Sunday, August 19, 2018

สปอนเซอร์พนักงานมาจากเมืองไทย


สำหรับเจ้าของธุรกิจที่ประเทศออสเตรเลีย ที่มีความประสงค์จะสปอนเซอร์พนักงานมาจากเมืองไทย คุณสมบัติของธุรกิจและคนสมัครมีคร่าว ๆ ดังนี้ครับ

ธุรกิจ:

  • ต้องเปิดทำการจริง ๆ ที่ประเทศออสเตรเลีย จะแบบแค่ว่าจดทะเบียนการค้าเฉย ๆ ไม่ได้
  • ต้องมีการจ้างงานคนที่เป็น local ด้วย คนที่เป็น PR หรือ citizen
  • ธุรกิจควรจะมียอดขายที่ดี และมีกำไร
  • เจ้าของธุรกิจจะต้องไม่เป็นญาติ หรือเกี่ยวข้องกับพนักงาน เพราะทางธุรกิจเองต้องอธิบายว่า ทางธุรกิจมีความจำเป็นที่จะต้องจ้างพนักงานคนนี้มาทำงานจริง ๆ ตำแหน่งงานจะมีผลต่อธุรกิจอย่างไร ไม่ใช่ทำเรื่องสปอนเซอร์ เพราะเป็นญาติกัน

คนสมัคร:
  • มีวุฒิการศึกษาตรงกับอาชีพที่ทางรัฐบาลต้องการ (list อยู่ด้านล่าง)
  • มีประสบการณ์ในการทำงานในสาขาอาชีพนั้น ๆ หรือใกล้เคียง เป็นระยะเวลา 2 ปี full-time หรือ 4 ปี part-time
  • มีผลสอบภาษาอังกฤษ ถ้าเป็นสาขาอาชีพใน long-term list ก็ต้องได้ IELTS 5 each band (general), ถ้าเป็นสาขาที่อยู่ใน short-term list ก็ต้องได้ IELTS 5 overall, each band ห้ามต่ำกว่า 4.5 (general) เราพูดเรื่องนี้บ่อยแล้ว ไปหาอ่าน หาดูใน website, YouTube, blog ของ J Migration Team ดูนะครับ

สาขาอาชีพที่ทางรัฐบาลต้องการอยู่ใน link นี้แล้วนะครับ

https://www.legislation.gov.au/Details/F2018L00302

Saturday, August 18, 2018

อายุ 40 มาทำงานได้มั้ย


"อายุ 40  มาทำงานได้มั้ย"

บุคคลที่บรรลุนิติภาวะแล้ว อายุกี่ปีก็มาทำงานที่ประเทศออสเตรเลียได้ครับถ้า:
- มีนายจ้างสปอนเซอร์
- มีวุฒิการศึกษาตรงกับอาชีพที่ทางรัฐบาลต้องการ (list อยู่ด้านล่าง)
- มีประสบการณ์ในการทำงานในสาขาอาชีพนั้น ๆ หรือใกล้เคียง เป็นระยะเวลา 2 ปี full-time หรือ 4 ปี part-time
- มีผลสอบภาษาอังกฤษ (เราพูดเรื่องนี้บ่อยแล้ว ไปหาอ่าน หาดูใน website, YouTube, blog ของ J Migration Team ดูนะครับ)

สาขาอาชีพที่ทางรัฐบาลต้องการอยู่ใน link นี้แล้วนะครับ

https://www.legislation.gov.au/Details/F2018L00302 

Friday, August 17, 2018

SAF; Skilling Australian Fund


กฎหมายใหม่ที่เพิ่งมีการประกาศใช้ไปเมื่อวันที่ 12 August 2018 คือเรื่องของ SAF; Skilling Australian Fund

SAF คืออะไร??

