Wednesday, April 29, 2020

เอกสาร ก่อนที่จะเลิกลากันไป


ทุกครั้งที่เราทำงาน ก่อนที่ลาออก ก่อนที่เดินเลิกลากันไป make sure ว่าเรามีเอกสารอะไรต่าง ๆ ที่เราพึงจะมี มันจะเป็นการง่ายในการทำวีซ่าหรือทำอะไรต่อไปกับชีวิต

ไม่ว่าจะเป็นจดหมายผ่านงาน (work reference) เราต้องมี
หลักฐานการจ่ายค่าแรง เราต้องมี

อนาคตเป็นสิ่งไม่แน่นอน เผื่อนายจ้างต้องปิดตัวไปวันนี้หละ เราก็คงจะกลับมาเอาเอกสารพวกจดหมายผ่านงานไม่ได้

ถ้าหากใครบางคนที่จบกันไม่สวย
ก็ไม่เป็นไร
ทำเป็นละมุดออกมาเนียน ๆ ก็ไม่เป็นไรแต่ต้องมีหลักฐานการจ่ายค่าแรง การโอนเงินเข้าบัญชี เพื่อเป็นการยืนยันว่าเราประสบการณ์จริงในการทำงาน

ส่วนพี่ ๆ น้อง ๆ หลาย ๆ คนที่เรียนที่ college ต่าง ๆ 
บอกได้เลยว่าระบบการจัดเก็บข้อมูลของพวก college ไม่ดีมากพอเท่ากับของมหาลัย

ของถูกและดีไม่มีในโลกจ๊ะ
เดี๋ยวมีการเปลี่ยนพนักงานที่หน้า counter บ้างหละ
เดี๋ยวระบบไม่มีการ backup ที่ดี ข้อมูลที่เมื่อหลายปีที่แล้ว อาจจะไม่มีการจัดเก็บที่ดี

Trust me, I have seen it all.

ก่อนที่เราจะเดินออกมาจาก college นั้น  ๆ
ให้เราขอเอกสารจากทางโรงเรียนหรือ college เลยว่าเราเรียนจบอะไรมาบ้างแล้ว จดหมายจากทาง college ต้องพร้อม certificate จากทาง college ต้องพร้อม

เพราะเราไม่รู้ว่า เรากลับมาอีกทีพรุ่งนี้ college จะยังอยู่หรือเปล่า
อย่าชะล่าใจ
และพวกวิชาที่เราตกไป เราซ่อมเสร็จแล้วหรือยัง
ถ้าซ่อมเสร็จแล้ว ส่ง assignment เสร็จแล้ว รีบขอใบจบเลยทันที เพราะที่ college ก็มีการเปลี่ยนพนักงานกันบ่อย เปลี่ยนครูสอนกันบ่อย

เราต้อง active กับสิ่งที่เราทำจ๊ะ
จะมามัว passive กันอยู่ไม่ได้

เราเอาใจช่วยทุกนะครับ
ทุกปัญหามีทางออก
แก้กันไปทีละเปราะ
มันทำได้...

Monday, April 27, 2020

Casual staff and Business Organisation Chart




Casual staff, ตามกฎหมายการจ้างงานของประเทศออสเตรเลียแล้วคือพนักงานที่ทำงานอย่างน้อย 1 shift ขึ้นไป

1 shift ห้ามต่ำกว่า 3 hr
นายจ้างต้องจ้างอย่างน้อย 3 hr ขึ้นไป
จ้างน้อยกว่านั้นไม่ได้

ถ้าร้านอาหารหรือธุรกิจอะไรก็ตามแต่ที่ทำ roster ทุก ๆ 2 weeks แล้วพนักงานคนนั้นทำงานแค่ 1 shift (3 hr) ต่อ 2 weeks

ถามว่าผิดมั้ย

ไม่ผิดจ๊ะ

พวก fast food chain ต่าง ๆ ทำกันเยอะแยะ
พอพนักงานอายุ 16 ปีปุ๊บ ค่าแรงขึ้น ก็ต้องลด shift เลยทันที
โอ๊ย... เรื่องปรกติของเด็ก high school ที่นี่

สำหรับร้านอาหารร้านไหน ที่จะทำเรื่องขอวีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ subclass 482, 186 ENS, 187 RSMS หรือ subclass 4949 การมีชื่อพนักงานในร้านเยอะ มันก็ดูดีสีไม่ตก โดยเฉพาะถ้าพนักงานคนนั้นเป็น PR หรือ citizen

การที่ร้านอาหารทำ Business Organisation Chart ออกมาแล้ว มีพนักงานด้านนอกอยู่แค่ 2 คน:
-  คนหนึ่งเป็น restaurant manager
-  คนหนึ่งเป็นพนักงานเสริฟ waitperson

