Thursday, December 29, 2022

ขายหวี ขายกล้วย


ใครอยากขายหวี ขายกล้วยเชิญทางนี้ครับ
หิ้วหวีไปหิ้วหวีมา

ประเทศออสเตรเลีย หลาย ๆ รัฐ (ไม่ทุกรัฐ) อาชีพขายบริการทางเพศเป็นอาชีพที่ถูกกฎหมาย ทำงานเสียภาษี มีสวัสดิการการดูแลพนักงานเหมือนอาชีพอื่น ๆ


อาชีพขายบริการทางเพศ:

- NSW ทำได้ ถูกกฎหมายทุกรูปแบบ รวมไปถึง street sex worker ด้วย

- VIC ทำได้ ถูกกฎหมายทุกรูปแบบ รวมไปถึง street sex worker ด้วย

- NT ทำได้ ถูกกฎหมายทุกรูปแบบ รวมไปถึง street sex worker ด้วย

- QLD ทำได้ ถูกกฎหมาย แต่ต้องเป็นสถานที่ที่ลงทะเบียนเท่านั้น (ซ่อง), street sex worker ยังผิดกฎหมายอยู่

- WA ทำได้ ถูกกฎหมาย แต่อันนี้ซับซ้อนนิดหนึงคือ ที่ WA จะไม่มีสถานเริงรมย์ทางเพศ (ซ่อง) คนซื้อบริการและขายบริการก็นัดเจอกันตามบ้าน หรือตามโรงแรม

- TAS, คล้าย ๆ WA

- ACT ทำได้ ถูกกฎหมาย และที่สำคัญก็คือ adult movie หรือหนังโป๊ะอะไรต่าง ๆ production ใหญ่ ๆ จะอยู่ที่ ACT เพื่อดาว OnlyFans ทั้งหลายจะย้ายถิ่นฐานไปอยู่ ACT กัน "น้องไข่หอม" อะไรทั้งหลายแหล่

- SA, ทำไม่ได้ ผิดกฎหมาย คนที่ SA ระวังกันด้วยนะครับ

ใครใคร่ทำ ทำ
ใครใคร่ซื้อ ซื้อ

Your body, your choice.

อาชีพสุจริต มีการจ่ายภาษี จ่าย GST จ่าย Superannuation (10.5%)

คนใช้บริการก็ถือว่าเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจ
เงินหมุนเปลี่ยนมือ

ถ้าคิดจะทำอะไรก็ทำให้มันถูกต้องไปเลยครับ ไม่หลบ ๆ ซ่อน ๆ 

Copyright: แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น, ไม่อนุญาตให้ copy & paste, ไม่อนุญาตให้ screen capture

Subclass 482; 25 สาขาอาชีพที่บังคับทำ Skill Assessment



25 สาขาอาชีพที่บังคับทำ Skill Assessment สำหรับวีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ Subclass 482; TSS (Temporary Skill Shortage Visa) เริ่ม 22 March 2018, สำหรับคุณไทย

1. Automotive electrician

2. Baker

3. Cabinetmaker

4. Carpenter

5. Carpenter and joiner

6. Chef

7. Cook

8. Diesel motor mechani

9. Electrician (general)

10. Electrician (special class)

11. Fitter (general)

12. Fitter and turner

13. Fitter‑welder

14. Joiner

15. Metal fabricator

16. Metal fitters and machinists (nec)

17. Metal machinist (first class)

18. Motor mechanic (general)

19. Panelbeater

20. Pastrycook

21. Program or project administrator

22. Sheetmetal trades worker

23. Specialist managers (nec) except: ambassador, archbishop, bishop

24. Toolmaker

25. Welder (first class)

ข้อยกเว้นที่คนสมัครไม่ต้องทำ Skill Assessment:

1. จบการศึกษาในวุฒินั้น ๆ (เกี่ยวข้องกับตำแหน่งที่สมัคร) ในประเทศออสเตรเลีย เพราะรัฐบาลต้องการกระตุ้นเศรษฐกิจให้คนมาเรียนที่ประเทศออสเตรเลียเยอะ ๆ, หรือ

2. คนสมัครที่ถือวีซ่า subclass 457 หรือ subclass 482 ในตำแหน่งนี้มาก่อน ก็ไม่ต้องทำ Skill Assessment เพราะแสดงว่าคนสมัครเองก็น่าจะมีความรู้ความสามารถจริงถึงถือวีซ่า subclass 457 หรือ subclass 482 มาก่อน (Subclass 457 ไม่ได้บังคับทำ Skill Asssessment, จะทำก็ต่อเมื่อ case officer เรียกให้ทำ)

25 สาขาอาชีพดังกว่าคือ 25 สาขาอาชีพที่ต้องทำ Skill Assessment สำหรับคนไทยนะครับ ไม่เกี่ยวกับ subclass ตัวอื่น อย่างเช่น subclass 494 หรือ subclass 186.... โปรดแยกกันให้ออก

หากสับสนเรื่องนี้ โปรดปรึกษานักกฎหมายอิมมิเกรชั่นของประเทศออสเตรเลียที่มี MARN เท่านั้น ปรึกษาหมอผี หมอตำแยก็คงได้คำตอบที่แตกต่าง

Copyright: ถ้าจะแชร์ให้แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น, ไม่อนุญาตให้ copy & paste, ไม่อนุญาตให้ screen capture

Tuesday, December 27, 2022

ย้ายประเทศ; วีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ เทหมดหน้าตัก


หลายครั้งเหลือเกินที่เราได้มีโอกาสทำวีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ subclass 482; TSS (Temporary Skill Shortage Visa) 


และก็มีหลายครั้งเหลือเกินที่มันคือฟางเส้นสุดท้าย หนทางสุดท้ายในการโยกย้าย ในการย้ายประเทศของใครบางคน โดยเฉพาะบางครอบครัวที่มีลูกน้อย มีอนาคตขของเจ้าตัวเล็กที่ต้องคิดและวางแผน


ลูกค้าบาง case ที่เราทำ case ให้เป็นคู่สามีภรรยาหนุ่มสาว เคยใช้ชีวิตนักเรียนอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย เคยสัมผัสชีวิตที่ไร้ปัญหาเรื่อง PM2.5 เคยสัมผัสชีวิตรถจอดให้คนข้ามตรงทางม้าลายและอื่น ๆ อีกมากมาย


บางคนก็กลับไปเมืองไทย 5-6 ปีแล้วก็มี ไปสร้างครอบครัวที่เมืองไทย ไปทำธุรกิจที่เมืองไทย แต่เมื่อมีลูกน้อย ทุกสิ่งอย่างในชีวิตเปลี่ยนไป เขาก็ต้องเลือกว่าสิ่งแวดล้อมไหนที่เขาต้องการให้ลูกเขาเติบโต


เมื่อตัดสินแล้วว่าจะต้องไป 

เมื่อตัดสินใจแล้วว่าต้องบอกลาระบบการบริหารจัดการที่มันเดิม ๆ เก่า ๆ และย่ำอยู่กับที่ มันก็ต้องมีการทุบกระปุก ทุบหม้อข้าวแล้วมองไปข้างหน้าอย่างเดียว


ถ้าคนที่ทำงานหาเช้ากินค่ำที่เมืองไทย มีรายได้เป็นเงินบาท THB แต่ค่าสมัครวีซ่าเป็นเงินดอลล์ AUD มันก็ต้องมีการทุบกระปุกแน่นอน เทหมดกระเป๋า บางคนก็ต้องไปกู้หนี้ยืมสินและพร้อมที่จะ "เทหมดหน้าตัก" เพราะตัวเขาเองเคยใช้ชีวิตอยู่ที่นี่มาแล้ว ค่อนข้างรู้ดีว่าถ้ามาแล้วจะต้องเจออะไรบ้าง ไม่ต้องปรับตัวอะไรมาก


หากคนเราอยากจะมา มีความมุ่งมันจริง

ไม่ต้องไป follow ตามพวก page ขายฝันต่าง ๆ ครับ พวกว่ายน้ำบนบก


เราถามใจตัวเราเองเลยว่าอยากจะกลับมาไหม

คำตอบมันมีแค่ "Yes" กับ "No" ไม่มี something in between

ชีวิตคนเราบางทีมันก็ต้อง make decision มันต้องตัดสินใจ


Indecisive will lead you to nowhere.

การไม่ตัดสินใจอะไรเลยก็เป็นการตัดสินใจอีกแบบหนึ่งนะครับ


เมื่อตัดสินใจแล้วก็ต้องเดินหน้าต่อ

บางคนก็ต้องออกค่าใช้จ่ายในการสมัครเอง เพราะนายจ้างไม่ได้ออกอะไรเลย 


อันนี้ค่าสมัครของวีซ่า subclass 482 สาขาอาชีพที่อยู่ใน long-term list นะครับ ถ้ายื่นจาก offshore จะไม่มีค่า subsequent onshore visa application fee คนละ $700


Stage 1; Standard Business Sponsor (SBS): $425

Stage 2; Nomination (SAF x 4 ปี): $5,201 ถ้ายอดขายร้านไม่ถึง $10,000,000 หรือ $7,635 ถ้ายอดขายของร้านถึง $10,000,000

Stage 3: Visa Application (x 3 คน) พ่อ แม่ ลูก ยื่น offshore: $6,322


ถ้าร้านยอดขายถึง $10,000,000 ค่าสมัคทั้งหมดก็จะอยู่ที่

$14,382


ถ้ายอดขายไม่ถึง $10,000,000 ค่าสมัครทั้งหมดก็จะอยู่ที่

$11,948


AUD14,382 หรือ AUD11,948 คือค่าสมัครวีซ่า subclass 482 offshore นะครับ 3 คนพ่อแม่ลูก สาขาอาชีพ long-term list


