Wednesday, April 27, 2016

J Migration Team...diary บันทึกที่ไม่ลับ


เหตุเกิดเมื่อวันจันทร์ที่ 25 April 2016, วัน ANZAC Day ซึ่งก็เป็น public holiday แต่ปกติเราก็ทำงานอยู่แล้ว เพราะเราทำ จันทร์-เสาร์ เราจะหยุดแค่วันอาทิตย์วันเดียว จะ public holiday หรือไม่ public holiday เราไม่สนหรอก เพราะงานที่คั่งค้างอยู่ ถ้าไม่ทำวันนี้ วันรุ่งขึ้นก็ต้องทำอยู่ดี เพียงแต่ว่า public holiday บางทีเราก็อาจจะไม่รับสาย ไม่ตอบ LINE, email  หรือ inbox อะไรก็ว่าไป แต่ก็ยกเว้นคนที่เป็นลูกค้านะครับ เพราะลูกค้าเราปกติแล้วจะติดต่อเราได้ตลอด

ก็เอาเป็นว่าในวัน ANZAC Day ที่ผ่านมาในขณะที่ทุกคนหยุดพักผ่อน พี่ "R" จาก VIC ก็เร่งรีบเตรียมเอกสารในการทำ Partner Visa ของพี่ "R"

สิ่งที่ พี่ "R" ต้องเตรียมนานที่สุดคือการหาพยานเขียนฟอร์ม 888 เพราะยังไงเสีย ยื่น online เราก็ต้องหาพยานมาเซ็นฟอร์ม 888 ให้เราให้ได้ก่อน เพราะไม่งั้นระบบ computer system ก็จะไม่ยอมให้เรา submit เรื่องอยู่ดี 

พี่ "R" ก็เลยต้องวิ่งจ้าละหวั่นกันการหาพยานเพื่อมาเซ็นฟอร์ม 888 ดังนั้นเราขอแนะนำนะครับถ้าใครที่ plan จะทำ Partner Visa แนะนำให้หารับพยานอย่างต่ำ 2 คนเอาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆนะครับ

เนิ่งด้วยพี่ "R" ก็เกรงว่าวีซ่านักเรียนของพี่เขาจะมีปัญหา อย่างที่เราเคย post ไว้ใน FB page ของเรา เพราะวันที่ 1 July 2016 ที่จะถึงนี้ ทางอิมมิเกรชั่นจะมีการเปลี่ยนแปลง stream ของวีซ่านักเรียน และก็ได้ทำการเริ่มที่จะยกเลิกวีซ่านักเรียนที่ทำผิด codition อะไรต่างๆของวีซ่านักเรียนกันแล้ว

แต่เราไม่พูดถึงเรื่องนั้นก็แล้วกัน ก็เอาเป็นว่าพี่ "R" ต้องรีบก็แล้วกัน เพราะเราไม่รู้ว่าจะเกิดอะไรขึ้นกับวีซ่านักเรียนของพี่เขา สรุปคืออยากรีบๆยื่น Partner Visa เพื่อให้ได้ Bridging Visa A มาเป็นภูมิคุ้มกันเอาไว้ก่อน ก็คือ กันไว้ดีกว่าแก้ ก็แล้วนะครับ 

ดังนั้นเราก็เลยต้องทำงานแข่งกับเวลา ถึงแม้ว่าจะเป็น ANZAC Day อะไรก็ตามเถอะ เพราะตัวพี่ "R" ก็รีบเหมือนกัน พี่เขาอุตส่าห์ขับรถกว่า 100 กิโลเมตร เพื่อเอาฟอร์ม 888 ไปให้พยานเซ็น ก็เอาเป็นว่าขับรถไปขับรถมา เหนื่อยทั้งวัน

ถ้าพี่ "R" ทุ่มเทสะขนาดนี้ เราก็ต้องเททุ่มด้วยใช่มั๊ยพี่...

พอพี่ "R" ได้ฟอร์ม 888 มาเท่านั้นแหละ อาจจะดึกหน่อยก็ไม่เป็นไร พี่ "R" ก็ email เอกสารมาให้ แล้วเราก็ ติ๊งต่อง ติ๊งต่อง คุยกันทาง LINE ตลอด

สรุปก็ยื่นเรื่องกันตอน 11pm.... 5 ทุ่ม ดึกหน่อยแต่ก็คุ้ม เพราะลูกค้าต้องมาก่อนเสมอ

หลายๆคนอาจถามว่า ทำไมจะต้องรีบร้อนอะไรขนาดนั้น

รู้หรือเปล่าว่า ถ้าเรายื่นเรื่อง online พอ click submit ปุ๊บ เราก็จะได้ Bridging Visa A ใน email เลย ประมาณ 1 วินาที หลังจากนั้น

ดังนั้นถ้าวันรุ่งขึ้น 9 โมงเช้า case officer มา run system เพื่อที่จะ cancel วีซ่านักเรียนอะไรเราก็ไม่กลัวแล้วครับ เพราะเราได้ Bridging Visa A แล้ว เรามีภูมิคุ้มกันแล้ว.....

เราถือไพ่เหนือกว่า

ดังนั้นเราต้องรีบชิง submit เรื่องเข้าไปก่อน นี่เป็นอีกเหตุผลใหญ่ๆที่เราทุกอย่าง online สำหรับวีซ่าตัวที่สามารถทำ online ได้

อย่างที่เห็นนะครับ การทำงานของเราไม่เหมือนใคร เราไม่ได้สนใจเรื่อง public holiday อะไรมากมาย ขอให้ไม่ใช่วันอาทิตย์เป็นพอ วีซ่าของลูกค้าต้องมาก่อนเสมอ เพราะเรารู้ดีว่า วีซ่าแต่ละตัวนั้นสำคัญกับชีวิตลูกค้าขนาดใหน ดังนั้นเราจึงพิถีพิถันในการทำงาน....

และในเรื่องค่าใช้จ่ายและค่าบริการก็เหมือนกัน ค่าบริการของเรา fix ตายตัว ไม่ต้องมาต่อให้เสียเวลานะครับ ถ้าชอบของถูกก็ต้องแถวๆ Chinatown อย่างที่บอก!!!

จะสังเกตุว่าเราจะไม่ลงโฆษณาในหนังสือพิมพ์ไทยในออสเตรเลีย เพราะเราคิดว่าไม่จำเป็น คิดว่าเลยจุดนั้นมาแล้ว เราเชื่อมั่นเรื่องปากต่อปาก 

สินค้าดีใช้แล้วต้องบอกต่อนะครับ...

