Wednesday, June 28, 2023

Subclass 884: Contributory Aged Parent (Temporary)

Subclass 884 Contributory Aged Parent (Temporary)

Subclass 884 คือ TR ครับ
ไม่ใช่ PR (Subclass 864)

บริษัทเราไม่ทำ TR
บริษัทเราทำ PR ไปเลย (Subclass 864)

TR คือสำหรับคนที่มีตังค์ยังไม่ครบ $43,600
จ่ายส่วนหนึ่งก่อน แล้วก็ได้ TR
แล้วค่อยจ่ายที่เหลือตอนขอ PR

ต้องยื่นเรื่อง 2 ครั้ง; TR + PR
ซึ่งบริษัทเราไม่ทำ
เราชอบทำยื่นครั้งเดียวแล้วได้ PR ไปเลย; Subclass 864 ไปเลยครับ

กราบขอบคุณทุก ๆ email
กราบขอบคุณทุก ๆ ความสนใจ

เราโพสต์ที่นี่ด้วยละกัน เพื่อเป็นประโยชน์แก่คนอื่นด้วย

Subclass 188: Business Visa


Subclass 188: Business Visa (TR) ปี financial year 2024 มีโควต้าแค่ 1,900 นะครับ ซึ่งจะน้อยกว่าปีที่แล้วมาก (5,000)

ณ ตอนนี้แต่ละรัฐยังไม่เปิด
แต่ไม่รู้ว่าแต่ละรัฐจะได้โควต้าเท่าไหร่
ต้องรอหลัง 01 July 2023 แล้วดูว่ารัฐไหนจะเปิดกี่โควต้า

Subclass 188A: personal asset $1.25M
Subclass 188B: personal asset หรือ business asset: $2.5M
Subclass 188C: personal asset: $5M

Asset ทุกอย่างต้องมีที่มาและที่ไป ต้องสามารถ trace ได้
ไม่ว่าจะเป็นมรดก หรือ asset ที่ได้มาจากการประกอบธุรกิจ

Subclass 188C ก็น่าสนใจสำหรับคนที่ไม่ต้องการใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียนาน ๆ สำหรับคนที่แค่ต้องการ PR เฉย ๆ เพราะ Subclass 188C บังคับว่าต้องใช้ชีวิตอยู่ในประเทศออสเตรเลียแค่ 40 วันต่อปีเท่านั้น

เหมาะสำหรับคุณพ่อคุณแม่บางท่านที่ส่งลูกมาเรียน แล้วซื้อบ้านหรืออสังหาที่นี่ให้ลูก แต่คุณพ่อคุณแม่ยังประกอบธุรกิจอยู่ที่เมืองไทยหรือที่ประเทศอื่น ๆ และอื่น ๆ อีกมากมาย

ข้อดีของ Subclass 188C คือ เหมือนการเอาเงิน $5M มาวางเอาไว้เฉย ๆ ที่ประเทศออสเตรเลีย ก็ปล่อยให้ funds manager บริหารเงินเราไป ได้ PR เมื่อไหร่ก็ถอนออกมา สำหรับคนที่มีเงินเย็นนะครับ

ส่วน requirement ของ Subclass 188A และ Subclass 188B ก็แตกต่างกันออกไป

และ requirement ของแต่ละรัฐก็แตกต่างกันออกไป

อะไร ใด ๆ รอแต่ละรัฐเปิด
และดูว่าแต่ละรัฐจะรับเท่าไหร่

เพราะทั้งประเทศรับแค่ 1,900 เท่านั้น

Sunday, June 25, 2023

Shoulder to lean on


สำหรับใครที่ถึงฝั่งฝันเรื่องวีซ่า เรื่อง PR เรื่อง Citizen แล้ว
อย่าลืมหันไปมองเพื่อน ๆ รอบข้างด้วยนะครับ
อันไหนพอหยิบยื่นได้ ก็หยิบยื่น
อันไหนพอช่วยได้ ก็ช่วย

การช่วยเหลือใครบางคน ไม่ต้องมาในรูปแบบของเงินทองเสมอไป

บางทีกับคำถามหรือคำพูดสั้น ๆ แค่ว่า "เป็นยังไงบ้าง??"
เพียงแค่นี้ คนฟังก็ชื้นหัวใจแล้วครับ ถ้าเขาอยากบอกอะไรกับเราเรา เขาจะบอกจะระบายกับเราเอง

บางทีคนรอบข้างเรา เขาอาจจะแค่ต้องการ "คนฟัง" หรือแค่ต้องการ shoulder to lean on

เขาอาจจะต้องการ safe space ในการพูด ในการระบาย

เราก็ต้องเป็นผู้ฟังที่ดีนะครับ
บางทีการแค่เรานั่งฟังนิ่ง ๆ ไม่ต้องพูดอะไรมาก อีกฝ่ายก็รู้สึกดีขึ้นแล้ว
บางทีการที่เราทำให้ใครบางคนรู้ว่า "เธอยังมีฉันอยู่นะ" อยู่ตรงนี้ ถ้าต้องการพักใจเมื่อไหร่ก็ทักมา

ออกไปจิบชา กาแฟกันบ้าง แค่มีใครอยู่ใกล้ ๆ รังสีแห่งความรัก ความเมตตา ความโอบอ้อมอารีย์ มันส่งถึงกันได้ โดยที่ไม่ต้องพูด ไม่ต้องปริปากอะไรด้วยซ้ำ

