Saturday, November 30, 2019

AAT; Administrative Appeals Tribunal


สิ่งควรรู้เกี่ยวกับ AAT; Administrative Appeals Tribunal

- AAT อีกชื่อหนึ่งก็คือศาลอุทธรณ์
- AAT คือหน่วยงานอิสระ ไม่ขึ้นตรงกับอิมมิเกรชั่น (Department of Home Affairs)
- AAT คือหน่วยงานราชการ

เมื่อ AAT คือหน่วยงานราชการ ระบบการทำงานก็จะเป็น Mon-Fri; 9am - 5pm

เรื่องและระยะเวลาในการรอคอยที่อิมมิเกรชั่นไม่เกี่ยวกับ AAT

ระยะเวลาในการรอคอยเรื่องที่ AAT ก็ต้องนับจากวันที่เรายื่นเรื่องเข้าไปที่ AAT ไม่เกี่ยวกับวันที่เรายื่นเรื่องไปที่อิมมิเกรชั่น

ทุกสิ่งอย่างที่ยื่นเข้าไปที่ AAT ทุกอย่างเริ่มนับเป็นศูนย์ เหมือนเริ่มใหม่หมดเลย

หลาย ๆ คนที่ยื่นเรื่องกันเองที่อิมมิเกรชั่นที่รอเรื่องก็นาน พอไม่ผ่านแล้วมายื่นเรื่องต่อที่ AAT, เราก็ต้องรอกันอีกที่ AAT เริ่มนับ 0 กันใหม่

AAT เขาก็มี process ในการทำงานของเขา เราก็จะไปเร่งเขาไม่ได้ ระบบราชการ Mon-Fri; 9am - 5pm

ถ้าอยากให้ AAT เร่งทำ case ให้เราเร็ว ๆ ก็ต้องบอกให้รัฐบาลจ้างพนักงานเข้าไปให้เยอะ ๆ ซึ่งค่าแรงของพนักงานเหล่านั้นก็ต้องมาจากภาษีของพวกเรานี่แหละ

ถ้าอยากให้รัฐบาลจ้างพนักงานที่ AAT เยอะ ๆ เราก็ต้องทำงานเยอะ ๆ เพื่อที่จะได้จ่ายภาษีเยอะ ๆ เพื่อที่จะให้รัฐบาลนำเอาเงินภาษีเหล่านี้ไปจ้างพนักงานเพิ่มอีกเยอ ๆ 

หากเรายังทำงานกับแบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ ไม่อยากเสียภาษีเยอะ เราก็ปล่อยให้ทุกอย่างเป็นไปตามกลไกของมัน

ไม่เร่งผล ไม่กังวล

เหรียญมี 3 ด้าน คนเรามักจะเลือกมองเฉพาะด้านที่เขาอยากจะมอง
ทุกสิ่งอย่างในชีวิต ไม่มีถูก ไม่มีผิด
เห็นอกเห็นใจซึ่งกันและกัน
เห็นอกเห็นใจคนทำงาน
ปล่อยให้พวกเขาเหล่านั้นทำงานไป
ถึงเวลาเรียก เขาจะเรียกเองแหละ... no choice เพราะคนสมัคร AAT เยอะมาก

1.5 - 2 ปี เป็นเรื่องปรกติจ๊ะ
อยากให้ทุกคนทำใจไว้นิด

ดำเนินชีวิตของเราต่อไปตามปรกติ
ไม่ต้องดิ้นให้มาก เดี๋ยวมันจะเป็นทุกข์

ทุกสิ่งอย่างในชีวิต มันมีเหตุและผลของมัน
ทุกสิ่งอย่างที่เกิดขึ้นในชีวิตเรา ไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
ลองมองอะไรหลาย ๆ อย่าง จากหลาย ๆ ด้านกันดู

ไม่ต้องเอา case ของเราไปเปรียบเทียบกันของคนอื่น
เพราะ case แต่ละ case ไม่เหมือนกัน
มันเป็น case-by-case basis จ๊ะ

เปิดใจให้กว้าง ใช้ชีวิตไปตามปรกติ 
update เอกสารตามที่เราบอก
แล้วชีวิตมันก็จะมีความสุข ความสุขมันอยู่ที่ใจจริง ๆ จ๊ะ

เราและ "Team J" ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคน
เราขอเป็นอีกหนึ่ง เป็นฟังเฟืองของชีวิตของทุกคนที่เข้ามาให้เราดูแล

Sunday, November 24, 2019

Subclass 494; Skilled Employer Sponsored Regional (Provisional) visa


Visa subclass 494 ที่เริ่มใช้เมื่อวันที่ 16 Nov 2019 เป็นต้นมา ก็คือ regional visa ตัวใหม่ที่หลาย ๆ คนกำลังให้ความสนใจ

จริง ๆ แล้วมันก็คือวีซ่า subclass 482 TSS, version สำหรับนายจ้างที่อยู่ที่ regional นี่แหละ

วีซ่า subclass 482 TSS และ วีซ่า subclass 494 มีหลาย ๆ อย่างที่คล้ายกัน

Regional เริ่มจากวันที่ 16 Nov 2019 คือทุกเมืองที่ไม่ใช่:
- Sydney
- Melbourne หรือ
- Brisbane

Postcode ของทุกเมืองที่ถือว่าอยู่ในเขต regional สามารถดูได้ที่

https://www.legislation.gov.au/Details/F2019L01446

Stage 1; Standard Business Sponsor (SBS) ของวีซ่า subclass 482 สามารถใช้ได้ร่วมกันกับของวีซ่า subclass 494 ไม่ต้องขอแยก ประหยัดตังค์ค่าสมัครไป $420

Stage 2; Nomination และ Stage 3; Visa application ระหว่าง subclass 482 และ subclass 494 ต้องขอแยกของใครของมัน

วีซ่า subclass 494:
- เป็นวีซ่า 5 ปี
- ขอ Medicare ได้
- เราต้องทำงานและอาศัยอยู่ในเขต regional อย่างน้อย 3 ปี
- เราสามารถย้ายเมืองได้ ขอให้เมืองนั้นอยู่ในเขต regional ทุกครั้งที่มีการย้ายที่อยู่ เราจะต้องแจ้งอิมมิเกรชั่นภายใน 14 วัน
- เราสามารถเปลี่ยนนายจ้างได้ ทุกครั้งที่เปลี่ยนนายจ้าง เราก็ต้องทำ nomination (stage 2) ใหม่ เหมือนกับ subclass 482 TSS แต่ข้อดีของวีซ่า subclass 494 คือ ตอนขอ PR (subclass 191) เราไม่ต้องให้นายจ้างสปอนเซอร์ เราสามารถขอ PR ได้เองเลย ดังนั้นการเปลี่ยนนายจ้างบ่อย ๆ ไม่ได้เป็นปัญหา ขอเพียงแค่เราทำงานและอาศัยอยู่ในเขต regional และทำงานมีรายได้อย่างน้อยปีละ $53,900 ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปี จากวีซ่าทั้งหมด 5 ปี
- อีกข้อดีของวีซ่า 494 และ 191 (PR) ก็คือ ถ้าเรามีแฟน ทำเรื่องติดตามกัน อย่างเช่น "ขวัญ" ทำเรื่องติดตาม "เรียม" แล้วอยู่มาวันหนึ่งขวัญกับเรียมแยกทางกัน ขวัญซึ่งแต่ก่อนเคยทำเรื่องติดตามเรียมก็ยังสามารถขอ PR; subclass 191 ได้ด้วยตัวของขวัญเอง ถ้าขวัญมีคุณสมบัติครบคืออาศัยและทำงานอยู่ในเขต regional อย่างน้อย 3 ปี และมีรายได้ $53,900 ต่อปี  ดังนั้นขวัญจึงไม่จำเป็นต้องติดตามเรียมตลอดไป
- subclass 494 ไม่ต้องทำเรื่องผ่าน RCB; Regional Certifying Body เหมือน subclass 187 RSMS Direct Entry

แอบกระซิบข้าง ๆ หู:
ขวัญสามารถเปิดบริษัทแล้วจ้างตัวเองได้

คุณสมบัติหลัก ๆ ของคนสมัครคือ:
- มีนายจ้างสปอนเซอร์ นายจ้างต้องอยู่ในเขต regional (ธุริกิจใหม่ เปิดไม่ถึง 12 เดือนก็สามารถสปอนเซอร์ได้)
- คนที่ถือ Bridging Visa A, B หรือ C สามารถสมัครได้ ถ้าไม่โดน section 48 (Bridging Visa E ไม่สามารถสมัครได้)- อายุต่ำกว่า 45 ปี ณ วันที่สมัคร
- มีประสบการณ์ในการทำงานในสาขาอาชีพนั้น อย่างน้อย 3 ปี full-time ใครประสบการณ์ไม่ถึง ก็ทำวีซ่า subclass 482 ไปก่อนได้ ประสบการณ์ไม่ได้บอกว่าต้องเป็นประสบการณ์หลังจากเรียนจบเท่านั้น ดังนั้นประสบการณ์ช่วงที่เป็น part-time ก็นับเอามารวมได้ แต่ก็นับได้แค่ครึ่งเดียวเพราะเป็น part-time (2 years part-time - 1 year full-time)
- IELTS (general) 6 each band หรือเทียบเท่าพวก PTE Academic 50 each band, TOEFL iBT listing 12, reading 13, writing 21, speaking 18
- ไม่สามารถใช้ผลการเรียน 5 ปีแทนผลการสอบภาษาอังกฤษได้ (ไม่เหมือนวีซ่า subclass 482)
- ต้องทำ Skill Assessment, skill assessment expire ภายในระยะเวลา 3 ปี 
- สำหรับคนที่ถือ subclass 457 หรือ subclass 482 อยู่แล้ว ไม่ต้องทำ Skill Assessment, แต่ case officer มีสิทธิ์เรียกให้เราทำ Skill Assessment ได้
- Skill Assessment ของวีซ่า subclass 485 ไม่สามารถนำเอามาใช้ได้กับวีซ่า subclass 494 ได้


สาขาอาชีพที่สามารถขอวีซ่า subclass 494 ได้มีดังต่อไปนี้:

https://www.legislation.gov.au/Details/F2019L01403  

หน่วยงานที่ทำ skill assessment ของแต่ละสาขาอาชีพคือ:

https://www.legislation.gov.au/Details/F2019L01405


ในส่วนของ Skill Assessment เราแนะนำให้ทุกคนเตรียมตัวไว้เลยจะดีกว่า ตอนนี้ "J Migration Team" เรามีทีมงานเพื่อทำ skill assessment โดยตรง เราทำเฉพาะของ VETASSESS และ TRA, ติดต่อเข้ามาได้ครับ

ข้อมูลโดยตรงจาก legislation; พระราชบัญญัติ และ Migration Regulations 1994, Schedule 2

