Thursday, June 29, 2017

Protection Visa วีซ่าผู้ลี้ภัย


เก็บตกงานสัมนา immigration law

วันที่เราไปเข้างานสัมนา immigration law ที่ Sydney

เมืองแห่งความวุ่นวาย ที่ทุกคนต้องยืนรอสั่ง coffee กันตอนเช้า ที่ TownHall Station

หนูแอบไปซื้อ BreadTop จ๊ะ อาหารเช้า คนจน

วันที่เข้า seminar เราก็ได้นั่งใกล้ๆป้าฝรั่งคนหนึ่ง
ป้าเป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์มาจาก New Castle
มองดูก็รู้ว่าป้าเป็นสาวมั่น
ป้าเป็นฝรั่ง ที่สูง ผอม ไม่อ้วน เหมือนฝรั่งทั่วๆไป (ฝรั่งที่นี่อ้วนจ๊ะ ไม่ใช่อวบ!!!)

ป้าใส่ high heels สูงมาก ที่มากที่สุด
ปากป้าแดงแรงฤทธิ์
ตุ้มหูป้า เป็นวงแหวน ใหญ่มาก ถึงมากที่สุด
ผมป้าแดงเป็นสี mahogany

ป้าค่อนข้างมีอายุนะ ถ้าเทียบกับเรา
แต่ป้า แต่งตัวได้ร้อนแรงมาก

ป้าแน่มาก

...แอบรักป้า…

ป้านั่งข้างเรา รัศมีของป้าเจิดจรัสมาหาเรา
หากเราไม่ทัก ไม่คุยด้วย มันก็คงเป็นการเสียมารยาท
ก็ป้าแต่งตัวสะร้อนแรงแบบนี้ (ไม่โป๊ะนะ) จะไม่ให้มองได้อย่างไร


หลังจากที่ได้พูดคุยกัน
งานที่ป้าทำส่วนมาก เป็นพวก protection visa พวกวีซ่าลี้ภัย
เพราะแหล่ง settlement ของ refugees อยู่แถวๆ New Castle
ลูกค้าป้าเป็นพวก refugees จริงๆนะครับ

ไม่ใช่ refugees แบบคนไทย ที่แบบว่าติดหนี้ ไม่กล้ากลับเมืองไทย กลัวตาย อะนะ!!!

ลูกค้าป้าเป็นพวก refugees ดังนั้นสิ่งที่ป้าต้อง dealing with ก็คือ
ลูกค้าหลายๆคนที่หนีตายจริงๆ จากภัยสงคราม
ไม่มี ID, ไม่มีเอกสารอะไรเลย
ไม่มีใบเกิด

นั่น นี่ โน่น

ฟังป้าเล่าแล้ว เหมือนเราเรียนวิชาสังคมยังไงยังงั้น 

แต่เราก็เบลอๆนะ บอกตามตรงว่าเราไม่ได้สนใจเลยว่าประเทศอะไร เขาสู้กับประเทศอยู่

หรือว่า civil wars การต่อสู้ล้างเผ่าพันธ์อะไรประมาณเนี๊ยะ มันอยู่ส่วนใหนของโลก

ลูกค้าของป้าบางคนก็ต้องรอเป็น 5-6 ปี กว่าจะได้ case officer กว่าจะได้วีซ่า เพราะคนหนีตายมา ใครจะมีเวลาไปวิ่งหาใบเกิด ใบสูติบัตร ให้ตายเถอะ

เราศรัทธาในการทำงานของป้า

คิดว่าคงเป็นอะไรที่ stressful มากกว่างานของเรา ที่เราทำแน่นอน

กลุ่มลูกค้าของป้าแตกต่าง จากกลุ่มลูกค้าของเราโดยสิ้นเชิง

ป้าทำงานด้วยใจ อยากช่วยคนที่หนีภัย หนีสงครามมา

ไม่ใช่พวกคนไทย ที่ชอบมโนไปว่า

หนีภัยน้ำท่วม ก็จะพากันขอ protection visa
หนีหนี้ ก็จะพากันขอ protection visa

พวกเนี๊ยะ คิดเอง เออเอง ของเขาจริงๆ

น่าเบื่อ

เอาสมองส่วนใหนคิด

...กลับเข้าเรื่อง…

ไปงาน seminar ต่อไปอยากเจอป้าอีก

...รักนะ… ป้า

Wednesday, June 28, 2017

visa subclass 457, skill assessment 01 July 2017


แอบกระซิบ ข้างๆหู (กระซิบอีกละ เมื่อไหร่จะเลิกกระซิบนะ)

Visa subclass 457

ถ้าใครยื่นวีซ่า subclass 457 จาก 01 July 2017

โอกาสที่จะถูกเรียกทำ skill assessment เป็นไปได้สูงมาก

ถึงแม้ว่า policy จะบอกว่า case-by-case หรือขึ้นอยู่กับ case officer ก็ตามเถอะ

คนที่วุฒิการศึกษามาแบบ RPL, โอกาสที่จะถูกเรียกทำ skill assessment นั้น มีมาก ถึงมากที่สุด

ถ้าหากมีเวลา เราก็แนะนำให้ทำ skill assessment เอาไว้เลย ก็น่าจะดีนะครับ

จะได้ไม่มีเสียเวลา

ทั้งนี้ และทั้งนั้น ก็แล้วแต่คนสมัครเอง ว่าจะทำ skill assessment มาเลยหรือเปล่า หรือว่าจะรอเรียก

It’s your choice.