บางคนเขาอาจจะแค่ต้องการ shoulder to lean on
แค่ต้องการคนฟังที่ไม่ judge เขา

ลองเป็นคน ๆ คนนั้นดูนะครับ
ลองมองไปรอบ ๆ บ้าง
มีเพื่อนเราคนไหน มีพี่ ๆ น้อง ๆ เราคนไหนที่ต้องการเราให้ยืน ให้นั่งอยู่ข้าง ๆ เขาหรือเปล่า

การใช้ชีวิตที่เมืองนอกไม่ง่าย
เมื่อเราถึงฟั่งฝันของเราแล้ว อย่าลืมหันมองไปรอบ ๆ ข้าง ๆ เราด้วย
มีใครที่เราสามารถยื่นมืออะไรเข้าไปช่วยได้บ้าง

ที่พักใจ

ใครที่เครียดเรื่องวีซ่า
เรื่องค่าครองชีพที่สูงขึ้น เรื่องค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ที่สูงขึ้น

หาใครซักคนคุยด้วยนะครับ

ชีวิตต่างแดน ไม่จำเป็นต้องโดดเดี่ยวเสมอไปนะครับ

ถ้าไม่ไหวให้ลองคุยกับคุณหมอ
เรื่องแบบนี้ไม่ใช่เรื่องแปลกนะครับ

ว่าง ๆ เสาร์-อาทิตย์ก็ออกไปอยู่กับธรรมชาติบ้างนะครับ

unplugged yourselves จากทุกสิ่งอย่าง
ลองปิดมือถือบ้าง อะไรบ้าง
สูดอากาศบริสุทธิ์ให้เต็มปอดบ้าง

แล้วลุกมาสู้กันต่อ

อะไร ใด ๆ 

1. อย่าอยู่คนเดียว

2. หาคนคุย เพื่อนหรือพี่ ๆ ที่เราไว้ใจ ที่เขารับฟังเราแบบ no judgemental

3. ปรีกษาหมอ (หรืออาจต้องทานยา)

4. unplugged yourselves บ้าง

5. ไปอยู่กับธรรมชาติ

ชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
ไม่ต้องเอาเราไปเปรียบเทียบกับใคร ไม่ต้องแข่งกับใคร
แค่ compare ตัวเรากับตัวเราเองเมื่อวานก็พอ your "yesterself"

เป็นกำลังใจให้กับทุกคนนะครับ

...รัก...

25/06/2023

Saturday, June 24, 2023

Lifeline: 50,000+ สายใน 5 เดือนที่ผ่านมา



LifeLine คือสายฉุกเฉิน 24 ชั่วโมง สำหรับใครที่คิดจะทำร้ายตัวเอง คิดสั้น หรืออะไรทำนองนี้

เบอร์โทร LifeLine: 13 11 14
สามารถขอล่ามได้นะครับ

ปี 2023 เป็นปีที่ค่าครองชีพและอะไรต่อมิอะไรค่อนข้างสูงที่ประเทศออสเตรเลีย

ดอกเบี้ยขึ้นเอาขึ้นเอา
คนผ่อนบ้านก็แย่
คนเช่าบ้านก็พอ ๆ กัน

5 เดือนที่ผ่านมา มีคนโทรเข้าไปที่ LifeLine มากกว่า 50,000 สาย

อ่านไม่ผิดนะครับ "มากกว่า 50,000 สาย"
ปัญหาที่คนโทรเข้าไปส่วนมาก เครียดเรื่องค่าครองชีพที่พุ่งตัวขึ้นสูง ขนาดคนออสซี่ที่อยู่ที่นี่เขายังเครียดกัน นับประสาอะไรกับคนที่เพิ่งมาใหม่ ๆ แต่ถ้าที่บ้านรวยล้นฟ้าแล้วก็ไม่เป็นไร

หากใครตกอยู่ในสถานการณ์ที่มันหาทางออกไม่ได้
ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ ทำ
หาใครซักคนคุยด้วยนะครับ

ไหนจะเรื่องวีซ่า
ไหนจะเรื่องปากเรื่องท้อง เงิน ๆ ทอง ๆ 

ชีวิตที่เมืองนอก อาจจะไม่ได้เป็นเหมือนที่ Tiktokers บางคนเขานำเสนอ

ชีวิตที่เมืองนอก อาจจะไม่ได้เป็นเหมือนที่ YouTubers บางคนเขานำเสนอ

ชีวิตที่เมืองนอก อาจจะไม่ได้เป็นเหมือนที่ Bloggers บางคนเขานำเสนอ

ชีวิตที่เมืองนอก อาจจะไม่ได้เป็นเหมือนที่ Tutours สอนภาษาอังกฤษ บางคนเขานำเสนอ

เสพข้อมูลอย่าเสพแต่ด้านเดียวนะครับ

ถ้ามันเครียดมาก ๆ หาที่สงบ ๆ ไปพักกายพักใจซัก 3-4 วันนะครับ
ถ้าอยู่แถว Wollongong or Sydney, เราแนะนำ Bundanoon (เงียบมาก บางจุดไม่มีสัญญาญโทรศัพท์ และถนนเข้าที่พักบางที่ไม่มีไฟฟ้าข้างทาง ขับรถก็เสียวสันหลังวาบ เจ้าของที่พักบอกว่า แถวนี้ไปไหนมาไหนไม่ต้อง lock ประตู... ขุ่นพระ...)

