Saturday, December 30, 2017

Feeling appreciate กับทุกสิ่งอย่างที่ได้มา


เมื่อวาน; 29 Dec 2017
เรากับครอบครับแวะไปหาพี่ "B" ที่ Shellharbour

พี่ "B" เพิ่งย้ายงานจาก Wollongong มา Shellharbour เราก็เงอะ ๆ งะ ไปผิดที่บ้างเล็กน้อย

แต่สุดท้ายก็หากันเจอ

เมื่อวาน แวะเอา cake ไปสวัสดีปีใหม่กับ "P' B"
ครอบครัวเราจะแวะเข้าไปสวัสดีปีใหม่กับ P' B ทุกปี เพราะเรารู้ดีว่า หากเราไม่มีเขาในวันนั้น มันก็คงไม่มีเราในวันนี้

ปี 2003, นานมาแล้ว เราก็เป็นเด็กคนหนึ่งที่ไม่เคยทำธุรกิจอะไรมาก่อน รู้แค่ว่าอยากจะทำอะไรเป็นของตัวเอง ไม่อยากเป็นคนลูกจ้างคนอื่น ไม่อยากทำงานให้กับคนอื่น เราก็ได้ P' B คอยอยู่ช่วยงาน

ปีนี้ 2017, 14 ปีผ่านไป เราต่างคนต่างแยกย้ายไปทำในสิ่งที่เราทำ
เรากับครอบครัวก็ยังติดต่อกันกับ P' B อยู่

P' B คือหนึ่งในคนที่เราเปิดประตูบ้านต้อนรับด้วยความยินดี ปกติจะไม่เชิญใครหรือชวญใครมาที่บ้าน เพราะต้องการความเป็นส่วนตัว

เมื่อวานนอกจากเจอ P' B แล้ว เราก็ไปเจอ "2 J" ด้วย
เพราะ "2 J" ก็อยู่ที่ Shellhabour เหมือนกัน

"2 J" ก็เหมือนกัน คือคนที่เราสนิทอยู่ในระดับหนึ่ง
เริ่มต้นจากการเป็นลูกค้า แต่ตอนนี้กลายเป็นเพื่อน กลายเป็นหนึ่งใน family members ไปแล้ว

เพราะลูกค้า visa subclass 457 ที่ "2 J" แนะนำมาให้เรา มีเยอะมาก และตอนนี้ไม่ใช่แค่ลูกค้า visa subclass 457 แล้ว, "2 J" แนะนำคนมาเยอะมาก... 

It's a long list.
It's truly through a word of mouth.

ปกติ น้อยมากที่เราจะมีเวลาไปนั่งทานข้าวกับลูกค้า เนื่องด้วยเวลาที่จำกัดในวันหนึ่ง และตัวเราเองก็ต้องการความเป็นส่วนตัว ต้องการอยู่กับครอบครัวมากกว่า

แต่ "2 J" คือลูกค้าที่เราไปนั่งทานข้าวด้วย ตอนที่ "2 J" จะย้ายจาก Wollongong NSW ไป Sunshine Coast QLD

คืนนั้น เรานั่งทาน dinner กันประมาณ 6.5 ชั่วโมง
เป็น dinner ที่นานที่สุดในชีวิต
เริ่มนัดทานข้าวกัน 6pm ทานจนร้านอาหารเลิก 10:30pm แล้วก็ไปต่อกันที่ Novotel North Wollongong จนถึง 12:30am

"2 J" คือหนึ่งใน "เล็ก ๆ เฉพาะคนรู้ใจ" จริง ๆ

Student visa มาด้วยกันกับแฟน, เลิกกับแฟนแล้ว, มีแฟนใหม่เป็นคนที่นี่, จะทำ Partner Visa


ขวัญกับเรียม เป็นคู่รักคนไทย เป็นสามีภรรยา ที่ทำวีซ่านักเรียนมาด้วยกันจากเมืองไทย

ความรักมันเป็นเรื่องของหัวใจ
ทุกอย่างสามารถเกิดขึ้นได้
เราไม่ judge ใครทั้งสิ้น

ขวัญกับเรียม หมดรักซึ่งกันและกัน 
ขวัญถือวีซ่านักเรียนติดตามเรียม
เรียมเป็นคนเรียน

เนื่องด้วยทั้งขวัญและเรียมเคยใช้ชีวิตคู่ด้วยกันมาก่อน ความเห็นอกเห็นใจกันก็ยังพอมี

เรียมเลือกที่จะไม่แจ้งไปที่อิมมิเกรชั่น เรื่องที่ขวัญกับเรียมเลิกกันแล้ว

oh dear... this is no good เพราะว่าตามกฎหมายของอิมมิเกรชั่นแล้ว

ถ้ามีการเปลี่ยนแปลง circumstances แบบนี้ เราจะต้องแจ้งไปที่อิมมิเกรชั่นจ๊ะ

ok นะ ก็ไม่เป็นไร เพราะถือว่าขวัญกับเรียมก็ยังเห็นอกซึ่งกันและกันอยู่

ตัดบัว แต่ก็ยังเหลือเยื่อใย ว่างั้นเถอะ

เห็นอก เห็นใจกัน มันก็ดีนะครับ
แต่อย่าลืมว่า charity starts from home

ดูแลตัวเองก่อน ก่อนที่จะไปดูแลคนอื่น
ถ้าดูแลตัวเองก่อนได้แล้ว แล้วค่อยไปดูแลคนอื่น

เหมือนการสวมหน้ากาก oxygen เวลาเกิดเหตุฉุกเฉินบนเครื่องบินนะครับ

ขวัญกับเรียมก็คุยกันเอาไว้ว่า
ให้เรียมช่วยขวัญไปก่อน คือขอวีซ่านักเรียนด้วยกันอีกรอบ โดนที่ให้เรียมเป็นคนสมัคร (main applicant) แล้วขวัญติดตามเหมือนเดิม

แต่วีซ่านักเรียน มันก็ไม่ได้ผ่านกันได้ง่าย ๆ หรือขอกันได้ตลอด

วีซ่านักเรียนของขวัญกับเรียมไม่ผ่าน
ทั้งขวัญกับเรียมมีเวลาในการอุทรณ์แค่ 21 วัน

ทั้งขวัญและเรียมต้องรีบจัดการชีวิตตัวเองให้เรียบร้อย ภายใน 21 วัน

ก่อนหน้านี้เรียมก็เจอกับหนุ่มคนไทยหน้าตาดีคนหนึ่ง ชื่อ "พี่มาก"
พี่มากเป็น PR/Citizen ที่นี่ 

เรียมกับพี่มาก เคยเรียนมหาลัยเดียวกันมาก่อนที่เมืองไทย 
ทั้ง 2 เจอกันที่นี่อีกครั้ง

คนมันเคยรู้จักมาก่อน แรงดึงดูดเข้าหากันก็เยอะ

พี่มากอยากทำเรื่อง Partner Visa ให้กับเรียม
ซึ่งมันก็จะเข้าข่ายกับ case ของมะเมี๊ยะ แต่ที่เพิ่มเติมเข้าคือความซับซ้อน และความสัมพันธ์คาบเกี่ยวกับขวัญ

เรียมก็ต้องจัดการชีวิตของตัวเองแล้วหละ
ขวัญเองก็ต้องจัดการชีวิตของตัวเองแล้วหละ

จะมามัวติดตามกันไม่ได้

เพราะไม่งั้นคงจมน้ำตายด้วยกันทั้งคู่

สิ่งที่เราอยากจะแนะนำให้เรียมทำก็คือ:
  • อุทรณ์ไปที่ AAT ภายใน 21 วัน
  • อุทรณ์โดยที่ไม่มีชื่อขวัญเข้าไปด้วย เพราะถ้าอุทรณ์แล้วเอาชื่อขวัญ เข้าไปด้วย ทุกอย่างก็จบ เพราะแสดงว่าเรียมกับขวัญยังมีความสัมพันธ์อยู่ คงจะไม่ make sense ที่พี่มากสุดหล่อจะทำเรื่อง Partner Visa ให้เรียม
  • เรียมต้องกรอก form 1022 เพื่อแจ้งกับอิมมิเกรชั่นว่าความสัมพันธ์กับขวัญได้จบลงแล้ว, form 1022 ต้องทำเป็น paper-based application นะครับ เพราะ case ของขวัญกับเรียม finalised ไปแล้วที่อิมมิเกรชั่น เราจะแจ้ง update ข้อมูลใน ImmiAccount  ไม่ได้
  • ในระหว่างที่รอเวลา (ซื้อเวลา) จาก AAT ซึ่งก็น่าจะรอเวลาได้ประมาณ 1 ปี ซึ่งก็ถือว่านานสำหรับเรียมในการจัดการชีวิตและเตรียมเอกสารเพื่อที่จะทำ Partner Visa กับพี่มาก

เรื่องราวครั้งนี้สอนให้รู้ว่า
เมื่อถึงจุดที่ต้องเลือก เราก็ต้องเลือก
และเลือกสิ่งที่ดีที่สุดสำหรับเรา

รักตัวเองก่อน ก่อนที่จะไปรักคนอื่น
เมื่อไหร่ที่เรารักตัวเองได้มากพอแล้ว เราถึงจะไปรักคนอื่นได้

...เรียมเหลือทนแล้วนั่น ขวัญของเรียม...


