Saturday, April 28, 2018

เหินฟ้า... Bridging Visa A กับ Partner Visa


Interesting case to share; 27 Apr 2018

น้อง “xyz” ถือ Bridging Visa A รอเรื่องอุทธรณ์ของวีซ่านักเรียนอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย

น้อง “xyz” เจอแฟนหนุ่มสุดหล่อ และแฟนก็พร้อมที่จะเรื่อง Partner Visa ให้

เป็น case คล้าย ๆ กับ case ของมะเมี๊ยะ ที่เราเขียน blog ไป (ไล่ ๆ อ่านดูได้นะครับ)

น้อง “xyz” เลยต้องมีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางออกไปยื่นเรื่อง Partner Visa offshore นอกประเทศ

น้องเดินทางเมื่อวาน วันที่ 27 Apr 2018, 10am ตอนเช้า
ในระหว่างที่น้องอยู่บนฟ้า
ทางทีมงานเราก็เริ่มจัดการเรื่อง application ให้ ประมาณ 2pm

จริง ๆ ถ้าเราจะยื่นตอนที่น้องอยู่บนฟ้าเลยก็ได้ แต่เพอิญว่ามันมีข้อมูลติดขัดนิดหน่อย
จริง ๆ เราก็น่าจะ check ตั้งแต่เนิ่น ๆ แหละ แต่บางทีเราก็ busy จริง ๆ จ๊ะ (ข้ออ้างหรือเปล่านะ)
จึงต้องรอให้น้องลงถึงพื้น มี Internet แล้วเราก็คุยกันใน inbox คือ check ข้อมูลเสร็จเราก็ยื่นให้เลย

เรายื่นเรื่องให้น้องตอน 10:45pm จ๊ะ 



ไม่ค่อยดึกเท่าไหร่นะ แต่มันก็เลย bedtime 10pm เราไปแล้ว แต่เราก็เต็มใจทำให้น้อง อยากจะให้เสร็จ ๆ ไป เพราะเราเตรียม case นี้กันมานาน

ตอนนี้น้องก็แค่รอไปทำ finger scan ที่ VSF แล้วก็บินกลับเข้ามาได้แล้วครับ

ในระหว่างที่น้องรอเรื่องอุทธรณ์ที่ AAT

Case Partner Visa ของน้องก็จะเข้าคิว ทำงานไปเรื่อย ๆ จ๊ะ

ก็ไม่แน่นะ วีซ่าน้องอาจจะออกก่อนที่ผลอุทธรณ์ที่ AAT จะออกก็ได้ ใครจะไปรู้

สรุป case นี้; 27 Apr 2018
- น้องบินออก 10am
- เราเริ่มทำเรื่อง online ให้ 2pm
- ยื่นเรื่อง 10:45pm

เป็นไงหละ เราทำได้จ๊ะ

เรา busy ทำ case ดูแลลูกค้าจ๊ะ
อาจจะไม่ได้มีเวลาตอบ LINE, ตอบ inbox พวก general enquiries

ขอกราบขอโทษแบบเบญจางคประดิษฐ์แทบเท้าของท่าน
งาม ๆ 3 ทีครึ่ง ถ้าเราตอบ LINE, ตอบ inbox พวก general enquiries ไม่ทันใจท่านทั้งหลายนะครับ

ขอกราบขอโทษแบบเบญจางคประดิษฐ์แทบเท้าของท่านรอบที่ 2 ถ้าเรากระแนะกระแหนไปบ้าง กัดจิกเจ็บไปบ้าง เราจะนำไปปรับปรุงจ๊ะ แต่ออเจ้ายังไม่ชินกันอีกหรอ หรือว่าออเจ้าเหล่านั้น “คลื่นความถี่” เราคงไม่ตรงกัน ก็ไม่เป็นไรครับ เราไม่ว่ากัน ทุกคนมีจริตและความชอบที่แตกต่างกัน

มนุษย์เป็นสิ่งมีชีวิตที่น่าศึกษาและค้นคว้า
ไม่ว่าเราจะทำอะไรยังไงก็ตามแต่ ขอให้เรารู้หน้าที่และความรับผิดชอบของเราก็เป็นพอ ความรับผิดชอบต่อลูกค้าที่เรากำลังทำ case ให้อยู่

ถูกใจเขา ไม่ถูกใจเรา ก็คงไม่เป็นไร (ปลอบใจตัวเอง)

ถ้าไม่อย่างนั้นแล้วที่เมืองไทยคงไม่มีเสื้อเหลืองเสื้อแดง

ก้มหน้าทำงานของเราต่อไปจ๊ะ...

...รักนะ...

