Tuesday, December 27, 2022

ย้ายประเทศ; วีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ เทหมดหน้าตัก


หลายครั้งเหลือเกินที่เราได้มีโอกาสทำวีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ subclass 482; TSS (Temporary Skill Shortage Visa) 


และก็มีหลายครั้งเหลือเกินที่มันคือฟางเส้นสุดท้าย หนทางสุดท้ายในการโยกย้าย ในการย้ายประเทศของใครบางคน โดยเฉพาะบางครอบครัวที่มีลูกน้อย มีอนาคตขของเจ้าตัวเล็กที่ต้องคิดและวางแผน


ลูกค้าบาง case ที่เราทำ case ให้เป็นคู่สามีภรรยาหนุ่มสาว เคยใช้ชีวิตนักเรียนอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย เคยสัมผัสชีวิตที่ไร้ปัญหาเรื่อง PM2.5 เคยสัมผัสชีวิตรถจอดให้คนข้ามตรงทางม้าลายและอื่น ๆ อีกมากมาย


บางคนก็กลับไปเมืองไทย 5-6 ปีแล้วก็มี ไปสร้างครอบครัวที่เมืองไทย ไปทำธุรกิจที่เมืองไทย แต่เมื่อมีลูกน้อย ทุกสิ่งอย่างในชีวิตเปลี่ยนไป เขาก็ต้องเลือกว่าสิ่งแวดล้อมไหนที่เขาต้องการให้ลูกเขาเติบโต


เมื่อตัดสินแล้วว่าจะต้องไป 

เมื่อตัดสินใจแล้วว่าต้องบอกลาระบบการบริหารจัดการที่มันเดิม ๆ เก่า ๆ และย่ำอยู่กับที่ มันก็ต้องมีการทุบกระปุก ทุบหม้อข้าวแล้วมองไปข้างหน้าอย่างเดียว


ถ้าคนที่ทำงานหาเช้ากินค่ำที่เมืองไทย มีรายได้เป็นเงินบาท THB แต่ค่าสมัครวีซ่าเป็นเงินดอลล์ AUD มันก็ต้องมีการทุบกระปุกแน่นอน เทหมดกระเป๋า บางคนก็ต้องไปกู้หนี้ยืมสินและพร้อมที่จะ "เทหมดหน้าตัก" เพราะตัวเขาเองเคยใช้ชีวิตอยู่ที่นี่มาแล้ว ค่อนข้างรู้ดีว่าถ้ามาแล้วจะต้องเจออะไรบ้าง ไม่ต้องปรับตัวอะไรมาก


หากคนเราอยากจะมา มีความมุ่งมันจริง

ไม่ต้องไป follow ตามพวก page ขายฝันต่าง ๆ ครับ พวกว่ายน้ำบนบก


เราถามใจตัวเราเองเลยว่าอยากจะกลับมาไหม

คำตอบมันมีแค่ "Yes" กับ "No" ไม่มี something in between

ชีวิตคนเราบางทีมันก็ต้อง make decision มันต้องตัดสินใจ


Indecisive will lead you to nowhere.

การไม่ตัดสินใจอะไรเลยก็เป็นการตัดสินใจอีกแบบหนึ่งนะครับ


เมื่อตัดสินใจแล้วก็ต้องเดินหน้าต่อ

บางคนก็ต้องออกค่าใช้จ่ายในการสมัครเอง เพราะนายจ้างไม่ได้ออกอะไรเลย 


อันนี้ค่าสมัครของวีซ่า subclass 482 สาขาอาชีพที่อยู่ใน long-term list นะครับ ถ้ายื่นจาก offshore จะไม่มีค่า subsequent onshore visa application fee คนละ $700


Stage 1; Standard Business Sponsor (SBS): $425

Stage 2; Nomination (SAF x 4 ปี): $5,201 ถ้ายอดขายร้านไม่ถึง $10,000,000 หรือ $7,635 ถ้ายอดขายของร้านถึง $10,000,000

