Friday, July 22, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย Skill assessment ของสาขาอาชีพทางด้าน IT


IT เป็นสาขาที่นักเรียนต่างหลายๆชาติเลือกเรียนกัน โดยเฉพาะนักเรียนต่างชาติจากประเทศไทย จีน และอินเดีย

สาขาวิชาอาชีพทางด้าน IT เป็นอะไรที่ boom นะครับ เพราะโลกเราทุกวันนี้อะไรก็ใช้เทคโนโลยีกันไปหมด ดังนั้นสาขาอาชีพทางด้าน IT จึงเป็นที่ต้องการของทั่วโลกเลย ไม่เฉพาะประเทศออสเตรเลีย ดังนั้นถ้าใครเรียนจบมาทางด้านนี้ โอกาสที่จะขอวีซ่า และขอ PR ภายใต้ Skilled Migrant ของประเทศออสเตรเลียจึงมีความเป็นไปได้สูงมาก

ก็อยากจะให้ทุกคนลองศึกษาวิชาเรียนในสาขาอาชีพ IT กันให้ดีๆนะครับ เพราะเราคิดว่าสาขาอาชีพนี้ยังจะอยู่ได้ไปอีกนานและไกล

เดี๋ยว blog นี้เรามาทำความรู้จักกับหน่วยงานที่ทำ skill assessment ของสาขาอาชีพ IT กันนะครับ หน่วยงานที่ว่านี้ก็คือ Australian Computer Society; ACS.

ACS เป็นหน่วยงานที่ทำ skill assessment ให้กับ skill migrant; subclass 189, 190 และก็ subclass 485 ด้วย (สาขาอาชีพที่อยู่ใน SOL):

261111 - ICT Business Analysts
261112 - Systems Analysts
261311 - Analyst Programmer
261312 - Developer Programmer
261313 - Software Engineer
263111 - Computer Network and Systems Engineer


นอกจากนั้นแล้ว ACS ก็ยังทำ skill assessment ให้กับวีซ่าที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ด้วย; subclass 457, 186 และก็ 187 (สาขาอาชีพที่อยู่ใน CSOL):

135111 - Chief Information Officer
135112 - ICT Project Manager
135199 - ICT Managers NEC
223211 – ICT Trainer
261111 - ICT Business Analysts
261112 - Systems Analysts
261211 - Multimedia Specialist
261212 - Web Developer
261311 - Analyst Programmer
261312 - Developer Programmer
261313 - Software Engineer
261314 - Software Tester
261399 - Software and Application Programmer
262111 - Database Administrator
262112 - ICT Security Specialist 
262113 - Systems Administrator
263111 - Computer Network and Systems Engineer
263112 - Network Administrator
263113 - Network Analyst
263211 - ICT Quality Assurance Engineer
263212 - ICT Support Engineer
263213 - ICT Systems Test Engineer
263299 - ICT Support and Test Engineer NEC
313113 - Web administrator 

จะสังเกตุว่าสาขาอาชีพที่อยู่ใน CSOL จะมีมากกว่า SOL นะครับ

การทำ skill assessment ของ general skill migrant (subclass 189 & 190) จะไม่เหมือนกับการทำ skill assessment ของ subclass 485

การทำ skill assessment ของ ACS จะไม่มี requirement ในส่วนของภาษาอังกฤษ

การที่ skill assessment ของเราจะผ่านก็ต่อเมื่อรายวิชาที่เราเรียนใน transcript นั้น ต้องเป็นรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับ IT และ 65% ของรายวิชาต่างๆที่อยู่ใน transcript ต้องมีความใกล้เคียงกับ สาขาอาชีพหรือตำแหน่งงานที่เราเลือกทำ skill assessment เราต้องเลือกสาขาอาชีพให้ตรงกับที่เราเรียนให้มากที่สุดนะครับ เพราะสาขาอาชีพทางด้าน IT นั้นเยอะมาก อย่างที่เห็นตามด้านบน