ขอบคุณครับ

LINE: @JMigrationTeam (มี @ ข้างหน้าด้วย)
IG: @JMigrationTeam
Snapchat: @JMigrationTeam
YouTube: www.youtube.com/c/JMigration
www.jmigrationteam.com
anchor.fm/john-paopeng
SMS: +61 412470969


Wednesday, April 25, 2018

ภาษาอังกฤษกับผลการเรียน 5 ปี


วีซ่า subclass 482 TSS, subclass 186, subclass 187
วีซ่าทำงานโดยที่มีนายจ้างสปอนเซอร์

และภาษาอังกฤษกับผลการเรียน 5 ปี (update… update…)

ผลสอบภาษาอังกฤษที่จะต้องใช้กับวีซ่า subclass 482 TSS คือ:

  • สาขาอาชีพที่อยู่ใน long-term list, ผลสอบของ IELTS general, each band พูด อ่าน เขียน ฟัง จะต้องได้ 5 อย่างต่ำ

  • สาขาอาชีพที่อยู่ใน short-term list, ผลสอบของ IELTS general, overall ต้องได้ 5 อย่างต่ำ, และ each band พูด อ่าน เขียน ฟัง จะต้องได้ 4.5 อย่างต่ำ
หากไม่ต้องการที่จะสอบ IELTS เราก็สามารถสอบตัวอื่นได้ อย่างเช่น PTE Academic หรือตัวอื่น ๆ

คนติดตามของวีซ่า subclass 482 TSS ไม่จำเป็นต้องสอบภาษาอังกฤษ

ผลสอบภาษาอังกฤษที่จะต้องใช้กับวีซ่า subclass 186 ENS, หรือ subclass 187 RSMS คือ:

  • ผลสอบของ IELTS general, each band พูด อ่าน เขียน ฟัง จะต้องได้ 6 อย่างต่ำ ไม่ว่าจะเป็นแบบ Direct Entry หรือ Transitional Stream (ขอต่อจาก subclass 457 หรือ subclass 482 TSS)

  • คนติดตามที่อายุเกิน 16 ปีจะต้องสอบ IELTS general, overall ต้องได้ 4.5 อย่างต่ำ 
หากคนติดตามไม่มีความประสงค์ที่จะสอบภาษาอังกฤษ เขาก็สามารถจ่ายเงินให้กับรัฐบาลประมาณ $4,800 ซึ่งเราเรียกว่า 2nd VAC; 2nd Visa Application Charge

หากไม่ต้องการที่จะสอบ IELTS เราก็สามารถสอบตัวอื่นได้ อย่างเช่น PTE Academic หรือตัวอื่น ๆ

แต่ทั้งหมดของคนสมัคร main applicant ของวีซ่า 482 TSS, subclass 186 Transitional Stream, subclass 187 Transitional Stream เราสามารถใช้ผลการเรียน 5 ปี full-time ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อการเรียนการสอนมาเป็นข้อยกเว้นได้ครับ:

  • ผลการเรียน 5 ปีไม่จำเป็นต้องเรียนต่อเนื่อง
  • ผลการเรียน 5 ปีไม่จำเป็นต้องเรียนภายในประเทศออสเตรเลีย
  • ผลการเรียน 5 ปีไม่จำเป็นต้องเรียนจบ
  • ผลการเรียน 5 ปีสามารถนับได้เริ่มตั้งแต่ year 7 หรือ ม.1 หรือ Cert II เป็นต้นมา
  • ผลการเรียน 5 ปี ถ้าเราเคยเป็นนักเรียนอินเตอร์ เราก็สามารถนำเอามานับรวมกันได้ เพราะเราใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการเรียนการสอน 
  • ผลการเรียน 5 ปี ไม่นับช่วงที่เรียนภาษา (ปรับพื้นฐานทางด้านภาษา)
  • ผลการเรียน 5 ปีถึงแม้ว่าตอนที่เราขอ 457, 482 TSS เราจะไม่ได้ใช้ผลการเรียน 5 ปีมายกเว้น แต่ตอนที่ขอวีซ่า subclass 186 Transitional Stream, หรือวีซ่า subclass 187 Transitional Stream เราก็สามารถเอาผลการเรียน 5 ปี full-time มายกเว้นได้ครับ (update...update...update...)
  • ผลการเรียน 5 ปี ถ้าเราเคยใช้ตอนที่ทำวีซ่า subclass 457 หรือ 482 TSS เราก็สามารถนำเอามาใช้อีกตอนขอ PR ด้วยวีซ่า subclass 186 หรือ 187 แบบ Transitional Stream (อันนี้เราพูดไปบ่อย และเยอะมากแล้ว)

หลาย ๆ คนอาจจะคิดว่าแบบนี้ตอนที่เขายื่น 457 หรือ 482 TSS เขาใช้ผลภาษาอังกฤษในการยื่น เพราะผลการเรียนเขาไม่ครบ 5 ปี แต่ตอนที่ขอ PR ด้วยวีซ่า subclass 186 หรือ subclass 187 เขาจะไปเรียนเพิ่มเพื่อให้มีผลการเรียนครบ 5 ปีได้ไหม

จริง ๆ แล้วทำแบบนั้นยากมากเลยนะครับ เพราะวีซ่า subclass 457 หรือ 482 TSS เราจะต้องทำงาน full-time แล้วเราจะเอาเวลาที่ไหนไปเรียน เพราะเราต้องเรียน full-time ด้วย