การทำ skill assessment ของวีซ่า subclass 457 นั้นแตกต่างจากการทำ skill assessment ของพวก skilled migrant ของวีซ่าตัวอื่น

การทำ skill assessment ก็แตกต่างกันออกไปตามหน่วยงานที่ดูแล

การทำ skill assessment ของ VETASSESS ก็แบ่งเป็น 2 Pathways:

  • คนจบที่ประเทศออสเตรเลีย
  • คนที่ไม่ได้จบที่ประเทศออสเตรเลีย
ส่วนการทำ skill assessment ของแต่ละหน่วยงานไม่เหมือนกัน เราไม่สามารถเขียน blog แล้ว cover ทุกหน่วยงาน ทุก organizations

ก็เอาเป็นว่า ถ้าหากใครคิดจะขอ visa subclass 457 จากวันที่ 01 July 2017

ก็ควรเตรียมตัวและเตรียมใจ

เตรียมเอกสารในทำ skill assessment คือ
  • วุฒิการศึกษาต่างๆ
  • จดหมายผ่านงาน จากทุกที่ ที่เราเคยทำงานมา และจดหมายต้องมี letter head ด้วย, มี job description ด้วย ว่าหน้าที่การทำงาน เราทำอะไรมั่ง ในระหล่างที่เราทำงานอยู่ในตำแหน่งนั้น
หากชีวิตยังไม่สิ้นก็ดิ้นกันต่อไปนะครับ พี่น้อง


… รักนะ...

Friday, June 23, 2017

Visa subclass 457 caveat


Visa subclass 457 caveat...ok นะ เริ่มมีทนายความและอิมมิเกรชั่นเอเจนท์ที่จะ challenge รัฐบาลถึง validity/invalidity ของ caveat แล้วว่า เป็น concept ที่ถูกนำออกมาประกาศใช้และไม่ถูกกฎหมาย!!!

คำแนะนำของเราก็คือ สำหรับคนที่ทำ 457 ไม่ว่าจะทำเอง ทำที่อื่น หรือทำกับ J Migration Team

คือ ควรจะ fight back เพราะถ้าทุกคนเงียบแล้วยอมให้รัฐบาลเปลี่ยนอะไรไปเรื่อย มันจะมีการเปลี่ยนแปลงออกมาเรื่อยๆ

ไม่มีการ consult


ไม่มีขบวนการกลั่นกรองของรัฐสถา

ทำไมต้อง fight back

fight back เพราะว่า case officer ที่ทำงาน ที่ตัดใจสิน case เรา มีหน้าที่ทำตาม policy และ update ต่างๆที่ออกมา

Case officer ไม่ใช่ policy maker ที่อยู่เบื้องหลัง

Policy maker ที่อยู่เบื้องหลัง คือพวก case manager ที่คอย consult เวลา case officer มีปัญหาหรือ make decision ไม่ได้

การที่ทุกคน fight back เป็นการส่งสารหรือสัญญาณว่า caveat มันไม่ make sense, invalid หรือผิดกฎหมาย

ถ้าใครได้รับจดหมายจาก case officer ให้อธิบายเรื่อง caveat (ของ J Migration Team ยังไม่มี)

วิธีการที่จะ fight back คือให้เราถามกลับไปที่ case officer ว่า

  • ใหนๆๆๆๆ มันไม่ meet criteria ตรงใหน ให้ case officer อธิบายกลับ 
  • Case officer เอาข้อมูลหรือ data มาจากใหน ให้ case officer อธิบาย

เชื่อเถอะ case officer ไม่สามารถ ตอบกลับพวกนี้ได้หรอก เพราะส่วนมากแล้ว case officer จะเป็น junior staff

Case officer ก็ต้องวิ่งแจ้นไป consult case manager แหละ

หลายๆคน
หลายๆ cases fight back แล้ว case manager ก็เริ่มรู้ว่าเออ caveat ของ 457 เนี๊ยะคง invalid หรือผิดกฎหมายจริงๆ

เพราะถ้าเรา follow the game ตามที่ทุกอย่างอิมมิเกรชั่นวางไว้ ไม่มีการ fight back เราก็จะเป็นผู้แพ้ เป็นผู้คอยวิ่งตามตลอด

และการที่อิมมิเกรชั่นสามารถ go back door แล้วเปลี่ยน นั่น นี่ โน่น ตามใจชอบ

นั่นก็ไม่แตกต่าง dictatorship

ก็แค่อยากจะให้เก็บเอาไว้ให้คิดนะครับ

Saturday, June 17, 2017

Child Visa, good news to be shared


ท่ามกลางความอึมครึมและความไม่แน่นอนของวีซ่าตัวอื่น อย่างเช่นพวก วีซ่า subclass 457 เราก็ยังมีข่าวดี