Tuesday, April 19, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย Australian Partner Visa กับความรักและชีวิตคู่ที่หลากหลายและแตกต่าง


หนูหริ่ง: “ความรักของฉัน ชีวิตคู่ของฉัน มันป็นแบบนี้ แบบนี้ มันไม่เหมือนคู่รักทั่วๆไป…. ฉันกลัวจังเลยว่าจะทำ Partner Visa ไม่ผ่าน”

ลำใย: “ความรักของฉัน ชีวิตคู่ของฉัน มันป็นแบบนั้น แบบนั้น ชีวิตคู่ของฉันไม่เหมือนคู่รักคู่อื่น ทั่วๆไป…. ฉันก็กลัวจังเลยว่าจะทำ Partner Visa ไม่ผ่าน”

ตูดหมึก: “ความรักของผม ชีวิตคู่ของผม มันก็ป็นแบบนี้ แบบนี้ ชีวิตคู่ของผมมันก็ไม่เหมือนคู่รักคู่อื่น ทั่วๆไป…. ผมก็กลัวจังเลยว่าจะทำ Partner Visa ไม่ผ่าน”

ฝาหอย: “ความรักของผม ชีวิตคู่ของผม มันก็ป็นแบบนี้ แบบนี้ ความรักสีรุ้ง ผมชอบผู้ชายกล้ามโต ชีวิตคู่ของผมมันก็ไม่เหมือนคู่รักคู่อื่น ทั่วๆไป…. ผมก็กลัวจังเลยว่าจะทำ Partner Visa ไม่ผ่าน”

เจ๊หลอด: “ความรักของเจ๊ ชีวิตคู่ของเจ๊ มันก็ป็นแบบนี้ แบบนั้น ความรักและชีวิตคู่ของเจ๊มันก็ไม่เหมือนคู่รักคู่อื่น ทั่วๆไป…. เจ๊ก็กลัวจังเลยว่าจะทำ Partner Visa ไม่ผ่าน”


อยากจะบอกทุกคนนะครับว่า โลกสมัยนี้ อะไรต่อมิอะไรมันก็เปลี่ยนไปแล้ว ข้อมูลเก่าๆตาม webboard, ตาม Pantip มันล้าหลังไปแล้วหละ กฏหมายอิมมิเกรชั่นของออสเตรเลีย เป็นอะไรที่ dynamic มีการเปลี่ยนแปลงได้ทุก เช้า สาย บ่าย เย็น 

you snooze, you loose.... เผลอไม่ได้ เผลอเป็นพลาด

หลายๆคนชอบกังวลไปว่า ความรักหรือชีวิตคู่ของตัวเองไม่เหมือนคนอื่น 

เออ.... แล้วทำไมชีวิตคู่ ชีวิตรักเรามันจะต้องไปเหมือนคนอื่น คู่รักอื่นๆด้วยหละ ไร้สาระจัง ชีวิตเรา เราชอบแบบใหน เราต้องการใช้ชีวิตคู่แบบใหน เราจะใช้เงินร่วมกันหรือเปล่า จะอะไร ยังไง ชีวิตคู่เรา เราต้องออกแบบได้สิ ทำใมจะต้องเหมือนใคร แล้วทำไมจะต้องให้ใครมาเหมือน มันหมดสมัยแล้วหละ ล้าหลัง.... เชย

ความรักของใครจะเป็นแบบใหน อะไร ยังไงก็ตามแต่ หากเราสามารถโชว์และพิสูจน์ได้ว่า ความรักหรือ relationship เรามีคุณสมบัติ 3 ประการครบถ้วนคือ:
  • เป็นความสัมพันธ์ที่แท้จริง (genuine)
  • เป็นความสัมพันธ์ระยะยาว (long-term)
  • เป็นความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่อง (continuing)

ก็แค่นี่แหละ หลักๆสำคัญของคุณสมบัติการขอ Partner Visa ที่ออสเตรเลียมันก็เป็นแบบนี้ ที่เหลือก็จะเป็นอะไรแค่ปลีกย่อยแค่นั้นเอง

ให้จำใว้เสมอว่า ไปฟังหรืออ่านข้อมูลอะไรมา เราก็ต้องดูด้วยว่าข้อมูลนั้นน่าเชื่อถือมากน้อยขนาดใหน มันเป็นข้อมูลเก่าหรือข้อมูลใหม่ update มากน้อยแค่ใหน

ก็ต้องกลั่นกรองกันด้วยนะครับ อย่าเชื่อเพียงเพราะ "เขาเล่าว่า"....

Thursday, April 14, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย Australian Partner Visa จะเกิดอะไรขึ้น เมื่อรักร้าว


ความรักมันเป็นเรื่องของหัวใจใช่มั๊ย มันเป็นเรื่องอ่อนไหว แต่ละคนเปลี่ยนใจไปมากันได้ แต่ถ้าหากใครขอวีซ่าคู่รัก Partner Visa ไม่ว่าจะเป็นแบบแต่งงาน หรือ de facto และไม่ว่าจะเป็นคู่รักแบบเพศเดียวกัน หรือคู่รักต่างเพศ การที่เราจะได้ PR หรือวีซ่าผ่านนั้น ความรักหรือ relationship เราจะต้องมีคุณสมบัติ 3 ประการคือ

  • เป็นความสัมพันธ์ที่แท้จริง (genuine)
  • เป็นความสัมพันธ์ระยะยาว (long-term)
  • เป็นความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่อง (continuing)
และ Partner Visa เองก็มี 2 stages คือ
ซึ่งการที่เราจะได้ PR นั้น มันก็ต้องผ่านทั้ง 2 stages ซึ่งปกติก็ใช้เวลาในการพิสูจน์ความรักกันอยู่ 2 ปี

ดังนั้นหากวันใหนก็ตามแต่ นับจากวันที่เรายื่นเรื่อง Partner Visa เข้าไป จนถึงก่อนระยะเวลา 2 ปี ซึ่งก็อาจจะเป็น 1 ปี 11 เดือน กับอีก 29 วัน อะไรทำนองนี้ ถ้าหากในช่วงระยะเวลานี้ เกิดรักร้าวขึ้นมา ทางอิมมิเกรชั่นก็ถือความรักหรือความสัมพันธ์นี้ไม่ได้ต่อเนื่องแล้ว ซึ่งก็จะมีผลต่อการขอ Partner Visa แน่นอน

ก็ไม่มีใครหรอกนะที่อยากจะให้รักร้าว แต่บางทีของแบบนี้มันก็เป็นความรู้สึกส่วนตัว ความรู้สึกของหัวใจ บังคับอะไรกันก็คงไม่ได้ ภาษาของหัวใจก็เป็นอะไรที่เข้าใจยาก

เราเองก็เคยแนะนำไปแล้วว่า การที่คู่รักคู่ใหนจะยื่นเรื่องทำ Partner Visa เราก็แนะนำว่า ความรักความส้มพันธ์ต้องเหนียวแน่น เพราะนั่นมันก็เป็นปกติวิสัย ของ Partner Visa ว่าความรักความสัมพันธ์ต้องเหนียวแน่น ต้อง:

