Saturday, August 22, 2009

domestic violence โดนสามีทำร้ายร่างกาย

มีผู้หญิงไทยหลายคน ที่แต่งงาน หรืออยู่กินกันกับ partner แล้วทำเรื่องขอ PR เพืออยู่ต่อที่นี่ หลายคนได้สามี หรือ partner ดี ก็ดีไป แต่ก็มีหลายคนที่ทนลำบาก โดนสามีทำร้ายร่างกาย แต่ก็ต้องทนอยู่เพราะว่าอยากได้ PR อยากอยู่ที่นี่ กลัวว่าถ้าเลิกกันแล้ว วีซ่าจะโดนยกเลิก

พี่จอห์นขอแนะนำผู้หญิงไทยทุกคน ไม่ต้องทนโดนรังแกนะครับ ถ้าโดนทำร้ายร่างกาย เราแนะนำให้ไปแจ้งตำรวจ ไปหาหมอ เก็บหลักฐานการไปแจ้งความ ถ้าร่างกายมีรอยฟกช้ำ ให้ถ่ายรูปเอาไว้ ย้ายออกมาอยู่ข้างนอก กับเพื่อนหรือใครก็ได้ แล้วเข้ามาปรึกษา อิมมิเกรชั่นเอเจนท์ เราสามารถช่วยดำเนินเรื่องให้ได้

มีปัญหาอะไร โทรมานัด ปรึกษาได้ ข้อมูลของลูกค้าทุกคนถือว่าเป็นความลับอยู่แล้ว ไม่ต้องห่วง

อย่าทนอีกต่อไปเลย

Tuesday, August 18, 2009

เวลาในการตัดสินใจออกวีซ่าของ Skilled Migrant Visa

มีน้องๆนักเรียนหลายคนสงสัยว่า จะต้องรอนานมั๊ยหลังจากยื่นเรื่องขอ PR แล้ว ถึงจะได้ PR
บางคนก็กระวนกระวายว่า เมื่อไหร่ผล PR จะออกซะที
พี่จอห์นขอตอบรวมๆไว้ตรงนี้เลยก็แล้วกันน๊อ จะได้หลายสงสัยกัน เพราะดูๆแล้ว พี่จอห์นก็เห็นใจน้องๆที่รอกัน

น้องคนไทยส่วนมาก ที่เรียนจบก็จะยื่นขอ PR ประเภทที่ใช้ Skill ซึ่งก็คือ Skilled Migrant Visa ดังนั้นวันนี้ที่เขียนเนี๊ยะ ข้อมูลใช้ได้กับเฉพาะของ Skill Migrant Visa นะครับ ถ้าเป็นวีซ่าอื่น เช่นวีซ่าแต่งงาน วีซ่าติดตามอะไรประมาณเนี๊ยะ จะไม่เกี่ยวกันนะครับ เพราะจะเป็นคนละแผนกกันที่ทำเรื่องวีซ่า

เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม ของปีนี้ เป็นต้นมา ทางกระทรวงอิมมิเกรชั่น มีการประกาศการเปลี่ยนแปลง priority ในการพิจารณาวีซ่าประเภท Skilled Migration Visa

ทางกระทรวงอิมมิเกรชั่นได้มีการยกเลิกระบบ first come, first serve แล้วครับ คือจะไม่มีการแบบว่า ยื่นก่อนได้รับการพิจารณาก่อนอีกต่อไปแล้ว จะใช้ระบบที่ว่า ใครมีความพร้อมที่จะทำงาน หรือมีงานทำแล้ว ก็จะได้รับการพิจารณาก่อน ดังนั้นน้องคนใหนที่ยื่นไป แล้วยังไม่มีงานทำ ไม่มีนายจ้าง sponsor ก็ต้องรอนานนิดหนึ่ง คนใหนมีงานทำ มีนายจ้าง sponsor ก็ประมาณ 2-4 อาทิตย์ได้ นี่คือข้อมูลที่พี่จอห์นไปเข้า seminar กับคนของกระทรวงอิมมิเกรชั่นมาเลยนะ นั่งฟังทั้งวัน ข้อมูลเยอะมาก แล้วพี่จอห์นจะทยอยเอามาค่อยๆเขียนให้ทุกคนได้อ่านกัน

นี่คือ priority ที่ทางกระทรวงอิมมิเกรชั่นใช้นะครับ รายการที่อยู่ข้างบน ก็จะได้รับการพิจารณาก่อน ที่อยู่ข้างล่าง ก็รอนานหน่อย นานเท่าไหร่ เราไม่รู้นะ รู้แต่ว่านาน ดังนั้น ในสถานร์การอย่างนี้ ก็อยากให้ทุกคนใจเย็นๆ บางแผนไว้ล่วงหน้าว่า ช่วงที่รอนานๆเนี๊ยะ จะทำอะไรดีกับชีวิต

