Saturday, June 30, 2018

Australian Citizenship 01 July 2018


สรุป ก็ไม่มีอะไรในกอไผ่

การสมัคร citizenship ที่หลาย ๆ คนกลัวการเปลี่ยนแปลงว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงภายในวันที่ 01 July 2018

สรุปก็ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง เพราะกฎหมายไม่ผ่านสภาสูง
เพราะ requirement ของภาษาอังกฤษเอาสูงเกิน

IELTS general each band 6

ถามหน่อยเถอะ คนที่เกิดที่นี่ที่เรียนจบกันแค่ year 10 เขาจะสอบผ่านกันหรือเปล่า

โดยส่วนตัวแล้ว เราคิดว่าหลาย ๆ คนที่เกิดที่นี่ ไม่ว่าจะหัวดำ หัวทอง หรือหัวขาว (หัวดำเกิดที่นี่ก็เยอะจ๊ะ) ถ้าเรียนกันแค่ year 10 นะ สอบไม่ผ่านหรอก เชื่อสิ

แต่ก่อน NSW การศึกษาภาคบังคับ บังคับเรียนถึงแค่ year 10
นี่ก็เพิ่งมาเปลี่ยนให้เรียนถึงอายุ 17 ปี เมื่อไม่นานมานี้นี่เอง น่าจะประมาณปี 2009/2010 เองนะ

คนก็เกิดที่นี่เหรอ บางคนยังสะกด  there เป็น their เลย
บางคนอ่านไม่ได้ เขียนไม่ออกก็มีจ๊ะ
อย่าคิดแค่ว่าพวกเขาเกิดที่นี่ พูดภาษาอังกฤษได้ แล้วจะอ่านออก เขียนได้กัน

anyway... ไม่ต้องการพูดเรื่อง political incorrectness มาก

เอาเป็นว่า ตอนนี้ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลงอะไร ใด ๆ ทั้งสิ้นนะครับ ในเรื่องของการสมัคร citizen

ตอนนี้ใครต้องการสมัคร Australian citizen ก็ควรจะรีบสมัครนะครับ

การเปลี่ยนแปลงจะเกิด อะไร ยังไง ไม่มิอาจทราบได้


J Migration Team:
LINE: @JMigrationTeam (มี @ ข้างหน้าด้วย)
IG: @JMigrationTeam
Snapchat: @JMigrationTeam
YouTube: www.youtube.com/c/JMigration
Website: www.jmigrationteam.com
Podcast: anchor.fm/john-paopeng
SMS: +61 412470969

เรียนในระหว่างที่ถือ Bridging Visa A


มีคนสมัครวีซ่าหลาย ๆ คน
ที่แต่ก่อนหน้านี้ถือวีซ่านักเรียน และหลังจากนั้นก็ขอวีซ่าตัวอื่น 
ไม่ว่าจะเป็นวีซ่า subclass 457, 482 TSS  หรือ Partner Visa ก็ตามแต่

ในระหว่างที่เรารอวีซ่าตัวตัวเรา และถ้าวีซ่านักเรียนเราหมดแล้ว เราก็จะได้เป็น Bridging Visa A นะครับ

ในระหว่างที่เราถือ Bridging Visa A อยู่นี้
เราไม่ไปเรียนก็ได้ เพราะวีซ่านักเรียนเราหมดแล้วหนิ

แต่ก็มีบางคน ที่เราสนใจอยากจะลงเรียน course อะไร นั่น นี่ โน่น
เขาก็สามารลงเรียนได้เช่นเดียวกัน
บางคนอยากจะเรียนอะไรที่เขาสนใจเรียนก็มี

เพียงแต่เขาไม่จำเป็นต้อง maintain attendanc แล้วหนิ
หรือแบบว่าจะไปเรียนบ้าง ไม่ไปบ้างก็ได้
หรือส่งการบ้านบ้าง ไม่ส่งการบ้านบ้างก็ได้

ทางโรงเรียนอาจจะไม่รู้ว่า เราไ่ม่ได้ถือวีซ่านักเรียนแล้ว
ทางโรงเรียนอาจจะมาเซ้าซี้เรื่องท่าเทอม นั่น นี่ โน่น
ทางโรงเรียนอาจจะบอกว่า ถ้าไม่ไปเรียน จะ report เรื่องไปที่อิมมิเกรชั่น

ก็ไม่เป็นไรจ๊ะ
เราก็ปล่อยให้เขา report ไป
เพราะเขา cancle วีซ่านักเรียนเราไม่ได้แล้วหนิ
วีซ่านักเรียนเราหมดไปแล้ว

case แบบนี้ ใช้ได้เฉพาะ case ที่วีซ่านักเรียนหมดไปแล้วเท่านั้นนะครับ

สำหรับใครที่วีซ่านักเรียนยังไม่หมด ทำแบบนี้ไม่ได้นะครับ
หรือถ้าอยากจะทำ (อุ๊ย... no good นะจ๊ะ) ก็คุยกันหลังไมค์ละกัน

anyway... สิ่งที่อยากจะบอกก็คือ
ถ้าเรารู้ว่าวีซ่านักเรียนเรา expire ไปแล้ว
ตอนนี้ถือ Bridging Visa A อยู่
เราก็อย่าให้ใครมาคอย email มาขู่เรา นั่น นี่ โน่น

เซ้าซี้แบบนี้มันเด็ก ๆ หนะ...

