Thursday, July 28, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย 8534, 8503 case ไม่เหินฟ้า แต่ไปลั๊ลล๊าประเทศอื่น


case นี้ก็เป็นอีก case หนึ่งที่วีซ่านักเรียนของน้องคนหนึ่งติด condition 8534 และน้องต้องการที่จะทำวีซ่า subclass 457 เพื่อติดตามแฟน

วีซ่านักเรียนของน้องยังเหลืออีกยาวมาก ถึงปีหน้า

อย่าลืมนะครับว่าวีซ่า subclass 457 ถ้าไม่มีอะไรผิดพลาดแล้ว ผลน่าจะออกประมาณ 6-8 weeks หลังจากที่ยื่น

เนื่องด้วยวีซ่านักเรียนของน้องยังเหลืออีกเยอะ น้องสามารถเดินทางเข้าออกประเทศออสเตรเลียด้วยวีซ่านักเรียนได้ และตัวน้องกับแฟนเองก็กำลังอยากจะกลับไปเมืองไทยพอดี ก็เลยเป็นอะไรที่เหมาะเจาะและลงตัวคือ น้องบินออกไปข้างนอก แล้วเราก็ยื่นเรื่องติดตามของวีซ่า subclass 457 ให้น้อง

พอยื่นเรื่องเสร็จ น้องก็สามารถบินกลับมาด้วยวีซ่านักเรียน เพราะวีซ่านักเรียนของน้องยังเหลือเยอะ พอบินกลับเข้ามาก็มารอวีซ่า subclass 457 ออก เพราะวีซ่า subclass 457 ไม่ว่าเราจะยื่นเป็น offshore หรือ onshore เราสามารถรอวีซ่าอยู่ที่ใหนก็ได้ รอได้ทั้ง offshore และ onshore เช่นเดียวกัน 

case นี้เราไม่ได้ submit online เหินฟ้า เหมือน case อื่นๆ เพราะเวลาไม่ลงตัว แต่น้องก็เดินทางออกนอกประเทศตั้งแต่เช้า เพราะได้ flight บินตอนเช้า และแอบไปแวะเที่ยวที่ต่างประเทศก่อน 1 วันก่อนจะเดินทางต่อไปเมืองไทย

ในระหว่างที่น้องไป sweet กัน ลั๊ลล๊ากันอยู่ที่ต่างประเทศ เราก็ยื่นเรื่อง submit online ให้น้อง

อย่างที่เราได้เคยเขียนไว้ใน blog และใน post ต่างๆตาม social page ว่า ถ้าวีซ่าเราติด condition 8503 หรือ 8534 เราไม่จำเป็นต้องยื่นเรื่องมาจากเมืองไทยที่เดียว 

คำว่า offshore คือยื่นเรื่องหรือ submit เรื่องตอนที่เจ้าตัวอยู่นอกประเทศออสเตรเลีย ดังนั้นเจ้าตัวจะไปอยู่ประเทศใหนก็ได้ ขอให้ออกจากประเทศออสเตรเลียไป หรือจะออกไปน่านน้ำสากล ล่องเรือสำราญก็สามารถทำได้

อย่าลืมนะครับ คำว่า offshore แค่เรา scan passport ที่ custom ก็ถือว่าเราออกไปเป็น offshore แล้ว

case นี้ก็เป็นอีก case หนึ่งที่เราทำให้น้องแบบว่าน้องแทบไม่ต้องทำอะไรเลย ทุกอย่าง just leave it to us... 

น้อง 2 คนก็ไปเริงร่าอยู่ต่างแดน ในระหว่างที่เราเรื่องให้ ง่ายดีออก...