ไหวหรือไม่ไหว มีเราเท่านั้นที่รู้
ไม่โกหกตัวเอง

เป็นกำลังใจให้เสมอ

โยกย้ายแบบไม่ขายฝัน

Friday, June 23, 2023

Subclass 482; สมหมายกับสมปอง สลับร่างสร้างรัก


"สมหมาย" กับ "สมปอง" เป็นเพื่อนรักกัน ทั้งสองคนถือวีซ่านักเรียน ทั้งสองคนต่างคนต่างมีเป้าหมายในทำวีซ่าและขอ PR ที่คล้าย ๆ คน

ทั้งสมหมายและสมปองก็พอมีเงินทุนอยู่บ้าง

ทั้งสองคนไม่อยากจะเป็นลูกน้องใคร ไม่อยากจะต้องง้อใครให้ทำวีซ่าทำงานให้

วีซ่านักเรียนเปิดธุรกิจได้

วีซ่านักเรียนเป็น director ของบริษัทได้


"สมหมาย" จึงเปิดร้านอาหารไทยชื่อ "อยากกินไม่ต้องกิน"

"สมปอง" เองก็ไม่น้อยหน้า เปิดร้านอีกร้านไม่ไกลกัน ชื่อร้าน "จะกินหรือไม่กิน"


สมหมายกับสมปอง ตัวเป็น ๆ ทำงานร้านไหนเราไม่รู้

แต่ชื่อสมปองก็ไปเป็นพนักงานและ payroll อยู่ที่ร้านของสมหมาย

..and.. vice versa... ชื่อของสมหมายเองก็ไปเป็นพนักงานและ payroll อยู่กับร้านของสมปอง


อะไร ใด ๆ 


สมหมายก็ใช้ร้าน "อยากกินไม่ต้องกิน" ในการสปอนเซอร์สมปอง

และสมปองเองก็ใช้ร้าน "จะกินหรือไม่กิน" ในการสปอนเซอร์สมหมาย



...อะไรประมาณนี้...  :)

Tuesday, June 20, 2023

Subclass 482; PAYG

Subclass 482; เวลายื่นเรื่อง เราใช้ PAYG หรือ Income Statement ในการยื่นเรื่องนะครับ

ที่ "J Migration Team" เราจะไม่ใช้ payslip ในการยื่น Subclass 482
บริษัทอื่นทำแบบไหน เราไม่รู้

แต่บริษัทเรา เราสะดวกแบบนี้

ดังนั้นเราไม่ได้สนใจว่าใน payslip จะเขียนตำแหน่งงานอะไร...

Monday, June 19, 2023

ค่าแรงขั้นต่ำ $70,000 Subclass 482/494/186/187



ค่าแรงขั้นต่ำ: $70,000 ที่จะมีการเปลี่ยนแปลงสำหรับ subclass 482, subclass 494, subclass 186 และ subclass 187 วันที่ 01 July 2023

อันนี้ไม่เกี่ยวกับคนที่ถือ subclass 482/494/186/187 อยู่แล้วนะครับ

กฎนี้ใช้เฉพาะ:

1. คนที่ยื่น Subclass 482, Subclass 494, Stage 2: Nomination จากวันที่ 01 July 2023 เป็นต้นไป ย้ำนะครับว่าเป็น Stage 2: Nomination ไม่ใช่ Stage 3.

2. คนที่ยื่น Subclass 186, Subclass 187, Stage 1: Nomination จากวันที่ 01 July 2023 เป็นต้นไป ย้ำนะครับว่าเป็น Stage 1: Nomination ไม่ใช่ Stage 2.

อันนี้ไม่เกี่ยวกับคนที่ถือ subclass 482/494/186/187 อยู่แล้วนะครับ

อันนี้ไม่เกี่ยวกับคนที่ยื่น Nomination เข้าไปก่อน 01 July 2023
ใครที่ยื่น Nomination เข้าไปแล้วก็สบายใจได้

Saturday, June 17, 2023

Subclass 482; ถือ 482 ก็เป็น director ได้


"สมหมาย" ถือวีซ่า Subclass 482, ทำเรื่องกับร้าน "อยากกินไม่ต้องกิน"
สมหมาย ตัวเป็น ๆ จะอยู่กับร้านอยากกินไม่ต้องกินหรือเปล่าเราไม่รู้
แต่ payslip & PAYG (Income Statement) จะต้องอยู่กับร้านนี้

สมหมายถือวีซ่า Subclass 482 เป็นพนักงานของร้าน "อยากกินไม่ต้องกิน" ก็จริงนะครับ

แต่สมหมายสามารถเป็น director หรือเป็นเจ้าของกิจการอื่นได้ แต่ห้ามเป็นพนักงานของบริษัทนั้น ๆ ก็แค่นั้นเอง เพราะสมหมายต้องเป็นพนักงานของร้าน "อยากกินไม่ต้องกิน" เท่านั้น

สมหมายเป็น director ของบริษัทตัวเอง เปิดร้านของตัวเอง "โอ๊ย มากินด้วยกัน" ก็จ้างคนอื่นเป็นพนักงานไป สมหมายก็จ้าง "สมปอง" เป็นพนักงาน และสามารถใช้ร้านนี้ ร้าน "โอ๊ย มากินด้วยกัน" ในการทำเรื่องหรือสปอนเซอร์ Subclass 482 ให้กับสมปองได้

