Wednesday, August 31, 2022

วีซ่าขาดกับ Partner Visa



คนเราก้าวพลาดได้ คนที่ไม่เคยก้าวพลาดเลยส่วนมากก็คือคนที่นอนอยู่บ้านเฉย ๆ 

อะไรที่มันเกิดขึ้นแล้ว เราย้อนอดีตไปแก้ไข้มันไม่ได้
แต่เราทำวันนี้ ณ ปัจจุบันนี้ให้ดีที่สุดได้ ในเวอร์ชันของเรา

วีซ่าขาด ไม่ได้แปลว่าชีวิตเขาต้องขาด
วีซ่าเขาจะขาดด้วยเหตุผลอะไร มันคือเรื่องของเขา ไม่ใช่เรื่องของเรา เราไม่ต้องไป judge ใคร ตัวเองเอาตัวเองให้รอดก่อน

จากสถิติของรัฐบาลออสเตรเลีย ประเทศไทยไม่ใช่ประเทศที่มีวีซ่าขาดมากที่สุด บางทีเราก็ไม่ต้องมโนกันให้มาก

คนที่วีซ่าขาดจะทำให้คนไทยขอวีซ่ายากหรือเปล่านั้น
hmmm... ถ้าคุณสมบัติส่วนตัวของเราครบ ขอวีซ่าอะไรก็ไม่น่าจะมีปัญหานะครับ จัดการที่คุณสมบัติของตัวเราเองดีกว่า มันเป็น factor ที่เรา control ได้

anyway... เริ่มเข้าเรื่องที่จ่าหัวเอาไว้

วีซ่าขาดกับ Partner Visa รู้สึกว่ามันช่างเป็นของคู่กันเสียนี่กระไร
โดยส่วนตัวแล้วเรามองเรื่องวีซ่าขาด เป็นเรื่องเฉย ๆ มาก เราไม่ได้ treat คนที่วีซ่าขาดแตกต่างจากคนอื่น วีซ่าขาดไม่ได้ทำให้ความเป็นคนของเราลดลง แต่การยื่นวีซ่าอาจจะมีข้อจำกัดหรือยุ่งยากหน่อยก็แค่นั้นเอง ดังนั้นคนที่วีซ่าขาด หรือบางคนถือ Bridging Visa E ก็ต้องใจเย็น ๆ กับการทำเรื่อง โดยเฉพาะที่ "J Migration Team" case เราค่อนข้างเยอะ เราก็พยายามปั่นให้เต็มที่

ตามกฎหมายของประเทศออสเตรเลียแล้ว ทุกคนมีสิทธิ์ที่จะมีตัวแทนหรือ representative ในการดำเนินเรื่องหรือดำเนินการทางด้านกฎหมาย

มันเป็นสิทธิมนุษยชนขั้นพื้นฐาน
basic human right

คนที่วีซ่าขาดหลาย ๆ คนเจอคนรักที่นี่
ความรักเป็นสิ่งสวยงาม

Make love, not war.

คนเขารักกัน เราก็ควรที่จะยินดีกับเขาด้วย 
คนที่วีซ่าขาดแล้วจะทำ Partner Visa 
ก็ไม่ยากนะ
ที่ง่ายที่สุด เราก็แนะนำให้บินออกไปทำเรื่องข้างนอก
แล้วก็รออยู่ข้างนอกก็แค่นั้นเอง
แน่นอน คนที่วีซ่าขาดอาจจะบินกลับเข้ามาที่นี่ไม่ได้จนกว่า Partner Visa จะผ่าน

Partner Visa ที่ยื่นนอกประเทศ ยื่นแบบ offshore มันรอกันไม่นานนะครับ โปรดอย่าถามว่าต้องรอกี่เดือน อันนี้ไม่ทราบจริง ๆ ครับ case-by-case basis เพราะแต่ละ case ไม่เหมือนกัน

เอาเป็นว่าช่วงที่รออยู่นอกประเทศ ก็หาอะไรทำก็แล้วกัน จะได้ไม่ต้องฟุ้งซ่าน
จะได้ไม่ต้องถามว่า ตอนนี้ได้ case officer หรือยัง

หลาย ๆ คนหา course นั่น นี่ โน่น เรียนที่เมืองไทยในระหว่างที่รอเรื่อง ซึ่งเราก็คิดว่าเป็นการดีมากเลยครับ

แน่นอน หากคนรักเขาคิดถึงกัน
แฟนที่อยู่ที่นี่ก็สามารถบินไปหาที่เมืองไทยได้ อะไรก็ว่าไป

Partner Visa ของคู่รักที่วีซ่าขาด เราทำมาหลายคู่แล้วตลอด 14 ปีที่ผ่านมา
ผ่านหมดทุกคู่ ดังนั้นมันไม่ใช่เรื่องใหญ่จริง ๆ 

โดยเฉพาะคนที่เป็นคนสปอนเซอร์หลาย ๆ คน stress เหลือเกิน นั่น นี่ โน่น
กลัวแฟนจะไม่ได้กลับมา ไม่อยากอยู่แยกกัน

คู่รัก มันไม่มีคู่ไหนก็อยากอยู่แยกกันหรอกครับ แต่บางทีสถานการณ์บังคับ มันก็ no choice

เราอยากจะให้คนที่วีซ่าขาด รวมไปถึงแฟนของเขาด้วย
ไม่ต้อง stress
It's not the end of the world.