Sunday, July 24, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย code of conduct ข้อมูลของลูกค้าถือว่าเป็นความลับ


ทนายความหรือ immigration agent เรามี code of conduct ที่จะต้องดูแลลูกค้า และรักษาผลประโยชน์ของลูกค้า


ทนายความหรือ immigration agent เราทำงานให้กับลูกค้าเท่านั้น เราไม่ได้ทำงานให้กับ immigration หรือหน่วยงานของรัฐบาล


ดังนั้นใครที่มีปัญหาอะไรสามารถเข้ามาขอคำปรึกษาได้ ไม่ว่าจะเรื่องอะไรก็ตามแต่ที่เกี่ยวกับ immigration หรือปัญหาทางด้านวีซ่าของคุณ


หลายคนที่อยู่ที่นี่โดยผิดกฏหมาย ไม่มีวีซ่าที่ถูกต้อง ก็ปรึกษาเราได้นะครับ ไม่ต้องกลัวว่าเราจะโทรไปแจ้ง immigration เพื่อที่จะให้ immigration มาจับคุณ เพราะมันไม่ใช่หน้าที่ของเรา อย่างที่เราบอกเอาไว้เบื้องต้นแล้วว่า หน้าที่ของเรามีหน้าที่ดูแลและรักษาผลประโยชน์ของลูกค้า ข้อมูลของลูกค้าทุกอย่างถือว่าเป็นความลับ ถือว่าเป็น confidential


หรืออาจจะมีอีกหลายกรณีในลักษณะที่ว่า คุณมีเพื่อนที่ใช้ทนายความหรือ immigration agent คนเดียวกันกับคุณ เราก็อยากจะบอกว่า ข้อมูลของลูกค้าทุกอย่างถือว่าเป็นความลับ เราจะไม่เอาข้อมูลของลูกค้ามาแชร์กับลูกค้าคนอื่นๆ


ดังนั้นใครที่มีเพื่อนที่ใช้ทนายความหรือ immigration agent คนเดียวกัน ก็ไม่ต้องมีอะไรที่จะต้อง worries ว่าทนายความหรือ immigration agent คนนั้นจะเอาข้อมูลของเราไปแชร์กับเพื่อนของเราอีกคนหนึ่ง


ทนายความหรือ immigration agent เราทำงานเป็น professional เราไม่ใช่พวก gossip ซุบซิบนินทาไร้สาระ ดังนั้น อยากจะให้ทุกคนที่มาใช้บริการ สบายใจได้เลยว่า ข้อมูลของคุณได้รับการดูแลเป็นอย่างดี ไม่มีการเอาข้อมูลของคุณไปแชร์กับใครคนอื่นแน่นอน เพราะว่าทนายความหรือ immigration agent เรามี code of conduct ที่เราต้อง follow อยู่แล้วถ้าเผื่อเราไม่ follow code of conduct เราก็ไม่สามารถที่จะต่อ licence หรือใบอนุญาตในการประกอบวิชาชีพได้ ซึ่งการต่อ licence หรือใบอนุญาตในการประกอบวิชาชีพนี้เราต้องต่อกันทุกๆปีอยู่แล้ว

วีซ่าออสเตรเลีย case เหินฟ้า


เราก็มี case อยู่ case 1 นะครับที่เรายื่นเรื่องให้น้องคนนึงในขณะที่น้องเขาอยู่บนฟ้า

เรื่องก็มีอยู่ว่า...

visa ของน้องคนนี้ติด condition 8534 คือน้องเขาไม่สามารถที่จะยื่นวีซ่า onshore ในประเทศออสเตรเลียได้ ดังนั้นน้องเขาก็ต้องเดินทางออกไปนอกประเทศเพื่อที่จะยื่นวีซ่าตัวใหม่เป็น offshore


อย่าลืมนะครับคำว่า offshore เนี่ยไม่จำเป็นต้องยื่น case ที่เมืองไทยนะครับ ยื่นที่ไหนก็ได้ ขอเพียงแต่ว่าต้องให้ยื่นวีซ่าตอนที่เราอยู่นอกประเทศของประเทศออสเตรเลียเท่านั้น


