Wednesday, December 31, 2014

การคาดการของวีซ่าทำงาน subclass 457

จากการรายงานของหนังสือพิมพ์ Herald Sun มีการประเมินกันว่าในรอบปีที่ผ่านมา 2013-2014 มีคนที่ได้วีซ่า subclass 457 ประมาณ 52,000 คน ลำดับอาชีพที่ติดอันดับมีดังต่อไปนี้:

  • กุ๊กประมาณ 2,720 คน
  • ผู้จัดการร้านอาหาร ประมาณ 2,070 คน
  • Computer Programmer 1,900 คน
  • นักการตลาด 1,470 คน
  • อาจารย์สอนมหาลัย 1,290 คน
  • หมอ1,270 คน
มีการคาดเดาและประเมินกันว่า คนที่ทำวีซ่า subclass 457 จะลดลงเพราะว่า ขั้นตอนในการทำวีซ่าเริ่มยุ่งยากและซับซ้อนขึ้นทุกวัน และค่าใช้จ่ายก็เพิ่มขึ้นเป็นเงาตามตัวด้วย

เราก็คอยดูกันต่อไปว่า รัฐมนตรีคนใหม่ที่เพิ่งได้มีการปรับเปลี่ยนไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้วจะเป็นไงมั่ง ไม่ทราบว่าได้รัฐมนตรีคนใหม่แล้วจะมีนโยบายอะไรใหม่ๆมั๊ย จะรอดูว่าเค๊าจะมีวิธีจัดการกับปัญหาขาดแคลนคนงานและในขณะเดียวกันที่เค๊าต้องปกป้องงานเพื่อให้คนออสเตรเลียยังไง

Thursday, December 18, 2014

ค่าสมัคร Partner Visa จะมีการปรับเพิ่ม

ทางอิมมิเกรชั่นจะมีการปรับเพิ่มค่าสมัคร Partner วีซ่าเพิ่มอีก 50% นะครับ

การปรับเพิ่มจะมีขึ้นเริ่มจากวันที่ 1 January 2015 ดังนั้นถ้าใครอยาก safe money ก็ต้องสมัครภายในเดือนนี้นะครับ

ราคาที่ปรับเพิ่มมีดังต่อไปนี้:

  • Partner Visa ที่ยื่นมาจากข้างนอกประเทศออสเตรเลีย จากเดิม $3085 เพิ่มเป็น $4627.50
  • วีซ่าคู่หมั้นหรือวีซ่าจะมาแต่งงาน จากเดิม $3085 เพิ่มเป็น $4627.50 เช่นเดียวกัน
  • Partner Visa ที่ยื่นที่นี่ จากเดิม $4575 เพิ่มเป็น $6865.50

หากใครต้องการยื่นสมัคร Partner Visa แบบเร่งด่วนภายในเดือนนี้ติดต่อเราได้นะครับ ที่ 0412-470969

Sunday, December 14, 2014

Maintain training benchmark for visa subclass 457 ทุกปี

Visa subclass 457 มีเอาไว้เพื่อให้นายจ้างจ้างพนักงานที่เป็นชาวต่างชาติเพื่อที่จะเอาพนักงานต่างชาติมาทำงานในตำแหน่งที่นายจ้างหาพนักงานที่เป็นคนออสซี่ (PR หรือ Citizen) ไม่ได้แล้ว นั่นคือจุดประสงค์หลักของรัฐบาลที่ออสเตรเลีย

Visa subclass 457 ไม่ได้มีไว้เพื่อให้นายจ้างหาคนงานที่เป็นชาวต่างชาติเพื่อที่จะเอามาทดแทนคนที่เป็นออสซี่ แต่ก็อย่างว่าแหละคนไทยเราเป็นคนที่มีความคิดสร้างสรรกัน กฏมีเอาให้ซิกแซกแล้วแต่ใครจะสร้างสรรหรือ creative ขนาดใหน ขอแค่อย่าทำอะไรผิดกฏหมายเป็นพอนะครับ สร้างสรรได้แต่ต้องอยู่ในกรอบของกฏหมาย

