Sunday, November 29, 2015

Partner Visa แฟนขอเงินจากรัฐบาลแล้วจะสปอนเซอร์เราได้มั๊ย


ความรักมันเป็นเรื่องของหัวใจ อธิบายบอกใครก็คงเข้าใจยาก การที่คน 2 คนตกลงปลงใจรักกันนั้นมันอาจไม่มีเหตุผลที่สามารถพูดหรืออธิบายได้ เพราะถ้าเราสามารถอธิบายนิยามของความรักได้ เราคิดว่ามันก็คงไม่ใช่ความรักแล้วหละ ความรักมันต้องเป็นอะไรที่พิเศษเฉพาะตัว ความรักมันเป็นอะไรที่เกี่ยวกับความรู้สึกที่ไม่ต้องการหวังผลประโยชน์อะไร รวมไปถึงประโยชน์ทางด้านอิมมิเกรชั่นและวีซ่าด้วย

ดังนั้นใครที่มุ่งหน้ามุ่งตาหาคู่ หาแฟน เพียงเพื่อที่จะทำวีซ่าหรือขอ PR นั้น ก็แนะนำให้คิดให้ดีๆ เพราะถ้าคนเราอยู่ด้วยกันแล้วไม่มีพื้นฐานของความรักเป็นหลัก มันก็อยู่ด้วยกันลำบาก ถ้าจะทนอยู่ด้วยกันไปเพื่อหวังผลทางด้านวีซ่า มันก็เป็นอะไรที่ไม่ยั่งยืน ถ้าหากต้องมีการเลิกลากันไป มันก็จะเป็นบาดแผลของความรู้สึก

การที่คน 2 คนจะรักกัน ไม่ว่าจะมีความแตกต่างกันทางด้านอายุ สถานะทางด้านสังคม การเงิน รูปร่างหน้าตา และสีผิว คนเรามีสิทธิ์รักกันได้ มันเป็น basic human right ที่ทุกคนพึงจะมี

ที่ออสเตรเลียมีประชากรที่ต้องการความช่วยเหลือทางด้านการเงินและสวัสดิการทางด้านสังคมจากรัฐบาลผ่านหน่วยงานที่เรียกว่า CenterLink คนเหล่านี้ไม่ว่าจะเป็น PR (ที่เกิน 2 ปี) หรือว่าซิติเซ่น ที่ขอความช่วยเหลือทางด้านการเงินจากรัฐบาล พวกเค๊ามีสิทธิ์ที่รักใครสักคน มีสิทธิ์ที่จะสปอนเซอร์ใครสักคนมาร่วมชีวิต ร่วมทุกข์ร่วมสุขกับเค๊าได้

ไม่ว่าคู่รักของเค๊าจะเป็น
  • คู่รักแบบเพศเดียวกัน
  • คู่รักแบบ de facto, หรือ
  • คู่รักแบบแต่งงาน

เค๊ามีสิทธิ์ของความเป็นมนุษย์ที่จะสปอนเซอร์คู่รักของเค๊า เพื่อที่จะเป็นคนที่สามารถอยู่ที่นี่ได้ถาวร (PR) ได้เหมือนคนอื่นๆทั่วไป

ดังนั้นฐานะทางด้านการเงินและสังคม ไม่ได้กีดกั้นอะไรให้คนที่ขอเงินหรือความช่วยเหลือจากรัฐบาลในการสปอนเซอร์คู่รักของเค๊า ในการขอ Partner Visa อะไรแต่อย่างใดเลย

สมัยก่อนการขอ Partner Visa คนที่เป็นคนสปอนเซอร์ต้องโชว์พวก payslip หรือ tax return อย่างต่ำ 2 ปี

สมัยนี้ ปัจจุบันนี้ไม่ต้องแล้วครับ แค่คนที่เป็นคนสปอนเซอร์บอกว่าเค๊ามีรายได้มาจากใหนมั่งก็ OK แล้ว สำหรับคนที่ขอเงินช่วยเหลือจากรัฐบาลก็แค่บอกว่าเค๊ามีรายได้จากเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล ก็แค่นั้นเอง แค่นี้ก็ OK แล้ว การสปอนเซอร์คู่รักทำ Partner Visa ไม่ได้มีคำถามจุกจิกในเรื่องของรายได้ของคนสปอนเซอร์เหมือนแต่ก่อน

ดังนั้นความเชื่อของคนหลายๆคน ที่มีความเชื่อว่า คนที่ขอเงินจากรัฐบาลแล้วไม่สามารถสปอนเซอร์คู่รักของเค๊าเพื่อทำ Partner Visa นั้นไม่จริงครับ เพราะอิมมิเกรชั่นหรือรัฐบาลเองไม่มีสิทธิ์ที่จะมาห้ามคนที่ขอเงินจากรัฐบาล คนจน หรือคนตกงาน ห้ามให้เค๊ามีความรัก ห้ามให้เค๊าสปอนเซอร์คู่รักเพื่อขอ PR