Wednesday, June 27, 2018

ค่าสมัครวีซ่าที่จะมีการเพิ่มขึ้น เริ่ม 01 July 2018


ค่าสมัครวีซ่าที่จะมีการเพิ่มขึ้น; VAC Visa Application Charge
เริ่ม 01 July 2018

Business Talent Subclass 132
จาก $7,130 เป็น $7,290

Business Innovation and Investment (Permanent) subclass 888
จาก $2,350 เป็น $2,405

Subclass 101 (Child) visa, Subclass 102 (Adoption) visa
จาก $2,415 เป็น $2,470

Subclass 117 (Orphan Relative) visa
จาก $1,480 เป็น $1,510

Distinguished Talent; subclass 124/585
จาก $3,730 เป็น $3,810

Subclass 186 ENS, Subclass 187 RSMS
จาก $3,670 เป็น $3,755

Parent Visa; subclass 103/804
จาก $3,945 เป็น $4,035

Contributory Parent; subclass 143/864
จาก $3,770 เป็น $3,855

Partner Visa, Prospective Marriage Visa
จาก $7,000 เป็น $7,160


Independent Skilled Migrant Visa; Subclass 189
Skilled Nominated Visa; Subclass 190
Skilled Regional Provisional Visa; Subclass 489
จาก $3,670 เป็น $3,755

Student Visa; subclass 500
Student Guardian visa; Subclass 590
จาก $560 เป็น $575

Temporary Graduate visa; Subclass 485
จาก $1,500 เป็น $1,535

Temporary Skill Shortage Visa; Subclass 482
จาก $2,400 เป็น $2,455

J Migration Team
LINE: @JMigrationTeam (มี @ ข้างหน้าด้วย)
IG: @JMigrationTeam
Snapchat: @JMigrationTeam
YouTube: www.youtube.com/c/JMigration
Website: www.jmigrationteam.com
Podcast: anchor.fm/john-paopeng
SMS: +61 412470969

Saturday, June 16, 2018

ขอบคุณและรู้สึกเป็นเกียรติ


ขอบคุณและรู้สึกเป็นเกียรติ

ก็มีบ้างเป็นบางทีที่เราได้ทำให้ case ให้ลูกค้าบางคนที่เขาเป็นลูกค้าเก่าเมื่อ 9-10 ปีที่แล้ว

มันทำให้เราแอบนึกถึงช่วงแรก ๆ ปีแรก ๆ ที่เราทำ "J Migration Team" 

เมื่อ 10 ปีที่แล้วที่เราเริ่มต้นทำ "J Migration Team", ความคิดของเราแค่คิดว่า ทำไมคนที่ Wollongong จะต้องเข้าไปหาทนายความหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์คนไทยที่ Sydney ด้วยหละ ทำไมเราไม่มีของเราเองที่ Wollongong

และตอนนั้นเราก็มีความจำเป็นที่จะต้องทำเรื่องสปอนเซอร์พนักงานด้วยสิ วีซ่า subclass 457 ซึ่งเราก็ให้บริษัทของคนไทยที่หนึ่งที่ Sydney เป็นคนดูแลให้

เราก็คิดในใจว่า ไม่เป็นนะ ตอนทำวีซ่า subclass 457 เราใช้บริษัทที่ Sydney ดูแลให้ไปก่อน เดี๋ยวตอนทำ PR, subclass 186 เราจะทำให้เอง

คิดได้แบบนั้นเราก็ลงทะเบียนเรียนกฎหมายอิมมิเกรชั่นที่ ANU; The Australian National University เลยทันที ทั้ง ๆ ที่ตอนนั้นเราก็เรียนอักษรญี่ปุ่นอยู่แล้วที่ UOW; University of Wollongong

สรุปช่วงนั้นก็ทำธุรกิจไปด้วย
เรียนควบ 2 มหาวิทยาลัยไปด้วย แต่โชคดีหน่อยคืออักษรญี่ปุ่นที่ UOW เรียนเทอมสุดท้ายพอดี

ทำงานไปด้วย เรียนไปด้วย 2 มหาวิทยาลัย
เราทำได้จ๊ะ และทำได้ดีด้วย
ก็แค่ต้องนอนตี 2 ตื่น 7 โมงเช้า ก็แค่นั้นเอง
นอนวันละ 5 ชั่วโมง และดื่มกาแฟวันละ 5 แก้ว สมัยนั้น

ถึงแม้ว่าจะทำงานไปด้วย เรียนไปด้วย แต่ผลการเรียนก็ออกมาดี
อักษรญี่ปุ่นตัวสุดท้าย ตอนที่เขียน essay เข้าไปก็ได้ 95% นะ
ได้ High Distinction สำหรับ essay ตัวนั้น ก็ได้ top in class สำหรับ essay ตัวนั้น 