1. PR แบบมีนายจ้าง sponsor
2. PR แบบมีรัฐบาล sponsor (ถ้าอยากได้ข้อมูลเพิ่มเติม อีเมลถามได้นะ)
3. PR ในสาขาอาชีพที่ขาดแคลนมากๆ; หมอ, พยาบาล, วิศวกร (Critical Skill List: CSL)
4. PR แบบธุรกิจ เป็นเจ้าของธุรกิจ เจ้าของ Business
5. PR ที่สาขาอาชีพอยู่ใน demand list ที่เป็นสาขาที่อาชีพที่ออสเตรเลียยังต้องการอยู่ (Migration Occupations in Demand List: MODL) น้องคนไทยก็จะอยู่ในกรณีนี้เป็นส่วนใหญ่
6. PR สาขาอาชีพที่นอกเหนือจากข้างบน คือ ประมาณว่า มีความรู้ ความสามารถ แต่ออสเตรเลีย ไม่ขาดแคลน และไม่ต้องการคนในอาชีพนี้แบบเร่งด่วน น้องๆคนไทยก็จะอยู่ในกรณีนี้เยอะเหมือนเกิน ซึ่งก็ต้องรอนานเป็นพิเศษ ดังนั้นก็ต้องใจเย็นๆ หาอะไรทำในระหว่างที่รอก็แล้วกัน :)

พี่จอห์น
J The Migration Team

Monday, August 17, 2009

De Facto Visa กับการกรอกใบคนเข้าเมือง

De Facto Visa วีซ่าถาวร (PR) สำหรับคนที่อยู่ด้วยกันกับแฟนที่เป็นคน local แต่ไม่ได้แต่งงาน และอยู่ด้วยกันอย่างน้อย 12 เดือน

ปัญหาหลายๆอย่างที่พี่จอห์นได้เจอมาคือ ลูกค้าเวลาเดินทางเข้ามาในออสเตรเลีย เวลากรอกใบคนเข้าเมือง เขียนที่อยู่ไม่ตรงกัน กับที่อยู่ที่ยื่นไปตอนขอ PR โดยยื่นแบบ De Facto บางคนบอกว่าอยู่กับแฟนบ้านเลขที่นี้ แต่เวลากรอกใบคนเข้าเมือง เอาอีกที่อยู่หนึ่ง ที่อยู่ลูกหรือญาติที่ตัวเองมาพักด้วย เพราะว่าไปๆมาๆ ระหว่างบ้านญาติ และบ้านแฟน พอทางอิมมิเกรชั่น มีการเช็คฐานข้อมูล database ข้อมูลไม่ตรงกัน ก็เกิดความวุ่นวายกันใหญ่ บาง case ที่อิมมิเกรชั่น มีความสงสัย และเข้ามาขอเช็คที่บ้าน เจอแต่แฟน เจ้าตัวไม่อยู่ นี่ก็ไม่ดีนะครับ

ดังนั้นเวลากรอกใบคนเข้าเมืองในคิดกันนิดหนึ่ง อย่าเอาแต่สะดวก กรอกๆไป เพราะมันจะมีผลตามมาทีหลัง

Sunday, August 16, 2009

Plan ahead

เนื่องด้วยช่วงนี้ มีน้องนักเรียนหลายคนที่เรียนจบแล้ว แล้วอยากจะขอ PR อยากทำเรื่องที่จะอยู่ต่อที่นี่ คำแนะนำของพี่จอห์นก็คือ ให้เตรียมตัวตั้งแต่เนิ่นๆ ทุกอย่างต้องมีการ plan ต้องมีการวางแผนไว้ล่วงหน้า เพราะการยื่นเรื่องขอ PR แต่ละประเภท มีความยุ่งยากและซับซ้อนอยู่ในตัวของมันเองอยู่แล้ว

เนื่องด้วย หลังจากวันที่ 1 July ที่ผ่านมา กฏหมายอิมมิเกรชั่นมีการเปลี่ยนแปลงแบบยกเครื่องเปลี่ยนเลย พี่จอห์นก็เลยต้องไปเข้าร่วมฟัง seminar อยู่เรื่อยๆ ก็ได้ข้อมูล first hand จากทางกระทรวงของอิมมิเกรชั่นมาเลย

เรื่องมีอยู่ว่า ขั้นตอนการตัดสินใจของทางกระทรวงอิมมิเกรชั่น ว่าจะอนุมัติ PR ให้หรือไม่นั้น โดยเฉพาะ PR ที่เป็นแบบ Skilled Migrant ที่น้องๆนักเรียนส่วนใหญ่สมัครกัน ทางอิมมิเกรชั่นจะใช้ข้อมูลและเอกสารที่ทางอิมมิเกรชั่นได้รับตอนนั้นในการตัดสินใจ ถ้าเอกสารไม่ครบ case officer ที่ได้รับเรื่องก็มีอำนาจที่จะไม่อนุมัติ PR ให้ แถมตังค์ก็จะไม่คืนด้วย ถ้า case officer ใจดีหน่อย เค๊าก็จะยืดเวลาให้อีก 28 วัน ให้ส่งเอกสารเพิ่ม แต่ก็อย่าเสี่ยงเลยนะ ดีที่สุด

ดังนั้นน้องๆคนใหนที่จะยื่นเรื่องขอ PR พี่จอห์นแนะนำให้เตรียมตัว เตรียมเอกสารกันตั้งแต่เนิ่นๆดูด้วยว่าวีซ่าตัวเองหมดเมื่อไหร่ จะได้ไม่มีปัญหา เอกสารอันใหนเตรียมได้ ก็เตรียมไปเรื่อยๆ เอกสารบางอย่างเตรียมไม่ได้เพราะยังเรียนไม่จบ หรือผลสอบยังไม่ออก ก็รอเอาไว้เป็นขั้นตอนอันดับหลังๆ แต่อย่ารอให้สอบเสร็จ ให้ได้ผลสอบ แล้วมาเริ่มลงมือเตรียมเอกสาร อย่างนี้ไม่ดี มันจะวุ่นวายและชุลมุนกันไปหมดเลย :)

ด้วยความหวังดีนะเนี๊ยะ