของ P' J เปลี่ยน เมื่อ P' J ได้มีโอากาสอ่านหนังสือของ Robert Koyosaki (Retire Young, Retire Rich) นั่นคือหนังสือเล่มที่จุดประกายทำให้ P' J ออกมาทำอะไรเอง จับผลัดจับผลูจนกลายมาเป็น "J Migration Team" ในทุกวันนี้


จาก "J Migration Team" วันนั้น 2008 มาถึงวันนี้ ชีวิตไม่ง่ายครับ

บริษัทเล็ก ๆ ที่เมืองเล็ก ๆ Wollongong

สมัยก่อน คนที่ Wollongong จะทำวีซ่าที ก็ต้องเดินทางเข้า Sydney ครับ ไอ้เราก็แค่มดตัวเล็ก ๆ ตัวหนึ่ง เพิ่งเริ่มเตาะแตะออกมาทำอะไรเองตอนนั้น; 2008


แต่ก่อน มี case ทำ 1 caseต่อ 1 เดือน ก็ดีใจตายห่าแล้วครับ แต่เราก็ทำธุรกิจอย่างอื่นด้วยครับ และปี 2010 P' J ก็รับราชการด้วย ควบคู่กับการเป็น "J Migration Team" ไปด้วย ก่อนที่จะเปลี่ยนงานจาก A ไป B เราต้องมีแผนสำรองก่อนเสมอนะครับ P' J ไม่ได้ jump ship จาก A ไป B เลย และงานหลาย ๆ งานเราก็ต้องไปเรียนเพิ่มเติม ค่า HECS นี่พุ่งกระฉุดมาก เพิ่งจ่าย HECS เสร็จเมื่อ 2-3 เดือนที่แล้วเอง.... ขุ่นพระ!!! (HECS ก็คล้าย ๆ กยศ เมืองไทย)


ทำงาน 3 jobs เราก็ทำมาแล้วครับ

เรียน 2 มหาลัยควบ เราก็ทำมาแล้วครับ

ชีวิตต้องสู้

เงินทองไม่ได้หล่นลงมาจากฟากฟ้า เราไม่ได้เกิดมาบนกองเงินกองทอง และจบ ป.ตรี แล้วก็ไม่มีสิทธิ์แบมือขอเงินจากทางบ้าน ทุกอย่างต้องทำเองจากสมองและสองมือที่มี เก็บเล็กผสมน้อย เก็บหอมรอมริบกันไป


ช่วงปี 2008-2010 ช่วงแรก ๆ ของการทำ "J Migration Team" ปีหนึ่งขอแค่มีเงินจ่ายค่า registration ของ MARN แค่นั้นพอ (บวกค่าประกันนั่น นี่ โน่น ก็ "ประมาณ" $4,500) เพราะเราก็มีงานอย่างอื่นทำด้วย ชีวิตก็พออยู่ได้ ไม่รวย แต่ไม่เป็นหนี้


หัวใจเราพองโตเสมอเมื่อน้อง ๆ หลาย ๆ คนบอกว่าเขาจะออกมาทำธุรกิจเอง บางคนที่เราสนิทหน่อย เราก็จะช่วยดันช่วย promote ใน facebook ส่วนตัวเราและใน page ส่วนตัวเรา แล้วคนก็ชอบมโนว่า P' J ต้องเป็นหุ้นส่วนแน่นอนเลย 


P' J ไม่ต้องเป็นไปเป็นหุ้นส่วนอะไรกับใครครับ ชีวิตทุกวันนี้สบายดี ไม่ต้องหาเหาใส่หัว

ที่ promote อะไรต่าง ๆ นานาในสื่อส่วนตัวของ P' J ก็ทำไปเพราะ "รัก" แค่นั้นเอง 


จงเป็นผู้ให้ ก่อนที่จะเป็นผู้รับ 

ก็แค่นั้นเอง เราไม่ได้หวังผลอะไร เพราะชีวิตทุกวันนี้ "สบายดี"


การออกมาทำธุรกิจของเราเองเป็นการเริ่มต้นของการมี financial freedom, financial independent และต่าง ๆ นานา


ลองศึกษา cashflow quadrant ของ Robert Kiysaki ดูนะครับ แล้วจะรู้ว่าเราพูดถึงเรื่องอะไร 


Cashflow quadrant:

- Employee คืออะไร

- Self-Employed คืออะไร

- Business Owner คืออะไร

- Investor คืออะไร

ESBI, เมื่อเราเดินทางมาถึง "I" Investor ชีวิตเราก็จะสบาย และตอนนี้ P' J ก็อยู่ที่ I นานแล้วครับ


เรื่องพวกนี้เราเขียนเอาไว้ที่ page ส่วนตัวค่อนข้างเยอะ ลองไปส่องกันดูได้; https://www.facebook.com/because.jpp