แยกกันอยู่แป๊บเดียว
อดเปรี้ยวไว้กินหวาน

เราขอเป็นกำลังใจให้กับคนที่วีซ่าขาดทั้งหลาย และแฟนของเขา
ดำเนินชีวิตไปตามปรกติ
เก็บเอกสารของตัวเองให้พร้อม พร้อมเมื่อไหร่ ก็ทักมา

ข้อมูลของลูกค้าของทุกคนเป็น confidential อยู่แล้ว
Privacy Law

สำหรับใครที่ต้องการยื่นเรื่องภายในประเทศ ยื่นแบบ onshore
make sure ว่าคุณสมบัติเราครบตามกำหนดของ schedule 3 นะครับ

ปัญหาเรื่อง COVID, ประเทศปิด เดินทางออกไม่ได้คงเอานำมาใช้เป็นข้ออ้างในการทำเรื่องของ schedule 3 ไม่ได้

มีหลายคนที่พยายามดันทุรังในการยื่นเรื่องภายในประเทศ ทั้ง ๆ ที่คู่ของตัวเองไม่มีคุณสมบัติครบตาม schedule 3 เพียงเพราะมีคนบอกว่า ช่วง COVID, ประเทศปิด เดินทางออกนอกประเทศไม่ได้

hmmm.... ประเทศปิด เดินทางออกนอกประเทศไม่ได้แค่อย่างเดียวมันไม่ meet requirement ของ schedule 3 นะครับ

ยื่น onshore หนะ ยื่นได้
ยื่นเสร็จก็ะจะได้ Bridging Visa C แหละ
แต่เรื่องไม่จะผ่านหรือเปล่านั้น อีกเรื่องหนึ่ง

การที่คู่ของเราจะ meet requirement ของ schedule 3 นั้น มันมีมากกว่านั้น:

- มีอะไรที่เป็น special circumstances หรือเปล่า
- มีอะไรที่เป็น compassionate หรือเปล่า
- ส่วนอะไรที่เป็น something beyond your control อันนี้เรื่อง COVID ก็เป็นหนึ่งในนั้น แต่แค่ something beyond your control มันก็ไม่น่าจะพอ

anyway... ก็เอาเป็นว่า
ใครใครยื่น ยื่น

บางทีเราบอกไปแล้วว่า "ข้างหน้าคือเหวนะ" มันก็ป่วยการ 
คือคนเขาเชื่อไปแล้วว่ามันยื่นได้ และคิดว่าคู่ของตัวเองจะผ่าน ก็ต้องปล่อยให้เขาเดินไปข้างหน้าละกัน ส่วนเราก็ขอเป็นคนดูอยู่ที่ sideline ก็แล้วกัน

ใครที่วีซ่าขาด เราขอเป็นกำลังใจให้นะครับ
จะยื่น onshore หรือ offshore ยังไงก็คิดกันให้ดี ๆ 
หาที่ปรึกษาที่ไว้ใจได้ก็แล้วกัน ปรึกษาคนที่มี MARN
อย่าไปอะไรมากมายกับคำแนะนำตาม facebook group ต่าง ๆ ตาบอดคลำช้าง เราเห็นมาเยอะแล้ว ตาบอดจูงตาบอด เราเห็นมาเยอะแล้ว

แล้วเจอกันครับ at the end of the rainbow

Copyright: แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น, ไม่อนุญาตให้ copy & paste, ไม่อนุญาตให้ screen capture

Tuesday, August 30, 2022

Designated Area Migration Agreements (DAMA)



DAMA (Designated Area Migration Agreements) ก็เป็นหนึ่ง stream ย่อย ๆ ที่แตกออมาจาก subclass 482 นี่แหละครับ

DAMA จะแตกออกมาเป็นกลุ่ม ๆ เป็น area ไปในแต่ละรัฐ แล้วแต่รัฐบาลท้องถิ่นใน area นั้นต้องการคนงานในกลุ่มสาขาอาชีพไหน

1 รัฐสามารถมีหลาย DAMA ได้
ก็เหมือน town council ที่ในแต่ละรัฐก็มีหลาย town councils เล็ก ๆ แยกกันไป

DAMA ถูกออกแบบมาเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานในเขต regional area ชุมชนห่างไกล

DAMA จะมีข้อยกเว้นต่าง ๆ นานา เพื่อดึงดูดคนให้ไปทำงานในเขต regional area ชุมชนห่างไกล

ข้อยกเว้นก็อาจจะเป็นในเรื่องของอายุ
ข้อยกเว้นก็อาจจะเป็นในเรื่องของการสอบภาษาอังกฤษ ผล IELTS
หรือบางสาขาอาชีพที่ขอวีซ่าที่อื่นไม่ได้ แต่ขอได้ใน DAMA นั้น ๆ 