หรือในครัวมีพนักงานแค่ 2 คน:
- คนหนึ่งเป็น cook/chef
- คนหนึ่งเป็น kitchen hand

เอ๊ะ ร้านอาหารอะไรมีพนักงานด้านนอกอยู่ใน payroll แค่ 2 คน มันคงดูไม่งามกระมัง

หรือในครัวแค่ 2 คน มันดูไม่ make sense นะ

ถ้าวาด Business Organisation Chart ออกมามันก็คงไม่สวย
และ case officer ก็อาจจะมองว่าจริง ๆ แล้วคนที่ทำงานในตำแหน่ง restaurant manager ก็น่าจะเป็นแค่ waitperson ไม่ใช่ restaurant manager เพราะมีกันอยู่ด้านหน้าแค่ 2 คน จะให้ใครไป manage ใคร มันก็ดูแปลก ๆ อยู่นะ

ปัญหาทุกอย่างมีทางแก้

เราก็สามารถ cosmetic ได้ง่าย ๆ 
ด้วยการมีพนักงาน casual เพิ่มสัก 1-2 คน

ลง roster ให้เขาแค่ 3 hr/2 weeks ก็พอ
เราสามารถใช้หลักการเดียวกันนี้กับจำนวนพนักงานในครัวด้วย

คือวาดรูป Business Organisation Chart ออกมาต้องดูดี
ไม่ขี้เหร่เกินไป

เพราะตอนนี้ case officer จะเน้นมากเลยว่าทางร้านมีความจำเป็นที่จะต้องจ้างพนักงานในตำแหน่งนั้น ๆ ไม่ว่าจะเป็น restaurant manager, cook หรือว่า chef

Genuine need for a paid full-time position นั้นสำคัญจ๊ะ
เราก็ต้อง strategize กันนิดหนึง

ดังนั้นร้านไหนถ้ามีพนักงานที่เป็น casual ใส่มาเลยครับ เพราะเขาก็คือพนักงานเหมือนกัน

มันจะทำให้ Business Organisation Chart ดูดีมีราศรี

เพราะ Business Organisation Chart จริง ๆ แล้วมีเอาไว้ให้เราโชว์รายชื่อและตำแหน่งของพนักงานทุกคน ทุกตำแหน่ง ไม่ใช่แค่ตำแหน่งที่เป็น part-time หรือ full-time เท่านั้น

casual ก็ใส่มาได้

เดี๋ยวเรากับทีมงานจะจัดแจงให้เข้ารูปเอง
ตบ ๆ นิด ๆ 
แตะ ๆ หน่อย ๆ ก็ได้แล้ว

ดังนั้นใครที่จะทำวีซ่า subclass 482 TSS, subclass 186 ENS, subclass 187 RSMS และ subclass 494, ให้ใส่รายชื่อพนักงานและตำแหน่งมาให้หมดเลย

ที่เหลือเดี๋ยวเรากับทีมงานจะจัดการให้เอง

...เพราะรักจึงยอมทุกอย่าง...

Friday, April 24, 2020

เมื่อนายจ้างไม่จ่ายเงิน superannuation



"เมื่อนายจ้างไม่จ่ายเงิน superannuation"

กับช่วง Covid-19 แบบนี้
กับสถานการณ์ที่ทางรัฐบาลอนุญาติให้เราถอนเงิน super ได้แบบนี้

สำหรับคนที่ทำงานหามรุ่งหามค่ำ หาเช้ากินพรุ่งนี้ แต่นายจ้างไม่เคยจ่ายเงิน super ให้เราเลย เราจะทำยังไงดี

superannuation คือเงินประกันสังคมที่นายจ้างต้องจ่ายให้กับพนักงาน
9.5% on top of ค่าแรงปรกติ
พนักงานทุกคนที่มีรายได้มากกว่า $450 ต่อเดือน หรือ $112.50 ต่อ week จะต้องได้เงิน superannuation ตรงนี้

ก็อาจจะมีบ้างที่พนักงานหลาย ๆ คนทำงานด้วยวีซ่าอะไรก็ตามแต่
payslip อะไรทุกอย่างมีหมด
PAYG อะไรทุกอย่างมีหมด
แต่ตัวเงินจริง ๆ ไม่เคยเข้า superannuation ของเราเลย

payslip หรือ PAYG มันสามารถ generate เป็น PDF ได้จากพวก software MYOB, Xero หรือ Quickbooks จ๊ะ

หรือบางที่ก็เอาสด ๆ ดุ้น ๆ เลย
ทำมาจาก MS-Word ก็ไม่ผิดกฎหมายจ๊ะ
ขอให้เงินเข้าบัญชีพนักงาน
ขอให้เงินเข้า superannuation ของพนักงาน

ดังนั้นมันถึงไม่เแปลที่หลาย ๆ คนได้ PR จากวีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์; subclass 186 ENS, subclass 187 RSMS แต่อาจจะไม่เคยได้ superannuation เลยก็เป็นได้