Good news to be shared ของ Child Visa อยู่

P' N จาก ACT, จากการช่วยเหลือและการแนะนำของน้อง M ACT สุดที่ love ของ P' J

ต้องบอกว่า case นี้ น้อง M ACT เป็น hero ของ P' J และ P' N เลยจริงๆ เพราะคุณน้องเป็น contact point ของ P' J ทุกอย่าง เดินเรื่องเอกสารอะไรต่างๆแทน P' N  ทุกอย่าง

P' N ACT จะโชคดีอะไรขนาดเนี๊ยะ มีน้องสนิทช่วยเป็นธุระให้ทุกเรื่อง

สัจธรรมและประสบการณ์ของชีวิต มันสอนให้เรารู้ว่า คบเพื่อนดี มีชัยไปกว่าครึ่งนะครับ

แต่น้อง M ก็บอกว่า น้องจะช่วย P' N คนเดียวพอ น้องเหนื่อยแล้ว อะนะ... มีงี้ด้วยเว้ย

สรุปคือน้องต้องรักและสนิทจริงๆน้องถึงช่วย แสดงว่า P' N เป็นคนโชคดีจริงๆ เพระเอกสารทุกอย่าง น้อง M เป็นคนช่วยวิ่งเต้นให้ตลอดเลย เพราะบางที เราก็ต้องยอมรับว่า พี่บางคนเขาไม่รู้เรื่องงานเอกสารจริงๆ ครั้นจะให้สามี (ภรรยาหรือ partner) ช่วย ส่วนมากจะลงเอยด้วยการงอนกัน หรือทะเลาะกัน บ้างเล็กน้อย

เอาเป็นว่า ธรรมดาแหละนะ ชีวิตคู่ มันต้องมีงอนกันบ้าง เดี๋ยวขาดรสชาติ

...เข้าเรื่องต่อ...

น้องอายุเกิน 18 ปีแล้ว เราก็บอกให้น้องไปลงทะเบียนเรียนอะไรก็ได้ ขอให้เรียน full time ซึ่งน้องก็ทำตาม เป็นเด็กดีมากเลยครับ น้องไปลงเรียน full time ที่ ม.รามคำแหง under supervision ของน้อง M ACT และ P' J ก็บอกและย้ำร้องไปว่า น้องต้องไปเรียน ห้ามขาด ห้ามลา ห้ามป่วย ห้ามตก (สอบตกได้ แต่อย่าให้น่าเกลียดเกิน)

กาลเวลาผ่านไป ไวเหมือนโกหก ตดยังไม่หายเหม็น เมื่อ 2-3 อาทิตย์ที่ผ่านมา วีซ่าของน้องผ่านแล้ว ได้ PR (Permanent Resident) เป็นคนที่นี่เลย เพราะข้อดีของ Child Visa คือถ้าทำเรื่องผ่านก็ได้ PR ไปเลย ไม่ต้องมี TR (Temporary Resident) เหมือนวีซ่าตัวอื่นให้กวนใจ

น้องต้องทำ first entry ก่อนวันที่ "xyz" หลังจากนั้นก็สุดแท้แล้วน้องว่าน้องจะกลับไปเรียนต่อที่ ม.รามคำแหง ให้จบ หรือน้องจะมาอยู่ที่นี่เลย อะไร ยังไง ก็ว่าไป

สำหรับเราแล้ว การลงทะเบียนเรียนอะไรบางสิ่งบางอย่างเพื่อที่จะทำ Child Visa แล้ว มันก็เป็นฉากละครอีกฉากหนึ่งที่เราต้องแสดงต่ออิมมิเกรชั่น

คุณน้องจะชอบเรียนวิชานั้นหรือเปล่า เรามิอาจรู้ได้ ถ้าหากคุณน้องเลือกลงทะเบียนเรียนอะไรที่คุณน้องชอบและคิดว่าจะนำความรู้ไปทำอะไรต่อ นั่น นี่ โน่น เราก็ยินดีด้วย

แต่ถ้าหากการลงทะเบียนเรียน เราทำไปเพื่อให้ได้มาซึ่ง Child Visa โดยส่วนตัวแล้วเราคิดว่าไม่ผิดอะไร เราก็ทำไปตาม requirement ของ Child Visa ตามที่อิมมิเกรชั่นต้องการแล้วหนิ จะเอาอะไรอีก!!! 

จริงป๊ะ...