...อะไรประมาณนี้...  :)

ศึกษารู้เท่าทัน

เรื่องบางเรื่องควรปรึกษาคนที่มี MARN หรือทีมที่มี MARN เท่านั้น
ยิ่งทีมที่เข้า MARN workshop เยอะ ๆ เรายิ่งต้องอุดหนุนและสนับสนุนทีมนั้นนะครับ เพราะเขาทำอะไรกันถูกต้อง ทุกอย่างมีต้นทุน... ทุกคนควรสนับสนุนทีมงานคุณภาพแบบนี้

Subclass 482: Aged Care Labour Agreement


Aged Care Industry Labour Agreement ถ้านายจ้างอยากจะจ้าง:
- Nursing Support Worker
- Personal Care Assistant
- Aged or Disabled Carer

นายจ้างต้องทำ Labour Agreement (Subclass 482) และ MoU กับสหภาพแรงงาน

- Australian Nursing and Midwifery Federation หรือ
- Health Services Union หรือ
- United Workers Union.

ซึ่งวุ่นวายและยุ่งยาก (ความคิดเห็นส่วนตัว เพราะเราชอบ Standard Business Sponsorship มากกว่า Labour Agreement)

Aged Care Industry Labour Agreement ข้อมูลคร่าว ๆ ดังต่อไปนี้

1. ถือ Subclass 482 เป็นเวลา 2 ปี แล้วขอ PR ด้วย Subclass 186 (ก็เพราะคำว่า PR นี่แหละที่ student agent หลาย ๆ ที่ออกมาขาย course กันอยู่ ถามใจตัวเองก่อนนะครับว่าอยากจะเรียน course นี้จริง ๆ หรือเปล่า)

2. ประสบการณ์ก่อนเรียนจบก็นำเอามาใช้ได้ ซึ่งก็เป็นปกติของ Subclass 482 อยู่แล้ว

3. ค่าแรงขึ้นต่ำ $51,222 ต่อปี

4. นายจ้างต้องมีการโฆษณาหาพนังานอย่างน้อย 28 วัน


คุณสมบัติของคนสมัคร:

i) จบ Cert III อย่างต่ำ ถ้าไม่ได้จบที่ประเทศออสเตรเลีย คนสมัครก็ต้องทำ Skill Assessment

ii) มีประสบการณ์ในการทำงานอย่างน้อย 1 ปี full-time ประสบการ์ก่อนเรียนจบก็ได้ ถ้า part-time ก็ 2 ปี

iii) IELTS (general) 5 ถ้าพูดภาษาอื่นได้ด้วย ก็เอา IELTS แค่ 4.5 ก็พอ


คร่าว ๆ ประมาณนะครับ

งานนี้เหมาะสมกับเราหรือเปล่า
รายได้เท่านี้เหมาะสมกับเราหรือเปล่า
คิด ไตร่ตรองให้ดี ๆ นะครับ

อย่าคิดแค่เพียงเพราะว่าจะได้ PR (ถ้านายจ้างสอนเซอร์นะ)
แล้วถ้านายจ้างไม่สปอนเซอร์หละ
ก่อนที่จะเลือกลงเรียน course อะไรคิดให้ดี ๆ ก่อนนะครับ

คำโฆษณาอะไรต่าง ๆ นานาอาจดูสวยหรู
ชีวิตจริงอาจจะไม่ใช่แบบนั้นนะครับ

มองมากกว่าที่ตาเห็น
ฟังมากกว่าที่เคยได้ยิน

Note: "J Migration Team" ไม่ทำ DAMA และไม่ Labour Agreement

17/06/2023

Aged Care Worker Labour Agreement


ค่าแรงขึ้นต่ำของ Subclass 482, Subclass 494, Subclass 186, Subclass 187 กำลังจะเปลี่ยนจาก $53,900 เป็น $70,000 วันที่ 01 July 2023

ขนาดเราว่า $53,900 ต่ำเตี้ยเลียดินแล้วนะ
เจอ Aged Care Worker Labour Agreement เข้าไป รายได้ $51,222 ต่อปี ( เริ่มต้น) ก็อึ้งกิมกี่ได้เหมือนกัน

หักภาษีแล้ว
หักค่าใช้จ่ายอะไรต่าง ๆ แล้ว
จะเหลือเท่าไหร่กันเชียว

$51,222 คือแรงงานทาสครับ

Aged Care Worker ทำ shift ดึกดื่น อดหลับอดนอน ระวังร่างพัง

มี supperannuation อย่าลืมซื้อประกันชีวิตด้วยนะครับ อันนี้ P' J ซีเรียสนะครับ เพราะ P' J เองก็ซื้อไว้ค่อนข้างเยอะ (7 หลัก AUD) ชีวิตต่างแดนอย่าประมาท เกิดอะไรขึ้นคนที่อยู่ข้างหลังจะได้ไม่เดือดร้อนมาก 

$51,222 ต่อปี
หักภาษี หักโน่น นี่ นั่น ถ้าคนเดียว อาจจะรอด

ถ้าครอบครัวอยู่กัน 4 คนนะครับ
พ่อ แม่ ลูก 2 คน
คนหนึ่งต้องเป็น full-time mum หรือ full-time dad เพราะอยู่ที่นี่มันไม่ได้มีปู่ย่าตายายคอยช่วยเลี้ยงหลานเด้อ ก็ต้องดูแลกันเอง