ยังไม่รวมค่าบริการของ "J Migration Team" อีก หรือใครใคร่เลือกใช้บริการที่อื่นก็ไม่เป็นไร มีที่ให้เลือกเยอะแยะ แต่อย่าลืมว่า You pay peanut, you get monkey นะครับ


ดังนั้นทำการบ้านกันเอาไว้เลยครับว่าค่าใช้จ่ายมันอยู่ที่เท่าไหร่

อยากรู้ว่าเป็นเงินไทยเท่าไหร่ ก็หาอัตราแลกเปลี่ยนคูณกันเอาเอง


ชีวิตทุกคนมี "ค่า" ครับ

"ค่า" ใช้จ่าย

"ค่า" สมัครวีซ่า

"ค่า" บริการถ้าจะให้ทนายหรืออิมมิเกรชั่นทำเรื่องให้


ชีวิตทุกคนไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ

หลาย ๆ คนไม่ได้คาบช้อนเงินช้อนทองมาเกิด

ถ้าคนเขาเกิดมาบนกองเงินกองทอง เขาก็คงอยู่เสวยสุขอยู่ที่ประเทศบ้านเกิดแล้วหละครับ ไม่ต้องมาตายเอาดาบหน้าหรอก


Anyway, เมื่อตัดสินใจแล้ว ก็ต้องเดินหน้าต่อ

เพราะ subclass 482 สำหรับสาขาอาชีพที่อยู่ใน long-term list มันก็มี pathway ให้ไปต่อจนถึง PR จนถึง citizen


เพื่อลูกน้อย คนเป็นพ่อเป็นแม่ก็ต้องยอมทุกอย่าง

หมดหน้าตักก็ต้องหมด โดยเฉพาะคนที่อยู่ที่นี่มาก่อน เขารู้แหละว่าทุ่งหญ้าข้างหน้าจะเขียวกว่าที่เดิมแน่นอน รับรองว่าการลงทุนครั้งนี้ไม่สูญเปล่า


กราบขอบคุณทุก ๆ คนที่เลือกใช้บริการของเรา

กราบขอบคุณทุก ๆ ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ "ครอบครัว J"

เรามั่นใจว่า subclass 482 คือจุดเริ่มต้นในการโยกย้ายของใครหลาย ๆ คน ไม่ว่าใครจะอยู่ onshore หรือ offshore ตอนนี้ให้ไวนะครับ ประเทศออสเตรเลียกำลังขาดแคลนแรงงาน


Subclass 482, Subclass 186 และ Subclass 187 เป็นวีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ที่ไม่โควต้า ดังนั้นไปให้สุดทาง (ไม่แน่ใจว่า subclass 494 มีโควต้าหรือเปล่า แค่ 99.99% คิดว่าไม่มี)


เราขอเป็นกำลังใจให้กับหลาย ๆ ครอบครัวที่กำลังตามหาฝัน

ที่เทไปทั้งหมดหน้าตัก เราขอให้ทุกคนได้กลับคืนมาร้อยเท่า พันเท่า หมื่นเท่า


เหนื่อยได้

ท้อได้

พักได้

แต่อย่าหยุด


แล้วเจอกันนะครับ at the end of the rainbow


เราจะเจอกันเมื่อ "เวลาที่พร้อม"

เมื่อศีลเสมอ 

เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น :)


Copyright: แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น, ไม่ copy & paste, ไม่ screen capture

Friday, December 23, 2022

Level ของ Chef



สำหรับอิมมิเกรชั่นแล้ว Chef มี ANZSCO - Australian and New Zealand Standard Classification of Occupations เดียวคือ ANZSCO 351311

สำหรับคนทำงานในสาย hospitality เราเข้าใจว่า chef มีหลายระดับ:

Executive Chef
Chef de Cuisine (Head Chef)
Sous Chef (Deputy Chef )
Chef de Partie (Station Chef)
Commis Chef (Junior Chef)

แต่สำหรับอิมมิเกรชั่นแล้ว ทุกตำแหน่งด้านบนที่เราเขียนมาก็เป็น "Chef: ANZSCO 351311" เหมือนกันหมด

Executive Chef ก็คือ Chef: ANZSCO 351311
Chef de Cuisine (Head Chef) ก็คือ Chef: ANZSCO 351311
Sous Chef (Deputy Chef ) ก็คือ Chef: ANZSCO 351311
Chef de Partie (Station Chef) ก็คือ Chef: ANZSCO 351311
Commis Chef (Junior Chef) ก็คือ Chef: ANZSCO 351311

ดังนั้นประสบการณ์ทุกตำแหน่ง เอามารับรวมกันได้

ถ้าจะให้ดีนะครับ ใน payslip ของเราไม่ต้องใส่ pay grade

payslip ที่ใส่มาเป็น Cook-level 1, Cook-level 2 แบบนั้นไม่เอา
ถ้าจะใส่ title ก็ใส่แค่ "Chef" ก็พอ หรือไม่ต้องใส่เลยจะดีที่สุด
อย่าให้มีคำว่า "Cook" ใน payslip

เพราะ "Cook" มันจะกลายเป็น Cook: ANZSCO 351411 ซึ่งเป็นคนละ ANZSCO กัน ตรงนี้ต้องระวัง

ศึกษารู้เท่าทันนะครับ
กฎหมายอิมมิเกรชั่น ปรึกษาจากคนที่มี MARN เท่านั้น

Copyright: ถ้าจะแชร์ให้แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น, ไม่ copy & paste, ไม่ screen capture

Thursday, December 22, 2022

Subclass 485; at time of application (ATA)


Subclass 485; Temporary Graduate Visa

- Australian police check ต้องพร้อมก่อนยื่น

- ผลสอบภาษาอังกฤษต้องพร้อมก่อนยื่น

เข้าใจว่าช่วง COVID อิมมิเกรชั่น flexible ให้ยื่นไปแค่วันนัดสอบภาษาอังกฤษได้ 

เราไม่รู้ว่าตอนนี้ยังเป็นอย่างนั้นหรือเปล่า เอาจริง ๆ คือเราไม่ได้ติดตามเพราะบริษัทเราทำ subclass 485 น้อยมาก 


เข้าใจและเห็นใจคนที่สอบภาษาอังกฤษยังไม่ผ่าน แต่คนสมัครก็มีเวลาแค่ 6 เดือนหลังจากที่เรียนจบเท่านั้น ในการยื่น ถ้าหลัง 6 เดือน ทุกอย่างก็จบ


ดังนั้น ภาษาอังกฤษ สอบกันไว้แต่เนิ่น ๆ เลยครับ 

ผลสอบภาษาอังกฤษใช้ได้ถึง 3 ปี

- Australian police check, เป็น "At Time of Application" หมายความว่า ณ ตอนที่ยื่น เราต้องมีเอกสารแล้วหรือสมัครไปแล้ว (มี receipt) ถ้าส่งเอกสารตามไปทีหลัง วีซ่าก็จะถูกปฏิเสธอยู่ดี หลาย ๆ คนวีซ่าโดนถูกปฏิเสธเพราะทำ Australian police check กันเองแล้วลืมใส่ชื่อทุกชื่อที่เราเคยใช้มา คนไทยเป็นคนที่เปลี่ยนชื่อเยอะที่สุดที่เราเคยเจอมาครับ!!!


- ผลสอบภาษาอังกฤษ ก็เป็น "At Time of Application" ซึ่งก็หมายความว่าเราต้องมีผลสอบหรือนัดวันสอบแล้ว ณ วันที่ยื่น


ทั้ง Australian police check และผลสอบภาษาอังกฤษ สำหรับ subclass 485 แล้วมันคือ "At Time of Application" ATA ไม่ใช่ "At Time of Decision" ATD 


ดังนั้นถ้าวีซ่าเราไม่ผ่านเพราะ 2 ตัวนี้ ต่อให้ยื่นอุทธรณ์ไปที่ศาลอุทธรณ์ AAT ก็ไม่ผ่านครับ กฎหมายก็คือกฎหมาย บอกไว้ค่อนข้างชัดเจนว่าเป็น "At Time of Application"


แต่ถ้ายื่นอุทธรณ์เข้าไปอย่างน้อยก็ยื้อเวลาได้ประมาณ 1.5 - 2 ปี

เราก็ต้องจัดการชีวิตของเรานะครับ ภายใน 1.5 - 2 ปี จะยื่นวีซ่าอะไรต่อไปก็ต้องรีบ ๆ ทำ


หรือบางคนก็อาจจะขอ Minister pursuant, ตามมาตตรา 351 (section 351) ก็ได้ ถ้าเราคิดว่าการที่เราอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียจะมี  economic benefit กับประเทศออสเตรเลีย 


แต่บอกได้เลยว่า successsful rate ของ Minister pursuant อยู่ที่ประมาณ 3% (ที่เรา check ล่าสุดนะ) เพราะปกติแล้ว Minister จะไม่ค่อย intervence case ของใคร นอกจากมันต้อง unique จริง ๆ เพราะทุกครั้งที่ Minister มีการ intervence เกิดขึ้น, Minister ก็ต้องไปอธิบายเหตุและผลในสภาว่าทำไมเขาถึง intervence


Minister เองก็ไม่อยากโดน scrutinized by พรรคฝ่ายค้านหรอก


Anyway... ยิ่งพูดยิ่งซับซ้อน

เราไม่อยากลงลึกมาก เรื่องกฎหมาย

เอาเป็นว่า เตรียมเอกสารให้พร้อมแล้วค่อยยื่นละกัน สำหรับวีซ่า subclass 485


ผลสอบภาษาอังกฤษสำหรับ subclass 485 คือ

IELTS (general) overal 6, each band 5 (พูด, อ่าน, เขียน, ฟัง)

หรือ PTE overall 50, each band 36 (พูด, อ่าน, เขียน, ฟัง)


Copyright: ถ้าจะแชร์ให้แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น,  ไม่อนุญาตให้ copy & paste, ไม่อนุญาตให้ screen capter