ในเมื่อ visa subclass 457 ไม่ได้มีเอาไว้เพื่อให้นายจ้างหาคนงานที่เป็นชาวต่างชาติเพื่อที่จะเอามาทดแทนคนที่เป็นชาวออสซี่ ทางนายจ้างเองก็ต้องมีการฝึกฝนคนงานที่เป็นออสซี่ด้วย ไม่งั้นคนออสซี่ก็จะไม่มี skill ไม่มีฝีมือ ไม่มีความสามารถในการทำงาน คนออสซี่ก็จะหางานไม่ได้สักที ดังนั้นนายจ้างต้องโชว์ว่านายจ้างได้จ่ายค่าใช้จ่ายในการฝึกพนักงานที่เป็นชาวออสซี่ ที่เรียกว่า training benchmark 

นายจ้างที่จ้างพนักงานต่างชาติโดยใช้ visa subclass 457 ต้องโชว์ commitment ว่าเค๊ามีการฝึกงานให้กับพนักงานที่เป็นออสซี่ทุกปี ดังนั้นนายจ้างต้อง meet training benchmark ทุกๆปี ไม่งั้นทางอิมมิเกรชั่นสามารถยกเลิก business nomination ของ subclass 457 ได้

ที่ผ่านมานายจ้างได้มีการเมินเฉยต่อการ maintain training benchmark กันมาก ดังนั้นทางอิมมิเกรชั่นจึงได้มีการเข้มงวดกันมากขึ้น ดังนั้นแนะนำให้นายจ้างและลูกจ้างที่ถือวีซ่า subclass 457 ให้เอาใจใส่กันด้วยนะครับเกี่ยวกับเรื่องนี้

นายจ้างหรือลูกจ้างท่านใด ต้องการข้อมูลเพิ่มเติมว่าต้องทำยังไงมั่ง ติดต่อ J Migration Team ได้ที่ 0412-470969 เราช่วยท่านได้ ง่ายๆ ไม่ยาก

Sunday, November 9, 2014

จะเปิดร้านอาหาร จะสปอนเซอร์ตัวเองหรือคนในครอบครัวจะทำยังไง

จะเปิดร้านอาหารแล้วทำเรื่องสปอนเซอร์ตัวเองหรือคนในครอบครัวนัั้น ทำได้ไม่ยาก:

  • เปิดร้านอาหารในรูปแบบบริษัท กฏหมายของ NSW และ SA ถือว่าบริษัทเป็น different entity จากเจ้าของบริษัท ดังนั้นเราสามารถเอาบริษัทมาสปอนเซอร์เรา เป็น working visa 457 ได้ หลังจากทำงานให้ร้านตัวเองได้ 2 ปี เราก็เอาร้านที่เป็นบริษัทเนี๊ยะ สปอนเซอร์เราเป็น PR ได้ happy ending ทำได้ไม่ยาก
  • ถ้าร้านใหญ่หน่อย เปิดทั้ง lunch และ dinner ร้านก็สามารถสปอนเซอร์ได้ประมาณ 4 ตำแหน่งคือ
    • chef ทำงานกลางวัน ช่วงเปิด lunch
    • chef ทำงานกลางคืน ช่วงเปิด dinner
    • restaurant manager ทำงานกลางวัน ช่วงเปิด lunch
    • restaurant manager ทำงานกลางวัน ช่วงเปิด lunch
  • ทั้ง 4 ตำแหน่งนี้ คนสมัครก็สามารถเอาสามี ภรรยา หรือลูกลงไปได้ด้วย ถ้าได้วีซ่า ก็ได้ทั้งครอบครัว
อีกอย่างที่สามารถทำได้ก็คือ ครอบครัว 4 ครอบครัวเอาเงินมาลงทุนเปิดร้านอาหารกัน เสร็จแล้วก็เอาร้านอาหารที่เป็นบริษัทสปอนเซอร์ทั้ง 4 ตำแหน่ง ผลลัพธ์ที่ได้คือ happy 4 families