ฉากละครบางฉาก เราสร้างได้ ไม่อายสื่อ ไม่ผิดศีลธรรม (คิดเอง เออเอง)

ไม่เหมือนพวกฉากละครของพวกจ้างแต่ง หลอกลวงทั้งตัวเองและผู้อื่น แบบนั้นเราไม่ทำ (ขอนอกเรื่องบ้างเล็กน้อย อารมณ์มันพาไป)

ก็เอาเป็นว่า J Migration Team รู้สึกเป็นเกียรติที่เราได้รับใช้ P' N ACT และครอบครัว และก็ขอขอบคุณ คุณน้อง M ACT สุดที่ love ที่เป็นอีกหนึ่งฟันเฟืองของ J Migration Team ที่ ACT office, หากไม่มีน้อง M ACT เราก็คงไม่ไปเปิด office ที่ ACT

ดังนั้นหากใครคิดว่าตัวเองหรือคนในครอบครัวคุณสมบัติครบ ก็รีบจัดการอะไรตั้งแต่เนิ่นๆนะครับ

ได้ PR แล้ว จะมาอยู่หรือไม่มาอยู่ที่ออสเตรเลียหนะอีกเรื่องหนึ่ง
ถ้าเราคุณสมบัติครบ โอกาสมาอยู่ตรงหน้าแล้ว คว้าเอาไว้ก่อน เรื่องอื่นเอาไว้ทีหลัง...

Saturday, June 10, 2017

Australian citizen part 3; จาก PR สู่ citizenship


เราทำ live ทำคลิปเกี่ยวกับ Australian Citizen มา 2 รอบ 

บางคนคิดว่าขอ Citizen ไม่ได้ ต้องซื้อตั๋วกลับเมืองไทยเลยหรือเปล่า ยังนะครับ ยังไม่ถึงขนาดนั้น 

การที่คุณจะเป็น citizen ได้เนี่ย คือ คุณก็ต้องเป็น PR ก่อน เข้าใจแหละว่า citizen ตอนนี้มันยากขึ้น สำหรับคนที่ขอ citizen ไม่ได้อย่าลืมว่าทุกสิ่งทุกอย่างในชีวิตมันไม่ใช่ทางตัน 

ช่วงนี้อาจจะขอ citizen ยาก เพราะในช่วงนี้มีเรื่องของผู้ก่อการร้ายเยอะ เปิดดูข่าวทุกวันก็เจอแต่ข่าวก่อการร้าย ซึ่งหลาย ๆ คนอาจจะสงสัยว่า ขอ citizen ไม่ได้แล้ว ต้องซื้อตั๋วกลับไทยเลยไหม 

ไม่นะครับ 

คือสำหรับคนที่เป็น PR แล้วเนี่ย หลาย ๆ คนคิดว่า PR เนี่ยมันมีอายุแค่ 5 ปี 

แต่จริง ๆ แล้วตามกฎหมาย PR ไม่มีวันหมดอายุ ดังนั้นคนไหนที่ได้ PR มา เราแนะนำให้คุณดู Visa Grant ให้ดีๆ ถ้าเราไม่เคยเดินทางออกนอกประเทศเลย หรือว่าไม่คิดที่จะเดินทางออกนอกประเทศเลย คุณก็สามารถอยู่ในประเทศออสเตรเลียได้ไม่มีกำหนด

เอาง่าย ๆ คือ อยู่ได้จนถึงวันตาย 

ให้ดูตัว PR ดี ๆ มันจะบอกว่า stay indefinately คือหมายความว่า อยู่ต่อไปโดยที่ไม่มีกำหนดหรือว่าไม่มีที่สิ้นสุด 

แต่ทีนี้มันก็จะมีพวก expiry date มาให้ 5 ปี บางคนก็งงว่าที่ให้ 5 ปีนี่หมายความว่าอย่างไร 

เดี๋ยวเราจะขออธิบายตรงจุดนี้นะครับว่า ที่บอกว่าให้ 5 ปีมาเนี่ย คือ สำหรับคนที่เดินทางเข้าออกเท่านั้น คือสมมติว่าคุณจะเดินทางกลับเมืองไทย ไปเยี่ยมญาติที่เมืองไทย คุณก็ต้องทำ Resident Return Visa หรือเรียกว่า RRV ซึ่งค่าทำก็ $360 

ซึ่งหากคุณเดินทางเข้าออก คุณก็ต้องต่อวีซ่าทุก 5 ปี แต่ตราบใดที่คุณเดินทางกลับเข้ามาแล้วไม่มีการเดินทางออกนอกประเทศเลยเนี่ย คุณไม่มีความจำเป็นจะต้องต่อ PR 

ย้ำอีกทีว่า PR มันไม่มีวันหมดอายุ แต่มันก็มีข้อแม้อยู่ว่า คุณต้องอยู่ในประเทศออสเตรเลีย 

และบางคนก็อาจจะงงว่า มีด้วยหรอ คนที่ได้ PR แล้วไม่เคยออกนอกประเทศเลย 

มีครับ! 