ล้ม ลุก เรียนรู้

หากเราตั้งใจจริง เราต้องทำได้แน่นอน P' J เอาใจช่วย และจะรอดูความสำเร็จของพี่ ๆ น้อง ๆ "ครอบครัว J" หลาย ๆ คน


การอออกมาทำธุรกิจอะไรของเราเอง แรก ๆ มันก็หนักหน่อยนะครับ แต่พี่รู้ว่าน้อง ๆ ทำได้


แรก ๆ มันก็ต้องทำอะไรเองหมดแหละ อันไหนซ่อมเองได้ก็ซ่อมเองก๊อก ๆ แก๊ก ๆ กันไป อันไหนต้องเรียกช่างก็ต้องเรียกช่าง

ทำความสะอาดร้านเอย เก็บกวาดร้านเอย ติดต่อ suppliers เอย อะไรต่าง ๆ นานา เตรียมตัวเปิดประตูต้อนรับลูกค้า


ร้านที่ต้อง set up ใหม่ "ส่วนมาก" landlord ก็จะให้ 1-month free rent เราก็ใช้เวลาที่เราได้ free rent มานี้จัดการอะไรทุกอย่างให้เสร็จสรรพ


ร้านที่ต้อง set up ใหม่

จะแตกต่างจากการซื้อธุรกิจแบบ walk-in walk-out นะครับ

ทุกคนที่จะทำธุรกิจ จะซื้อขายธุรกิจ จะเช่าร้านเพื่อทำธุรกิจ ทุกคนต้องมีทนายความส่วนตัวนะครับ Business Lawyer ต้องมี ลูกค้าของเรา เราก็แนะนำและส่งต่อ Andrew Lee แหละ (ทนายความส่วนตัวของ P' J ลองอ่านจากโพสต์ก่อนดู) ของดี ใช้แล้วเราก็บอกต่อจ๊ะ ไม่ได้ค่าโฆษณาหรือคอมมิชชิั่นอะไรใด ๆ (ไม่จำเป็น เพราะเราได้บริการที่ดีจาก Andrew Lee มากถึงมากที่สุดอยู่แล้ว)


Anyway... วกกลับมาที่เรื่องของการทำธุรกิจใหม่ ๆ ของน้อง ๆ "ครอบครัว J" ลูกค้าเราทั้งหลาย ถ้าใครคิดออกมาทำธุรกิจอะไรนะครับ ออกมาทำเลย ออกมาจาก comfort zone เราเชียร์เต็มที่ เพราะตัวเราเองก็เริ่มจากการทำงานเป็นลูกจ้างที่บริษัท แล้ววันหนึ่งออกมาทำธุรกิจเอง มันเป็นการตัวสินใจที่ถูกต้องที่สุด (สำหรับตัวเรานะ)


ล้ม เราอาจจะได้แผล 

แต่ถ้าเรายอมแพ้ เราอาจจะไม่ได้อะไรเลย


สำหรับน้อง ๆ "ครอบครัว J" ที่ออกมาทำอะไรเองนะครับ 

เราเป็นกำลังใจให้

สมัยนี้ข้อมูลอะไรต่าง ๆ นานามันก็เยอะ ไม่ต้องงมเข็มในมหาสมุทรเหมือนที่ P' J ออกมาทำธุรกิจใหม่ ๆ 

แรก ๆ อาจจะหนักหน่อย ต้องทำอะไรหลาย ๆ อย่างเอง

แต่พอทุกอย่างเริ่มลงตัว เริ่มมีทีมงาน ทุกอย่างจะดีขึ้นเอง

ทำงานเป็นเจ้าของธุรกิจ อย่าลืมให้ค่าแรงตัวเองด้วยนะครับ ตอนที่ P' J ออกมาทำธุรกิจเองใหม่ๆ  ไม่มีใครบอก ไม่มีใครแนะนำ ไม่ได้หักเงินค่าแรงตัวเอง บัญชีทุกอย่างมั่วมากตอนนั้น ตอนนั้นอ่อนต่อโลกจริง ๆ โลกของการทำธุรกิจ ทุกวันนี้ทุกอย่างเป็นระบบมาก มี bookkeeper  มี accountant คอยดูแล และทำบัญชีกันรายเดือน ไม่ได้ทำแบบไตรมาส 3 เดือนครั้ง


P' J เองก็ค่อย  ๆ ขยับตัวเองจาก  E -> S -> B -> I

And never looked back


น้อง ๆ เด็กใหม่ไฟแรง มีแรงก็ทำไปเถอะ

อย่าคิดเยอะ

อย่าคิดนาน

คิดแล้ว ทำ

ทำทันที

ดูอย่าง P' J นึกอยากจะทำสินค้า "เจย์ ดอกจิก" P' J ก็ทำเลย ไม่คิดนาน คิดแล้วทำ ทำทันที เวลาและสายน้ำไม่เคยคอยใคร


อย่าให้ใครมาดับฝันเราได้

มีแค่เราเท่านั้นที่จะดับฝันเราได้

กุมบังเหียนชีวิตของเราให้ดี ๆ รู้ว่าจุดหมายปลายทางเราอยู่ที่ไหน

From Zero To Hero จากสมองและสองมือที่ดี น้อง ๆ ทำได้แน่นอน

...หวังว่าซักวัน เหงื่อคงหวาน...