  • genuine
  • long-term และ
  • continuing
หากเมื่อใดเกิดรักร้าวขึ้นมา มันก็ถือว่าความรักความสัมพันธ์นั้นไม่ต่อเนื่อง ไม่ continuing แล้ว วีซ่าจะก็จะไม่ผ่านนะครับ

ดังนั้นหากความรักร้าว แล้วคู่รักเราแจ้งไปทางอิมมิเกรชั่นว่ารักร้าวแล้ว ไม่ได้เป็นอะไรต่อกัน หมดแล้วซึ่งความรัก ถ้าหากคู่รักเราคนที่สปอนเซอร์เราเขาเลือกจะที่เลิกสปอนเซอร์เราแล้ว ทุกอย่างมันก็จะจบลง ณ ตอนนั้น

ถ้าเกิดเหตุการณ์แบบนี้ก็อยากจะให้เราทำใจ พร้อมและยอมรับกับสถานะภาพที่มันเกิดขึ้น ตั้งรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น อย่าหลอกตัวเอง แล้วก็คิดว่าสรุปแล้วจะเดินหน้า เลี้ยวซ้ายหรือเลี้ยวขวาดี

จะสมัครวีซ่าตัวใหม่ด้วยตัวเองโดยที่ไม่ต้องง้อใคร หรือว่าจะทำอะไรต่อเพื่อที่จะยืดเวลาออกไปดี นี่ก็เป็นอะไรที่เราต้องคิด เป็นอะไรที่เราต้อง plan นะครับ เพราะเมื่อใดที่รักร้าวแล้ว บอกได้เลยว่ายังไงเสียวีซ่าก็ไม่ผ่าน 

บางสิ่งบางอย่างเราไม่อยากให้มันเกิด แต่ของบางอย่าง โดยเฉพาะเรื่องของความรัก มันห้ามกันไม่ได้จริงๆ เพียงอยากให้ทุกคนรู้เท่าทัน และพร้อมที่จะตั้งรับกับสถานการณ์ที่เกิดขึ้น

หมายเหตุ: เหตุการณ์แบบนี้ยังไม่เกิดขึ้นกับลูกค้าของ J Migration Team นะครับ เพราะปกติแล้วเราจะคัดสรรค์และดูก่อนว่าเราจะรับทำ case หรือเปล่า นี่เป็นกรณีคนขอคำปรึกษาเฉยๆ

Wednesday, April 13, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย Australian Partner Visa วีซ่าคู่รัก another success story อีกคู่

วันนี้วันสงกรานต์ไทย เป็นวันหยุดราชการ แต่เราก็ได้รับ email จากเมืองไทยว่า Partner Visa ของน้อง "ก" ผ่านแล้ว จริงๆแล้ววีซ่าน้องผ่านตั้งแต่เมื่อวาน วันที่ 12 เมษา แต่ว่าเราเพิ่งได้รับ email เมื่อตอนเช้านี้เอง

สรุปวันนี้วันสงกรานต์ มีข่าวดีของ Partner Visa ทั้งของน้องที่อยู่ที่เมืองไทย ยื่นแบบ offshore และน้องที่อยู่ที่ออสเตรเลีย ยื่นแบบ onshore

ข่าวดีแบบนี้เราก็ต้องแชร์เพราะ Partner Visa กว่าจะได้ case officer นี่ 12 เดือนนะครับ 1 ปีเต็มๆ คู่รักหลายๆคู่ก็กระวนกระวายกัน โดยเฉพาะคู่ที่ต้องทำ offshore ยื่นเรื่องมาจากข้างนอก แล้วต้องแยกกันอยู่

วีซ่าของน้อง "ก" ผ่านไปด้วยดี ไม่มีการขอเอกสารเพิ่มใดๆ ไม่มีการสัมภาษณ์ เช่นเดียวกันกับ case อื่นๆที่เราทำงานให้ เอกสารทุกอย่างแน่น ดังนั้นไม่มีการขอเอกสารนั่น นี่ โน่น เพิ่ม ให้เสียเวลา

เราดูแล case ของน้อง "ก" อย่างใกล้ชิด เพราะแฟนของน้อง "ก" เป็นน้องคนใกล้ตัวเราที่เรารักน้องคนนี้เหมือนน้องชายจริงๆ เพราะเราเห็นน้องเขาตั้งแต่เรียน high school ที่ Wollongong และน้องเองก็เคยทำงานให้กับเราด้วย ก็เลยรักเป็นพี่เป็นน้องกันไปเลย ส่วนแม่ของน้อง เราก็นับถือเป็นพี่อีกคนเช่นเดียวกัน

ตอนนี้ครอบครัวของน้องไม่ได้อยู่ที่ Wollongong แล้ว น้องกับแม่ย้ายไปอยู่ที่ QLD แล้วแต่ก็ยังติดต่อเราตลอด ดีใจที่เราได้เป็นส่วนหนึ่งกับชีวิตคู่ของน้องชายคนนี้ด้วย กับน้อง "ก"

ทุกครั้งที่แม่น้องเขาโทรมา นอกจากเรื่องของอิมมิเกรชั่นแล้ว พี่เขาก็ต้องแบบว่า ตบท้ายด้วยคำว่า "เมื่อไหร่มาเที่ยว QLD" บ่อยๆ

ครับพี่ ครับพี่ เดี๋ยวไป ต้องตามคิว ต้องไปเที่ยว ต้องไปเยื่ยมแน่นอน ลูกค้าเราอยู่ต่างรัฐก็เยอะ ทุกคนก็จะประมาณว่า "ว่างแล้วมาเที่ยวนะครับ/ค่ะ" เดี๋ยวไปครับ เดี๋ยวไป มันติดตรงที่ ไม่ว่างเนี๊ยะแหละ ปัญหาใหญ่ :)

เดี๋ยวจะทยอยเที่ยวไป ไปเยี่ยมทุกคนนะครับ คนเบี้ยน้อย หอยน้อย ต้องค่อยๆคลืบคลาน เที่ยวไปทีละนิดทีละหน่อย

เอ๊ากลับมาเข้าเรื่องอิมมิเกรชั่นกันต่อ

ก็ดีใจกับน้อง "ก" ด้วยนะครับ รีบเดินทางมานะครับ เราคงจะได้เจอกันที่ออสเตรเลียนะหนู


วีซ่าออสเตรเลีย Australian Partner Visa วีซ่าคู่รัก another success story


วันนี้วันสงกรานต์ไทย เราก็มีข่าวดีไปบอกน้อง "M"