คนไทยอาจจะไม่เคยชินกับการที่ไม่เดินทางออกนอกประเทศ เพราะคนไทยเราส่วนมากชอบเดินทางไป นั่น นี่ โน้น 

ถือว่าเราเป็นคนโชคดี แต่อย่าลืมนะครับว่ายังมีอีกหลายๆ คนที่ชีวิตเค้าไม่ได้ดีเหมือนเรา อย่างเช่น พวกที่หนีภัยสงคราม พวกนี้เขาลี้ภัยจริงๆ นะ ไม่ได้ลี้ภัยหลอกๆ เหมือนที่คนไทยเขาทำกัน 

คือพวกนี้เขาหนีสงครามจริงๆ เขาหนีตาย มาตายเอาดาบหน้าอะไรประมาณนี้ แล้วก็ได้ PR ที่ประเทศออสเตรเลีย ดังนั้นคือเขาสิ้นเนื้อประดาตัว ไม่มีญาติ ไม่มีมิตรที่ประเทศเก่า 

ดังนั้น เขาจึงไม่มีความจำเป็นที่จะต้องเดินทางกลับไปยังประเทศเขา 

ดังนั้นการที่เขาอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียต่อไปเรื่อยๆ ต่อให้เขาไม่มี citizen เขาก็ไม่จำเป็นที่จะต้องต่อ PR 

อย่าเพิ่งตกใจว่าทำ citizen ยากจังเลย แบบนี้ต้องซื้อตั๋วหลับเมืองไทยเลยไหม.. ไม่จำเป็นนะครับ ไม่ต้อง… 

Thursday, June 1, 2017

Australian citizen part 2; สมัครหรือไม่สมัครดี


มีหลายคนสอบถามมาเกี่ยวกับ Australian citizen ในเรื่องของกฎเก่ากับกฎใหม่ สำหรับคนที่ยื่นหลังวันที่ 20 เมษายน อย่าลืมนะครับว่ากฎใหม่ที่เขามีการประกาศออกมา จริง ๆ แล้วเรื่องมันยังไม่ผ่านสภา การที่กฎหมายมันจะเปลี่ยน คือมันต้องผ่านทั้งสภาล่างและสภาบน 

แต่อย่างที่เราบอกแหละว่า โอกาสที่กฎหมายมันจะผ่านเนี่ยคือมันมีเยอะอยู่แล้ว 

สำหรับคนที่สมัครไปเนี่ย คือมีเสียงมากระซิบข้างๆ หูว่า 99.99% ทาง immigration จะไม่มีการ process application ทุก application 

คือทุกสิ่งทุกอย่างจะถูก stop และถูกดองเก็บเอาไว้จนกว่าเรื่องจะเข้าที่สภา แล้วเรื่องก็คงจะเข้าที่สภาสักประมาณปลายๆ ปี ก็คงจะเป็นช่วงประมาณก่อนคริสต์มาส 

ดังนั้นคือทุกคนที่ยื่นเข้าไปเนี่ย ทุกสิ่งทุกอย่างจะถูกเก็บไว้ใน system ดังน้นคุณไม่ต้องกังวลว่า ทำไมยื่นไปแล้วทำไมไม่มีการ process อะไรเลย และต่อให้คุณ email ไปหาเจ้าหน้าที่ของ immigration คำตอบที่คุณจะได้คือให้คุณรออย่างเดียว 

แต่เขาจะไม่มีการบอกหรอกว่าจะไม่มีการ process แต่สำหรับคนวงในก็พอจะรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น ดังนั้น 99.9% ของเคสจะไม่มีการ process จนกว่าจะสิ้นปี รอให้กฎหมายมันผ่านก่อน แล้วเขาถึงจะทำให้มีผลบังคับใช้ย้อนหลัง ต่อให้คุณยื่นไปช่วงเดือนเมษยนหลังวันที่ 20 เป็นต้นไป กว่าจะถึงสิ้นีก็ประมาณอีก 8 เดือน จะเป็นอะไรที่แบบว่านานมากๆ 

ต่อให้เรายื่นเอง หรือใช้อิมมิเกรชั่นเอเจนท์ หรือใช้ทนายความยื่นให้ ก็ต้องรอเหมือนกัน จะไม่มีการ process จนประมาณสิ้นปีนะครับ 

ก็คืออย่างที่บอกว่าทาง immigration เขาไม่ได้ออกมาประกาศหรอกว่าเขาจะไม่ process แต่ว่าเราทำงานมาทางด้านนี้ เราก็พอจะรู้แหละว่ามันเกิดอะไรขึ้นอยู่ภายในวงใน แล้วทีนี้หลายคนก็สอบถามว่าควรจะสมัครดีหรือไม่สมัครดี กลัวว่าจะมีผลกระทบต่อตัวเองไหมอะไรประมาณนี้ และโอกาสที่กฎหมายจะผ่านมีเยอะไหม

เราคาดเดาว่ากฎหมายมันน่าจะผ่าน อันนี้คือ professional opinion นะว่ามันน่าจะผ่าน เพราะว่าเราอ่านแล้วเราคิดว่ามัน make sense 

แต่ในขณะเดียวกันถ้ามองในแง่ของการเมืองมันก็ make sense ด้วยเพราะว่าอย่าลืมนะครับว่ารัฐยาลชุดนี้เป็น Liberal Party พรรคฝ่ายค้านก็คือพรรค Labour แล้วทีนี้การที่กฎหมายจะไม่ผ่านก็ต่อเมื่อมีใครมาคัดค้าน แต่ว่าเท่าที่ดูจากสถานการณ์ เราคิดว่าพรรค Labour คงไม่มาคัดค้าน 