J Migration Team:
LINE: @JMigrationTeam
IG: @JMigrationTeam
Snapchat: @JMigrationTeam
www.jmigrationteam.com
anchor.fm/john-paopeng
SMS: +61 412470969




Friday, December 29, 2017

Student visa ไม่ผ่าน, อุทธรณ์ ได้ Bridging Visa A, แล้วจะทำ Partner Visa


"มะเมี๊ยะ" เป็นสาวไทย เคยถือวีซ่านักเรียนมาก่อน
มะเมี๊ยะ ขอวีซ่านักเรียนอีกรอบ แล้วไม่ผ่าน
มะเมี๊ยะ ตอนนี้ถือ Bridging Visa A
มะเมี๊ยะ อุทธรณ์เรื่องไปที่ AAT
มะเมี๊ยะ ก็ถือ Bridging Visa A  ต่อไปเรื่อย ๆ 

มะเมี๊ยะ มีแฟนเป็น de facto partner ชื่อ "เจ้าชาย"
เจ้าชายเป็น Australian PR/Citizen 

เจ้าชายตัดสินใจทำ Partner Visa ให้กับ มะเมี๊ยะ เพราะเจ้าชายไม่อยากให้มะเมี๊ยะเอาชีวิตไปฝากไว้กับวีซ่านักเรียนเพียงอย่างเดียว

เพราะเรื่องที่ AAT ก็ไม่รู้ว่าจะออกหัวหรือออกก้อย

เนื่องด้วยมะเมี๊ยะตอนนี้ถือ Bridging Visa A 
มะเมี๊ยะไม่สามารถยื่น Partner Visa ภายในประเทศออสเตรเลียได้ (นอกจาก schedule 3)

ในระหว่างที่มะเมี๊ยะรอเรื่องที่ AAT ซึ่งก็เหมือนที่จะซื้อเวลาเอาไว้เฉย ๆ มะเมี๊ยะกับเจ้าชายก็เตรียมเอกสาร นั่น นี่ โน่น ในการยื่น Partner Visa

Form 888 พร้อม
หลักฐานเรื่องความสัมพันธ์พร้อม

เนื่องด้วยมะเมี๊ยะ ไม่สามารถยื่น Partner Visa ภายในประเทศ (onshore) ได้

สิ่งที่มะเมี๊ยะสามารทำได้คือ
  • ขอ Bridging Visa B เพื่อที่จะเดินทางออกไปนอกประเทศ ไปประเทศไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นประเทศไทย มะเมี๊ยะจะไป New Zealand, Bali หรือ Fiji ก็เรื่องของมะเมี๊ยะ
  • ทันทีที่มะเมี๊ยะ scan passport ที่สนามบิน หรือที่ท่าเรือ (เผื่อมะเมี๊ยะ จะไป cruise) มะเมี๊ยะก็ถือว่าอยู่นอกประเทศออสเตรเลีย (offshore) แล้วครับ
  • ในระหว่างที่มะเมี๊ยะอยู่ offshore, มะเมี๊ยะ หรือทนายความ หรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์ของมะเมี๊ยะ ก็สามารถยื่นเรื่อง Partner Visa ทาง online ให้ได้
  • พอ click submit, จ่ายเงินค่าสมัครแล้วเรียบร้อย มะเมี๊ยะก็สามารถบินกลับเข้าประเทศออสเตรเลียได้เลย ยื่นเรื่องตอนเช้า บินกลับได้เลยตอนบ่ายครับ
  • พอมะเมี๊ยะ กลับเข้าถึงประเทศออสเตรเลีย Bridging Visa ก็กลับมา take affect โดยอัตโนมัติ
  • ในระหว่างที่รอผล AAT, case ของมะเมี๊ยะก็ process ไปเรื่อย ๆ เป็นการไม่เสียเวลา และมะเมี๊ยะเองก็ได้อยู่กับเจ้าชายด้วย
  • แต่เมื่อไหร่ที่ AAT เรียกแล้วผลการอุทธรณ์ไม่ผ่าน มะเมี๊ยะ ก็ต้องเดินทางออกนอกประเทศ และก็ไปรอเรื่อง Partner Visa อยู่นอกประเทศนะครับ แต่ถึงตอนนั้น case Partner Visa ที่ยื่น offshore ก็ใกล้ที่จะ finalise แล้วก็ได้ เพราะ Partner Visa ที่ยื่น offshore จะ process เร็วกว่าที่ยื่น onshore
เราก็ขอให้ความรักของมะเมี๊ยะและเจ้าชาย สมหวังกันนะครับ

..อยากให้คุณได้สม ดังที่ฝัน
ฝันอะไรให้ใครก็ตาม
อยากให้คุณได้สม.ดังที่หวัง
ตั้งใจไว้ ทุกประการ...



J Migration Team:
LINE: @JMigrationTeam
IG: @JMigrationTeam
Snapchat: @JMigrationTeam
www.jmigrationteam.com
anchor.fm/john-paopeng
SMS: +61 412470969


Monday, December 11, 2017

วีซ่าขาด แล้วทำไมเราต้องไปแจ้งจับเขาด้วยหละ


คนวีซ่าขาด เราไม่จำเป็นต้องไปแจ้งใครมาจับเขานะครับ
ทำไมต้องทำกันแบบนั้นด้วยหละ
หากทุกคนมีทางเลือก เขาก็คงไม่เลือกในสิ่งที่เขา เป็น อยู่ คือ

ทำไมเราไม่ใช้ชีวิตอยู่ด้วยความเมตตา ช่วยเหลือ เกื้อกูลซึ่งกันและกัน

แค่นี้ชีวิตเขาก็ลำบากพอแล้ว

มีพื้นที่ให้พวกเขาได้ยืน
ได้หายใจหน่อยเธอ 

เพื่อนมนุษย์เหมือนกัน

เราได้เกิดมาร่วมโลกกันแล้ว

ไม่ขอโทษที่เราไม่ได้ตอบกลับ
ไม่ขอโทษที่เราต้อง "block" you เอาไว้

เราไม่ต้องการตอบโต้หรือเสวนาด้วย แต่เอ๊ะทำไมเขียน blog หละ

ก็เขียนเป็น blog เอาไว้
คนจะได้รู้จุดยืนของ J Migration Team ว่าเป็นยังไง

จะได้ไม่ต้องมีใครติดต่อมาอีกเรื่องนี้

คนเรานะครับ บางทีมันก็เลือกที่จะเป็น เลือกที่จะทำไม่ได้

คงไม่มีใครอยากจะวีซ่าขาดหรอก
แต่คนไทย ไม่ใช่อันดับหนึ่งนะ

ดังนั้นก่อนที่จะโทษคนวีซ่าขาดว่าเขาทำให้คนไทยขอวีซ่ายากขึ้น

อยากจะให้ดูสถิติก่อน

แต่เอาเถอะ ทุกคนมีมุมมองที่แตกต่างกัน
เหมือนเสื้อเหลืองกับเสื้อแดงนั่นแหละ มันไม่มีวันจบสิ้นหรอก

แต่เอาเป็นว่า
เราไม่ขออยู่ฝ่ายที่ต้องคอยแจ้งจับใครละกัน

หากทุกคนมีทางเลือก เขาก็คงไม่เลือกที่จะทำในสิ่งที่เขากำลังทำอยู่

แต่ถ้าเขาเลือกที่จะเป็นในสิ่งที่เขาเป็น
ทำในสิ่งที่เขาทำ

เราก็อยู่ของเรา
เขาก็อยู่ของเขา

ต่างคนต่างมีชีวิตของใครมัน ไม่ดีกว่าเหรอครับ

ไม่ต้องไปคอยแจ้งจับใคร

กฎแห่งกรรมเป็นหน้าตาแบบไหนเราไม่รู้
รู้แต่ว่า ทำแบบไหน ก็คงได้แบบนั้น

"กรรม" คือการกระทำ
ทุกคนมีกรรมใหม่ และกรรมเก่าที่แตกต่างกันไป

การตัดสินใจของแต่ละคนแตกต่างกันออกไป

หรือพระเจ้าเบื้องบนอาจจะอยากทดสอบเราอยู่ก็ได้

แต่เอาเป็นว่าการตัดสินใจของเราเป็นแบบนี้ละกัน

เรา busy ทำ case ของเรานะครับ
ไม่ได้มีหน้าที่ไปคอยช่วยเหลือให้ใครไปจับใคร

ใครเหยียบหางใคร ก็ต้องชำระและสะสางกันเอาเอง
อย่าเอาเราเข้าไปยุ่งเกี่ยวเลย

ปวดหัว..