อิมมเกรชั่นหรือรัฐบาลเองไม่มีสิทธิ์ห้าม basic human right พวกนี้ครับ



Monday, November 23, 2015

dual citizenships คืออะไร มีผลอะไรต่อคนไทย

เนื่องด้วยช่วงนี้ลูกค้าหลายๆคนของ J Migration Team หลังจากที่ได้ PR กันแล้ว หลายๆคน หลายๆครอบครัวก็อยากที่จะเป็นซิติเซ็น เป็นคนของที่นี่กัน เพราะข้อดีของการเป็นซิติเซ็นของประเทศออสเตรเลียก็มีเหนือกว่าการเป็น PR อยู่บ้างเล็กน้อย และคนไทยเราเองก็สามารถถือ dual citizenship ได้ด้วย ซึ่งก็หมายความว่าเราไม่ต้องสูญเสียการถือสัญชาติไทยอะไรของเรา เราก็สามารถเป็น citizen ของประเทศไทย และประเทศออสเตรเลียได้ไปพร้อมๆกัน เพราะคนเขียนเองก็ถือ 2 สัญชาติเหมือนกัน และยังถือ PR ของประเทศ "xyz" อีกด้วย ดังนั้นเรามั่นใจในเรื่องของการเดินทางไปแต่ละประเทศว่าเราจะเข้าไปในลักษณะใหนที่จะ maximum ผลประโยชน์ในเชิงกฎหมายและเชิงพานิชย์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการงาน และการเสียภาษี หรือการขอความเชื่อเหลือจากสถานทูตของประเทศนั้นๆ

ข้อดีของการถือ citizen ของออสเตรเลียที่แตกต่างไปจากการเป็น PR:
  • ไม่มีวันหมดอายุนอกจากจะเป็นพวกก่อการร้าย เราก็มีหน้าที่แค่ต่อ passport ทุกๆ 10 ปี ต่อจะให้กลับไปตั้งรกรากหรือทำมาหากินอยู่ที่เมืองไทย เราก็ยังสามารถต่ออายุ passport ของออสเตรเลียได้อยู่เรื่อยๆทุกๆ 10 ปี ถ้าเผื่อวันใหนอยากจะกลับมาที่ประเทศออสเตรเลียก็กลับมาได้
  • ลูกๆสามารถใช้ HECS ในการเรียนต่อได้ ตอนเรียน ป.ตรี หรือ ป.โท ดังนั้นจึงไม่เป็นการแปลกที่หลายๆคนที่ออสเตรเลียมีหลายๆ degrees จากหลายๆมหาวิทยาลัย ตัวอย่างมีให้เห็นอยู่ใกล้ๆ
  • เฉพาะคนที่เป็น citizen เท่านั้น ที่สามารถเรียน PhD (ป.เอก) ได้ฟรี
  • ผู้หญิงไทยหลายๆคน (ไม่ได้เหมารวมไปทั้งหมดนะครับ) ขอวีซ่าออกเดินทางไปต่างประเทศยาก เพราะเค๊ากลัวเราไปขายนาผืนน้อย (แล้วเค๊าไม่กลัวผู้ชายไปขาย.... มั่งหรือไงนะ...) แต่ถ้าเค๊าเป็นคนของออสเตรเลีย เป็นซิติเซนของออสเตรเลีย เวลาเดินทางต่างประเทศ ก็สามารถขอวีซ่าในฐานะของคนที่เป็นคนออสเตรเลียได้ และปกติแล้วเวลาเดินทางในประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษด้วยแล้ว (ประเทศในเครือ CommonWealth) แทบจะไม่ต้องขอวีซ่าเลย ซื้อตั๋ว แล้วเดินทางด้วย passport ของประเทศออสเตรเลียได้เลย อย่าลืมว่าถ้าเราเป็น PR แต่เรายังถือ passport ไทยอยู่ เวลาจะเดินทางไปใหนก็ยังคงต้องเดินทางในฐานะของคนไทย ถือ passport ไทย บางประเทศก็ไม่ค่อยอยากจะต้อนรับสักเท่าไหร่ อย่างเช่นประเทศซาอุอาระเบีย เพราะคนไทยเคยไปขโมยเพชรของกษัตริที่ประเทศซาอุ อย่างนี้เป็นต้น
หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าถ้าเราถือ 2 passports แล้วเวลาเดินทางหละ จะใช้ passport ใหนดี ไม่งงเหรอ...

หลักการจำง่ายๆคือ เราอยากจะเข้าออกในฐานะคนประเทศใหน ไทยหรือออสเตรเลีย เราก็ใช้  passport อันนั้นในการเข้าออก แต่ก็ต้องจำให้ได้ว่า เข้าประเทศใหนด้วย passport จากประเทศใหน (ไทยหรือออสเตรเลีย) เราก็ต้องใช้ passport จากประเทศนั้นในการเดินทางออก จำได้ง่ายๆ ไม่ยาก

สมมุติว่าเราเดินทางไปประเทศ "xyz" ที่ไม่ใช่ประเทศไทยหรือประเทศออสเตรเลีย ถ้าเราใช้ passport ไทยในการเดินทางเข้า ประเทศนั้นก็จะถือเราเป็นคนไทย กฎหมายอะไรที่ประเทศนั้น apply กับคนไทยก็จะ apply กับเราด้วย ในขณะเดียวกัน ถ้าเราใช้ passport ของประเทศออสเตรเลียในการเดินทางเข้าประเทศนั้น กฎหมายอะไรที่ประเทศนั้น apply กับคนออสเตรเลียก็จะ apply กับเราด้วย

