Saturday, May 27, 2017

same sex partner ทำเรื่องยากมั๊ย


มีคำถามยอดฮิตถามเข้ามาว่า 

คู่รักเพศเดียวกัน ทำเรื่องติดตาม นั่น นี่ โน่น ยากมั๊ย

คำตอบง่ายๆ สั้นๆว่า "ไม่ยาก" ครับ

เพราะที่ประเทศออสเตรเลีย ไม่ว่าจะเป็นคู่รักแบบต่างเพศ หรือเพศเดียวกัน ในแง่มุมของอิมมิเกรชั่นแล้ว ไม่มีความแตกต่างกันครับ

ส่วนใครบางคนจะไปฟังใคร อะไรมา เราไม่สน

วีซ่านักเรียน คู่รักเพศเดียวกัน เราทำผ่านมาแล้ว
วีซ่าทำงาน subclass 457 คู่รักเพศเดียวกัน เราก็ทำผ่านแล้ว
Partner Visa คู่รักเพศเดียวกัน เราก็ทำผ่านมาแล้ว

ดังนั้นคำถามที่ว่า ระหว่างคู่รักเพศเดียวกัน กับคู่รักต่างเพศ อันใหนทำยากมากกว่ากัน

อยากจะบอกว่าเป็นคำถามที่เชยมาก

โลกมันหมุนไปถึงใหนต่อใหนแล้ว

ความรัก มันเป็นเรื่องระหว่างคน 2 คนจ๊ะ (ยกเว้น threesome)
ไม่เกี่ยวกับ gender

Friday, May 26, 2017

วีซ่านักเรียนแบบติดตาม


ก็เป็นเรื่องปกติที่คนเราถือวีซ่านักเรียนทั้งคู่ แล้วเราเจอแฟนเรา 
รักกัน
คบกัน

และอีกฝ่ายหนึ่งก็ไม่อยากที่จะไปเรียนแล้ว อาจจะด้วยเหตุผลทางค่าเทอม

หรืออาจจะด้วยเหตุผลที่ต้องการทำงานแบบเต็มเม็ดเต็มหน่วย เก็บเงินสร้างเนื้อสร้างตัวกัน

การขอวีซ่านักเรียนแบบติดตามนั้นทำได้ไม่อยากถ้า:

  • เรารักกันจริง
  • เราใส่ชื่อแฟนเราไปด้วยว่าเป็น immediate family member ตอนที่เราสมัครวีซ่านักเรียนครั้งล่าสุด (สำหรับคู่ที่คบกันอยู่ก่อนแล้ว)
  • เราไม่ใส่ relationship status ว่าเป็น single หรือ โสด (สำหรับคู่ที่คบกันอยู่ก่อนแล้ว)
  • แต่สำหรับคู่รัก ที่มาเจอกันทีหลัง ก็ไม่เป็นไร ถ้าหากยังไม่ได้ใส่ชื่อแฟนเราเข้าไปว่าเป็น immediate family member หรือใส่ relationship status เป็น single อะไรประมาณเนี๊ยะ เราก็สามารถกรอกฟอร์ม update สถานะอะไรต่างๆของเราได้ (ฟอร์ม 1022) แล้วก็สามารถทำเรื่องติดตามกันได้
แต่...

สำหรับคู่ที่รักกัน คบกันมานานแล้ว
แต่ตอนที่สมัครวีซ่านักเรียนมานั้น ไม่ได้ใส่ชื่อแฟนเราเข้าไปด้วย หรือใส่ relationship status ว่าเป็นโสด

อาจจะด้วยความรู้เท่าไม่ถึงการ
หรืออาจจะเป็นเพราะเอเจนท์นักเรียนที่เมืองไทยบอกให้ทำ

อาจจะด้วยเหตุผลอะไร ยังไงก็ตามแต่
ถ้าเป็นแบบนั้น

ทั้งคู่ต้องสมัครวีซ่านักเรียนใหม่ แล้วใส่ชื่ออีกฝ่ายให้เรียบร้อย
คราวนี้ถ้าได้วีซ่า ก็จะได้วีซ่าด้วยกันทั้งคู่ มากันเป็น pack

ดังนั้น สำหรับคู่รักทั้งหลาย เราไม่แนะนำให้โกหก หรือให้ข้อมูลที่บิดเบือนนะครับ เราต้องให้ข้อมูลตามความเป็นจริง แล้วทุกอย่างจะง่าย

แต่...

