Monday, November 23, 2015

dual citizenships คืออะไร มีผลอะไรต่อคนไทย

เนื่องด้วยช่วงนี้ลูกค้าหลายๆคนของ J Migration Team หลังจากที่ได้ PR กันแล้ว หลายๆคน หลายๆครอบครัวก็อยากที่จะเป็นซิติเซ็น เป็นคนของที่นี่กัน เพราะข้อดีของการเป็นซิติเซ็นของประเทศออสเตรเลียก็มีเหนือกว่าการเป็น PR อยู่บ้างเล็กน้อย และคนไทยเราเองก็สามารถถือ dual citizenship ได้ด้วย ซึ่งก็หมายความว่าเราไม่ต้องสูญเสียการถือสัญชาติไทยอะไรของเรา เราก็สามารถเป็น citizen ของประเทศไทย และประเทศออสเตรเลียได้ไปพร้อมๆกัน เพราะคนเขียนเองก็ถือ 2 สัญชาติเหมือนกัน และยังถือ PR ของประเทศ "xyz" อีกด้วย ดังนั้นเรามั่นใจในเรื่องของการเดินทางไปแต่ละประเทศว่าเราจะเข้าไปในลักษณะใหนที่จะ maximum ผลประโยชน์ในเชิงกฎหมายและเชิงพานิชย์ ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของการงาน และการเสียภาษี หรือการขอความเชื่อเหลือจากสถานทูตของประเทศนั้นๆ

ข้อดีของการถือ citizen ของออสเตรเลียที่แตกต่างไปจากการเป็น PR:
  • ไม่มีวันหมดอายุนอกจากจะเป็นพวกก่อการร้าย เราก็มีหน้าที่แค่ต่อ passport ทุกๆ 10 ปี ต่อจะให้กลับไปตั้งรกรากหรือทำมาหากินอยู่ที่เมืองไทย เราก็ยังสามารถต่ออายุ passport ของออสเตรเลียได้อยู่เรื่อยๆทุกๆ 10 ปี ถ้าเผื่อวันใหนอยากจะกลับมาที่ประเทศออสเตรเลียก็กลับมาได้
  • ลูกๆสามารถใช้ HECS ในการเรียนต่อได้ ตอนเรียน ป.ตรี หรือ ป.โท ดังนั้นจึงไม่เป็นการแปลกที่หลายๆคนที่ออสเตรเลียมีหลายๆ degrees จากหลายๆมหาวิทยาลัย ตัวอย่างมีให้เห็นอยู่ใกล้ๆ
  • เฉพาะคนที่เป็น citizen เท่านั้น ที่สามารถเรียน PhD (ป.เอก) ได้ฟรี
  • ผู้หญิงไทยหลายๆคน (ไม่ได้เหมารวมไปทั้งหมดนะครับ) ขอวีซ่าออกเดินทางไปต่างประเทศยาก เพราะเค๊ากลัวเราไปขายนาผืนน้อย (แล้วเค๊าไม่กลัวผู้ชายไปขาย.... มั่งหรือไงนะ...) แต่ถ้าเค๊าเป็นคนของออสเตรเลีย เป็นซิติเซนของออสเตรเลีย เวลาเดินทางต่างประเทศ ก็สามารถขอวีซ่าในฐานะของคนที่เป็นคนออสเตรเลียได้ และปกติแล้วเวลาเดินทางในประเทศที่เคยเป็นเมืองขึ้นของประเทศอังกฤษด้วยแล้ว (ประเทศในเครือ CommonWealth) แทบจะไม่ต้องขอวีซ่าเลย ซื้อตั๋ว แล้วเดินทางด้วย passport ของประเทศออสเตรเลียได้เลย อย่าลืมว่าถ้าเราเป็น PR แต่เรายังถือ passport ไทยอยู่ เวลาจะเดินทางไปใหนก็ยังคงต้องเดินทางในฐานะของคนไทย ถือ passport ไทย บางประเทศก็ไม่ค่อยอยากจะต้อนรับสักเท่าไหร่ อย่างเช่นประเทศซาอุอาระเบีย เพราะคนไทยเคยไปขโมยเพชรของกษัตริที่ประเทศซาอุ อย่างนี้เป็นต้น
หลายๆคนอาจจะสงสัยว่าถ้าเราถือ 2 passports แล้วเวลาเดินทางหละ จะใช้ passport ใหนดี ไม่งงเหรอ...