แล้วไอ้ "คชจ" เนี๊ยะมันคืออะไรเหรอ
มันแปลว่า "คุณชายจู๋" หรือครับ

อย่าคิดว่าทุกคนต้องรู้คำย่อภาษายุค 4.0 เสมอไป

Saturday, December 9, 2017

ขอบคุณที่ยังรักกัน ด้วยรัก จากใจ J Migration Team


ยังไม่จบ...

ต่อจาก LiVE เมื่อวาน (วันศุกร์ 8 Dec 2017)

ดีใจด้วยกันน้อง "B" ที่วีซ่าผ่าน ตามที่เห็นใน Facebook LiVE

น้อง B ไม่ได้เป็นแค่ลูกค้าธรรมดา แต่น้องเป็น "น้อง" ที่เราสัมผัสได้ถึงความเป็น "พี่" และ "น้อง"

น้อง "B" อยู่ที่ QLD ถึงแม้ว่าเราจะเคยเจอน้องตัวเป็น ๆ แค่ 2 ครั้ง
แต่เราคุยกันบ่อยมากทาง LINE

ไม่ว่าจะเรื่อง case และเรื่องอื่น ๆ 

ครั้งล่าสุดที่เราไปทำงานที่ QLD office น้องก็แวะเข้ามา
น้องไม่ได้แวะเข้ามา consult หรอก

น้องแวะมาเม๊าส์มอย
น้องแวะมา เอาขนมมาฝาก

(ตอนนี้ P' J ลด ละ เลิก กาแฟและน้ำตาลแล้ว น้องก็เอา version less sugar มาให้ด้วย)

มิตรไมตรีที่น้องให้มา มันประเมิณค่าไม่ได้
เล็ก ๆ น้อย ๆ ที่น้องทำให้เรา แต่มันมีค่ามากนะ สำคัญคนที่เดินทางทำงานบ่อย ๆ อย่างเรา

P' J ก็ได้ทำหน้าที่ของ  J Migration Team ให้น้องแล้ว
P' J ดีใจด้วยกับทุกสิ่งทุกอย่าง

แต่ P' J ก็ขอทำหน้าที่ของพี่ชายด้วยก็แล้วกัน
น้องบอกว่า น้องและแฟนยังไม่เคยมา NSW

คราวนี้น้องกับแฟนคงต้องมาแล้วหละ

ทาง J Migraiton Team ไม่มีดอกไม้ให้น้อง เพราะเรามี "ใจ" ให้มากกว่า




แต่ก็ขอแนบ return airticket Brisbane - Sydney ให้น้องและแฟนก็แล้วกันนะครับ

ถ้าไม่รู้ว่าต้องไปเที่ยวที่ไหนที่ NSW มั่ง
ก็ลองดู facebook page: กิน เล่น เที่ยว ออสเตรเลีย ได้นะครับ

P' J ขอให้น้องและแฟนมาเที่ยว NSW อย่างมีความสุข

ไม่จำเป็นต้องแวะมาหาพี่
ให้เราไปเที่ยวกันให้สนุกนะครับ

ปีใหม่หรือ X'mas ก็ไม่ต้องซื้อของให้พี่จอห์น
แต่ถ้าอยากจะซื้อ พี่แนะนำให้เอาตังค์ไปบริจาคให้ พี่ตุน นะครับ

สินค้าดีใช้แล้วต้องบอกต่อ นะครับ

ด้วยรัก จากใจ J Migration Team

MARN: 0851174
LINE: @JMigrationTeam
Snapchat: @JMigrationTeam
www.jmigrationteam.com
anchor.fm/john-paopeng
SMS: +61 412470969


Partner Visa offshore ระยะทางระหว่างน้องกับแฟน


ดีใจด้วยกับน้อง "N" ที่ Partner Visa (offshore) ผ่านแล้ว
ถึงแม้จะเป็นแค่ stage 1; TR (Temporary Residence) แต่เราก็อยากจะเล่าเรื่องของน้องให้ทุกคนฟังคร่าว ๆ นะครับ

น้องบอกว่า "ดีใจจนมือสั่น" แต่สั่นด้วยก็ความดีใจ ซึ่งเราก็ดีใจด้วย



น้อง "N" เป็นลูกค้าเรา ที่ยื่น Partner Visa (offshore)
น้อง "N" อยู่ที่เมืองไทย

แฟนของน้องอยู่ที่ Perth, WA

สิ่งที่เราอยากจะให้ทุกคน take note ก็คือ ระยะทางระหว่างน้องกับแฟนนะครับ

เพราะน้องอยู่ที่เมืองไทย และแฟนอยู่ที่ Perth

ส่วนเราเอง J Migration Team ก็ทำงานให้น้อง อยู่ที่ Wollongong

ก็แค่อยากจะบอกว่า ระยะทาง ไม่ได้เป็นอุปสรรคกับความรัก
ระยะทางก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคในการทำงานของเราเหมือนกัน

เพราะเอกสารทุกอย่างเรายื่นกัน online
น้องกับแฟน ไม่ต้องเข้ามาเจอเราตัวเป็น ๆ ด้วย

แต่เราก็คุยกัน ติดต่อกันทาง LINE, Skype (ฝรั่งส่วนมากใช้ Skype), email และ โทรศัพท์

ดังนั้น J Migration Team, เราสามารถทำ case ได้ทั่วโลกนะครับ

ดังนั้นจริง ๆ แล้ว ลูกค้าไม่ต้องเข้ามาหาเราก็ได้
ปัญหาอะไร สามารถแก้ไขและคุยกันได้ผ่านช่องทางต่าง ๆ นะครับ

เราโทรหาน้อง แจ้งข่าวดีทาง LINE
ตอนที่เราโทรไป น้องอยู่ที่เมืองไทย กำลังจะเดินทางมา Perth วันรุ่งขึ้นพอดี

ก็ถือว่าเป็นข่าวดี เพราะน้องจะได้ไม่ต้องเดินทางเข้า-ออก บ่อย ๆ เพื่อมาหาแฟนที่ประเทศออสเตรเลีย

เพราะหลังจากนี้ น้องก็อยู่ที่นี่ได้ละ ไม่ต้องเข้า ๆ ออก ๆ ด้วยวีซ่าท่องเที่ยวอีกต่อไป

เราก็คิดว่าเป็นอีกหนึ่ง mile stone ที่สำคัญของน้องและแฟนของน้องนะครับ

ขอบคุณที่ให้เรา J Migration Team เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตคู่ของน้องและแฟนนะครับ

ดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งของชีวิตในการเดินทางของน้องในครั้งนี้นะครับ

ขอบคุณที่ให้ความไว้วางใจและใช้บริการของ J Migration Team นะครับ

สินค้าดีใช้แล้วต้องบอกต่อ นะครับ

Saturday, December 2, 2017

Partner Visa ยังไม่ได้หย่า เอกสารไม่ครบ 12 เดือน


Partner Visa มีหลาย case มากที่เราทำ ที่บางทีคนสปอนเซอร์เอง หรือคนสมัครเอง ยังไม่ได้หย่าจากแฟนคนเก่า

อาจจะด้วยเหตุผลทางสมบัติ
เหตุผลทางเรื่องลูก
หรือ ego อะไรหลาย ๆ อย่าง

หลาย case ที่ยังไม่ได้หย่า ทำได้ง่าย ๆ ไม่มีปัญหา เพราะเอกสารเขาครบ อยู่ด้วยกันเกิน 12 เดือน

อย่าลืมนะครับว่า ถ้าคนใดคนหนึ่งยังไม่ได้หย่า
เราก็ไม่สามารถที่จะไปจดทะเบียนสมรสซ้อนได้
หรือจด register of relationship ได้ (ก็มีบาง case ที่เล็ดลอดมาได้)

แต่มันก็บาง case ที่ฝ่ายใดฝ่ายหนึ่งยังไม่ได้หย่า
ตัวเป็น ๆ หนะอยู่ด้วยกันจริงเกิน 12 เดือน

แต่ว่าไม่มีเอกสารอะไรร่วมกันเลย เพราะว่าอีกฝ่ายไม่แน่ใจว่า สรุปแล้ว "เธอจะสปอนเซอร์ให้ฉันหรือเปล่า"

เพราะบางที ของแบบนี้เราก็ไปบังคับแฟนเราให้เขามาสปอนเซอร์เราไม่ได้

พอเราวีซ่าใกล้หมดโน่นแหละ พอเริ่มจะต้องเก็บกระเป๋ากลับเมืองไทย เขาถึงเอ่ยปากบอกว่าจะทำเรื่องสปอนเซอร์ให้