และอีกวิชาหนึ่งที่ต้องอ่านนิยายของญี่ปุ่น (แปลเป็นภาษาอังกฤษ) แล้วต้อง analyse วัฒนธรรมของญี่ปุ่นจากนิยายที่อ่าน เราเป็นนักเรียนในห้องคนเดียวที่ present แบบไม่ถือโพยอะไรเลย ดู powerpoint ตัวเองทีทำมาแล้วก็ present เลย เพื่อนร่วมชั้นทุกคนตื่นเต้นที่จะต้องพูดหน้าห้อง เราไม่ เราก็พูดเยอะของเราอยู่แล้ว ถ้าอ่านหนังสือมาดี เตรียมตัวมาดี จะต้องไปกลัวอะไร เช่นเดียวกัน เราได้คะแนน presentation เยอะที่สุดใน class, top in class 23/25 ยังจำคะแนนนี้ได้ไม่เคยลืม

ใครบอกหัวดำเรียนไม่เก่งจ๊ะ
ในห้องมีหัวดำแค่ 2 คนจ๊ะ เป็นคนไทยด้วยกันทั้งคู่ นอกนั้นหัวทองหมด
สรุป ใครชนะเลิศ??

ส่วนกฎหมายอิมมิเกรชั่นที่ ANU บางวิชาก็ได้ HD นะ High Distinction เช่นเดียวกัน มี essay ตัวสุดท้ายที่เราต้องเขียน จำไม่ได้ว่ากี่คำ น่าจะ 4,500 - 5,000 words เป็นการ analyse ว่าถ้าจะเปิดบริษัทหรือสำนักงานเกี่ยวกับอิมมิเกรชั่นจะต้องทำอะไร ยังไงบ้าง เนื่องด้วยเราก็ทำธุรกิจของเราอยู่แล้วตอนนั้น เราก็เขียนอะไรของเราไปเรื่อย เขียนจากมุมมองของนักธุรกิจด้วย และเราก็มีการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกับเพื่อน ๆ ใน class ผ่านพวก online forum ปรากฏว่าความคิดเห็นของเราแตกต่างจากทุก ๆ คนใน class แต่เฮ้ย คะแนนออกมาได้ High Distinction นะ

ใครบอกว่าหัวดำไม่มีศักยภาพ
เพียงแค่หัวทองเป็นเจ้าของภาษา พูดได้คล่อง แต่ถ้าขี้เกียจอ่านหนังสือ มันก็เท่านั้น เราเจอมาหมดแล้วเพื่อนร่วมห้องเรียนแบบนั้น

แต่เอ๊ะ เราเขียนมาถึงเรื่องนี้ได้ยังไง

กลับเข้าเรื่องต่อ
หลังจากที่เรียนจบ
ทำเรื่องของ MARN เราก็ได้ขอ PR; subclass 186 ให้กับพนักงานเราจริง ๆ สมัยก่อนไม่ต้องรอนานเหมือนสมัยนี้ พนักงานเราได้ PR ภายใน 2 weeks ทำฟรี

หรือบางทีก็ต่อวีซ่านักเรียนให้กับพนักงาน 1 วันวีซ่าก็ผ่าน แตกต่างกันกับสมัยนี้มาก ทำฟรี

หรือบางทีก็ช่วยทำ Partner Visa ให้กับพนักงาน ทำฟรี

ทุกคนที่เป็นพนักงานของเราตอนนั้นเราทำให้ฟรีหมดทุกคน ตอนนี้ก็ได้ดิบได้ดีกันไปหมดแล้ว หลาย ๆ คนตอนนี้ก็ทำงานเป็นส่วนหนึ่งของ J Migration Team ก็มี

จากวันนั้น มาถึงวันนี้ 10 ปีที่ผ่านมา เราไม่เคยลืมร้านอาหารไทยต่าง ๆ แถว ๆ Wollongong และร้านนวดไทยที่ Wollongong แต่ก่อนมีแค่ร้านเดียวจ๊ะ เพราะพวกเขาคือลูกค้ากลุ่มแรก ๆ ของเราเลย

แต่ก่อนเราก็ต้องทำ brochure นะ
แล้วก็ส่งไปตามที่อยู่ของร้านอาหารไทยในระแวก Wollongong

หลาย ๆ คนก็เข้ามาใช้บริการแบบกล้า ๆ กลัว ๆ เพราะเราเป็นเด็กหน้าใหม่ มือใหม่ในวงการนี้

เราก็ลงโฆษณาที่หนังสือพิพม์ Thai-Oz ด้วย เราลงโฆษณาแค่ 1 ปีแรก ปี 2008 หลังจากนั้นลูกค้าทุกคนเป็นพวกปากต่อปากกันทั้งนั้น

หลาย ๆ คนอาจจะมาไม่ทันยุคของหนังสือพิมพ์ Thai-Oz ก็ได้ ตอนนี้หนังสือพิมพ์ Thai-Oz ไม่มีแล้วจ๊ะ

จากวันนั้น มาถึงวันนี้ 10 ปี
หากเราไม่มีพวกเขาเหล่านั้น เราก็คงไม่มีวันนี้เหมือนกัน เราไม่เคยลืม
เรารู้สึกเป็นเกียรติอย่างยิ่งที่ลูกค้าบางคน ที่เป็นลูกค้าเก่าแก่ของเราตั้งแต่เมื่อ 9-10 ปีที่แล้ว ตอนนี้ก็กลับมาใช้บริการเราอีก มาใช้บริการของวีซ่า subclass ตัวอื่น