สำหรับคนติดตามของวีซ่า subclass 186 หรือ subclass 187 ที่อายุเกิน 16 ถ้าไม่อยากสอบภาษาอังกฤษ IELTS general overall 4.5 เราก็สามารถเอาผลการเรียนมายกเว้นได้คือ:
  • ถ้าเคยเรียนโรงเรียนประถมแล้วก็ต่อด้วยมัธยมอีก 3 ปีที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการเรียนการสอน ทั้งในหรือนอกประเทศออสเตรเลีย
  • ถ้าเรียนโรงเรียนมัธยม 5 ปีที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการเรียนการสอน ทั้งในหรือนอกประเทศออสเตรเลีย
  • ถ้าเรียน 1 ปี full-time หรือ 2 ปี part-time ในระดับ Diploma ขึ้นไป แต่จะต้องเรียนภายในประเทศออสเตรเลียเท่านั้น 
  • ถ้าเรียน ป. ตรีหรือสูงกว่า หรือ Diploma 2 ปี full-time ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการเรียนการสอน ทั้งในหรือนอกประเทศออสเตรเลีย 
กฎหมายอิมมิเกรชั่นของประเทศออสเตรเลียมีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ๆ ดังนั้นจึงสำคัญมากนะครับที่เราจะต้องศึกษาข้อมูลอยู่ตลอดเวลา

กฎหมายอิมมิเกรชั่นควรจะได้รับคำปรึกษาจากคนที่มี MARN เท่านั้นนะครับ

อ่านอะไรจาก pantip ก็ระวังกันด้วย
อ่านอะไรจากเว็บบอร์ดก็ระวังกันด้วย
อ่านอะไรจากพวก Facebook Group ต่าง ๆ ก็ระวังกันด้วยนะครับ

LINE: @JMigrationTeam (มี @ ข้างหน้าด้วย)
IG: @JMigrationTeam
Snapchat: @JMigrationTeam
YouTube: www.youtube.com/c/JMigration
www.jmigrationteam.com
anchor.fm/john-paopeng
SMS: +61 412470969

Saturday, April 21, 2018

Child Visa


Another success story to share.

“P’ A***” คือคนที่ติดตามเพจเรามานาน; "J Migration Team วีซ่าออสเตรเลีย ง่าย ๆ ไม่อยาก"

ขอบคุณน้อง “A**” จาก Kingaroy QLD ที่เป็นคนแนะนำ “P’ A***” ให้กับ “J Migration Team” นะครับ

สิ่งที่น้อง “A**” มันประเมินค่าไม่ได้จริง ๆ สำหรับเรา
ขอบคุณจากใจจริง ๆ ครับ

“P’ A***” เป็น PR และต้องการขอ PR ให้ลูกทั้งสามคน

ขอบคุณ “P’ A***” ที่ให้ความไว้วางใจเราและทีมงานในการดูแลเรื่องวีซ่าให้ลูกทั้งสามคนนะครับ

“P’ A***” เลือกที่จะจ่ายตังค์ค่าบริการให้กับเราตั้งแต่เนิ่น ๆ
“P’ A***” บอกว่ากลัวเราไม่รับโทรศัพท์

อะนะ…. มีแบบนี้ด้วยนะพี่ :)

“P’ A***” เป็นคนที่คิดแล้ว "ทำทันที"

ไม่ใช่พวกที่ทำมาทำไปอยู่นั่นแหละ ไม่ตัดสินใจสักที
อย่าลืมนะครับ case เรามีเยอะ บางทีก็ต้องเข้าคิวรอ
คุย ๆ อยู่แล้วหายไปเราไม่ว่า
แต่ถ้าจะกลับมา กรุณาต่อบัตรคิวนะครับ



หรือบางทีเราก็ตัดทิ้งไปเลย
และก็บอกกับตัวเองว่า
“หมดบุญของเขา หมดกรรมของเรา”

แต่เนื่องด้วย “P’ A***” เป็นคนที่คิดแล้ว "ทำทันที" 

“P’ A***” จึงได้รับราคาและการบริการที่แตกต่างไปจากคนอื่นมาก
ก็จะมีบ้างที่บางทีเวลาของการทำงานของเราไม่ตรงกัน

“P’ A***” ก็เลือกที่จะ SMS มา หรือ email มาแทน
ซึ่งเราก็จะตอบกลับเสมอ
“P’ A***” ยืนยัน นอนยัน ตีลังกาอย่างได้นะครับ (เหมือนเล่นโยคะเลยนะ)

บอกแล้วไงครับ เงินสามารถซื้อได้ทุกอย่าง (ถ้ามากพอ)

วีซ่าของลูก “P’ A***” ผ่านไปแล้ว 2 คน
ยังเหลืออีก 1 คน

คนแรกที่ได้ PR คือลูกชายคนกลาง
ลูกชายคนกลางของ “P’ A***” ขอวีซ่านักเรียนเพื่อมาเรียนภาษา
โชคดีที่น้องไม่ติด condition 8534

เราก็เลยยื่น Child Visa ให้น้องไปเป็นแบบ onshore ได้

พอวีซ่านักเรียนของน้องหมด น้องก็ได้ Bridging Visa A ซึ่งน้องก็สามารถเรียนในโรงเรียนรัฐบาลของประเทศออสเตรเลียได้ ถึงแม้ไม่ได้เรียนฟรี แต่ก็ได้จ่ายค่าเทอมใน rate ที่ถูกกว่ามาก