พอทางรัฐบาลออกมาประกาศให้พวกเราสามารถถอนเงิน superannuation ได้งวดแรกก่อน 30 Jun 2020 และงวดที่ 2 เริ่ม 01 Jul 2020 หลาย ๆ คนก็จะค่อยเริ่มรู้สึกถึงความเจ็บปวด

แล้วพนักงานจะทำอะไร ยังไงได้บ้าง
ถ้าเราต่อล้อต่อเถียงกับนายจ้าง เดี๋ยวเขาก็จะหาว่าเรารู้ดีอีก

ก็รู้ดีจริง ๆ ไง
ก็ศึกษามาแล้ว :)

ไหน ๆ สำหรับคนที่ได้ PR มาแล้ว หรือบางคนที่ถือวีซ่าอะไรก็ตามแต่
สิ่งที่เราพึงสามารถทำได้คือ:

1. ไม่ต้องต่อล้อต่อเถึยงกับนายจ้าง นิ่ง ๆ เอาไว้ แต่วันใดก็เราเดินออกไปสวย ๆ จากที่ทำงานนี้ เราสามารถแจ้งไปที่ ATO, แล้ว ATO จะทวงเงิน superannuation ตรงนี้ให้เราเอง นายจ้างไม่ต้องจ่ายเงิน superannuation ให้เราจ๊ะ นายจ้างจะจ่ายให้กับ ATO แล้ว ATO ก็จะจ่ายเข้า superannuation ของเราอีกทีหนึ่ง

2. แตกหักไปเลยวันนี้ เดินออกมาสวย ๆ แล้วแจ้งเรื่องไปที่ ATO ตามข้อ 1 แต่ช่วง Covid-19 อาจจะหางานยากนะ

สุดท้ายแล้ว ใครจะเลือก option ไหน ก็ตามสบายจ๊ะ

ใครจะเลือก option 1, กด 1
ใครจะเลือก option 2, กด 2

หรือใครจะเลือก option 3 คืออยู่เฉย ๆ ก็ไม่เป็นไร
แต่ 9.5% ของค่าแรงเรา อยากรู้ว่าเป็นเงินเท่าไหร่ ให้เอา 9.5% (0.095) คูณด้วยค่าแรงของเราทั้งหมด แล้วเราทำกับเขามากี่ปีกี่เดือนแล้ว ก็ว่ากันไป

สร้างความร้าวฉาน คืองานของ "J" หรือเปล่า

Thursday, April 23, 2020

จะติดตาม หรือไม่ติดตาม


"สมสวย" กับ "สมหล่อ" เคยเป็นคู่รักกัน มุ๊งมิ๊ง พรุ๊งพริ๊ง แต่งงานจดทะเบียนสมรสกัน เคยรักกันหวานชื่น

ทั้งคู่ถือวีซ่านักเรียน
เลิกกันแล้ว แต่ยังไม่ได้หย่า (เรื่องปรกติของนักเรียนไทยที่นี่ ไม่รู้เป็นอะไรกัน ถ้าเลิกกันแล้วก็หย่า ๆ ไปเถอะ ตัดบัวอย่าให้เหลือเยื่อใย... P' J ใจร้าย)

สมสวยจะทำวีซ่าทำงานโดยที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ subclass 482 TSS หรือไม่ว่าจะวีซ่าตัวไหน ๆ ก็ตาม

สมสวยสามารถทำเรื่องได้เลยคนเดียว
ไม่ต้องมีสมหล่อเกาะติดตาม

สมสวยอยากรู้ว่าสมสวยต้องแจ้งอิมมิเกรชั่นหรือเปล่า

ไม่ต้องจ๊ะ
ไม่จำเป็น
สมสวยจะขอวีซ่าอะไรก็ตามแต่ (ยกเว้น Partner Visa, วีซ่าคู่รัก) สมสวยก็สามารถทำเรื่องหรือยื่นเรื่องได้เลยคนเดียวสวย ๆ ของน้องไป

ส่วนสมหล่อหละ

ก็ไม่รู้สิจ๊ะ
นั่นมันก็เป็นปัญหาของสมหล่อจ๊ะ
ไม่ใช่ปัญหาของสมสวย

โลกใบนี้ ไม่มีที่ให้ยืนสำหรับคนแพ้จ๊ะ
ไม่แกร่งก็หลบไป
สมหล่อก็ต้องหาวีซ่าอะไรของสมหล่อเอาเอง

ดูมันเหมือนช่างโหดร้ายน๊อ
นี่แหละสิ่งที่เขาเรียกว่า "ชีวิต"

International Student Support Package; South Australia


เฉพาะที่ South Australia เท่านั้น

นักเรียนต่างชาติที่เดือดร้อนจากเหตุการณ์ Covid-19 สามารถขอเงินช่วยเหลือรัฐบาลของ SA ได้

