การขอ PR โดยที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ นั้นก็ทำได้ 2 แบบคือ
- Employer Nomination Scheme, ENS subclass 186: ทำได้ทุก business ไม่ว่าจะอยู่ส่วนใหนของออสเตรเลียก็ตาม
- Regional Sponsored Migration Scheme, RSMS subclass 187: ทำได้เฉพาะ business ที่อยู่ในเมืองระแวกรอบนอกเท่านั้น หรือเราเรียกว่า regional area
เราได้เขียนข้อดีของ RSMS มาแล้ว โดยส่วนตัวแล้วชอบวีซ่าของ RSMS มาก เพราะเป็นอะไรที่ทำได้ง่าย เพราะรัฐบาลเองก็อยากให้คนออกไปเมืองรอบนอกกันมากขึ้น
แต่วันนี้เราขอเน้นไปที่ ENS ที่หลายๆคนทำกันก็แล้วกันนะครับ
ENS ก็เป็นวีซ่าต่อเนื่อง วีซ่าช่องทางของการขอ PR ต่อจากวีซ่ทำงาน หรือ subclass 457 หลังจากที่ทำงานกับนายจ้างที่ที่เดียวเป็นระยะเวลา 2 ปี ซึ่งเราก็เรียกกันว่า Transitional Stream ซึ่งหลายๆคนก็ใช้ Transitional Stream กันเพราะเป็นอะไรที่ขอกันได้ง่ายกว่า เพราะ requirement ในเรื่องของภาษาอังกฤษที่ง่ายกว่า
แต่ในขณะเดียวกัน ENS ก็มีอีก stream หนึ่งที่น่าสนใจนั่นก็คือ Direct Entry Stream ซึ่งก็เหมาะสำหรับคนที่มีประสบการณ์ทำงานมาพอสมควรและมีภาษาอังกฤษที่สูงกว่าคนที่ทำวีซ่าทำงาน หรือ subclass 457 แล้วทำ Transitional Stream กัน
เดี๋ยววันนี้เรามาดู ENS แบบ Direct Entry กันนะครับว่า คนที่สมัครต้องมีคุณสมบัติอะไรมั่ง
- อายุยังไม่ถึง 50 (สาขาบางอาชีพมีการยกเว้นในเรื่องของอายุ)
- สมัคร offshore ซึ่งก็ได้ไม่ยาก สำหรับคนที่อยู่ภายในประเทศแล้ว ก็บินออกไปสมัครข้างนอก ก็แค่นั้นเอง
- เรียนมาตรงสาขา และมีประสบการณ์ในการทำงานอย่างต่ำ 3 ปี
- สาขาบางอาชีพก็ต้องมีใบอนุญาติ ใบประกอบวิชาชีพด้วย
- ผ่าน skill assessment จากหน่วยงานที่รับผิดชอบ
- มีผลสอบภาษาอังกฤษ ที่ไม่เกิน 3 ปี
- IELTS: general คะแนนทุกอย่าง (พูด, อ่าน, เขียน, ฟัง) อย่างต่ำ 6 หรือ
- OET: คะแนนทุกอย่าง อย่างต่ำ B หรือ
- TOEFL iBT: คะแนนทักษะการฟัง อย่างต่ำ 12, การอ่าน อย่างต่ำ 13, การเขียน อย่างต่ำ 21 และการพูด อย่างต่ำ 18 หรือ
- PTE Academic: คะแนนทุกอย่าง อย่างต่ำ 50 หรือ
- CAE: คะแนนทุกอย่าง อย่างต่ำ 169 (ผลสอบเริ่มจาก 1 Jan 2015)
- ถ้าต้องการยกเว้นในเรื่องของภาษาอังกฤษ ก็ต้องมีการว่าจ้างกันที่ตำแหน่งที่สูง จ้างกันด้วยราคา $180,001 ต่อปี (ณ ตอนนี้)
นี่ก็เป็นแค่ข้อมูลเบื้องต้นของการขอ PR โดยมีนายจ้างสปอนเซอร์ หรือแบบ self-sponsorship แบบ Direct Entry นะครับ ส่วนใครจะมีคุณสมบัติครบในการขอ PR แบบนี้หรือเปล่านั้น เราก็ต้องมานั่งดูเป็น case-by-case ไปนะครับ
No comments:
Post a Comment