แต่บิลอะไรต่าง ๆ นา ๆ ก็ยังส่งไปที่อยู่เดิม เพราะบางทีเราก็อยู่กับญาติ เราก็ให้จดหมายหรือบิลต่าง ๆ ไปที่อยู่เดิม มีบิลมีจดหมายมาที่อยู่เดียวกัน ไม่กี่เดือนเอง


แต่ตัวเป็น ๆ หนะ อยู่ด้วยกันมาเกิน 12 แล้ว

แต่ความจริง มันก็คือความจริง

คนมันอยู่ด้วยกันแล้วเกิน 12 เดือน มันก็คือเกิน

ความจริงเป็นสิ่งไม่ตาย

เราก็เลยให้ทั้งน้องและแฟนของน้องเขียน statutory declaration (stat dec) ว่าเขาอยู่ด้วยกันตั้งแต่วันที่ "xyz" อะไรก็ว่าไป

stat dec ที่เขียน เขียนแค่บรรทัดเดียวจ๊ะ

ออกแนวทำนองว่า

"ข้าพเจ้าขอยืนยัน นอนยันว่า เราอยู่ด้วยตั้งแต่วันที่ xyz เป็นต้นมา"

แค่นี้แหละ บรรทัดเดียว เนื้อ ๆ ไม่ต้องอะไรมากมาย

เพราะ stat dec เป็นหนังสือทางด้านกฎหมาย เราจะไม่ยึดเยื้อ

ทุกอย่างก็ผ่านไปได้ด้วยดี
น้องได้วีซ่า โดยที่ไม่มีการขอเอกสารเพิ่มใด ๆ ทั้งสิ้น
เพราะเอกสารอย่างอื่น ถึงแม้ว่าตอนที่ยื่นเรื่องเข้าไป เอกสารจะยังไม่มาก แต่เราก็ให้น้องเขาส่งเอกสารมา update ทุกสิ้นเดือน

ให้ส่งบิลมาให้เราทุกเดือน
ให้ส่ง bank statement มาให้เราทุกเดือน

ทุกอย่างมันก็ผ่านไปได้ด้วยดี

ขอบคุณที่ให้ J Migration Team เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางชีวิตคู่ ชีวิตรักในครั้งนี้

ที่ J Migration Team,  Partner Visa  เราทำเป็น Package นะครับ
คือดูแลตั้งแต่ stage 1 ไปจนถึง stage 2 

case นี้ เจอกันอีกที stage 2 (PR) นะครับ

J Migration Team:
LINE: @JMigrationTeam
Snapchat: @JMigrationTeam
www.jmigrationteam.com
anchor.fm/john-paopeng
SMS: +61 412470969

Saturday, November 11, 2017

visa subclass 457; restaurant manager ถ้า nomination ผ่าน ทุกอย่างก็ผ่าน


ท่ามกลางความโหดร้าย ของ visa subclass 457

ที่ตอนนี้แทบจะทุก case จะต้องมีการขอข้อมูลเพิ่ม ในเรื่องของ “genuine position”
ว่าทาง business หรือธุรกิจมีความจำเป็นที่จะต้องจ้างคนเข้ามาทำงานในตำแหน่งนี้ อะไร ยังไง


คนที่เขียน case หรือ submission เข้าไป
ก็ต้องสามารถที่จะเขียนโน้มน้าวจิตใจได้ เราเรียกกันว่า persuasive writing จ๊ะ

คือหลักการเขียน ชักแม่น้ำทั้งห้า

แต่เราก็ไม่ได้ชักแม่น้ำทั้งห้าแค่อย่างเดียวนะ ทุกสิ่งอย่างที่เราเขียนเข้าไป มันก็ต้องมีเหตุผลและข้อมูลเข้ามา suport ด้วย ร่วมด้วยช่วยกัน

case ถึงจะผ่านไปได้ด้วยดี

ช่วงนี้ ไม่ว่าจะเป็น nomination ของ chef, cook, restaurant manager หรือ massage therapist

ล้วนแล้วแต่ขอ nomination อยากด้วยกันทั้งนั้น

แต่เราคิดว่า ถ้าเราใส่ใจในการเขียน (แน่นอน นั่นมันคือเวลาที่มันต้องเพิ่มเข้ามา ดังนั้นไม่ต้องแปลกใจ ว่าหลายๆบริษัท ทำไมถึง charge ในราคาที่เขา charge กัน)

นี่ก็เป็นอีกหนึ่ง case ของความสำเร็จของ J Migration Team

ถ้าเขียน nomination ผ่าน, ทุกอย่างก็ผ่าน

เพียงแต่ว่า คนที่เขาทำกันเอง เขาจะมีเวลากินหรือเปล่า แล้วรู้หลักการเขียน submission หรือเปล่า

เขาจะรู้ไหมว่า immigration ต้องการอะไร แต่ก็ไม่เป็นไรนะ ทุกคนมีทางเลือกของใครมัน

เลือกแบบไหน ก็ได้แบบนั้น

เราดีใจด้วย กับน้องคนนี้
น้องเป็นคนใกล้ตัว รู้จักกันมานาน

เราได้มีโอกาสทำ visa subclass 457 ให้น้องถึง 2 ครั้ง; restaurant manager

ทุกครั้งก็ผ่านไปได้ 


แต่ครั้งที่ 2 นี้ หลังจากที่มีการเปลี่ยนกฎ นั่น นี่โ น่น
nomination ยากขึ้น

แต่เราก็เขียน submission ให้จนผ่าน

เราทำครั้งที่ 2 ให้น้อง FREE of charge (FOC) จ๊ะ เพราะในกาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว น้องเคยมาช่วยงาน P’ J ในยามที่เราต้องการคนช่วยงาน จากวันนั้นถึงวันนี้ เรายังไม่ลืม

ขอบคุณที่เราทั้งสองคนอย่างน้อยก็ได้มีโอกาส crossing path ซึ่งกันและกัน

อย่างที่เราบอกว่า “The wait is over, enjoy your stay”... นะครับ

J Migration Team:
LINE: @JMigrationTeam
SMS: +61 412 470969

Monday, October 16, 2017

Partner Visa; สปอนเซอร์เคยล้มละลาย และมีคดีติดตัวหลาย 10 คดี


หนูหริ่ง มีแฟนเป็นคนที่นี่

หนูหริ่งอยากทำ Partner Visa แต่หนูหริ่งก็มีเรื่องกังวลใจอยู่หลายอย่างคือ:

  • แฟนเคยเป็นคนล้มละลายมาก่อน และก็อาจจะล้มละลายอีกรอบ
  • แฟนติดคดีความผิดเรื่องการจราจลเยอะมาก หลาย 10 คดี ถึงขั้นต้องขึ้นศาล
หนูหริ่งอยากจะรู้ว่า แฟนของหนูหริ่งยังจะสามารถทำเรื่องให้หนูหริ่งได้หรือเปล่า

คำตอบของ P' J คือ:
  • ล้มละลาย ก็สามารถทำเรื่องสปอนเซอร์วีซ่าให้แฟน ทำ Parter Visa ได้ครับ เพราะ Partner Visa เป็นวีซ่าคู่รัก มันเป็นเรื่องของความรัก มันเป็นเรื่องของความรู้สึก ขอให้ทั้ง 2 รักกันจริง ไม่ได้จ้างแต่ง หรือพวกเพื่อนแต่งให้เพื่อน มันก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร เรื่องศักยภาพทางการเงินของคนสปอนเซอร์สำหรับ Partner Visa ตอนนี้กฎหมายอะไร ต่าง ๆ มันเปลี่ยนแปลงไปมากแล้วจ๊ะ อย่าเชื่อพวก webboard หรือ facebook group ต่าง ๆ ให้มากนัก
  • คดีการจราจร โถ คุณน้อง คดีจิ๊บ ๆ จ๊ะ สำหรับการทำเรื่อง Partner Visa, มันไม่ใช่คดีฆ่าคนตาย หรือก่อการร้าย ดังนั้น เช่นเดียวกัน คดีพวกนี้จะไม่ค่อยมีผลสำหรับคนที่ต้องการสปอนเซอร์หรือทำเรื่องให้แฟนนะครับ

ล้มละลาย หรือไม่ล้มละลาย มันเป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของมนุษยชนนะครับ ที่จะมีความรัก มีคู่ครอง ดังนั้นไม่ต้องกังวลมากเกินไป

คนเราบางที เราก็มโนมากเกินไป
อ่านพวก webborad มากเกินไป
อ่านพวก facebook group มากเกินไป

ข้อมูลบางอย่างมันเก่ามากไปแล้ว
เราเห็น document list ที่เขาแชร์กันวน ๆ ใน facebook แล้ว เห็นแล้ว บอกได้เลยว่า list นั้นเก่ามากเลยครับ