เป็น rate ค่าเทอมของ Temporary Residence นะครับ

Child Visa Onshore ต้องยื่นเป็น Paper-based application นะครับ
แล้วก็ต้องส่งไปที่ Perth Centre เท่านั้น

Case แต่ละ case ของ Child Visa เอกสารอะไรต่าง ๆ เบ็ตเสร็จก็ประมาณ 200 กว่าหน้านะครับ

เราก็นั่งเซ็น JP จนมือหงิก
แต่เราก็นั่งเซ็นด้วยความเต็มใจครับ
เพราะเรารู้ดีว่าเรากำลังทำอะไรอยู่
เพราะเรารู้ดีว่าสิ่งที่เรากำลังทำอยู่นั้นมันสามารถเปลี่ยนชีวิตใครบางคน
มันสามารถเปลี่ยนชีวิตครอบครัวครอบครัวหนึ่งไปในทางที่ดีได้

เราเชื่ออย่างนั้นจริง ๆ

เรายื่นเรื่องให้น้องผู้ชายตอน Nov 2016
น้องได้ PR ตอน Apr 2017

ส่วนน้องสาวคนเล็กอยู่ที่เมืองไทย
เราก็ต้องยื่นเป็น offshore application ส่งเอกสารทุกอย่างไปให้สถานทูตของประเทศออสเตรเลียที่เมืองไทย

เรายื่นเรื่องให้น้องผู้หญิงคนเล็ก Feb 2017
น้องก็ตั้งหน้าตั้งตารอ
“P’ A***” ก็ตั้งหน้าตั้งตาเราเหมือนกัน เพราะลูกชายคนกลางได้มาอยู่ที่นี่แล้ว ได้ PR แล้ว

ส่วนลูกสาวคนโตก็ขอเป็นวีซ่านักเรียนมา แล้วเราก็ยื่นขอ PR ให้เป็นแบบ onshore ภายในประเทศออสเตรเลีย ก็รอเรื่องอยู่ที่นี่ ถึงแม้ว่ายังรอวีซ่าอยู่ แต่อย่างน้อยก็ได้อยู่กับคุณแม่

ได้ช่วยคุณแม่ดูแลธุรกิจของครอบครัว

สรุปก็คือลูก 2 คนตอนนี้อยู่กับ “P’ A***” ที่ประเทศออสเตรเลีย
ก็เหลือแต่ลูกสาวคนเล็กที่เข้าโรงเรียนอยู่ที่ประเทศไทย
case officer ที่เมืองไทยเช็คเอกสารนานนิดหนึง
อันนี้ขอเป็น privacy ระหว่างเรากับ “P’ A***” ก็แล้วกันนะครับ
แต่ปกติแล้ว Child Visa standard processing time ก็อยู่ที่ 12-14 เดือนนะครับ

เราเข้าใจหัวอกของคนเป็นแม่ที่อยากจะให้ลูกมาที่นี่ให้เร็วที่สุด
“P’ A***” คอยถามเราตลอดว่าเรื่องไปถึงไหนแล้ว
แต่บางทีเราก็ตอบให้ไม่ได้จริง ๆ เพราะสิ่งที่เราทำได้ก็คือรอให้ case officer เขา make decision ก็แค่นั้นเอง

ถ้าเราสามารถ make decision แทน case officer ได้
เราก็คงจะ make decision ให้กับลูกค้าทุกคนเลย

อย่าลืมนะครับว่า case officer คือพนักงานข้าราชการที่ทำงาน 9am - 5pm เท่านั้น
ไม่ได้ทำงานดึกดื่นเหมือน J migration Team

ดังนั้นทุกคนที่ขอวีซ่า
ถ้าเผื่อเรายื่นอะไรไปหมดแล้ว
สิ่งที่ทำได้เท่านั้นก็คือ “รอ” และก็ “รอ” นะครับ

เราก็ดีใจกับ “P’ A***” และครอบครัวด้วยนะครับ
ตอนนี้วีซ่าของลูกสาวคนเล็กผ่านแล้ว
ได้ PR แล้ว

ลูกสาวคนเล็กสามารถบินมาหาคุณแม่และก็พี่ทั้งสองได้เลย
ครอบครัวก็จะได้อยู่กันพร้อมหน้าพร้อมตา เป็นครอบครัวที่มีความสุข

ที่เหลือตอนนี้ก็เหลือแค่ลูกสาวคนโตเท่านั้น
เนื่องด้วยลูกสาวคนโตอายุเกิน 18 แล้ว
ลูกสาวคนโตก็ต้องไปเรียนตลอด

ไม่ขาดเรียน
ไม่โดดเรียน
แล้วก็ update สถานะการเรียนมาที่เราทุกเทอม
เราก็คิดว่าทุกอย่างก็จะผ่านไปได้ด้วยดีครับ
ขอเพียงแค่ “รอ” เท่านั้น

ขอบคุณ “P’ A***” ที่ให้ความไว้วางใจ “J Migration Team” ดูแล case ของ “P’ A***” นะครับ

เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ “P’ A***” ให้เราและทีมงานได้เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางในชีวิตครั้งนี้