ยกตัวอย่างเช่น
- Barista ไม่ได้อยู่ใน list ของ subclass 482 เลย แต่มีอยู่ใน DAMA list ของ Northern Territory (NT)  ดังนั้น barista สามารถขอ suclass 482 (DAMA) ได้ที่ NT เท่านั้น และสามารถขอ PR (subclass 186) ได้หลังจากนั้น
- DAMA ทางตอนเหนือของรัฐ NSW ที่เป็นรอยต่อกับ QLD ก็เป็นสาขาอาชีพที่เกี่ยวกับฟาร์ม คนเลี้ยงวัว คนฆ่าวัว อะไรต่าง ๆ นานา

อย่างนี้เป็นต้น

DAMA มันทำให้การขอวีซ่าง่ายสำหรับคนสมัคร ก็คือ คนสมัครอาจจะขอวีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์แบบธรรมดา subclass 482 ไม่ได้ เพราะคุณสมบัติไม่ครบ ไม่ว่าจะเรื่องอายุ หรือเรื่องภาษาอังกฤษ หรือเรื่องสาขาอาชีพ แต่คุณสมบัติเขาอาจจะครบสำหรับการทำ DAMA ซึ่งก็เป็น subclass 482 เหมือนกัน แต่เป็น subclass 482 ในเขตท้องถิ่ง regional area ชุมชนห่างไกล

แต่ความยากในเรื่อง paperwork จะมาตกอยู่ที่นายจ้างที่ต้องการจ้างพนักงานภายใต้เงื่อนไขของ DAMA ซึ่งนายจ้างต้องเขียน proposal เข้าไปที่หน่วยงานรัฐบาลท้องถิ่นนั้น ๆ ว่านายจ้างมีความจำเป็นที่จะต้องจ้างพนักงานคน ๆ นั้นอย่างไร และทำไมหาคนงานท้องถิ่นไม่ได้ นั่น นี่ โน่น

การเขียน proposal เข้าไปนี่แหละที่ต้องใช้เวลา

"J Migration Team" สามารถทำ DAMA ได้นะครับ เพราะมันก็แตกย่อยออกมาจจาก subclass 482 

แต่เราเลือกที่จะไม่ทำ เพราะทุกวันนี้งานเราเยอะอยู่แล้ว
และการเขียน proposal มันก็ต้อง take time
สู้เรากับทีมงานเอาเวลาไปทำอย่างอื่นดีกว่า เวลาที่ใช้ในการทำ case เท่า ๆ กัน แต่ได้ตังค์เยอะกว่า อย่างนี้เป็นต้น เราก็ต้องมองในแง่ธุรกิจด้วย

เหมือนที่เราไม่ทำ WaH นั่นแหละ เพราะปีหนึ่งมีโควต้าน้อยมาก ทำไปก็ไม่คุ้ม และเด็ก ๆ WaH เขาก็ทำกันเอง มีกลุ่ม facebook group อะไรของพวกเขา (คนขาย course เรียนภาษาอังกฤษก็เยอะ)

ถ้ามองในแง่ของธุรกิจนะ เราเอาเวลาทำ subclass 482 ธรรมดา, ทำ RPL ทำ Skill Assessment ดีกว่า 

หรือถ้าต้องเขียน proposal เราเอาเวลาไปเขียน proposal ของ subclass 188A, subclass 188B ของ Business Visa ดีกว่า แซ่บกว่ากันเยอะ

ส่วนใครที่กำลังจะยื่น DAMA เราก็ขอเป็นกำลังใจให้นะครับ

แค่ตอนนี้ "J Migration Team" ไม่ทำ DAMA เฉย ๆ 
อนาคต... ไม่แน่ :)

Copyright: แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น, ไม่อนุญาตให้ copy & paste, ไม่อนุญาตให้ screen capture

Monday, August 29, 2022

"วีซ่าขาด" ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่คิด


วีซ่าขาด ไม่จำเป็นต้องอยู่อย่างหวาดระแวง ไม่จำเป็นต้องอยู่อย่างหลบ ๆซ่อน ๆ ไม่ต้องอยู่เป็นเบี้ยล่างของใคร ไม่จำเป็นต้องให้ใครมาข่มขู่ รีดไถ หรือทำให้ความเป็นมนุษย์ของเรามันถดถอยน้อยลงไป


เราแนะนำให้คนที่วีซ่าขาด ให้ดำเนินชีวิตไปตามปกติเหมือนคนอื่น ๆ โดยทั่วไป เพียงแต่ว่าเราทำงานไม่ได้ ก็เท่านั้นเอง... ตรงนี้มันไม่มีทางเลือกจริง ๆ ถ้าทำก็ต้องทำแบบหลบ ๆ ซ่อน ๆ 