ตอนนี้ให้ลงชื่อเพื่อแจ้งความจำนงเอาไว้ก่อน

นักเรียนต่างชาติที่เรียนที่มหาวิทยาลัยของรัฐบาลทั้ง 3 แห่ง มีสิทธิ์ได้รับแน่นอน; Flinders University, University of Adelaide และ University of South Australia รวมไปถึงนักเรียนที่ลงเรียนภาษาอังกฤษที่เป็น package และเป็น pathway เพื่อเข้าเรียนในมหาวิทยาลัยทั้ง 3

ตอนนี้แค่ให้ลงชื่อเอาไว้เฉย ๆ กับ "Study Adelaide"

ส่วนลูกเมียน้อยที่ลงเรียนตามพวก private college ต่าง ๆ ก็สามารถลงทะเบียนได้ และทางเจ้าหน้าที่ก็จะ assess เป็น case-by-case ไป; $500 one-off payment

ส่วนนักเรียน primary school หรือ high school ที่อาศัยอยู่กับครอบครัว homestay ทางรัฐบาลก็จะจ่ายเงินให้กับ homestay เลยโดยตรง; $200

แต่... เอ่อ... ครอบครัวไหนที่มีเงินมากพอที่จะส่งลูกมาเรียน primary school หรือ high school ที่นี่ เขาจะขอเงินช่วยเหลืออยู่เหรอ (แอบคิดเสียงดัง)

ถ้าหากใครต้องการความช่วยเหลือแบบเร่งด่วน เรื่องที่อยู่อาศัย อาหาร การกินและเครื่องนุ่งห่ม ให้ติดต่อเจ้าหน้าที่เลยทันทีที่ email นี้ trainingadvocate@sa.gov.au

นักเรียนต่างชาติเฉพาะที่ South Australia เท่านั้น
สามารถลงทะเบียนขอความช่วยเหลือเอาไว้ได้ที่:
https://studyadelaide.com/issp

แล้วทางเจ้าหน้าที่จะติดต่อไป

Wednesday, April 22, 2020

Section 48 bar ไม่สามารถ waive ได้


ในช่วงของ Covid-19 แบบนี้ ที่ condition 8503 และ 8534 สามารถ waive ได้

คนที่ขอทำ waiver 8503 (Tourist Visa) และ 8534 (Student Visa) ก็สามารถยื่นวีซ่าอะไรต่าง ๆ นานา ภายในประเทศออสเตรเลียได้

นั่นคือ visa condition 8503 และ 8534
ที่สามารถ waive ได้

แต่ section 48 bar รวมไปถึง PIC4020 ไม่สามารถใช้เหตุผลของ Covid-19 ในการ waive ได้

section 48 bar คือ คนที่โดนวีซ่าปฏิเสธหรือถูกยกเลิกวีซ่าภายในประเทศออสเตรเลีย (visa refusal หรือ visa cancellation) จะโดน section 48 bar คือห้ามขอวีซ่าภายในประเทศออสเตรเลีย

ดังนั้นทุกคนที่ยื่นเรื่องอุทธรณ์อยู่ที่ศาลอุทธรณ์ AAT ทุกคนติด section 48 bar หมดเลย ไม่ว่า you จะถือ Bridging Visa A, B, C หรือ E ดังนั้น you ไม่สามารถยื่นเรื่องวีซ่าได้ภายในประเทศออสเตรเลีย

และทางรัฐบาลก็ไม่มีนโยบายจะทำเรื่อง waive ตรงนี้ให้

ทุกคนที่โดน section 48 bar จะต้องเดินทางออกไปยื่นวีซ่าข้างนอกหมด เป็น offshore

สำหรับ skilled migrant visa ไม่ว่า subclass 189, subclass 190 หรือ subclass 491 ที่ได้รับ EOI; Expression Of Interest ที่จะต้องยื่นเรื่องภายใน 60 วันนั้น ทางรัฐบาลจะขอร้องไปทางรัฐต่าง ๆ ว่าอย่าเพิ่งปล่อยเรื่อง nomination ของคนที่โดน section 48 bar ออกมา ก็แค่นั้นเอง

เพราะถ้าคนที่โดน section 48 bar แล้วต้องบินออกไปยื่นวีซ่า subclass 189, subclass 190 หรือ subclass 491 มันก็ทำไม่ได้อยู่ดี เพราะช่วงนี้การเดินทางก็ลำบาก บางรัฐ (SA) ก็มีการยืดหยุ่น รอให้เราสมัครได้หลัง 60 วัน น่ารักมาก รัฐอื่นเรายังไม่เห็นประกาศออกมา (อาจจะมีประกาศมาบางรัฐ แล้วเราไม่ได้ update ขอโทษด้วย... เหนื่อย)

ส่วนสำหรับวีซ่า subclass ตัวอื่น ๆ ไม่ว่าจะเป็น Partner Visa หรือวีซ่าอะไรก็ตามแต่ ถ้าเราติด section 48 bar เราต้องเดินทางออกไปยื่นเรื่องนอกประเทศเท่านั้น

ส่วน PIC4020 ก็ไม่ต้องพูดถึง เพราะ PIC4020 นั้นโดนแบน 3 ปีอยู่แล้ว สำหรับคนที่ใช้เอกสารปลอมหรือให้ข้อมูลผิดพลาด

PIC4020 ก็ไม่มีการลดหย่อนหรือ waive จ๊ะ
​no choice....