ขอบคุณจากใจจริง ๆ ครับ

J Migration Team
MARN: 0851174

LINE: @JMigrationTeam (มี @ ข้างหน้าด้วย)
IG: @JMigrationTeam
Snapchat: @JMigrationTeam
YouTube: www.youtube.com/c/JMigration
www.jmigrationteam.com
anchor.fm/john-paopeng
SMS: +61 412470969

Friday, April 20, 2018

มิจฉาชีพกับการจ้างแต่ง



เราอยากจะให้คนไทยที่นี่ระวังตัวกันด้วยนะครับ
อย่าตกเป็นเหยื่อของพวกมิจฉาชีพด้วยการจ้างแต่ง

Partner Visa เป็นวีซ่าสำหรับคู่รัก ที่เขารักกันจริง ๆ

ไม่ใช่เพื่อนทำให้เพื่อน
ไม่ใช่พวกจ้างแต่ง

เราเข้าใจและก็เห็นใจหลาย ๆ คน
ทุกคนที่นี่มีพื้นฐานชีวิตที่แตกต่างกัน
ทุกคนมีต้นทุนในชีวิตที่ไม่เหมือนกัน

หลายคนที่นี่ทำงานหนัก 7 วัน 7 คืน เพื่อที่จะมีอนาคตที่ดีขึ้น
เพื่อที่จะได้ส่งเงินกลับไปให้ที่บ้านที่เมืองไทย

เราขอยกย่องและสรรเสริญทุกคนที่ทำงานหนัก
ไม่ว่าจะเพื่ออนาคตของตัวเอง หรืออนาคตของครอบครัว
แต่อย่าลืมนะครับว่า ร่างกายเราเสื่อมได้ ร่างกายเราโทรมได้
ดูแลรักษาตัวเองด้วยนะครับ อย่าหักโหมกันให้มาก

เมื่อทุกคนมีต้นทุนในชีวิตที่แตกต่าง
หลาย ๆ คนอาจจะไม่มีทางเลือกมากนักกับชีวิตต่างแดนแบบนี้
อาจจะด้วยการศึกษา ฐานะ และปัจจัยอย่างอื่น

บางคนอาจมีความจำเป็นที่จะต้องเลือกทำในสิ่งที่ไม่ควรทำ
บางคนอาจจะมีทางเลือกไม่มากนัก

หลายคนอาจจะเลือกทางออกทางด้านวีซ่าด้วยการจ้างแต่ง
เราเห็นใจนะครับ แต่เราขอเลือกที่จะไม่เป็นส่วนหนึ่งของขบวนการพวกนี้

ทุกคนมีจุดยืนที่แตกต่าง
แต่นี้ก็คือจุดยืนของ จุดยืนของ “J Migration Team”; 2008 - ปัจจุบัน

อยากจะให้คนที่คิดจะไปจ้างใครเพื่อที่จะทำเรื่องแต่งงานให้เรา
อยากจะให้ลองคิดดูนะครับว่า

ถ้าใครคนใดคนนึง ยอมที่จะทำอะไรแบบนั้น เพียงเพื่อ “เงิน”
เขาคนนั้นลึก ๆ แล้วเขาเป็นคนยังไง
เขาติดการพนันไหม
เขาไม่มีงานทำหรือเปล่า
แสดงว่าเขามีปัญหาเรื่องการเงินใช่ไหม

ลองศึกษาเขาให้ดี ๆ ก่อนนะครับ

แล้วเราคิดเหรอว่าคนที่เขามีปัญหาที่เรากล่าวไปเบื้องต้น เขาจะปล่อยเราไปง่าย ๆ
อ้อยเข้าปากช้าง แบบนี้เราก็เสร็จเขาสิ

เงินทองที่หามาได้ สู้เราเก็บเอาไว้ใช้เองจะดีกว่านะครับ
หรือไม่ก็ส่งไปจุนเจือครอบครัวที่เมืองไทย
ให้ลูกหลานหรือญาติของเราได้ใช้เงินเราจะดีกว่า
ดีกว่าที่จะเอาเงินไปให้คนแปลกหน้า
พวกมิจฉาชีพ
พวกทะเลที่ถมเท่าไหร่ก็คงไม่เต็ม

อย่าปล่อยให้เขาเอาเปรียบเราได้ เพียงเพราะเขาเป็นคนที่นี่; PR หรือ Citizen

เรามีชีวิตของเรา มีหน้าที่อะไรของเรา เราก็ทำไป
ของบางอย่างมันเป็นเรื่องของโชคชะตา มันเป็นเรื่องของบุพเพสันนิวาสความรักมันเป็นภาษาของหัวใจ บทมันจะมามันก็จะมาของมันเอง

แต่ถ้าหากเบื้องบนกำหนดมาว่าเราจะต้องอยู่คนเดียว ก็ไม่เห็นเป็นไรเลยครับ

เราก็อยู่คนเดียวของเราไปอย่างมีคุณค่า
มีครอบครัว พ่อแม่พี่น้องที่เมืองไทยที่เรารัก
เมื่อวันหนึ่งมาถึง เราก็กลับไปสู่อ้อมอกของพวกเขา
และก็ใช้ชีวิตแบบเรียบง่าย และก็มีความสุขแบบพอเพียง