ตัวอย่าง:
เราเดินทางจากซิดนีย์ไปกรุงเทพ
  1. ขาออกจาก ซิดนีย์ เราก็ต้องใช้ passport ออสเตรเลีย จำไว้นะครับ เข้า-ออกประเทศออสเตรเลีย ก็ใช้ passport ออสเตรเลีย
  2. พอไปถึงเมืองไทย เข้ากรุงเทพ เราก็ใช้ passport ไทยเข้า เพราะ เข้า-ออกประเทศไทย ก็ใช้ passport ไทย
  3. พอขากลับมา ออกจากกรุงเทพ เราก็ต้องใช้ passport ไทย เพราะ เข้า-ออกประเทศไทย ก็ใช้ passport ไทย
  4. พอถึงซิดนีย์ เข้าประเทศออสเตรเลีย เราก็ต้องใช้ passport ออสเตรเลีย เพราะ เข้า-ออกประเทศออสเตรเลีย ก็ใช้ passport ออสเตรเลีย
ส่วนสนามบินที่อยู่ๆ ก็เอาหลักการไปประยุกต์กันเองก็แล้วกันนะครับ

การที่เราใช้ passport ไทยเดินทางเข้าประเทศไทย ก็แสดงว่าเราเข้ามาในฐานะของคนไทย เราก็อยู่ที่ประเทศไทยได้ตลอด ไม่มีกำหนด ซึ่งก็เป็นผลดีสำหรับคนที่คิดว่าจะกลับไปทำมาหากินที่เมืองไทยสักพัก

ถ้าคนที่เดินทางเข้าประเทศไทยแล้วใช้ passport ออสเตรเลียเข้าไป เราก็จะเข้าไปในฐานะของคนออสเตรเลีย มีจำนวนจำกัดว่าอยู่ได้กี่วัน ดังนั้นพ่อแม่คนใหนที่มี passport ไทย แต่ลูกไม่มี passport ไทย ก็ต้องระวังในเรื่องนี้ด้วยนะครับ พวกที่คิดจะพาลูกกลับไปเที่ยวเมืองไทยนานๆ

การที่เราใช้ passport ออสเตรเลียกลับเข้ามาประเทศออสเตรเลีย ก็หมายความว่าเราเข้าประเทศออสเตรเลียมาในฐานะของคนออสเตรเลีย ดังนั้นเราก็อยู่ที่ประเทศออสเตรเลียได้ตลอด ไม่มีกำหนด

การเดินทางด้วย 2 passports ไม่ได้ยากอย่างที่คิดนะครับ อย่างที่บอกว่าคนเขียนเองก็ยังถือ PR ของประเทศ "xyz" อีกประเทศหนึ่งด้วย เดินทางมาแล้วหลายประเทศไม่เคยมีปัญหา ดังนั้นการเป็น dual citizenships ไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่หลายๆคนคิดกัน


Sunday, November 22, 2015

วีซ่าคู่หมั้น วีซ่าแต่งงาน วีซ่า de facto แตกต่างกันยังไง


มีหลายคนสอบถามกันเข้ามา อยากรู้ความแตกต่างระหว่างวีซ่าคู่หมั้น กับวีซ่าแต่งงาน เดียววันนี้ก็เลยขอเขียนเรื่องนี้สะหน่อย

วีซ่าคู่หมั้น หรือ Prospective Marriage ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นคู่หมั้นที่กะจะแต่งงานกัน ไม่ใช่วีซ่าแต่งงาน
  • วีซ่าคู่หมั้นต้องยื่นจากข้างนอกประเทศออสเตรเลียเท่านั้น จะยื่นมาจากประเทศใหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นประเทศไทย
  • วีซ่าคู่หมั้น จะได้มาแค่ 9 เดือนเท่านั้น จุดประสงค์คือให้มาแต่งงานที่ออสเตรเลีย และต้องทำอะไรให้เสร็จภายใน 9 เดือน 
  • วีซ่าคู่หมั้น ชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นวีซ่าสำหรับคนที่เค๊าอยากจะแต่งงานกัน และมาแต่งที่ออสเตรเลีย แต่ในระหว่างที่รอเรื่องวีซ่าออก ถ้าทั้งคู่เกิดเปลี่ยนใจไปแต่งงาน วีซ่าคู่หมั้นก็จะไม่ผ่าน เพราะอย่างที่บอกว่า นี่เป็นวีซ่าคู่หมั้นไม่ใช่วีซ่าแต่งงาน ดังนั้นใครที่คิดจะทำวีซ่าคู่หมั้นก็ต้องคิดให้ดีๆ คือไม่ใช่รอๆวีซ่าอยู่แล้วเกิดเปลี่ยนใจ เพราะถ้าเกิดเปลี่ยนใจ ก็ต้องถอนเรื่องวีซ่าตัวเก่า เงินไม่ได้คืน แล้วยื่นวีซ่าแต่งงาน สรุปคือถ้าจะหมั้น ก็ทำวีซ่าคู่หมั้น ถ้าจะแต่งงาน ก็ทำวีซ่าแต่งงาน เลือกเอาสักอย่าง