Temporary Graduate; Subclass 485
สำหรับคนที่ต้องการทำวีซ่า subclass 458 ซึ่งปกติก็ต้องเป็นเด็กนักเรียนที่เรียนที่ประเทศออสเตรเลียอยู่แล้ว ถึงจะสามารถขอวีซ่า subclass 485 การทำ skill assessment ของคนที่ต้องการทำวีซ่า subclass 485 นั้นทำได้ง่ายๆนะครับ คือแค่เอาใบจบ ป.ตรีหรือสูงกว่า จากมหาวิทยาลัยที่นี่และก็ transcript แล้วยื่นมาที่ ACS แค่นี้ก็ทำ skill assessment ผ่านแล้วครับ เพราะว่ามหาวิทยาลัยที่นี่ ยังไงก็ต้องได้มาตรฐานของ ACS อยู่แล้ว

Skilled Migrant; subclass 189 & 190
สำหรับนักเรียนที่เรียนจบที่ประเทศออสเตรเลีย ป.ตรีหรือสูงกว่า ก็สามาถทำเป็น "Post Australian Study Skill Assessment" ได้เลย นี่แหละข้อดีของการจบที่ประเทศออสเตรเลีย


  • การทำ skill assessment สำหรับคนที่จบที่ออสเตรเลียก็เอาแค่ ประสบการณ์การทำงาน 1 ปีหลังจากที่เรียนจบทันที หรือทำ Professional Year กับ ACS แค่นี้ก็ทำ skill assessment ผ่านแล้ว
สำหรับคนที่ไม่ได้ทำ Professional Year  หรือไม่มีประสบการณ์การทำงาน 1 ปีหลังจากที่เรียนจบทันที ก็สามารถทำ skill assessment ได้เหมือนกัน แต่จะมี requirement ที่แตกต่างกันออกไป

สำหรับคนที่จบ ป.ตรีหรือสูงกว่า:


  • สำหรับคนที่จบ ป.ตรีหรือสูงกว่า ถ้าเรียน IT เป็น major และสาขาวิชาที่เรียนมาก็ตรงกับสาขาอาชีพที่จะขอวีซ่า ก็ต้องมีประสบการณ์การทำงานอย่างต่ำ 2 ปีในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา หรือ 4 ปีของชีวิตการทำงาน


  • สำหรับคนที่จบ ป.ตรีหรือสูงกว่า ถ้าเรียน IT เป็น major แต่สาขาวิชาที่เรียนมาไม่ตรงกับสาขาอาชีพที่จะขอวีซ่า ก็ต้องมีประสบการณ์การทำงานอย่างต่ำ 4 ปีของชีวิตการทำงาน



  • สำหรับคนที่จบ ป.ตรีหรือสูงกว่า ถ้าเรียน IT เป็น minor และสาขาวิชาที่เรียนมาก็ตรงกับสาขาอาชีพที่จะขอวีซ่า ก็ต้องมีประสบการณ์การทำงานอย่างต่ำ 5 ปีในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา หรือ 6 ปีของชีวิตการทำงาน


  • สำหรับคนที่จบ ป.ตรีหรือสูงกว่า ถ้าเรียน IT เป็น minor แต่สาขาวิชาที่เรียนมาไม่ตรงกับสาขาอาชีพที่จะขอวีซ่า ก็ต้องมีประสบการณ์การทำงานอย่างต่ำ 6 ปีของชีวิตการทำงาน

สำหรับคนที่เรียนจบมาทางด้าน Diploma, Advanced Diploma หรือ Associate Degree:
  • สำหรับคนที่เรียนจบมาทางด้าน Diploma, Advanced Diploma หรือ Associate Degree ถ้าเรียน IT เป็น major และสาขาวิชาที่เรียนมาก็ตรงกับสาขาอาชีพที่จะขอวีซ่า ก็ต้องมีประสบการณ์การทำงานอย่างต่ำ 5 ปีในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา หรือ 6 ปีของชีวิตการทำงาน

  • สำหรับคนที่เรียนจบมาทางด้าน Diploma, Advanced Diploma หรือ Associate Degree ถ้าเรียน IT เป็น major แต่สาขาวิชาที่เรียนมาไม่ตรงกับสาขาอาชีพที่จะขอวีซ่า ก็ต้องมีประสบการณ์การทำงานอย่างต่ำ 6 ปีของชีวิตการทำงาน


No comments:

Post a Comment