Sunday, December 18, 2022

Table-service restaurant



ร้านอาหารหรือ cafe ที่สามารถทำเรื่องสปอนเซอร์วีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์; subclass 482 หรือ subclass 186

ร้านจะต้องเป็น table-service restaurant/cafe เท่านั้น ซึ่งก็คือ:

- ลูกค้าเดินเข้ามาที่ร้าน ยืนรอที่หน้าร้าน พนักงานจะเป็นคนพาไปนั่งที่โต๊ะ

- พนักงานเดินมา take order ที่โต๊ะ ไม่ใช่เดินไปสั่งอาหารที่หน้า counter
 
- อาหารจะ cook หลังจากที่ได้รับ order แล้ว แล้วพนักงานเสิร์ฟนำมาเสิร์ฟที่โต๊ะ ร้านอาหารตาม food court ที่ทำอาหาร pre-cook ไม่สามารถทำเรื่องสปอนเซอร์ได้

- เมื่อทานอาหารเสร็จ พนักงานจะนำ bill หรือ invoice มาวางที่โต๊ะ แล้วลูกค้าเดินไปจ่ายเงินที่ counter (สมัยนี้พนักงานถือเครื่องรูดบัตรมาให้ลูกค้าจ่ายที่โต๊ะได้)

Wednesday, December 14, 2022

Massage Therapist



Massage Therapist หรือหมอนวด (ไม่นาบ)
ร้านที่เราทำ subclass 482 ก็จะประมาณนี้
เป็นร้าน chiropractice หรือร้าน physio


บริษัทเราไม่ทำร้านนวดไทยหรือร้านนวดจีน subclass 482
ส่วนบริษัทอื่นจะทำ ก็เรื่องของเขา


ร้านนวดไทยหรือร้านนวดจีน เรารับทำเฉพาะ subclass 494 นะครับ


Subclass 494: ร้านต้องอยู่เมืองรอบนอก (regional areas)


Subclass 482: ร้านอยู่ที่ไหนก็ได้


Subclass 482, เราทำให้ 4 ปี ไม่ใช่ 2 ปี


Tuesday, December 13, 2022

รัก 3 เรา; สมหญิง สมชาย และสมหมาย



"สมหญิง" กับ "สมชาย" เป็นคู่รักกันหวานชื่นดูดดื่มอุรา
สมชายเป็น PR/Citizen/Eligible New Zealander 
สมชายสามารถทำเรื่อง Partner Visa; Subclass 309/100 หรือ Subclass 820/801 ให้กับสมหญิงได้

ก่อนที่สมหญิงจะมาพบรักกับสมชาย สมหญิงเองก็เคยเป็นคู่รักกับ "สมหมาย" มาก่อน ทั้งสมหญิงและสมหมายถือวีซ่านักเรียนด้วยกันทั้งคู่

สมหญิงกับสมชายหมดรักกันแล้ว ต่างคนต่างไปมีชีวิตใหม่ แต่ก็ยังเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน ไม่ได้ทะเลาะกันอะไร

สมหญิงกับสมชายเองก็มีความรักที่หวานชื่นดี แต่สิ่งที่สมชายให้กับสมหญิงไม่ได้ก็คือลูก เอาเป็นว่าระบบสืมพันธุ์ dysfunctional ก็แล้วกัน จะได้เข้าใจกันง่าย ๆ นกเขาก็ยังขันอยู่ แต่ก็ขันแบบแห้ง ๆ 

บางทีเมืองที่เราอยู่มันก็เล็ก ๆ แคบ ๆ เดินไปไหนมาไหนก็เจอแต่คนรู้จักคนเดิม ๆ ก็อาจจะเป็นได้ที่สมหญิงกับสมหมายก็เกิดมีการ "แอบแซ่บ" กันบ้าง ทำไงได้หละน๊อ คนเรามันหน้าตาดี

"ความแซ่บ" บางทีมันก็ฉุกละหุก ป้องกันไม่กัน สมหญิงเกิดท้องขึ้นมา และก็ไม่ใช่ลูกของสมชายแน่ ๆ เพราะสมชายมี medical condition ที่ไม่สามารถมีลูกได้

แต่ก็เพราะความรักแบบไม่มีข้อแม้ สมชายรักสมหญิงหมดหัวใจ ถึงแม้สมหญิงจะ "อุ้มบุญ" มาจากที่อื่น สมชายก็ไม่หมดรักและพร้อมที่จะไปต่อ ทำเรื่อง Partner Visa ให้กับสมหญิง

รัก 3 เรา ทำยังไงถึงจะได้เข้าเส้นชัยกันทั้งหมด:

1. ตอนคลอดลูก ในใบเกิดของลูก สมหญิงต้องใส่ชื่อ สมหญิงกับสมหมายเป็น biological parents ของลูก ไม่ใช่ชื่อสมชายเป็นพ่อ

2. สมหญิงกับลูกก็ยังจะได้ PR ตามปกติ เพราะความรักของสมหญิงกับสมชายก็ยัง continue แค่ได้ของแถมจากการอุ้มบุญ

3. เมื่อลูกที่คลอดมาได้เป็น PR/Citizen ถึงแม้ลูกจะยังอายุไม่ถึง 18 ปี ลูกก็สามารถทำเรื่องให้กับคุณพ่อสมหมายได้ ด้วย Subclass 143; Contributory Parent Visa โดยที่คุณแม่ของลูกซึ่งก็คือสมหญิงสามารถเซ็นเอกสารแทนลูกได้

ซับซ้อนหรือไม่ซับซ้อนขึ้นอยู่กับการมองและแก้ปัญหาครับ
ถ้าเรามองให้มันยาก มันก็ยาก
ถ้าเรามองให้มันง่าย มันก็ง่าย

Subclass 143 เตรียมตังค์ไว้เลยครับ $43,600
และ $10,000 bond ให้กับ Centrelink

Subclass 143 เคยเขียนเอาไว้ที่ blog เยอะแล้ว ลองไล่อ่านหรือ search ดูที่ https://jpp168immi.blogspot.com/ นะครับ

ปัญหาทุกอย่างมีทางออกนะครับ
เพียงแค่เราจะหาที่ปรึกษาที่ qualify หรือเปล่าก็แค่นั้นเอง
ชอบอ่านอะไรใน "พันถีบ" หรือ facebook group ที่ไม่มีใคร qualify เลยก็ตามใจ หรือเลือกที่จะอ่านอะไรจากคนที่มี MARN อย่างถูกต้องตามกฎหมาย เลือกแบบไหนได้แบบนั้น

เราก็หวังว่า post นี้, blog นี้จะเป็นประโยชน์บ้างสำหรับใครบางคน out there

P' J เขียนเองทุกตัวอักษร

Note: P' J เขียน blog เพื่อเป็นวิทยาทาน โปรดวิจารณ์หรือ comment ด้วยความสุภาพ ไม่ล้ำเส้นใคร ให้ P' J เป็นผู้ร้ายแค่คนเดียวพอ และที่สำคัญคือไม่ bully ใครในเรื่องของ medical condition

Copyright: แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น, ไม่อนุญาตให้ copy & paste, ไม่อนุญาตให้ screen capture.

Monday, December 12, 2022

สุ่มปัดตก


อิมมิเกรชั่นประเทศออสเตรเลีย ไม่มีการ "สุ่มปัดตก" ครับ

การที่เราวีซ่าไม่ผ่าน ก็แสดงว่าคุณสมบัติเราไม่ครบ ก็แน่นั้นเอง

ไม่มีการสุ่มปัดตกแน่นอน

ถ้าวีซ่าไม่ผ่าน เราก็สามารถยื่นเรื่องได้ใหม่เลยทันทีนะครับ ไม่ต้องรอ แต่คำถามคือ "คุณสมบัติเราครบหรือเปล่า" "เอกสารเราครบหรือเปล่า"

บางทีเราก็ต้องไม่โกหกตัวเองนะครับ

หลาย ๆ คนชอบโทษคนทั้งโลก ยกเว้นโทษตัวเอง


ประเทศเปิดแล้ว หลาย ๆ คนก็อยากจะขอวีซ่ากัน

แต่เราก็ต้องศึกษาด้วยว่าวีซ่าตัวไหน เป็นอะไรยังไง ส่วนมากที่เห็นปฏิเสธกันคือวีซ่าท่องเที่ยวและวีซ่านักเรียน

ประเทศออสเตรเลียยินดีต้อนรับทุกคนครับ ถ้าคุณสมบัติในการขอวีซ่าเราครบ


Note: ไม่เกี่ยวอะไรกับ "J Migration Team" แค่ผ่านไปเห็นข้อความต่าง ๆ ใน Internet

Friday, December 9, 2022

หมดหน้าตัก


เป็นกำลังให้กับพี่ ๆ น้อง ๆ "ครอบครัว J" ทุกคนที่ก้าวออกมาจาก comfort zone ของตัวเอง


ลูกค้าเรา "ครอบครัว J" หลาย ๆ คนออกมาเปิดกิจการ
ออกมาทำธุรกิจของตัวเอง
บ้างก็ร้านอาหาร
บ้างก็ cafe
บ้างก็ร้านนวด
บ้างก็บริษัทรับทำความสะอาด
บ้างก็บริษัทรับทำสกรีนเสื้อผ้า
บ้างก็ออกมาเปิดธุรกิจอยู่เมืองรอบนอก ในเขต regional area เพื่อที่จะทำวีซ่า subclass 491

หลาย ๆ บริษัท หลาย ๆ ธุรกิจ เราได้ช่วยตั้งชื่อร้าน และเราก็เลือกใช้บริการและอุดหนุนคนใน "ครอบรัว J" ของเรา

เรือล่มในหนอง เงินทองจะไปไหน

หลาย ๆ คนเราช่วยดัน ช่วย promote ในสื่อส่วนตัวและ page ส่วนตัวจนคนคิดว่าเราเป็นหุ้นส่วนก็มี