สังคมปัจจุบัน มันก็มีพวกที่ไอเดียบรรเจิดไปในทางที่ผิดๆ
เห็นทุกสิ่ง ทุกอย่างเป็นธุรกิจ เป็นตัวเงินไปหมด

โดยเฉพาะสังคมในเมืองใหญ่ น้ำเน่ามันเยอะ

นั่นคือพวกจดทะเบียนให้เพื่อน
เธอมาติดตามฉันสิ นั่น นี่ โน่น

ok...แหละ มันทำได้
มันแก้ปัญหาได้ในระยะสั้น

แต่มันไม่ได้แก้ปัญหาได้ในระยะยาว

เพราะหากวันนี้เราทำเรื่องติดตามเพื่อนเรา อาจจะด้วยเหตุผลทางธุรกิจอะไรก็ตามแต่

ถึงวัน วันหนึ่งที่เราเจอคนรักจริงๆ รักกันจริงๆ
รักกันมากปานจะดูดดื่ม

คราวนี้อยากจะมาติดตามแฟนตัวจริงของตัวเอง

ปัญหากันก็ต้องเกิด เพราะอิมมิเกรชั่นเองก็จะมองว่า สรุปแล้วเธอรักใคร อะไร ยังไงกันแน่

แน่นอนแหละ คนเรามันเปลี่ยนคู่นอนกันได้ และก็หลายๆคนก็ยังอยู่ในช่วง "วัยเจริญพันธุ์" แต่เราก็ต้องควักหัวใจออกมา เอาออกมาพิสูจน์ มา proof กันถึงความรักแท้อีกแหละ 

เหมือน Partner Visa ยังไงยังงั้น

ซึ่งมันก็ทำให้เรื่องมันยากและวุ่นวายโดยใช่เหตุ

ดังนั้นเวลาทนายหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์เรียกค่า professional service fee ตัวเลขมันก็ต้องสูงเป็นเงาตามตัว

ดังนั้นห้ามบ่น...

เลิกโทษคนอื่น หัดโทษตัวเองบ้าง ชีวิตจะได้ตั้งอยู่บนโลกของความเป็นจริง

แน่นอนหละ มันเป็นเรื่องปกติที่ case officer เขาจะปฏิเสธการให้วีซ่า ด้วยข้ออ้างเล็กๆน้อยๆว่า ดูผิวเผินแล้ว เหมือนใช้วีซ่านักเรียนเป็น tool เผื่อการอยู่ต่อไปเรื่อยๆ

ดูผิวเผินแล้วไม่ genuine 
อย่าลืมนะครับ ตั้งแต่ 1 July 2016 วีซ่านักเรียนจะมีการเข้มงวดกับ GTE (Genuine Temporary Entry) มาก

ทั้ง main applicant และคนติดตาม

ดังนั้นเราจะทำอะไรกันเล่นๆ เหลาะๆแหละๆ กันไม่ได้

ทำอะไรต้องคิดการไกลเอาไว้บ้างเล็กน้อย

ดังนั้นจึงไม่เป็นการแปลกที่ case officer จะ refuse วีซ่าเรา อย่าลืมว่าเขาก็ทำตามหน้าที่ของเขา มันเป็นนโยบายจากเบื้องบน

อย่าลืมนะครับว่า ค่าสมัครวีซ่านักเรียน (ณ วันที่เขียน) มันแค่ $550 เอง ดังนั้น case officer เขาจะดู case แค่ผิวเผิน เขาไม่มีเวลามาเจอะลึกว่า เออ คู่นี้รักกันจริงหรือเปล่า มันไม่เหมือน Partner Visa นะที่ค่าสมัครมัน $6,865 (ณ วันที่เขียน) ซึ่งทาง case officer ก็ต้องใช้เวลาในการตรวจสอบเอกสารและข้อมูล ให้มันสมราคา 

ดังนั้นเราจ่ายค่าสมัครแค่ $550 ก็โปรดอย่าคาดหวังว่า case officer ต้องมานั่งตรวจเอกสารแบบเจาะลึก มันไม่สมกับราคา

อยากให้ทุกคนลองคิดถึงจุดนีักันนิดหนึง

ดังนั้นถ้า case ใหนดูแปลกๆ มันก็ไม่ผิดที่ทาง case officer จะ refuse เลยทันที

ส่วนคู่ใหนที่รักกันจริงกับแฟนคนใหม่ คนปัจจุบัน เราก็ต้องไปต่อสู้กันที่ AAT (อุทรณ์)

เราก็ต้องเอาเหตุผลอะไรต่างๆเข้าไปอ้างว่า คนนี้หนะ รักจริงไม่ได้อิงนิยาย เพราะการไปขึ้นศาลอุทรณ์ มันต้องมีการให้ปากคำ ดังนั้นการพูด การจา กริยาท่าทาง body language มันจะสื่อออกมาเอง

ดังนั้นสำหรับใครที่คิดว่าจะให้เพื่อนทำเรื่องติดตามให้
อยากจะให้คิดให้ดีๆ คิดให้นานๆ นะครับ

ก็แค่อยากจะบอกว่า

มันไม่คุ้ม
และเราก็ไม่แนะนำด้วย

ปัญหาที่ตามมา มันเยอะ มากกว่าที่เราคิด

Wednesday, May 17, 2017

Partner Visa ไม่ต้องหย่ากับแฟนเก่า


อีกหนึ่ง case study ที่น่าสนใจของ Partner Visa

คือมีน้องคนหนึ่งเค้าก็คบกับแฟนมา ในระดับหนึ่งแล้วแหละ

เพียงแต่ว่าทั้งสองฝ่าย ทั้งตัวเค้าเองและตัวคน sponsor เองเนี๊ยะ
ยังไม่ได้หย่าจากคนเก่า
ก็คือ ทั้งตัวเค้าเองก็ ยังหย่ากันไม่เสร็จ ทั้งตัวคน sponsor ก็ยังไม่ ยังไม่ได้หย่า