แต่เราก็ไม่พูดอะไร เพราะมันไม่ใช่พื้นที่ของเรา

Saturday, October 14, 2017

Child Visa; วีซ่าลูกติดตามพ่อแม่

 

ช่วงนี้เราก็ได้มีโอกาสทำ Child Visa บ่อยนะ
ทั้งที่ยื่น onshore (sublcass 802)  และก็ที่ยื่น offshore (subclass 101)

Child Visa คือวีซ่าที่พ่อหรือแม่ที่เป็น PR  หรือ citizen ที่ทำเรื่องเอาลูก (จาก previous marriage) เพื่อเอามาเป็นคนที่นี่

Child Visa คือวีซ่าที่เป็น PR เลย

ตอนนี้ Child Visa ทำได้เฉพาะที่เป็น paper-based application

ดังนั้นเนื้องานจะเป็นอะไรที่ tedious และละเอียดอ่อน
เพราะเอกสารทุกอย่างต้อง print ต้องถ่ายเอกสาร

และเอกสารทุกใบต้องเซ็นรับรองด้วย JP; Justice of The Peace

case บาง case เอกสารเยอะถึงเกือบ 300 หน้า
เพราะไหนจะต้อง print bank statement ทั้งปีของคุณพ่อหรือคุณแม่

แล้วไหนจะเอกสารของแฟนของคุณพ่อหรือคุณแม่อีกหละ

แล้วไหนจะเอกสารทางด้านการเงินของธุรกิจที่บางทีคุณพ่อหรือคุณแม่เปิดร้านนวด หรือร้านอาหารอีกหละ

ไหนจะเอกสารการโอนเงินจากบริษัทต่าง ๆ ที่เขาโอนกันอีกหละ

เยอะจริงจ๊ะ ไม่ได้มโน

ส่วนคนที่ต้องเซ็น JP ก็ต้องเซ็นกันมือหงิกเลยทีเดียว
เราที่แหละ JP!!!

ถ้าไม่รักในงานที่ทำ หรือไม่ได้ทำในการที่รัก
เราก็คงไม่ทำหรอก

แต่ก็ดีใจที่ได้เป็นส่วนหนึ่งในการ re-unite ครอบครัว
ให้ลูก ๆ มาอยู่กับพ่อ ๆ แม่ ๆ 

เป็นการเปิดโอกาส เปิดโลกทัศน์อะไรหลาย ๆ อย่างให้กับเด็ก ๆ

Child Visa เด็กต้องอายุต่ำกว่า 25 นะครับ

ดังนั้นลูก ๆ คนไหนใกล้ 25 แล้ว
ต้องให้ไว

อย่าปล่อยให้วันคืนวันผ่านไปวัน ๆ โดยเปล่าประโยชน์
มันจะเสียโอกาสกันได้

เพราะกฎหมายอิมมิเกรชั่น มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อย ๆ

Wednesday, October 4, 2017

Partner Visa ขวัญกับเรียม version Thai & Chinese


หนูหริ่งเป็นสาวบ้านนา
แต่พอเข้าเมืองกรุง หนูหริ่งเปลี่ยนชื่อเป็น "หนูเรียม"

เรียมเป็นสาว simple girl, innocent คิกคุ โน๊ะ เน๊ะ
เรียมมาเป็นสาวนักเรียน student visa ที่ Sydney

เพราะเรียมเชื่อว่า รักดีหามจั่ว ก็เลยมาเรียนต่อเมืองนอกดีกว่า

วีซ่านักเรียนของเรียมจะหมดปีหน้า April

โชคชะตาพาพลัด มาเจอหนุ่มหล่อชาวจีน "กัวฟู่เฉิง" แต่เรียมตั้งชื่อไทยให้ กัวฟู่เฉิงว่า นายขวัญ

ขวัญเป็นหนุ่มหล่อชาวจีน แต่ขวัญเป็นคนที่นี่แล้ว; PR/Citizen

ขวัญรักเรียม
เรียมรักขวัญ

เดินจับมือกัน จะไปแต่งงาน

ขวัญกันเรียมก็เลยเดินจูงมือถือแขวนกันเข้าไปหาทนายหรือิมมิเกรชั่นเอเจนท์ชาวจีน แถว China Town; "หนี ห่าว มา, วอร์ ซือ ไธ่ กั๋ว เหลิน"

ขวัญกับทนายหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์ชาวจีน ก็คุยกันเป็นภาษาจีน และก็เอา document list ให้ ขวัญกับเรียม ไปจัดเตรียมเอกสารมา

document list ที่ print ออกมาจากกระดาษยับยู่ยี่ style China Town เขาเลยแหละ

ขวัญกับเรียมได้รับ documet list มาแล้ว 
รายการเอกสารตัวแรกบอกว่า ต้องมีบัญชีร่วมกัน และเอกสาร นั่น นี่ โน่น ให้ถึง 12 เดือน

ขวัญกับเรียมคิดหนัก เพราะวีซ่าของเรียมจะหมดปีหน้า April
แล้วขวัญกับเรียมจะเก็บเอกสารครบได้ไง 12 เดือน

ขวัญกับเรียมคิดว่า เรียมคงต้องลงเรียนเพิ่มอีก  1 ปี เพื่ออยู่ต่อที่นี่ แล้วเก็บเอกสารกันก่อนให้ครบ 12 เดือน

ตายละ นั่นคือค่าเทอม ค่าใช้จ่ายที่มันเพิ่มขึ้นมาอีกใช่มั้ยเนี๊ยะ

เอ่อ.... น้องขวัญกับน้องเรียม ตื่นจากความฝันได้แล้วจ๊ะ

document list ที่พวกหนูได้มาจาก China Town หนะ มันเป็น document list ที่ general มาก

พวกที่ต้องเก็บเอกสารให้ครบ 12 เดือน
คือพวกที่ทำ Partner Visa แบบ de facto จ๊ะ

พวกที่ไม่ได้จดทะเบียนสมรส หรือไม่ได้จด register of relationship

แต่นี่ขวัญกับเรียมจะแต่งงานกันอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเก็บเอกสารให้ครบถึง 12 เดือนแล้วค่อยยื่นเรื่องครับ

จดทะเบียนตอนเช้า ยื่นเรื่องได้เลยตอนบ่าย

เพราะเราเป็นยุค 4G จ๊ะ

โถ "เรียมเหลือทนแล้วนั่น ขวัญของเรียม"

กฎหมายทุกสิ่งอย่าง มีข้อยกเว้นของมันเสมอ
ศึกษา รู้เท่าทัน

Knowledge is king.

Tuesday, October 3, 2017

AAT อุทธรณ์ หรือไม่อุทธรณ์


ช่วงนี้มีหลายคนติดต่อเข้ามาเพราะว่าวีซ่าโดนปฏิเสธ; visa refusal หรือบางคนก็โดนยกเลิกวีซ่า; visa cancellation ก็มี

หลาย ๆ คนไม่เข้าใจระบบกฎหมายของที่นี่ว่า เอ๊ะ ถ้าวีซ่าโดนปฏิเสธ หรือโดนยกเลิก เราสามารถทำอะไร ยังไง ได้บ้าง

เราก็สามารถอุทรณ์ได้นะครับ เพราะถ้าไม่อุทรณ์ก็ต้อง pack ของกลับบ้านทันที

โดนยกเลิกวีซ่า; visa cancellation:
  • วีซ่าเราขาดทันที
  • ถ้าเราไม่อุทรณ์ เราก็ต้องกลับบ้าน แต่เนื่องด้วยเราไม่มีวีซ่าแล้ว ก่อนที่จะเดินทางออกนอกประเทศ ก็ควรจะเข้าไปที่อิมมิเกรชั่นก่อน เพื่อขอ Bridging Visa E, เดินเข้าไปขอเลยครับ ไม่มีค่าใช้จ่าย ประมาณ 5-10 ก็ได้แล้ว
  • Bridging Visa E สามารถขอได้ด้วยปากเปล่า หรือการกรอกฟร์อม 1008
  • ถ้าจะอุทรณ์ต้องอุทรณ์ภายใน 7 วันทำการ ไม่รวมเสาร์-อาทิตย์ หรือวันหยุดราชการ

โดนปฏิเสธ หรือขอวีซ่าไม่ผ่าน; visa refusal:
  • วีซ่าไม่ขาดทันทีเพราะมี Bridging Visa อยู่ตอนที่ขอวีซ่านั้น ๆ (substantive visa)
  • ถ้าเราได้ Bridging Visa ก่อน 18 Nov 2016 ก็จะเป็นกฎหมายเก่าคือ Bridging Visa จะหมดอายุภายใน 28 วัน
  • ถ้าเราได้ Bridging Visa จากวันที่ 18 Nov 2016 เป็นต้นมา ก็จะเป็นกฎหมายใหม่ คือ Bridging Visa จะหมดภายใน 35 วัน (ได้เพิ่มมา 7 วัน)
  • ถ้าไม่อุทรณ์ก็ต้องกลับบ้านก่อนที่ Bridging Visa จะหมดอายุ
  • ถ้าจะอุทรณ์ก็ต้องอุทรณ์ภายใน 21 วัน ตามปฏิทิน
ดังนั้นถ้าใครที่คิดจะอุทรณ์ ก็ต้องนับวันให้ดี ๆ นะครับ
อย่าพลาด
อย่าตัดสินใจนาน

ถ้าหากเราไม่อยากอุทรณ์ก็ไม่เป็นไร แต่อย่าลืมว่าประวัติการโดนปฏิเสธวีซ่า หรือโดนยกเลิกวีซ่าของเราก็จะเป็นประวัติติดตัวไปตลอดชีวิต ไม่มีวันหมดอายุ ไม่มีการล้างประวัตินะครับ

Immigration ไม่ใช่ Omo นะครับ จะได้ซักล้างกันได้

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่าเราอุทรณ์เข้าไปแล้ว case เราจะได้วีซ่ากลับคืนมา หรือวีซ่าเราจะผ่านนะครับ แต่ก็ case-by-case นะครับ

อยากให้ทุกคนใช้ชีวิต อยู่บนความเป็นจริง
Be realistic.