เปล่าจ๊ะ เราทำให้ด้วยใจ ทำให้กันฟรี ๆ ส่วนที่เราไม่ได้ออกมาบอกว่าเราไม่ใช่หุ้นส่วนนะ นั่น นี่ โน่น คือมันไม่จำเป็นที่จะต้องบอกใคร และก็ "It's none of your business" ก็ปล่อยให้มันเป็นปริศนาต่อไป :)

ผู้รู้ก็รู้ได้เฉพาะตน

ก็แค่อยากจะบอกว่า เราเป็นกำลังใจให้กับทุกคนนะครับ
ช่วงแรก ๆ จะยากเสมอ
เราเคยผ่านจุดนั้นมาก่อน
ตัวเราเองเคยต้องใช้บัตรเครดิตรูดจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟของธุรกิจมาก่อน หมุนเงินไม่ทัน เราผ่านตรงจุดนั้นมาแล้วครับ บันเทิงมากช่วงนั้น ในวัยละอ่อน

ตัวเราเองก็ผันตัวจากหนุ่มน้อยเด็ก IT; Java Programmer มาเป็นเจ้าของธุรกิจ บอกได้เลยว่าคุ้มมาก

เราเป็นพนักงาน ต่อให้เงินเดือนเยอะแค่ไหน มันก็มีเพดานของมันครับ
สำหรับเราแล้ว "Job" = Just Over Broke

การทำธุรกิจ การเป็นผู้ประกอบการ รายได้มันไม่มีเพดาน แต่ก็จะยากหน่อยในช่วงแรก ๆ 
ดังนั้นอย่าท้อ
"ท้อ" มีไว้ให้ลิงถือ

การทำธุรกิจของตัวเอง
ไม่เจ๊ง ก็กำไร หรือไม่ก็อยู่ตัว
แต่ต่อให้เรา fail
เราก็ faill forward
Pick yourself up แล้วเดินต่อ
ล้มเหรอ ไม่มีปัญหาครับ
ปัดเข่า เลียแผลแล้วเดินต่อ

เหนื่อยได้
ท้อได้
พักได้
แต่อย่าหยุด

เราขอเป็นกำลังใจให้กับ "ครอบครัว J" ทุกคนที่ย่างก้าวออกมาจาก comform zone ของตัวเอง

ไม่ว่าจะเกิดอะไรขึ้น
ทุกอย่าง "ดี" เสมอ

ล้ม ลุก เรียนรู้ กันนะครับทุกคน :)

เมื่อเราเทหมดหน้าตัก
ทำงานด้วยความสุจริต
ไม่โกหก
ทุกอย่างต้องออกมาดี

หัดเดิน ก่อนที่จะวิ่ง

ถ้าเรายังไม่พร้อมที่จะออกมาทำอะไรเป็นของตัวเอง ก็ไม่เป็นไร เก็บหอมรอมริบของเราก่อน เวลามันจะมาของมันเอง (แต่ก็อย่าช้ามากหละ)

ตัวเราเองกว่าจะถึงจุดนี้ได้ ก็รูดบัตรเครดิต หมุนเงินเป็นว่าเล่นเหมือนกัน แต่เมื่อถึงที่หมาย วิวด้านบนมันสวยงามเสมอ

อยู่ข้างบนแล้วหนาว
ก็ยังดีกว่าอยู่ข้างล่างแล้วเร่าร้อน

หาตัวเองให้เจอ
ปักธง แล้วไปให้ถึงเป้าหมาย ช้าบ้าง เร็วบ้าง ไม่เป็นไร 
แต่ก็ดีกว่าย่ำอยู่กับที่แน่นอน

ทำอะไรเดิม ๆ 
ผลลัพธ์ก็จะเดิม ๆ นะครับ

ไม่ต้องกลัวที่จะต้องออกมาจาก comfort-zone

ส่วนใครที่อยู่ใน "inner-circle" ของ P' J
ให้จำไว้เสมอ
You are not alone.
I'm here to help.
I am just 1 click away (or WhatsApp)

...รัก...

Copyright: ถ้าจะแชร์ แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น,  ไม่ copy & paste, ไม่ screen capture

Tuesday, December 6, 2022

เพื่อนที่ไม่ค่อยดี; Fiji

ณ กาลครั้งหนึ่ง P' J ทำงานในองค์กรของรัฐบาลที่นี่ ทำ full-time ด้วย ตอนนั้นเพิ่งเริ่มทำ "J Migration Team" เพิ่งเริ่มเตาะแตะ ทำคนเดียว ไม่มีทีมงาน เอาง่าย ๆ ก็คือทำเป็น sideline job

P' J เคยรับราชการที่นี่มาก่อนจ๊ะ
ตอนนี้ก็ยังรักษาตำแหน่งอยู่ (กว่าจะเรียนจบ กว่าจะได้ตำแหน่งมาก) เหลืออีก 2 ปีก่อนที่เค๊าจะปลด P' J ออกจากระบบ

สถานที่ทำงานแห่งนั้น ก็เต็มไปด้วยเพื่อนร่วมงานฝรั่งหรือไม่ก็พวก ABC (Australian Born Chinese) 

สถานที่ทำงานในองค์กรรัฐบาลค่อนข้างแตกต่างจากสถานที่ทำงานในบริษัทเอกชน เพื่อนร่วมงาน 99.99% ค่อนข้างจะ family oriented, เลิกงาน-กลับบ้าน และทุกคนมีชีวิตส่วนตัวของใครมัน 

Carpark ที่ที่ทำงานะโล่งภายใน 5 นาทีหลังจากที่เลิกงาน

กับองค์กรแบบนี้ มิตรแท้นั้นหายาก หรือแทบจะไม่มี เพราะทุกคนมีโลกส่วนตัวนอกเหนือจากสถานที่การทำงาน บางคนทำงานด้วยกันมา 20 ปี เพื่อนร่วมงานยังไม่เคยเจอหน้าสามีหรือภรรยาของเพื่อนที่ทำงานเลยก็มี

ประสบการณ์ชีวิตทำงานในองค์กรต่าง ๆ ถ้าจะเล่านะ
เล่าทั้งวันก็ไม่หมด

ในองค์กรใหญ่ ๆ แบบนี้ ความเย็นชาและชาเย็นต่อเพื่อนร่วมงานมันมีอยู่แล้วหละ กับเปลือกนอกที่ดู friendly ตามสไตล์ฝรั่งที่นี่ที่ต้อง say hi, hello ตามมารยาท แต่บอกได้เลยว่า "It means nothing"

ในความชาเย็นและเย็นชา เราก็ยังพอหามิตรแท้อยู่บ้าง
เรามีเพื่อนร่วมงานจาก department หนึ่ง คืองงมากทำเราทำงานกันละ department แต่ก็ดันไปสนิทกันอีท่าไหนไม่รู้ อาจเป็นเพราะตอนนั้นเราเด็กมาก ทำงานเงอะ ๆ งะ ๆ ทำอะไรไม่ค่อยเป็น ครั้นจะขอความช่วยเหลือจากเพื่อนร่วมงานใน department เดียวกัน โอ๊ยยยยยย หัวจะปวด มีแต่คนแก่ ๆ พูดกันคนละภาษา คนละ generation ดูเหมือนหลาย ๆ คนก็เช้าชามเย็นชามรอเกษียณ เจอมาหมดแล้วจ๊ะ ชีวิตการทำงานในองค์กรที่นี่ 

ในองค์กรรัฐบาล การเลื่อนขั้นหรือเลื่อนตำแหน่งค่อนข้างยาก เพราะตำแหน่งมีจำกัด ดังนั้นการแทงข้างหลังกัน การเลื่อยขาโต๊ะ มันมีให้เห็นทุกวันครับ เรื่องปกติมาก

ในความเวอร์วังขององค์กรใหญ่แบบนี้
เราก็ได้มิตรแท้มา 1 คน (แค่ 1 คนจริง ๆ ขุ่นพระ)
เราน่าจะเป็น JP (Justice of the Peace) คนเดียวในองค์กรนี้ เราก็เลยได้มีโอกาสเซ็นเอกสารทางราชการ และพวก legal documents อะไรหลาย ๆ อย่างให้กับเพื่อนร่วมงาน และก็เซ็นให้กับเพื่อนร่วมงานคนนี้ด้วย เราก็เลยมีเรื่องราว confidential หลายอย่างที่เราคุยกัน ความสนิทมันก็ค่อย ๆ เริ่มขึ้น

OK แหละ เรามารับตำแหน่งชั่วคราวที่นี่แค่ 1 ปี ก่อนที่จะย้ายไปรับตำแหน่งและบรรจุเป็นข้าราชการถาวร (permanent full-time) ที่อื่น เราก็ยังทำงานที่กระทรวงเดิม แค่เปลี่ยนสถานที่ทำงานแค่นั้นเอง

เพื่อนที่ทำงานเก่าคนนี้เป็นชาว Fiji 
เขาก็เป็น Austraian citizen แหละ ขอวีซ่าด้วย Skilled Independent Visa
เพื่อนเราเป็นลูกชายคนเดียว อยากจะทำเรื่องสปอนเซอร์ให้กับคุณแม่ แต่ก็ไม่รู้ว่าจะทำยังไง เพราะสมันก่อนโน้น เพื่อนก็ไม่ได้มีความรู้ว่าจะต้องทำอะไร ยังไง เพราะคุณแม่อายุก็เลยการขอ Skilled Independnt Visa ไปแล้ว

เราเรียกคุณแม่ของเพื่อนว่า mom เพราะเราค่อนข้างสนิทกัน

mom ไม่ qualify ที่จะขอ Skilled Independent Visa เพราะ mom อายุเยอะแล้ว ถึงแม้ mom จะเป็นพยาบาล Registered Nurse ก็เถอะ