จากวันนั้น ถึงวันนี้ เราเดินทางมาไกลแสนไกล
จากแต่ก่อนที่เวลาไปงานสัมนากฎหมายอิมมิเกรชั่นที่ Sydney ก็จะถูกคุณป้าเจ้าของบริษัทยักษ์ใหญ่ของคนไทยที่ Sydney บอกว่า "จะดีเหรอ จะไหวเหรอ จะคุ้มค่า MARN ที่จะต้องจ่ายทุกปีหรือเปล่า"

ค่า MARN ที่จะต้องจ่ายทุกปีก็ประมาณ  $5,000 นะ บวกค่าประกัน ค่า online subscription ของอิมมิเกรชั่นแล้ว นั่น นี่ โน่น

ดูเอาเถอะ ไม่ต้องที่ไหนอื่นไกลเลยจ๊ะ คนไทยเรานี่แหละที่ชอบดูถูกกัน
10 ปีผ่านไป เราก็ยังจำวันนั้นได้ ไม่มีลืม วันที่เขาพูดกับเรา ทำเราสะอึก แล้วเดินจากไป เราทำอะไรมากไม่ได้ เราเป็นผู้น้อย เขาเป็นผู้ใหญ่ ก็แค่เจอกันงานไหน ก็ไม่ต้องยกมือไหว้ ก็แค่นั้นเอง 

10 ปีที่แล้ว ป้าไปงานสัมนาแบบไม่แต่งหน้า หน้าซีด ๆ หน้าจืด ๆ ยังไง 
9 ปีผ่านไป ป้าก็ยังเหมือนเดิม ไปงานสัมนาแบบไม่แต่งหน้า หน้าซีด ๆ หน้าจืด ๆ
เราเจอกันในงานสัมนากฎหมายอิมมิเกรชั่นเมื่อปีที่แล้ว 2017

จากวันที่เคยโดนคุณป้าเจ้าของบริษัทยักษ์ใหญ่ของคนไทยใน Sydney พูดจากดูถูกเมื่อ 10 ปีก่อน

ตอนนี้เรา happy กับสิ่งที่เรามีอยู่
เรามีลูกค้ามาจากทุกรัฐของประเทศออสเตรเลีย

ลูกค้าเคยนั่งรถไฟจาก Melbourne มา Wollongong เพื่อมาหาเรา ก็เคยมีมาแล้ว

ลูกค้าขับรถมาจาก VIC มาหาเราที่ Canberra office ก็เคยมาแล้ว
ลูกค้าบินมาจาก Melbourne มาหาเราที่ Wollongong office ก็เคยมาแล้ว
ลูกค้าบินมาจาก Darwin มาหาเราที่ Wollongong office ก็เคยมาแล้ว

ตอนนี้เราก็บินไปทำงานต่างรัฐ บินเช้าเย็นกลับ อย่างที่เห็น เราก็ทำมาแล้ว

แต่ก็อย่ามองเห็นเราเฉพาะตอนที่เราอยู่บนที่สูง
อยากจะให้ทุกคนเห็นอีกหนึ่งมุมมองด้วย
อย่างเช่นการเดินทางจาก Wollongong ไป Melbourne หรือ Brisbane แบบบินเช้าเย็นกลับ เราไม่ได้สบายเลยนะครับ เพราะนั่นหมายถึงการที่เราจะต้องตื่นตี 2 (2am) เพื่อมาอาบน้ำ แต่งตัว ขับรถไปสนามบิน และต้องบินเที่ยวเช้าที่สุด เพื่อที่จะได้ทันเจอลูกค้า 9am ที่ Melbourne เหนื่อยนะกับการเดินทางแบบนี้ 

แต่เราก็ทำ ทำเพื่อลูกค้า เพราะหลาย ๆ คนต้องการทำ face-to-face consultation หลาย ๆ คน feel more comfortable ที่ได้เจอตัวเป็น ได้คุยกันตัวต่อตัว

แต่จะอะไร ยังไงเสีย เราก็รู้สึกขอบคุณลูกค้าทุกคน
J Migration Team เราเริ่มต้นแบบ humble
แบบไม่มีอะไรเลย
แบบเด็กหน้าใหม่ แต่เป็นคนกล้าคิด กล้าทำ และก็ทำทันที ก็แค่นั้นเอง

เราก็ขอเป็นกำลังใจให้กับคนรุ่นใหม่ด้วยเช่นเดียวกัน
หากคิดที่จะทำอะไร ให้คิดแล้วทำทันที อย่าคิดนาน

ส่วนใครที่เขาดูถูก ดูแคลนเรา ก็ไม่ต้องไปใส่ใจ
ไม่ต้องไปสูงสิง

หมดบุญของเขา หมดกรรมของเรา

ให้เราเอาคำพูดเหล่านั้นมาเป็นแรงพลักดัน และเป็นแรงขับเคลื่อนชีวิตของเรา

คนไทยทำได้
คนไทยเรามีศักยภาพ
คนไทยอยู่ที่ไหนก็ประสบความสำเร็จได้ ถ้าไม่ขี้เกียจ

Partner Visa, วีซ่าคู่รักกับ form 888


เราเคยเขียน blog เรื่องการกรอกฟอร์ม 888 สำหรับ Partner Visa หรือวีซ่าคู่รักไปแล้ว