Saturday, April 18, 2020

Partner Visa; PR ภายใน 18 วัน


ตลอดระยะการทำงานของ "J Migration Team" 12 ปีที่ผ่านมา
เราก็ได้เจอะเจออะไรมาเยอะ
มีเรื่องราวแปลก ๆ มาเล่าสู่กันฟัง 
เรื่องราวดี ๆ ก็เยอะ
เรื่องราวที่โดนลูกค้าเอาเปรียบ ก็แยะ
ก็ได้แต่กล้ำกลืน แล้วก็ตัดพวกเขาออกไปจากชีวิต

ธรณีนี่นี้ เป็นพยาน
เราก็ศิษย์มีอาจารย์ หนึ่งบ้าง
เราผิดท่านประหาร เราชอบ
เราบ่ผิดท่านมล้าง ดาบนี้ คืนสนอง

แต่วันนี้เรามีเรื่องราวดี ๆ มาเล่าสู่กันฟังก็แล้วกัน

Case Partner Visa, stage 2 (PR) ของเรา
ยื่นเรื่องเข้าไป PR ผ่านภายใน 18 วัน
breaking our own record จริง ๆ 

เอกสารและ document list จึงสำคัญมาก
แต่ละ case แต่ละคู่รักแตกต่างกันออกไป
case ของเราไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร และใครก็ไม่จำเป็นต้องมาเหมือน

เตรียมเอกสารกันให้พร้อม
อ่าน email ของทีมงานทุกบรรทัด :)
ให้ความร่วมมือกับทีมงานเราอย่างจริงใจ
ข้ออ้างไม่เยอะ (หา JP เซ็น form 888 ไม่ได้, ไม่รู้จะเขียน relationship detail ยังไง, ไม่ได้ถ่ายรูปร่วมกัน...etc..etc..)
เอาเป็นว่า มีอะไรส่งมาก่อน ที่เหลือเราจะช่วยขัดเกลาให้เอง

เรากับทีมงานเรื่องเยอะหรือเปล่าเราไม่รู้
รู้แต่ว่าเราทำกันมา 12 ปีแล้ว และลูกค้าก็ได้ PR อย่างถูกต้อง
ลูกค้าไม่ต้องเสแสร้ง
ไม่ต้องสร้างเรื่อง
ไม่ต้องจัดฉาก
เพราะเรารับทำเฉพาะคู่ที่รักกันจริงเท่านั้น

พวกจ้างแต่ง
เพื่อนทำให้เพื่อน
ป้าทำหลาน
ญาติทำให้ญาติ 
เราไม่รับทำจ๊ะ
พวกเรากับทีมงานไม่มีความจำเป็นที่จะต้องทำอะไรแบบนั้น

เมื่อศีลเสมอ...
เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น

ใครจะเป็นรายต่อไป 
ยื่น Partner Visa, stage 2 ได้ PR ภายใน 18 วัน

Monday, April 13, 2020

Australian Permanent Resident: JobSeeker & JobKeeper


"PR: JobSeeker & JobKeeper"

ปรกติแล้ว PR ต้องรอ 2 ปีก่อนถึงจะขอสวัสดิการทางสัมคมผ่าน Centrelink หรือ https://my.gov.au/ ได้

แต่ช่วง Covid-19 ทางรัฐบาลก็มีการยืดหยุ่น สำหรับคนที่ได้ PR ไม่ถึง 2 ปีก็สามารถของเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลในครั้งนี้ได้

1. ถ้าตกงาน ก็ขอ JobSeeker ผ่าน https://my.gov.au/ $550/2 weeks
2. ถ้ามียังงานอยู่ ก็ขอ JobKeeper โดยนายจ้างต้องเป็นคนยื่นเรื่องไปที่ ATO; http://ato.gov.au ได้คนละ $1,500/2 weeks. Sole trader หรือ self-employed ก็สามารถขอได้เช่นเดียวกัน

3. ถอน superannuation ได้ ทำผ่าน https://my.gov.au/ สูงสุด $10,000 ต่อ financial year

เราจะสังเกตุเห็นตัวเลขที่แตกต่างระหว่าง JobSeeker กับ JobKeeper นะครับ

JobSeeker: $550/2 weeks
JobKeeper: $1,500/ 2 weeks

ทางรัฐบาลก็คงอยากจะให้พวกเรา ๆ ท่าน ๆ มีงานกันต่อไป เขาก็เลยให้เงิน JobKeeper มากกว่า