วีซ่า Partner Visa ของน้อง "M" ผ่านแล้ว

น้อง "M" เป็นลูกค้า แต่ตอนนี้ก็กลายเป็นน้องชายไปแล้วหละ เพราะ LINE หากันบ่อยมาก น้อง "M" มีเพื่อนๆคนใหนที่ต้องการความเชื่อเหลือทางด้านอิมมิเกรชั่น น้อง "M" จะติดต่อพี่ J เลยทันที ขอบคุณน้อง "M" มากเลยจริงๆ

Love you to the moon and back จริงๆครับ

จริงๆแล้ว case ของน้อง "M" มีกำหนดครบ 12 เดือนตอนเดือน June 2016 ด้วยซ้ำ นี่ได้วีซ่าแล้ว แค่เดือน April เอง ได้ไวกว่าตั้ง 2 เดือนแหนะ เพราะว่าเอกสารน้องครบทุกอย่างครับ แน่นเปี๊ยะ แน่นเปี๊ยะ ไม่มีการขอเอกสารเพิ่ม ไม่มีการโทรสัมภาษณ์

Personal statement อะไร พี่ J ก็แปลให้เองกับมือ relationship detail, love story หวานแหววมาก

oh...BTW, น้อง "M" ทำวีซ่าเป็นแบบ de facto:

  • อยู่ด้วยกันไม่ถึง 12 เดือนนะครับ คิดว่าแค่ 2 เดือนเองมั๊ง
  • น้อง "M" จด register of relationship เอา
ดังนั้น ใครชอบฟังเพื่อนๆหางอึ่งทั้งหลายที่บอกว่า de facto ต้องอยู่ด้วยกันให้ถึง 12 เดือนนั้น คิดกันใหม่นะครับ เพราะทุกอย่างมีข้อยกเว้นเสมอ

  • ปรึกษาผู้รู้ 
  • เลิกฟังเพื่อนๆหางอึ่ง
  • ไม่ใช้บริการของพวกอิมมิเกรชั่นเอเจนท์ที่ไม่มีหมายเลข MARN ที่ถูกต้องตามกฏหมายนะครับ พวก Chinatown

แค่นี้ก็มีชัยไปกว่าครึ่งแล้วครับ

Sunday, April 10, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย ขอ PR โดยมีนายจ้างสปอนเซอร์


การขอเป็น PR (Permanent Resident) โดยที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ โดยที่เราจะถือวีซ่าทำงาน subclass 457 ก็ได้ หรือไม่ถือวีซ่า subclass 457 ก็ได้

การขอ PR โดยที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ นั้นก็ทำได้ 2 แบบคือ
  • Employer Nomination Scheme, ENS subclass 186: ทำได้ทุก business ไม่ว่าจะอยู่ส่วนใหนของออสเตรเลียก็ตาม
  • Regional Sponsored Migration Scheme, RSMS subclass 187: ทำได้เฉพาะ business ที่อยู่ในเมืองระแวกรอบนอกเท่านั้น หรือเราเรียกว่า regional area 
เราได้เขียนข้อดีของ RSMS มาแล้ว โดยส่วนตัวแล้วชอบวีซ่าของ RSMS มาก เพราะเป็นอะไรที่ทำได้ง่าย เพราะรัฐบาลเองก็อยากให้คนออกไปเมืองรอบนอกกันมากขึ้น

แต่วันนี้เราขอเน้นไปที่ ENS ที่หลายๆคนทำกันก็แล้วกันนะครับ

ENS ก็เป็นวีซ่าต่อเนื่อง วีซ่าช่องทางของการขอ PR ต่อจากวีซ่ทำงาน หรือ subclass 457 หลังจากที่ทำงานกับนายจ้างที่ที่เดียวเป็นระยะเวลา 2 ปี ซึ่งเราก็เรียกกันว่า Transitional Stream ซึ่งหลายๆคนก็ใช้ Transitional Stream กันเพราะเป็นอะไรที่ขอกันได้ง่ายกว่า เพราะ requirement ในเรื่องของภาษาอังกฤษที่ง่ายกว่า

แต่ในขณะเดียวกัน ENS ก็มีอีก stream หนึ่งที่น่าสนใจนั่นก็คือ Direct Entry Stream ซึ่งก็เหมาะสำหรับคนที่มีประสบการณ์ทำงานมาพอสมควรและมีภาษาอังกฤษที่สูงกว่าคนที่ทำวีซ่าทำงาน หรือ subclass 457 แล้วทำ Transitional Stream กัน

เดี๋ยววันนี้เรามาดู ENS แบบ Direct Entry กันนะครับว่า คนที่สมัครต้องมีคุณสมบัติอะไรมั่ง
  • อายุยังไม่ถึง 50 (สาขาบางอาชีพมีการยกเว้นในเรื่องของอายุ)
  • สมัคร offshore ซึ่งก็ได้ไม่ยาก สำหรับคนที่อยู่ภายในประเทศแล้ว ก็บินออกไปสมัครข้างนอก ก็แค่นั้นเอง
  • เรียนมาตรงสาขา และมีประสบการณ์ในการทำงานอย่างต่ำ 3 ปี
  • สาขาบางอาชีพก็ต้องมีใบอนุญาติ ใบประกอบวิชาชีพด้วย
  • ผ่าน skill assessment จากหน่วยงานที่รับผิดชอบ
  • มีผลสอบภาษาอังกฤษ ที่ไม่เกิน 3 ปี
    • IELTS: general คะแนนทุกอย่าง (พูด, อ่าน, เขียน, ฟัง) อย่างต่ำ 6 หรือ
    • OET: คะแนนทุกอย่าง อย่างต่ำ B หรือ
    • TOEFL iBT: คะแนนทักษะการฟัง อย่างต่ำ 12, การอ่าน  อย่างต่ำ 13,  การเขียน  อย่างต่ำ 21 และการพูด อย่างต่ำ 18  หรือ
    • PTE Academic: คะแนนทุกอย่าง อย่างต่ำ 50 หรือ
    • CAE: คะแนนทุกอย่าง อย่างต่ำ 169 (ผลสอบเริ่มจาก 1 Jan 2015)
  • ถ้าต้องการยกเว้นในเรื่องของภาษาอังกฤษ ก็ต้องมีการว่าจ้างกันที่ตำแหน่งที่สูง จ้างกันด้วยราคา $180,001 ต่อปี (ณ ตอนนี้)

นี่ก็เป็นแค่ข้อมูลเบื้องต้นของการขอ PR โดยมีนายจ้างสปอนเซอร์ หรือแบบ self-sponsorship แบบ Direct Entry นะครับ ส่วนใครจะมีคุณสมบัติครบในการขอ PR แบบนี้หรือเปล่านั้น เราก็ต้องมานั่งดูเป็น case-by-case ไปนะครับ

Friday, April 8, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย วีซ่าทำงาน หรือวีซ่า subclass 457 เส้นทางสู่การเป็น PR