P' J เขียนเองทุกตัวอักษร

มีประโยชน์โปรดแชร์

Saturday, November 23, 2019

Subclass 482; Chef ประสบการณ์ทำงานในระหว่างที่เรียน


Another success story to be shared.
อีกหนึ่งของความสำเร็จที่เราอยากเล่าสู่กันฟัง

กับชีวิตของใครหลายคน ที่บอกว่า "ทางร้านมีทนายอยู่แล้ว" ส่ง resume ไปให้ทนายของทางร้านดูแล้ว เขาบอกว่าทำไม่ได้ เพราะว่าประสบการณ์การทำงานไม่ครบ 2 ปีหลังจากที่เรียนจบ

น้องส่ง resume มาให้ P' J ดู
P' J บอกว่า "ทำได้ครับ ประสบการ์ในระหว่างที่เรียนก็สามารถทำได้ เพราะว่าน้องทำงานใน level ของสาขาอาชีพนั้น" 

ใน resume ของน้อง น้องบอกว่าน้องทำงานเป็น "chef" ในระหว่างที่เรียน Cert IV Commercial Cookery และ Diploma of Hospitality

น้องมีจดหมายรับรองจากนายจ้างว่าน้องทำงานเป็น "chef" ที่ร้าน ๆ นั้น

P' J มีตัวอย่างจะหมายรับรองให้ เอาไปเปลี่ยนแค่ชื่อและที่อยู่ก็ใช้ได้เลย
เรามีให้หมดแทบทุกอย่าง

ถ้ามาหาเรา ทุกสิ่งอย่างคือ "one-stop shop"

น้องเรียนจบ:


Certificate IV in Commercial Cookery
Diploma of Hospitality
Advanced Diploma of Hospitality


จริง ๆ แล้ว Chef ต้องการวุฒิการศึกษาแค่ Diploma ก็พอ ไม่จำเป็นต้องเรียนถึง Advanced Diploma ก็ได้ เสียดายตังค์

ประสบการณ์ในการทำงานของน้องในระหว่างที่เรียน:

25 January 2017 - current; ร้านไทย"xyz" เป็น part-time chef กะกลางคืน

28 November 2017 - current; Cafe ร้านฝรั่ง "abc" เป็น part-time chef กะกลางวัน

1 February 2017– 30 July 2018; Cafe ร้านฝรั่ง "abc2" เป็น part-time cook

4 May 2015 – 31 December 2016: Cafe ร้านฝรั่ง "abc3" เป็น part-time cook 

จะสังเกตุว่าน้องเพิ่งทำงานเป็น chef  แค่เริ่มจาก 25 Jan 2017 เท่านั้น แต่ก่อนหน้านั้นทำงานเป็น cook มาโดยตลอดเลย

ตำแหน่งงานของ cook กับ chef ไม่เหมือนกัน โปรดแยกกันให้ออก

มันจะมี job description ที่แตกต่าง

สำหรับ case นี้ P' J เลือกที่จะใส่ประสบการณ์ในการทำงานทางด้าน cook เข้าไปด้วย ถึงแม้มันจะเป็นคนละตำแหน่ง แต่มันก็เป็นสายงานที่ใกล้เคียงกัน, closely related

resume ที่น้อง ๆ ส่งมาทุกคน ทุก case, P' J ขัดเกลาให้หมดทุกคน ด้วยมือของ P' J เอง (เหนื่อยนะ เยอะนะ)

ดังนั้นให้ส่งมาเป็น MS-Word นะครับ อย่าส่งมาเป็น PDF

จากที่ทนายของทางร้านบอกว่า "ทำไม่ได้"
ตอนนี้วีซ่าของน้องผ่านแล้วครับ subclass 482, ตำแหน่ง chef
ได้มา 4 ปี

เรายื่น case ให้น้อง 12 Nov 2019
วีซ่าน้องผ่าน 21 Nov 2019
7 วันทำการ ไม่นับเสาร์-อาทิตย์

น้องทำงานกับนายจ้างปัจจุบัน full-time ต่ออีก 3 ปีภายใต้วีซ่า subclass 482 TSS น้องก็สามารถขอ PR ได้ด้วยวีซ่า subclass 186 ENS ได้เลย

ขอบคุณน้องที่เลือกใช้บริการของ "ทีม J" 
น้องอยู่ไกลถึง QLD ก็ยังอุตส่าห์เลือกที่จะใช้บริการของเรา
จะอยู่ที่ไหน ๆ ก็ใช้บริการของเราได้จ๊ะ
เอกสารส่งทาง email และเราก็มี face-to-face consultaiton ไปตามเมืองใหญ่ต่าง ๆ 
ต่างรัฐทุก ๆ 3 เดือน วน ๆ ไปอยู่แล้ว

ขอบคุณ baked cheesecake ที่น้องแวะเอาเข้ามาให้ตอนที่ P' J ไปทำงานที่ Brisbane office

ซื้อของครั้งต่อไป ไม่รับถุงพลาสติก ไม่รับถุงกระดาษนะครับ
เอาถุงผ้าไปเอง

P' J งดอาหารหวานและน้ำตาล แอบชิมไป 1 ชิ้น ที่เหลือก็ตกแก่พนักงาน reception จ๊ะ

จริง ๆ แล้วไม่ซื้อ ไม่ถืออะไรเข้ามาให้ก็ได้
แค่เลือกใช้บริการของเรา เราก็รู้สึกซาบซึ้งแล้ว

Brisbane + Gold Coast เดี๋ยวเจอกัน Feb/Mar 2020 
จัดตารางได้เมื่อไหร่ เดี๋ยวเราจะแจ้งหน้า page และ TimeLINE

ข้างล่างขอนี้พูดรวม ๆ ไม่ได้เกี่ยวอะไรกับ case นี้

กับบางที ที่ทนายของทางร้านบอกว่า "ทำไม่ได้"
ก็ลองหา second opinion กันดูบ้างนะครับ
แต่ละคน specialise แตกต่างกันออกไป

อย่ายึดติดอยู่แค่ที่ว่า อ๋อ ทนายคนนี้มีเอกสารของทางร้านหมด

เอ่อ เดี๋ยวก่อนนะหนู:
- ใบจดทะเบียนการค้า ทางทีมงาน P' J สามารถไป download มาจาก ASIC ได้จ๊ะ $17 
- สัญญาเช่า เจ้าของร้านก็ต้องมีอยู่แล้วป๊ะ ก็ส่ง email มาสิ มันไม่ได้ยากเลย
- ผลประกอบการ ยอดขาย นั่น นี่ โน่น เอกสารกับทนายของทางร้านที่มี มันก็คงเก่าไปแล้วหละ เพราะผลประกอบการ และยอดขายมันก็ต้องเอาของปัจจุบัน ก็ต้องขอใหม่จากเจ้าของร้าน หรือ accountant ของทางร้านอยู่ดี
- รูปถ่ายบริเวณร้าน มีโทรศัพท์มือถือกันอยู่ ก็ถ่ายแล้วก็ส่งมาสิ อย่าทำเรื่องง่ายให้กลายเป็นเรื่องยาก
- contract of employment, เดี๋ยว P' J draft ขึ้นมาให้ใหม่ เรามี template ของเราอยู่แล้ว

อย่ายึดติดอยู่กับอะไรเดิม ๆ เพียงเพราะว่า "ทนายคนนั้นมีเอกสารของทางร้านหมดแล้ว"

ลองเข้ามาสัมผัสกับเราดู
แข็งนอก อ่อนใน
เราอาจจะไม่ใช่บริษัทตามเมืองใหญ่
Wollongong ด้านหน้าติดทะเล ด้านหลังติดภูเขา
รถไม่ติดเหมือน Sydney
ไม่ rat race

ไม่สะดวกเดินทางมาหาเรา ไม่เป็นไร ก็รอเราไปทำ face-to-face ที่นั่น
หรือไม่ก็ติดต่อกันทาง inbox, email, LINE และ Twitter ง่ายและรวดเร็วที่สุด

ส่วนโทรศัพท์ เราไม่รับสายแปลก 
โปรด SMS เข้ามานัดเวลาก่อน
เบอร์นี้เบอร์เดียวจ๊ะ 0412470969  

สุดท้ายและท้ายที่สุด
P' J และทีมงานขอบคุณน้องที่ช่วย review ออกสื่อ
สินค้าดีใช้แล้วช่วยบอกต่อ

P' J และทีมงานกินคำชมเป็นอาหาร
คนไม่ขอบก็เยอะ เราก็จะปรับปรุงกันไป

ศึกษาข้อมูลจากคนที่มีหมายเลข MARN ที่ถูกต้องตามกฎหมายเท่านั้น

Pat ourselves on the back.
Celebrates small wins along the way.

Subclass 482; Restaurant Manager ประสบการณ์ทำงานในระหว่างที่เรียน


เมื่อปี 2017/2018 ก่อนที่ TSS subclass 482 จะมีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 18 March 2018 ตอนนั้นทางรัฐบาลก็มีนโยบายที่ต้องการให้คนสมัครวีซ่าทำงานโดยที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ subclass 482 ว่าจะต้องมีประสบการณ์ 2 ปีหลังจากที่เรียนจบเท่านั้น ถึงจะสามารถขอวีซ่า subclass 482 ได้

ซึ่งจะยากและแตกต่างจากตอนสมัยวีซ่า subclass 457 ตัวเดิมมาก

แต่พอวันที่ 18 March 2018 ที่มีการประกาศเริ่มใช้ subclass 482, กฎหมายหรือ legislation ก็ไม่ได้บอกว่าต้องเป็นประสบการณ์หลังจากที่เรียนจบเท่านั้น

ซึ่งแตกต่างจากประสบการณ์ที่เราใช้ในการนับ point ตอนทำ skilled migrant; subclass 491, subclass 190 และ subclass 189

วีซ่า subclass 482, กฏหมายบอกแค่ว่าคนสมัครต้องมีประสบการณ์ 2 ปี

กฎหมายบอกแค่นี้จริง ๆ นอกนั้นคือ policy คือนโยบาย ไม่ใช่กฎหมาย

นโยบาย (policy) กับ กฎหมาย (legislation) แตกต่างกัน เราต้องแยกกันให้ออก

policy บางตัวก็ขัดกับกฎหมาย ซึ่งเราก็สามารถเอาไปโต้แย้งที่ชั้นศาลของ AAT ได้ (ศาลอุทธรณ์)

ดังนั้นหลาย ๆ คนที่ทำงานอยู่ในตำแหน่งนั้น ๆ ในระหว่างที่เรียน เราก็สามารถเอาประสบการณ์ตรงนั้นมาขอวีซ่าทำงาน subclass 482 ได้ ไม่ต้องรอเอาประสบการณ์หลังเรียนจบ

ประสบการณ์ในระหว่างที่เรียนสามารถเอานำมาใช้ในการขอวีซ่าทำงานโดยที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ได้