สาเหตุที่เราบอกว่าคนที่วีซ่าขาด ไม่จำเป็นต้องอยู่อย่างหวาดระแวงนั้นก็เพราะว่า
  • ช่วงที่เศรษฐกิจโลกมีการถดถอย Global Financial Crisis (GFC) ในช่วงรัฐบาลของ Kevin Rudd, รัฐบาลชุดนั้นได้มีการลดค่าใช้จ่ายด้วยการลดจำนวนพนักงานข้าราชการของกระทรวงอิมมิเกรชั่นไป 10% ซึ่งก็ถือว่าเยอะมาก หลังจากนั้นเป็นต้นมา การที่อิมมิเกรชั่นจะออกไปตรวจจับคนที่วีซ่าขาดนั้นแทบจะไม่มีเลย เพราะว่าทางอิมมิเกรชั่นเองก็ขาดบุคากรทางด้านนี้
  • ทางอิมมิเกรชั่นเองตอนนี้ จะออกจับกุมพวกที่วีซ่าขาด ก็ต่อเมื่อมีคนแจ้งข้อมูลเข้ามาเท่านั้น อิมมิเกรชั่นจะไม่จู่ ๆ ก็มาเคาะประตูหน้าบ้านเรา ไม่ใช่นะครับ คือต้องมีคนแจ้งข้อมูลเข้าไป
  • ดังนั้นถ้าเราใช้ชีวิตไปตามปกติ เราไม่ได้ไปเหยียบหางใคร คิดว่าคงจะไม่มีใครมาคิดร้ายอะไรกับเรา เราก็ไม่ควรที่จะตื่นเต้น หรือนอนหวาดผวาไปสะทุกคืน เดี๋ยวจะกลายเป็นโรคจิตกันพอดี 

ทนายความหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์ทุกคน เรามีหน้าที่ที่จะให้ความช่วยเหลือและปกป้องทุกคนที่เข้ามาปรึกษา เพราะว่านั่นมันเป็น code of conduct ที่พวกเราต้องทำตาม เพราะถ้าไม่ทำตาม นั่นก็หมายถึงว่าใบประกอบวิชาชีพ license เราอาจจะโดนยึดได้ ดังนั้นการที่คนเราวีซ่าขาดนั้นก็ไม่จำเป็นต้องอยู่อย่างหวาดผวาหรือกลัวว่า เวลาไปปรึกษาทนายความหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์แล้ว เราจะมีการแจ้งจับ

ตรงกันข้าม เราปกป้อง ให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือต่างหาก ว่าชีวิตหลังจากนี้จะต้องอะไร ยังไง

การกดขี่ข่มเหงคนที่วีซ่าขาด และเอารัดเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ทำอะไรต่อไปในชีวิตก็คงไม่เจริญหรอก 

สถานการณ์ชีวิตของแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน ให้โอกาสกับคนอื่นบ้าง ให้ที่กับคนอื่น ที่ให้เขาได้ยืน ได้หายใจบ้าง ถ้าคนเรามันเลือกได้ เราก็คิดว่าเขาคงไม่อยากวีซ่าขาดกันหรอก

ปัญหาทุกอย่างมีทางออก... ขอให้เรารู้เรื่องกฏหมายบ้าง รู้การเปลี่ยนแปลง และการผลันเปลี่ยนนโยบายของรัฐบาล 

ถ้ามัวแต่จับกลุ่มคุยกันกับคนข้างบ้าน คำตอบที่ได้ก็จะแบบ "บ้าน ๆ"

หลาย ๆ คนบอกว่าการที่คนไทยมาแล้วหนีวีซ่า มีผลให้คนไทยขอวีซ่ามาที่ประเทศออสเตรเลียยาก

ไม่จริงเสมอไปครับ
ถ้าเราคุณสมบัติครบในการขอวีซ่า subclass นั้น ยังไงวีซ่าเราก็ผ่าน

ก่อนที่เราจะโทษคนอื่นว่าทำให้ประวัติคนไทยเสียนั่น นี่ โน่น
เอาเวลาไปจัดการชีวิตตัวเอง ทำให้ตัวเองมีคุณสมบัติครบตามที่ทางอิมมิเกรชั่นกำหนดจะดีกว่าครับ

ส่วนคนที่วีซ่าขาด ก็อย่างที่บอกว่า ใช้ชีวิตตามปรกติได้ แค่ไม่ไปเหยียบหางใครก็พอ

ส่วนคนที่มีวีซ่า ก็ไม่ต้องไปกดขี่ข่มเหงใคร กฎแห่งกรรม ไม่ช้าก็เร็วจ๊ะ

Note: เราเขียนเองทุกตัวอักษร
ไม่ชอบให้เลื่อนผ่าน ไม่ต้องเสียเวลาซึ่งกันและกัน

Copyright: แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น, ไม่อนุญาตให้ copy & paste, ไม่อนุญาตให้ screen capture

Thursday, August 25, 2022

ติด section 48; ยื่น offshore แล้วบินเข้าประเทศ

"น้องป้อม ไม่รู้ ไม่รู้" กับ "น้องตู่ มินิฮาร์ท"
ทั้งสองอยู่ในประเทศออสเตรเลีย ยื่นวีซ่า subclass *** ไม่ผ่าน

น้องทั้งสองจึงติด section 48 bar; ไม่สามารถยื่นเรื่องภายในประเทศออสเตรเลียได้

"น้องป้อม ไม่รู้ ไม่รู้" และ "น้องตู่ มินิฮาร์ท" ยื่นอุทธณ์ไปที่ AAT

น้องทั้งสองถือ Bridging Visa A

ช่วงนี้ประเทศออสเตรเลียเปิดประเทศแล้ว
น้องต้องการยื่นวีซ่า อะไร something

สิ่งที่เราและทีมงานทำให้น้องทั้งสองคือ:

1. ยื่น Bridging Visa B ให้น้องทั้ง 2 

2. น้องเดินทางออกนอกประเทศ วันที่ 23 Aug 2022

3. ทีมงาน P' J ก็เริ่มยื่นเรื่องให้น้องทั้งสองทันที ที่น้องรูด passport ผ่าน custom ที่สนามบิน (ไม่ต้องรอให้ landing ของประเทศปลายทางนะครับ)

4. ในระหว่างที่น้องทั้งสองอยู่บนฟ้าของวันที่ 23 Aug 2022 ทีมงานของเราก็กรอกเอกสารทุกอย่างเตรียมพร้อมยื่นแล้วครับ สายฟ้าแลบ รัก "ทีม J" ทุกคน ทุกทีมครับ เรามีหลายทีม

5. จริง ๆ P' J ว่าจะยื่นตั้งแต่เมื่อวานแล้วว 24 Aug 2022, แต่ P' J ก็ติดนั่น นี่ โน่น ยุ่งหัวหมุน ต้องขอโทษด้วยจริง ๆ ทุกวันนี้ก็แทบจะไม่มีเวลาหายใจอยู่แล้ว

6. วันนี้ 25 Aug 2022, P' J ยื่นเรื่องให้น้องทั้งสองแล้ว ของน้องป้อมและน้องตู่ ถ้าน้องต้องการเปลี่ยนตั๋วแล้วบินกลับเข้าประเทศพรุ่งนี้ น้องก็ทำได้ แล้วก็กลับเข้ามารอเรื่องภายในประเทศได้ เรามีวิธี link Bridging Visa ที่ยื่น offshore ได้ (shhhhh... ไม่ต้องบอกใคร รู้กันแค่เราไม่กี่คน just me and you and these 4 walls)

ขอบคุณน้องที่เลือกใช้บริการของเรา
ขอให้ "น้องป้อม ไม่รู้ ไม่รู้" กับ "น้องตู่ มินิฮาร์ท" รักกันตราบจนชั่วฟ้าดินสลาย ถือไม้เท้ายอดทองกระบองเพชร ความตายเท่านั้นที่จะพรากน้องทั้งสองจากกันได้

ติด section 48; ยื่นเรื่องภายในประเทศไม่ได้ ไม่ได้เป็นปัญหาเสมอไปครับ
ทุกอย่างมี strategy ของมัน

ปรึกษาผู้รู้ ผู้ที่มี MARN
อยากรู้ว่าใครมี MARN มากี่ปีแล้ว มีประสบการณ์มากี่ปีแล้ว ให้ดูตัวเลข 2 ตัวแรกนะครับ

...ร๊ากกกกกก...

Copyright: แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น, ไม่อนุญาตให้ copy & paste, ไม่อนุญาตให้ screen capture.

Friday, August 19, 2022

Citizenship; 7 ปีจากวีซ่านักเรียนสู่การเป็นคนที่นี่



7 ปี จากวีซ่านักเรียน สู่การเป็น citizen
เป็นคนที่นี้
เริ่มต้นด้วยการซุ่มเก็บข้อมูลเงียบ ๆ ที่ page นี้
สมัยที่ยัง "เจ็บ ร้อน แรง" และ "กัด จิก เจ็บ" จนทุกวันนี้กลายมาเป็น "ประ ทับ ปอด"

7 ปีกับการวางแผนที่ดี
7 ปีที่มีโคชคอยอยู่ข้าง ๆ คอยปรึกษาหลาย ๆ เรื่อง ไม่ใช่แค่เรื่องวีซ่า 

ตอนนี้น้องได้ citizen แล้ว

ยังจ๊ะ ยังไม่ถึงเส้นชัย มันมีอะไรในชีวิตที่ต้องสานต่อ

อย่างน้อยเราก็มาถึงเกินครึ่งทางแล้ว ยังมีอีกหลาย projects ในชีวิตที่น้องต้องทำ

การเป็น citizen ของที่นี่มันก็ทำให้อะไรหลาย ๆ อย่างของชีวิตเราง่ายขึ้น 

เราสามารถใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศนี้จนลมหายใจสุดท้าย
หรือหากต้องการความเงียบสงบ ก็ไปนั่งนับแกะอยู่ที่ New Zealand ได้ด้วยเช่นเดียวกัน... ตลอดชีวิต

หรือจะเรียน ป.ตรี ป.โท ก็ใช้ HECS ได้ และอื่น ๆ อีกมากมาย

ขอบคุณที่เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของ "ครอบครัว J"
ขอบคุณที่ไม่หวั่นไหวกับคำปรามาสต่าง ๆ นานา จากเสียงนกและเสียงกา

ณ ตอนนี้ ใครทนแสงอันเจิดจ้าของ "ครอบครัว J" ไม่ได้ เขาก็ต้องใส่ sunglasses หนะจ๊ะ