ข้อดีของวีซ่าคู่หมั้น: (แทบจะไม่มี)
  • ไม่รู้นะ โดยส่วนตัวแล้ว มองหาข้อดีของวีซ่าประเภทนี้แทบไม่ค่อยมีเลย แต่นั่นมันก็เป็นความคิดของเรา แต่ based on professional opinion นะครับ ข้อดีก็อาจจะเป็นวีซ่าสำหรับคนที่ไม่สามารถเดินทางมาแต่งงานกับเราได้ที่เมืองไทย และก็คบกันยังไม่ถึง 12 เดือน ทำเป็น de facto partner ไม่ได้ ก็เลยอยากให้แฟนมาที่ออสเตรเลียก่อนแล้วแต่งงานกันที่ออสเตรเลีย แล้วทำ Partner Visa กันทีหลัง

ข้อเสียของวีซ่าคู่หมั้น: (มีเยอะแยะมากมาย)
  • จะได้วีซ่าแค่ 9 เดือนเท่านั้น จะไม่ได้มากไปกว่านี้
  • ในช่วงที่ยื่นวีซ่าคู่หมั้น เราจะต้องยื่น NOIM; Notice of Intended Marriage คือเป็นเอกสารบอกว่าเราตั้งใจจะแต่งงานกันเมื่อไหร่ ต่อให้เราลงวันที่ว่าต้องการแต่งงานวันใหนก็เถอะ case officer ก็จะทำงานเป็นเต่าไปตามปกติ เสร็จแล้ววันที่เราเลือกที่จะแต่งงานใน NOIM ก็ผ่านไป และก็ใช้ไม่ได้ ก็ต้องขอ NOIM กันใหม่ ขอเป็นวันที่ใหม่ วุ่นวาย ปวดหัว ต่อให้เราบอก case officer ว่าเออ เราจองวันแต่งงานวันนี้ วั้นนั้นนะใน NOIM คุณ case officer ทั้งหลายก็ไม่ได้สนใจอะไร ทำงานเนิบๆไปตามประสาเค๊านั่นแหละ ไม่ใช่แค่ case officer ที่เมืองไทยนะครับ เพราะเราเองก็ทำวีซ่าคู่หมั้นให้กับชาติอื่นด้วย ถ้าเป็นไปได้จะไม่ทำอีก ทำได้ แต่เสียเวลามาก ขอ charge เพิ่มละกัน $$$
  • มีบางคู่ที่เค๊ารักกันมาก อยากจะแต่งงานกันวันนั้น วันนี้ ก็แต่งไม่ได้สมใจ จะ book โรงแรม หรือ function centre จัดงานอะไรก็ทำไม่ได้ มันวางแผนอะไรไม่ได้เลย แต่ถ้าบางคู่ที่ชิวๆ ไม่ได้เรื่องมากอะไร เดี๋ยวได้วีซ่ากันเมื่อไหร่ก็เดินจูงมือกันไปจดทะเบียน ไม่ได้จัดงานเลี้ยงอะไรใหญ่โต แบบนี้ก็ไม่มีปัญหา
  • เอกสารในการขอวีซ่าคู่หมั้น มีมากเท่ากับการขอวีซ่าแต่งงานหรือ Partner Visa เลย พอได้วีซ่าคู่หมั้นมาแล้ว มาแต่งงานแล้ว ก็ขอ Partner Visa กันต่อ อย่าคิดนะครับว่าเออ เรายื่นเอกสารไปแล้วตอนทำวีซ่าคู่หมั้น เราจะไม่ยื่นเอกสารอะไรกันอีกมากมายตอนทำ Partner Visa เปล่าเลยครับ ต้องยื่นใหม่หมดเลย พยานที่เซ็นฟอร์ม 888 อะไรก็ต้องทำกันใหม่ เพราะฟอร์ม 888 มีอายุการใช้งานแค่ 60 วัน และพวก police check อะไรนั้นก็เหมือนกัน อายุการใช้งานแค่ 12 เดือน ผลตรวจร่างกายก็มีอายุการใช้งานแค่ 12 เดือนเช่นเดียวกัน เสียเวลา แต่ถ้าใครชอบให้หมอจับโน่น จับนี่ ตรวจโน่น ตรวจนี่ก็ตามสบายนะครับ ตัวใครตัวมัน

Friday, November 20, 2015

จะพิสูจน์ relationship เพื่อทำวีซ่า ทำยังไงดี


การพิสูจน์ relationship หรือความสัมพันธ์ ทำได้ 3 วิธีคือ
  • de facto, ต้องมี relationship ด้วยกัน 12 เดือน แยกกันอยู่ก็ได้ เพราะคนเราอาจต้องมีความจำเป็นต้องแยกย้ายกันไปทำมาหากิน แต่ถ้าแยกกันอยู่ก็ต้องโชว์หลักฐานว่าช่วงที่แยกกันอยู่นั้น ติดต่อกัน อะไรยังไงบ้าง โทรหากัน คุยกันทางโทรศัพท์ facebook, Skype, LINE หรือตาม social media ต่างๆ ดังนั้นคนที่บอกว่า de facto นั้นต้องอยู่ด้วยกัน บ้านเดียวกัน ที่อยู่เดียวกัน นั้นไม่จริงเสมอไป จริงๆอยู่คนเราถ้ารักกัน ก็ไม่ควรแยกกันอยู่ แต่บางที เนื่องด้วยหน้าที่การงาน และคนเรามันก็ต้องทำมาหากิน จะหางอมืองอเท้า ให้อีกฝ่ายหนึ่งหา แล้วอีกฝ่ายหนึ่งอยู่บ้านเฉยๆ เพื่อที่จะนับวันให้ครบว่าอยู่ด้วยกันเกิน 12 เดือน แบบนั้นก็แย่ และไม่ makesense