เราก็ไม่รู้เหมือนกันว่าทำไมเพื่อนเราไม่ทำ Parent Visa ให้ mom ไปเลยเพราะเพื่อนเราคือลูกชายคนเดียวของ mom ตอนนั้นอาจจะยังไม่พร้อมเรื่องการเงิน หรืออาจจะยังไม่มีที่ปรึกษาทางด้านวีซ่าที่ถูกต้องก็ได้ อันนี้เราก็ไม่กล้าระราบระล้วง

mom ก็เลยทำเรื่องจาก Fiji แล้ว migrates ไปที่ New Zealand พอ mom ได้ New Zealand citizenship, mom ก็ย้ายมาอยู่ที่ Autralia กับลูกชาย

ถ้าไปทางตรงไม่ได้ ก็ไปทางอ้อมนะครับทุกค๊นนนนนนนน

Mom สามารถใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียได้ ตราบจนชีวิตจะหาไม่ เพรา mom ถือ New Zealand passport แต่มันก็มีข้อจำกัดอะไรหลาย ๆ อย่าง หลายปีผ่านไป เมื่อเพื่อนเราการเงินพร้อม และอะไรหลาย ๆ อย่าง เพื่อนเราบอกว่าอยากจะขอ PR ให้ mom, Aged Parent Visa (contributory) และก็อยากจะขอ Australian citizenship ให้ mom ด้วย

ด้วยความที่เราก็เพื่อนที่ไม่ค่อยดีนัก
นี่แหละความสนิทสนม บางทีมันก็ "อะไร ยังไง ก็ได้"

เพื่อน WhatsApp ช่วงปีใหม่มาคุยเรื่องของคุณแม่ เราก็แค่บอกไปว่า "ได้ ๆ เดี๋ยวค่อยว่ากัน" (I hate myself sometime)

Sunday, December 4, 2022

ชีวิตออสเตรเลีย: ปิดเทอม เด็ก ๆ หางานพิเศษกัน



เมื่อวาน; Sat 03 Dec 2022, P' J นั่งอ่านหนังสือเงียบ ๆ อยู่ที่ cafe แห่งหนึ่ง

ช่วงนี้ที่ NSW ยังไม่ปิดเทอม แต่ทุก ๆ โรงเรียนก็สอบเสร็จกันหมดแล้ว 2-3 อาทิตย์ที่เหลือที่แค่เป็นกิจกรรมปลายปี หรือกิจกรรมปลายภาค ไม่ค่อยมีอะไรซีเรียสมาก

เมื่อวาน ในขณะที่ P' J นั่งอ่านหนังสือเงียบ ๆ อยู่ที่ cafe
ภาพที่ P' J เห็นคือเด็กน้อย (น่าจะ high school) เดินถือ resume เดินมากับคุณพ่อ แล้วเดินเข้าร้านค้าและ cafe ในระแวกนั้น เพื่อ drop resume เอาไว้

มันเป็นภาพที่สวยงาม
มันเป็นวัฒนธรรมของที่นี่ ที่เด็ก ๆ หางาน part-time กัน โดยเฉพาะช่วงปิดเทอม โดยเฉพาะช่วง Christmas เพราะร้านค้าต่าง ๆ ต้องการพนักงานชั่วคราวในช่วงที่ retail industry ค่อนข้าง busy ช่วงนี้

ซึ่งเราคิดว่าภาพเหล่านี้คงหาดูได้ไม่ง่ายนักในเมืองไทย (เดาเอา)

และที่ทำให้หัวใจพองฟูไปกว่านั้นก็คือ หนูน้อยมากับคุณพ่อด้วย มันเป็นภาพที่น่ารัก เป็นภาพที่สวยงามที่คุณพ่อมาเดินกับหนูน้อย เข้าร้านนั้นออกร้านนี้เพื่อ drop resume ให้กับร้าน retail ต่าง ๆ 

มีเรื่องหัวใจพองโต ก็แค่อยากมาบอกเล่าเก่าสิบ
ก็แค่นั้นเอง

ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศที่สวยงามครับ
เปิดกว้าง เปิดรับสำหรับทุก ๆ คนที่คุณสมบัติครบ
ศึกษารู้เท่าทัน
เคารพกฎระเบียบของประเทศที่เราอยู่นะครับ ไม่ซิกแซกมาก ไม่แหกกฎมาก มันทำให้สังคมนี้น่าอยู่ 

Sunday, November 27, 2022

Tutor สอนภาษาอังกฤษ

นักเรียนที่เตรียมตัวดี ๆ เรียนภาษาอังกฤษมาก่อน ก่อนที่จะเดินทางมาที่ประเทศออสเตรเลียเป็นสิ่งที่ดีครับ (วีซ่านักเรียน)

Tutor สอนภาษาอังกฤษออนไลน์เกิดขึ้นมากมาย

ทั้งที่มีจรรญาบรรณและไม่มี

การที่ Tutor ทำ content เรียกแขกว่าลูกศิษย์ตัวเองมาทำงานที่ประเทศออสเตรเลียแล้วได้เงินเท่านั้นเท่านี้นั้นเป็นสิ่งที่ดีครับ

แต่ Tutor เองก็ต้องเจาะลึกลงไปด้วยนะครับว่า ลูกศิษย์ของตัวเองที่เอามาทำ content นั้นได้ทำอะไรผิดกฎหาย ผิดกฎระเบียบอะไรของประเทศออสเตรเลียหรือเปล่า

ไม่ใช่เอาแค่ตัวเลขรายได้ของลูกศิษย์ตัวเองมาเป็น content เรียกแขก


ผู้ไม่รู้ย่อมไม่ผิด

แต่ถ้าไม่รู้บ่อย ๆ เราเรียกว่า "ตั้งใจ"


การทำมาหากิน ทำมาหาเลี้ยงชีพด้วยอาชีพสุจริตเป็นสิ่งที่ดีและน่ายกย่องครับ ชีวิตทุกคนมันก็ต้องสู้กันหมดแหละ ปากก็ต้องกัด ตีนก็ต้องถีบ

แต่ทำงาน ก็ต้องเสียภาษีด้วยนะครับ

การมาใช้ชีวิตที่ประเทศออสเตรเลีย ระบบสาธารณูปโภค และ infrastructure ต่าง ๆ มาจากเงินภาษีของคนทำงาน


ที่ประเทศออสเตรเลียไม่มีปัญหาเรื่อง PM2.5 เพราะเรามีระบบการจัดการที่ดี ระบบการจัดการทุกอย่างมาจากเงินภาษีหมดแหละ มันไม่ได้เกิดขึ้นเองโดยอัตโนมัติ


ถ้าหากทำงานแล้วไม่จ่ายภาษี มันก็ไม่แฟร์กับคนที่เขาทำงานแล้วจ่ายภาษีกันหรือเปล่า


ทุกประเทศมีกฎระเบียบของมัน

อยู่ประเทศไหนเราก็ต้องเคารพกฎและระเบียบของประเทศนั้น

ยิ่งคนทำ content ด้วยแล้วยิ่งต้องศึกษาและเจาะลึกลงข้อมูล

ไม่ใช่แค่เน้นแต่จะขายคอร์สเรียนของตัวเอง


ฝากเอาไว้ให้คิด

คิดซิ... คิดซิ... cappuccino

หรือปาท่องโก๋ปากซอยบ้าน


Note: เราไม่ได้เอ่ยชื่อ page ของ Tutor คนไหน น้อง ๆ คนที่รู้ก็ไม่ต้องพาดพิงถึง page อื่นนะครับ ไปหลังไมค์กันเอาเอง ปล่อยให้ legal team ของ P' J ได้พักช่วง Xmas & New Year บ้าง :)


Note2: ก่อนที่จะโพสต์อะไรออกไป P' J คิดทบทวนแล้วเสมอ ไม่ต้องห่วงจ๊ะว่าจะเกิดอะไรขึ้น ทางนี้พร้อมตั้งรับ


Copyright: แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น, ไม่ copy & paste,  ไม่ screen capture

Saturday, November 26, 2022

บักหำน้อยร้อยอาชีพ

โยกย้าย; พลังแห่งความรักของคุณพ่อคุณแม่


ก็แค่อยากจะบอกเล่าเก้าสิบ

ใครที่เป็นคุณพ่อคุณแม่ เหตุการณ์นี้อาจจะบีบใจบ้างเล็กน้อย แต่ at the end มันทำให้เราเห็นว่า ความเป็นพ่อเป็นแม่ มันชนะทุกสิ่งอย่างจริง ๆ เราขอเป็นกำลังใจให้และจะก้าวเดินไปกับครอบครัวนี้ด้วยกัน

- เหตุการณ์นี้เป็น 1 เหตุการณ์ที่ครอบครัวลูกค้าเราเจอ


- 1 เหตุการณ์ไม่ได้เป็นการเหมารวมว่าประเทศไหนเป็นอะไร ยังไง เวลาอ่าน โปรดเปิดใจ เปิดกว้าง "คิด วิเคราะห์ และแยกแยะ" ก่อนที่จะแสดงออกความคิดเห็นอะไร


- บางที "รู้ เพื่อรู้" ก็เป็นทางออกที่ดีที่สุด ไม่ต้องแสดงออกความคิดเห็น ไม่ต้อง comment อะไร


- บางคนบอกว่า ทำไม content บาง content ดูขัด ๆ กับชื่อ page... hmmm.... ก็แค่อยากจะเสนออะไรในอีกหลาย ๆ ด้านก็แค่นั้นเอง เหรียญมี 3 ด้าน โปรดวิเคราะห์และแยกแยะ แต่สุดท้ายและท้ายที่สุดก็คือ "P' J สะดวกแบบนี้"


- ปัญญาชนไม่ไล่ใครออกจากที่ไหน ใครใคร่อยู่อยู่ ใครใคร่ไป มันเป็นสิทธิ์ของทุก ๆ คนที่เลือกที่จะอยู่หรือเลือกที่จะไป โลกนี้กว้างใหญ่นัก เราทุกคนล้วนแล้วแต่เป็น "Global Citizen" อยู่ที่ไหนก็ได้ ทำงานที่ไหนก็ได้ ไม่ต้องยึดติดว่าต้องประเทศอะไรหรือที่ไหน ทุก ๆ ที่เหมาะกับทุก ๆ คนเสมอ หากคิดว่าที่ ๆ เราอยู่ทุกวันนี้ไม่มีความสุข เราก็ย้าย ก็แค่นั้นเอง ส่วนคุณสมบัติในการโยกย้ายของเราจะครบหรือเปล่านั้น มันเป็นอะไรที่ต้องศึกษาหาความรู้กัน เราเคยเรื่องนี้ไปเยอะและบ่อยมากแล้ว


- หลาย ๆ ประเทศห่างไกล ไม่ใช่เชียงใหม่-กรุงเทพที่ซื้อตั๋วแล้วบินได้เลย โปรดศึกษาและหาข้อมูลก่อนเสมอ


ถ้าพร้อมก็อ่านกันได้เลยครับ
นี่แค่ 1 เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับน้องลูกค้าของเรา ไม่ได้เป็นการเหมารวม โปรดวิเคราะห์และแยกแยะ ก่อนเอามาแชร์เราได้ขออนุญาตน้องแล้ว :)
.
.
.