"ครอบครัว J" เราทำอะไรกันเป็นทีม ถ้าเราไปถึงเป้าหมาย เราก็จะไปด้วยกัน ไม่ปล่อยใครไว้ข้างหลัง

"ครอบครัว J" จะอุดหนุนและสนับสนุนคนใน "ครอบครัว J"
คอยช่วยเหลือซึ่งกันและกันในยามยาก
ไม่ใช่แค่เรื่องวีซ่า แต่มีหลาย ๆ เรื่อง และอื่น ๆ อีกมากมาย
ขอบคุณ "ครอบครัว J" ทุก ๆ คนที่อยู่เคียงข้างกันเสมอมา คนที่ follow facebook ส่วนตัวจะค่อนข้างรู้ดีว่าเรื่องอะไร :)

เอาเป็นว่า ผู้รู้ ก็รู้ได้เฉพาะตน

ณ วันนี้ citizenship ได้เปิดทางแห่งโอกาสหลาย ๆ อย่างแล้ว
รีบคว้ามันเอาไว้

...รัก...

Friday, August 12, 2022

ย้ายประเทศ เก็บข้อมูล; วันสุข 12 สิงหา


สำหรับใครบางคน การย้ายประเทศของเขาคือการเริ่มต้นด้วยการซุ่มเก็บข้อมูลเงียบ ๆ

ไม่พูด ไม่จา
เค๊าค่อย ๆ ศึกษาไปว่าเอ๊ะ ระบบวีซ่าของประเทศออสเตรเลียมันเป็นอะไรยังไง

เมื่อเค๊าพร้อม เค๊าส่ง email ติดต่อมา
เวลาเราอาจจะคลาดเคลื่อนกันบ้าง เพราะเค๊าต้องเดินทางกลับเมืองไทยวันนั้น

วีซ่าท่องเที่ยว 3 ปี แต่เข้าออกทุก ๆ 3 เดือน
ช่วงที่เปลี่ยนเครื่องที่ Singapore เราก็นัดคุยกันทาง WhatsApp (เฉพาะ paid clients เท่านั้นนะครับ)

สัญญาณมันอาจจะไม่ได้ เพราะต้องต่อ Wifi ของสนามบิน (ของฟรีหนะน๊ะ)
เมื่อเดินทางถึงเมืองไทย เค๊า someone ก็ติดต่อกลับมา แล้วเราก็ได้คุยกันมากขึ้นในการวาง road map ขอวีซ่า ในการที่ไม่แน่ อนาคตอาจจะโยกย้าย

เราก็บอกไปว่า เค๊าต้องทำอะไรบ้าง 1-2-3-4
step-by-step
เอกสารมีอะไรบ้าง ไหน ๆ ก็กลับไปเมืองไทยพอดี ก็ไปเดินเรื่องเอาเอกสารมา นั่น นี่ โน่น

นี่คืออีก 1 ตัวอย่างของการวางแผนการโยกย้ายที่ดี

ไม่ใช่พวกหว่านแหสุ่มไปเรื่อยตาม facebook group ต่าง
comment มาประโยคเดียวสั้น ๆ ว่า "สนใจครับ" "สนใจค่ะ" มันไม่ได้ช่วยอะไรหรอกครับ

ตัวเราเองก็ต้องทำการบ้านมาก่อนด้วย
ศึกษาหาข้อมูลอะไรมาด้วยนิตส์นึง

เราเขียน blog มา 14 ปีแล้ว ตั้งแต่ 2008
ข้อมูลค่อนข้างเยอะ และข้อมูลที่หน้า page ก็เริ่มเขียนเมื่อ June 2015, ก็ 7 ปีแล้ว ข้อมูลก็ค่อนข้างเยอะ ค่อนข้าง comprehensive อยู่นะครับ

ถ้าอ่านเกิน 3 บรรทัด ชีวิตเราก็อาจจะเปลี่ยนไปในทางที่ดีได้

แต่ก็ไม่ว่ากัน ชีวิตเรา เราชอบแบบไหน เลือกเอานะครับ
กุมบังเหียนชีวิตของตัวเอง

การโยกย้ายเป็นสิ่งที่ทำได้ ถ้ามีการวางแผนดี ๆ
กรุงโรมไม่ได้สร้างเสร็จใน 1 วัน

Pyramid ที่ Egypt ก็ใช้เวลาหลายปีอยู่ ดังนั้นค่อย ๆ ต่อ jigsaw ชีวิตของตัวเองไป

ทำเมื่อพร้อม
ไม่ไหวอย่าฝืน

ถ้ายังไม่พร้อม ก็ซุ่มเก็บข้อมูลไปก่อนนะครับ เงียบ ๆ

หากเมื่อไหร่ที่เราคิดว่าเราพร้อมแล้ว ทักมาได้เลยครับ ทาง email (เราไม่ถนัด LINE, ไม่ถนัด inbox นะครับ)

email มีอยู่ที่หน้า page แล้ว

บางคน inbox มาขอ email แค่นี้ก็แสดงถึงอะไรหลาย ๆ อย่างแล้วครับ

อะ... ไม่ว่ากัน
ประสบการณ์ชีวิตของคนเราแตกต่างกัน

แล้วเจอกันที่ทางช้างเผือกนะครับ

วันนี้วันสุข... 12 สิงหา

Subclass 187; ผลการเรียน 5 ปี

จำได้ว่า case นี้เรา consult กันครั้งแรกที่สนามบิน Sydney... P' J ลงจากเครื่องจากเมืองไทยตอนเช้า เราก็ consult กันที่ cafe ที่สนามบินเลยจร้าาาาา