อีกไม่นานครับ อีกไม่นาน 

 P' J เป็นกำลังใจให้ และจะรอดูความสำเร็จของน้อง ๆ "ครอบครัว J" ทุกคน


...นี่แหละ ความสุขของชีวิตเรือจ้าง...


Note: เราอาจจะเขียนอะไรวกวนไปบ้าง ออกนอกเรื่องบ้าง นึกอะไรได้ก็เขียน เพราะหลาย ๆ อย่างมันก็เชื่อมโยงกัน แต่ที่แน่ ๆ เราเขียนเองทุกตัวอักษรครับ ตั้งแต่ปี 2008 จนถึงปัจจุบัน เพราะหยักเรามากพอ :)

Wednesday, January 11, 2023

Oct/Sep 2016; จากวันนั้นถึงวันนี้




Oct/Sep 2016; จากวันนั้นถึงวันนี้ น้องทั้ง 2 คนเดินทางกันมาไกลนัก

6-7 ปี roadmap มันเกิดขึ้นได้ ถ้าวางแผนดี ๆ 

จากวันนั้นที่พวกเราเจอกันครั้งแรกที่ Wollongong, P' J ยังจำวันนั้นได้ดี

วันที่น้องผู้หญิงร้องไห้ พอจะเห็นทางออกของชีวิต


ทุกวันนี้มันไม่ใช่แค่ทางออกครับ มันคืออนาคต

น้องทั้ง 2 กำลังจะตั้งรกรากกันที่นี่

จากแต่ก่อนที่เป็นพนักงาน เป็นลูกจ้างเค๊า ทำงานดูแลร้านให้กับเจ้าของร้านทุกสิ่งอย่าง วันนี้มันคงถึงเวลาของน้องทั้ง 2 แล้วสินะ กำลังจะมี cafe เป็นของตัวเอง


เป็นเจ้าของธุรกิจ

เหนื่อยแน่นอนครับ แต่คุ้มมากถึงมากที่สุด

P' J ผ่านจุดนั้นมาก่อน

P' J ผ่านจุดที่ต้องรูดบัตร credit หมุนเงินในธุรกิจไปมา


ถ้าเราล้ม เราอาจจะได้แผล

แต่ถ้าเรายอมแพ้ เราอาจจะไม่ได้อะไรเลย


ในวันที่เราสู้ สู้แบบ burn the bridge behind แล้ว ทุบหม้อข้าวหม้อแกงแล้ว ต้องชนะอย่างเดียว


ต้องสู้ 

ต้องสู้ จึงจะชนะ

0.001 ลิขิตฟ้า

99.999 คือต้องฝ่าฝัน


P' J รู้ว่าน้อง ๆ ทำได้

เป็นกำลังใจให้เสมอ


โยกย้าย ไม่ใช่เรื่องยากครับ ถ้าวางแผนดี ๆ มีที่ปรึกษาดี ๆ 

ขอบคุณที่ให้ P' J และทีมงานเราเป็นฟันเฟืองเล็ก ๆ ในความสำเร็จของน้อง  ๆ ทั้งสองในครั้งนี้


ขอบคุณที่ให้เราเป็นเรือจ้าง.... 

Tuesday, January 10, 2023

Subclass 482; ไม่มีประสบการณ์การทำงานในออสเตรเลีย

"สมสวย" ถือวีซ่านักเรียน subclass 500

สมสวยก็เรียนอะไรสะเปะสะปะไปเรื่อย เรียนบริหารเอย การจัดการเอย การตลาดเอย เป็นไม้หลักปักเลนอยู่หลายปี 

สมสวยก็ทำงานอะไรต่าง ๆ นานาไปเรื่อย ทำงานไม่ตรงกับสายที่เรียน ซึ่งงก็ไม่แปลกสำหรับชีวิตนักเรียนต่างประเทศ ขอให้ได้เงิน

สมสวยอยู่ที่รัฐ NSW

สมสวยจับพลัดจับผลูอะไรยังไงไม่รู้ ช่วงออสเตรเลียขาดแคลนแรงงาน งานอะไรก็ค่อนข้างหาง่าย


สมสวยได้งานที่ Gold Coast, QLD

ตำแหน่ง "xyz"

