Monday, July 31, 2017

NSW subclass 190 (PR), subclass 489



หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงของ visa subclass 457
ในเรื่องของการเปลี่ยนแปลงสาขาอาชีพ ที่ตอนนี้มีพวก short-term list เข้ามายุ่งเกี่ยวซึ่งทำให้ชีวิตหลาย ๆ คน หลัง 19 April 2017 ก็ต้องมีการเปลี่ยนแปลง บ้างเล็กน้อย

เดี๋ยว blog นี้เราจะสรุปสาขาอาชีพยอดฮิตของคนไทยนะครับ ว่าสามารถทำอะไร ยังไง ได้บ้างที่ NSW

Chef
Cook
Massage Therapist
Restaurant Manager

blog นี้เราขอ focus เฉพาะของ NSW

เรา list chef เอาไว้ด้วย เผื่อบางคนที่ไม่อยากทำงานอยู่กับนายจ้างแล้ว ต้องการทำเรื่องขอ PR ด้วยตัวของเขาเองก็ได้

หายใจด้วยจมูกเราเอง บางทีมันก็ดีกว่ายืมจมูกคนอื่นหายใจ

เพราะยังไงเสีย ตอนนี้การขอ PR ที่ต่อจาก visa subclass 457 หรือ TSS หลังจาก March 2018, ซึ่งก็คือ subclass 186 ENS หรือ subclass 187 RSMS ตอนนี้เราก็ต้องใช้ผลภาษาอังกฤษ IELTS (general) 6 ทุก band แล้ว

อย่าลืมนะครับว่า ถ้าเราไม่ต้องการสอบ IELTS เราก็สามารถสอบภาษาอังกฤษของตัวอื่นได้ ลองไล่ดู blog เก่า ๆ ของเราดู

ก็ในเมื่อไหนๆ มันก็ต้องใช้ IELTS 6 ทุก band แล้ว
ก็ทำพวก  Skilled Migrant, subclass 190 หรือ subclass 489 ไปเลยจะดีกว่ามั้ย จะได้ไม่ต้องไปวุ่นวายกับนายจ้าง

เพราะหลาย ๆ คนก็จ่าย tax เอง
จ่าย super เอง

ก็หนักอยู่นะ

วีซ่า subclass 190 คือได้ PR เลยนะครับ
วีซ่า subclass 489 ได้วีซ่าชั่วคราวมา 4 ปี แล้วหลังจากนั้น เข้ามาพักอาศัยอยู่ที่ regional NSW 2 ปี แล้วค่อยขอ PR ได้ ด้วย subclass 877

subclass 190 เราต้องนับ point ให้ได้ 55 points
subclass 489 เราต้องนับ point ให้ได้ 50 points

ที่ NSW, subclass 190:
Chef = ทำได้
Cook = ทำได้
Massage Therapist = ทำไม่ได้
Restaurant Manager = ทำไม่ได้

ที่ NSW, subclass 489:
Chef = ทำได้
Cook = ทำได้
Massage Therapist = ทำไม่ได้
Restaurant Manager = ทำไม่ได้

แต่นอกเหนือจาก 4 สาขายอดฮิตของคนไทยนี้
มันก็ยังมีหลายสาขาอาชีพที่น่าสนใจนะครับ

อย่างเช่นพวกงาน IT หรือ Engineer สำหรับคนที่มาทางสาย professional

ก็ลองไล่ดูสาขาอาชีพต่าง ๆ ตาม link ด้านล่างนะครับ

Subclass 190:
http://www.industry.nsw.gov.au/__data/assets/pdf_file/0007/88369/nsw-190-priority-skilled-occupation-list-2016-17.pdf

Subclass 489: 
http://www.industry.nsw.gov.au/__data/assets/pdf_file/0009/66879/NSW-489-list.pdf

Monday, July 24, 2017

ความสำคัญของจดหมายผ่านงาน


หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงวีซ่า subclass อะไรต่าง ๆ 
โดยเฉพาะวีซ่าการทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์