Stage 3: Visa Application (x 3 คน) พ่อ แม่ ลูก ยื่น offshore: $6,322


ถ้าร้านยอดขายถึง $10,000,000 ค่าสมัคทั้งหมดก็จะอยู่ที่

$14,382


ถ้ายอดขายไม่ถึง $10,000,000 ค่าสมัครทั้งหมดก็จะอยู่ที่

$11,948


AUD14,382 หรือ AUD11,948 คือค่าสมัครวีซ่า subclass 482 offshore นะครับ 3 คนพ่อแม่ลูก สาขาอาชีพ long-term list


ยังไม่รวมค่าบริการของ "J Migration Team" อีก หรือใครใคร่เลือกใช้บริการที่อื่นก็ไม่เป็นไร มีที่ให้เลือกเยอะแยะ แต่อย่าลืมว่า You pay peanut, you get monkey นะครับ


ดังนั้นทำการบ้านกันเอาไว้เลยครับว่าค่าใช้จ่ายมันอยู่ที่เท่าไหร่

อยากรู้ว่าเป็นเงินไทยเท่าไหร่ ก็หาอัตราแลกเปลี่ยนคูณกันเอาเอง


ชีวิตทุกคนมี "ค่า" ครับ

"ค่า" ใช้จ่าย

"ค่า" สมัครวีซ่า

"ค่า" บริการถ้าจะให้ทนายหรืออิมมิเกรชั่นทำเรื่องให้


ชีวิตทุกคนไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบ

หลาย ๆ คนไม่ได้คาบช้อนเงินช้อนทองมาเกิด

ถ้าคนเขาเกิดมาบนกองเงินกองทอง เขาก็คงอยู่เสวยสุขอยู่ที่ประเทศบ้านเกิดแล้วหละครับ ไม่ต้องมาตายเอาดาบหน้าหรอก


Anyway, เมื่อตัดสินใจแล้ว ก็ต้องเดินหน้าต่อ

เพราะ subclass 482 สำหรับสาขาอาชีพที่อยู่ใน long-term list มันก็มี pathway ให้ไปต่อจนถึง PR จนถึง citizen


เพื่อลูกน้อย คนเป็นพ่อเป็นแม่ก็ต้องยอมทุกอย่าง

หมดหน้าตักก็ต้องหมด โดยเฉพาะคนที่อยู่ที่นี่มาก่อน เขารู้แหละว่าทุ่งหญ้าข้างหน้าจะเขียวกว่าที่เดิมแน่นอน รับรองว่าการลงทุนครั้งนี้ไม่สูญเปล่า


กราบขอบคุณทุก ๆ คนที่เลือกใช้บริการของเรา

กราบขอบคุณทุก ๆ ที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ "ครอบครัว J"

เรามั่นใจว่า subclass 482 คือจุดเริ่มต้นในการโยกย้ายของใครหลาย ๆ คน ไม่ว่าใครจะอยู่ onshore หรือ offshore ตอนนี้ให้ไวนะครับ ประเทศออสเตรเลียกำลังขาดแคลนแรงงาน


Subclass 482, Subclass 186 และ Subclass 187 เป็นวีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ที่ไม่โควต้า ดังนั้นไปให้สุดทาง (ไม่แน่ใจว่า subclass 494 มีโควต้าหรือเปล่า แค่ 99.99% คิดว่าไม่มี)


เราขอเป็นกำลังใจให้กับหลาย ๆ ครอบครัวที่กำลังตามหาฝัน

ที่เทไปทั้งหมดหน้าตัก เราขอให้ทุกคนได้กลับคืนมาร้อยเท่า พันเท่า หมื่นเท่า


เหนื่อยได้

ท้อได้

พักได้

แต่อย่าหยุด


แล้วเจอกันนะครับ at the end of the rainbow


เราจะเจอกันเมื่อ "เวลาที่พร้อม"

เมื่อศีลเสมอ 

เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น :)


Copyright: แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น, ไม่ copy & paste, ไม่ screen capture

No comments:

Post a Comment