4 ปาก
1 income
ถ้าเป็น $51,222 ต่อปี
หักภาษีแล้ว
หักค่าเช่าแล้ว

อาจจะต้องซื้อมาม่า 1 ซองแล้วหักครึ่งแบ่งกันกิน 2 คนพ่อแม่
เพื่อให้ลูกอีก 2 คนได้มีอะไรกิน

บางคนก็บอกว่าทำ shift เสาร์-อาทิตย์ได้ตังค์เยอะ
เดี๋ยวก่อนนะครับ ปีหนึ่งมี 52 weeks
You จะได้ shift เสาร์-อาทิตย์ ซักกี่ครั้งกันเชียว
และทำงาน overload หลาย ๆ shift ติดต่อกัน ระวังตายก่อนที่จะได้ใช้เงิน

บางคนบอกว่าทำงานช่วง public holiday จะได้ค่าแรงเพิ่ม
จริงครับ
ตื่นครับตื่น ปีหนึ่งมี public holiday กี่วัน??

มากันเถอะ "โยกย้าย" กันให้ไว
student agent ก็ชู course "Aged Care" กันทั่วโซเซียล
เอากันให้เต็มที่จ๊ะ... 

อะไร ใด ๆ "ความจริงไม่ได้มีแค่เพียงหนึ่งเดียว"
ศึกษาข้อมูลรอบด้าน

ไม่ชอบให้เลื่อนผ่านนะครับ
เอาเราไปแขวนก็เท่านั้นแหละ บอกได้เลยว่า "เฉย ๆ"

Note: "J Migration Team" ไม่ทำ Labour Agreement

Subclass 457; 18 Apr 2017


ยังจำกันได้มั้ย Subclass 457 ก่อน 18 Apr 2017

ก่อนที่จะเปลี่ยนมาเป็น Subclass 482

Subclass 457 กับความหลังของวันเก่า ๆ 

อะไร ใด ๆ เราก็เติบโตมาจาก subclass นี้เพราะตอนนั้นไม่ได้มีคนออกมาให้ข้อมูลฟรี ๆ แบบที่เราทำ เราสามารถพูดได้เต็มปากเต็มคำว่า เราลืมตาอ้าปากได้ ก็เพราะ Subclass 457 นี่เลย... 


เป็นวัวไม่ลืมตีน


1. Subclass 457, สมัยก่อนมีมากกว่า 700 occupations และไม่มี short-term list หรือ long-term list เหมือนสมัยนี้ (Subclass 482)


2. 700 กว่าสาขาอาชีพมาจาก ANZSCO ล้วน ๆ ทุกสาขาอาชีพต่อยอดขอ PR ได้


3. Subclass 457 ไม่มี Labour Market Testing, ไม่ต้องมีการโฆษณาหาพนักงาน 28 วันเหมือน Subclass 482 แต่เดชะบุญ Thai passport holder ได้รับการยกเว้น เพราะ Free Trade Agreement


4. 18 April 2017: ประกาศเปลี่ยนแปลง occupation list ของ Subclass 457 ให้เหลือแค่ 435 สาขาอาชีพ ตอนนั้นเราอยู่เมืองไทย ต้องรีบหยิบโทรศัพท์ออกมาทำ facebook LIVE เพื่อ calms the things down เลยทันที


5. 216 สาขาอาชีพถูกตัดออก และ 59 สาขาอาชีพก็ติด caveat (special condition) และ Massage Therapist สาขาอาชีพยอดฮิตของคนไทยก็ติดไปด้วย พนักงานร้านนวดก็ระส่ำระสายกันไปหมด


6. Subclass 482 was born on 22 March 2018, ช่วงวันที่ 18 Apr 2017 - 22 Mar 208 ก็เป็นช่วง transitions ของ Subclass 457


...ไม่มีอะไรหรอกครับ ก็แค่คิดถึงวันเก่า ๆ... :)


Copyright: แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น, ไม่ copy & paste, ไม่ screen capture.

Tuesday, June 13, 2023

Partner Visa: Domestic Violence

เกิดเรื่องราวอะไรขึ้น เขียนมันออกมาครับ ให้มันพรั่งพรูออกมา


เขียนมาเป็นภาษาไทย
เดี๋ยวเราช่วยขัดเกลาและแปลให้เอง

คราวก่อนก็มีน้อง (น้องยื่นเรื่องเอง) ที่โดนอะไรแบบนี้ แล้วเข้ามาให้เราช่วยเรื่องนี้

น้องไม่ได้โดนอะไร physical
ไม่มีการทำร้ายร่างกายอะไรใด ๆ

แต่ psychologically น้องแย่มาก
โดนกระทำทางด้านจิตใจมาเยอะ

บาดแผลทางด้านจิตใจ บางทีมันร้ายแรงมากกว่าบาดแผลทางร่างกายนะครับ

บาดแผลทางด้านจิตใจ มันทำให้คนเราไม่อยากจะอยู่บนโลกใบนี้เลยก็ได้นะครับ

mental health สำคัญเสมอ

เกิดเรื่องราวอะไรขึ้น เขียนมันออกมาครับ ให้มันพรั่งพรูออกมา ขอแค่ให้ทุกอย่างเป็นความจริงเท่านั้น