เราเคยทำ facebook LIVE ไปแล้ว ลอง ๆ ไล่หาดูก็แล้วกัน
และเราก็ upload ขึ้น YouTube channel ของเราไปแล้ว
ก็อยากจะให้ทุกคนลองกลับย้อนไปดูได้ที่

https://youtu.be/dnqUFpdwrL8


นี่ก็เป็นอีกหนึ่ง case ของความสำเร็จของเราและทีมงานที่ยื่นเรื่องวีซ่า subclass 482 ให้น้องที่ QLD, ในตำแหน่ง restaurant manager โดยใช้ประสบการณ์ในระว่างที่น้องเรียน

น้องวีซ่าหมดวันที่ 13 Nov 2019
เรายื่นเรื่องให้น้อง 8 Nov 2019
วีซ่าน้องผ่านวันที่ 20 Nov 2019

เราขอให้น้อง 4  ปีไปเลย ไม่ต้องขอ 2 ปีเหมือนที่หลาย ๆ คนเข้าใจ ถึงแม้ restaurant manager จะอยู่ใน short-term list ก็ตามเถอะ กฎหมายหลาย ๆ อย่างมีข้อยกเว้น ถ้าเราศึกษาและหาที่ปรึกษาที่ดี

ประเทศไทยมี International Trade Agreement กับประเทศออสเตรเลีย ดังนั้นเราได้รับการยกเว้นในจุดนี้

ทนายความหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์ต่างชาติหลาย ๆ คนไม่รู้ข้อยกเว้นตรงจุดนี้ เพราะเราไม่ได้ dealing กับลูกค้าคนไทยมากนัก

เราสามารถขอวีซ่าได้ 4 ปีไปเลย ในส่วนของ short-term list

เอกสารหลัก ๆ ที่เราต้องใช้ก็คือการเขียน resume ที่ต้องบ่งบอกว่าประสบการณ์ที่เรามีในระหว่างที่เราเรียนนั้น อยู่ใน level หรือระดับสาขาอาชีพที่เรากำลังขอ

ถ้าเรากำลังทำเรื่องขอวีซ่า subclass 482 ในตำแหน่ง restaurant manager, ประสบการณ์ในการทำงานใน resume ก็ต้องเป็น "restaurant manager" ไม่ใช่ waitperson หรือเด็กเสริฟ อย่างนี้เป็นต้น

ดังนั้นการเขียน resume ก็สำคัญมาก
เราก็มี YouTube การเขียน resume ให้ด้วย
สามารถเข้าไปดูได้ที่

https://youtu.be/ckEx4AIg7cs


เอกสารหลัก ๆ ที่เราใช้ในการยื่นคือ:
- resume
- จดหมายรับรองงานจากนายจ้างว่าเราทำงานในตำแหน่งนั้นจริง "J Migration Team" มีตัวอย่างและ template ให้กับลูกค้าทุกคน และเราก็แจกฟรีผ่านหน้า page ไปแล้ว ลองไล่ ค้นหาดู

หลาย ๆ case ไม่ได้ใช้ PAYG หรือใบเสียภาษี
วีซ่า subclass 482 ส่วนมากจะไม่ใช้ PAYG (แล้วแต่ case officer)

แต่ PAYG ต้องใช้ตอนขอ PR; subclass 186 ENS หรือ subclass 187 RSMS นะครับ

ดังนั้น นักเรียนที่กำลังเรียนหนังสืออยู่ สามารถเอาประสบการณ์การทำงานในระหว่างที่เรียน นำเอามาใช้ในการขอวีซ่า subclass 482 ได้ case ส่วนมากที่เราทำก็จะเป็นแบบนี้กันหมด

ถ้าเผื่อใครพร้อมแล้ว
ทักมาเข้าได้ ไม่ว่าจะเป็นทาง inbox, email, LINE (@JMigrationTeam) หรือแม้แต่ WhatsApp หรือ Twitter (@jteam168)

ถ้ามีประสบการณ์พร้อมแล้ว ครบแล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องไปลงทะเบียนเรียนต่อ จ่ายค่าเทอมที่แพง ๆ อีกต่อไป

เก็บเงินค่าเทอม เอามาทำวีซ่าแล้วอยู่ต่อกันนาน ๆ จะดีกว่า จะได้มี pathway ไปเป็น PR เป็นคนที่นี่ด้วย

ไม่ว่าใครจะทำอะไร ยังไงก็ตามแต่
เราขอเอาใจช่วยทุกสิ่งอย่าง

ถ้าเป็นเรื่องกฎหมายอิมมิเกรชั่น ให้ศึกษาและปรึกษาจากคนที่มีหมายเลข MARN ที่สามารถให้ความรู้และคำปรึกษาอย่างถูกต้องตามกฎหมายของประเทศออสเตรเลียจะดีที่สุด

webpage และสื่อ online หลาย ๆ ที่
คนที่เขียน คนที่ post หรือแม้แต่คนที่ออกมาทำ facebook LIVE ให้ความรู้เรื่องวีซ่า เรื่องกฎหมายอิมมิเกรชั่น ถ้าท่านไม่มีหมายเลข MARN เรารู้ว่าท่านหวังดี แต่ท่านก็ไม่ควร "ข้ามเส้น"

ทุกคนที่เสพข้อมูลตามสื่อ โปรดใช้วิจารณญาณในการเสพ

ขอให้วันนี้เป็นอีกหนึ่งวันที่ดีเหมือนเช่นทุก ๆ วันที่ผ่านมา
ขอให้พรุ่งนี้เป็นวันที่สุขและสำเร็จในทุกสิ่งที่ชอบธรรม ที่ท่านเลือกทำ

ขอบคุณภาพสวย ๆ จากน้องลูกค้าที่ QLD ที่ส่งมาให้
เราส่งดอกไม้กันแทบทุกวัน เพราะมันคือความสุข ทั้งผู้ให้และผู้รับ

ททมาโน ปิโยโหติ
ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก

สุขที่สุด ณ จุดที่เป็น

P' J เขียนเองทุก post ทุกตัวอักษร
MARN: 0851174

Fri: 22/11/2019

Wednesday, November 20, 2019

วีซ่าขาด IELTS 7


ชีวิตคนเรา บางทีก็เหมือนเช่นดั่งละคร

หลาย ๆ คนมีความคิดความอ่านที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่คุณวุฒิและวัยวุฒิของแต่ละคน

ทุกคนมีต้นทุนชีวิต พื้นฐานการเลี้ยงดูที่แตกต่าง

หลาย ๆ คนขอวีซ่าท่องเที่ยวมา แล้วตั้งใจที่จะมาหนีวีซ่าตั้งแต่ก่อนมาแล้ว แบบนั้นเราไม่แนะนำ ชีวิตของคนที่หนีวีซ่า ที่ต้องคอยหลบ ๆ ซ่อน ๆ ผิดกฎหมาย มันไม่สนุกหรอก หากใครตอนนี้อยู่ที่เมืองไทย ก็ให้ลองคิดทบทวนใหม่

หลาย ๆ คนที่วีซ่าขาดที่ประเทศออสเตรเลีย ก็อาจจะเป็นเพราะโดนหลอกมา อาจจะเป็นเพราะความไม่รู้ และมันก็มีพวกนายหน้าก็ไปกว้านหลอกทำวีซ่าท่องเที่ยวให้ทั้งหมู่บ้าน ก็มี หลายคนหมดเงินไปหลายแสนบาท พอมาก็เลยต้องมาหลบ ๆ ซ่อน ๆ ทำงานเพื่อใช้หนี้สินที่ยืมมา ตอนทำวีซ่า

ตลอดระยะเวลาที่เราทำงานมา 10-11 ปี เราเห็นอะไรหลาย ๆ อย่างมาเยอะ

ทุกคนมีทางเลือกที่แตกต่าง
เลือกแบบไหน ได้แบบนั้น

บางกลุ่มก็อาจจะเป็นเด็กนักเรียน ที่มาอยู่ตามเมืองใหญ่แล้วเน้นทำงานมากกว่าเรียน เมื่อรายได้ที่มันยั่วยวนใจ เมื่อก้อนเงินก้อนรายได้มันมากกว่าการทำงานที่เมืองไทย หลาย ๆ คนเลือกเส้นทางของการทำงานเก็บตังค์ แทนที่จะไปเรียนเหมือนตามที่ขอวีซ่ามา

หลาย ๆ คนอาจจะหลงไหลในกลิ่นไอของเมืองนอก กลิ่นไอของเงิน AUD

อยู่ที่นี่ถ้าไม่ขี้เกียจ ยังไงก็ไม่อดตาย ค่าแรงที่นี่ ก็ดีกว่าที่เมืองไทย หลาย ๆ คนเลือกที่จะอยู่ต่อ อยู่เกินวีซ่าหลังจากที่วีซ่าหมด

ไม่ว่าใครจะเลือกแบบไหน อะไร ยังไงก็ตามแต่
ทุกสิ่งอย่างในชีวิตไม่ใช่เรื่องบังเอิญ
ทุกสิ่งอย่างในชีวิตมันมีเหตุและผลของมัน
เพราะฉะนั้น มันถึงเป็นเช่นฉะนี้

หากเราเลือกที่จะเดินทางเส้นไหน เราก็ต้องยอมรับผลที่มันจะตามมาให้ได้

ทุกสิ่งอย่างที่เรากระทำลงไป มันจะมี consequences ตามมาเสมอ

เราก็ต้องรับมันให้ได้

กับใครบางคนที่เขาวีซ่าขาด แล้ววันหนึ่งนึกอยากจะทำอะไรให้มันถูกต้อง นึกอยากจะหาที่ปรึกษา คอยชี้แนะ เราก็ยินดีช่วย บางคนเราก็เหมือนเป็นโค้ชส่วนตัวไปเลย เพราะดูแลกันมานาน และมีการวาง roadmap เรื่องวีซ่า ว่าแต่ละ step จะต้องทำอะไรบ้าง

การที่เราจะไปถึงเป้าหมายได้ เราก็ต้องออกเดินทาง
ถ้าหยุดหรือยืนอยู่กับที่ ชีวิตเราก็จะย่ำอยู่กับที่
การออกเดินทาง คือการลงมือทำ
เหนื่อยบ้าง ท้อบ้าง พักได้ แต่ไม่หยุด มันก็จะถึงจุดหมายปลายทางเอง

น้อง "someone" 2 คนนัดเข้ามาปรึกษาเรานานมาแล้ว น้องทั้ง 2 คนวีซ่าขาด อยู่แบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ มานานหลายปี

น้องไม่กล้าเดินทางไปไหน ไม่กล้าไปเที่ยว จะไปไหนมาไหนก็ไม่กล้า จนมาเจอเรา เราก็บอกน้องว่าจริง ๆ แล้วคนวีซ่าขาด มันก็สามารถทำอะไรได้หลายอย่างอยู่นะ