1. ถ้าไม่อุทรณ์ก็กลับบ้าน
2. ถ้าอุทรณ์ ก็อยู่แล้วก็สู้ case กันต่อไป หรือถ้าคิดว่ายังไงก็คงไม่ชนะ อย่างน้อยซื้อเวลาเพื่อเตรียมตัวกัน นั่น นี่ โน่น ก่อน ก็ดี เพราะบางคนยังไม่พร้อมที่จะกลับภายใน 28 หรือ 35 วัน

เอ๊ะ ถ้าเรารู้ทั้งรู้ว่าโอกาสที่จะผ่านมีน้อยมาก แล้วเราจะอุทรณ์ไปทำไม

เหตุผลของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
1. บางคนมีธุรกิจที่นี่ ขอซื้อเวลาเพื่อสะสางอะไรบางอย่างก่อน
2. ต้องการอยู่กับแฟน เพื่อให้ครบ 12 เดือน เพื่อจะได้ทำ Partner Visa ต่อไป (de facto) หรือไม่ก็แต่งงานไปเลย
3. บางคนอยู่ที่นี่มานานแล้ว ยังไม่พร้อมที่จะกลับเมืองไทย ขอซื้อเวลาต่อออกไปอีกบ้างเล็กน้อย
4. เหตุผลส่วนตัว ก็อยากอยู่หนะ มีอะไรป๊ะ (แบบนี้ก็มี)

เอ๊ะ แล้วแบบไหนหละ ที่เราคิดว่าไม่มีทางสู้แน่นอน:
  • วีซ่าโดนยกเลิก เพราะไม่ไปเรียน ทำงานเพลินหาเงิน เราเข้าใจนะครับ ชีวิตแต่ละคน เกิดมาไม่เหมือนกัน...please don't judge!!
  • วีซ่านักเรียน ที่ต่อแล้วต่ออีก มา 7-8 ปีแล้ว คงจะต้องถึงเวลาที่จะหมดอาชีพการเป็นนักเรียนเสียที
  • visa subclass 457, stage 3 ที่ stage 2 ไม่ผ่าน หรือยื่นอุทรณ์ไปแล้วของ stage 2 ก็ไม่ผ่าน ดังนั้น stage 3 ก็ต้องไม่ผ่านไปด้วย automatic (ภาษาทางกฎหมาย เราเรียกว่า natural justice จ๊ะ)
  • ...etc...

เอ๊ะ แล้วแบบนี้อุทรณ์ไปแล้ว case ของเราจะผ่านมั้ย

มันก็ต้องมีการไปแก้เกมส์กันที่ AAT หรือศาลอุทรณ์
มันก็ขึ้นอยู่กับการ present case, present ข้อมูล หาเหตุผลและข้ออ้าง มาโน้มน้าวจิตใจได้อย่างไร

และก็การเขียน submission เข้าไป

AAT จะมี email มาบอกให้เตรียมตัวประมาณ 1 เดือนก่อนที่จะไปขึ้นศาลนะครับ ดังนั้น คนที่อุทรณ์ไปแล้ว รับรองเรามีเวลาเหลือเฝือในการเตรียมตัวและเตรียม case

สำหรับ case ที่จะสู้นะ

แต่ถ้า case ที่อุทรณ์เพื่อซื้อเวลาเฉย ๆ ก็ไม่ต้องทำอะไร เพราะเราคงผิดจริง (โดดเรียนจริง เรียนมานานจริง นั่น นี่ โน่น)
ก็ถือว่าเป็นการซื้อเวลาเพื่อจัดการชีวิตดังที่เรากล่าวไปแล้วเบื้องต้นละกัน

ระยะเวลาที่สามารถซื้อได้ก็คือ:
Bridging Visa: 12 วัน
วีซ่าท่องเที่ยว: 129 วัน
วีซ่านักเรียนที่ไม่ผ่าน: 203 วัน
วีซ่าทำงาน subclass 457: 270 วัน
วีซ่าธุรกิจ: 346 วัน
Skilled Migrant: 312 วัน
Partner Visa: 345 วัน
Family visa: 406 วัน
วีซ่านักเรียนที่ถูกยกเลิก: 144 วัน
Business Sponsor/Nomination, subclass 457, 186, 187: 307 วัน
วีซ่าผู้ลี้ภัย: 400 วัน
อื่นๆ: 103 วัน


อุทรณ์หรือไม่อุทรณ์ ชีวิตเป็นของเรานะครับ
ชอบแบบไหน ก็เลือกเอาแบบนั้น

ไม่ต้องให้ใครมาตัดสินใจแทนเรา
ชีวิตเรา เราต้องเลือกที่จะดำเนินชีวิตเองนะครับ

ขอให้รู้เท่าทันเป็นพอ

Knowledge is king.

Wednesday, September 27, 2017

วีซ่านักเรียน; case officer ไม่ได้ถูกต้องเสมอไป


หลาย ๆ คนชอบคิดว่า case officer คือทุกสิ่งทุกอย่างถ้าเราพูดถึงเรื่องอิมมิเกรชั่น

คนที่ไม่ได้ทำงานในแวดวงนี้จะรู้หรือเปล่านะว่า
  • case officer คือข้าราชการของประเทศออสเตรเลียที่ทำงาน 9am-5pm
  • case officer มีการ เข้า-ออก กันเยอะมาก มาทำงานกันแป๊บ ๆ เดี๋ยวก็ลาออก พอคนลาออก ทางอิมมิเกรชั่นก็ต้องหาคนมาเป็น case officer พอคนใหม่มา พวกเขาเหล่านั้นก็จะกลายเป็น case officer มือใหม่ หรือ inexpereinced case officer
จดหมายหรือ email ที่หลาย ๆ คนได้รับจาก case officer
ถ้าคนที่ไม่ได้ทำงานในแวดวงนี้จะรู้หรือเปล่านะว่า email และจดหมายต่าง ๆ มันมาจาก template ที่ case officer แค่นั่ง click click จากหน้าคอมพิวเตอร์

aha... แล้วถ้า case officer มือใหม่ click the wrong botton หละ มันจะเกิดอะไรขึ้น

โดยเฉพาะพวก document list ต่าง ๆ 

ถ้าคนทั่วไปที่ไม่รู้ก็จะ วิ๊ดว๊าย กระตู้วู้ วิ่งหาเอกสารให้ตาม documet list ที่ทาง case officer ขอมาใช่มั้ย

เพราะหลาย ๆ คนก็คิดเหมาเอาไปว่า อะไรที่ case officer ขอมา เราก็ต้องหาให้ ทั้ง ๆ ที่บางอย่างมันไม่ make sense และไม่ต้องใช้

ยกตัวอย่างเช่น

น้องตูดหมึก เป็นแฟนของน้องฝาหอย
ทั้งคู่ถือวีซ่านักเรียน
แต่น้องตูดหมึกบอกว่า น้องไม่อยากเรียนแล้ว ไม่ค่อยมีตังค์จ่ายค่าเทอม อยากประหยัดตังค์ อยากทำงานหาเงินมากกว่า 

<< คุ้นมั้ย >>

ก็เลยกะจะให้น้องฝาหอยเรียนคนเดียว แล้วน้องตูดหมึกจะทำเรื่องติดตาม

น้องติดต่อเข้ามาให้ทาง J Migration Team ทำเรื่องวีซ่านักเรียนแบบติดตามให้กับน้องตูดหมึก ซึ่งเราก็ check เอกสาร นั่น นี่ โน่น แล้ว 