หลาย ๆ คนให้ความสนใจในเรื่องของการทำ skill assessment และการทำ RPL; Recognised Prior Learning กันมากขึ้น

การที่เราจะทำ RPL เราก็ใช้ประสบการณ์ในการทำงาน มาอ้างอิงว่าเรามีความสามารถ มี skills ในการทำงาน

ดังนั้นจดหมายผ่านงาน หรือ work reference จึงสำคัญมาก

ในเรื่องของการทำ skill assessment ก็เหมือนกัน นอกจากใช้วุฒิการศึกษา ซึ่งเราก็สามารถใช้วุฒิแบบที่เรียนมาจากห้องเรียน หรือใช้ RPL ก็ได้ เราก็ต้องใช้ประสบการณ์ในการทำงาน มาอ้างอิงว่าเรามีความสามารถ มี skills ในการทำงาน

ดังนั้นจดหมายผ่านงาน หรือ work reference จึงสำคัญมาก

ดังนั้นจึงสำคัญที่ทุกครั้งที่เรามีการเปลี่ยนงาน หรือลาออกจากงานปัจจุบัน เราต้องขอจดหมายผ่านงานด้วยนะครับ

เพราะว่าถ้าหากเราไม่ขอจดหมายผ่านงาน ตอนที่เราออกมา แล้วถ้าเผื่อกิจการนั้นล้มเลิก หรือปิดไปหละ เราจะติดต่อเจ้าของธุรกิจได้ที่ไหน ใครจะออกหนังสือรับรองให้เราได้

และอีกอย่างก็คือ การจากกันด้วยดี เราก็จะได้หนังสือผ่านงานที่ดีนะครับ

ถ้าจากกันด้วยการแตกหัก หนังสือผ่านงาน ก็อาจจะมีปัญหาได้

ก็เอาเป็นว่า ต่อจากนี้ไป
ถ้าใครจะลาออกจากงาน หรือเปลี่ยนงาน

อย่าออกมาตัวเปล่านะครับ
ขอหนังสือรับรองงาน จดหมายผ่านงาน หรือ work reference มาด้วย

หน้าตาของ work reference เราก็เคยเขียน blog post ไปแล้วนะครับ

Sunday, July 23, 2017

RPL กับการทำ skill assessment ของวีซ่า subclass 457


การถูกเรียกทำ skill assessment ของวีซ่า subclass 457 นั้น จะเป็น case-by-case basis

ขึ้นอยู่กับดุลพินิจของ case officer

ดังนั้นเวลาไปทำ RPL; 
Recognised Prior Learning จากที่ไหนก็ตามเถอะ

โปรดอย่าเชื่อคำโฆษณาชวนเชื่อ ว่าไม่ต้องทำ skill assessment

เอ่อ… ถามหน่อยเถอะ โรงเรียนต่าง ๆ ที่ออก RPL จะรู้ได้ไงว่าจะโดนหรือไม่โดนเรียกทำ skill assessment

อ่านอะไรใน website ขายของต่าง ๆ
เราแนะนำให้ใช้ดุลพินิจของใครมันนะครับ

RPL คือกระดาษแผ่นหนึ่งที่สามารถเอาติดข้างฝา
บอกว่าเรามีวุฒิการศึกษาที่ถูกต้องตามกฎหมาย

แต่เรามี skill หรือความสามารถจริงหรือเปล่า
ผู้รู้ ก็รู้ได้เฉพาะตนนะครับ อย่าหลอกตัวเอง

ถ้าหาก case officer ต้องการที่จะ check ว่าเรามี skill หรือความสามารถจริงหรือเปล่า

Case officer สามารถเรียกเราทำ skill assessment ได้

ถ้าทำ skill assessment ผ่าน
ก็แสดงว่าเรามีความสามารถจริง ทำงานในตำแหน่งนั้นได้จริง

ดังนั้นพวก RPL ที่โฆษณาชวนเชื่อ ว่าไม่ต้องทำ skill assessment
อยากจะให้คิดกันนะครับ

Ok… น้องหนูหริ่ง อาจจะโชคดีวันนี้ มี RPL แล้วไม่ได้ถูกเรียกทำ skill assessment

แต่ไม่ได้หมายความว่า น้องตูดหมึก เพื่อนน้องหนูหริ่ง ทำ RPL ตัวเดียวกัน แล้วจะไม่ถูกเรียกทำ skill assessment นะครับ

Everything is case-by-case basis.