เราเกิดมาเป็นมนุษย์ทั้งที
อย่าให้ใครมาเอาเปรียบเราได้
เราต้องรักตัวเราเอง
เราจะต้องไม่เบียดเบียนตัวเอง ด้วยการไปจ้างใครมาแต่งงานกับเรา
คิดอะไรให้รอบคอบนะครับ

เพราะเงินที่สูญเสียไป เราเรียกมันกลับคืนมาไม่ได้
คิดจะทำอะไร อยากจะให้ทุกคนคิดกันอย่างรอบคอบนะครับ
คนที่เขาอยากจะช่วยเราจริง ๆ
เขาจะต้องไม่เรียกร้องอะไรแม้แต่บาทเดียว

ทันทีที่เขามีการเรียกร้องเงินทองเข้ามาข้องเกี่ยว
อาจจะด้วยเหตุผลที่ว่า “ก็พี่มีความจำเป็นที่จะต้องใช้เงิน”

อ้าว...แล้วใครมั่งวะ ที่ไม่มีจำเป็นที่จะต้องใช้เงิน
แหม ให้ตายเถอะ... 
หอยหลอด อีกละ

ถ้าเผื่อใครเจอแบบนี้นะครับ รีบถอยห่างทันที
อย่าไปเสวนาด้วย
อย่าไปจมปลักอยู่กับสิ่งแวดล้อมแบบนั้น

ถ้าเราอยากมีชีวิตที่ดีกว่าที่เราเป็นอยู่
เราก็ควรที่จะเอาตัวของเราเองออกมาจากสิ่งแวดล้อมแบบนั้น
ให้เรามองหาสิ่งแวดล้อมที่ดีขึ้น
แล้วทุกอย่างก็จะค่อย ๆ เปลี่ยนแปลงไปทางที่ดีขึ้น

คนรอบข้างและก็สภาพสิ่งแวดล้อม เป็นปัจจัยสำคัญในการดำเนินชีวิตด้วยนะครับ

เราขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนนะครับ
ไม่ว่าใครจะโดนอะไรมา
วันนี้เรามาเริ่มต้นใหม่กันได้

ตราบใดที่ชีวิตยังไม่สิ้น
เราก็ต้องดิ้นกันต่อไปนะครับ

…รักนะ...

J Migration Team
MARN: 0851174 

LINE: @JMigrationTeam (มี @ ข้างหน้าด้วย)
IG: @JMigrationTeam
Snapchat: @JMigrationTeam
YouTube: www.youtube.com/c/JMigration
www.jmigrationteam.com
anchor.fm/john-paopeng
SMS: +61 412470969

Saturday, April 14, 2018

เราทำอะไรได้บ้างเมื่อ nomination ของวีซ่า subclass 186 หรือ 187 โดนปฏิเสธ


วีซ่า subclass 186 ENS; Employer Nomination Scheme และวีซ่า subclass 187 RSMS; Regional Sponsored Migration Scheme

เป็นวีซ่าที่สามารถขอ PR โดยมีนายจ้างสปอนเซอร์

วีซ่า subclass 186 และก็ 187 จะแบ่งออกเป็น 2 stages คือ:
- Stage 1; Nomination
- Stage 2; Visa Application

Stage 1 Nomination ก็เป็นการสมัครของธุรกิจว่า ทางธุรกิจมีคุณสมบัติครบไหม ในการที่จะจ้างคนในตำแหน่งนี้ ทางอิมมิเกรชั่นก็จะดูความจำเป็นในการจ้างงาน และก็ศักยภาพทางการเงินของธุรกิจ อะไร ต่าง ๆ นา ๆ ขอละเว้นเอาไว้ ณ ที่นี่ก็แล้วกัน (ไปลองไล่อ่าน blog เก่า ๆ ดู)

Stage 2 Visa Application  ซึ่งก็จะเป็นคุณสมบัติของผู้สมัคร ซึ่งส่วนมากจะไม่ค่อยมีปัญหาอยู่แล้ว

หลาย ๆ case ของวีซ่าที่ติดต่อเรามาช่วงนี้ จะเป็น case ของ stage 1 nomination ที่ไม่ผ่าน

stage 1 nomination จะเป็นของนายจ้างนะครับ
stage 2 visa application จะเป็นของคนสมัครวีซ่า

ดังนั้น stage 1 nomination ไม่ผ่าน ไม่ได้แปลว่า stage 2 visa application จะไม่ผ่านเลยทันที ทางอิมมิเกรชั่นจะมีช่วง gap ให้ ให้คนที่สมัครเพื่อที่จะ make comment หรือตอบกลับ email เข้าไป ดังนั้นคนที่ฉลาด เราจะไม่ทำเรื่องถอนอัตโนมัติในส่วนของ visa application เป็นอันขาด