คนที่ขอ JobSeeker จะไม่ได้ JobKeeper
คนที่ขอ JobKeeper จะไม่ได้ JobSeeker
เราต้องเลือกเอาอย่างใดอย่างหนึ่ง

JobKeeper ลูกจ้างไม่ต้องทำอะไร นายจ้างจะเป็นคนเดินเรื่องให้ผ่าน ATO

นี่แหละข้อดีของการเป็น PR/Citizen ของที่นี่
สำหรับคนที่ลังเลอยู่ว่าจะทำเรื่องดีไหม
ก็แค่อยากจะบอกว่า ทุกวันเวลาที่ผ่านไป มันคือวันเวลาที่เสียไปจ๊ะ
เราเรียกวันเวลาเหล่านั้นกลับคืนมาไม่ได้
เราสมัครหรือขอ PR ไว เราก็ได้สวัสดิการเหล่านี้ไว

เอาเงินรัฐบาลมาใช้กันแล้ว
ก็อย่าลืมทำงานและเสียภาษีคืนเงินเหล่านี้ให้กับรัฐบาลด้วยนะครับ

ชีวิตคนเรา มันต้องมีทั้ง "ให้" และก็ "รับ" จ๊ะ
Give and Take.
เพราะหากไม่มีมดงาน ไม่มีคนเสียภาษี รัฐบาลก็คงไม่มีเงินมาหว่านโปรยแบบนี้

จะ อะไร ยังไงก็ตามแต่ เราเชื่อมั่นในการบริหารงานของรัฐบาลของประเทศออสเตรเลียจ๊ะ

เราจะผ่านช่วงเวลาเหล่านี้ไปได้ด้วยดี

...รัก...

Laugh as long as you breathe, love as long as you live!

Saturday, April 11, 2020

Subclass 186; submit ได้ใน 1 วัน

"Subclass186 ENS; submit ได้ใน 1 วัน"

พี่ "someone" จาก VIC ทักเข้ามาหาเรา

วีซ่าพี่เค๊าจะหมด 14 Apr 2020 วันอังคารหน้าจ๊ะ
อีกไม่กี่วัน และช่วงนี้ก็เป็น Easter break ด้วย
พี่เค๊าอกหักมาจากทนายความหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์ฝรั่งมาจากที่อื่น
ก็ไม่เป็นไรนะเดี๋ยวเรากับทีมงานจะช่วยดามใจให้

invoice ไป 8 Apr 2020
เงินมา 9 Apr 2020
ยื่นวันเดียวจบ 9 Apr 2020 เมื่อวานจ๊ะ
เงินเข้าบัญชีตอนเช้า เราก็ยื่นให้เลยประมาณเที่ยง ๆ
เงินซื้อเราได้ ถ้ามากพอ

หลังจากที่พี่ ๆ เค๊าเครียดนอนไม่หลับ กันมาหลายคืน
น้ำตาก็ร้องจนไม่รู้จะร้องยังไงแล้ว
เมื่อคืนพี่ ๆ เค๊านอนหลับแบบไม่เครียดอีกต่อไปแล้ว

เสียดายจัง เราน่าจะรู้จักกันเร็วกว่านี้
พบกันเมื่อสาย
พี่เค๊าหมดไปหลายหมื่นดอลล์อยู่นะ กับอีกบริษัทหนึ่ง ก็ไม่รู้ว่าได้เงินคืนมาเท่าไหร่

เอานะ เราไม่ว่ากัน แต่ละที่ทำงานไม่เหมือนกัน เราไม่ขอ comment การทำงานของที่อื่นก็แล้วกัน

ฟ้าหลังฝน
พี่ ๆ เค๊าก็ไม่ต้องเครียดเรื่องจะยื่นยังไงให้ทัน 14 Apr 2020 เพราะเหลือเวลาอีกแค่ไม่กี่วัน

ทีม "J" เราทีมอึดจ๊ะ
จัดการเสร็จภายใน 1 วัน ไม่ง่ายนะจ๊ะ ถ้าไม่อึดพอ
ต้องทีม "J" เท่านั้น เราทำได้

ทีมงานเรา Drop Everything แล้วมาช่วยพี่เค๊าก่อน ก่อนที่พี่เค๊าจะจมน้ำตาย

บอกแล้วไง เมื่อศีลเสมอ
เมื่อถึงเวลาอันควร
เมื่อไหร่ ก็เมื่อนั้น
เราก็คงจะได้ร่วมงานกัน

กับบ่าแค่ไม่กี่บ่าของพวกเราชาว "J"
พวกเราทำงานกันหนักกันจ๊ะ; 9am - 9pm
เราไม่อาจจะแบกคนได้ทั้งโลก
แต่เราก็ขอแบกเท่าที่เราแบกได้ก็แล้วกัน

ช่วง Easter เรากับทีมงานก็ยังทำงานกันตามปรกติ ยกเว้นวันอาทิตย์
ขอให้ค่ำคืนนี้เป็นอีกหนึ่งค่ำคืนที่ดี เหมือนเช่นทุก ๆ ค่ำคืนที่ผ่านมา
ขอให้พรุ่งนี้เป็นวันที่สุข สำเร็จ และสมหวังในทุกสิ่งที่ทุกคนเลือกทำ

Stay safe.
Stay calm.