  • สำหรับคนที่ยังไม่ได้แต่งงาน หรือไม่อยากไม่แต่งงาน หรือคู่รักเพศเดียวกัน ก็สามาถจด register of relationship ได้ แต่จด register of relationship ที่ออสเตรเลีย แต่ละรัฐไม่เหมือนกัน ก็ลองแวะเข้าไปอ่าน blog เกี่ยวกับการจด register of relationship ดูก็แล้วกัน พอเราได้ใบจด register of relationship มา เราก็สามารถเอานำมาประกอบการสมัครวีซ่าของเราได้ ไม่ว่าจะเป็น Partner Visa, หรือวีซ่าติดตามต่างๆ อย่างเช่น
    • วีซ่านักเรียน
    • วีซ่าทำงานต่างๆ, subclass 457, ENS, RSMS... และอื่นๆอีกมากมาย
    • วีซ่า Skilled Migrant, subclass 189, subclass 190 และอื่นๆอีกมากมาย
    ไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกันเกิน 12 เดือนเหมือนหลายคนที่เข้าใจผิดกัน หรือชอบอ่านและเขียนตาม webboard แม่บ้านกัน

    • สำหรับคนที่รักกันมากปานจะดูดดื่ม และต่างเพศ (ที่ออสเตรเลีย เพศเดียวกันยังแต่งงานกันไม่ได้ตามกฎหมายนะครับ) และได้แต่งงานกันแล้ว ไม่ว่าจะแต่งมาจากประเทศใหน ประเทศไทย หรือประเทศออสเตรเลีย ไม่มีปัญหาครับ ขอให้ได้ใบทะเบียนสมรสมา ก็ใช้เป็นหลักฐานในการยื่นขอวีซ่าต่างๆได้แล้ว ไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกันเกิน 12 เดือนเหมือนหลายคนที่เข้าใจผิดกัน หรือชอบอ่านและเขียนตาม webboard แม่บ้านกัน เช่นเดียวกัน เราก็สามารถนำเอาใบทะเบียนสมรสนำมาประกอบการสมัครวีซ่าของเราได้ ไม่ว่าจะเป็น Partner Visa, หรือวีซ่าติดตามต่างๆ อย่างเช่น
      • วีซ่านักเรียน
      • วีซ่าทำงานต่างๆ, subclass 457, ENS, RSMS... และอื่นๆอีกมากมาย
      • วีซ่า Skilled Migrant, subclass 189, subclass 190 และอื่นๆอีกมากมาย
    จะเห็นได้ว่าถ้าเราจดทะเบียนสมรส (ไม่ว่าจากประเทศใหน) หรือจด register of relationship (เฉพาะในประเทศออสเตรเลียเท่านั้น และทำได้เป็นบางรัฐ) เราไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกันให้ครบหรือเกิน 12 เดือน ซึ่งก็เป็นผลดีสำหรับคนที่มีความจำเป็นที่ต้องรีบทำวีซ่าตัวอื่นๆ ก่อนที่วีซ่าตัวเดิมจะหมดอายุ

    ส่วนสามีภรรยาคู่ใหนที่จดทะเบียนสมรสกันนานแล้ว หรือมีลูกมีครอบครัวด้วยกัน แทบจะไม่ต้องใช้เอกสารอะไรอย่างอื่นประกอบความสัมพันธ์เลย ใบทะเบียนสมรสใบเดียวก็เอาอยู่หมัด... 

    ส่วนสามีภรรยา หรือคู่รักคู่รักคู่ใหนที่พึ่งจดทะเบียนกันใหม่ๆ สดๆร้อนๆ ก็แนะนำให้เอาเอกสารอย่างอื่นประกอบเข้าไปด้วย อย่างเช่น บิลที่มาที่อยู่ที่เดียวกัน อะไรก็ว่าไป ที่แต่แน่ๆคือ ไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกันให้ครบหรือเกิน 12 เดือนอย่างที่เข้าใจผิดๆกัน

    และอีกอย่างก็คือ de facto คือการที่คน 2 คนใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกัน ไม่ว่าจะอยู่เมืองไทย ที่ออสเตรเลีย หรือที่ใหนๆก็ไม่เป็นไร มีหลายคู่ที่ไปพบรักกันที่ประเทศอื่น ในระหว่างที่เรียนหรือทำงานก็มีเยอะแยะ ดังนั้นเรื่องของสถานที่ ไม่มีปัญหาครับ

    ก็หวังว่าคนที่ได้อ่าน blog นี้ จะได้ความรู้และมีความกระจ่างกันมากขึ้นในเรื่องของ de facto และการจดทะเบียนสมรส รวมไปถึงการจด register of relationship ด้วย ว่าสามารถนำเอาเอกสารเหล่านั้นมาประกอบการขอวีซ่าติดตามได้อย่างไร

    Thursday, November 19, 2015

    Skilled Migrant เส้นทางสู่การเป็น PR


    การขอ PR; Permanent Resident ก็คือการเป็นคนที่สามารถพำนักอยู่ที่ออสเตรเลียแบบถาวรได้ ซึ่งก็เป็นความใฝ่ฝันของคนหลายๆคน 