แล้วคำว่า offshore อยู่นอกประเทศ จริงๆแล้วตัวเราเป็นๆ ไม่จำเป็นต้องอยู่นอกประเทศออสเตรเลียจริงๆนะครับ ขอเพียงแค่เรา scan passport ของเราผ่าน custom ผ่าน ต.ม. เราก็ถือว่าตามกฎหมายแล้วเราอยู่นอกประเทศออสเตรเลียแล้ว ถึงแม้ว่าตัวเรานะตอนนั้นจะยังอยู่ที่สนามบินก็ตามเถอะ


OK กลับเข้ามาเรื่องของน้องคนนี้ดีกว่า เรื่องก็มีอยู่ว่า น้องเขาเป็นเจ้าของร้านนวด ไม่สามารถที่จะเดินทางไปไหนได้นานๆ เพราะว่าน้องต้องอยู่ดูแลร้านด้วย น้องเลือกที่จะเดินทางออกไปข้างนอกเมื่อวันพฤหัสที่ผ่านมา เครื่องออกตอน 6:45 pm พอน้อง scan passport ผ่าน ต.ม. หรือ custom ที่สนามบิน Sydney น้องก็ LINE มาบอกว่าตอนนี้น้องอยู่ในสนามบินแล้ว เราก็เตรียมตัวยื่นเรื่องให้น้องทัน online


แต่เราก็ไม่ได้ยื่นเลยทันทีหรอกนะครับ เราก็แบบว่ารอทานข้าวเสร็จ ทำนั่นนี่นู่น ธุระส่วนตัวตอนเย็นให้เสร็จก่อนแล้วเราก็ยื่นให้น้องประมาณ 2 ทุ่ม (8pm) อะไรประมาณเนี้ยะ ซึ่งก็หมายความว่า เรา submit case ให้น้องเขาตอนที่น้องเค้าอยู่บนฟ้า ซึ่งก็เป็น case อีก case 1 คล้ายๆกับของน้องอีกคนนึงที่เขาก็บินออกไปข้างนอกแล้วเราก็ submit case ให้เขา ตอนที่น้องเค้าอยู่บนฟ้าเหมือนกันเราก็เลยเรียก case พวกนี้ว่าเป็น case “เหินฟ้า”


สรุปก็คือเรา submit case ให้น้องเขาไปเสร็จแล้วเรียบร้อยก่อนที่น้องเขา ท้าวจะแตะพื้นที่เมืองไทยด้วยซ้ำ


อย่าลืมนะครับว่าการยื่น offshore ไม่จำเป็นต้องกลับไปยื่นที่เมืองไทยเท่านั้น ถ้าเราใช้ทนายความหรือ immigration agent เขาก็สามารถ submit หรือว่ายื่นเรื่องให้เราได้ ตอนที่เรา scan passport ผ่าน costom ตรงที่สนามบินได้นะครับ ดังนั้นการที่เรา submit case ต่างๆตอนที่น้องเขาอยู่บนฟ้านั้นถือว่าเป็นเรื่องปกติ


ตอนนี้น้องก็เหลือแค่ทำ finger scan ที่เมืองไทยเสร็จแล้วน้องก็จะบินกลับมาวันอังคาร เพื่อรีบที่จะกลับมาดูแลร้านของน้องต่อไป แล้วก็รอวีซ่าที่กำลังจะออก...

Friday, July 22, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย Skill assessment ของสาขาอาชีพทางด้าน IT


IT เป็นสาขาที่นักเรียนต่างหลายๆชาติเลือกเรียนกัน โดยเฉพาะนักเรียนต่างชาติจากประเทศไทย จีน และอินเดีย

สาขาวิชาอาชีพทางด้าน IT เป็นอะไรที่ boom นะครับ เพราะโลกเราทุกวันนี้อะไรก็ใช้เทคโนโลยีกันไปหมด ดังนั้นสาขาอาชีพทางด้าน IT จึงเป็นที่ต้องการของทั่วโลกเลย ไม่เฉพาะประเทศออสเตรเลีย ดังนั้นถ้าใครเรียนจบมาทางด้านนี้ โอกาสที่จะขอวีซ่า และขอ PR ภายใต้ Skilled Migrant ของประเทศออสเตรเลียจึงมีความเป็นไปได้สูงมาก