เพราะต่อให้พรรค Labour มาคัดค้าน เขาก็ไม่ได้รับผลประโยชน์อะไร เพราะว่าการที่พรรคการเมืองอีกพรรคหนึ่งจะมาคัดค้านกฎหมายของการเปลี่ยนแปลงของ citizen เนี่ย คือเค้าก็ต้องได้ผลประโยชน์ด้วย 

แต่เท่าที่ดูคือพรรค  Labour จะไม่ได้ผลประโยชน์อะไรมาก แล้วก็การที่เขาจะมาคัดค้านเนี่ยเขายิ่งกลัวคะแนนเสียงจะลดลง กลัวว่าจะไม่ได้ vote ในการเลือกตั้งครั้งต่อไป เขาก็กลัวจะเสียคะแนนเสียง 

หลายอาจจะแย้งว่าถ้าเผื่อว่าพรรค Labour มาคัดค้าน เขาก็จะได้คะแนนเสียงมาจาก new citizen จากคนที่เป็น citizen ยุคใหม่ไง แต่อย่าลืมว่าคนที่จะมาเป็น citizen แล้วมาออกคะแนนเสียงเลือกตั้งให้กับพรรค   Labour คือจำนวนคนที่ได้เป็น citizen ต่อปีมันน้อยมาก ถ้าเทียบกับจำนวน citizen ที่เขาเป็นอยู่แล้วในปัจจุบัน 

ดังนั้นคือพรรค Labour เขาไม่น่าจะคัดค้านกฎหมายตัวนี้ ดังนั้นคือ 99.99% คือกฎหมายมันน่าจะผ่าน แต่ทุกสิ่งทุกอย่างมันก็อยู่บนความไม่แน่นอน ถ้าเผื่อมันเกิดการพลิกล็อก มันก็อาจจะมีการพลิกล็อกบ้างเล็กน้อย แต่ว่าโอกาสที่มันจะไม่ผ่านเนี่ยมีน้อยมากๆ ดังนั้นถ้าเผื่อว่าใครอยากจะเสี่ยง apply ก็ apply ได้ เพราะว่าค่าสมัครเองมันก็ไม่แพง ประมาณ 285 AUD 

หากใครอยากลอง apply เสี่ยงโชคดู เผื่อสมัครไปแล้วกฎหมายมันไม่ผ่านตัวเองก็จะได้กฎเก่า อะไรประมาณนี้ ดังนั้นถ้าเผื่อใครจะ apply หรือไม่ apply ก็ใช้วิจารณญาณของตัวเองนะครับ 

แต่ถ้า apply ไปแล้วเรื่องมันโดนดอง และถ้าเผื่อกฎหมายมันผ่านแล้วมีผลบังคับใช้ย้อนหลัง แสดงว่าบางคนคุณสมบัติจากที่เคยคิดว่าตัวเองจะผ่านก็อาจจะไม่ผ่านก็ได้

ใจความสำคัญสั้นๆ ง่ายๆ ก็คือ 99.99% คือเรื่องของ citizen ก็จะถูกดองเช่นเดียวกัน เหมือนกับหลายๆ visa sub-class ตัวอื่นๆ อย่างพวก 457 อะไรประมาณนี้ก็

คนที่คุณสมบัติครบก็สามารถ apply ไปได้เลย แต่ก็ต้องบอกไว้ก่อนว่า apply วันนี้ apply ได้ แต่อย่าคิดว่าตัวเองจะโดนเรียกไปสอบอะไรประมาณนี้ คิดว่าคงยัง เพราะเรื่องมันมีแนวโน้มที่จะโดนดองไปจนกว่ากฎหมายใหม่จะผ่านสภา ทั้งสภาล่างและสภาบน ซึ่งยังคงอีกนาน

Australian citizen part 1



กฎที่มีการเปลี่ยนแปลงใหม่สำหรับ citizen เขาจะนับจากวันที่เรา submit หรือวันที่เรา apply 

ดังนั้นก็คือ เราจะนับเอาวันที่ 20 เมษายนสำหรับปีนี้ 

หากใคร Apply ก่อนวันที่ 20 เมษายน จะยังคงใช้กฎเก่าอยู่ ดังนั้นจะยังไม่มีผลในเรื่องของกฎใหม่ ดังนั้นไม่ต้องกังวลว่าหาก apply ไปแล้ว ก่อนวันที่ 20 กลัวว่าจะโดนข้อสอบหรือกลัวว่าจะโดนเรียกผลสอบ IELTS 

ก็คือจะไม่โดนนะครับหากคุณ apply ก่อนวันที่ 20 แต่กฎใหม่ที่เขาประกาศออกมาจะส่งผลกระทบต่อคนที่สมัครจากวันที่ 20 เป็นต้นไป 