คนไทยส่วนมากที่อยู่ที่ออสเตรเลีย เราก็จะรู้จักและคุ้นเคยกับวีซ่าทำงาน หรือวีซ่า subclass 457 กันอยู่แล้ว เพราะวีซ่า subclass 457 นี้ เราคิดว่าคนไทยเองก็ได้มีการพูดคุยกันในหมู่เพื่อนฝูง หรือไม่ก็โฆษณาตามหนังสือพิมพ์ไทยที่ออสเตรเลียกันเยอะแยะ

แต่สำหรับคนที่ยังไม่คุ้นเคยกับวีซ่าตัวนี้กันและก็คงอยากจะรู้ว่า สรุปแล้ว วีซ่าทำงาน หรือวีซ่า subclass 457 เนี๊ยะ มันคืออะไร และวีซ่านี้จะเป็น pathway ไปสู่การเป็น PR (Permanent Resident) ได้อย่างไร

วีซ่า subclass 457 มีทั้งหมด 3 stages ซึ่งเราก็เคย blog เอาไว้แล้ว และก็ได้ blog ข้อมูลของ stage 1 และ stage 2 เอาไว้แล้ว เดี๋ยววันนี้เราจะเน้นหรือ focus ไปที่ stage 3 คุณสมบัติของคนสมัครกันนะครับ

คุณสมบัติหลักๆของคนที่สามารถขอวีซ่าทำงาน หรือวีซ่า subclass 457 คือ:
  • เรียนมาตรงสาขา และมีประสบการณ์ในการทำงานด้วย
  • สาขาบางอาชีพก็ต้องมีใบอนุญาติ ใบประกอบวิชาชีพด้วย
  • มีผลสอบภาษาอังกฤษ ที่ไม่เกิน 3 ปี
    • IELTS: general คะแนนเฉลี่ย 5, ทุกอย่าง (พูด, อ่าน, เขียน, ฟัง) อย่างต่ำ 4.5 หรือ
    • OET: คะแนนทุกอย่าง อย่างต่ำ B หรือ
    • TOEFL iBT: คะแนนเฉลี่ย 36, และทักษะ อย่างต่ำ 3 ทักษะ ที่ต้องได้ 12 หรือ
    • PTE Academic: คะแนนเฉลี่ย 36, ทุกอย่าง อย่างต่ำ 30 หรือ
    • CAE: คะแนนเฉลี่ย 154, ทุกอย่าง อย่างต่ำ 147 หรือ
    • เรียนมัธยมหรือสูงกว่า (ปวช, ปวส, Cert II - Advanced Diploma, ป.ตรี โท เอก) เป็นภาษาอังกฤษ อย่างต่ำ 5 ปี ไม่ว่าจะเรียนที่ประเทศใหน ก็สามารถเอามานับรวมกันได้ เรียนที่เมืองไทยภาคอินเตอร์ก็ใช้ได้ และที่แน่ๆคือ ไม่ต้องเรียน 5 ปีต่อกัน เราหลายๆปี มานับรวมกันได้
  • สาขาอาชีพบางอาชีพมีการยกเว้นในเรื่องของภาษาอังกฤษ
  • ถ้าคนสมัครสอบภาษาอังกฤษไม่ได้จริงๆ ก็มีข้อยกเว้นอีกข้อหนึ่งคือ ค่าแรงต้องมากกว่า $96,400 ต่อปี (ณ ตอนนี้)
ข้อดีของวีซ่าทำงาน subclass 457 คือ คนที่ติดตาม แฟนหรือลูก ไม่จำเป็นต้องสอบภาษาอังกฤษ และไม่ติด condition อะไรใดๆทั้งสิ้น ดังนั้นคนติดตามจะมีอิสระในการที่จะทำอะไรก็ได้ อยากจะเรียนก็เรียน อยากทำงานก็ทำงาน อยากนั่งอยู่บ้านหายใจทิ้งเฉยๆไปวันๆก็ทำได้

99.99% ของคนที่ขอวีซ่าทำงาน subclass 457 ก็เพื่อที่จะขอ PR (Permanent Resident) เพื่อที่จะอยู่ต่อเป็นคนที่นี่อย่างถาวร ซึ่งก็สามารถทำได้ด้วยการสมัคร PR ด้วยโปรแกรม Employer Nomination Scheme; ENS subclass 186 หรือ Regional Sponsored Migration Scheme; RSMS subclass 187

คนที่ขอ PR หลังจากได้วีซ่าทำงาน subclass 457แล้ว เราเรียกกันว่า Transitional Stream ซึ่งลูกจ้างต้องทำงานให้กับนายจ้างอย่างต่ำ 2 ปี ถ้ามีการเปลี่ยนนายจ้าง ลูกจ้างคนนั้นก็ต้องเริ่มนับ 1 ใหม่ (อาจมีการเปลี่ยนแปลงในอนาคต)