    Skilled Migrant ก็เป็นเส้นทางหนึ่ง อีก pathway หนึ่งที่เด็กนักเรียนที่มาเรียนที่ออสเตรเลีย แล้วเรียนตรงสาขากับแรงงานที่ทางออสเตรเลียต้องการ

    คนใหนเรียนเก่งหน่อย มีคุณสมบัติและความสามารถดีหน่อยก็สามารถขอ PR ได้โดยตรง Independent Skilled Migrant (subclass 189)

    เดี๋ยวเรามาลองศึกษาดูว่า เส้นทางการเป็น PR ของ Skilled Migrant นั้น มีแบบใหนมั่ง นี่เป็นแค่แนวทาง pathway คร่าวๆ เอาเฉพาะที่ popular ก็พอ

    Student Visa ==> Independent Skilled Migrant (subclass 189): PR

    Student Visa ==> Skilled Nominated (subclass 190): PR

    Student Visa ==> Temporary Work (Skilled) visa (subclass 457)                            ==> Employer Nomination Scheme ENS (subclass 186): PR

    Student Visa ==> Temporary Work (Skilled) visa (subclass 457)                            ==> Regional Sponsored Migration Scheme Visa (subclass 187): PR

    แต่บางคนที่คุณสมบัติดีอยู่แล้ว วุฒิการศึกษาดีอยู่แล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องทำ student visa นะครับ ถ้าคุณสมบัติครบก็สามารถสมัคร Skilled Migrant ได้โดยตรง ไม่ว่าจะเป็น offshore หรือ onshore

    Independent Skilled Migrant (subclass 189): PR

    Skilled Nominated (subclass 190): PR

    Temporary Work (Skilled) visa (subclass 457) ==> Employer Nomination Scheme ENS (subclass 186): PR

    Temporary Work (Skilled) visa (subclass 457) ==> Regional Sponsored Migration Scheme Visa (subclass 187): PR

    Wednesday, November 18, 2015

    Regional area คืออะไร


    หลายๆคนอาจอยากจะรู้ว่า regional area คืออะไร และมีผลอะไร ยังไงต่อการขอวีซ่าและ PR ในรูปแบบของ Skilled Migrant โดยเฉพาะ subclass 187 (RSMS) และ subclass 489 (Skilled Regional)

    คำว่า regional area ก็หมายถึงพื้นที่รอบนอก หัวเมืองเล็กๆ ห่างไกลจากเมืองใหญ่ ประชากรไม่ค่อยหนาแน่น ดังนั้นรัฐบาลถึงมีวีซ่าหลายๆ subclass ที่รณรงค์ให้คนไปอยู่ตามหัวเมืองเล็กๆเพื่อเป็นการเพิ่มจำนวนประชากรและคนไม่ได้ไม่ต้องมาแออัดกันเมืองใหญ่

    ข้อดีของพวกวีซ่า regional ก็คือ จะขอได้ง่ายกว่า Skilled Migrant วีซ่าตัวอื่นๆ แต่เราก็ต้องเต็มใจและทนที่อยู่ตามหัวเมืองเล็กๆเหล่านั้นได้

    regional area ก็เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของหลายๆคนที่ต้องการวีซ่าที่จะอยู่ที่ออสเตรเลีย พออยู่ได้สักพักแล้วเราค่อยย้ายหรือขยับขยายไปอยู่ตามเมืองใหญ่ๆก็ได้ แต่รัฐบาลก็แอบหวังอยู่นิดๆว่า ถ้าเราใช้ชีวิตอยู่ตามหัวเมืองเล็กๆสักระยะ เราคงชอบและคุ้นเคยกับเมืองๆนั้นแล้วก็อยากตั้งรกรากอยู่เมืองนั้นไปเลย เป็นการเพิ่มจำนวนประชากร และเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจของเมืองๆนั้น

    นี่ก็เป็นนโยบายการกระจายจำนวนประชากรและการกระตุ้นเศรษฐกิจตามหัวเมืองเล็กๆของรัฐบาล และถ้าเรามีข้อมูลพวกนี้ เราก็สามารถนำมาเป็นความรู้ ช่วยในการตัดสินอะไรหลายๆอย่างในการขอวีซ่าของเราได้

    เนื่องด้วยวีซ่าประเภท regional area นั้นขอได้ง่ายกว่าวีซ่าทั่วๆไป ดังนั้นมันก็เป็นทางเลือกหนึ่งสำหรับคนที่มี point ไม่พอที่จะทำ Independent Skilled Migrant (subclass 189) หรือคุณสมบัติในเรื่องของภาษาและอะไรหลายๆอย่างไม่พอที่จะสมัคร Employer Nomination Scheme ENS (subclass 186) โดยตรงได้

    แต่ก่อนที่เราจะยื่นวีซ่าประเภท regional area, เราก็ต้องเช็คก่อนนะครับว่าพื้นที่หรือเมืองที่เราอยู่จัดอยู่ใน regional area หรือเปล่า เพราะถ้าเราพักอยู่ตามเมืองใหญ่ เราก็คงไม่สามารถที่จะยื่นวีซ่าแบบ regional ได้ ก่อนที่เราจะมาเรียนรู้เรื่องวีซ่าของ regional area เดี๋ยววันนี้มาเรียนรู้แค่ว่า regional area คืออะไรและก็พื้นที่ใหนที่ถือว่าเป็น regional กันก่อนนะครับ