ก็แค่อยากจะให้เก็บเอาไปคิดกันนะครับ

Friday, July 21, 2017

การ review สาขาอาชีพ ของ STSOL; short term list


การเปลี่ยนแปลงสาขาอาชีพ 01 Jul 2017 ของ STSOL; short term list ไม่ได้จบลงอยู่ แค่นั้น

Next review ก็จะเป็น December 2017

ดังนั้นนายจ้างคนใหนคิดว่า สาขาอาชีพที่ตัวเองขาดแคลน

แล้วอยากจะให้เอากลับเข้ามาเป็น long-term list

พวก you ก็ต้องมีการ lobby รัฐบาล

ส่ง email เรียกร้อง นั่น นี่ โน่น

ไปที่ Department of Education and Training

เพราะเขาคือหน่วยงานที่ทำการ review ว่าสาขาอาชีพใหน ควรย้ายออก ย้ายเข้า

ถ้าอยากให้มีการเปลี่ยนแปลง
พวกนายจ้างที่มีผลกระทบ
จากการเปลี่ยนแปลงสาขาอาชีพ long-term list มั่ง short term list มั่ง

พวก you ก็ต้อง active
ก็ต้องมีการเรียกร้อง

หรือไม่ก็ต้องส่ง email หรือ submission ไปที่นักงานเมือง; MP ของเมืองนั้น ๆ นะครับ

เพราะถ้าพวก you ไม่ทำอะไรกัน
มันก็ไม่มีการเปลี่ยนแปลง

แต่คนที่เรียกร้องก็ควรจะเป็นเจ้าของธุรกิจนะครับ
เป็น PR หรือ citizen

และอีกอย่างพวกธุรกิจอะไรต่าง ๆ ก็ต้องมีสมาคมของธุรกิจนั้น ๆ อยู่แล้ว ยังไงก็ลองติดต่อสมาคมธุรกิจของตัวเองนะครับ แล้วก็ express your concern

อะไร ต่าง ๆ 

เพราะนักการเมืองพวกนี้ เราจะดูแลผลประโยชน์ของ PR หรือ citizen ก่อน

อยากได้อะไร
ก็ต้อง active กัน


นั่ง ๆ อยู่เฉย ๆ ไม่ทำอะไร

You ก็จะโดน government pushes you around นะครับ

ยังไงเสีย ก็อย่าลืมว่า
กฎหมายอิมมิเกรชั่น อะไรต่าง ๆ
มันก็เป็นอีกส่วนหนึ่ง ของเกมส์การเมือง

...no choice...

If you don't play it, it will plays you.

ก็แค่อยากจะให้ทุกคนเก็บเอาไปคิดกันนะครับ

Special requirements ของ Subclass 190 ของ ACT


Independent Skilled Migrant; subclass  189 นี่คือได้ PR เลยนะครับ

ส่วน Skilled Nominated; subclass 190 นี่ก็ได้ PR เลยเหมือนกัน

เพียงแต่ว่า subclass 190 นี่ พวก skill list ของรัฐต่างๆ เค้ามีการปิดไปตั้งแต่มีรัฐบาลประกาศ มีการเปลี่ยนแปลงของพวก 457 เนี๊ยะ; ตั้งแต่ 19 April 2017