คิดว่า OK  

ที่ J Migration Team เราไม่รับทำทุก case ที่เข้ามาจ๊ะ
เราจะ assess case ก่อนว่ามีความน่าจะเป็นมากน้อยแค่ไหน
ถ้าเราคิดว่าทุกอย่างน่าจะ OK เราถึงจะยื่นให้

เราเปล่าเล่นตัวจ๊ะ
เราต้องการ Quality over Quantity

เราก็เขียน GTE; Genuine Temporary Entry ให้น้องตูดหมึกเข้าไปว่า น้องทั้ง 2 รักกันมากปานจะดูดดื่ม

ฉัน รัก เธอ
เธอ รัก ฉัน
เรา รัก กัน
ซู่ ซ่า ซู่ ซ่า

2 อาทิตย์ผ่านไป ไวเหมือนโกหก

case office email มา บอกต้องการ resume หรือ CV ของน้องตูดหมึก

huh... อะไรนะ ต้องการ resume ของน้องตูดหมึก

เอ่อ ไม่จริงใช่มั้ย

เพราะ GTE เราก็เขียนเข้าไปแล้ว
และ resume เนี๊ยะ มันจะใช้เฉพาะคนที่เป็นนักเรียน คน main applicant เท่านั้น (น้องฝาหอย) คนติดตามอย่างน้องตูดหมึกเนี๊ยะ ไม่จำเป็นต้องใช้

แทนที่จะส่ง resume เข้าไปให้ ตามที่ case officer ต้องการ

เรา email เข้าไปสั้น ๆ แทนว่า น้องตูดหมึกทำวีซ่าติดตามน้องฝาหอย เราคิดว่าน้องตูดหมึกไม่มีความจำเป็นที่จะต้องส่ง resume เข้าไป

วันรุ่งขึ้น วีซ่าออกจ๊ะ

เป็นไงหละ

Stay firm and stay strong เพราะ case officer ไม่ได้ถูกต้องเสมอไปซะทุกอย่าง

บางทีเราอาจเจอกับ caes officer มือใหม่แบบนี้ก็ได้ พวกที่ click click and click จาก template และ click ผิดกัน

ก็เอาเป็นว่า น้องตูดหมึกก็ได้เป็นวีซ่าติดตามน้องฝาหอยสมใจ
ทำงานเก็บเงินเก็บทองตามที่ได้ตั้งใจ

Hip Hip HooRay

Saturday, September 9, 2017

สิ่งควรรู้เกี่ยวกับ Partner Visa (PR)


สิ่งที่ควรรู้สำหรับ วีซ่าคู่รัก หรือ Partner Visa (Permanent Resident) 

ถ้าหากเราได้  PR แล้ว:


  • ต้องรอก่อน 2 ปี หลังจากที่ได้ PR ถึงจะได้  social security payments จาก CentreLink ซึ่งก็รวมไปถึงเงินสวัสดิการต่าง ๆ จาก CentreLink นั่แหละ 
  • ดังนั้นในช่วง 2 ปีแรก หลังจากที่ได้ PR ก็ต้องปากกัด ตีนฉีบ เพื่อใจไว้ด้วยนะครับ

นอกจากนี้แล้ว:


  • ค่าครองชีพที่ประเทศออสเตรเลียจะค่อนข้างสูง เมื่อเปรีนบเทียบกับประเทศอื่น 
  • เป็น PR ไม่ได้รับรองเราจะได้งานทำที่ประเทศออสเตรเลีย ดังนั้น เราก็ต้องดูความรู้ ความสามารถของเราด้วย

Friday, September 8, 2017

Hospitality industry & วีซ่าออสเตรเลีย


Last financial year; Jul 2016 - Jun 2017 มีนักท่องเที่ยวเดินทางเข้าประเทศออสเตรเลีย

ประมาณ 8,000,000 คน

ทำเงินให้กับ hospitality industry อย่างเยอะแยะ มากมาย มหาศาล

ดังนั้น

จะอะไร ยังไงเสีย ประเทศออสเตรเลียก็จะยังคงต้องการคนทำงานใน sector นี้

ดังนั้น สาขาอาชีพ:
- Cook
- Chef
- Cafe or Restaurant Manager
- Hotel Manager

มันคงไม่หนีหายไปไหนง่าย ๆ หรอก
เพียงแต่ว่าจะอยู่ใน short-term list หรือ long-term list ก็แค่นั้นเอง

หากทาง industry ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงของ occupation list ซึ่งเขาก็การ review กันอยู่แล้ว

ทาง industry เองก็ต้องรู้จักที่จะต้อง lobby รัฐบาล
เพราะทาง industry ไม่ทำอะไรเลย มัวแต่ นั่ง ๆ นอน ๆ อยู่

มันก็คงไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไรหนะจ๊ะ

Friday, September 1, 2017

South Australia สามารถจด register of relationship ได้แล้ว


การจด register of relationship คือการจดทะเบียนความสัมพันธ์ ว่าฉันเป็น partner เธอนะ เธอเป็น partner ฉันนะ

เรารักมากปานจะดูดดื่ม
แต่เราไม่อยากแต่งงาน
และเราก็ไม่จำเป็นต้องคบกันถึง 12 เดือน

เรามองตารู้ใจ
เหมือนปลากัด ยังไง ยังงั้น
เห็นแล้วรักเลย

เจอกันวันนี้
พรุ่งนี้จด register ความสัมพันธ์ ได้เลย

หย่ากับแฟนเก่าตอนเช้า
ตอนบ่าย จด register of relationship ได้เลย
รวดเร็ว ยุค 4G อะไรจะปานนั้น

การจด register of relationship สามารถจดได้ทั้งคู่รักเพศเดียวกัน หรือคู่รักต่างเพศ

แต่ก่อนสามารถจดที่แค่ที่
NSW
ACT
QLD
VIC
TAS

ข่าวดีจ๊ะ

ตอนนี้สามารถจดได้แล้วที่ South Australia (SA) 
ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สามารถติดต่อหน่วยงานที่ SA ได้เลยครับ ที่

http://www.cbs.sa.gov.au/registering-a-relationship-in-sa/

Love is in the air...

Sunday, August 27, 2017

วีซ่า subclass 457 เมื่อนายจ้างไม่มีการจ่าย tax และ super


วีซ่า subclass 457

เมื่อนายจ้างของเรา ไม่มีการหักจ่ายภาษีให้เรา หรือที่เราเรียกกันว่า PAYG (Pay As You Go) หรือไม่มีการจ่าย superannuation ซึ่งเป็นอะไรที่บังคับตามกฎหมายของประเทศออสเตรเลีย

ชีวิตเราจะมีปัญหาแน่นอนนะครับ ตอนขอ PR

เพราะสำหรับคนที่ถือวีซ่า subclass 457, ที่ทำเป็น transitional stream เนี๊ยะ เราต้องมีการพิสูจน์ว่าเราทำงานกับนายจ้างคนนี้มานานเท่าไหร่ จะเอาแค่จดหมายรับรองงานเหมือนสมัยก่อนไม่ได้แล้ว

มันต้องหลักฐานการจ่ายภาษีและการจ่าย super ด้วย

และ super contribution ของปี 2017 ก็อยู่ที่ 9.50% ของรายได้ของเรา นั่นคือเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้กับบริษัทที่บริหาร super ให้เรา

บางธุรกิจร้านค้า มีธุรกิจใหญ่โต ยอดขายเยอะแยะ
แต่ถ้าหากนายจ้างเรามีปัญหาเรื่องการเงิน เรื่องการพนันเข้ามายุ่งเกี่ยว

โดยส่วนตัวแล้ว เราคิดว่าอนาคตของคนที่ถือวีซ่า subclass 457 คงไม่ดีเท่าไหร่

เราแนะนำให้มองหานายจ้างที่อื่น
หรือมองหาวีซ่าตัวอื่นเป็นทางเลือกด้วยนะ

ชีวิตนี้เป็นของเรา อย่าเอามาแขวนไว้กับคนอื่น
โดยเฉพาะคนที่มีปัญหาเรื่องการพนัน เรื่องการบริหารเงิน ต่อให้ยอดขายของเราเยอะขนาดไหน ถ้าทางร้านหรือธุรกิจไม่มีการจ่ายภาษี ไม่มีการจ่าย super ไม่มีการทำ BAS ทุก 3 เดือน (หรือบางที่ 12  เดือน) ชีวิตเราจะเดือดร้อนแน่นอนนะครับ

ฝากเอาไว้ด้วยละกัน

Tuesday, August 15, 2017

ความแตกต่างระหว่าง visa subclass 189, 190 และ 489


Visa subclass 189; Independent Skilled Migrant, สาขาอาชีพต้องอยู่ใน long-term list เท่านั้น

List ทั้ง  short-term & long-term สามาถเข้าดูได้ที่

https://www.legislation.gov.au/Details/F2017L00850

Visa subclass 190; Skilled Nominated, visa subclass 489; Skilled Regional, สาขาอาชีพของแต่ละรัฐจะไม่เหมือนกัน