จะเดินทาง จะบิน flight domestic ก็ได้
จะเปิดบัญชีธนาคารก็ได้ และอะไรอีกหลาย ๆ อย่าง
ชีวิตของน้องทั้ง 2 เริ่มมีความหวัง น้องก็มีการออกเดินทาง เที่ยว นั่น นี่ โน่นบ้าง

ชีวิตของน้องทั้ง 2 เริ่มเปลี่ยนไปในทางที่ดีขึ้น

ด้วยวุฒิการศึกษาของน้องที่มีมาจากเมืองไทย น้องสามารถทำ Skilled Migrant ได้ เพราะน้องเรียนอยู่ในสาขาที่ทางรัฐบาลต้องการ แต่น้องก็ต้องนับ point ทำแต้มให้ได้

มีการศึกษาที่ดี มันก็เหมือนมีใบเบิกทาง นั่นก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกของน้อง แต่สาขาอาชีพของน้องที่เรียนมาจากเมืองไทย การทำ skill assessment ก็ยากมาก เพราะมี requirement ที่สูง แต่นั่นมันเป็นอีกทางเลือหนึ่ง ที่อยู่ใน plan A, B และก็ C ที่เราจัดวางเอาไว้ให้น้อง

น้องขอวีซ่าเพื่อที่จะไปเรียนและทำงานได้
2 คนสามารถทำงานได้ถูกต้องตามกฎหมาย ไม่ต้องหลบ ๆ ซ่อน ๆ
2 คนสามารถไปเรียนได้
เราก็ทำเรื่อง RPL ให้น้องเพื่อที่จะย่นระยะเวลาในการเรียน แล้วให้น้องใช้ RPL ตัวนั้นไปต่อยอดในการเรียน

น้องเลือกที่จะเรียนทางด้านสาย chef เพราะน้องทำงานในครัวมาโดยตลอด น้องทำงานที่ร้านฝรั่ง ไม่ใช่ร้านไทย

เราทำ RPL Cert IV Commercial Cookery ให้น้อง
และน้องก็เอาไปต่อยอดเพื่อไปเรียน Diploma of Hospitality Management

ชีวิตช่วงที่น้องทำงานด้วย เรียนไปด้วยก็ไม่ได้สบายมาก

เลิกงานที่ cafe 3pm-4pm ก็ต้องนั่งรถบัสไปเรียนต่อจนค่ำ

ตกดึกที่บ้านก็ต้องอ่านหนังสือเตรียมสอบภาษาอังกฤษ

ทุกช่วงของชีวิตน้องก็คอย update เราทาง inbox ตลอด

รู้สึกว่า IELTS ของน้อง แรก ๆ ที่สอบ สอบก่อนที่จะเริ่มอ่านหนังสือ เพื่อให้รู้ว่าตัวเองอยู่ในระดับไหน เราคิดว่าน้องได้ประมาณ IELTS overall 4.5 นะ (ถ้าจำไม่ผิด)

แต่น้องก็มีความเพียร ไม่ลดละ เรียนไปด้วย ทำงานไปด้วย ละก็ลงสอบติว PTE Academic ด้วย

น้องคุยหลังไมค์กับเราตลอด

หลาย ๆ ครั้งที่เราไปทำงานที่ Sydney น้องทั้ง 2 ก็จะขอนัดเวลาไปทานข้าวกัน

ปรกติเราเป็นคนไม่ทานข้าวกับลูกค้า ไม่ได้หยิ่ง แต่ไม่มีเวลา การที่จะให้เราไปนั่งทานอะไรนาน ๆ กับใคร เราทำไม่ค่อยได้หรอก เพราะเวลาเรามีจำกัด เพราะเป็นพวก "grab and go" รีบกินรีบเสร็จมากกว่า นั่งทานอะไรนาน ๆ คือทานกับคนในครอบครัวเท่านั้น

แต่สำหรับน้อง 2 คนนี้ รู้สึกว่าเราทานข้าวร่วมกันมาก็น่าจะ 4 ครั้งแล้วนะ เพราะบางทีช่วงวันหยุดที่วันไหนเราไปทำธุระในเมืองกับครอบครัวเรา เราก็ชวนน้องเขาออกมาทานอะไรด้วยกันด้วย

หรือบางทีเราไป Sydney ช่วงวันหยุด เราก็จะ post ที่ page ส่วนตัวของเรา น้องก็ทักเข้ามานัดทานข้าว แบบนี้ก็มี

เราดูแลกันอย่างใกล้ชิด แบบเสมือนโค้ชส่วนตัว เพราะเราคุยกันใน inbox เยอะมากและน้องก็เห็นการเคลื่อนไหวของเราตลอดจาก facebook page ส่วนตัว "John Paopeng เพราะฉะนั้น" เราก็เลยมีเรื่องคุยกันเยอะ

น้องเรียนจบ Diploma of Hospitality ทำงานเป็น Chef ที่ร้านอาหารฝรั่ง

ร้านก่อนหน้านี้ น้องเป็นคนทำงานในครัวคนเดียวที่มีวุฒิการศึกษา Cert IV Commercial Cookery + Diploma of Hospitality เจ้าของร้านก็เลยชอบเป็นพิเศษ เพราะทาง council มาตรวจ ทางร้านก็สามารถโชว์ได้ว่า คนที่ทำงานในครัวมีความรู้เรื่องอาหารและความสะอาดในครัว

ผ่านการตรวจสอบเรื่อง food health and safety

ทั้งร้าน พนักงานในครัวมีน้องคนเดียวที่มีการวุฒิการศึกษาทางด้านการทำอาหาร มี Diploma

ฝรั่งและพนักงานคนอื่น ๆ ไม่ได้จบอะไรมาเลย

เจ้าของร้านก็เลยเริ่มส่งคนงานอื่น ๆ ไปเรียนบ้าง และเลือกเอาน้องเป็น role model เป็นตัวอย่างที่ดีให้กับพนักงานคนอื่น ๆ

ที่น่าประทับใจก็คือ ร้านก่อนหน้านี้ที่น้องทำงาน ค่าแรงของน้องอยู่ที่ $59,*** ต่อปี ก็เกือบ ๆ $60,000 ต่อปี ขาดอยู่อีกไม่กี่ดอลล์

ซึ่งเราถือว่าเป็นค่าแรงที่สูงมากสำหรับคนทำงานในสาขาอาชีพนี้

สูงมากกว่าคนที่ทำงานเป็น chef หรือ cook ที่เขาขอวีซ่า subclass 457, subclass 482 หรือ subclass 186, subclass 187 อีก ที่เราทำวีซ่าทำงานให้กับหลาย ๆ คน หลาย ๆ case ที่ผ่านมา ร้านพวกนั้นก็จ้างกันอยู่ที่ $54,000 บ้างหละ $55,000 บ้างหละ ไม่ได้มากอะไรเลย

นี่คือคนที่ครั้งหนึ่งเป็นคนวีซ่าขาดมาก่อน เขาได้มีโอกาสไปเรียน เขาได้มีโอกาสได้ทำงานที่ถูกต้องตามกฏหมาย มีรายได้ $60,000 ต่อปี นั่นคือร้านเก่านะ

ตอนนี้น้องเปลี่ยนร้านทำงานแล้ว
รายได้อยู่ที่ $61,200 - $65,000 (มี overtime pay)

และแฟนของน้องก็ทำงานในสายอาชีพคล้าย ๆ กัน
มีรายได้อยู่ที่ $58,000 - $60,000 ต่อปี

2 คนรวมกัน ถือว่าเป็นรายได้ที่ดีมาก

และน้องทั้ง 2 ก็มีสวัสดิการทำงานที่ถูกต้องตามกฎหมายทุกอย่าง มี sick leave, มี holiday leave

นี่คือจากคนที่วีซ่าขาด แล้วเข้ามาให้เราวาง roadmap เส้นทางชีวิตและการขอวีซ่าให้

IELTS จากแต่ก่อนที่ได้แค่ 4.5 ตอนนี้น้องปั่นมาถึง 7 each band แล้ว

หลาย ๆ คนที่บอกว่าท้อ บอกว่ทำไม่ได้ แค่ 6 each band ก็ยากแล้ว

อะไรที่มันสำคัญกับชีวิตเรามากพอ เราจะจัดสรรห์เวลาให้มันได้เสมอ


น้องแบ่งเวลาในการอ่านหนังสือสอบ เตรียมตัวสอบ
จากคนที่วีซ่าขาด จากคนที่ได้ IELTS overall 4.5 ตอนนี้กลายเป็น IELTS each band 7 (general)

ทุกอย่างในชีวิต เราสร้างมันขึ้นมาได้ ด้วยสมองและสองมือที่มี

เราดีใจที่น้องทั้ง 2 ได้เดินทางมาถึงจุดนี้ได้

แต่มันก็ยังมี step ต่อไปที่เราจะต้องทำกัน
ส่วนเราจะทำอะไรกันต่อ ขอเก็บเอาไว้เป็นเรื่องราวของเรากับน้อง 2 คนก็แล้วกัน

แต่ละ case มันไม่เหมือนกัน
ไม่ได้หมายความว่าทุกคนจะต้องทำอะไรได้แบบนี้
ทุกสิ่งอย่างต้องดูปัจจัยอย่างอื่นด้วย

อย่างเช่นอายุ (ต่ำกว่า 45)
วุฒิการศึกษา
ผลภาษาอังกฤษ
และอื่น ๆ อีกมากมาย

แต่เราก็แค่อยากจะบอกว่า ทุกปัญหามีทางออก ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง


เป้าหมายของชีวิตและ goal in life ของแต่ละคนแตกต่างกันออกไป

มันก็แล้วแต่เราว่าเราอยากได้มันมากหรือเปล่า

แรงขับเคลื่อนของเรามีมากพอหรือเปล่า

สุดท้ายนี้ ชีวิตใครตอนนี้ไม่ว่าจะเป็นอะไร ยังไง ที่ไหนก็ตามแต่ เราขอเอาใจช่วยทุกสิ่งอย่าง

มีอะไรทักเข้ามาได้
เราไม่รับสายแปลก ถ้าจะโทรมา ให้ SMS เข้ามานัดเวลาก่อน
ถ้าจะให้ดี ติดต่อเราทาง inbox, email และ LINE จะดีที่สุด เดี๋ยวเราจะติดต่อกลับไปเอง

ขอให้วันนี้เป็นอีกหนึ่งวันที่ดีเหมือนเช่นทุก ๆ วันที่ผ่านมา
ขอให้พรุ่งนี้เป็นที่วันที่ดี ที่สุขและสำเร็จในสิ่งที่ทุกคนเลือกทำ