ดังนั้นพวก 190 หลาย ๆ รัฐมีการ close application กันหมดเลยแล้ว

เพิ่งมา re-open 

อย่างของ ACT ก็เพิ่ง re-open ไปเมื่อวันจันทร์ที่ผ่านมา; 10 July 2017

อย่าลืมนะครับนะว่า subclass 190 ของแต่ละรัฐ เค้าจะมี list ของใครของมัน 

ก็ให้ดูที่เราโพสต์ไปละกัน อีกอย่างนะครับ 

ในเรื่องของ subclass 190 เนี่ย แต่ละรัฐจะมี requirement ไม่เหมือนกัน 

ACT เนี๊ยะ special requirement ก็คือ การที่เราจะ apply เนี๊ยะ เราจะต้องอยู่ที่ ACT นะครับ คำว่าอยู่นี่คือต้องอยู่อาศัยนะ ไม่จำเป้นต้องทำงาน อย่าลืมนะครับว่า ACT เนี่ย เราสามารถอยู่ที่ Canberra แล้วขับรถมาทำงานที่ Goulburn หรือว่าที่ Wollongong หรือบางคนอาจจะขับมาที่ Sydney ก็ได้นะครับ 

ACT ก็มี special requirement คือ เรา และ immediate family ทุกคนต้องอยู่ใน ACT เท่านั้น จะไปอยู่ที่รัฐอื่นไม่ได้ 

ดังนั้นถ้าเผื่อใครสนใจที่จะขอ PR โดยใช้ subclass 190 เนี๊ยะ 
1. ไปลองดูว่าตัวเองสาขาอาชีพอยู่ใน list ไหม 
2. ลองนับ point ว่าตัวเองได้ 55 points ไหม 

อย่าลืมนะครับว่า subclass 190 เนี๊ยะ เราจะใช้ point แค่ 55 points 

เราไม่จำเป็นต้องได้ 60 points เหมือน subclass 189 

อย่าลืมนะครับว่า การนับ point เนี่ยถ้านับได้ 60 points เนี่ย เราได้ PR เลยคือ subclass 189 

แต่ว่าถ้าเผื่อนับได้ 55 points เนี่ย เราก็สามารถขอได้ PR เลย แต่ว่าต้องเป็น sublcass190 ก็คือต้องไปอยู่รัฐๆนั้น 

ในขณะเดียวกับบางรัฐนะ ก็จะมี subclass 489 ด้วย

แต่ไม่ใช่ทุกรัฐ

subclass 489 เนี่คือสำหรับคนที่นับ point ได้แค่ 50 points 

subclass 489 นี่คือ เราจะได้วีซ่ามาแค่ 4 ปี แล้วไปอยู่รัฐนั้น 2 ปี 

แล้วค่อยขอ visa subclass 887 เพื่อที่จะได้ PR 

มันก็เป็นอีก pathway หนึ่ง สำหรับหลายๆคนที่ point ไม่ถึง 

อย่าลืมนะครับ 60 points ได้ subclass 189 ได้ PR เลย 

subclass 190, 55 points ได้ PR เหมือนกัน แต่ต้องไปอยู่รัฐๆนั้น 

subclass 489 ได้วีซ่าแค่ 4 ปี ไปอยู่รัฐนั้น 2 ปี แล้วค่อยทำเรื่องของ PR 

Thursday, July 13, 2017

ACT จาก visa subclass 457 ไปเป็น subclass 190 (PR)


สำหรับคนได้ที่วีซ่า subclass 457 ตั้งแต่วันที่ 19 April 2017 เป็นต้นมา

ถ้าสาขาอาชีพของตัวเองอยู่ใน short term list ก็ไม่จำเป็นต้องหมดหวังเสมอไปว่าตัวเองไม่มีสิทธิ์จะได้ PR แล้ว

เพราะ Occupation List ของ ACT ที่เพิ่ง re-openไปเมื่อวันที่ 10 July 2017 ที่ผ่านมา

มันก็มีทั้งสาขาอาชีพที่อยู่ใน Open Occupations และ Closed Occupations

อย่าลืมนะครับ คนที่จะสามารถสมัคร visa subclass 190 ของ ACT ได้ ต้องพักอาศัยอยู่ที่ ACT เท่านั้น

สำหรับคนที่ได้ visa subclass 457 จาก วันที่ 19 April 2017 และถ้าหากสาขาอาชีพอยู่ในพวก short-term list มันก็ยังไม่หมดหวังในการขอ PR ไปเลยซะทีเดียว