น้องเขียนมาค่อนข้างยาว
หลายหน้าอยู่เหมือนกัน
แต่นั่นแหละ ยิ่งเขียวมายาว ๆ ยิ่งดี คนอ่านจะได้มองเห็นภาพว่าเกิดอะไรขึ้นบ้าง

เขียนมาเป็นภาษาไทย
เดี๋ยว P' J ขัดเกลาให้เอง
และแปลให้เอง
P' J อ่าน, ขัดเกลา และแปลเองทุกตัวอักษร

Sunday, June 11, 2023

Subclass 457; grandfathering rules กับการนับประสบการณ์

blog นี้สำหรับคนที่เกิดทัน subclass 457 นะครับ
ถ้าใครเกิดไม่ทัน อ่านแล้วก็คงไม่เข้าใจ และไม่เกี่ยวกับเรา ก็ข้ามไปได้เลยนะครับ

เพราะ grandfathering rules สำหรับคนที่ถือ subclass 457 น่าจะเหลือไม่กี่หมื่นคน

blog นี้เราจะเขียนถึงการนับประสบการณ์ช่วงที่ถือ Bridging Visa A นะครับ จะได้รู้ว่าเราสามารถเอานำประสบการ์มาใช้ขอ Subclass 186: Employer Nomination Scheme (ENS), Transitional Stream ที่กำลังจะประกาศปลายปีนี้ได้หรือเปล่า

เผื่อใครกำลังตัดสินใจอยู่ว่า

1. เอ๊ะ หรือฉันจะยื่น Subclass 494 

2. เอ๊ะ หรือว่าฉันจะยื่น Subclass 482

3. เอ๊ะ หรือว่าฉันจะรอยื่น Subclass 186 (ENS); Transional Stream หลังกฎใหม่ประกาศใช้ปลายปี

ข้อ 1 กับข้อ 2 ไม่มีอะไรมาก ถ้าจะยื่นก็ยื่นได้เลย

แต่ข้อ 3 เดี๋ยวเรามาดูวิธีการนับประสบการณ์ของ Subclass 457 และ Subclass 482 กันนะครับ เพราะหลาย ๆ คนอาจจะมีการเปลี่ยนนายจ้างกัน จาก Subclass 457 ไปเป็น Subclass 482

สิ่งที่เราต้องรู้เกี่ยวกับ Subclass 186; Transitional Stream คือ

11. นายจ้างที่จะทำ Subclass 186; Transitional Stream ต้องเป็นนายจ้างเดียวกัน (ใช้ ABN เป็นหลัก) ที่ทำเรื่อง Subclass 457 หรือ Subclass 482 ให้กับเรา 

บางคนยังถือ Subclass 457 อยู่เพราะว่าเขาเพิ่งชนะ AAT มาไม่กี่ปี และยังถือ Subclass 457 เป็นเวลา 4 ปี แบบนี้ก็มีครับ ไม่ใช่ไม่มี

22. สำหรับคนที่ถือ Bridging Visa A เพราะว่าเรื่องอยู่ที่ AAT, ประสบการณ์ในการทำงานกับ "นายจ้างนั้น ๆ " จะนับก็ต่อเมื่อ Stage 2; Nomination ของเราผ่านเท่านั้น

ย้ำ ประสบการณ์ในการทำงานกับ "นายจ้างนั้น ๆ " จะนับก็ต่อเมื่อ Stage 2; Nomination ของเราผ่านเท่านั้น

ย้ำรอบที่ 3: ประสบการณ์ในการทำงานกับ "นายจ้างนั้น ๆ " จะนับก็ต่อเมื่อ Stage 2; Nomination ของเราผ่านเท่านั้น

ถ้า Stage 2; Nomination ยังไม่ผ่าน แล้วเรายื่นเรื่องอุทธรณ์ไปที่ AAT แสดงว่าประสบการณ์กับนายจ้างคนนี้ยังไม่นับ ต่อให้เราจะทำงานกับนายจ้างนั้น ๆ ช่วงที่ถือ Bridging Visa A, ช่วงที่อุทธรณ์ ต่อให้รอ AAT; 2-3 ปี ประสบการณ์ช่วงนี้ก็ไม่นับ ดังนั้นการที่จะทำ Subclass 186 (ENS); Transitional Stream (กฎใหม่ที่กำลังจะประกาศปลายปี) ก็คงจะล่าช้าออกไป

33. ถ้า Stage 2; Nomination เราผ่านแล้ว แต่ Stage 3 ไม่ผ่าน แล้วอุทธรณ์  Stage 3 ไปที่ AAT, แบบนี้ไม่มีปัญหาครับ ประสบการณ์ของเราก็จะนับตามปกติ เพราะ Stage 2; Nomination เราผ่านแล้ว เราสามารถเอาประสบการณ์ที่ถือ Bridging Visa A ไปนับรวมกันเพื่อทำ Subclass 186: ENS, Transitional Stream ได้