และเราก็เคยทำเป็น Video clip (หรือ Facebook LiVE ไม่แน่ใจ) ไปแล้วเช่นเดียวกัน

แต่ blog ที่เราจะเขียนวันนี้ เราจะเขียนกันในเรื่องของ ID หรือหลักฐานที่พยานเอามายืนยันว่าเขาเป็น PR หรือ citizen จริง

สำหรับคนที่เป็น citizen ลักฐานก็อาจจะเป็นใบเกิด, หรือไม่ก็ passport หรือ citizenship certificate อะไรก็ว่าไป

สำหรับคนที่เป็น PR หลักฐานก็จะเป็น passport และ visa grant

หลักฐานพวกนี้ไม่จำเป็นต้องให้ JP (หรือเจ้าหน้าที่ที่อยู่ใน list ตรงหน้า 1 ของฟอร์ม 888) เซ็นรับรองนะครับ

JP มีหน้าที่แค่เซ็นฟอร์ม 888 ตรงหน้าที่ 4 นะครับ
ส่วนพวกเอกสาร ID หรือหลักฐานยืนยันว่าเราเป็น PR หรือ citizen นั้น เราไม่จำเป็นต้องให้ JP เซ็นเพราะสมัยนี้เรายื่นเอกสาร online กันแล้ว

ถ้าเรายื่นเรื่อง online เราก็สามารถ scan เอกสารพวก ID พวกนี้ได้
ขอให้ scan เป็นสี ชัด ๆ ก็ถือว่าใช้ได้แล้ว

สาเหตุที่เราบอกว่าพยานไม่จำเป็นต้อง JP เซ็นเอกสารพวก ID ก็เพราะว่า ถ้าเราจะเอาเอกสารให้ JP เซ็น ก็แสดงว่าเราก็ต้องถ่ายเอกสาร หรือ photocopy เอกสารมา แล้วให้ JP เซ็น

พอ JP เซ็นแล้วเราก็ต้องมา scan เอกสารอีก
การ scan เอกสารจากตัวสำเนา หรือ photocopy ส่วนมากจะมีปัญหาในเรื่องของความคมชัด หรือ resolution ซึ่งโดยส่วนตัวแล้ว เราคิดว่าการ scan เอกสารจากตัวจริงจะชัดและดูสะอาดตากว่ากันเยอะ

อีกอย่างมันก็เป็นการลดงานทั้งของพยานและ  JP ลงไปด้วย

และก็ลดการใช้กระดาษ
ลดการตัดต้นไม้ด้วย

เล็ก ๆ น้อย ๆ อย่ามองข้ามกันนะครับ

เธอไม่คิด... แต่ฉันคิด...

Friday, June 15, 2018

Parent Visa; วีซ่า PR สำหรับคุณพ่อ หรือคุณแม่ แบบจ่ายตังค์และแบบไม่จ่ายตังค์



Parent Visa; วีซ่า PR สำหรับคุณพ่อ หรือคุณแม่ 
แบบจ่ายตังค์และแบบไม่จ่ายตังค์



ช่วงนี้ก็มีหลายคนมากนะครับที่สอบถามเรามามีเรื่องของ Parent Visa 

Parent Visa คือเป็นวีซ่าสำหรับคนที่เป็น PR หรือ citizen ที่ต้องการจะสปอนเซอร์คุณพ่อหรือคุณแม่เพื่อที่จะมาอยู่ที่นี่ เป็นคนถาวร

และก็เราเคย post ไปแล้วนะครับว่า ถ้าเกิดเป็น Parent Visa ธรรมดาปกติโดยที่ไม่จ่ายตังค์ให้กับรัฐบาล คุณพ่อหรือคุณแม่ต้องรอประมาณ 25-30 ปี

ซึ่งเราก็คิดว่านานเเละก็นานมาก
เเต่ว่าบางคนเขาก็ไม่ mind ที่จะรอ 25-30 ปี

เพราะว่าคุณพ่อหรือคุณแม่บางท่านก็อาจจะมาด้วยวีซ่า ท่องเที่ยวมาเเล้วก็ไม่ติด condition 8503 คุณพ่อหรือคุณแม่ก็สามารขอ Parent Visa เเละก็อยู่ที่นี่ไปเรื่อย ๆ เป็น Bridging Visa 

บางคนรอ 25-30 ปีก็อาจจะเสียชีวิตก่อนที่จะได้ PR ก็อาจเป็นได้เ

แต่ว่าบางคนเค้าไม่ mind เพราะว่าเค้าต้องการแค่ที่จะ spend time หรือว่าใช้เวลาอยู่กับลูกหลาน ก็คือการใช้เวลาบั้นปลายชีวิตอยู่กับลูกหลานที่ประเทศออสเตรีย เพราะว่าบางคนอาจจะไม่เหลือใครเเล้วที่เมืองไทย ก็อาจจะเป็นได้