ผมจะเล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงเดือน เมษายน ปี 2017 แต่ไม่สามารถจำวันที่แน่นอนได้ เนื่องจากเกิดเรื่องมาเป็นเวลา 5 ปีกว่าแล้ว ในวันเกิดเรื่องช่วงบ่ายหลังจากผมและภรรยาพักเที่ยงจากการทำงาน ได้กลับมาที่บ้านพักและหลังจากนั้น ลูกชายทั้ง 2 คน คนโตอายุ 11 ปี และ คนเล็กอายุ 6 ปี ในขณะนั้น ได้ขอออกไปเล่นสกู๊ตเตอร์ที่พาร์คใกล้บ้าน ผมกับภรรยาก็อนุญาตให้ไปเล่น เพราะตอนนั้นเป็นเวลาพักของผมและภรรยา หลังจากนั้นผ่านไปเป็นเวลาประมาณ 2 ชั่วโมงครึ่ง ซึ่งผมและภรรยาจะต้องเตรียมตัวกลับไปทำงาน จึงได้ออกมายืนรอลูก ๆ อยู่ที่หน้าบ้าน จนเวลาผ่านไปอีกราว 20 นาที จึงรู้สึกร้อนใจเลยตกลงกันว่า เดินออกไปตามลูก ๆ กลับบ้านดีกว่า จึงเดินออกมาได้สักพักก็เห็นลูกชายคนเล็ก ขี่สกู๊ตเตอร์กลับมาและบอกว่าลูกชายคนโตถูกแกล้ง ผมกับภรรยาเลยเดินตามไปดู ก็เห็นมีวัยรุ่นทั้งผู้ชายและผู้หญิง อยู่รวมกันราว 10 คน คุยกันอย่างสนุกหัวเราะเฮฮา และบนโต๊ะพวกเค้าได้เอาสกู๊ตเตอร์ของลูกผมตั้งไว้บนโต๊ะ ถัดจากวัยรุ่นไปประมาณ 10 เมตร ผมเห็นลูกชายผมยืนร้องไห้อยู่ จึงได้เดินเข้าไปถามว่าเกิดอะไรขึ้น ลูกชายได้บอกว่าเค้ายืมสกู๊ตเตอร์หนูไปแต่ไม่ยอมคืน ผมจึงถามลูกว่าแล้วทำไมหนูไม่กลับบ้าน ลูกได้พูดว่าถ้ากลับก็กลัวเค้าจะเอาสกู๊ตเตอร์ไปเลย เลยต้องยืนเฝ้า ซึ่งตอนนั้นผมยอมรับว่าผมเกิดการโมโห เพราะผมและครอบครัวมาทำงานเพื่อส่งลูกเรียนเพื่ออนาคตลูก และครอบครัวผมก็จ่ายภาษีถูกต้องตลอดการใช้ชีวิตที่ออสเตรเลีย ทำให้ผมรู้สึกว่าไม่แฟร์ที่มาแกล้งคนต่างชาติอย่างครอบครัวผม และถ้าคนที่มีลูกและเจอเรื่องราวแบบผมก็คงจะทนไม่ไหวเหมือนกัน ที่มาแกล้งลูกเราและเค้าก็ยังเด็ก ผมและภรรยาจึงเดินไปเอาสกู๊ตเตอร์คืนและได้มีการต่อว่ากัน ซึ่งวัยรุ่นพวกนั้นก็ได้เหยียดหยามครอบครัวผม ทั้งวัยรุ่นผู้หญิงและผู้ชาย ได้ด่าว่าเป็นเอเชีย เป็นต่างชาติ กลับบ้านเกิดไปเลย ผมจึงได้มีการต่อว่ากันและเริ่มลงมือต่อสู้กัน ซึ่งทางผมสู้ไม่ได้เพราะทางเค้าได้รุมทำร้ายผม และเอาจักรยานเขวี้ยงใส่ผมจนแขนผมมีแผล และเลือดออก ผมจึงได้ไปเอาไม้มาสู้กลับพวกเค้า จนภรรยาผมและเพื่อนร่วมงานมาห้ามให้หยุดและแยกย้ายกัน แต่ทางพวกวัยรุ่นได้พาพ่อเค้ามาถือไม้จะมาตีผมที่บ้าน เพื่อนร่วมงานในขณะนั้นที่เป็นคนออสเตรเลีย จึงได้มาคุยกับทางพ่อเค้าว่าลูกคุณได้มาแกล้งลูกของเพื่อนร่วมงานฉัน และได้มีการเอาสกู๊ตเตอร์ของลูกเค้าไป ทำให้ทางพ่อเค้าจึงยอมกลับ


และหลังจากนั้นผมกับภรรยาก็ได้มีการปรึกษาเจ้าของร้านซึ่งเป็นเจ้านายในขณะนั้น ว่าเราต้องการแจ้งความ แต่ทางเจ้าของร้านซึ่งเป็นคนออสเตรเลีย ก็ได้พูดกับทางครอบครัวผมว่า อย่าไปแจ้ง เพราะผมเป็นต่างชาติไม่อยากให้มีปัญหากับคนพื้นที่ ซึ่งสำหรับผมมันไม่แฟร์ เพราะก่อนหน้าที่จะมีเรื่องนี้ผมเคยโดนวัยรุ่น 2 คน มาดักรอผมตอนไปรับลูกกลับจากโรงเรียน มารอด่าผม เหยียดเชื้อชาติผมและลูกผม ต่อหน้าเด็กนักเรียนคนอื่น และผู้ปกครองคนอื่น ซึ่งผมและครอบครัวรู้สึกไม่ดีเป็นอย่างมาก เหมือนครอบครัวผมเป็นตัวประหลาด แต่ครั้งนั้นผมไปแจ้งความกับทางตำรวจ เพราะพอเกิดเรื่องผมได้เดินทางไปแจ้งความเลยไม่ได้ปรึกษาเจ้าของร้านที่ทำงานอยู่ แต่ครั้งนี้ลูกผมโดนแกล้ง โดนขโมยสกู๊ตเตอร์ แต่กับไม่ให้ทางผมไปแจ้งความ


หลังจากนั้น 1 เดือนผมและครอบครัวจึงได้ตัดสินใจกลับไทยถาวร เพราะว่าครอบครัวผม ไม่อยากทนการกดดันอีก เพราะหลังจากเกิดเรื่อง จะมีวัยรุ่นมาวนเวียนที่บ้านและที่ทำงาน เวลาไปส่งลูกที่โรงเรียน ก็จะมีวัยรุ่นมองและหัวเราะเยาะเย้ยครอบครัวผมตลอด ทางครอบครัวผมจึงได้ตัดสินใจว่าเรากลับบ้านเราดีกว่า ซึ่งตอนนั้นทางผมไม่ทราบว่ามีการแจ้งความจนเป็นคดี และไม่มีเหตุผลที่จะหลบหนีหรือว่าจะไม่ไปฟังตามที่ตำรวจ หรือ ศาลเรียกมา เพราะหลังจากนั้น 2 ปีผมและครอบครัวยังยื่นของวีซ่ากลับมา และก็ได้วีซ่ามาปกติ 

ผมและครอบครัว เป็นครอบครัวที่มาทำงานและจ่ายภาษีอย่างถูกต้อง เพื่อหวังว่าจะได้ให้ลูกมีการศึกษาและมีอนาคตที่ดีในประเทศออสเตรเลีย เราไม่เคยคิดจะหาเรื่องใคร หรืออยากมีปัญหากับใคร 

ผมก็เลือกเดินทางมาเรียนต่อที่ประเทศออสเตรเลีย เพราะอยากได้ความรู้และอนาคตที่ดี ซึ่งผมก็เรียนจบการโรงแรมที่ออสเตรเลีย ผมมีใบเซอร์ทุกใบและจบทุกใบที่มาศึกษาที่ประเทศออสเตรเลีย ตอนนี้ผมมีครอบครัว มีภรรยา มีลูก ผมเพียงแค่ต้องการสิ่งดีๆและอยาคตที่ดีต่อลูกและครอบครัวผมแค่นั้นเองครับ
.
.
.