ถ้า stage 1 nomination ของวีซ่า subclass 186 หรือ subclass 187 ไม่ผ่าน เราสามารถทำอะไรได้บ้าง
  1. อุทรธรณ์ภายใน 21 วัน ($1,731) แล้วยื่นเอกสารต่าง ๆ  support เข้าไปที่ AAT
  2. ถ้าอิมมิเกรชั่น email มาให้เรา make comment ในส่วนของ visa application, เราไม่ควรตอบ email หรือ  make comment เข้าไป เพราะนั่นจะเป็นการไปกระตุ้นให้ case officer ทำงานเร็วมากขึ้น เพราะถ้า stage 1 nomination ไม่ผ่าน stage 2 visa application  ก็จะไม่ผ่านอยู่ดี ต่อให้เรา make comment หรือตอบ email  อะไรเข้าไป มันก็เปล่าประโยชน์ เราไม่ต้องวิตกจริตไปตอบ email เขาภายใน 28 วัน ไม่ต้อง "ซื่อ" มากจนเกินไป ไหวพริบมีก็ต้องหัดใช้
  3. ในระหว่างที่ stage 2 visa application ยังไม่โดนปฏิเสธหรือโดนถอนออกมา ถ้าหากเราถือ Bridging Visa A และยังไม่โดน section 48 (เพราะวีซ่ายังไม่โดนปฏิเสธ) เราก็สามารถสมัครวีซ่า subclass 482 TSS ได้ นั่นก็แสดงว่าเราทั้งอุทธรณ์ nomination ของวีซ่า subclass 186/187 และสมัครวีซ่า subclass 482 TSS ภายในเวลาเดียวกัน
  4. ถ้า stage 2 visa application โดนปฏิเสธออกมาเมื่อไหร่ เราก็ต้องอุทรธณ์อีก เพื่อที่จะอยู่ต่อภายในประเทศออสเตรเลีย หรือเพื่อที่จะ hold สถานะเพื่อรอการต่อสู้ในส่วนของ stage 1 nomination ที่ AAT ด้วย
ดังนั้น

เราไม่จำเป็นที่จะต้องอุทรธณ์แค่วีซ่า subclass 186/187 อย่างเดียว
เราสามารถสมัครวีซ่า subclass 482 TSS ไปได้ภายในเวลาเดียวกัน

เราไม่จำเป็นต้องเอาอนาคตเราไปฝากไว้ที่วีซ่า subclass แค่อันเดียว
เราต้องฉลาด และไหวตัวให้ทัน

blog นี้ก็เป็นข้อมูลคร่าว ๆ นะครับ
ใครต้องการอะไรที่เจาะลึก และให้เราดูแล case เป็นการเฉพาะ ก็ติดต่อมาได้หลังไมค์; inbox, LINE, email หรือ SMS นะครับ

J Migration Team
MARN: 0851174

LINE: @JMigrationTeam (มี @ ข้างหน้าด้วย)
IG: @JMigrationTeam
Snapchat: @JMigrationTeam
YouTube: www.youtube.com/c/JMigration
www.jmigrationteam.com
anchor.fm/john-paopeng
SMS: +61 412470969



Friday, April 13, 2018

TSS subclass 482 และ Bridging Visa A, B หรือ C


เริ่มตั้งแต่ 18 March 2018

วีซ่า subclass 482 หรือ TSS; Temporary Skill Shortage ที่เข้ามาแทนที่วีซ่า subclass 457 นั้น

คนที่อยู่ offshore ก็สามารถสมัครได้ตามปกติ
คนที่อยู่ onshore ถ้าไม่ติด condition 8503  หรือ 8534 ก็สมัครได้ตามปกติ

แต่ที่ดีไปกว่านั้นก็คือ

คนที่ถือ Bridging Visa A, B หรือ C ก็สามารถสมัครได้ด้วยครับ

ซึ่งแตกต่างจาก visa subclass 457 ที่ต้องเดินทางออกไปยื่นข้างนอกประเทศ ถ้าเราถือ Bridging Visa A

ดังนั้น

ถ้าใครถือ Bridging Visa A, B หรือ C อยู่ ณ ตอนนี้ ก็สามารถขอวีซ่า subclass 482 TSS ได้นะครับ

สำหรับคนที่ถือ Bridging Visa A และรอเรื่องอุทธรณ์อยู่ที่ AAT เพราะว่าโดนวีซ่า refusal ไม่สามารถขอวีซ่า subclass 482 TSS ได้นะครับ เพราะคนที่โดนวีซ่า refusal ภายในประเทศออสเตรเลีย จะโดน section 48 คือห้ามยื่นวีซ่าภายในประเทศออสเตรเลีย

ดังนั้น "หนูหริ่ง" ที่ถือวีซ่านักเรียนอยู่ ณ ตอนนี้ ถ้านั่งดูคุณสมบัติของตัวเองอย่างอื่นแล้ว คิดว่าครบ (เรียนมาตรงสาขา มีประสบการณ์ในการทำงาน 2 ปี และผลสอบภาษาอังกฤษ หรือเรียน full-time 5 ปี ที่ใช้ภาษาอังกฤษเป็นสื่อในการเรียนการสอน) คิดว่าน่าจะยื่นได้ แล้ววีซ่ากำลังจะหมด และไม่มีเวลาเตรียมเอกสาร หรือเตรียมเอกสารไม่ทัน