ก็อยากจะให้ทุกคนลองศึกษาวิชาเรียนในสาขาอาชีพ IT กันให้ดีๆนะครับ เพราะเราคิดว่าสาขาอาชีพนี้ยังจะอยู่ได้ไปอีกนานและไกล

เดี๋ยว blog นี้เรามาทำความรู้จักกับหน่วยงานที่ทำ skill assessment ของสาขาอาชีพ IT กันนะครับ หน่วยงานที่ว่านี้ก็คือ Australian Computer Society; ACS.

ACS เป็นหน่วยงานที่ทำ skill assessment ให้กับ skill migrant; subclass 189, 190 และก็ subclass 485 ด้วย (สาขาอาชีพที่อยู่ใน SOL):

261111 - ICT Business Analysts
261112 - Systems Analysts
261311 - Analyst Programmer
261312 - Developer Programmer
261313 - Software Engineer
263111 - Computer Network and Systems Engineer


นอกจากนั้นแล้ว ACS ก็ยังทำ skill assessment ให้กับวีซ่าที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ด้วย; subclass 457, 186 และก็ 187 (สาขาอาชีพที่อยู่ใน CSOL):

135111 - Chief Information Officer
135112 - ICT Project Manager
135199 - ICT Managers NEC
223211 – ICT Trainer
261111 - ICT Business Analysts
261112 - Systems Analysts
261211 - Multimedia Specialist
261212 - Web Developer
261311 - Analyst Programmer
261312 - Developer Programmer
261313 - Software Engineer
261314 - Software Tester
261399 - Software and Application Programmer
262111 - Database Administrator
262112 - ICT Security Specialist 
262113 - Systems Administrator
263111 - Computer Network and Systems Engineer
263112 - Network Administrator
263113 - Network Analyst
263211 - ICT Quality Assurance Engineer
263212 - ICT Support Engineer
263213 - ICT Systems Test Engineer
263299 - ICT Support and Test Engineer NEC
313113 - Web administrator 

จะสังเกตุว่าสาขาอาชีพที่อยู่ใน CSOL จะมีมากกว่า SOL นะครับ

การทำ skill assessment ของ general skill migrant (subclass 189 & 190) จะไม่เหมือนกับการทำ skill assessment ของ subclass 485

การทำ skill assessment ของ ACS จะไม่มี requirement ในส่วนของภาษาอังกฤษ

การที่ skill assessment ของเราจะผ่านก็ต่อเมื่อรายวิชาที่เราเรียนใน transcript นั้น ต้องเป็นรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับ IT และ 65% ของรายวิชาต่างๆที่อยู่ใน transcript ต้องมีความใกล้เคียงกับ สาขาอาชีพหรือตำแหน่งงานที่เราเลือกทำ skill assessment เราต้องเลือกสาขาอาชีพให้ตรงกับที่เราเรียนให้มากที่สุดนะครับ เพราะสาขาอาชีพทางด้าน IT นั้นเยอะมาก อย่างที่เห็นตามด้านบน


Temporary Graduate; Subclass 485
สำหรับคนที่ต้องการทำวีซ่า subclass 458 ซึ่งปกติก็ต้องเป็นเด็กนักเรียนที่เรียนที่ประเทศออสเตรเลียอยู่แล้ว ถึงจะสามารถขอวีซ่า subclass 485 การทำ skill assessment ของคนที่ต้องการทำวีซ่า subclass 485 นั้นทำได้ง่ายๆนะครับ คือแค่เอาใบจบ ป.ตรีหรือสูงกว่า จากมหาวิทยาลัยที่นี่และก็ transcript แล้วยื่นมาที่ ACS แค่นี้ก็ทำ skill assessment ผ่านแล้วครับ เพราะว่ามหาวิทยาลัยที่นี่ ยังไงก็ต้องได้มาตรฐานของ ACS อยู่แล้ว