เพราะต่อให้สาขาอาชีพที่ closed ไปแล้ว
เราจะได้สิทธิ์พิเศษ สามารถขอ PR ภายใต้ subclass 190 ได้
ถ้าหาก:

  • เราทำงานกับนายจ้างที่ ACT เป็นระยะเวลา 12 เดือน fulltime ถ้าเป็นคนที่ถือ visa subclass 457 แล้วอาศัยอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียมาก่อน, หรือ
  • เราทำงานกับนายจ้างที่ ACT เป็นระยะเวลา 3 เดือน fulltime ถ้าเป็นคนที่ถือ visa subclass 457 ที่สมัครมาจากต่างประเทศ (offshore) และไม่ได้อาศับอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียในรอบ 2  ปีที่ผ่านมา
ซึ่งปกติ คนได้ visa subclass 457 ก็ต้องทำงาน fulltime อยู่แล้ว


ถ้า apply มาจากต่างประเทศ requirement ของภาษาอังกฤษจะเป็น
IELTS general (หรือเทียบเท่า):
Listening: 6
Reading: 6
Writing: 6
Speaking: 7
Overall: 7


ลองดูใน occupation list ให้ดีๆนะครับ

ที่ closed ไป มันก็มี:
- cook
- restaurant manager
- massage therapist 

อยู่ด้วย

chef หนะ open อยู่แล้ว

และสาขาอาชีพอื่น ๆ เยอะแยะมากมายที่ closed

ดังนั้นคนที่ได้ visa subclass 457 มา
แล้วทำงานอยู่ที่ ACT

ทุกคนยังพอมีหวังที่จะขอ PR ด้วย visa subclass 190 นะครับ

Special requirement ของ ACT:
  • ต้องอาศัยอยู่ ACT, ต้องโชว์พวกหลักฐานการใช้ชีวิตประจำวันด้วยว่า เราไป shopping ที่ใหน กดตังค์จาก ATM ใหน อยู่ที่ ACT จริงหรือเปล่า
  • เขียน essay อย่างต่ำ 2 หน้า อธิบายว่า ทำไมเราถึงอยากที่จะอยู่ที่ ACT หลังจากที่ได้ PR
อย่าลืมนะครับ visa subclass 190 เราต้องนับ point ให้ได้ 55 points อย่างต่ำ

เนื่องด้วย visa subclass 190 เป็น skilled migrant
skilled migrant ผลสอบภาษาอังกฤษ IELTS general ทุก band ต้องได้อย่างต่ำ 6

ถ้าไม่อยากสอบ IELTS ก็สามารถไปสอบอย่างอื่นได้ ตามที่เราเคยเขียน blog ไปแล้ว

ดังนั้นคนที่ได้วีซ่า subclass 457; cook, restaurant manager, massage therapist และอื่น ๆ อีก มากมาย

สาขาอาชีพที่สามารถขอ PR ได้ด้วย visa subclass 190 ที่ ACT สามารถดูได้ที่: 


อย่าเพิ่งหมดหวังนะครับ

หนทางยังพอมี

ตั้งสติให้ดี แล้วเดินหน้ากันต่อไป

ขอให้วันนี้เป็นอีกวันที่ทุกคนมีความสุขนะครับ

คุณพระรักษา

พระผู้เป็นเจ้าคุ้มครอง

บอกรักคนข้างกาย
เอาใจใส่คนรอบข้างก่อนเสมอ

เป็นแสงสว่างของกันและกัน

...รักนะ...