ดีใจ ถึงเส้นชัยกันแล้ว
ยก pack 4 คน
เราสัมผัสได้ถึงการดิ้นรนต่อสู้ของคุณพ่อคุณแม่คู่นี้
ทำเพื่อลูกแหละ... 

เพราะเส้นทางการต่อสู้ไม่ง่าย
IELTS 6 each band ใช่ว่าทุกคนจะได้กันหมด
คนไม่ได้ มันก็ไม่ได้จริง ๆ
เขาพยายามแล้ว ไม่ใช่ไม่พยายาม
ทำงาน 6 วัน, 7 วัน จะเอาเวลาที่ไหนไปอ่านหนังสือเตรียมตัวสอบ ชีวิตแต่ละคนไม่เหมือนกัน
อย่าเอาชีวิตใครไปเปรียบเทียบกับชีวิตใคร
บรรทัดฐานมันแตกต่างกัน

ดังนั้นการยกเว้นของกฎหมายอะไรต่าง ๆ เราก็ต้องหาที่ปรึกษาที่ไว้ใจได้นะครับ ที่เขารู้ว่าเขากำลังทำอะไรอยู่

ยินดีที่ได้เป็นเรือจ้าง
ส่งครอบครัวนี้ถึงฝั่ง
ยินดีด้วยนะครับ

อีก 12 เดือนขอ citizen ได้นะครับ

ขอบคุณที่เลือกใช้บริการของเรา
สินค้าดี ใช้แล้วช่วยบอกต่อ

หากชีวิตคนเรามีเป้าหมายที่ชัดเจน
รู้ว่าตัวเองกำลังทำอะไร ทำเพื่อใคร
เราก็ทำมันได้ครับ

เหนื่อยได้
ท้อได้
พักได้
แต่อย่าหยุด...

Sunday, August 7, 2022

YouTuber

YouTubers ทั้งหลาย

หนูอยากจะทำ clip ประสบการณ์ชีวิตหนูในออสเตรเลีย ทำไปเลยจ๊ะ

แล้วเอาไปลงใน facebook group ทีมบ้าบอคอแตกของหนู

 

แต่การที่แค่ไปอ่านข้อมูลวีซ่าหรือหน้า website ของอิมมิเกรชั่นแล้วเอามาทำ clip เสนอข้อมูลนั่น นี่ โน่น

 

มัน fake จ๊ะ

 

ที่บ้านพี่เรียกว่า "ว่ายน้ำบนบก"

 

ที่แย่ไปกว่านั้นคือเข้ามาเอาข้อมูลใน page เราแล้วเอาไปทำ clip ก็มี (คือข้อมูลมันจะมาเหมือนของ P' J เป๊ะอะไรขนาดนั้น)

 

หนูอยากมี MARN หนูก็ไปเรียนให้มันถูกต้องนะลูก ที่มหาลัยมีสอน

 

หนูอยากเป็น legal practitioner หนูต้องจบ Bachelor of Law หรือ Juris Doctor นะลูก

 

Juris Doctor ที่ RMIT ค่าเทอม $111,744

Juris Doctor ที่ Flinders Uni ค่าเทอม $98,280

 

ทุกสิ่งอย่างมีต้นทุน

หนูจะมาชุบมือเปิบไม่ได้

 

ทุก content ของเรามี copyright ครับ


ย้ายประเทศ



P' J เป็นหนึ่งคนที่ย้ายประเทศครับ

ถือ 2 สัญชาติ, ไทย-ออสเตรเลียน

1 PR, Singaporean PR


P' J ย้ายประเทศด้วยตัวเอง

เป็น Skilled Migrant

ใช้วุฒิการศึกษา Computer Science จาก UOW

ไม่ได้ติดตามใคร

ใช้ความรู้ ความสามารถของตัวเองล้วน ๆ


P' J ไม่ได้มองตัวเองว่าเป็นคนไทย

P' J มองตัวเองเป็น "global citizen" เพราะค่อนข้างมั่นใจว่า computer science (cyber security) ทำงานที่ไหนก็ได้ทั่วโลก


สัมภาษณ์งานทีเดียว ได้ job offer เลย ตั้งแต่เรียนยังไม่จบ ได้ job offer ตั้งแต่ term แรกของการเรียนปีสุดท้าย (cyber security เป็นอะไรที่ต้องการสูงครับ)


ประมาณว่า "เลือกได้"

You need me, more than I need you.


เรียนเทอมสุดท้ายชิวมาก เพราะได้ job offer แล้ว


แต่ก็นั่งทำ final year project ของ Computer Science กันถึงเช้านะ!!!