- บุคคลที่มี MARN ตามกฎหมายเท่านั้นถึงจะสามารถให้ความรู้เกี่ยวกับกฎหมายอิมมิเกรชั่นของประเทศออสเตรเลียได้


- YouTubers ที่อยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย หลาย ๆ คนไม่มี MARN แล้วออกมาพูดเรื่องกฎหมายอิมมิเกรชั่นแบบมั่ว ๆ เดี๋ยวกระบวนการเก็บกวาดที่คงจะเริ่มขึ้นเร็ว ๆ นี้ (แชร์ประสบการณ์การขอวีซ่าของตัวเองได้ แต่พูดถึงกฎหมายอิมมิเกรชั่นนอกเหนือจากนั้น เดี๋ยว MARA; Migration Agents Registration Authority จะมาเคาะประตูหน้าบ้านเร็ว ๆ นี้)

ที่เขียนมาทั้งหมดก็แค่อยากจะบอกว่า "พลังแห่งความรักของคุณพ่อคุณแม่นั้นทรงพลังนัก"

กราบขอบคุณที่เลือกใช้บริการของเรา
กราบขอบคุณที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ "ครอบครัว J" เราจะเดินเคียงข้างกันไปครับ จนถึงเส้นชัย

Copyright: ถ้าจะแชร์ให้แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น, ไม่อนุญาตให้ copy & paste, ไม่อนุญาตให้ scree capture

Thursday, November 24, 2022

Subclass 482; อายุ 45+


post นี้สำหรับคนที่อายุ 45 ปีขึ้นไปเท่านั้น


Subclass 482; Temporary Skill Shortage Visa คือวีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์

สำหรับสาขาอาชีพที่อยู่ใน long-term list เราก็สามารถขอและต่อวีซ่าได้ทุก ๆ 4 ปี ตราบจนชีวิตจะหาไม่ แต่จะไม่ได้ PR (แต่อาจจะเจอแฟนหรือคนรักแล้วยื่นวีซ่าตัวอื่นได้)

สำหรับสาขาอาชีพที่อยู่ใน short-term list ก็สามารถขอวีซ่าภายในประเทศได้ 2 ครั้ง ครั้งละ 4 ปี
4 x 2
= 8 ปี
แต่หลังจากนั้นก็สามารถขอได้ทุก ๆ 4 ปี ตราบจนชีวิตจะหาไม่ แต่ต้องขอจากนอกประเทศ (offsore) เท่านั้น ก็ไม่แน่ ในช่วงที่ถือวีซ่าทำงาน เราอาจจะเจอแฟนหรือคนรักก็ได้ เปิด Tinder ไว้รัว ๆ เลยจ๊ะ

อันนี้คือ standard subclass 482
ไม่รวมถึง DAMA; Designated Area Migration Agreements

กร้อมแกร้ม

Copyright: แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น, ไม่ copy & paste, ไม่ screen capture

Thursday, November 17, 2022

Subclass 408; COVID Visa

ช่วงนี้วีซ่า subclass 408; COVID Visa Stream ก็ออกกันรัว ๆ

สิ่งควรรู้เกี่ยวกับ Covid Visa Stream, Subclass 408 คือ:

- สามารถยื่นก่อนวีซ่าหมด 90 วันเท่านั้น ไม่ใช่นึกอยากจะยื่นเมื่อไหร่ก็ยื่นได้เลย เพียงเพราะไม่อยากจ่ายค่าเทอมแล้ว

- กฎปัจจุบันคือ คนสมัครต้องมีนายจ้างสปอนเซอร์เท่านั้น

- condition, เราต้องทำงานให้กับนายจ้างที่ทำเรื่องให้กับเราเท่านั้น ไม่สามารถรับ 2nd job, 3rd job ที่อื่นได้ รวมไปถึงขับ Uber และอื่น ๆ อีกมากมาย

- แต่ถ้าต้องการทำผิด condition ด้านบน, ก็เงียบ ๆ เอาไว้... shhhhh.... ไม่ต้องบอกใคร อิมมิเกรชั่นไม่ได้มีเวลามากพอมาเดินตาม check ทุกคน วีซ่าตัวนี้ทางอิมมิเกรชั่นค่อนข้าง relax

- ประกันสุขภาพต้อง update, เพราะถ้าต้องป่วยเข้าโรงพยาบาลขึ้นมา บอกได้เลยว่าแพงมากถึงมากที่สุด ซื้อประกันสุขภาพเถอะเพื่อความสบายใจ
หวังว่าโพสต์นี้จะตอบคำถามของใครหลาย ๆ คนที่ email เข้ามาเยอะมาก

Wednesday, November 16, 2022

ค่าแรง $52,474 ต่อปี


รายได้ $52,474 ต่อปี

ถือว่าไม่เยอะเลยครับ สำหรับประเทศออสเตรเลีย
สำหรับค่าครองชีพที่ประเทศออสเตรเลีย
เพราะมันคือค่าแรงก่อนหักภาษี

Fact check ก่อนเสมอ

$52,474 ต่อปี
ตก $1,009/week
หักภาษี เหลือ $844/week

$844/week

บวกลบคูณหารให้ดี ๆ ก็แล้วกัน ว่าพอจะมีเงินเก็บอะไรได้บ้างหรือเปล่า
ลองหาเช่าบ้านแบบที่อยู่กันอย่างถูกกฎหมายดูนะครับ จะรู้ว่าจริง ๆ ค่าเช่าที่นี่เป็นยังไง

ที่แชร์ ๆ บ้านกันอยู่แบบซอย ๆ ห้องแบบผิดกฎหมายไม่นับ
พวกที่เอาผ้ามากั้นห้องรับแขกแล้วให้คนเช่า
เป็น illegal sub-lease อันนั้นคือผิดกฎหมายครับ!!!

อย่าลืมว่าชีวิตคนเรานั้นมี "ค่า"
"ค่า" กิน
"ค่า" อยู่
"ค่า" เทอม
"ค่า" เช่าบ้าน
...etc...etc..

อ่านอะไรตาม facebook group ต่าง ๆ
อย่าลืม fact check
ก่อนที่จะอวยอะไรไส้แตกไส้แตน
คิด
วิเคราะห์
แยกแยะ

Note: เราเขียนในพื้นที่ของเรา ไม่ชอบให้เลื่อนผ่าน

Massage Therapist (หมอนวด) หากเราทำอะไรให้มันถูกต้อง



Massage Therapist (หมอนวด) หากเราทำอะไรให้มันถูกต้อง ทุกอย่างก็ง่าย

ทำงานจ่ายภาษี

ได้รับเงิน superannuation 10.50% จากนายจ้าง (ตัวอย่างเมื่อปีที่แล้วก็เลยเป็น 10%)

มี sick leave

มี holiday pay

อันนี้คือตัวอย่าง contract of employment ที่เราทำให้ลูกค้า subclass 482, subclass 186, subclass 187 และ subclass 494 ครับ

ทำให้อะไรให้มันถูกต้อง แล้วชีวิตเราจะง่าย

Note: เราไม่ทำ subclass 407 นานแล้ว (Training Visa คือวีซ่าฝึกงาน ไม่ใช่วีซ่าทำงาน โปรดแยกกกันให้ออก)

Note2: Massage Therapist ของ subclass 482 หรือ subclass 186 เราทำเฉพาะร้าน Physio หรือ Chiropractic เท่านั้น, ต้องกราบขอโทษจากใจจริง แต่ subclass 494 หรือ subclass 187 ร้านนวดแบบไหนก็ทำได้ 

Sunday, November 13, 2022

Subclass 186; Direct Entry, PR เห็น ๆ



Subclass 186; Direct Entry: 

- Skill Assessment
- IELTS (general) 6 each band, หรือ PTE 50 each band
- อายุไม่ถึง 45
- ประสบการณ์  3 ปี full-time, หรือ 6 ปี part-time, หรือเอาประสบการณ์มารวม ๆ กันได้
-  ประสบการณ์จากเมื่อไหร่ก็ได้ ที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องหลังจากเรียนจบ ไม่จำเป็นต้องเป็นนายจ้างที่กำลังจะทำเรื่องสปอนเซอร์เรา

Subclass 186; ENS คือวีซ่า PR ที่มีนายจ้างสปอนเซอร์

Friday, November 11, 2022

Self Sponsored

Director เจ้าของบริษัท ต้องการสปอนเซอร์ตัวเอง Subclass 482

เราบอกว่า "ทำได้นะ แต่ทำยากมากถึงมากที่สุด"
ลูกค้าบอก พร้อมสู้ พร้อมลุย พร้อมเสี่ยง
เพื่อลูกตัวเล็กที่เพิ่งเกิดที่นี่

ถ้าลูกค้าพร้อมสู้ พร้อมลุย พร้อมเสี่ยง
เราก็พร้อมครับ

นั่งเขียน "Genuine position needs" อย่างระมัดระวัง
เขียนเองทุกตัวอักษร

ความเป็นพ่อ ความเป็นแม่
มันชนะเหลือทุกสิ่งอย่างจริง ๆ

กราบขอบคุณที่เลือกใช้บริการของเรา
จะทำให้ดีที่สุดครับ 🙂

Tuesday, November 8, 2022

อาชีพบริการ ผยองกับลูกค้า

"น้องเทพ" หรือคิดว่าตัวเองเป็นเทพ เป็นผู้ชายขายบริการ ขายบริการทางเพศนี่แหละ ที่ NSW มันถูกกฎหมาย 

ทำงานซาบซ่านแล้วได้เงินด้วย... why not!!!