หนูหริ่งก็สามารถสมัครวีซ่าอะไรไปก่อนก็ได้ เพื่อที่จะได้ Briding Visa A มา แล้วก็รีบสมัครวีซ่า subclass 482 TSS ก่อนที่วีซ่าตัวนั้นจะ process ก็สามารถทำได้

ถ้าหนูหริ่งไม่อยากจ่ายค่าเทอมเรียนต่อ หรูหริ่งก็สมัครวีซ่าท่องเที่ยวได้ พอได้ Bridging Visa A  แล้วก็รีบ ๆ เตรียมเอกสารให้ไว แล้วรีบยื่นเรื่องให้ไว แบบนี้ก็ทำได้เช่นเดียวกัน

อย่างนี้เป็นต้น

J Migration Team
MARN: 0851174
LINE: @JMigrationTeam (มี @ ข้างหน้าด้วย)
IG: @JMigrationTeam
Snapchat: @JMigrationTeam
YouTube: www.youtube.com/c/JMigration
www.jmigrationteam.com
anchor.fm/john-paopeng
SMS: +61 412470969

Saturday, April 7, 2018

ROL; Regional Occupation List


วีซ่า subclass 457 และ subclass 482 TSS; Temporary Skill Shortage
ก็มีสาขาอาชีพที่แบ่งออกเป็น 2 แบบคือ

แบบ long-term list ที่สามารถขอ PR  ได้
แบบ short-term list ที่ไม่สามารถขอ PR ได้ ยกเว้นคนที่ถือวีซ่า subclass 457 หรือยื่นวีซ่า subclass 457 ก่อนวันที่ 19 Apr 2017 ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางด้านกฎหมายอิมมิเกรชั่น

สาขาอาชีพแบบ long-term list ชื่อเรียกแบบเต็ม ๆ ว่า Medium and Long‑Term Strategic Skills List; MLTSSL

สาขาอาชีพแบบ short-term list ชื่อเรียกแบบเต็ม ๆ ว่า Short-term Skilled Occupation list (STSOL)

สาขาอาชีพที่อยู่ใน long-term list สามารถขอวีซ่า TSS subclass 482 ได้ 4 ปีและสามารถขอ PR ได้ด้วยวีซ่า subclass 186 ENS; Employer Nomination Scheme หรือ subclass 187 RSMS; Regional Sponsored Migration Scheme

สาขาอาชีพที่อยู่ใน shot-term list สามารถขอวีซ่า TSS subclass 482 ได้ 2 ปี และไม่สามารถขอ PR ได้ ยกเว้นคนที่ถือวีซ่า subclass 457 หรือยื่นวีซ่า subclass 457 ก่อนวันที่ 19 Apr 2017

ดังนั้นหลาย ๆ คนที่ถือวีซ่า subclass 457 แค่ 18 เดือน (1.5 ปี) เพราะว่าธุรกิจเป็นธุรกิจใหม่ ก็สามารถขอวีซ่า TSS subclass 482 ได้หลังจากนั้น และก็ถือ TSS อีกแค่ 6 เดือน ก็เอาเวลามานับรวมกันกับวีซ่า subclass 457 ตัวเดิมได้ และก็สามารถขอ PR ได้หลังจากนั้นถ้าเราถือวีซ่า subclass 457 หรือยื่นวีซ่า subclass 457 ก่อนวันที่ 19 Apr 2017

ในขณะเดียวกันธุรกิจที่อยู่เมืองรอบนอกหรือที่เราเรียกกันว่า regional area ก็จะมีสาขาอาชีพแยกออกมาอีกต่างหาก ที่เรียกกันว่า ROL; Regional Occupation List

ข้อดีของสาขาอาชีพที่อยู่ใน ROL คือ เราสามารถขอ PR ได้ครับ
หลาย ๆ สาขาอาชีพที่อยู่ใน short-term list ก็จะอยู่ใน ROL ด้วย

อย่างเช่น:
Cook
Restaurant Manager
Massage Therapist
...และอีกมากมาย...

ซึ่งถ้าเราทำงานกับธุรกิจที่อยู่ในเมืองใหญ่ ถ้าสาขาอาชีพเราอยู่ใน short-term list เราก็ไม่สามารถขอ PR  ได้ แต่ถ้าสาขาอาชีพนั้นอยู่ใน ROL; Regional Occupation List เราก็สามารถขอ PR ได้

ดังนั้นถ้าหากเราลองเปลี่ยน mindset แล้วลองหางานทำ หรือหานายจ้างที่อยู่ใน regional area โอกาสที่เราจะได้ PR ก็จะมีสูงกว่าการทำงานอยู่ในเมืองใหญ่นะครับ

ROL ทั้งหมดสามารถเข้าดูได้ที่นี่นะครับ
https://www.legislation.gov.au/Details/F2018L00295 

ทีมงานเราทุกคนขอเป็นกำลังและเอาใจช่วยให้กับทุกคนนะครับ

LINE: @JMigrationTeam (มี @ ข้างหน้าด้วย)
IG: @JMigrationTeam
Snapchat: @JMigrationTeam
YouTube: www.youtube.com/c/JMigration
www.jmigrationteam.com
anchor.fm/john-paopeng
SMS: +61 412470969