Note: มีคน inbox, LINE & Email มาให้เรานับ point ให้ เยอะมากนะครับ
เราขอนับ point ให้เฉพาะลูกค้าเราละกัน
นอกนั้น พวก you ไปนับกันเอง
คณิตคิด ๆ ง่าย

1 + 1 = 2

Wednesday, July 5, 2017

Interesting case study, visa subclass 457; restaurant manager


Interesting case study, visa subclass 457; restaurant manager

ดีใจด้วยกับ “บักหำน้อย”

“บักหำน้อย” หรือ “บักหำใหญ่” เราไม่รู้ ต้องไปถามแฟนเขาเองแล้วหละ

<<รักดอก จึงหยอกเล่น>>

แต่เอาเป็นว่า วีซ่า เรื่องวุ่นๆ 457 ของน้อง “บักหำน้อย” จบลงด้วยดี

“บักหำน้อย” ทำวีซ่ากับนายจ้าง “xyz” แถวๆ Wollongong นี่แหละ

ไม่ได้ทำกับ P’ J ตั้งแต่แรกนะจ๊ะ

“บักหำน้อย” กับนายจ้างคนก่อน ทำเรื่องกับทนายความหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์ที่ Sydney

แต่ทำงานได้ไม่นาน “บักหำน้อย” ถูกลอยแพ
เจ้าของร้านเก่าบอกว่า “ไม่ต้องมาทำงานละ”

อะนะ แบบนี้ ตามกฎหมายแรงงานเราเรียกว่า unfair dismissal

ถ้า “บักหำน้อย” จะเอาเรื่องกับนายจ้างคนเก่า ก็สามารถทำได้นะครับ ก็แจ้งไปที่ Fairwork Ombudsman 

แต่ทำกันเองนะ P’ J ไม่ยุ่งด้วย
P’ J แก่แล้ว หัวเริ่มหงอก
หน้าเริ่มไม่เด้ง
ไม่อยากยุ่ง ไม่อยากหาเหาใส่หัว

...เข้าเรื่องต่อ…

หลังจาก “บักหำน้อย” ถูกลอยแพจากนายจ้างคนเก่า
“บักหำน้อย” ก็เคว้งอยู่พักหนึ่ง

แล้วติดต่อมาหา P’ J จากการไหว้วานของน้อง M ACT ว่าน้องจะต้องทำอะไร ยังไงต่อไป

เดชะบุณยังพอมีอยู่ “บักหำน้อย” ได้นายจ้างคนใหม่ที่ยินดีจะทำเรื่องสปอนเซอร์ให้

Case แบบนี้ มีไม่เยอะ case ที่สามารถหานายจ้างได้ใหม่ ได้ทันเวลา

ต่อก่อนต้องหานายจ้างใหม่
Nomination ใหม่ภายใน 90 วัน
ตอนนี้เปลี่ยนเป็น 60 วันแล้วครับ

เอาเป็นว่า “บักหำน้อย” เป็นผู้ที่โชคดีมากๆละกัน

Ok… นะ ทำ stage 1 SBS; Standard Business Sponsorship ผ่านไปเรียบร้อย

Stage 2: Nomination ยื่นไปรอบแรกไม่ผ่าน เหตุผลเพียงเพราะค่าแรงต่ำเกินเกณฑ์ แต่เราก็ใช้ตัวเลขเดียวกันกับทุก case นะ ไม่เคยมีปัญหา

เอานะ ไม่เป็นไร ชีวิตยังไม่สิ้น ก็ต้องดิ้นกันต่อไปใช่มั๊ย

เราเลือกที่จะไม่อุทรณ์ เพราะเรามั่นใจว่าสามารถแก้ไขสถานการณ์นนี้ได้ และตัว “บักหำน้อย” ก็ยังมีวีซ่า 457 ตัวเดิมจากนายจ้างคนเดิมอยู่

ถูกต้องจ๊ะ นายจ้างคนเดิมไม่ได้แจ้งอิมมิเกรชั่น
เราก็ต้องอยู่เงียบๆสิ ใช่ป๊ะ ไม่ต้องกระโตกกระตาก

ดีแล้วที่นายจ้างคนเดิมไม่ค่อยรู้เรื่องอะไร และคิดว่าทนายความของนายจ้างคนเก่าไม่ได้สานงานต่อ