อย่าลืมนะครับว่าสถานการ์ณรึว่า case เเต่ละ case 
เเต่ละคนไม่เหมือนกัน 

บางทีความคิดเห็นของเราอาจจะไม่เหมือนของคนอื่น
เพราะว่าสถานการ์ณของเเต่ละครอบครัวไม่เหมือนกัน

บางที่คนที่เข้ามา comment นั่น นี่ โน่น ก็ไม่ต้องไปคิดเเทนคนอื่นนะครับ

วีซ่าตัวนี้มันอาจจะไม่เหมาะสำหรับ you เเต่มันอาจจะเหมาะสำหรับคนอื่นก็เป็นได้

เเละการที่คนอื่นเขา happy ที่จะจ่ายตังให้กับรัฐบาลเขาอาจจะมีเหตุผลส่วนตัวสำหรับครอบครัวเขา

มันอาจจะไม่ใช่เหตุผลของกับครอบครัวเรา อะไรประมาณนี้

Anyway, Parent Visa มี 2 แบบคือเเบบจ่ายตังค์ และเเบบไม่จ่ายตังค์

บางคนก็บอกเอ๊ะยังไงจ่ายตังค์ กับไม่จ่ายตังค์ค

คือทุกคนต้องจ่ายค่าสมัครวีซ่าอยู่เเล้ว ค่าสมัครวีซ่า มันอยู่ที่ $3,945 

ถ้าเผื่อ you ไม่ต้องการจ่ายตังค์เพิ่มให้กับอิมมิเกรชั่น 

คำว่าจ่ายตังค์เพิ่มให้กับอิมมิเกรชั่นก็คือ คนที่สูงอายุเนี่ยก็จะมีค่าดูเเลรักษาผู้ดูเเลผู้สูงอายุ

ถ้าคนสูงอายุมาเป็น PR ของประเทศออสเตรียอย่าลิมนะครับว่า PR เนี่ยเขาก็ต้องได้ Medicate เขาก็สามารถไปหาหมอฟรี ไปโรงพยาบาลฟรี อะไรประมาณเนี่ย

ดังนั้นถ้าเผื่อรัฐบาลเอาคนสูงอายุเข้ามาในประเทศเยอะ ๆ เนี่ย เเน่นอนมันก็กลายเป็นภาระของรัฐบาล เป็นภาระของคุณหมอที่ต้องคอยมาดูเเลรักษาผู้สูงอายุ

ไม่ได้หมายความว่าเรา anti ผู้สูงอายุนะ

เราเเค่พูดไปตามเนื้อผ้า 

ก็นั่นเเหละถ้าเผื่อใครไม่อยากจ่ายตังค์เพิ่มให้กับรัฐบาลตรงส่วนนี้
ก็จ่ายไป $3,945 

เเล้วก็ตอนที่วีซ่า มันจะออกเนี่ยก็มีจ่ายเพิ่ม เขาเรียกว่าเป็น second instalment ซึ่งก็เเค่ $2,065 รวมกันก็จะเป็น $6,010 

ถ้าเผื่อคุณพ่อคุณเเม่ยังไม่เสียชีวิตก่อน คุณพ่อคุณเเม่ก็อาจจะได้ PR 

อย่าลืมนะครับว่าต้องรอ 25-30 ปี 

อย่างที่บอกว่าบางคนเค้าไม่ mind ที่จะถือ Bridging Visa เเละก็อาจจะไม่ได้ PR เลยก็ได้ เเต่ว่าก็ได้ใช้ชีวิตบั้นปลายอยู่กับลูกหลาน

นั่นคือแบบเเรกที่ไม่จ่ายตังค์ให้กับอิมมิเกรชั่น 

แบบที่ 2 คือถ้าเผื่อครอบครัวหรือว่าคุณพ่อคุณเเม่ happy ที่จะจ่ายตังค์ให้กับรัฐบาล เพื่อที่เขาจะได้นำเอาเงินส่วนนี้ไปเป็นค่าบำรุงรักษาดูเเลคนสูงอายุ

เงินตรงส่วนเนี้ยมันก็ $43,600 นะครับ 

$43,600 เนี่ยไม่ต้องจ่ายเลยตอนที่เราสมัคร

ตอนที่เราสมัครเราจ่ายไปเเค่ $3,945 ก็พอ
เเล้วตอนที่เราจะได้ PR ทางอิมมิเกรชั่นก็จะมี invoice มาว่าผู้สมัคร ต้องจ่าย second installment เเล้วนะ

ถ้าคนสมัครจ่าย $43,600 ก็ได้ PR เลย

ดังนั้นก็สำหรับคุณพ่อหรือคุณเเม่ที่ขอ Parent visa แบบที่ 2 

คือเเบบที่จ่ายเงินให้กับรัฐบาล $43,600 ก็จะรอเเค่ 1.5-2 ปีเเค่นั้นเอง

ใครชอบเเบบไหน อะไร ยังไง ก็เลือกเอาในสิ่งที่ตัวเองชอบ
เเละก็คิดว่าเหมาะสมสำหรับครอบครัวของตัวเองนะครับ