Monday, September 22, 2014

ปัญหาของ 457 และ ENS นายจ้างสปอนเซอร์

ช่วงนี้พี่จอห์นได้ติดตามอ่านข่าวและวารสารข่าวคราวทางด้านอิมมิเกรชั่นมากขึ้น ปกติแล้วเราก็ไม่ค่อยได้อ่านอะไรมากมาย เพราะเราก็ทำงาน ทำ case immigration ของเราไปตามปกติ เราก็ทำและก็ใส่ใจในทุก case ที่เราทำ ทุก case ที่ผ่านมาก็ผ่านตลอด 100% ทุก case

ส่วนข่าวคราวที่เราได้ไปอ่านและก็ข้อมูลต่างๆจาก MRT เราก็เป็นข้อมูลให้เราได้ทราบว่าเกิดอะไรขึ้นมั่งกับ case อะไรต่างๆ อื่นๆ

เช้านี้เราก็ได้อ่าน case ของ MRT หลายๆ case ที่เกี่ยวข้องกับการ nominate position ของพวกร้านอาหารหรือ cafe ต่างๆ ก็ได้อะไรที่พอเป็นข้อคิดดังต่อไปนี้

  • ถ้าจะทำ nomination position อะไรเข้าไป ก็แนะนำให้เตรียมเอกสารให้แน่นๆไปเลยว่าธุรกิจเรามีความจำเป็นคนหรือพนักงานในตำแหน่งนี้จริงๆ จะได้ไม่ต้องเสียเวลาไปอุทรณ์ที่ MRT เวลาเรื่องโดน refused. เพราะเวลาไปอุทรณ์ที่ MRT เราก็ต้องมาเขียน case เขียนข้อมูลเข้าไปเพิ่มเติม เสียเวลาเฉยๆ ถ้าเราเตรียมไว้ตั้งแต่แรก ตอนยื่นเรื่องกับอิมมิเกรชั่น เรื่องก็น่าจะผ่าน จะได้ไม่ต้องไปทำเรื่องอุทรณ์กับ MRT เสียตังค์เพิ่ม เสียเวลา เสียความรู้สึกด้วย
  • ถ้าเรามีร้านอาหาร แล้วต้องการ nominate ตำแหน่ง customer service manager, เราก็ต้องมีเหตุผลพอเพียงว่าธุรกิจร้านอาหารเราใหญ่โตขนาดถึงจำเป็นต้องมี customer service manager หรือเปล่า ถ้าเราสามารถโชว์ได้ว่าเรามีความจำเป็นที่ต้องมี customer service manager จริงๆ เรื่องเราก็ผ่านได้
  • หรือถ้าเรามี cafe แล้วต้องการ nominate cook เราก็ต้องสามารถอธิบายได้ว่าธุรกิจเราต้องการ cook ไม่ใช่ fast food or take away cook เพราะ cook กับ fast food or take away cook ไม่เหมือนกัน cook เป็นอาชีพที่เราสามารถ nominate ขอวีซ่า 457 (วีซ่าทำงาน 4 ปัโดยมีนายจ้างสปอนเซรอ์) และ ENS (วีซ่าถาวรเป็น PR โดยมีนายจ้างสปอนเซอร์) ได้ แต่ fast food or take away cook ไม่ใช่อาชีพที่สามารถทำวีซ่า 457 หรือ ENS ได้ ดังนั้นถ้าเราเปิด cafe เราก็ต้องสามารถโชว์ว่า cafe เราทำ menu ที่ complex ที่ซับซ้อน และ cafe เราไม่ใช่ cafe ราคาถูกๆข้างถนน อะไรประมาณเนี๊ยะ
ทั้งนี้และทั้งนั้น ไม่ว่าอ่านผู้อ่านทั้งหลายจะทำวีซ่าเอง หรือให้ทนายหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนต์ทำให้ ก็อยากจะให้ spend more time ในการเขียน case และโชว์ evidence ว่าธุรกิจเรามีความจำเป็นที่ต้องจ้างพนักงานในตำแหน่งนั้นจริงๆ ตำเรื่องให้ดีๆไปตั้งแต่แรกดีที่สุด จะได้ไม่เสียเวลา เสียความรู้สึกมายื่นอุทรณ์เรื่องทีหลัง