บางทีการย้ายประเทศเพื่อใช้ศักยภาพอันสูงสุดของตัวมันก็เป็นสิ่งที่สวยงามครับ


P' J ไม่ได้ย้ายประเทศเพราะความเกลียดชัง

เพราะชีวิตจริง ๆ ก็มาเรียนที่นี่ตั้งแต่ยังละอ่อน

มันเป็นไปตาม flow ว่า เรียนจบ ก็หางานทำ และสามารถทำได้ทั่วโลก สำหรับงาน IT


การย้ายประเทศเพราะความเกลียดชัง

เพราะความแตกแยก เป็นอะไรที่ไม่ยั่งยืนครับ


เราสามารถเลือกได้ ว่าเราอยากย้ายประเทศแบบไหน

สำหรับ P' J แล้ว P' J เลือกแบบนี้ เพราะมันทำให้เรา sleep well at night.


ชอบแบบไหน เลือกเอาแบบนั้นนะครับ

ชีวิตของเรา เราเลือกได้

ชีวิตของเรา เราต้องกุมบังเหียนของชีวิตเราเอง


เรื่องบางเรื่อง อะไรที่เราไม่ชอบ

เราเก็บไว้ในใจก็ได้ครับ

ไม่ต้องสร้างความแตกแยก


อะไรที่มันเก่า เมื่อถึงเวลา มันก็จะเกิดการเปลี่ยนแปลงของมันเอง เมื่อถึงเวลา


ไม่จำเป็นต้องชิงสุกก่อนห่าม

ไม่จำเป็นต้องฝ่าไฟแดง


ขอให้ทุกคนย้ายประเทศกันด้วยความสุขและสันติ

แบบไม่ต้องมีทีมบ้า ๆ บอ ๆ ห่วยแตก (สะดวกที่จะคิดแบบนี้)


คนอยากย้ายประเทศก็เยอะ

แมงเม่าก็เยอะ


ขอร้อง... ใครหลาย ๆ คน

อย่าทำมาหากินบนความต้องการอันเร่าร้อนเหล่านี้


ทำอะไรให้มันถูกต้อง ให้มันสุจริต

ไม่ต้องกอบโกย


กินเยอะ ๆ ระวังท้องจะแตกตาย


หากใครยังไม่พร้อมที่จะย้ายประเทศ

คุณสมบัติอาจจะยังไม่ครบ


ไม่ต้องรีบครับ

ประเทศออสเตรเลียไม่หนีไปไหน มันก็อยู่ที่นี่ ที่เดิมมาหลายร้อยพันปีแล้ว


ค่อย ๆ ซุ่ม ๆ เก็บข้อมูลอยู่เงียบ ๆ


ทักมาว่า "สนใจครับ" "สนใจค่ะ" ไม่ได้พาให้ตัวเองไปถึงฝั่งฝันหรอกครับ


ทักมาว่า "สนใจวีซ่าเกษตร" "สนใจงานฟาร์ม"

ที่นี่ประเทศออสเตรเลียครับ ไม่ใช่เกาหลีใต้


อยากจะเป็น "ผีน้อย"

แนะนำให้ไปที่อื่น


สำหรับใครที่ต้องการโยกย้าย

ก็ค่อย ๆ ศึกษาหาความรู้กันไปนะครับ

แล้วเจอกัน at the end of the rainbow


Note: พื้นที่นี้เป็นพื้นที่ของ P' J ไม่ชอบให้เลื่อนผ่าน ไม่ต้องเสียเวลาซึ่งกันและกัน

Friday, August 5, 2022

Subclass 186; Direct Entry



แจ่ม ๆ 

Subclass 186; Employer Nomination Scheme (ENS) คือ PR

Direct Entry คือ stream ที่เราสามารถขอ PR ด้วยนายจ้างสปอนเซอร์ โดยที่ไม่จำเป็นต้องทำงานกับนายจ้างที่จะทำเรื่องให้เราก่อน (หรือทำก็ไม่ได้มีปัญหาอะไร)


หลัก ๆ คุณสมบัติของคนที่จะขอ Subclass 186; Direct Entry คือ:

- สาขาอาชีพนั้นต้องอยู่ใน long-term list

- มีนายจ้างสปอนเซอร์

- มีประสบการณ์ในตำแหน่งนั้น ๆ 3 ปี full-time หรือ 6 ปี part-time,  ประสบการณ์ full-time และ part-time เอามานับรวมกันได้

- ประสบการณ์จากที่ไหนก็ได้ทั่วโลก ขอให้เอกสารและหลักฐานอ้างอิง

- subclass 186; Direct Entry ต้องทำ Skill Assessment (ยกเว้นสาขาอาชีพที่ได้ exemption)

- มีผลสอบภาษาอังกฤษ IELTS (general) 6 each band; พูด เขียน อ่าน ฟัง หรือ PTE Academic 50 each band


และน้องคนนี้ก็ทำ Skill Assessment ของ chef ผ่านแล้ว

PR อยู่ใกล้แค่เอื้อม

ขอบคุณที่เลือกใช้บริการของเรา

สินค้าดีใช้แล้วช่วยบอกต่อ