สนใจรัฐไหน ก็เข้าไปดู list ของรัฐนั้น ๆ นะครับ

NSW: http://www.industry.nsw.gov.au

Monday, August 14, 2017

TAS; subclass 190, subclass 489


ที่ Tasmania; TAS เขามี occupation list สำหรับการขอวีซ่า subclass 190; Skilled Nominated และ subclass 489; Skilled Regional ที่น่าสนใจมาก

สาขาอาชีพยอดฮิตของคนไทยคือ:
Chef: ทำได้ทั้ง  subclass 190 และ 489
Cook/Pastry Cook: ทำได้ทั้ง  subclass 190 และ  489
Restaurant Manager: ทำได้ทั้ง  subclass 190 และ  489
Hairdresser: ทำได้ทั้ง  subclass 190 และ  489
Massage Therapist: ทำไม่ได้ทั้ง  subclass 190 และ  489

อย่าลืมนะครับว่า subclass 190 นี่คือได้ PR เลย และอยู่ส่วนใหนของรัฐก็ได้, blog นี้ก็จะเป็นรัฐ TAS นะครับ

เพียงแต่ว่าเราก็ต้องนับ point (เขียนการนับ point ไปแล้ว) ของเราให้ได้ 55 points

ส่วน subclass 489, เนี๊ยะ เราก็ต้องนับ point ให้ได้ 50 points 

และที่น่าสนใจคือ TAS ทั้งรัฐถือว่าเป็น regional นะ (ถ้ายังไม่มีการเปลี่ยนแปลง)

แต่ special requirements ของ subclass 190 กับ subclass 489 ก็แตกต่างกันออกไป

การที่เราจะขอวีซ่า subclass 190 ที่  TAS  นั้น แบ่งออกเป็นหลายแบบ ดังต่อไปนี้:
  • แบบที่ 1: เรียนอยู่ที่ TAS, ขั้นต่ำ Cert III ขึ้นไป จนถึงระดับมหาวิทยาลัย, เรียน full time อย่างน้อย 1 ปีที่ TAS
  • แบบที่ 2: มี job offer จากธุรกิจ ที่อยู่ที่ TAS, ธุรกิจจะต้องเปิดทำการมาแล้วที่ TAS อย่างน้อย 1 ปี และส่วนตัวคนสมัครเองก็ต้องทำงาน full time ( 35 hours/week, 1 job หรือ หลาย ๆ part-time jobs เอามารวมกันให้ได้  35 hours/week) ในสาขาตาม occupation list ที่เราเรียนมา
  • แบบที่ 3: สำหรับคนที่สมัครมาจากต่างประเทศ, เราจะต้องมี job offer จากธุรกิจใน TAS, และธุรกิจนั้นต้องเปิดทำการที่ TAS มาแล้วอย่างน้อย 1 ปี และคนสมัครเอง จะต้องไม่มี family members อยู่ที่รัฐอื่นของประเทศออสเตรเลีย ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา

การที่เราจะขอวีซ่า subclass 489 ที่ TAS นั้น แบ่งออกเป็นหลายแบบ ดังต่อไปนี้:
  • แบบที่ 1: เรียนอยู่ที่ TAS, ขั้นต่ำ Cert III ขึ้นไป จนถึงระดับมหาวิทยาลัย, เรียน full time อย่างน้อย 1 ปีที่ TAS  (เหมือนกันกับ subclass 190)
  • แบบที่ 2: มี job offer จากธุรกิจ ที่อยู่ที่ TAS, ธุรกิจจะต้องเปิดทำการมาแล้วที่ TAS อย่างน้อย 1 ปี และส่วนตัวคนสมัครเองก็ต้องทำงาน full time ( 35 hours/week, 1 job หรือ หลาย ๆ part-time jobs เอามารวมกันให้ได้  35 hours/week) แต่เราไม่จำเป็นต้องทำงานในสาขาที่เราเรียนมา ใน occupation list
  • แบบที่ 3.1: สำหรับคนที่สมัครมาจากต่างประเทศ, สาขาอาชีพเราต้องอยู่ใน occupation list ของ TAS, และคนสมัครเอง จะต้องไม่มี family members อยู่ที่รัฐอื่นของประเทศออสเตรเลีย ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา ข้อดีของ visa subclass 489 ในแบบที่ 3.1 คือ เราไม่จำเป็นต้องมี job offer
  • แบบที่ 3.2: สำหรับคนที่สมัครมาจากต่างประเทศ, มี job offer ในสาขาอาชีพที่อยู่ใน occupation list ของ TAS, และคนสมัครเอง จะต้องไม่มี family members อยู่ที่รัฐอื่นของประเทศออสเตรเลีย ในระยะเวลา 1 ปีที่ผ่านมา
  • แบบที่ 4: มี family members (พ่อ, แม่, ปู่, ย่า, ตา, ยาย, ลูก, ลุง, ป้า, น้า, อา, หรือ ลูกพี่ลูกน้อง) ที่เป็น PR หรือ citizen ที่อาศัยอยู่ที่  TAS  อย่างน้อย 1  ปี 
  • แบบที่ 5: เป็นเจ้าของธุรกิจ คนสมัครเองต้อง plan ที่จะเปิด new business ที่ TAS, ห้ามเป็น franchise หรือห้ามเป็นการซื้อต่อธุรกิจที่มีอยู่แล้ว เราต้องเปิดเป็น brand new business และต้องโชว์ business plan และศักยภาพทางการเงิน ว่าเราสามารถทำดำเนินธุรกิจได้ที่ TAS

Full occupation list ของ  TAS สามารถเข้าไปดูได้ที่: 

Saturday, August 12, 2017

VIC: subclass 190 และ subclass 489


Visa subclass 190, subclass 489 สำหรับ Chef, Cook ที่ VIC ก็ยังพอมีหวังนะครับ

มอง ๆ ดูเอาไว้แก้เซ็งละกัน
เพราะ requirement ก็หินอยู่นะ
ลองมองดูดอกจันทร์เองละกัน

ไม่มีอะไรที่ได้ง่าย ๆ
เพราะของอะไรที่ได้มาง่าย ๆ
มันก็เสียไปง่าย ๆ นะครับ

แต่ทุกสิ่งอย่างในชีวิต
ถ้าคนเรามันคิดจะสู้ จะทำซะอย่าง
เราก็คิดว่า มนุษย์ มีศักยภาพที่จะทำให้สิ่งที่เราต้องการนะครับ

Anyway... something for you to ponder about... นะครับ

subclass 190 และ subclass 489 ของ VIC นอกจากจะมี occupation list ธรรมดาของเขาแล้ว

เขายังมี special list สำหรับนักเรียนต่างชาติที่เรียนใน VIC ด้วยนะครับ

ดูจากสาขาอาชีพแล้ว
ก็เป็นอะไรที่ hard core มาก

จะออกแนวเด็กสายวิทย์ สายพยาบาล ซึ่งเราก็คิดว่า เขาทำถูกแล้ว

เพราะทุกรัฐก็คงอยากจะเก็บนักเรียนที่เรียนสายนี้ เอาไว้กันเอง

และเราก็คิดว่ารัฐบาลของ VIC คิดถูกแล้วเช่นเดียวกัน

ที่มี special list สำหรับ occupation เหล่านี้ เพราะนี่ก็เป็นดึงเด็ก overseas students มาเรียนที่รัฐ VIC

เพื่อหวังที่ขอ PR ด้วย visa subclass 190 หรือ subclass 489 (ต่อด้วย subclass 887)

ก็เพราะทุกสิ่งอย่าง ได้ strategically ถูกวางเอาไว้

ก็เพราะฉะนั้น มันถึงเป็นเช่นฉะนี้

ลองดู special list สำหรับนักเรียนที่เรียนอยู่ที่ VIC กันนะครับ

เผื่อจะได้เป็นอีก 1 ลู่ทางสำหรับหลาย ๆ คน

และก็อย่าลืมแอบมองไปที่ requirement ของภาษาอังกฤษด้วยนะครับ

ก็ขอให้ทุกคนโชคดีนะครับ

หากเรามีความตั้งใจสะอย่าง ทุกอย่างไม่สูงเกินเอื้อม

ก็เพราะคนไทยเรานั้น มีศักยภาพที่สูง
คนไทยอยู่ที่ไหนก็ประสบความสำเร็จได้

ก็ลองเอาเวลาว่าง มาศึกษาหาความรู้ ลองเรียนในสาขาพวกนี้ดู
ลองฝีกปรือภาษาอังกฤษดู

http://www.liveinvictoria.vic.gov.au/visas-and-immigrating/visa-nomination-occupation-lists/visa-nomination-occupation-list-for-graduates#.WY7Y37KGPre