Laugh as long as you breathe, love as long as you live!

10/04/2020





Thursday, April 9, 2020

Covid-19; Job Keeper


"Job Keeper; $1,500/fortnight"

ประกาศจากรัฐบาลวันนี้ 30 March 2020 ว่า นายจ้างที่ยังจ้างพนักงานอยู่ สามารถ claim "job keeper" benefit ได้จากรัฐบาล ผ่านระบบ ATO 

นายจ้าง claim ได้ $1,500/fortnight (2 weeks) ต่อคน
เป็นระยะเวลา 6 เดือน
ดังนั้นพนักงานก็อย่าเพิ่ง panic
นายจ้างก็อย่าเพิ่ง panic
อย่าเพิ่งปลดพนักงาน
นายจ้างสามารถ claim "job keeper" benefit ได้ทั้งตำแหน่งที่เป็น part-time, full-time รวมถึง permanent casual position และ sole trader.

part-time หรือ full-time ทำงานมาก่อน 01 March 2020
permanent casual ทำงานมาแล้ว 12 เดือนอย่างน้อย as of 1 March 2020

ทางนายจ้างเริ่มสามารถ claim ได้เลยจากวันนี้ ทันที
โปรดติดต่อ accountant ของท่าน

เงินช่วยเหลือจากรัฐบาลจะเริ่มจ่าย 1st week of May ผ่านระบบของ ATO แต่จะเริ่มคำนวณจากวันนี้เลย 30 March 2020

Note:
- พนักงาน (employee) หมายถึง PR/Citizen หรือ New Zealander ที่ถือ subclass 444 เราแนะนำให้นายจ้างติดต่อกับ accountant ของท่านเพื่อ clarify ข้อมูลเหล่านี้นะครับ หรือหากเราได้ข้อมูลที่ชัดเจน เราจะแจ้งให้ทราบอีกรอบ

Covid-19; subclass 457, subclass 482, subclass 186 and subclass 187


ประกาศ ณ วันที่ 04 Apr 2020

ในช่วง Covid-19 แบบนี้ ทางรัฐบาลก็ออกมายืดหยุ่นใหักับวีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ ดังต่อไปนี้นะครับ:

1. subclass 457, subclass 482 สามารถลด shift การทำงานได้ ไม่ต้องทำ full-time, ไม่ผิด visa condition ยังนับประสบการณ์ในการยื่น PR ได้ตามปรกติ; subclass 186, subclass 187

2. subclass 457, subclass 482 ที่มีการงดการว่าจ้างชั่วคราว ช่วงที่ร้านปิดไป ทางรัฐบาลก็จะยังนับประสบการณ์ให้ตามปรกติ ตอนขอ PR; subclass 186 หรือ subclass 187 ดังนั้นนายจ้างหลาย ๆ ที่ก็ไม่ต้องพยุงร้าน ทำ shift ให้พนักงานเพื่อรักษาสถานะภาพของพนักงานอีกต่อไป

3. subclass 457, subclass 482 สามารถถอนเงิน superannuation ได้ถึง $10,000.00 this financial year (ถึง 30 Jun 2020)

เพราะรักจึงบอกต่อ
เพราะรักจึงยอมทุกอย่าง
มีประโยชน์โปรดแชร์

update: 04 Apr 2020

Wednesday, April 8, 2020

ผลสอบภาษาอังกฤษ; 3 ปี


ก็อาจจะมีบ้างที่บางคนติวเข้มภาษาอังกฤษ นั่น นี่ โน่น

เพื่อเตรียมตัวขอวีซ่าอะไรหลาย ๆ อย่างในประเทศออสเตรเลีย

ก็อาจจะมีบ้างที่คุณสมบัติอย่างอื่นของเราไม่ครบ
อาจจะขาดนี่ไปนิด แหว่งนี้ไปหน่อย

ก็ไม่เป็นไรจ๊ะ
กับชีวิตที่ไม่มีความแน่นอน เราก็อาจจะต้องรออะไรไปนิด
ผลสอบภาษาอังกฤษสามารถเก็บเอาไว้ใช้กับอิมมิเกรชั่นได้ 3 ปี (ไม่ใช่ 2 ปีเหมือนดังที่หลาย ๆ คนคิด)

ดังนั้นเราก็ไม่ได้เหนื่อยฟรีหรอก
อย่างน้อยก็ได้ความรู้หละอะ

ทุกอย่างดีเสมอ
ทุกอย่างในชีวิตมีแต่ "ได้"
"ได้" เรียนรู้
"ได้" ฝึกฝน
"ได้" พยายาม
"ได้" รู้ตัวเราเองนั้นมีค่าพอ... because you worth it...