    ที่รัฐ NSW ขอบเขตของ regional คือ เมืองที่มีรหัสไปรษณีย์ดังต่อไปนี้
    2311 ถึง 2312
    2328 
    ถึง 2411
    2420 
    ถึง 2490
    2536 
    ถึง 2551
    2575 
    ถึง 2594
    2618 
    ถึง 2739
    2787 
    ถึง 2898


    และเมืองที่ไม่ได้อยู่ใน Sydney, Newcastle, the Central Coast และ Wollongong

    ที่รัฐ QLD ขอบเขตของ regional คือ เมืองที่มีรหัสไปรษณีย์ดังต่อไปนี้
    4124 ถึง 4125 
    4133
    4211
    4270 
    ถึง 4272
    4275
    4280
    4285
    4287
    4307 
    ถึง 4499
    4515
    4517 
    ถึง 4519
    4522 
    ถึง 4899และเมืองที่ไม่ได้อยู่ใน Brisbane และ Gold Coast 

    จะเห็นว่าที่ QLD จะมีรัฐที่น่าจะสนใจมากในเรื่องของ regional area เพราะจริงๆแล้วเมืองใหญ่ๆ เมืองท่องเที่ยวอย่าง Cairns ก็เข้าข่ายเป็นเมืองใน regional และหัวเมืองใหญ่แค่ขับรถ 5 นาทีจาก Gold Coast ก็ขอทำวีซ่าแบบ regional ได้แล้ว ถ้าใครคิดจะทำวีซ่าแบบ regional ก็แนะนำให้จับตามอง QLD ให้ดีๆนะครับ

    ที่รัฐ VIC ขอบเขตของ regional คือ เมืองที่มีรหัสไปรษณีย์ดังต่อไปนี้
    3211 ถึง 3334
    3340 
    ถึง 3424
    3430 
    ถึง 3649
    3658 
    ถึง 3749
    3753,
    3756
    3758
    3762
    3764
    3778 
    ถึง 3781
    3783
    3797
    3799
    3810 
    ถึง 3909
    3921 
    ถึง 3925
    3945 
    ถึง 3974
    3979
    3981 
    ถึง 3996
    และเมืองที่ไม่ได้อยู่ใน Melbourne

    ที่รัฐ WA ขอบเขตของ regional คือ เมืองที่มีรหัสไปรษณีย์ดังต่อไปนี้
    6041 ถึง 6044
    6083 
    ถึง 6084
    6121 
    ถึง 6126
    6200 
    ถึง 6799
    และเมืองที่ไม่ได้อยู่ในระแวกและเมืองรอบๆ Perth

    ACT, SA, TAS และ NT, ถือว่าเป็น regional ทั้งรัฐเลยครับ

    ดังนั้นใครที่สนใจทำวีซ่า subclass 190, และ RSMS subclass 187, ก็แนะนำให้ศึกษากันดูนะครับ โดยเฉพาะคนที่อยู่ WA, ACT, SA, TAS และ NT

    ใครอยากจะไปเมืองใหน ที่ใหนก็ลองดูรหัสไปรษณีย์และจับตามองๆเอาไว้นะครับ ศึกษาเอาไว้เป็นความรู้ จะได้นำไปใช้ให้เป็นประโยชน์ต่อไป

    Sunday, November 1, 2015

    ข้อดีและข้อเสียของ Subclass 190; Skilled Nominated


    มาถึงจุดๆนี้แล้ว เรามั่นว่าทุกคนที่ติดตาม blog ของ J Migration Team คงรู้วิธีการคำนวณ point สำหรับการขอ PR ของประเภท Skilled Migrant กันแล้วนะครับ

    ถ้าจะให้ดี เราก็แนะนำให้ทุกคนทำ Independent Skilled Migrant (Subclass 189) นะครับ เพราะชื่อของวีซ่าก็บอกอยู่แล้วว่าเป็น "Independent" คือเราเก่ง เราเจ๋ง เราได้ point ครบ 60 points ไม่จำเป็นต้องมีใครมาสปอนเซอร์เรา เราไม่ต้องไปง้อใคร เราขอ PR ได้ด้วยตัวของเราเองเลย

    แต่ถ้าหากเราหา point แล้ว หาแล้วหาอีก เราก็หาได้มากสุดแค่ 55 points เอง เราก็คงต้องขอ PR ด้วยการให้คนอื่นหรือรัฐบาลในแต่ละรัฐเป็นหน่วยงานในการสปอนเซอร์เราแล้วหละ 

    เราจะได้ point เพิ่มอีก 5 points ถ้าเราให้รัฐบาลของแต่ละรัฐสปอนเซอร์เรา ขอ PR ด้วย Subclass 190; Skilled Nominated แต่การที่รัฐนั้นๆสปอนเซอร์เราเพื่อทำเรื่องขอ PR เราก็จำเป็นที่จะต้องอยู่รัฐนั้นๆอย่างต่ำ 2 ปี หลังจากที่ได้ PR แล้ว 