ซึ่งก็เป็นการดีกับเราเป็นอย่างยิ่ง

แสดงว่า “บักหำน้อย” ยังพอมีบุญอยู่

หลังจากที่เราเลิกที่จะไม่อุทรณ์ เราก็ยื่น Nomination ใหม่ เป็นรอบที่ 2

ถูกต้องจ๊ะ เราสามารถยื่นใหม่ได้ จะเร็วกว่าอุทรณ์
เพราะ stage 2 Nomination ของ 457 มันก็แค่ $330 เอง

“บักหำน้อย” ไม่ต้องจ่ายอะไรเพิ่มนะครับ

เพราะยื่นรอบที่ 2 ทาง J Migration Team เราก็ absorb ค่าใช้จ่ายตรงนี้ให้อยู่แล้ว

จากการที่เรายื่น nomination รอบที่ 2 เราก็ทำการปิดรูรั่วอะไรต่างๆที่ case officer คอยจับ คอยจิกมา

คราวนี้ case officer ก็ไม่ยอมปล่อยง่ายๆอีก
จะอะไรกันนักกันหนานะ

คราวนี้ case officer ส่งมาถามเรื่อง genuine position
จริงๆแล้ว เราเคย post เรื่อง genuine position ของ 457 บ่อยแล้วนะ

ปกติแล้วเราเห็นจดหมาย หรือ email ของ case officer เรื่อง genuine position บ่อยอยู่แล้ว

จะเป็นอะไร เดิม ๆ same ๆ เพราะมาจาก template เดียวกัน

คำถามหรือพวก email เกี่ยวกับ genuine position ก็จะออกทำนองว่า
  • ทำไมทางร้านมีความจำเป็นที่ต้องจ้างคน ๆ นี้ มาทำงานในร้าน
  • ทำไมต้องตำแหน่งนี้
  • ทำไมต้องคนนี้
  • ใครเป็นหัวหน้างาน
  • คนนี้ต้องรายงานกับหัวหน้างานยังไง
  • มีการแบ่งงานระหว่างเขากับหัวหน้างาน แบ่งออกเป็นกี่เปอร์เซ็น
  • รายได้หรือยอดขายดูสมเหตุสมผลมั๊ย

อะไรประมาณเนี๊ยะ

เป็นคำถามที่จู้จี้จุกจิกขึ้นทุกวัน

คนที่ไม่ได้ทำงานโดยตรงทางด้านนี้ก็ไม่มีทางได้รู้ ว่ามันเป็นเนื้องานที่ละเอียดนะ

ไม่ได้ตอบอะไรส่งเดชเข้าไป

หลังจากตอบกลับเรื่อง genuine position

เราก็รอ
“บักหำน้อย” ก็รอ
ข้อดีของ “บักหำน้อย” คือน้องเขาไม่ได้คอยตามจิก เช้า สาย บ่าย เย็น

เพราะจริงๆแล้ว ก็ไม่รู้จะมาจิกทำไม
ยื่นไปแล้ว ก็ต้องรอ
มันก็ต้องอย่างนั้น

จิกไป ไม่ได้ทำให้งานมันเร็วขึ้นหรอก
หลาย ๆ คน ควรรู้

เอ๊ะ หรือว่าต่อไป เราจะ charge ราคาตามจำนวนครั้งที่ จิก ดีนะ

เราก็คิดว่าเราทำดีที่สุดแล้วนะ ในเรื่องของการตอบ genuine position

ก็เอาเป็นว่า case officer เองก็ไม่มีอะไรที่จะต้องมาจับผิด case ของ “บักหำน้อย” อีกต่อไป

เพราะอยากรู้อะไร เราก็ตอบไปหมดแล้ว สมเหตุ สมผล

ส่วนแฟนของ “บักหำน้อย”

“น้องหนูซู่ซ่า” ตอนที่ทำ case กับนายจ้างคนเก่า เราก็ไม่เข้าใจว่าทำไมทนายความหรือิมมิเกรชั่นเอเจนท์คนเก่า เขาไม่ได้ submit ชื่อของ “น้องหนูซู่ซ่า” ไปเลยพร้อมกัน ทำให้เป็น secondary applicant