SAF คือเงินที่ทางเจ้าของธุรกิจต้องจ่ายให้กับรัฐบาล ถ้าเจ้าของธุรกิจต้องการทำเรื่องสปอนเซอร์พนักงานต่างชาติด้วย วีซ่า subclass 482; TSS, subclass 186 ENS และ subclass 187 RSMS

ทางรัฐบาลก็จะนำเอาเงินส่วนนี้ไปฝึกหัดแรงงานของประเทศออสเตรเลียเพื่อต่อไปในอนาคต ออสเตรเลียจะสามารถผลิตแรงงานในสาขาอาชีพต่าง ๆ เองได้ โดยที่เจ้าของธุรกิจหรือนายจ้างไม่จำเป็นต้องจ้างแรงงานต่างชาติอีกต่อไป

SAF หรือ Skilling Australian Fund นี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 August 2018 เป็นต้นไป

ดังนั้นตั้งแต่วันที่ 12 August 2018, Training Benchmark A & B จึงได้ถูกยกเลิกไป

SAF สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้
SAF คือรายจ่ายที่ทางธุรกิจหรือนายจ้างต้องจ่าย ไม่ใช่รายจ่ายของพนักงาน

วีซ่า subclass 482, TSS; Temporary Skill Shortage 
วีซ่า subclass 482 มี 3 stages คือ:
Stage 1: Standard Business Sponsor (SBS)
Stage 2: Nomination
Stage 3: Visa Application

วีซ่า subclass 482 TSS ให้เอาวันที่ยื่น stage 2; Nomination เป็นหลัก
ถ้าทางเจ้าของธุรกิจยื่น stage 2 nomination วันที่ 12 August 2018 หรือหลังจากนั้น ทางเจ้าของธุรกิจก็ต้องมีการจ่าย SAF ให้กับทางรัฐบาล


สำหรับวีซ่า subclass 482 TSS, ถ้ายอดขายของธุรกิจน้อยกว่า $10,000,000 ต่อปี, ทางธุรกิจจะต้องจ่าย SAF เป็นจำนวน $1,200 ต่อปี 

ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าทางร้านต้องการสปอนเซอร์ cook เป็นเวลา 2 ปี
SAF ก็จะเป็น 
$1,200 x 2 = $2,400.00

หรือถ้าทางร้านต้องการสปอนเซอร์ chef เป็นเวลา 4 ปี
SAF ก็จะเป็น 
$1,200 x 4 = $4,800.00

สำหรับวีซ่า subclass 482 TSS, ถ้ายอดขายของธุรกิจถึง $10,000,000  ต่อปี หรือมากกว่า, ทางธุรกิจจะต้องจ่าย SAF เป็นจำนวน $1,800 ต่อปี 

ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าทางร้านต้องการสปอนเซอร์ cook เป็นเวลา 2 ปี
SAF ก็จะเป็น 
$1,800 x 2 = $3,600.00

หรือถ้าทางร้านต้องการสปอนเซอร์ chef เป็นเวลา 4 ปี
SAF ก็จะเป็น 
$1,800 x 4 = $7,200.00

วีซ่า subclass 186 ENS และ วีซ่า subclass 187 RSMS
สำหรับวีซ่า subclass 186 และ  วีซ่า subclass 187
วีซ่า subclass 186 และ  วีซ่า subclass 187 มี 2 stages คือ:
Stage 1: Nomination
Stage 2: Visa Application

วีซ่า subclass 186 หรือ subclass 187 ก็ให้เอาวันที่ยื่น stage 1; Nomination เป็นหลัก ถ้าทางเจ้าของธุรกิจยื่น stage 1 nomination วันที่ 12 August 2018 หรือหลังจากนั้น ทางเจ้าของธุรกิจก็ต้องมีการจ่าย SAF ให้กับทางรัฐบาล

สำหรับวีซ่า subclass 186 หรือ subclass 187, ถ้ายอดขายของธุรกิจน้อยกว่า $10,000,000 ต่อปี, ทางธุรกิจจะต้องจ่าย SAF เป็นจำนวน $3,000 ต่อ 1 nomination

สำหรับวีซ่า subclass 186 หรือ subclass 187, ถ้ายอดขายของธุรกิจถึง $10,000,000  ต่อปี หรือมากกว่า, ทางธุรกิจจะต้องจ่าย SAF เป็นจำนวน $5,000 ต่อ 1 nomination

LINE: @JMigrationTeam  (มี @ ข้างหน้าด้วย)
IG: @JMigrationTeam
Snapchat: @JMigrationTeam
Podcast: Spotify, iTune และ platform ต่าง  ๆ
SMS: +61 412470969