สรุปก็คือคนที่สมัครก่อนวันที่ 20 จะไม่มีปัญหา แต่จะมีปัญหาหากสมัครจากวันที่ 20 April 2017

หลาย ๆ คนอาจจะมีคำภามว่ากฎนี้ยังไม่ผ่านสภา แต่ผ่านหรือไม่ผ่าน บอกได้เลยว่าเท่าที่เราดูเนี่ย โอกาสที่จะผ่านมีเยอะมาก เพราะว่าจากการที่เราอ่านรายละเอียดแล้วก็คือ โดยส่วนตัวแล้วหลังจากที่อ่าน requirement แล้วเราว่ามัน make sense สำหรับการขอ citizen 

บางคนอาจจะบอกว่าทำไมมันยากขึ้น ก็บางทีคนเราก็ต้องเปิดใจให้กว้างด้วย และพยายามมองโลกในอีกแง่มุมหนึ่ง และในอีกหลาย ๆ แง่มุมของคนอื่น ๆ ด้วย 

คือไม่ใช่คิดเอาเฉพาะแง่มุมของตัวเอง ด้วยความที่ว่าสถานการณ์โลกตอนนี้ คือที่ไหนก็มีการ bomb กันตลอดเลย ไม่ว่าจะ bomb ที่ Paris ไม่ว่าจะ bomb ที่ London มันเป็นปกติอยู่แล้วที่ทางรัฐบาลจะต้องกังวลและปกป้องประชากรของเขา ดังนั้นปัญหา ณ ตอนนี้คือปัญหาพวกการก่อการร้าย รัฐบาลเลยพยายามที่จะปิดประตูสำหรับคนที่จะมาเป็น citizen 

เราต้องขอใช้คำว่าปิดประตูจริง ๆ เพราะอ่านดูแล้วเหมือนเค้าต้องการปิดประตูจริง ๆ ใครที่คิดจะขอ citizen อย่างแรกเลยก็คือ ยังไม่ต้องไปกังวลในเรื่องของภาษาอังกฤษ IELTS สิ่งแรกที่เราคนไทยต้องทำก่อนอันดับแรกคือทำ police check 

เพราะหากคุณทำ police check ออกมาแล้วมันไม่โปร่งใส หรือมีประวัติ นั่น นี่ โน่น ก็ไม่จำเป็นต้องเสียเงิน ไม่ต้องเสียเวลาสมัคร เพราะว่าตอนนี้ถ้า police check ของคุณไม่เคลียร์ ไม่สะอาดโปร่งใส ให้ลืมไปได้เลย สักประมาณ 5-10 ปี แล้วค่อยกลับมาสมัครใหม่ 

การรอ 5-10 ปีก็เพื่อพิสูจน์ว่าหลังจากมีประวัติ 5-10 ปีนั้น เราไม่ได้มีประวัติอะไรอีก และหากใครมีคดีร้ายแรงกว่านี้ อย่างเช่น อาจจะเป็นคดีลักขโมย หรือว่าเคยเข้าคุก เราพูดถึงประวัติหรือคดีง่ายๆ อย่างเช่นคดีขับรถฝ่าไฟแดง ยังขอ citizen ไม่ได้ 

ดังนั้นเราก็ต้องคิดด้วยว่า ถ้าเผื่อคุณมีประวัติในการลักขโมย หรือว่าขับรถแล้วในรถมีอาวุธ มีปืน มันจะมีผลกระทบมากขนาดไหน ก็ให้เก็บเอาไปคิดเอาแล้วกัน อย่างแรกก็ต้องทำ police check ก่อนเลย

ทีนี้แล้วค่อยมาดู requirement ตัวอื่นๆ ถ้าเผื่อ police check เคลียร์แล้ว ก็ค่อยมาดูว่า IELTS ผ่านไหม ตอนนี้ IELTS ต้องเป็น General และพูด อ่าน เขียน ฟัง ทุกอย่างต้องอย่างต่ำ 6 

แต่ว่าถ้าเผื่อไม่อยากสอบ IELTS ก็ไปสอบพวก PTE Academic มันก็มีตัวสอบให้เลือกอยู่ requirement อย่างอื่นก็ต้องอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย 4 ปีหลังจากที่ได้ PR ซึ่งเราต้องโชว์หากเราอยากเป็น citizen และอยากเป็นส่วนหนึ่งของประเทศนี้ เราก็ต้องพิสูจน์ว่าเราอยู่ที่นี่จริง ๆ ไม่ใช่ว่าได้ PR มา แต่ตัวเป็น ๆ ก็ยังยู่ที่ประเทศไทย หรืออยู่ที่ประเทศอื่น แสดงว่าคุณไม่มี commitment สำหรับประเทศนี้ 

บางคนอาจจะถามว่าทำไม IELTS มันต้องสูงเยอะขนาดนั้น ก็ลองจินตนาการว่าคุณไปเดิน Sydney แถว Chinatown แล้วทุกคนก็พูดแต่ภาษาจีน หรือไปเดินที่ Cabramatta ก็มีแต่พูดเวียดนาม เขมร ลาว ญวน มันก็ทำให้ประเทศไม่ค่อยเหนียวแน่นเท่าไหร่ 