Tips & Tricks.... just because I love you:

i) ประสบการณ์ช่วงที่ถือ Bridging Visa A จาก Subclass 457 ไปเป็น Subclass 457, ถ้า Stage 2; Nomination ผ่านก็นับ

ii) ประสบการณ์ช่วงที่ถือ Bridging Visa A จาก Subclass 482 ไปเป็น Subclass 482, ถ้า Stage 2; Nomination ผ่านก็นับ

iii) ประสบการณ์ช่วงที่ถือ Bridging Visa A จาก Subclass 457 ไปเป็น Subclass 482, ถ้า Stage 2; Nomination ผ่านก็นับ

iv) ประสบการณ์ช่วงที่ถือ Bridging Visa A จาก วีซ่าตัวอื่นที่ไม่ใช่ Subclass 457 ไปเป็น Subclass 457, ต่อให้ Stage 2; Nomination ผ่าน ก็ยังไม่นับ

v) ประสบการณ์ช่วงที่ถือ Bridging Visa A จาก วีซ่าตัวอื่นที่ไม่ใช่ Subclass 457 หรือ Subclass 482 ไปเป็น Subclass 482, ต่อให้ Stage 2; Nomination ผ่าน ก็ยังไม่นับ

OK... blog นี้อาจจะหนักนิดหนึ่ง
แต่เรามั่นใจว่า คนที่เขาอยู่ในสถานการณ์ เขาเข้าใจแหละ :)

ใครที่ไม่ได้อยู่ในกฎของ grandfather rule ก็เลื่อนผ่านไปได้นะครับ เนื้อหาอาจจะหนักเกินไป

เพราะรักจึงแบ่งปันครับ
ของดีและฟรี... ที่นี่แหละ

"J Migration Team" เท่านั้นที่ knock everything.

Copyright: ถ้าจะแชร์ให้แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น, ไม่อนุญาตให้ copy & paste, ไม่อนุญาตให้ screen capture

Saturday, June 10, 2023

Australian Citizen: New Zealander, Subclass 444 form 01 July 2023


สำหรับคนที่ถือ New Zealand passport นะครับ

ที่เข้ามาใช้ชีวิตในประเทศออสเตรเลีย หลัง 25 Feb 2001, ถ้าเข้ามาหลัง 25 Feb 2001; New Zealander ที่เข้ามาก็จะถือ Subclass 444; Special Category โดยอัตโนมัติ

เริ่ม 01 July 2023; คนที่ถือ Subclass 444 แล้วใช้ชีวิตอยู่ในประเทศออสเตรเลีย อย่างน้อย 4 ปี สามารถขอ Australian citizenship ได้นะครับ 


ซึ่งจากแต่ก่อนต้องขอ PR ก่อน; Subclass 189

หลัง 01 July 2023, ไม่ต้องขอ PR แล้ว

ถ้าอยู่ที่นี่ 4 ปี ก็สามารถขอ Australian citizenship ได้เลยนะครับ

Sunday, June 4, 2023

Subclass 186 & Subclass 187; Nomination


ช่วงนี้ใครก็รีบยื่น Subclass 186 และ Subclass 187, Stage 1: Nomination เข้าไปก่อน 01 July 2023 เพราะค่าแรงขั้นต่ำของ Subclass 482, Subclass 494, Subclass 186 และ Subclass 187 จะเพิ่มขึ้นจาก $53,900 เป็น $70,000 ต่อปี

สิ่งที่เราคาดเดาเอาไว้ก็คือ
- ImmiAccount หลังจากวันที่ 15 June 2023 เป็นต้นไป จะช้ามาก เพราะทุกคน ทุกบริษัทจะเร่งในการ submit เรื่องเข้าไป อย่างน้อยก็ยื่น Nomination เข้าไปก่อน แล้ว worry เรื่อง stage อื่นทีหลัง

Subclass 482 และ Subclass 494 ไม่มีอะไรมาก
ก็แค่ยื่น Stage 2: Nomation เข้าไป ก็ถือว่า lock-in ค่าแรง ณ ปัจจุบันเอาไว้ได้แล้ว

แต่สำหรับหลาย ๆ คนที่ตอนนี้ถือ Subclass 482 อยู่แล้วต้องการยื่น Subclass 186 หรือ Subclass 187 (บางคนยังถือกฎเก่าของ grandfather rule มาจาก Subclass 457) สิ่งที่หลาย ๆ คนควรรู้และนำไปประกอบการตัดสินใจคือ

1. Stage 1: Nomination ของ Subclass 186 หรือ Subclass 187 ใช้ร่วมกันไม่ได้ 

2. ต่อให้เป็น Subclass เดียวกัน แต่คนละ Stream ก็ไม่สามารถใช้ร่วมกันได้ อย่างเช่น:
- Stage 1: Nomination ของ Subclass 186; ENS: Transitional Stream ไม่สามารถนำเอามาใช้กับ Subclass 186; ENS: Direct Entry ได้... and vice versa

ดังนั้นใครจะเตรียมแผน 1, แผน 2 หรือแผนอะไรก็เตรียมกันไว้ให้ดี ๆ 

เพราะหลาย ๆ คนมีหลาย factor ที่ต้องคิด

ไม่ว่าจะเป็น:
- ตัวเองมี grandfather rule จาก Subclass 457 หรือเปล่า ถ้ามี ก็สามารถออกไปยื่น Subclass 187 ที่เมืองรอบนอกได้ อันนี้ก็ใช้ผลการเรียน 5 ปีได้

- Subclass 186; ENS ใช้ผลการเรียน 5 ปีไม่ได้ ไม่ว่าจะยื่นที่ไหน ในเมืองใหญ่หรือเมืองรอบนอก ก็ต้องใช้ผลสอบภาษาอังกฤษ IELTS (general) 6 each band หรือ PTE 50 each band.