คุณสมบัติของคนที่ขอ PR ได้ จากการที่ถือวีซ่าทำงาน subclass 457 มีดังต่อไปนี้คร่าวๆ:
  • ทำงานกับนายจ้างอย่างต่ำ 2 ปี ดังที่ได้กล่าวไปแล้วข้างบน โดยที่ 2 ปีนี้ไม่จำเป็นต้องติดกันก็ได้ อาจจะมีการทำงานแล้วพัก break ไป หรือไปทำงานที่อื่นแล้วกลับมา ก็สามารถเอาเวลามานับรวมกันได้ ขอให้นับรวมกันแล้วได้ 2 ปีที่ทำงานกับนายจ้างที่ที่เดียวกัน ก็เป็นพอ
  •  อายุยังไม่ถึง 50 ปี ถ้าอายุ 50 ปีขึ้นไป ก็สามารถทำเรื่องขอยกเว้นได้ ถ้าเราทำงานให้กับนายจ้างคนที่จะทำเรื่องสปอนเซอร์เราอย่างต่ำ 4 ปีแล้ว
  • มีผลสอบภาษาอังกฤษ ที่ไม่เกิน 3 ปี แต่คราวนี้การขอ PR ก็จะมี requirement ที่ยากกว่าคือ
    • IELTS: general คะแนนทุกอย่าง (พูด, อ่าน, เขียน, ฟัง) อย่างต่ำต้อง 5.0 หรือ
    • OET: คะแนนทุกอย่าง อย่างต่ำ B หรือ
    • TOEFL iBT: คะแนนทักษะการฟังต้องได้อย่างต่ำ 4, ทักษะการอ่านต้องได้อย่างต่ำ 4, ทักษะการเขียนต้องได้อย่างต่ำ 14 และ ทักษะการพูดต้องได้อย่างต่ำ 14 หรือ
    • PTE Academic: คะแนน ทุกอย่าง อย่างต่ำ 36 หรือ
    • CAE: คะแนนทุกอย่าง อย่างต่ำ 154 หรือ
    • เรียนมัธยมหรือสูงกว่า (ปวช, ปวส, Cert II - Advanced Diploma, ป.ตรี โท เอก) เป็นภาษาอังกฤษ อย่างต่ำ 5 ปี ไม่ว่าจะเรียนที่ประเทศใหน ก็สามารถเอามานับรวมกันได้ เรียนที่เมืองไทยภาคอินเตอร์ก็ใช้ได้ และที่แน่ๆคือ ไม่ต้องเรียน 5 ปีต่อกัน เราหลายๆปี มานับรวมกันได้
  • ถ้าต้องการยกเว้นในเรื่องของภาษาอังกฤษ ก็ต้องมีการว่าจ้างกันที่ตำแหน่งที่สูง จ้างกันด้วยราคา $180,001 ต่อปี (ณ ตอนนี้)
  • คนที่ติดตาม (ถ้ามี) ต้องมีผลสอบภาษาอังกฤษ ที่ไม่เกิน 1 ปี 
    • IELTS: general คะแนนเฉลี่ยอย่างต่ำ 4.5 หรือ
    • TOEFL iBT:  คะแนนเฉลี่ยอย่างต่ำ 32 หรือ
    • PTE Academic: คะแนนเฉลี่ยอย่างต่ำ 30 หรือ
    • CAE: คะแนนเฉลี่ยอย่างต่ำ 147 หรือ
    • จดหมายรับรองจาก AMEP (Adult Migrant English Program) ในออสเตรเลียว่าภาษาอังกฤษเราอยู่ในระดับ Functional หรือ
    • เรียนประถม (ทั้งหมด) และเรียนมัธยมอย่างต่ำ 3 ปี เป็นภาษาอังกฤษ เรียนที่ประเทศใหนก็ได้ หรือ
    • เรียนมัธยมอย่างต่ำ 5 ปี เป็นภาษาอังกฤษ เรียนที่ประเทศใหนก็ได้ หรือ
    • เรียน 1 ปี full time (2 ปี part-time) ที่ประเทศออสเตรเลีย เป็นคอร์สที่นำไปสู่การเรียนในระดับ Associate Diploma หรือสูงกว่า และต้องใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน หรือ
    • เรียนจบหลักสูตร ป.ตรี โท เอก หรือ ปวช, ปวส, สายอาชีพต่างๆ, Diploma อย่างต่ำ 2 ปี ที่ประเทศใหนก็ได้ และใช้ภาษาอังกฤษในการเรียนการสอน หรือ 
    • ผลสอบ ACCESS (Australian Assessment of Communicative English Skills) ในระดับ Functional หรือ
    • ถ้าสอบอะไรก็ไม่ได้เลย ก็สามารถจ่าย $4,885 (ณ ตอนนี้) ให้กับรัฐบาลได้
นี่ก็เป็นข้อมูลทั่วๆไปสำหรับคนที่ต้องการทำเรื่องหรือสมัครขอวีซ่าทำงาน วีซ่า subclass 457

เราก็หวังว่าข้อมูลนี้จะเป็นประโยชน์สำหรับคนทั่วไปนะครับ

หากใครต้องการข้อมูลเพิ่มเติมหรือสนใจที่จะทำวีซ่าทำงาน หรือวีซ่า subclass 457 ก็ติดต่อเราได้นะครับ

Thursday, April 7, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย อะไรคือวีซ่าทำงาน อะไรคือวีซ่า subclass 457


หลายๆคนอยากรู้ว่าวีซ่าทำงาน หรือวีซ่า subclass 457 นั้นเป็นยังไงเหรอ มันคืออะไร แตกต่างจากวีซ่าทั่วๆไปยังไง

วีซ่าทำงาน หรือวีซ่า subclass 457 นั้นมีเอาไว้เพื่อให้หายจ้างหรือเจ้าของธุรกิจจ้างพนักงานที่เป็นชาวต่างชาติเข้ามาทำงานในประเทศออสเตรเลีย เนื่องด้วยปัญหาขาดแคลนแรงงานในบางสาขาอาชีพ 

วีซ่าทำงาน หรือวีซ่า subclass 457 นั้นแบ่งออกเป็น 2 streams คือ:

Standard Business Sponsorship (SBS): SBS คือ stream ที่คนไทยเราคุ้นเคยกันก็คือ เป็น stream สำหรับนายจ้างที่ต้องการจ้างพนักงานมาทำงานในตำแหน่งที่ออสเตรเลียขาดแคลนแรงงาน (link ด้านล่าง) 

ส่วนคุณสมบัติของนายจ้างหรือธุรกิจที่สามารถทำเรื่องสปอนเซอร์พนักงานเพื่อทำวีซ่า subclass 457 เราก็ได้เขียน blog เอาไว้แล้วก่อนหน้านี้ 

นายจ้างหรือธุรกิจที่ทำ SBS ส่วนมากก็จะเป็นพวกร้านค้าหรือบริษัทเล็กๆพวก SMEs(Small and Medium Enterprises) โดยเฉพาะคนไทยก็จะทำพวกร้านอาหารและร้านนวดกัน

แต่เราก็อยากจะให้คนไทยลองมองและทำอะไรที่มันแตกต่างนิดหนึ่ง จริงๆแล้วมันมีหลายสาขาอาชีพมากเลยที่สามารถทำเรื่องสปอนเซอร์ ทำวีซ่า subclass 457 ได้ ก็ลองดู CSOL ข้างล่างนะครับ อยากให้ลองมองอะไรที่มันแตกต่างกันและมองต่างมุมกันนิดหนึ่ง

Labour Agreements: Labour agreement ก็มีไว้สำหรับบริษัทหรือธุรกิจต่างๆที่ต้องการจ้างพนักงานเป็นจำนวนมาก อย่างเช่น บริษัทเหมืองแร่ บริษัทเกี่ยวกับพวกเนื้อสัตว์ หรือบางอุตสาหกรรมที่ต้องการและขาดแคลนคนงานเป็นพิเศษ 

Labour agreement, แต่ละบริษัทก็ต้อง draft พวก terms and working conditions เอง ซึ่งแต่ละบริษัทก็จะมี terms & conditions ที่อาจจะแตกต่างกันไป และก็อาจจะไม่เหมือนพวก conventional terms & condition ทั่วๆไป

ข้อตกลงพวกนี้ก็จะเป็นข้อตกลงระหว่างรัฐบาลกับบริษัทนั้นๆ

ตำแหน่งและสาขาอาชีพที่ขาดแคลนจะอยู่ใน CSOL (Consolidated Sponsored Occupations List) นะครับ

Wednesday, April 6, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย ต่อวีซ่า offshore