ส่วนถ้าครอบครัวไหนไม่พร้อม
หรือว่าไม่อยากทำก็ไม่เป็นไร

เเต่ละครอบครัวมีสถาณการณ์ที่เเตกต่างกัน

ดังนั้นครอบครัวเขา ไม่จำเป็นต้องเหมือนครอบครัวเรา
ครอบครัวเราก็ไม่จำเป็นต้องเหมือนครอบครัวเขา 

เราในฐานะของคนกลาง เราก็เเค่เอาข้อมูลมานำเสนอเฉย ๆ ส่วนใครจะทำ อะไร ยังไง นั้นมันเป็นเรื่องส่วนบุคคล

ถ้าเพื่อใครสนใจที่จะทำ Parent Visa ก็ติดต่อมาได้นะครับ

ทั้ง 2 แบบ จะเอาแบบ 25-30 ปี
หรือว่าจะเอาได้ PR ภายใน 1.5-2 ปี ก็ได้

Sunday, June 3, 2018

วีซ่าขาดกับ Partner Visa


เดี๋ยวก่อนนะ เราขอบอกไว้ก่อนว่า
ก่อนที่ใครจะ make judement อะไรเกี่ยวกับคนวีซ่าขาด
เราขอเชิญท่านไป make judgement ที่อื่น
ที่ ๆ นี้อาจจะไม่ที่ของคุณ

ชีวิตทุกคนมันมีพลาดพลั้งกันได้
เหมือนการที่คนเราเสียตัวครั้งแรกนั่นแหละ มันเรียกกลับคืนมาไม่ได้

อดีตผ่านมาแล้ว ให้มันผ่านไป
พรุ่งนี้มันยังมาไม่ถึง
เอาวันนี้ให้รอดกันไปก่อน ทำวันนี้ให้ดีที่สุด
เพราะ you อาจจะอยู่ไม่ถึงพรุ่งนี้ก็เป็นได้

วีซ่าขาด ไม่ได้แปลว่าชีวิตเขาต้องขาด
วีซ่าเขาจะขาดด้วยเหตุผลอะไร มันคือเรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องของเรา

จากสถิติของรัฐบาลออสเตรเลีย ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศที่มีวีซ่าขาดมากที่สุดจ๊ะ ดังนั้นกรุณาอย่าดราม่ากันให้มาก

คนที่วีซ่าขาดจะทำให้คนไทยขอวีซ่ายากหรือเปล่านั้น
hmmm... ถ้าคุณสมบัติส่วนตัวของคุณครบ แล้วคุณจะกลัวอะไรหละจ๊ะ

ก็เอาเป็นว่ามันเป็นความคิดเห็นของเราก็แล้วกัน
ส่วนใครจะเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วย
ก็สุดแต่ใจจะไขว่คว้าก็แล้วกัน

anyway... เริ่มเข้าเรื่องที่จ่าหัวเอาไว้

วีซ่าขาดกับ Partner Visa รู้สึกว่ามันช่างเป็นของคู่กันเสียนี่กระไร
โดยส่วนตัวแล้วเรามองเรื่องวีซ่าขาด เป็นเรื่องเฉย ๆ มาก เราไม่ได้ treat คนที่วีซ่าขาดแตกต่างจากคนอื่น

ตามกฎหมายของประเทศออสเตรเลียแล้ว ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะมี representative ในการดำเนินเรื่องหรือดำเนินการทางด้านกฎหมาย

มันเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐานจ๊ะ
basic humanright

คนที่วีซ่าขาดหลาย ๆ คนเจอคนรักที่นี่
ความรักเป็นสิ่งสวยงามจ๊ะ

make love, not war

คนเขารักกัน เราก็ควรที่จะยินดีกับเขาด้วย (หรือเปล่านะ)
คนที่วีซ่าขาดแล้วจะทำ Partner Visa เหรอ
ก็ไม่ยากนะ
ที่ง่ายที่สุด เราก็แนะนำให้บินออกไปทำเรื่องข้างนอก
แล้วก็รออยู่ข้างนอกก็แค่นั้นเอง
แน่นอน คนที่วีซ่าขาดอาจจะบินกลับเข้ามาที่นี่ไม่ได้จนกว่า Partner Visa จะผ่าน

แต่ Partner Visa ที่ยื่นนอกประเทศ ยื่นแบบ offshore มันรอกันไม่นานนะครับ ไม่เหมือนพวกที่ยื่นภายในประเทศ

แน่นอน หากคนรักเขาคิดถึงกัน
แฟนที่อยู่ที่นี่ก็คงจะเป็นฝ่ายบินไปหาที่เมืองไทย อะไรก็ว่าไป

Partner Visa ของคู่รักที่วีซ่าขาด เราทำมาหลายคู่แล้วจ๊ะ
ผ่านหมดทุกคู่ ดังนั้นมันไม่ใช่เรื่องใหญ่จริง ๆ จ๊ะ

โดยเฉพาะคนที่เป็นคนสปอนเซอร์หลาย ๆ คน stress เหลือเกิน นั่น นี่ โน่น

กลัวแฟนจะไม่ได้กลับมา
โถ คงไม่อยากนอนคนเดียว เปล่าเปลี่ยวอุรา

ดังนั้นเราอยากจะให้คนที่วีซ่าขาด รวมไปถึงแฟนของเขาด้วย
ไม่ต้อง stress
It's not the end of the world.