ถามว่าพูดภาษาที่สองผิดไหม? 
ไม่ผิดนะครับ 

เพียงแต่ว่า IELTS ของเราก็คือต้องได้มาตรฐานด้วย คือต้องพูดอ่านเขียนฟังได้ เพราะหากพูดอ่านเขียนฟังไม่ได้ดีเนี่ย คุณก็จะถูกเอารัดเอาเปรียบ อย่างพวกที่มีปัญหาในเรื่องของวีซ่า subclass 457 นั่น นี่ โน้น ที่พนักงานอ่าน contract of employment ไม่เป็น ซึ่งมันทำให้เกิดปัญหาตามมาทีหลัง ดังนั้น requirement หรืออะไรทุกสิ่งทุกอย่างเนี่ยมันมีที่มาที่ไป อยากจะให้ทุกคนมองไกล ๆ มองลงไปให้ลึกถึงเหตุผลที่รัฐบาลต้องออกมามีการเปลี่ยนแปลง 

จากที่กล่าวมา requirement ก็คือ:

1. มั่นใจว่า police check ของตัวเองต้องเคลียร์ 

2. IELTS ต้องได้ พูดอ่านเขียนฟัง IELTS General 6 หรือเทียบเท่านะครับ แล้วก็ 

3. Resident requirement ต้องอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย หลังจากที่ได้ PR อย่างต่ำ 4 ปี และอีกอันหนึ่งที่สำคัญก็คือ 

4. ต้องโชว์ด้วยว่าคุณมีศักยภาพ เป็นคนมีคุณภาพ มีงานทำ เสียภาษี มี contribute back to the country เพราะถ้าหากคุณไม่เสียภาษี คุณต้องคิดด้วยว่าอย่างคนที่เป็น PR หรือบางคนที่ยังไม่เป็น PR แต่แค่สมัคร PR ไปแล้วได้ mediccare card นั่น นี่ นู่น medicare เนี่ย เราไปหาหมอฟรีนะ คือเราไม่ได้จ่ายตังค์ แล้วก็ถ้าเผื่อเราไปโรงพยาบาลของรัฐบาลเราก็ไม่ต้องจ่ายตังค์ด้วย หรือบางทีไปเอกชน บางอย่างก็ไม่จ่าย ซึ่งบางคนก็บอกดีจังเลย ไปหาหมอก็ฟรี ไปโรงพยาบาลก็ฟรี แต่คำว่าฟรีเนี่ยคือคุณไม่ได้จ่ายเงินในรูปของค่าบริการ ณ ตอนนั้น แต่อย่าลืมว่ารัฐบาลก็ต้องจ้าง พยาบาล หมอ ดังนั้น เงินมันมาจากภาษี คนที่อยู่ในประเทศออสเตรเลียมานาน ๆ จะเห็นนะครับว่าทุกครั้งที่คุณทำเรื่องเสียภาษี จะมีส่วนของภาษี medicare levy ซึ่งทุกคนก็ต้องจ่าย และในขณะเดียวกันคนที่เป็น citizen ลูกของเขาก็จะเรียนฟรีตั้งแต่อนุบาลไปจนถึง year12 หรือ ม.6 ถ้าเข้าโรงเรียนของรัฐบาลนะ ซึ่งเราคิดว่ามันเป็นค่าใช้จ่ายที่เราสามารถประหยัดเงินไปได้เยอะมากถ้าลูกของคุณเรียนฟรี พอเรียนปริญญาตรีหรือปริญญาโท ก็สามารถใช้ HECS หรือยืมตังค์เรียนได้ อะไรประมาณนี้ ซึ่งเงินพวกนี้มันก็ต้องมาจากเงินภาษี และเงินภาษีมาจากไหน? เงินภาษีก็ต้องมาจากคนที่ทำงาน ดังนั้นถ้าหากคุณไม่ทำงาน นั่งอยู่บ้านเฉยๆ วันๆ เอาแต่นั่งตบตู้และขอเงินจาก CentreLink มันก็ไม่ fair ดังนั้นก็ลองคิดในอีกแง่มุมหนึ่ง ชีวิตคนเราต้องเป็นทั้งผู้ให้และผู้รับ 

ใจความสำคัญของ blog หรือ Video clip (Facebook LIVE) นี้ คือ ถ้าคุณสมัคร citizen ก่อนวันที่ 20 April 2017 คุณจะไม่ได้รับผลกระทบอะไรจากที่เขาจะ  implement กัน 

ต่อให้มันยังไม่ผ่านที่สภา ถ้าเผื่อผ่านปุ๊บเนี่ย รัฐบาลก็สามารถ back date ได้ว่าให้ apply the new law จากวันที่เท่าไหร่ถึงวันที่เท่าไหร่ แต่เท่าที่ดูก็อยากจะบอกว่าดูแล้ว ก็น่าจะผ่านสภา ทั้งสภาล่างและสภาบน