มีสติตั้งมั่น
มีสติกับสิ่งที่เราทำอยู่ ณ ปัจจุบัน

มีประโยชน์โปรดแชร์
ໃຫ້ຄໍາປຶກສາແລະຮັບເຮັດວີຊ່າອອສເຕເລຍທຸກຊະນິດ
オーストラリア全てのビザに対応します

Wednesday, November 6, 2019

Skilled Work Regional (Provisional) visa, subclass 491



Visa subclass 491; Skilled Work Regional (Provisional) visa คือ Skilled Migrant visa ที่เข้ามาแทนที่ visa subclass 489

เริ่ม 16 Nov 2019

เนื่องด้วย visa subclass 491 เป็น skilled migrant visa ที่สามารถขอได้เฉพาะในเขต regional ดังนั้นมันก็ยังมีความเหมือนของ visa subclass 489 อยู่

ไม่ว่าจะเป็นเรื่องอายุที่ต้องต่ำกว่า 45
หรือ IELTS general, 6 each band 

visa subclass 491 สามารถขอได้จากทุกเมือง ยกเว้น Sydney, Melbourne และก็ Brisbane

visa subclass 491 จะถูก manage โดยรัฐบาลท้องถิ่นในแต่ละรัฐ ซึ่งก็จะเหมือนกับ visa subclass 190

ดังนั้นสาขาอาชีพต่าง ๆ เราต้องเข้าไปดูแยกรัฐ ของใครของมัน
และแต่ละรัฐก็มี requirment ที่แตกต่าง

แต่ละรัฐสามารถปิด-เปิด ที่จะรับสมัครคนได้ตลอดเวลา

แต่ละรัฐสามารถเปิดรับคนตอนเช้า แล้วปิดได้ตอนบ่าย ถ้าคนสมัครเยอะแล้ว แบบนี้ก็สามารถทำได้ด้วยเช่นเดียวกัน

เนื่องด้วย visa subclass 491 เป็น skilled migrant เราก็ต้องมีการนับ point ให้ครบ 65 แต้ม เหมือนกันกับ subclass 189 & subclass 190

การนับ point แบบใหม่ที่มีการแบ่งแยกคนโสดกับไม่โสด ก็จะเริ่มใช้ 16 Nov 2019

การนับ point ก็ยังอ้างอิงจากการนับ point แบบเดิม ที่เปลี่ยนแปลงก็เรื่องของความโสดและไม่โสดของคนสมัคร และถ้าใครไม่โสด ถ้าอยากได้คะแนนเพิ่มจากแฟน แฟนก็ต้องทำ Skill Assessment ให้ผ่าน และสอบ IELTS general ให้ได้ 6 each band (Skill Assessment สาขาอาชีพอะไรก็ได้ที่อยู่ใน list, list ไหนก็ได้; 10 points) หรือไม่ก็ต้องสอบ IELTS general ให้ได้ 6 each band (5 points)

เดี๋ยวเราจะเขียน blog เรื่องการนับ point แบบใหม่ทีหลัง

blog อ้างอิงในการนับ point แบบเก่า: 


ข้อดีของ visa subclass 491 คือ เราจะได้วีซ่ามา 5 ปี
ถ้าเราทำงานและใช้ชีวิตอยู่ในเขต regional ครบ 3  ปีเมื่อไหร่ เราก็สามารถขอ PR ได้ ด้วย visa subclass 191

visa subclass 491 สามารถขอ Medicare ได้
visa subclass 491 ไม่ได้บังคับว่าเราต้องอยู่เมืองใดเมืองหนึ่งเป็นระยะเวลาติดต่อกัน 3 ปี เราสามารถย้ายเมืองได้ แต่ต้องแจ้งอิมมิเกรชั่นภายใน 14 วัน ทุกครั้งที่มีการย้ายเมือง เรายังคงต้องอยู่ในเขต regional, อยู่ที่ไหนก็ได้ ที่ไม่ใช่ Sydney, Melbourne หรือ Brisbane

ระยะเวลา 3 ปีใน 5 ปี เราต้องทำงานมีรายได้อย่างต่ำ $53,900 ต่อปี
ดังนั้นเวลาเราทำงาน ก็ต้องมีการจ่ายภาษี และลง superannuation ด้วย

ถ้าใครมีต้นทุนหน่อยก็เปิดบริษัทเอง แล้วจ้างตัวเองเป็นพนักงานก็ได้ (ชี้โพรงให้กระรอก)

ทุกคนที่มีที่อยู่ในประเทศออสเตรเลียสามารถเป็น director ของบริษัทในประเทศออสเตรเลียได้ ไม่จำเป็นต้องเป็น PR หรือ citizen

เราขอวีซ่า subclass 491 ด้วยสาขาอะไรก็ได้ที่อยู่ใน list
แต่เราไม่จำเป็นต้องทำงานในสาขาอาชีพนั้น ๆ 
ใครอยากไปทำงานล้างห้องน้ำ หรือ flip burger ที่ McDonald ก็ไม่ผิด แต่ต้องมีรายได้ $53,900 ต่อปี เป็นระยะเวลา 3 ปี ไม่ต้องต่อเนื่อง

ข้อดีของวีซ่า subclass 491 ก็คือ เราขอวีซ่า pack คู่ ร่วมกันกับแฟนได้
ถ้าเราเลิกกันกับแฟน วีซ่าเราจะไม่โดนยกเลิกหรือ cancle

เรากับแฟนเก่าสามารถถือวีซ่า subclass 491 แยกใครแยกมันได้ หลังจากที่เลิกกันแล้ว พอถึงเวลาขอ PR; subclass 191 เราก็สามารถขอแยกใครแยกมันได้

ดังนั้นใครจะเทใครก่อน ก็ไม่มีปัญหาอีกต่อไป
ไม่เหมือนวีซ่าตัวอื่น ๆ 
นี่แหละวีซ่ายุค 5G โลกมันเปลี่ยนไปแล้ว

ดังนั้นใครจะสมัคร pack คู่เริ่มมองหาคู่เอาไว้เลยก็แล้วกัน แต่อย่าลืมว่าถ้าคู่ของเราไม่มี skill assessment แต้มเราก็จะไม่มากพอเหมือนคนโสด

รัฐบาลต้องการคนที่มี skill มีความสามารถเท่านั้น
รัฐบาลต้องการ "The best and the brightest" ดังนั้น Skill Assessment ของแฟนหรือคู่สมรสจึงสำคัญมาก

"J Migration Team" เรามีทีมงานเพื่อทำ Skill Assessment ของ VETASSESS และ TRA; Trades Recognition Australia แล้ว 

JTeam พร้อมแล้ว แล้วคุณหละ พร้อมหรือยัง

สาขาอาชีพของวีซ่า subclass 491 สามารถแยกเข้าไปดูที่รัฐใครรัฐมัน ดังต่อไปนี้


Note: links อาจมีการเปลี่ยนแปลงตามกาลเวลา

เราขอให้ทุกคนโชคดี
ศึกษาหาข้อมูลจากบริษัทที่มี MARN อย่างถูกต้องเท่านั้น

Saturday, November 2, 2019

Skill Assessment; visa subclass 491, 190 & 189


Skilled Migrant ซึ่งตอนนี้ก็มี 3 subclass คือ
subclass 491 (เริ่ม 16 Nov 2019)
subclass 190 และ subclass 189

Skilled Migrant ชื่อมันก็บอกอยู่แล้ว
"Skilled" แปลว่าบุคคลผู้ซึ่งมีความรู้ความสามารถตามที่ทางรัฐบาลต้องการ

The best, and the brightest.

ดังนั้นการที่เราจะพิสูจน์ว่าเราเป็นบุคคลผู้ซึ่งมีความรู้ความสามารถ เราก็ต้องทำการพิสูจน์ด้วยการทำ Skill Assessment

ดังนั้น ทั้ง 3 subclasses; 491, 190 & 189 คนสมัครจะต้องทำ skill assessment จ๊ะ

blog นี้น่าจะตอบคำถามเรื่อง subclass 491 ที่หลาย ๆ ส่งคำถามมา อยากรู้ว่าจะต้องทำ skill assessment หรือเปล่า

แต่ละสาขาอาชีพก็จะมีหน่วยงานที่ทำ Skill Assessment ที่แตกต่างกันออกไป

ถ้าเป็นของ VETASSESS, J Migration Team ตอนนี้เราตั้งทีมงานขั้นมาใหม่เพื่อการนี้โดยตรงเลยจ๊ะ (ถ้าเป็นหน่วยงานอื่นที่ไม่ใช่ VETASSESS, ลูกค้าต้องทำมาเองจ๊ะ)

เราพร้อมแล้วกับการทำ Skill Assessment ของสาขาอาชีพต่าง ๆ แล้วคุณหละ พร้อมหรือยัง

Skilled Migrant; subclass 491, 190 & 189 เป็น 3 visa subclasses ที่ต้องนับ point ในการสมัคร

และวิธีการนับ point ก็กำลังจะเปลี่ยนไป 16 Nov 2019 นี้
เดี๋ยวเราจะทยอย update ให้เรื่อย ๆ 

Thursday, October 31, 2019

Regional; นิยามและคำจำกัดความที่เปลี่ยนไป 16 Nov 2019


สิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น วันที่ 16 Nov 2019
นิยามและคำจำกัดความที่เปลี่ยนไป

1. Major cities หรือเมืองใหญ่ ก็จะมีแค่ 3 เมืองหลักใหญ่ ๆ คือ Sydney, Melbourne, Brisbane

2. Major Regional Centres หรือ regional area แต่ก็ยังมีความเป็นเมืองอยู่บ้างเล็กน้อย แต่ก็ไม่ใช่เมืองใหญ่เหมือน 3 เมืองข้างบน (Sydney, Melbourne, BrisbaneMajor Regional Centres มีดังต่อไปนี้:
Perth
Adelaide
Gold Coast
Sunshine Coast Canberra Newcastle/Lake Macquarie
Wollongong/Illawarra Geelong
Hobart

Major Regional Centres พวกนี้สามารถขอวีซ่า subclass 491 และ subclass 494 ที่กำลังจะเริ่มใช้วันที่ 16 Nov 2019.

คนที่อาศัยหรือทำงานอยู่ที่ Major Regional Centres พวกนี้ด้วยวีซ่า subclass 491 หรือ subclass 494 สามารถขอ PR (subclass 191) ได้หลังจากนั้น หลังจากที่ถือ subclass 491 หรือ subclass 494 มาอย่างน้อยเป็นเวลา 3 ปี (ภายใน 5 ปี)

คนที่ขอวีซ่า subclass 485 ถ้าเป็นนักเรียนในระดับมหาวิทยาลัยและเรียนใน Major Regional Centres เหล่านี้ จะได้สามารถขอ 485 เพิ่มได้อีก 1 ปี

สำหรับคนที่เรียน ป.ตรี หรือ ป.โท ก็จะขอ subclass 485 ได้ 3 ปี จากแต่ก่อนขอได้แค่ 2 ปี (PhD เราไม่แน่ใจ เดี๋ยวจะ confirm ให้อีกที)

3. Regional Areas อื่น ๆ ก็คือเมืองที่อยู่รอบนอก ที่ไม่ใช่เมืองใหญ่ในข้อ 1 และไม่ใช่ Major Regional Centres ในข้อ 2

เมืองพวกนี้ก็จะเป็นเมืองที่มีประชากรน้อย

Regional Areas พวกนี้สามารถขอวีซ่า subclass 491 และ subclass 494 ที่กำลังจะเริ่มใช้วันที่ 16 Nov 2019.