เค้าก็ไม่ได้ให้ความสนใจอะไรมากมาย

ก็คือรอว่า เดี๋ยวหย่าเสร็จเมื่อไหร ค่อยว่ากันอะไรประมาณนี้ ก็คือ plan ว่า อ่าจะหย่ากับคนเก่าแล้วค่อยมาจดด้วยกัน จดทะเบียนสมรสด้วยกัน

เราเคย post ไป Facebook Page ว่า Partner Visa จริงๆแล้ว ทั้งคน สมัครและคน sponsor ไม่จำเป็นต้องหย่ากับแฟนเก่านะ 

อาจจะด้วยเหตุผลส่วนตัว
นั่น นี่ โน่น 

บางคนอาจจะแบบว่าไม่อยากเจอหน้าแฟนเก่าแล้ว

หรือว่าบางคนไม่อยากไปทำเรื่องหย่า เพราะว่าไม่อยากเสียตังค์จ้างทนายความ 

อะไรประมาณเนี๊ยะ
ทั้งคนสมัครเองและคน sponsor เองเนี๊ยะไม่ต้องหย่านะครับ

เพียงแต่ว่าขอให้ you กับเค้าเนี๊ยะอยู่ด้วยกันให้ครบ 12 เดือน

ซึ่งน้องคนนี้เค้าก็ qualify อยู่แล้ว อยู่ด้วยกันครบ 12 เดือน

วันจันทร์ตอนบ่าย ก็ได้ email จาก case officer ว่าวีซ่าผ่านแล้วนะครับ

แล้วที่แน่ๆ คือ call centre ที่ immigration
ก็ไม่รู้กฎหมายตัวนี้ด้วย เพราะว่า มีคนเคยโทรไปที่ immigration แล้วก็ถามว่า 

"เออเนี๊ยะ ฉันยังไม่ได้หย่ากับแฟนเก่าเลย"
"ฉันทำเรื่อง Partner Visa ได้ไหม" 

immigration บอกว่า 

"ทำไม่ได้" 

เห็นไหม บางทีน่ะครับก็เวลารับข้อมูลข่าวสารอะไร ต่อให้ you โทรไปที่ immigration เองก็เหอะ

เพราะว่าคนที่รับสายเนี๊ยะ เค้าเป็นแค่ call centre
และก็เค้ามีการเข้าออก งานกันเป็นประจำ เพราะว่าพวกนี้ก็คือ พวกข้าราชการ มันก็มีคนลาออก มีคนเข้ามาใหม่อะไรประมาณเนี๊ยะอยู่เรื่อยๆ

ดังนั้นก็ อะไรน่ะ อยากให้ทุกคนแบบว่า ได้รับข่าวสารข้อมูลที่ถูกต้องนะครับ

หรือว่าบางทีเวลาไปอ่านตามพวก web page ต่าง ๆ พวก online forum อะไรต่าง ๆ

ก็ควรจะใช้วิจารณญานด้วยนะครับในการเสพข้อมูล

มีประโยชน์โปรดแชร์

Saturday, May 6, 2017

ตัวอย่าง work reference ทำวีซา subclass 457


หลังจากที่มีการเปลี่ยนแปลงกฎของการทำวีซ่า subclass 457 ไปเมื่อวันที่ 19 Apr 2017

ต่อจากนี้ไป keyword สำหรับการทำวีซ่า subclass 457 ก็คือ:
  • Tax File Number (TFN): ต่อไปจะทำงานอะไรที่ใหน ก็ต้องมีการให้ TFN กับนายจ้างนะครับ เพราะเราต้องมีประสบการณ์ในการทำงานด้วยในการขอวีซ่า subclass 457 ในอนาคต; 18 March 2018
  • Work reference หรือจดหมายผ่านงาน และเราก็เคย promise ผ่าน Facebook LIVE ไปว่า เราจะมีตัวอย่างของ work reference ให้นะครับ
ก็มาแล้วตามสัญญานะครับ

ตัวอย่าง work reference แบบคร่าวๆ กับ 4 อาชีพยอดฮิตของคนไทย

  • ตัวอย่าง work reference ของ Chef
  • ตัวอย่าง work reference ของ Cook
  • ตัวอย่าง work reference ของ Restaurant Manager
  • ตัวอย่าง work reference ของ Massage Therapist

ก็แนะนำให้ปรับเปลี่ยน แก้ไขให้เข้ากับสถานการณ์และ setting ของแต่ละร้านนะครับ ไม่จำเป็นต้อง copy เราไปหมดสะทุกอย่าง

จะสังเกตุว่าจดหมาย work reference ของเรา จะเป็นอะไรที่ ตรงประเด็น straight to the point นะครับ

เราไม่ hit around the bush หรืออ้อมค้อมนะครับ

work reference ที่ประเทศออสเตรเลียไม่ใส่เงินเดือนหรือค่าแรงนะครับ