Skilled Migrant; subclass 189 & 190
สำหรับนักเรียนที่เรียนจบที่ประเทศออสเตรเลีย ป.ตรีหรือสูงกว่า ก็สามาถทำเป็น "Post Australian Study Skill Assessment" ได้เลย นี่แหละข้อดีของการจบที่ประเทศออสเตรเลีย


  • การทำ skill assessment สำหรับคนที่จบที่ออสเตรเลียก็เอาแค่ ประสบการณ์การทำงาน 1 ปีหลังจากที่เรียนจบทันที หรือทำ Professional Year กับ ACS แค่นี้ก็ทำ skill assessment ผ่านแล้ว
สำหรับคนที่ไม่ได้ทำ Professional Year  หรือไม่มีประสบการณ์การทำงาน 1 ปีหลังจากที่เรียนจบทันที ก็สามารถทำ skill assessment ได้เหมือนกัน แต่จะมี requirement ที่แตกต่างกันออกไป

สำหรับคนที่จบ ป.ตรีหรือสูงกว่า:


  • สำหรับคนที่จบ ป.ตรีหรือสูงกว่า ถ้าเรียน IT เป็น major และสาขาวิชาที่เรียนมาก็ตรงกับสาขาอาชีพที่จะขอวีซ่า ก็ต้องมีประสบการณ์การทำงานอย่างต่ำ 2 ปีในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา หรือ 4 ปีของชีวิตการทำงาน


  • สำหรับคนที่จบ ป.ตรีหรือสูงกว่า ถ้าเรียน IT เป็น major แต่สาขาวิชาที่เรียนมาไม่ตรงกับสาขาอาชีพที่จะขอวีซ่า ก็ต้องมีประสบการณ์การทำงานอย่างต่ำ 4 ปีของชีวิตการทำงาน



  • สำหรับคนที่จบ ป.ตรีหรือสูงกว่า ถ้าเรียน IT เป็น minor และสาขาวิชาที่เรียนมาก็ตรงกับสาขาอาชีพที่จะขอวีซ่า ก็ต้องมีประสบการณ์การทำงานอย่างต่ำ 5 ปีในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา หรือ 6 ปีของชีวิตการทำงาน


  • สำหรับคนที่จบ ป.ตรีหรือสูงกว่า ถ้าเรียน IT เป็น minor แต่สาขาวิชาที่เรียนมาไม่ตรงกับสาขาอาชีพที่จะขอวีซ่า ก็ต้องมีประสบการณ์การทำงานอย่างต่ำ 6 ปีของชีวิตการทำงาน

สำหรับคนที่เรียนจบมาทางด้าน Diploma, Advanced Diploma หรือ Associate Degree:
  • สำหรับคนที่เรียนจบมาทางด้าน Diploma, Advanced Diploma หรือ Associate Degree ถ้าเรียน IT เป็น major และสาขาวิชาที่เรียนมาก็ตรงกับสาขาอาชีพที่จะขอวีซ่า ก็ต้องมีประสบการณ์การทำงานอย่างต่ำ 5 ปีในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา หรือ 6 ปีของชีวิตการทำงาน

  • สำหรับคนที่เรียนจบมาทางด้าน Diploma, Advanced Diploma หรือ Associate Degree ถ้าเรียน IT เป็น major แต่สาขาวิชาที่เรียนมาไม่ตรงกับสาขาอาชีพที่จะขอวีซ่า ก็ต้องมีประสบการณ์การทำงานอย่างต่ำ 6 ปีของชีวิตการทำงาน


Wednesday, July 20, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย Skill assessment ของ Accountant