คนที่อาศัยหรือทำงานอยู่ที่ Regional Areas พวกนี้ด้วยวีซ่า subclass 491 หรือ subclass 494 สามารถขอ PR (subclass 191) ได้หลังจากนั้น หลังจากที่ถือ subclass 491 หรือ subclass 494 มาอย่างน้อยเป็นเวลา 3 ปี (ภายใน 5 ปี)

คนที่ขอวีซ่า subclass 485 ถ้าเป็นนักเรียนในระดับมหาวิทยาลัยและเรียนใน Regional Areas เหล่านี้ จะได้สามารถขอ 485 เพิ่มได้อีก 2 ปี

สำหรับคนที่เรียน ป.ตรี หรือ ป.โท ก็จะขอ subclass 485 ได้ 3 ปี จากแต่ก่อนขอได้แค่ 4 ปี (PhD เราไม่แน่ใจ เดี๋ยวจะ confirm ให้อีกที)

Regional Areas พวกนี้ก็จะค่อย ๆ ทยอยมี DAMA ของใครมันออก ทุก DAMA จะมี occupation list และ requirement ที่แตกต่าง

วีซ่า subclass 491 และ subclass 494 คือ:

1. Skilled Work Regional (Provisional) visa, subclass 491. ตัวนี้ก็จะเข้ามาแทนวีซ่า subclass 489. ซึ่งก็จะเป็น skilled migrant ที่ญาติในเขต regional หรือ รัฐบาลท้องถิ่นในเขต regional ที่สามารถสปอนเซอร์เราได้

2. Skilled Employer Sponsored Regional (Provisional) visa, subclass 494. ตัวนี้จะเข้ามาแทนที่วีซ่า subclass 187. วีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์

วีซ่า subclass 491 & 494 จะเป็นวีซ่า 5 ปี
เราถือ 3 ปี แล้วก็จะขอ PR (subclass 191) ได้

วีซ่า subclass 491 & 494 สามารถขอ Medicare ได้เลยทันที ไม่ต้องรอจนถึง subclass 191 แล้วค่อยขอ Medicare

Regional visas; subclass 491 & subclass 494, 16 Nov 2019



16 Nov 2019 นี้ จะมี 2 visa subclass ใหม่คือ วีซ่า subclass 491 และ subclass 494.

1. Skilled Work Regional (Provisional) visa, subclass 491. ตัวนี้ก็จะเข้ามาแทนวีซ่า subclass 489. ซึ่งก็จะเป็น skilled migrant ที่ญาติในเขต regional หรือ รัฐบาลท้องถิ่นในเขต regional ที่สามารถสปอนเซอร์เราได้

2. Skilled Employer Sponsored Regional (Provisional) visa, subclass 494. ตัวนี้จะเข้ามาแทนที่วีซ่า subclass 187. วีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์

วีซ่า subclass 491 & 494 จะเป็นวีซ่า 5 ปี
เราถือ 3 ปี แล้วก็จะขอ PR (subclass 191) ได้
subclass 191 จะเริ่ม 16 Nov 2022

วีซ่า subclass 491 & 494 สามารถขอ Medicare ได้เลยทันที ไม่ต้องรอจนถึง subclass 191 แล้วค่อยขอ Medicare

วีซ่า subclass 191 ตอนที่เราขอ PR, เราสามารถขอ PR ได้เลย ไม่ต้องให้นายจ้างสปอนเซอร์ ซึ่งจะแตกต่างจากวีซ่า subclass 186 ENS และ subclass 187 RSMS

ดังนั้นคนที่ถือวีซ่า subclass 494 ที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ ถ้าเราทำงานให้กับเขาครบ 3 ปี เราก็สามารถขอ PR (subclass 191) ได้เองเลย ไม่ต้องให้นายจ้างสปอนเซอร์อีกต่อไป ไม่ต้องเล่นแง่เล่นงอน ไม่ต้องง้อใครอีกต่อไป เลิกเป็นลูกไก่ในกำมือ ซึ่งจะแตกต่างจาก subclass 186 และ subclass 187 มาก

วีซ่า subclass 494 ก็จะเหมือน ๆ กับวีซ่า subclass 482 TSS แต่จะเป็น version สำหรับ regional area

ข้อดีของวีซ่า subclass 494 คือ เราจะได้มา 5 ปี และเราก็ทำงานในเขต regional areas แค่ 3 ปีก็พอ เราก็ทำงานเก็บสะสมเวลาให้ครบ 3 ปี แล้วก็ขอ PR (subclass 191) ได้เลย

ตอนขอ PR, subclass 191 เราก็ขอ PR ได้เลย ไม่ต้องไปวุ่นวายกับนายจ้างอีกต่อไป

ทั้ง subclass 491 & 494 ตอนขอ PR (subclass 191) เราไม่ต้องไปวุ่นวายกับนายจ้างเลยจ๊ะ a big big plus!!!

Friday, October 11, 2019

Bridging Visa B; paper-based application form


Bridging Visa B คือ Bridging Visa ที่ใช้สำหรับเดินทางออกนอกประเทศ

คนที่สามารถขอ Bridging Visa B ได้ จะต้องถือ Briding Visa A เท่านั้น

คนที่ถือ Bridging Visa C หรือ Bridging Visa E ไม่สามารถขอ Bridging Visa B ได้ ดังนั้นจึงไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ ออกได้แต่กลับเข้ามาไม่ได้

Bridging Visa B สามารถขอได้ online เฉพาะคนที่ยืนเรื่องขอวีซ่า online ผ่านระบบ ImmiAccount เท่านั้น

ก็อาจจะมีบางคนที่ยื่นเรื่องขอวีซ่าโดยใช้ paper-based application form หรือบางคนก็ถือ Bridging Visa A จาก AAT

ถ้าใครที่ถือ Bridging Visa A เพราะเรามี case อยู่ที่ AAT, เราจะไม่สามารถขอ Bridging Visa B ผ่านระบบ online ได้

เราต้องขอ Bridging Via B เป็นแบบ paper-based application form เท่านั้น โดยใช้ form 1006

เดือนนี้ลูกค้าของ J Migration Team ที่ต้องขอ Briding Visa B ด้วย paper-based application form (1006) เยอะมาก หลาย ๆ คนต้องเดินทางออกไปเพื่อยื่นเรื่อง offshore

สิ่งที่เราอยากจะบอกก็คือ:

1. รู้สึกว่าระบบ email ของ Bridging Visa B แบบ paper-based application ของอิมมิเกรชั่นจะมีปัญหา เพราะเราไม่ได้รับ email จากอิมมิเกรชั่นเลย ทั้ง ๆ ที่ Bridging Visa B ออกแล้ว (ไม่เกี่ยวกับคนที่สามารถยื่น Bridging Visa B online ได้ ผ่าน ImmiAccount)

2. ดังนั้นเราแนะนำลูกค้าของเราทุกคนที่ยื่น Bridging Visa B แบบ paper-based application ให้เช็ค VEVO ของตัวเองตลอด ว่า Bridging Visa B ออกหรือยัง. MyVEVO App สามารถ download ได้จาก GooglePlay หรือ AppStore

3. ปรกติ Bridging Visa B จะออกภายใน 1 วันหลังจากที่ทางอิมมิเกรชั่นได้รับฟอร์มแล้ว ดังนั้นเราก็ต้องกะเอาเองว่าเรายื่นฟอร์มวันไหน แล้วมันจะถึงอิมมิเกรชั่นวันไหน แล้วบวกไปอีก 1 วัน Bridging Visa B ก็น่าจะออกแล้ว

จะอะไรยังไงก็ตามแต่ เราไม่ควรซื้อตั๋วเครื่องบินไว้ล่วงหน้า ไม่ว่าจะตั๋วถูกหรือตั๋วแพงก็ตาม เราควรรอให้ Bridging Visa B ออกเสียก่อน แล้วค่อยซื้อตั๋ว หลาย ๆ คนที่ซื้อตั๋วก่อนแล้วมาเร่งเรากับทีมงาน ซึ่งเราก็พยายามทำอย่างเร็วที่สุดแล้ว เราก็คิดว่ามันไม่แฟร์ที่เรากับทีมงานโดนถามเรื่อง Bridging Visa B ทุก ๆ 30 นาที

เรื่องราวความสัมพันธ์


Partner Visa ทุก case ของ "J Migration Team"
P' J เป็นคนอ่านเอง ขัดเกลาเอง ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ

สำหรับคนที่เขียนเรื่องราวความสัมพันธ์มานะครับ
มันต้องละเอียด
อ่านแล้ว หลับตามองเห็นภาพ
ใครจีบใครก่อน ใครบอกรักใครก่อน

ฉันรักเธอ
เธอรักฉัน
เรารักกัน
ซู่ซ่า ซู่ซ่า

อ่านแล้ว มองเห็นภาพเป็นฉาก ๆ เหมือนในหนัง

เขียนมาเยอะ ๆ ยิ่งยาว ยิ่งละเอีดยิ่งดี
P' J อ่านเองทุกตัวอักษร ตรวจการบ้านทุกบรรทัด

P' J มีความสุขในการอ่านและขัดเกลาเรื่องราวพวกนี้จ๊ะ คิดว่าน่าจะเขียนออกเป็นหนังสือขายได้หลายเล่มเลยแหละ

ขอบคุณ Partner Visa ทุกคู่ที่เลือกใช้ "J Migration Team"

เพราะเรานั้นคู่กัน

จะชาติไหน ๆ มิยอมห่างไกลกัน ดวงจิตพูกพัน รักนั้นมีไว้เพียงเธอ
เธอเอย แม้เราห่างกันแสนไกล
คนใด ดวงใจฉันไม่เคยสน
ให้เรามาได้เจอกัน
ฉันและเธอพบกันร่วมสุขสมดังรอคอย

Monday, September 30, 2019

ผลการเรียน 5 ปี กฎเปลี่ยนหรือเปล่า เราไม่สน ดูกันให้ออกระหว่างกฎหมายกับนโยบาย


ได้ PR กันไปวันนี้ 30 Sep 2019, สด ๆ ร้อน ๆ 

กฎเปลี่ยนเรื่องการใช้ผลการเรียน 5 ปีสำหรับวีซ่า subclass 186 และ 187 จริงหรือเปล่าเราไม่ขอ comment

รู้แต่ว่า legislation หรือตัวกฎหมายมันยังไม่เปลี่ยน โปรดอ่าน blog ของเราวันที่ 10 Sep 2019