หากใครอยู่อ้อมกอดเราแล้ว เราจะเดินไปด้วยกันจ๊ะ
จับมือกันไปไม่ปล่อย
เราจะหาทางแก้ แก้กันไปทีละเปราะ

เหนื่อยได้
ท้อได้
พักได้
แต่อย่าหยุด

#love

#JMigrationTeam
#MARN0851174
ໃຫ້ຄໍາປຶກສາແລະຮັບເຮັດວີຊ່າອອສເຕເລຍທຸກຊະນິດ
オーストラリア全てのビザに対応します

Tuesday, April 7, 2020

Covid Visa; subclass 408


"Covid Visa; subclass 408"

เมื่อวาน 06 Apr 2020 ทางรัฐบาลได้มี legislation เรื่องวีซ่าออกมาเพื่อให้คนที่ปัญหาในการเดินทางออกนอกประเทศ

อาจจะด้วยเพราะการปิดประเทศ
อาจจะด้วยเพราะ flight cancellation

ดังนั้นรัฐบาลก็เลยออก legislation ออกมา ให้คนเหล่านั้นสามารถสมัครวีซ่า subclass 408 ได้

แต่อย่าเพิ่งดีใจกระดี๊กระด๊าไปจนเกินเหตุ
subclass 408 มันมีมานานแล้วจ๊ะ
มันคือพวก Temporary Activity

ปรกติคนที่ทำงานทางด้านศาสนา ที่จะขอวีซ่าตัวนี้กัน
หรือคนเลี้ยงลูกให้พวกนักการทูต อะไรประมาณนี้
โดยส่วนตัวแล้ว เราไม่ชอบวีซ่าพวกตระกูล subclass 40* ทั้งหลาย

ไม่ว่าจะเป็น subclass 403, subclass 407 (Training Visa) หรือ subclass 408 (Temporary Activity)

เพราะว่ามันมีหลายขั้นหลายตอน
คนทำก็ปวดหัว
และที่รัฐบาลออก legislation มาเมื่อวาน

นั่นมันก็ในส่วนของรัฐบาล
ว่าง ๆ ก็ออก legislation มา

แต่ในทางปฎิบัติจริง ๆ ระบบอะไรก็ยังไม่พร้อม
เราแอบย่องเข้าไปดูแล้วในระบบ ImmiAccount เมื่อวาน

subclass 408 มันมีหลาย stream หลายประเภทมาก ถึงมากที่สุด
เราถึงไม่ชอบทำไง

แล้วคนที่จะสมัคร subclass 408 เพราะปัญหาเรื่อง Covid-19 สรุปจะต้องสมัคร stream ไหน อะไร ยังไง มันไม่ชัดเจนสักอย่าง

เดี๋ยวรอให้เราศึกษาก่อนก็แล้วกัน
เดี๋ยวเราจะมา update ข้อมูลให้ที่หน้า page หรือ TimeLine
อย่าลืมติดตาม YouTube channel ของเราด้วย

ตอนนี้ทุกคนก็ไป dance "J-นุ่น-โบว์" รอไปก่อนละกัน

โดยส่วนตัวแล้ว ถ้าออกนอกประเทศไม่ได้
เพราะประเทศปิด
เพราะไม่มีตั๋วบินออก

เราว่าก็ยื่นวีซ่าท่องเที่ยวต่อไปก่อนสิ subclass 600 ซัก 6 เดือน
เราทำ facebook LIVE และ YouTube LIVE ไปแล้ว ไปลองไล่ดู

มันง่ายกว่ากันเยอะ
ชีวิตนี้มันวุ่นวายพอแล้ว
ทำอะไรง่าย ๆ พอ

ถ้าเราศึกษาดูแล้ว แล้วคิดว่าวีซ่า subclass 408 ตัวนี้ที่มีเอาไว้สำหรับ covid-19 มันมีค่ามากพอ เดี๋ยวเราจะมา update ให้

ถ้าเราเงียบไป ก็แสดงว่าอย่าเสียเวลาเลย
เอาเวลาไปทำอย่างอื่นเถอะ...

07 Apr 2020


Thursday, April 2, 2020

Cook PR; subclass 186 ENS ยื่นก่อนกฎเปลี่ยน 16 Nov 2019


ไม่ขอเอกสารเพิ่มอะไรใด ๆ ทั้งสิ้น
เพราะไม่จำเป็น... LOL; Lots Of Love

Cook
PR; subclass 186 ENS
ยื่นก่อนกฎเปลี่ยน 16 Nov 2019
เร่งกันเกือบตาย
ใช้ผลการเรียน 5 ปี แชร์วน ๆ ไป

สินค้าดี ใช้แล้วช่วยบอกต่อ

"J Migration Team" is our name, the service is our game.