เพราะเวลาได้วีซ่า ก็จะได้พร้อมกันไปเลย

แต่ทนายความหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์คนเก่าบอกว่า ให้เสร็จเป็นคนๆไป จะได้ไม่มีปัญหา

โดยส่วนตัวแล้ว เราไม่เห็นด้วย

เราชอบอะไรที่ตรงกันข้ามคือ
เราจะยื่นของทุกคนพร้อมกันหมดเลย
“น้องหนูซู่ซ่า” จะได้วีซ่าไปพร้อมๆกัน จะได้ save money ในเรื่องของค่าเทอมของ student visa ด้วย

ก็เอาเป็นว่า เป็นความคิดเห็นที่แตกต่างก็แล้วกัน
เราเคารพความคิดเห็นที่แตกต่าง

แต่เราไม่เห็นด้วยก็แค่นั้นเอง

อาจจะเป็นเพรา “น้องหนูซู่ซ่า” ติด condition 8534 ไม่สามารถยื่นวีซ่า onshore ได้ แต่ก็ไม่เห็นเป็นไรเลย

ติด 8534 ก็บินออกไปข้างนอกสิ
จะไปใหนก็ไป (ไม่ได้ไล่นะ)

จะไป New Zealand, Fiji, Bali หรือเมืองไทย อะไรก็ว่าไป

สรุป เราก็ต้องทำเรื่องให้ “น้องหนูซู่ซ่า” แยก

“น้องหนูซู่ซ่า” ก็เลือกที่จะบินกลับไปเยี่ยมครอบครัวที่เมืองไทย แต่ก็แวะเที่ยวที่สิงคโปร์

P’ J ก็ยื่นเรื่องให้ submit เรื่องให้ตอนที่ “น้องหนูซู่ซ่า” กับ “บักหำน้อย”

วิ่งไล่หยอกกัน เป็น ขวัญกับเรียม
วิ่งเล่นซ่อนหากับ Merlion อยู่ที่สิงคโปร์


“บักหำน้อย” กับ “น้องหนูซู่ซ่า” เฝ้ารอวีซ่าตัวนี้อย่างใจจดใจจ่อ

Visa subclass 457; restaurant manager

Ok นะ

ขอบคุณ ยาม 3 ตรา ที่ช่วยนำข่าวดีให้ “บักหำน้อย” กับ “น้องหนูซู่ซ่า”

ถึงแม้ว่าตอนนี้ Visa subclass 457 ตำแหน่ง restaurant manager มันเป็นอะไรที่ยังไม่แน่นอน

ไม่ long term สำหรับคนที่ได้วีซ่าหลังวันที่ 19 April 2017

ก็เอาเป็นว่า มีอะไร เราคว้าไว้ก่อนละกัน
ค่อยหาทาง หาวิธีแก้กันไปทีละเปราะ

เพราะ “บักหำน้อย” เอง ก็ถือวีซ่านักเรียนมาแล้ว 7-8 ปี
นานนะ 7-8 ปี ถ้าจะต่ออีก ก็ต้องเป็นอะไรที่สูงขึ้นไปเรื่อยๆ
เอาเป็นว่า ยากนะ

เราเคย post เรื่องนี้ไปแล้วว่า
วีซ่านักเรียน มันไม่ได้ต่อได้เรื่อยๆ

ดีใจกับ “บักหำน้อย” กับ “น้องหนูซู่ซ่า” ที่ผ่านมรสุม 457 มาได้อีกคู่

แล้วเราค่อยมาหาทางกันต่อไป ว่าจะไปซ้าย ไปขวา เดินหน้า หรือถอยหลัง 1 ก้าว

ทุกชีวิต เกิดมาแล้ว
มันก็ต้องสู้กันต่อไป

หากลมหายใจยังไม่สิ้น
ก็คงต้องดิ้นกันต่อไป

เหนื่อย ก็ พัก
ชีวิตมันก็มีแค่นี้แหละ

อย่าไปเอาอะไรกับมันมากเลย

…รักนะ…
...ไม่เคยเปลี่ยน (หรือเปล่านะ)...