Accountant เป็นอีกหนึ่งสาขาอาชีพยอดฮิตของนักเรียนต่างชาติที่มาเรียนที่ประเทศออสเตรเลีย นักเรียนไทยเราเองก็เรียนบัญชีกันเยอะ เดี๋ยววันนี้เรามาทำความรู้จักกับหน่วยงานที่ทำ skill assessment ของสาขาอาชีพ accounting กันดูนะครับ

หน่วยงานที่ว่านี้ก็คือ CPA Australia

CPA สามารถทำ skill assessment ในสาขาอาชีพ ANZSCO code ดังต่อไปนี้:
Accountant (general) (ANZSCO code 221111) 
Corporate treasurer (ANZSCO code 221212)
External auditor (ANZSCO code 221213)
Finance manager (ANZSCO code 132211)
Management accountant (ANZSCO code 221112)
Taxation accountant (ANZSCO code 221113)


สำหรับคนที่ต้องการทำวีซ่า subclass 485 ก็สามารถทำ skill assessment ในแบบของ provisional assessment ก็พอ ซึ่งก็จะมี requirement ที่ง่ายกว่า โดยเฉพาะ requirement ของผลสอบภาษาอังกฤษ

การทำวีซ่า subclass 485 นั้น เราไม่จำเป็นต้องรอผล skill assessment จาก CPA ขอแค่เรามีใบเสร็จจาก CPA เราก็สามารถไป lodge application ได้ก่อน แล้วยื่นผล skill assessment ตามไปทีหลังได้

ซึ่งตรงนี้จะแตกต่างจาก Independent Skilled Migrant visa; subclass 189 ที่เราต้องรอผลให้ได้ผล skill assessment จาก CPA ก่อน เราถึงจะสามารถยื่น lodge application ของ visa subclass 189 ได้

Requirement ของผลสอบภาษาอังกฤษของ provisional assessment (ใช้ทำ visa subclass 485) กับ general skill migrant (ใช้ทำ visa subclass 189) ไม่เหมือนกันนะครับ

Provisional assessment; ใช้ทำ visa subclass 485
IELTS General หรือ Academic: พูด อ่าน เขียน ฟัง ทุกอย่าง อย่างต่ำ 6.0 (6, 6, 6, 6)
CAE: พูด อ่าน เขียน ฟัง ทุกอย่าง อย่างต่ำ 169 (169169169169)
PTE Academic: พูด อ่าน เขียน ฟัง ทุกอย่าง อย่างต่ำ 50 (50505050)
TOEFL iBT: พูด 18, อ่าน 13, เขียน 21, ฟัง 12

General skill migrant;ใช้ทำ visa subclass 189)
IELTS Academic: พูด อ่าน เขียน ฟัง ทุกอย่าง อย่างต่ำ 7.0 (7, 7, 7, 7)
CAE: พูด อ่าน เขียน ฟัง ทุกอย่าง อย่างต่ำ 185 (185185185185)
PTE Academic: พูด อ่าน เขียน ฟัง ทุกอย่าง อย่างต่ำ 65 (65656565)
TOEFL iBT: พูด 23, อ่าน 24, เขียน 27, ฟัง 24

หลายๆคนอาจคิดว่าทำไม requirement ของภาษาอังกฤษถึงยากจังสำหรับนักการบัญชีหรือ accountant 

ในฐานะที่เราเป็นคนที่นี่และใช้ชีวิตอยู่ที่นี่มันก็เป็นเรื่องปกตินะครับที่เวลาเราไปใช้บริการของ accountant เราก็ต้องการคนที่เก่งและมีความสามารถจริงๆ ดังนั้นถ้าเรารู้ว่า accountant เหล่านี้ต้องสอบ IELTS Academic ให้ได้ทุกอย่างอย่างต่ำ 7 เขาถึงจะได้ PR เราก็ไว้วางใจให้เขาทำบัญชีหรือดูแลเรื่องการเงินของเราได้ อย่างนี้เป็นต้น