แยกกันอยู่แป๊บเดียว
อดเปรี้ยวไว้กินหวาน
กินคราวนี้ คงจะได้กินกันนาน ๆ เลยแหละ

เราขอเป็นกำลังใจให้กับคนที่วีซ่าขาดทั้งหลาย และแฟนของเขา
ดำเนินชีวิตไปตามปรกติ
เก็บเอกสารของพวกเธอไป
พร้อมเมื่อไหร่ ก็ทักมา

ข้อมูลของลูกค้าของทุกคนถือว่าเป็นความลับจ๊ะ
Privacy law

LINE: @JMigrationTeam  (มี @ ข้างหน้าด้วย)
IG: @JMigrationTeam
Snapchat: @JMigrationTeam

SMS: +61 412470969

ขอโทษ


“ขอโทษ”

ณ กาลครั้งหนึ่ง เมื่อเรายังเยาว์วัยและด้วยประสบการณ์อันน้อยนิดเกี่ยวกับการ dealing กับคน
คิดว่าน่าจะปี 2016 (ถ้าจำไม่ผิดนะ)
บุคคลท่านหนึ่ง ได้ส่ง LINE เข้ามาถาม นั่น นี่ โน่น
(เขาเป็นคนจังหวัดพะเยานะ คิดว่า)

เราไม่ได้ตอบ หรือเราตอบช้านี่แหละ เราจำไม่ได้แล้ว
แล้วเขาก็ post something เข้ามาทวงอีกรอบ
เราได้ทำในสิ่งที่เราไม่ควรทำคือ
เรา post ไปว่า “ให้เขาไปเห่าที่อื่น”

ใช่จ๊ะ เรา post ไปอย่างนั้นจริง ๆ

อาจจะด้วยวัยที่คึกคะนอง ณ ตอนนั้น
อาจจะด้วยมารยาทที่เราไม่ค่อยมี ณ ตอนนั้น
อาจจะด้วยความความโมโหหรืออารมณ์ที่ไม่น่ารักของเรา ณ ตอนนั้น

สถานการณ์แบบนี้เราผิดเต็มประตู 110%
เรายอมรับ
เราไม่มีข้อแก้ตัวอะไรใด ๆ ทั้งสิ้น
แต่ตอนนั้น “J” ผู้ไง่เขลาคนนี้ เขาไม่ได้คิดอะไรแบบนั้น
เขารู้ว่าแต่เขาอารมณ์เดือด ณ ตอนนั้น
“J” ผู้ไง่เขลาคนนี้  ก็ทำงานของเขาต่อ 2017, 2018 อะไรก็ว่าไป

โถ.. เราช่างโง่เขลาอะไรเช่นนี้

มารู้ตัวอีกที เราคงไปสร้างบาดแผลในใจของเขาคนนั้นไว้ลึกเหมือนกัน
เรารู้สึกเสียใจกับสิ่งที่เราได้พลาดพลั้งลงไป
เรากราบขอโทษกับสิ่งที่เราได้ทำหรือ post อะไรลงไป

ชีวิตจริง มันไม่มี time machine ที่จะย้อนเวลากลับไปได้
แต่บาดแผลในใจของเขาคนนั้น มันก็คงเป็นตราบาปของเราไป
เรารู้สึกเสียใจเป็นอย่างยิ่งกับสิ่งที่เราได้ทำอะไรลงไป
post นี้เขาคนนั้นจะได้ด้เห็น จะได้อ่านหรือเปล่าเราไม่รู้
เพราะเราอาจจะ block เขาไปแล้ว (หรือเปล่านะ)

เราทำอะไรลงไปนะ
ไม่น่าเลย

ประสบการณ์ทุกสิ่งอย่างในชีวิต
มันช่างเป็นครูที่ดีเสียนี่กระไร
เราก็ได้แต่ถามตัวเองว่า เราได้เรียนรู้อะไรบ้างจากเหตุการณ์ในครั้งนั้น

ทุกคนที่ไม่ต้องเป็นห่วงเรานะครับ
เราไม่ได้เป็นอะไร เราก็ยังใช้ชีวิตของเราไปตามปรกติ
แต่เราก็คิดว่า ภารกิจนี้มันเป็นอะไรที่จะต้องทำ
เพื่อเราจะได้ move on กับชีวิตของเราต่อไป

เราคิดว่าปี 2018 เราจัดการอะไรต่าง ๆ ได้
เราคิดว่าตอนนี้จิตเรานิ่งพอแล้ว ไม่ต้องเป็นห่วงจ๊ะ… :)

ก็แค่อยากจะออกมาขอโทษ
ทำในสิ่งที่ถูกต้อง ถึงแม้ว่ามันอาจจะสายไปแล้ว
แต่ก็ไม่เป็นไร... ขอให้เราได้ทำ

เพียงแค่นี้ก็สุขใจแล้ว...

จาก “J” ผู้โง่เขลา