น้อง "F" ทำงานร้านนวดอยู่แถว North Sydney น้องทำวีซ่าทำงาน subclass 457 กับ P’ J

น้องถือวีซ่านักเรียน ติด condition 8534 (ไม่เหมือนกับ 8503 นะครับ) ที่น้องต้องออกไปต่อวีซ่าที่ต่างประเทศ เป็นแบบ offshore

ต่อวีซ่าที่ต่างประเทศ ไม่ต้องต่อที่ไทยที่เดียวนะครับ ขอให้เจ้าตัวอยู่นอกประเทศก็เป็นพอ หรือถ้าตัวเป็นๆยังอยู่ในประเทศ ก็แค่เดินทางออกประเทศ scan passport ผ่าน custom ก็ถือว่าเป็น offshore แล้ว

น้อง F requests เข้ามาว่า อยากให้พี่ J submit case ให้วันพุธ เพราะน้องเชื่อเรื่องดวง โชค ลาภ อะไรของน้องก็ว่าไป 

เอาเถอะ น้องกล้าเสนอ P’ J ก็กล้าสนอง

น้อง F เดินทางออกนอกประเทศวันพุธ พอน้องเข้าไป custom ที่ Sydney airport แค่นั้นแหละระบบคอมพิวเตอร์ มันก็จะให้เราเริ่ม key ข้อมูลอะไรเข้าไป เราก็เริ่มทำ case ให้น้องเขาเลย

ในระหว่างที่อยู่บนฟ้า P’ J ก็ submit case ไปให้น้องแล้วเรียบร้อย ตั่งแต่น้องยังไม่ได้แตะดินเลย

case นี้เรายื่น stage 1 & stage 2 กันที่นี่ onshore, ทั้ง 2 stages ผ่านแล้ว ผ่านฉลุย ไม่มีการเรียกขอเอกสารเพิ่มอะไรใดๆ ก็เป็นอะไรที่ interesting ไปอีกแบบ ที่แบบว่าน้องมี request เข้ามาด้วยว่า ต้องยื่นวันที่ นั่น นี่ โน่น ดูยาม 3 ตา อะไรประมาณนั้น

Monday, April 4, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย เลือก accountant ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง

 

เนื่องด้วยหน้าที่การงานที่เราทำอยู่ เราก็ได้ประสานงานกับ accountant หลายๆคนที่เขาเป็น accountant ให้ลูกค้าเรา พวกเจ้าของธุรกิจ และพวกทำ self-sponsorship กัน, visa subclass 457, ENS, RSMS

และก็ประกอบกับเราเองก็ทำธุรกิจอะไรเองด้วย เราก็ได้เห็นนักธุรกิจ หรือพี่ๆน้องๆเจ้าของกิจการมือใหม่ทั้งหลาย

อยากจะบอกให้เป็นความรู้นะครับ ว่า accountant หนะ เราควรจะใช้คนที่เป็น CPA หรือ CA ไม่ใช่แค่พวกที่เรียนจบบัญชีหรือ accounting มาเฉยๆ 

CPA หรือ CA เป็นหน่วยงานที่สอบยากนะ กว่าจะได้เป็น CPA หรือ CA

เพราะเราได้ทำงานกับ accountant บางคนที่ไม่ได้เป็น CPA หรือ CA พอเราเห็นคำถามบางคำถาม เราก็คิดว่า เฮ้ย ไม่ใช่หละ basic basic เขาต้องรู้สิ 

ถ้าใครอยากรู้ว่า accountant ตัวเองเป็น CPA หรือ CA หรือเปล่า ก็เข้าไปดูที่ website ของบริษ้ทเขาสิ หรือดูที่ signature ใน email ว่ามี CPA หรืแ CA หรือเปล่า ถ้าไม่มี เราก็แนะนำให้เปลี่ยน accountant นะครับ เปลี่ยนเถอะรับรองดีกว่ากันเยอะ แพงหน่อย แต่ไม่ปวดหัว

ก็เลือกเอานะครับว่า จะขี่ Lexus หรือ Hyundai

เปลี่ยน accountant ทำง่ายมากเลย ต่อให้เราจะอยู่กับ accountant คนเก่ามากี่ปี กี่ปี ก็เถอะ เราสามารถเปลี่ยนได้ครับ ก็เปลี่ยน accountant ไปอยู่กับคนใหม่ ส่วนเอกสารอะไรของเราที่อยู่กับ accountant คนเดิม ทาง accountant คนใหม่จะทำเรื่องโอนเอกสารกันเอง และตามกฏหมายแล้ว accountant คนเก่า ต้องให้ความร่วมมือในการโอนถ่ายเอกสารอะไรต่างๆ ดังนั้นเราไม่ต้อง worries ว่าข้อมูลจะสูญหาย

เลือก accountant ดี มีชัยไปกว่าครึ่งนะครับ

ติดตาม idea + ข่าวสารข้อมูลทางอิมมิเกรชั่นของออสเตรเลียได้ที่นี่

และพูดคุยกับ J Migration Team ได้ทาง
Line ID : @nol5702s
inbox, หรือ email

Sunday, April 3, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย ทำไมคนถึงเป็นผี วีซ่าขาดกัน


หลายคนอาจจะสงสัยว่าทำไมนะคนถึงต้องกลายเป็นผี ทำไมคนถึงปล่อยให้ตัวเองวีซ่าขาดด้วย ก่อนอื่นก็ต้องบอกก่อนนะครับว่า ชีวิตคนเรามีต้นทุนชีวิตไม่เหมือนกัน พื้นฐานและฐานะทางครอบครัวและการเงินไม่เหมือนกัน ชีวิตเขาอาจต่างจากชีวิตเรา เราจะเอามาเปรียบเทียบ หรือ compare กันไม่ได้

คนเรามีความจำเป็นที่แตกต่างกันออกไป แต่เรามั่นใจว่า ถ้าคนเหล่านั้นเลือกได้ พวกเขาก็คงจะไม่เลือกที่จะอยู่เป็นพวกวีซ่าขาดกันหรอก พวกเขาก็คงไม่อยากอยู่แบบหลบๆซ่อนๆ อยู่อย่างหวาดผวา แต่เราก็ได้เขียน blog ไปก่อนหน้านั้นแล้วว่า คนที่วีซ่าขาดนั้นไม่จำเป็นต้องอยู่อย่างหลบๆซ่อนๆ

เดี๋ยววันนี้เราขอเขียน blog ที่เป็นวิชาการนิดหนึ่ง ออกแนว academic ว่าทำไมคนที่มาที่ออสเตรเลียถึงปล่อยให้ตัวเองกลายเป็นพวกไม่มีวีซ่ากัน