Friday, August 3, 2018

Overstay


ฮัลโหล... ฮัลโหล... overstay

ฮัลโหล... ฮัลโหล... overstay ไม่ใช่ criminal ดังนั้นเวลาเราทำ police check จะไม่มี criminal record  จ๊ะ... อย่าดราม่ากันให้มาก

ฮัลโหล... ฮัลโหล... overstay 
คน overstay สามารถแต่งงานหรือจด register of relationship ได้จ๊ะ

ฮัลโหล... ฮัลโหล... overstay 
คน overstay สามารถเปิดบัญชีธนาคารได้จ๊ะ

ฮัลโหล... ฮัลโหล... overstay 
คน overstay สามารถมีชื่อร่วมกับแฟนใน บิลค่าน้ำ บิลค่าไฟได้จ๊ะ

ดังนั้น ใครอยากจะทำอะไรก็ให้รีบทำกันซะนะครับ

อย่าอยู่กันแบบหลบ ๆ ซ่อน  ๆ ไม่มีหลักฐาน ไม่มีเอกสารอะไรเป็นของตัวเองเลย

เผื่ออนาคตเราจะต้องได้ใช้เอกสารเหล่านี้ในการทำเรื่อง ในการทำวีซ่าของเรา

คิดอะไรเผื่ออนาคต เผื่อวันข้างหน้านิดหนึง

เราขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนนะครับ

blog นี้มีประโยชน์โปรดแชร์


LINE: @JMigrationTeam (มี @ ข้างหน้าด้วย)
IG: @JMigrationTeam
Snapchat: @JMigrationTeam
YouTube: www.youtube.com/c/JMigration
Website: www.jmigrationteam.com
Podcast: Spotify, iTune และ platform ต่าง ๆ
SMS: +61 412470969

วีซ่าขาด


น้องหนูซู่ซ่า email มาถามเรื่องวีซ่าขาด นั่น นี่ โน่น

เราก็ตอบไปบ้างแล้วบางส่วน
รู้สึกว่า email ตอบไปแล้ว 2 ครั้ง

ครั้งที่ 3 รู้สึกรำคาญนิดหนึงกับคำถามที่ว่า "ถ้าหนูเข้าไปหาพี่ พี่จะโทรเรียกอิมมิเกรชั่นมาจับหนูมั้ย"

เจอคำถามแบบนี้มันหมดอารมณ์
เราขอเลือกที่จะลบทิ้งไปเลยก็แล้วกัน มันรู้สึกเสียเวลา

วันหนึงมันมีแค่ 24 ชั่วโมง
โปรดอย่าเสียเวลาซึ่งกันและกันเลย ขอร้อง

You don't waste mine, you I won't waste yours.

ทนายความและอิมมิเกรชั่นเอเจนท์ทุกคน เรามี code of conduct ที่จะต้องดูแลและรักษาผลประโยชน์ของลูกค้า

ถ้าลูกค้าแวะเข้ามาหาเรา เข้ามาปรึกษาเราที่ office ก็แสดงว่าเขาต้องการความช่วยเหลือ

ใครจะว่างโทรเรียกอิมมิเกรชั่นมาจับลูกค้าของตัวเอง
มันผิด code of conduct ป๊ะ

ใครจะมีเวลาว่างขนาดนั้น
น้องคงดูละครน้ำเน่า หรืออยู่ในพวก facebook กลุ่มเน่า ๆ มากเกินไป

อยากจะให้หลาย ๆ คนเลิกทำตัวเป็น "กบในกะลา" ซะทีเถอะ ขอร้อง

โลกเขาหมุนไปไหนต่อไหนแล้ว
สมัยนี้เขาใช้ 4G กันแล้วจ๊ะ
ขวัญกับเรียมเขาก็คงเลิกขี่เกวียนกันแล้วมั้งป่านนี้

หนูจ๋า ชีวิตนี้เป็นของเรานะจ๊ะ
you ต้อง take control of your life
หนูต้องหัดที่จะกุมบังเหียนชีวิตของตัวเองนะครับ
จะอยู่แบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ ต่อไปแบบนี้เหรอ

คิดดีแล้วเหรอหนู

ลองออกมาจากกะลา ออกมาเจอโลกภายนอกหน่อยก็คงจะดีนะ

ปีนี้ ปี 2018 แล้วเธอ...