Saturday, June 28, 2014

ENS: Direct Entry Stream 186 สำหรับคนที่วีซ่ามีปัญหากับ MRT

วีซ่า ENS ที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ให้เราได้ PR เป็นอะไรที่หน้าสนใจนะครับ โดยเฉพาะหลายๆท่านที่คิดจะทำธุรกิจเป็นของตัวเอง เพราะ

  • เราสามารถจดทะเบียนธุรกิจเป็นรูปแบบของบริษัทและก็เอาบริษัทสปอนเซอร์ตัวเองได้
  • คนที่ติด bridging visa (A/B/C) สามารถทำเรื่องขอ PR ตัวนี้ได้ และที่สำคัญคือเรารอ PR อยู่ใหนก็ได้ ตัวนี้ดีสำหรับคนที่มีปัญหาเรื่องวีซ่าและกำลังเดินเรื่องอยู่กับ MRT
  • ไม่ว่าเราจะอยู่ onshore หรือ offshore เราและ family members ทุกคนสามารถขอวีซ่าตัวนี้ได้ครับ.....amazing!!!
แต่
  • เราต้องสอบ IELTS ให้ได้ 6 ทุกประเภท; reading, writing, listening and speaking
  • ทำ skill assessment ให้ผ่าน
  • มีประสบการณ์ในการทำงาน 3 ปี full-time หรือ 6 ปี part-time
ดังนั้นใครที่ติด bridging visa A กับ MRT นี่ก็เป็นอีกทางหนึ่งที่หน้าสนใจนะครับ

Sunday, June 8, 2014

Family stream visa มีการเปลี่ยนแปลง เริ่ม 2 June 2014

เมื่ออาทิตย์ที่ผ่านมารัฐบาลได้มีการยกเลิกวีซ่าบางส่วนของ Family Stream Visa แบบสายฟ้าแลบ รัฐบาลได้เคยประกาศว่าจะมีการเปลี่ยนแปลงและยกเลิกวีซ่าบาง subclass ไป ซึ่งก็เพิ่งจะประกาศออกมาเมื่อเดือนที่แล้ว ช่วงของการประกาศปีงบประมาณ 2014 ทางอิมมิเกรชั่นเอเยนต์ก็คิดว่าคงจะประกาศออกมามีผลบังคับหลังวันที่ 1 July 2014.

เปล่าเลยครับ ทางรัฐบาลไม่ได้รอช้าเลย ประกาศมีผลบังคับใช้ทันที่เมื่อวันที่ 2 June 2014 ที่ผ่านมา วีซ่าที่มีการยกเลิกก็มีดังต่อไปนี้
  • Parent Visa (subclass 103)
  • Aged Parent Visa (subclass 804)
  • Aged Dependent Relative Visa (subclass 114 & 838)
  • Remaining Relative Visa (subclass 115 & 835)
  • Carer Visa (subclass 116 and 836)
ก็จะเห็นได้ชัดว่ารัฐบาลชุดนี้ถ้าจะประกาศนโยบายอะไรออกมา เค๊าจะไม่ล่าช้าและรีรอ เค๊าจะประกาศใช้กันเลยทันที ไม่เหมือนรัฐบาลชุดก่อน