    แต่จะอยู่ถึง 2 ปีหรือเปล่า เดี๋ยวเราก็มีวิธีในการแก้ปัญหาครับ ไม่ต้องห่วง

    เดี๋ยวเรามาลองวิเคราะห์ข้อดีและข้อเสียของ วีซ่า Subclass 190, Skilled Nominated กันนะครับ

    ข้อดี
    • ถ้าเรามี point ไม่ถึง 60 points นี่ก็เป็นอีกวิธีหนึ่งที่เราจะได้ PR 


    ข้อเสีย
    • แต่ละรัฐมีอิสระในการออก SOL; Skilled Occupation List ของรัฐนั้นๆ
    • SOL สามารถเปลี่ยนได้เป็นรายวัน "รายวันครับ" อ่านได้ถูกต้องแล้ว คือถ้ารัฐใหนต้องการเปลี่ยน SOL รัฐนั้นก็สามารถเปลี่ยนได้เลย ไม่ต้องนำเรื่องเข้าสภา ดังนั้นถ้าใครที่คิดว่าจะขอ PR ด้วย Subclass 190, Skilled Nominated ก็ต้องเข้าไปเช็คที่ website ของแต่ละรัฐทุกวัน
    • แต่ละรัฐจะมีกฎของใครของมันในเรื่องของคุณสมบัติของผู้สมัคร ดังนั้นเราก็ต้องอ่านและศึกษากฎข้อบังคับของแต่ละรัฐ ก็ในเมื่อเราอยากได้ point เพิ่มจากเค๊า 5 points เราก็ต้องทำตามกฎของแต่ละรัฐที่เค๊ากำหนดมานะครับ

    สิ่งที่ควรต้องรู้เกี่ยวกับ Subclass 190, Skilled Nominated
    • เราต้องแจ้งความจำนงว่าเรามีโครงการที่จะไปอยู่รัฐนั้นอย่างต่ำ 2 ปี เวลาเราตีความหมายของกฎหมาย ในแง่ของภาษาเราก็ต้องระวังด้วยนะครับ กฎหมายได้บัญญัติเราไว้ว่า เราจะต้องมีโครงการที่จะไปอยู่รัฐนั้นอย่างต่ำ 2 ปี เราจะต้องมีโครงการนะครับ ไม่ได้หมายความว่าเราจะต้องอยู่ให้ครบถึง 2 ปี
    • รัฐบาลของรัฐนั้นๆไม่มีสิทธิ์ที่จะยกเลิก PR เราได้ หน่วยงานที่สามารถยกเลิก PR เราคือกระทรวงอิมมิเกรชั่นเท่านั้น
    • รัฐบาลของรัฐนั้นๆทำได้อย่างมากก็แค่แจ้งไปที่กระทรวงอิมมิเกรชั่น เสร็จแล้วทางกระทรวงอิมมิเกรชั่นจะแจ้งให้เราทำเรื่องชี้แจงเข้าไปว่าทำไมเราถึงอยู่รัฐนั้นไม่ถึง 2 ปี
    • ถ้าเราไปอยู่รัฐนั้นๆแล้ว พยายามแล้ว พยายามหางานทุกอาทิตย์เลย แต่ก็หาไม่ได้อะไรประมาณเนี๊ยะ เราก็ต้องมีหลักฐานมาโชว์ด้วยนะว่าเราพยายามหางานแล้ว และพยายามไปใช้ชีวิตอยู่ที่รัฐนั้นๆแล้ว แต่เผอิญว่ามันมีตำแหน่งงานอยู่อีกรัฐหนึ่งเข้ามา แล้วเราสมัครไป แล้วเราก็เผอิญเกิดได้งานนั้นพอดี อะไรประมาณนี้ PR เราก็จะไม่โดนยกเลิกนะครับ เราก็ต้องมีเทคนิคกันนิดหนึ่ง

    หน่วยงานของรัฐต่างๆที่ดูแลในเรื่องของการสปอนเซอร์ Skilled Migrant ในประเภทของ Subclass 190, Skilled Nominated มีดังต่อไปนี้


    จะสังเกตุว่า ACT ก็จะมีสาขาอาชีพแปลกๆ เป็นพวก artist artist กันเยอะ ใครที่เรียนมาทางด้านนี้ ก็ลองอ่าน list ของ ACT ดูนะครับ

    และก็ที่ WA ก็จะมีงานที่เกี่ยวกับพวกทรัพยากรทางธรณีเป็นหลักเพราะที่ WA จะมีการทำเหมืองแร่เยอะ 

    ดังนั้นใครอยากจะไปอยู่รัฐใหนก็เชิญแวะเข้าไปดูที่ websites ได้เลยนะครับเพราะ J Migration Team เองจะไม่ค่อยเข้าไปเช็ค websites พวกนี้เท่าไหร่เพราะเสียเวลามากเลย คือประมาณว่า ใครคนใหน point ไม่ครบ 60 points ก็ต้องเข้าไปดูที่ websites ของแต่ละรัฐนะครับ และก็ต้องเข้าไปเช็คทุกวันเลยนะครับ เพราะข้อมูลของแต่ละรัฐสามารถเปลี่ยนแปลงได้เป็นรายวันเลยทีเดียว 

    นี่แหละที่เราไม่ชอบก็คือคำว่า "รายวัน" นี่แหละ