อะไร ใด ๆ เตรียมการกันตั้งแต่เนิ่น ๆ นะครับ

ถ้ายื่น Stage 1: Nomination ของ Subclass 186 (Transitional Stream หรือ Direct Entry) หรือ Stage 1: Nomination ของ Subclass 187; RSMS (Transional Stream) ก่อน 15 June 2023 จะดีมากเลย เพราะหลัง 15 June 2023 ระบบ ImmiAccount จะ busy มากถึงมากที่สุด

...ขอให้ทุกคนโชคดีนะครับ...

Copyright: ถ้าจะแชร์ให้แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้นนะครับ, ไม่อนุญาตให้ copy & paste, ไม่อนุญาตให้ screen capture

Friday, June 2, 2023

วีซ่าออสเตรเลีย 150,000 บาทเอย 250,000 บาทเอย


บางทีมันก็ป่วยการที่จะเตือนคนที่พร้อมและยอมจ่าย 150,000 บาท หรือบางคนก็ 250,000 บาท เพื่อขอวีซ่าท่องเที่ยว subclass 600

เพื่อมาแล้วขอวีซ่าลี้ภัย

เพื่อมาทำงานที่ฟาร์ม

คนที่มาแล้ว ก็มาเสียชีวิตในฟาร์มก็เยอะนะครับ 

สภาพแวดล้อมการทำงานมันอาจจะไม่ได้เป็นดั่งที่เราคิดก็ได้

สิ่งที่เห็นใน TikTok ก็คือ "สิ่งที่เห็นใน TikTok"
ไม่ใช่ชีวิตจริงทั้งหมด

มันยังมีอะไรอีกเยอะแยะมากมายที่เขาเลือกที่จะไม่พูด ไม่ได้อยู่ใน TikTok

คนงาน 20 นอนรวมกันในห้องโถงใหญ่
บางที่ดีหน่อย อาจจะจะ bunkbed เตียงนอน 2 ชั้นให้

หม้อนึ่งข้าวเหนียว 1 อัน
หวดนึ่งข้าวเหนียว 1 อัน

...สรุป... มาเมืองนอกเพื่อสิ่งนี้เหรอครับ??

บางคนบอกว่าชีวิต "เลือกไม่ได้"
เดี๋ยวก่อนนะครับ ชีวิตเรา เรา "เลือก" ได้สิ

"เลือก" ที่จะโดนหลอก
หรือ "เลือก" ที่จะหาข้อมูลเพิ่มนิดนึง อ่านเพิ่มอีกหน่อย

เลือกเล่นบทเหยื่อ

ดาวพระศุกร์ยุค 5G เค๊าเลือกชีวิตเขาได้แล้ว

ค่าสมัครวีซ่าท่องเที่ยว มันแค่ $150 AUD เองนะครับ

ถ้ายอมจ่าย 150,000 บาท หรือ 250,000 บาท
ก็เอาที่สะดวกละกัน
ถ้ามีเงินเยอะขนาดนี้ จะมาลำบากทำงานที่ฟาร์มทำไม

ส่วนวีซ่า subclass อื่นที่ไม่ใช่วีซ่าท่องเที่ยว
เอาจริง ๆ นะครับ เขาจะขอวีซ่าให้คุณผ่านหรือเปล่า

ถ้าขอไม่ผ่าน เขาจะคืนเงินมั้ย เราก็คิดว่าไม่... อ้อยเข้าปากช้าง เงินเข้าบัญชี "มิตรฉาชีพ"... ยากที่จะได้คืน

บุญใครกรรมมันนะครับ
ต่างบุญ ต่างวาระ

วีซ่าออสเตรเลีย ปรึกษาคนที่มี MARN นะครับ
หรือทีมงานที่มีคนที่มี MARN เป็นหัวเรือใหญ่

เงินอยู่ในกระเป๋าเรา กอดเอาไว้ให้แน่น ๆ
อย่าให้โดนหลอก

ถ้าโดนหลอก ก็อย่าลืมโทษตัวเองด้วยนะครับ
ก็ "เลือก" ชีวิตแบบนั้นเอง

รู้เขาหลอก แต่เต็มใจให้หลอก
เพียงเพราะเพื่อหวังว่าจะ "ฟลุค"

มาวีซ่าท่องเที่ยว subclass 600
ทำงานไม่ได้นะครับ

หรือวีซ่าทำงานชั่วคราวตัวอื่นที่เขาโฆษณา หรือบางคนก็มาก็อปปี้ content เราไป... เขาจะขอวีซ่าให้คุณผ่านหรือเปล่าเถอะ มันไม่ใช่แค่กรอกข้อมูลอะไรมั่ว ๆ เข้าไป

กฎหมายทุกอย่าง มีเหตุและผลของมัน
รัฐบาลเขาออกกฎมาแบบนั้น
ใช่ว่ารู้ภาษาอังกฤษก็จะงม ๆ ยื่นเข้ามา
เอเจนต์เถื่อนเยอะ

แค่บอกว่าวีซ่าทำงานของออสเตรเลียผ่านกรมแรงงาน
ตรงนี้ก็โป๊ะแล้วหนึ่ง
และอื่น ๆ อีกมากมายที่เขาโฆษณาชวนเชื่อก้นใน facebook เอย ใน TikTok เอย