คนไทยชอบพูดกันติดปากและเรียกคนที่วีซ่าขาดว่าเป็น "ผี" เราก็ไม่รู้นะว่าใครเป็นคนชั่งริเริ่ม พากันคิด พากันเรียกเหลือเกิน ชั่งสรรค์หาคำจริงๆ คำๆนี้มีใช้กันมานานแล้ว แต่เราขอเลิกใช้คำๆนี้ ณ จุดนี้เป็นต้นไปก็แล้วกัน ขอใช้คำว่า "วีซ่าขาด" แทนก็แล้วกัน เพราะคำว่าผี มันฟังแล้วรู้สึกว่าทำให้เราหมดความเป็นคน ยังไงไม่รู้

ภาษาทางกฏหมายเราเรียกคนที่วีซ่าขาดว่า unlawful non-citizen ซึ่งสาเหตุก็มาจาก 3 ประการใหญ่ๆด้วยกันคือ:

  • overstay; พวกที่อยู่เกินอายุของวีซ่า พวกที่วีซ่าหมดแล้วแต่ไม่ยอมกลับประเทศของตัวเอง ไม่ใช่เฉพาะคนไทยนะ คนชาติอยู่ก็เยอะแยะ
  • visa has been cancelled; พวกที่วีซ่าถูกยกเลิก ส่วนมากก็เป็นเพราะไม่ทำตามเงื่อนไข หรือ conditions ต่างๆของวีซ่าตัวนั้นๆ
  • visa has been refused; พวกที่ขอวีซ่าตัวใหม่ภายในประเทศ (onshore) แล้ววีซ่าไม่ผ่าน แต่ไม่ยอมกลับประเทศ

เมื่อหลายปีก่อน ทางอิมมิเกรชั่นมีโปรแกรมที่เรียกว่า General Skilled Migrant (GSM) ซึ่งตอนนี้ก็เปลี่ยนชื่อใหม่เป็น Independent Skilled Migrant แล้ว

ก่อน 1 July 2012, GSM สมัยนั้น ต้องทำ point กันที่ 120 points และแต่ละสาขาอาชีพก็มี point ที่แตกต่างกัน

ก่อนปี 2008/2009 สาขาอาชีพยอดฮิตของคนที่ทำ GSM คือ Chef และ Hairdresser เพราะว่าเรียนง่าย ไม่ว่านักเรียนคนไทย คนจีน หรือคนอินเดีย พากันแห่ลงทะเบียนเรียน Commercial Cookery และก็ Hairdressing กันใหญ่

แต่พอได้ PR กันแล้ว ไม่เห็นมีใครไปเป็น chef หรือไปเป็น hairdresser เลย 

คนได้ PR เพราะว่าเรียน Commercial Cookery และก็ Hairdressing กันเยอะแยะมากมาย แต่ว่าออสเตรเลียก็ยังขาดแคลนคนทำงานในสาขาอาชีพนี้อยู่ โดยเฉพาะ chef เพราะธุรกิจการท่องเที่ยวและร้านอาหาร เป็นธุรกิจที่นำรายได้เข้าประเทศมาก นั่นเป็นสาเหตุหลักที่รัฐบาลให้ PR กับคนที่เรียน Commercial Cookery (และก็ Hairdressing กัน) แต่ปัญหาการขาดแคลนคนในสาขาอาชีพนี้ก็ยังมีเยอะ เพราะคนพากันเรียน Commercial Cookery และก็ Hairdressing เพื่อที่จะเอา PR เฉยๆ พวกเขาไม่ได้คิดที่จะไปเป็น chef หรือ hairdresser กัน พอได้ PR กัน ก็พากันไปทำอย่างอื่น เพราะว่า PR ไม่ได้มีข้อกำหนดหนิว่า you ต้องเป็น chef นะ หรือ you ต้องเป็น hairdresser นะ 

นี่คือปัญหาและรูรั่วที่ต้องรัฐบาลต้องอุด ดังนั้นปี 2008/2009 รัฐบาลก็เลยมีการประกาศปลดเอาอาชีพ 2 อาชีพนี้ออกจาก GSM list สะเลย แบบว่าให้มันจบๆกันไป

ดังนั้นนักเรียนหลายหมื่นคนก็ถูกลอยแพ และหลายๆหมื่นคนก็เลือกที่จะเป็น พวกวีซ่าขาดกัน เพราะเรียน Commercial Cookery และ Hairdressing จบมาแล้ว ไม่สามารถขอ PR ด้วยโปรแกรมของ GSM ได้และก็ไม่อยากที่จะกลับประเทศด้วย มันก็เลยก่อให้เกิดสึนามิของคนที่ overstay ทันที แต่บอกได้เลยว่า ไม่ใช่เฉพาะนักเรียนไทยหรือคนไทยที่เป็นกัน คนชาติอื่นก็เป็นกันเยอะแยะ

อีกกลุ่มหนึ่งก็จะเป็นพวกที่ขอวีซ่ามาเรียนแต่ไม่ได้ตั้งใจมาเรียน ตั้งใจมาทำงานมากกว่า หลายๆคนไม่อยากไปเรียน ไม่อยากเสียค่าเทอม ก็เลือกที่จะยอมให้วีซ่านักเรียนโดนยกเลิกไปเลยก็มีเยอะแยะ บอกตามตรงว่า โดยส่วนตัวแล้วเราไม่ชอบคนกลุ่มนี้เท่าไหร่ เพราะมันทำให้ระบบ Australian Migration ไขว้เขว แต่ก็อย่างว่าแหละนะ นี่มันคือความคิดเห็นส่วนตัวของเรา คนอื่นเขาก็มีความเห็นส่วนตัวของเขา.... ถูกป๊ะ.... 

แต่เอาเถอะ ก็คิดสะว่า ทางเลือกของใครของมันก็แล้วกัน

นี่ก็เป็น 2 สาเหตุใหญ่ๆที่ทำไมคนถึงวีซ่าขาดกัน จริงๆมันก็มาจากหลายสาเหตุแหละนะ แต่เราขอเอาแค่ 2 สาเหตุนี้ก็แล้วกัน

จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ เราก็อยากจะให้ทุกคนเข้าใจถึงสถานะแล้วความจำเป็นของคนเหล่านั้น อาจจะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ เราอยากจะให้คนทั่วๆไปให้โอกาสกับคนเหล่านั้น เพราะบางทีเราเห็นคน post นั่น นี่ โน่น ตาม webboard ต่างๆอ่านแล้วมันหดหู่ใจอย่างบอกไม่ถูก โดยเฉพาะคนไทยด้วยกันเอง

อยากจะให้ทุกคนเข้าใจถึงความจำเป็นของพวกเขาเหล่านั้นกัน.... ก็แค่นั้นเอง ไม่ต้องการเห็นใครซ้ำเติมอะไรใคร เพราะมันเป็นอะไรที่ไร้สาระมาก.... ถึงมากที่สุด...

ก็เอาเป็นว่า "คนล้มอย่าข้าม" ก็แล้วกันนะ...