แต่สมสวยไม่เคยทำงานในตำแหน่งนี้เลยที่ประเทศออสเตรเลีย

และสมสวยเองก็ไม่เคยทำงานกับนายจ้างคนนี้ที่จะทำเรื่องสปอนเซอร์สมสวย เพราะสมสวยเองก็อยู่ที่ NSW และนายจ้างอยู่ที่ QLD


ช่วงขาดแคลนแรงงาน อะไรก็เกิดขึ้นได้


โชคดีสมสวยมีประสบการณ์ในการทำงานในตำแหน่ง "xyz" ที่ไทยเป็นเวลา 2 ปี full-time


สมสวยมีจดหมายผ่านงานจากนายจ้างที่ไทย (เป็น template ของ J Migration Team ที่เราส่งให้ลูกค้าทุกคน)


สมสวยมี payslip จากเมืองไทย (ใช้ MS-Word ทำกันขึ้นมาแล้วกด save as "PDF" แหละดูออก แต่ก็ no judgemental จ๊ะ)


เมื่อสมสวยมีเอกสารครบ มีคุณสมบัติครบ สมสวยก็ทำเรื่องขอวีซ่าทำงานโดยที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ ทั้ง ๆ ที่สมสวยเองไม่เคยทำงานกับนายจ้างคนนี้มาก่อน และก็ไม่เคยทำงานในตำแหน่งนี้ประเทศออสเตรเลีย


คุณสมบัติของสมสวยคร่าว ๆ:

- เรียนที่ประเทศออสเตรเลียเกิน 5 ปี ไม่ต้องสอบภาษาอังกฤษ สำหรับคนที่จะขอ subclass 482

- วุฒิการศึกษาตรงกับตำแหน่งที่จะขอวีซ่า

- มีประสบการณ์มาจากเมืองไทย 2 ปี full-time, มีจดหมายผ่านงาน (work reference) มี payslip


subclass 482,  ประสบการณ์จากที่ไหนก็ได้ครับ

subclass 482, เราไม่จำเป็นต้องเคยทำงานกับนายจ้างที่จะทำเรื่องสปอนเซอร์ให้เรา


หวังว่า case นี้จะตอบคำถามที่อยู่ในใจของใครหลาย ๆ 


ขอบคุณน้องสมสวยที่เลือกใช้บริการของเรา

สินค้าดีใช้แล้วช่วยบอกต่อ


Note: "J Migratin Team" ไม่ใช่บริษัทจัดหางาน ไม่จับแพะชนแกะ และคุณสมบัติต่าง ๆ ของคนสมัครวีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ เราเคยเขียนไปแล้ว ลองไล่อ่านดูที่ http://jpp168immi.blogspot.com

Monday, January 2, 2023

ได้ PR จากแฟนคนเก่าด้วย subclass 186/187/189/190 แล้วจะทำเรื่องให้แฟนใหม่



ได้ PR จากแฟนคนเก่าด้วย subclass 186/187/189/190 แล้วจะทำเรื่องให้แฟนใหม่ เราสามารถทำอะไรได้บ้าง

1. ถ้าเราแต่งงานกับแฟนคนเก่า เราก็ต้องหย่ากับแฟนคนเก่าก่อน แต่ถ้าไม่ได้แต่งงานกับแฟนคนเก่า ทุกอย่างก็ง่าย หรือถ้าจด register of relationship กับแฟนคนเก่า เราก็ต้องไป revoke relationship กับแฟนคนเก่าก่อน


2. เรากับแฟนใหม่ไปจด register of relationship จดได้ทุกรัฐ ยกเว้น WA และ NT สำหรับคนที่อยู่ที่ WA หรือ NT ก็สามารถแต่งงานกันก็ได้ ถ้าแฟนใหม่อยู่ไทย ก็กลับไปแต่งงานกันที่ไทยได้


3. เมื่อได้ทำการจด register of relationship หรือจดทะเบียนสมรสที่ WA/NT เราก็สามารถทำเรื่อง Partner Visa Subclass 820 หรือ Subclass 309 ให้กับแฟนเราได้


4. เอกสารความสัมพันธ์ของเรากับแฟนใหม่จะต้องเกิดขึ้นหลังจากที่เราได้ PR จาก Subclass 186/187/189/190 เท่านั้น เอกสารความสัมพันธ์กับแฟนใหม่ก่อนที่เราจะได้ PR ไม่สามารถนำเอามาใช้ได้ เพราะตอนนั้นเรายังต้องคงความสัมพันธ์กับแฟนเก่าอยู่ เพื่อทำให้ตัวเราได้ PR

จบ

สร้างความร้าวฉาน คืองานของ P' J หรือเปล่า??

Copyright: แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น, ไม่อนุญาตให้ copy & paste, ไม่อนุญาตให้ screen capture