หลักการจำง่ายๆคือ เราอยากจะเข้าออกในฐานะคนประเทศใหน ไทยหรือออสเตรเลีย เราก็ใช้  passport อันนั้นในการเข้าออก แต่ก็ต้องจำให้ได้ว่า เข้าประเทศใหนด้วย passport จากประเทศใหน (ไทยหรือออสเตรเลีย) เราก็ต้องใช้ passport จากประเทศนั้นในการเดินทางออก จำได้ง่ายๆ ไม่ยาก

สมมุติว่าเราเดินทางไปประเทศ "xyz" ที่ไม่ใช่ประเทศไทยหรือประเทศออสเตรเลีย ถ้าเราใช้ passport ไทยในการเดินทางเข้า ประเทศนั้นก็จะถือเราเป็นคนไทย กฎหมายอะไรที่ประเทศนั้น apply กับคนไทยก็จะ apply กับเราด้วย ในขณะเดียวกัน ถ้าเราใช้ passport ของประเทศออสเตรเลียในการเดินทางเข้าประเทศนั้น กฎหมายอะไรที่ประเทศนั้น apply กับคนออสเตรเลียก็จะ apply กับเราด้วย

ตัวอย่าง:
เราเดินทางจากซิดนีย์ไปกรุงเทพ
  1. ขาออกจาก ซิดนีย์ เราก็ต้องใช้ passport ออสเตรเลีย จำไว้นะครับ เข้า-ออกประเทศออสเตรเลีย ก็ใช้ passport ออสเตรเลีย
  2. พอไปถึงเมืองไทย เข้ากรุงเทพ เราก็ใช้ passport ไทยเข้า เพราะ เข้า-ออกประเทศไทย ก็ใช้ passport ไทย
  3. พอขากลับมา ออกจากกรุงเทพ เราก็ต้องใช้ passport ไทย เพราะ เข้า-ออกประเทศไทย ก็ใช้ passport ไทย
  4. พอถึงซิดนีย์ เข้าประเทศออสเตรเลีย เราก็ต้องใช้ passport ออสเตรเลีย เพราะ เข้า-ออกประเทศออสเตรเลีย ก็ใช้ passport ออสเตรเลีย
ส่วนสนามบินที่อยู่ๆ ก็เอาหลักการไปประยุกต์กันเองก็แล้วกันนะครับ

การที่เราใช้ passport ไทยเดินทางเข้าประเทศไทย ก็แสดงว่าเราเข้ามาในฐานะของคนไทย เราก็อยู่ที่ประเทศไทยได้ตลอด ไม่มีกำหนด ซึ่งก็เป็นผลดีสำหรับคนที่คิดว่าจะกลับไปทำมาหากินที่เมืองไทยสักพัก

ถ้าคนที่เดินทางเข้าประเทศไทยแล้วใช้ passport ออสเตรเลียเข้าไป เราก็จะเข้าไปในฐานะของคนออสเตรเลีย มีจำนวนจำกัดว่าอยู่ได้กี่วัน ดังนั้นพ่อแม่คนใหนที่มี passport ไทย แต่ลูกไม่มี passport ไทย ก็ต้องระวังในเรื่องนี้ด้วยนะครับ พวกที่คิดจะพาลูกกลับไปเที่ยวเมืองไทยนานๆ

การที่เราใช้ passport ออสเตรเลียกลับเข้ามาประเทศออสเตรเลีย ก็หมายความว่าเราเข้าประเทศออสเตรเลียมาในฐานะของคนออสเตรเลีย ดังนั้นเราก็อยู่ที่ประเทศออสเตรเลียได้ตลอด ไม่มีกำหนด

การเดินทางด้วย 2 passports ไม่ได้ยากอย่างที่คิดนะครับ อย่างที่บอกว่าคนเขียนเองก็ยังถือ PR ของประเทศ "xyz" อีกประเทศหนึ่งด้วย เดินทางมาแล้วหลายประเทศไม่เคยมีปัญหา ดังนั้นการเป็น dual citizenships ไม่ได้ซับซ้อนอย่างที่หลายๆคนคิดกัน


No comments:

Post a Comment