มันคืออาชีพบริการ

ไม่ต่างจากอาชีพหมอ ทนายความหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์


"ใบตองแห้ง" อยากจะมาใช้บริการ

แต่ก็ต้องปิดหน้าปิดตาเป็นอวตาร โถน่าส่งสารไม่กล้าเปิดหน้าเปิดตา

"ใบตองแห้ง" อยากซื้อบริการทางเพศ แต่ไม่อยากใส่ถุงยาง

ถ้า "น้องเทพ" ปฏิเสธการให้บริการ คำถามคือ "อาชีพบริการ ผยองกับลูกค้า" หรือไม่


ยุคนี้ 2022, ยุค 5G

อาชีพบริการมีสิทธิ์เลือกลูกค้า อย่าคิดว่าตัวเองเป็นศูนย์กลางของจักรวาล

โลกไม่ได้หมุนรอบตัวเรา


เหตุการณ์เดียวกัน ไม่มีถูก ไม่มีผิด

"น้องเทพ" ผิดหรือเปล่า ที่เลือกที่จะไม่ให้บริการ

"น้องใบตองแห้ง" ผิดหรือเปล่า ที่ไม่อยากใส่ถึงยาง ในมุมมองของเขา เขาอาจจะชอบอะไรสด ๆ แบบไม่ใส่ถุงก็ได้


ไม่มีถูก ไม่มีผิด

แค่มองคนละด้าน คนละมุม

เมื่อคลื่นความถี่ไม่ตรงกัน ก็แยกย้าย ก็แค่นั้นเอง


อย่าเอาความคิดเราไปตัดสินคนอื่น

BTW...  "น้องเทพ" ขอตัวไปรับแขก

ทำงานเก็บเงินเก็บทองก่อนนะครับ

น้องลูกหมาหน้าบ้าน ไม่ต้องไปเห่าน้องใบตองแห้งนะลูก


#หมาเห่าใบตองแห้ง


Wednesday, November 2, 2022

Massage Therapist; subcass 482



Massage Therapist

Subclass 482 & Subclass 186; เราเลิกทำร้านนวดไทยและร้านนวดจีนแล้วครับ (คุณสมบัติไม่ค่อยครบ)

เราทำเฉพาะร้านที่เป็น Physio และ Chiropractor เท่านั้น

ต้องขอโทษด้วยจริง ๆ สำหรับหลายคนที่ติดต่อเข้ามา

ส่วน Subclass 949 & Subclass 187; เราก็ยังทำร้านนวดไทยและร้านนวดจีนตามปกติ

Friday, October 28, 2022

รักแห่งสยาม


ยินดีด้วยกับ "ใคร someone" 2 คน "ครอบครัว J"

กับชีวิตที่จับต้นชนปลายไม่ถูกเมื่อหลายปีก่อน
กับชีวิตของเด็กที่เดินทางมาใช้ชีวิตที่ต่างประเทศครั้งแรก (ถ้าข้อมูลผิดพลาด P' J ขออภัย)

กับชีวิตที่ถูกเพื่อน ๆ คนไทยด้วยกันแนะนำอะไรต่าง ๆ นานาไปในทางที่ไม่ค่อยถูกต้องเท่าไหร่

กับคำแนะนำที่ว่า "ไม่ต้องไปเรียนหรอก ทำงานเก็บเงินเยอะ ๆ " แล้วมันก็มีผลตามมา ถ้าเราไม่ไปเรียน

กับชีวิตที่เคยอยู่ด้วยความหวาดผวา
กับชีวิตที่ต้องวิ่งหนีการไล่จับของอิมมิเกรชั่น

กับชีวิตที่เห็นอิมมิเกรชั่นจับเพื่อนไปต่อหน้าต่อตา เฉียดฉิวไม่กี่นาที โชคดีตอนนั้นน้องไม่อยู่บ้าน

กับชีวิตที่ไปไหนมาไหนก็ต้องมีเงินสดพกติดตัวหลายพัน เพื่อซื้อตั๋วกลับบ้านเมื่อโดนอิมมิเกรชั่นจับ

กับความรู้ที่แต่ก่อนไม่ได้มีมากตาม Internet หรือ social media 
ไม่กล้าแม้แต่จะเดินทาง domestic ต่างรัฐ

เมื่อเหตุการณ์เฉียดฉิวการโดนจับของอิมมิเกรชั่น

น้องตัดสินใจเข้ามาปรึกษาเมื่อ Oct/Sep 2016 เมื่อ 6 ปีที่แล้ว
P' J ก็ทำ roadmap การเป็น PR ให้ เพราะ profile น้องค่อนข้างดีในเรื่องของวุฒิการศึกษาจากเมืองไทย 

ประสบการณ์การทำงานที่นี่ ถึงแม้ว่าแต่ก่อนไม่มี payslip ไม่มีการจ่ายภาษี เราก็มาเริ่มใหม่ได้ ทุกอย่างยังไม่สาย เพราะน้องทำงานดี นายจ้างรัก นายจ้างพร้อมสนับสนุน และน้องก็พร้อมสู้ในเรื่องของการสอบภาษาอังกฤษ

ก็น้องติวสอบภาษาอังกฤษจาก IELTS overall ประมาณ 4.5
จนได้ IELTS general 7 each band
ทุกอย่างเกิดขึ้นได้ ถ้าตั้งใจจริง ข้ออ้างอย่าเยอะ

เหตุการณ์เมื่อ 2016, 6 ปีที่แล้ว P' J ยังจำขึ้นใจ
น้องร้องไห้ด้วยความดีใจ ว่าชีวิตยังพอไปต่อได้บ้าง เพราะน้องทั้ง 2 คนอยู่ด้วยความหวาดผวามานาน น้องเริ่มมีทางออก กล้าที่จะกลับมาใช้ชีวิตเหมือนคนทั่ว ๆ ไป
กล้าขับรถไปไหนมาไหนได้
กล้าที่จะเดินทางเที่ยวต่างรัฐได้ เริ่มกลับมาใช้เหมือนคนอื่น ๆ เขา

P' J ก็วาง roadmap ให้น้องเอาไว้ 3 ทาง:

- Plan A; วุฒิการศึกษาที่น้องมีจากเมืองไทย โชคดีอยู่ใน long-term list สามารถขอ PR ได้ด้วยตัวเอง; Independent Skilled Visa; subclass 189

- Plan B; เรียนเพิ่มเติมที่นี่ เลือกสาขาอาชีพที่อยู่ใน long-term list แล้วทำ Skilled Migrant Visa; subclass 189, subclass 190, subclass 491 (สมัยก่อนคือ subclass 489)

- Plan C; เรียนเพิ่มเติมที่นี่ เหมือน Plan B แต่หานายจ้างสปอนเซอร์ แล้วขอ PR โดยใช้ pathway ของ Subclass 482, Subclass 186

น้องเลือก way ไหน เอาเป็นว่าเป็น privacy ของลูกค้านะครับ
เอาเป็นว่าชีวิตของน้องตอนนี้ใกล้ถึงเส้นชัยแล้วครับ

น้องมีวีซ่าเข้าออกประเทศได้เลย ไม่ใช่ Bridging Visa จ๊ะ
น้องได้วีซ่าจริง ๆ จัง ๆ เป็นเรื่องเป็นราว แต่ขออุบเอาไว้ละกันว่า subclass ไหน

หลังจากที่ไม่ได้กลับเมืองไทยมา 10 ปี และ 12 ปี
น้องทั้งสองได้กลับไปเยี่ยมคุณพ่อคุณแม่ของทั้งสองฝ่าย
และที่สำคัญได้จดทะเบียนสมรสกันแล้วครับ
ในที่สุด สุดที่รัก

น้องได้กลับไปย้อนวัย "รักแห่งสยาม" กัน
สมัยเมื่อยังละอ่อน

ยินดีด้วยกับน้องทั้ง 2
กับ 6 ปีที่ได้ดูแลน้อง ๆ มา
วันนี้เห็นน้องใกล้ถึงฝั่งฝัน
น้องกำลังจะทำธุรกิจอะไร something เป็นของตัวเองด้วยที่ออสเตรเลีย

จากใคร someone ที่ต้องหลบ ๆ ซ่อน ๆ 
จากใคร someone ที่ต้องถือเงินติดตัวตลอดเวลาเอาไว้ซื้อตั๋วกลับบ้านถ้าโดนอิมมิเกรชั่นจับ

แสงสว่างที่ปลายทางมีจริง
หากเราวางแผนดี ๆ step-by-step; 1-2-3-4
กฎหมายอิมมิเกรชั่น ควรปรึกษาจากคนที่มี MARN ครับ
เรื่องบางเรื่องก็ไม่ควรอ่านอะไรใน "พันถีบ" หรือ facebook group ต่าง

อ่านอะไรตาม facebook group ต่าง ๆ อย่าลืมดู credential ของคนเขียน ดู credential ของคนโพสต์ด้วยว่าเขามีคุณสมบัติครบในการเขียนหรือให้ข้อมูลหรือเปล่า

เรื่องบางเรื่อง เราก็ต้องปล่อยให้คนที่ทำงานอยู่ใน field นั้นเป็นคนจัดการ

P' J เห็น YouTubers หลาย ๆ คนออกมาให้ข้อมูลเรื่องวีซ่า ทั้ง ๆ ที่ตัวเองไม่ qualify รู้สึกเป็นห่วงเหลือเกิน

P' J เห็น bloggers หลาย ๆ คนออกมาให้ข้อมูลเรื่องวีซ่า ทั้ง ๆ ที่ตัวเองไม่ qualify รู้สึกเป็นห่วงเหลือเกิน

P' J เห็นคนออกมา review การโยกย้ายต่าง ๆ นานา ก็เกิดกระแสแมงเม่าขอวีซ่าท่องเที่ยว ขอวีซ่านักเรียนทั้ง ๆ ที่เขาไม่น่าจะขอตั้งแต่แรก เพราะคุณสมบัติไม่ครบ วัน ๆ มีคนส่ง refusal letter มาให้ P' J อ่านเยอะมาก 

ที่นี่ออสเตรเลีย ไม่ใช่ กรุงเทพ-เชียงใหม่ ที่จะได้ซื้อตั๋วแล้วบินได้เลย

เรื่องบางเรื่อง หาที่ปรึกษาที่ไว้ใจได้นะครับ
เรื่องบางเรื่อง ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของคนที่มี MARN นะครับ

เป็นกำลังใจให้กับทุกคนที่ต้องการมีแสงสว่างที่ปลายทาง

ทุกการกระทำ ทุกการตัดสินใจ
มันจะผลที่ตามมาเสมอ

Fail to plan = Plan to fail นะครับ

คิด 
วิเคราะห์ 
แยกแยะ 
ให้ดี ๆ นะครับ

ศีลเสมอแล้วเจอกัน