Legislation กับ policy ไม่เหมือนกัน แยกกันให้ออก

อ๋อ แน่นอนจ๊ะ case นี้ case officer ก็ให้เราอธิบายเรื่องผลการเรียน 5 ปี ซึ่งเราก็อธิบายไป ใช้ตัวอ้างอิงจาก legislation ซึ่งเป็นตัวบทกฎหมายเลย เป็นพระราชบัญญัติเลย เราไม่ได้อ้างอิงจาก policy หรือนโยบาย

เราอธิบายและแจกแจงเป็นข้อ ๆ และตีความกฎหมายให้กับ case officer เลยว่ากฎหมายจริง ๆ แล้วมันเป็นแนบนี้นะ และฉันก็เชื่อว่าลูกค้าของเรามีคุณสมบัติครบตามที่กฎหมายกำหนด นั่น นี่ โน่น

และเราก็ได้ติดต่อ AQF; Australina Qualifications Framework แล้ว AQF ยืนยันว่า Cert I เป็นต้นไป ถือว่าเป็น secondary edcuation ใช้ได้ตาม legislation

ถูกต้องจ๊ะ เราติดต่อ AQF
เรา email ไปหา AQF ที่ Canberra เลยเพื่อเอาข้อมูลมายืนยัน และเราก็ส่ง email จาก AQF ให้กับ case officer ด้วย

ที่ J Migration Team เราพร้อมที่จะ flight ให้กับลูกค้า ถึงแม้ว่านั่นมันหมายถึงการที่เราต้อง email หาหน่วยงานนั้น หน่วยงานนี้ เพื่อเอาข้อมูลมายืนยัน เพื่อเอาข้อมูลมาตีความกฎหมายให้กับ case officer

ใช้เวลาเยอะหน่อย แต่คุ้ม

case นี้ก็ผ่าน ใส ๆ 
subclass 186, ใช้ผลการเรียน 5  ปี
ได้ PR ไปแล้วเป็นที่เรียบร้อย ณ วันนี้ 30 Sep 2019

นโนยายเปลี่ยน มันเป็นเรื่องของนโยบาย แต่กฎหมายยังไม่เปลี่ยน
ถ้าคนที่ยื่นเรื่องให้เรา เค๊าสามารถตีความกฎหมายและอ้างอิงพระราชบัญญัติ หรือ legislation ต่าง ๆ ได้ถูกต้อง มันก็พอมีทางที่จะสู้กันได้

เพียงแต่ว่าคนที่ยื่นเรื่องให้เรา เค๊าพร้อมที่จะสู้หรือเปล่า เค๊าพร้อมที่จะ fight หรือเปล่า

ถ้าเผื่อ J Migration Team ได้ลงสนามแล้ว เราพร้อมที่จะสู้เสมอ
หากเราได้จับมือใครแล้ว เราจะเดินไปด้วยกัน ไม่ปล่อยมือใครง่าย ๆ 

เรื่องบางเรื่องมันก็ต้องคุยคนที่เขามี MARN เท่านั้น

ไม่ต้อง screen capture ว่า page โน้น ให้ข้อมูลแบบโน้น นั่น นี่ โน่น นะครับ... เรา no comment, เราไม่ต้องการอ่าน เราอ่านแค่ข้อมูลจากอิมมิเกรชั่นจ๊ะ

บริษัทไหน, page ไหน, facebook group ไหน update ข้อมูลแบบไหน นั่นมันเรื่องของเขา

ชั่วโมงบินเรามันต่างกันจ๊ะ 
เรามาคนเดียว (บวกอีก 9) เราไม่ยุ่งเกี่ยวกับใคร เราไม่ comment การทำงานของใคร
เรารู้แค่ว่าเรามีหน้าที่ดูแลลูกค้าเรา ก็แค่นั้นเอง

เพราะรักจึงยอมทุกอย่าง

Pat ourselves on the back.
Celebrates small wins along the way.

Tuesday, September 10, 2019

Transitional arrangements for the new Skilled Work Regional visa


วีซ่าตัวใหม่ Skilled Work Regional (Provisional); subclass 491 จะเริ่มใช้ 16 November 2019. 

วีซ่าตัวเก่า Skilled Regional (Provisional); subclass 489 ก็จะปิดตัวไป 11:59pm, 15 November 2019. 

อิมมิเกรชั่นก็ให้มีการ transitional ดังต่อไปนี้

10 September 2019:

วันสุดท้ายที่รัฐหรือเขตการปกครองพิเศษ states and territory จะทำการ nominate ของวีซ่า subclass 489

วันสุดท้ายสำหรับการยื่น EOI ของวีซ่า subclass 489

15 November 2019:

วันสุดท้ายของการยื่นวีซ่า subclass 489 สำหรับใครที่ได้รับ invitation ก่อนหน้านั้น

16 November 2019: 

EOI ของวีซ่า subclass 491 เปิดทำการอย่างเป็นทางการ

Transitional arrangement ในครั้งนี้ไม่เกี่ยวกับวีซ่า subclass 189 หรือ subclass 190.

สาขาอาชีพของวีซ่าทำงานโดยที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ subclass 482


วีซ่าทำงานโดยที่มีนายจ้างสปอนเซอร์  subclass 482 TSS; Temporary Skill Shortage

เราไม่จำเป็นที่จะต้องติดอยู่กับภาพเดิม ๆ ว่า ตำแหน่งหน้าที่การงาน หรือสาขาอาชีพจะต้องเป็นอะไรที่เดิม ๆ same same ตลอดไป

ลองทำอะไรที่แตกต่างไปจากคนอื่นบ้าง
กับสิ่งเดิม ๆ ภาพลักษณ์เดิม ๆ
ตำแหน่งเดิม ๆ
Chef, Cook, Restaurant Manager, Massage Therapist

ลองแหลกแนวไปสาย IT, Engineering
สายช่าง roof tiler
สายแอดมินอย่าง  Contract Admintrator
sign writter (ช่างเขียนป้าย)
make up artist ช่างแต่งหน้า
florist คนจัดดอกไม้
student counsellor (ที่ปรึกษาทางด้านการศีกษา) พวกโรงเรียนหรือ college ต่าง ๆ ก็น่าจะ sponsor ได้นะ
photographer
graphic designer
production manager (manufacturing) ผู้คุมโรงงาน
dental specialist
flower grower คนปลูกดอกไม้
grape grower คนปลูกองุ่น (wineyard, ไร่องุ่น)
vegetable grower สำหรับคนทำงานในฟาร์ม

อะไรประมาณนี้เยอะแยะมากมาย

ลองทำอะไรแปลกใหม่กันดูบ้างนะครับ
มันมีหลายสาขาอาชีพที่ทำได้


สาขาอาชีพทั้งหมดอยู่ที่นี่นะครับ:
https://www.legislation.gov.au/Details/F2019C00265

Friday, September 6, 2019

Partner Visa ยื่นทับซ้อนได้... why not!!!


"สมหญิง" กับ "สมหมาย" เป็นคู่รักกันหวานชื่น
สมหมายเป็น PR/Citizen ทำเรื่องสปอนเซอร์ ยื่น Partner Visa ให้กับสมหญิง

ทั้ง 2 รักกันหวานชื่น
เธอรักฉัน
ฉันรักเธอ
เรารักกัน ซู่ซ่า ซุ่ซ่า

วันเวลาผ่านไป สมหญิงวีซ่าผ่าน ได้ TR (Temporary Resident) ไม่ว่าจะเป็น subclass 309 หรือ 820 ก็ถือว่าเป็น TR หมด

จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ ความรักของสมหมายและสมหญิงไม่ได้เป็นอย่างที่วาดฝันเอาไว้

แก้วที่มันร้าว ไม่นานก็คงก็จะแตก
ใจที่มันร้าว ไม่นานก็คงจะแหลก
แตกสลาย ไม่มีวันเหมือนเดิม

สุดท้ายสมหมายกับสมหญิงก็ต้องมีอันเลิกลากันไป
แต่ทั้ง 2 ก็ไม่ได้แจ้งอิมมิเกรชั่น (ดีมาก เราขอชมเชย ของบางอย่าง อิมมิเกรชั่นก็ไม่จำเป็นต้องรู้ก็ได้ อุ๊ย ชี้โพรงให้กระรอกหรือเปล่านะ)

สมหมายเจอรักใหม่
สมหญิงก็เคว้งอยู่พักใหญ่... ชีวิตเศร้า...

สุดท้าย เรื่องเราจบลงทุกอย่าง
ไม่ขัดไม่ขวาง ในเมื่อเธอจะไป
มีแค่เพียงสิ่งเดียว ยังติดค้างในใจ
อยากรู้ เรื่องใครอีกคน
เขาห่วงใย ใส่ใจ เธอรึเปล่า
เมื่อยามเธอทุกข์ทน อยากรู้เขาทำอย่างไร


ชีวิตมันเศร้าจ๊ะ ไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ

...และแล้ว...
วันเวลาผ่านไป ในระหว่างที่สมหญิงก็ยังถือ TR อยู่นั้น 
สมหญิงก็ได้เจอกับ "สมชาย" ซึ่งเป็น PR/Citizen

สมชายรักสมหญิงอย่างสุดซึ้งหมดหัวใจ เขาพบกันเมื่อสาย แต่ก็ยังไม่สายเกินไป

ทั้ง 2 คบกันได้ไม่ถึง 12 เดือน ก็ไม่เป็นไรนะ ทั้ง 2 ก็สามารถไปจด register of relationship แล้วก็ยื่นเรื่อง Partner Visa ได้ 

ไม่ต้องจดทะเบียนสมรสจ๊ะ อย่าเอาห่วงเอาแขวนคอ ทะเบียนสมรสมันเป็นแค่กระดาษ A4 สามารถเอาแปะหลังคากันรั่วได้

คนเราจะรักกัน มันมีหลายวิธีที่พิสูจน์ถึงความรัก ทะเบียนสมรสไม่ใช่คำตอบของชีวิตเสมอไป โลกและโรคมันเปลี่ยนไปแล้ว อย่ายึดติดอยู่กับภาพเดิม ๆ 

สมชายทำเรื่องสปอนเซอร์ Partner Visa ให้กับสมหญิงในระหว่างที่สมหญิงถือ TR จากคู่รักเก่า; "สมหมาย"

ขอให้รักกันจริง ทุกอย่างมีทางออก

สมหญิงก็ได้ Bridging Visa A แต่ก็ยังไม่ active เพราะสมหญิงเองก็ยังถือ TR อยู่

สมหญิงก็สามารถอยู่รอ TR ตัวใหม่ จากความสัมพันธ์อันใหม่จากสมชายได้

การยื่นวีซ่าทับซ้อนสามารถทำได้จ๊ะ ถ้ามีตังค์!!!

