สืบเนื่องจากการเขียน blog ไปเมื่อวาน รู้สึกว่ามีอาการค้างคาใจที่อยากจะต้องเขียนต่อ เพราะหลายๆคน โดยเฉพาะคนไทยที่ไม่ค่อยรู้เรื่องนี้เท่าไหร่
ตามกฎหมายอิมมิเกรชั่นของที่ออสเตรเลีย อิมมิเกรชั่นเอเจนท์ที่ถูกกฎหมายและลงทะเบียนถูกต้อง หรือ Registered Migration Agent ทุกคนจะต้องมีหมายเลขประจำตัวคือ MARN และกฎหมายก็บังคับด้วยว่า การโฆษณาทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น email, Internet, นามบัตร และการโฆษณาตามสื่อต่างๆ อิมมิเกรชั่นเอเจนท์ที่ถูกต้อง จะต้องแจ้งหรือแสดง MARN ตลอด ลืมไม่ได้ เพราะนี่คือกฎหมายบังคับ
ถ้าใครไม่มี MARN ก็แสดงว่าไม่ใช่อิมมิเกรชั่นเอเจนท์ที่ถูกกฎหมาย หรือเรียกง่ายๆว่า "ของเก๊" "ของปลอม" ดังนั้นอยากให้ทุกคนระหวังให้ดี เพราะคนบางคนคิดว่า ไปอ่านหาข้อมูลจาก website ของกระทรวงอิมมิเกรชั่น แล้วก็มาเสนอตัวเป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์ แบบนี้ผิดกฎหมายครับ แต่ด้วยความที่หลายๆคนไม่รู้ว่าอิมมิเกรชั่นเอเจนท์ที่ถูกต้อง จะต้องมี MARN โชว์ตลอด
การที่จะเป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ใช่ว่าทุกคนก็สามารถเป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์ได้ โดยเฉพาะหลัง 1 July 2006 (เอ... หรือว่าเราจำปีผิดหว่า ไม่แน่ใจ) การที่จะเป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์นั้น ต้องจบ Graduate Certificate in Australian Migration Law & Practice จากมหาวิทยาลัย ซึ่งตอนนี้เปิดสอนอยู่แค่ 4 มหาวิทยาลัยเอง ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มี ANU (The Australian National University) ซึ่งพี่จอห์นจบมา และจบมาก็ไม่ใช่ง่ายๆ ตอนลงทะเบียนเรียนหนะ มีคนเรียนเยอะแยะ แต่พอแต่ละเทอมผ่านไป คนก็เริ่มน้อยลง น้อยลง
พอเรียนจบได้เป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์ ทุกๆปีเราก็ต้องมีการต่อใบอนุญาตเพื่อเอา MARN ต่อ เราก็จะมี seminar และวิชาเรียนที่เราต้องไป ซึ่งพี่จอห์นเองก็เลือกที่จะเรียนและสอบอยู่ที่บ้าน เพราะไม่ชอบเดินทางเข้า Sydney ซึ่งทั้งหมดก็มี 10 วิชา ดังนั้นก็ไม่ง่ายนะที่จะ continue เป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์
ที่นี้กฎหมายมันก็มีช่องโหว่ที่ว่า
1. ถ้าคนที่เป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์ถูกต้องตามกฎหมาย มี MARN สามารถเปิดบริษัทหรือสำนักงาน โดยที่เจ้าของบริษัทหรือสำนักงานเป็นคนที่มี MARN คนเดียวก็พอ พนักงานคนอื่นในบริษัทหรือสำนักงานไม่จำเป็นต้องมี แต่คนที่มี MARN จะต้องฝึกและ train คนที่ไม่มี MARN
2. อิมมิเกรชั่นเอเจนท์ที่อยู่ต่างประเทศ ไม่จำเป็นต้องมี MARN สังเกตุได้เลย เอเยนต์ที่เมืองไทย มีใครมั่งที่มี MARN
มีหลายครั้งเหลือเกินที่น้องคนไทยที่นี่ ได้รับคำปรึกษามาจากพนักงานในสำนักงาน และเอเจนท์ที่ซิดนีย์ และพนักงานเหล่านั้นก็ไม่ได้เป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์แต่อย่างไร เพียงแต่แค่ทำงานในบริษัทนั้น ช่วยกรอกฟอร์ม ทำโน่นทำนี่ไป บางทีคำแนะนำต่างๆเหล่านั้น ไม่ตรงกับตัวกฎหมายที่ทางกระทรวงอิมมิเกรชั่นออกมา เพราะการอ่านเอาข้อมูลจาก website ของกระทรวงอิมมิเกรชั่นนั้น เป็นแค่ข้อมูลทั่วๆไปที่ open to public ซึ่งทุกคนสามารถเข้าไปอ่านได้อยู่แล้ว แต่สำหรับ Registered Migration Agent หรืออิมมิเกรชั่นเเอเจนท์ที่ถูกต้องตามกฏหมาย และมี MARN เราจะตีความบทบรรยัติทางกฎหมายที่จะซับซ้อนไปกว่านี้เยอะ มันไม่ใช่แค่ plain English ทั่วๆไป เราต้องเรียนกันจากมหาวิทยาลัย และข้อมูลที่อิมมิเกรชั่นเอเจนท์ใช้ จะเป็นข้อมูลตัวเดียวกันที่ case officer ใช้ คือเราไม่ได้ใช้ข้อมูลจาก website เราอ่านกันจาก legislation เลย
ส่วนเอเจนท์ที่เมืองไทยหนะ ก็ไม่ต้องพูดถึงเลย จะมีสักกี่คนที่เป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย เอาเป็นว่า พี่จอห์นจะเขียนเรื่องนี้แยกไว้อีกต่างหากก็แล้วกัน เพราะแค่นี้ blog นี้ก็จะยาวเกินไปแล้ว
No comments:
Post a Comment