ปัญหาทุกอย่างมีทางแก้
แก้กันไปทีละเปราะ
หาที่ปรึกษาที่ไว้ใจได้ เอาใจใส่ดูแล 

อะไรก็เกิดขึ้นได้
ศึกษารู้เท่าทัน

ชีวิตไม่ใช่ทางตัน
ถ้าเดินชนฝา ลองถอยออกสัก 1 ก้าว 
ลองมองซ้ายและมองขวาดู เราอาจจะเจอทางออกก็ได้

ใน case แบบนี้สมหญิงก็จะได้ TR จากสมหมาย และก็จ่อคิวขอ PR ได้เลย

สมชายที่เคยทำเรื่องสปอนเซอร์สมหญิงมาก่อนก็ถือว่าได้ใช้สิทธิ์ในการสปอนเซอร์คู่รักไปแล้ว 1 ครั้ง

เมื่อบุพเพสันนิวาสกลายเป็นบุพเพอาละวาด บางทีมันก็ต้องเลิกลากันไป
No choice
ชีวิตเป็นสิ่งไม่แน่นอน อะไรก็เกิดขึ้นได้
เราขอเอาใจช่วยทุกคน

ปัญหาทุกอย่างมีทางออก
ปัญหามีเอาไว้แก้
แก้กันไปทีละเปราะ

ชีวิตใครเข้าข่าย สมหมาย สมชายและสมหญิงบ้าง ยกมือขึ้น
มา ๆ เรามาคุยกันหลังไมค์ :)

Note: ไม่ใช่แค่ Partner Visa เท่านั้นที่ยื่นทับซ้อนกันได้ วีซ่าทุกชนิด (ถ้าไม่ติด condition อะไร) ก็สามารถยื่นทับซ้อนกันได้ เราเรียกกันว่า parallel application

Wednesday, September 4, 2019

Partner Visa, $1 เดียว ก็เสียวได้


สอบถามกันเข้ามาเยอะ...

สำหรับ Partner Visa แล้ว มีหลายคนสงสัยในเรื่องของการเงินและ bank statement ทั้งของตัวเองและของคนที่สปอร์นเซอร์

Partner Visa ไม่เหมือนวีซ่านักเรียนหรือวีซ่าท่องเที่ยว

ทาง immigration ไม่ได้ดูที่ยอด balance statement ดังนั้นจึงไม่สำคัญว่าเราหรือคนที่สปอนเซอร์เรามียอดเงินในบัญชีเท่าไหร่

Partner Visa จะเน้นและโฟกัสไปที่ความรัก ความผูกพันและ relationship

ไม่ใช่เรื่องของการเงิน หรือยอดเงินในบัญชี

ดังนั้นคนที่ขอเงิน central link ก็สามารถทำเรื่องสปอนเซอร์แฟนของตัวเองได้

หรือบางคนที่ไปใช้ชีวิตอยู่ที่ต่างประเทศ ไม่ได้เปิดบัญชีที่ประเทศออสเตรเลียก็ไม่เป็นไร เราก็สามารถใช้บัญชีธนาคารของประเทศนั้นๆที่เรากับแฟนไปอาศัยอยู่ เราไม่จำเป็นที่จะต้องมาเปิดบัญชีเพื่อที่จะทำ Partner Visa (มีก็ดี แต่ไม่ใช่เรื่องใหญ่)

เรากับแฟนของเราเคยใช้เงินด้วยกันยังไงก็ให้ใช้ไปตามปกติ ก็ให้ดำเนินชีวิตไปตามปกติ เราไม่จำเป็นต้องเปลี่ยน lifestyle ของเราเพื่อที่จะทำ Partner Visa ไม่จำเป็น

เราเคยมีชีวิตยังไง ก็ให้ดำเนินชีวิตไปตามปกติ ดำเนินชีวิตคู่นะครับไม่ใช่ ดำเนินชีวิตคนเดียว!!!

ในส่วนของเรื่องการเงินแล้ว ขอเพียงเรากับแฟนเราสามารถโชว์ว่าเราสองคนใช้เงินร่วมกันยังไง หรือใครจ่ายอะไรมั่ง ในการจับจ่ายใช้สอย แค่นี้ก็เพียงพอแล้วสำหรับหลักฐานการใช้เงินร่วมกัน หรือ financial commitment ที่คนสองคนมีต่อกัน

ดังนั้นเราไม่ต้องไป focus ที่ยอดเงินบัญชีหรือ balance ให้มากจนเกินไป

คนเรามีเงินในบัญชี $1 ก็สามารถ sponsor แฟนของตัวเองได้ (ทำผ่านมาแล้วจ๊ะ) ถ้าเขาสามารถพิสูจน์ว่าเขาสองคนรักกันจริง เป็น:

-long-term relationship,
- genuine
- continuing

แค่นี้ก็พอแล้ว

Partner Visa, มีเงินบัญชี $1 เดียว ก็สามารถทำเรื่องสปอนเซอร์เอาแฟนหรือคู่รักของตัวเองมาที่ออสเตรเลียได้ครับ

Partner Visa, $1 เดียว ก็เสียวได้...

Friday, August 23, 2019

วีซ่าผ่าน; ประสบการณ์ไม่ถึง 2 ปี ไม่ต้องทำ skill assessment


น้อง "xyz" เรียนจบ Cert IV Commercial Cookery + Diploma of Hospitality

วุฒิการศึกษาของน้องสามารถทำเรื่องขอวีซ่าทำงานโดยที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ได้ subclass 482 TSS

น้องไม่ต้องทำ skill assessment เพราะน้องเรียนมาตรงสาขา

น้องไม่ต้องสอบ IELTS เพราะน้องเรียนที่นี่ 5 ปี

ที่เจ๋งไปกว่านั้นก็คือ จาก resume (ที่ P'J เขียนและขัดเกลาให้ใหม่) น้องมีประสบการณ์ part-time chef ในระหว่าที่เรียนแค่จาก Nov 2017 - Jun 2019

ประสบการณ์ไม่ถึง 2 ปี
เพราะเรายื่นเรื่องให้น้องตอน July
แต่ case officer ก็ flexible มากพอ เพราะน้องก็มีประสบการณ์ในครัวจากที่ต่าง ๆ ถึงแม้จะไม่ใช่เป็น chef โดยตรง

ประสบการณ์ไม่ถึง 2 ปีเป๊ะ
แต่โดยภาพรวม จาก resume แล้ว ประสบการณ์น้องก็ไม่ได้ขี้เหร่มาก

วีซ่าน้องผ่านแล้ว ได้ subclass 482 มา 4 ปี
ทำงานกับนายจ้าง 3 ปีก็ขอ PR ได้
ไม่ต้องสอบ IELTS เพราะเราก็จะใช้ผลการเรียน 5 ปีอันเดิมทำเรื่องยกเว้นให้น้องได้

ทุก case ที่เรา post เป็น case จริงจ๊ะ
บางคนเลือกที่เชื่อทนายของนายจ้างว่าเธอคงประสบการณ์ไม่พอ
บางคนเลือกที่เชื่อทนายจ้างว่าเธอต้องไปสอบ IELTS
ก็ไม่เป็นไรนะ... It's your lost, not mine :)

ศึกษารู้เท่าทัน
ศึกษาข้อมูลจากคนที่มี MARN เท่านั้น


มีประโยชน์โปรดแชร์

Independent Skilled Migrant; subclass 189


Independent Skilled Migrant; subclass 189

- วุฒิการศึกษาจบมาจากที่ไหนก็ได้ ได้ทั้วโลก

- ทำ Skill Assessment จากที่ไหนก็ได้ เพราะส่วนมากก็ทำ online, สาขาไหนก็ต้องมี technical interview เขาก็มีศูนย์สอบอยู่ในแต่ละประเทศ

- ทำ EOI มาจากที่ไหนก็ได้ ได้ทั่วโลก เพราะทำผ่านระบบ online

- ยื่นมาจากที่ไหนก็ได้ ได้ทั่วโลก 

Tuesday, August 20, 2019

Visa subclass 485 Graduate Visa และวีซ่าท่องเที่ยว


วีซ่า subclass 485; Graduate Visa

คนสมัครหลัก main applicant ต้องสมัคร onshore ภายในประเทศออสเตรเลียเท่านั้น และต้องสมัครภายใน 6 เดือนหลังจากที่เรียนจบแล้วเท่านั้น

ผลสอบภาษาอังกฤษของวีซ่า subclass 485 คือ:

- IELTS general, overall 6, each band 5 (พูด, อ่าน, เขียน, ฟัง) หรือ
- PTE Academic, overall 50, each band 36  (พูด, อ่าน, เขียน, ฟัง)

หลาย ๆ คนอาจจะยังไม่พร้อมในเรื่องของภาษาอังกฤษ
หลาย ๆ คนอาจจะคิดที่จะขอวีซ่าท่องเที่ยวเพื่ออยู่ต่อเตรียมตัวสอบ ซึ่งมันก็ทำได้ เราเคยทำมาแล้ว

แต่มันก็มีความเสี่ยงและข้อที่พึงควรระวังก็คือ:

- ถ้าขอวีซ่าท่องเที่ยวไม่ผ่าน นั่นคือทุกอย่างก็จบ เพราะถ้าเราขอวีซ่าท่องเที่ยวไม่ผ่าน เราจะโดน section 48, ห้ามยื่นวีซ่าภายในประเทศออสเตรเลีย ดังนั้นเราก็ต้องระวังตรงจุดนี้ด้วย

แต่ที่เราทำมา วีซ่านักเรียนหมดแล้วขอวีซ่าท่องเที่ยวอยู่ต่ออีก 3-6 เดือน เราก็ทำผ่านทุก case 

เราใช้เหตุผลง่าย ๆ ในการขอวีซ่าท่องเที่ยวภายในประเทศออสเตรเลียสำหรับคนที่วีซ่านักเรียนใกล้จะหมดก็คือ:
- จะอยู่เพื่อเก็บของ และขายพวกสัมภาระต่าง ๆ ก่อนกลับประเทศ
- จะขออยู่เที่ยวก่อนกลับประเทศ เพราะที่ผ่านมามัวแต่เรียน ยังไม่ค่อยได้เที่ยวเท่าไหร่

ท่านทุก case ที่ยื่นไป :)

จากวีซ่านักเรียน แล้วขอวีซ่าท่องเที่ยวเพื่อที่จะต่อวีซ่า subclass 485; Graduate Visa มันก็ทำได้ครับ แต่ก็มีข้อควรระวังอย่างที่บอก

คนไหนที่รู้ตัวว่าจะขอวีซ่า subclass 485; Graduate Visa เตรียมตัวไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ เลย

อย่าทำอะไร last minute กัน

สุดท้ายนี้เราก็ขอเอาใจช่วยทุก ๆ คน

J Migration Team

ໃຫ້ຄໍາປຶກສາແລະຮັບເຮັດວີຊ່າອອສເຕເລຍທຸກຊະນິດ
オーストラリア全てのビザに対応します