เราหลายๆคนก็ต้องพยายามติดตามข่าวคราวอยู่ตลอด เผลอไม่ได้เลยทีเดียว 
ก็ถือว่าเป็นการดีไปอีกแบบหนึ่งคือมันทำให้ตื่นตัวอยู่ตลอดเวลา

Tuesday, April 22, 2014

พ่อเป็นคน local (PR/Citizen) จะเอาลูกมาจากแฟนเก่า จะทำยังไง

มีน้องคนสนิทคนหนึ่ง เป็นคน local อยู่ที่นี่มานานแล้ว เป็น citizen มีลูกกับแฟนเก่าและเค๊ากับไปคลอดลูกที่เมืองไทย ลูกตอนนี้อายุ 10 ขวบ น้องเค๊าอยากจะเอาลูกมาอยู่ที่นี่จะต้องทำยังไงมั่ง

ขั้นต้อนก็มีดังนี้นะครับ

  • เราก็ต้องทำเรื่อง sponsor ลูกเรามาอยู่ที่นี่ ด้วย Child Visa, subclass 101
  • Child visa ตัวนี้ก็ใช้เวลาประมาณ 1 ปีนะครับ ต้องรอกันนิดหนึ่ง
  • พอลูกมาอยู่ที่นี่แล้ว ก็เป็นได้แค่ PR ไปก่อนนะครับ ถ้าจะทำเรื่องขอ citizen ก็สามารถทำได้หลังจากลูกมาอยู่ที่นี่ได้ 4 
ทั้งนี้และทั้งนั้นก็อยากจะบอกว่า ถ้าคลอดลูกที่นี่ซะตั้งแต่แรก ลูกก็จะได้ citizen เลยตอนเกิด ไม่วุ่นวายทำเรื่องเสียตังค์ เสียเวลา  :)

Saturday, April 12, 2014

กลุ่มอุตสาหกรรมร้านอาหารมีการเรียกร้องให้ยกเลิก requirement ของภาษาอังกฤษและอัตราค่าแรงขั้นต่ำ

เนื่องด้วยอุตสาหกรรมและธุรกิจร้านอาหารได้ออกมาแสดงความเรียกร้องต่ออิมมิเกรชั่นว่ามีการขาดแคลนพนักงานในร้านอาหารเป็นอย่างมาก ทางธุรกิจร้านอาหารต้องการให้อิมมิเกรชั่นยกเลิก requirement ภาษาอังกฤษ ของ chef หรือ cook เพราะทางร้านอาหาร โดยเฉพาะอาหารต่างชาตินั้น chef หรือ cook ไม่จำเป็นต้องใช้ภาษาอังกฤษอะไรมากมาย เค๊าแค่ใช้ ภาษาอาหาร หรือ language of cuisine มากกว่า

ตอนนี้ก็มีข่าวออกมาว่า ทางอิมมิเกรชั่นเองก็กำลังพิจารณาเรื่องนี้อยู่นะครับ ยังไม่ได้มีการประกาศอะไรออกมาใช้อย่างเป็นทางการ

นอกจากนี้ทางอิมมิเกรชั่นก็กำลังพิจารณาเรื่องค่าแรงขั้นต่ำของ chef หรือ cook ด้วย เพราะตอนนี้ค่าแรงขั้นต่ำที่ทางอิมมิเกรชั่นกำหนดเอาไว้นั้น $53,900 ก็ถือว่าสูงเกินกว่าอัตราค่าจ้างทั่วๆไปมาก

ทั้งนี้ทางธุรกิจร้านอาหารต้องการให้มีการลดหย่อน requirement พวกนี้ลงเพื่อที่จะให้ธุรกิจร้านอาหารต่างๆสามารถ sponsor พนักงานเพื่อทำงานที่ร้านได้ง่ายมากขึ้น

ก็ยังคงต้องรอกันอีกนิดนะครับว่าผลจะออกมาเป็นยังไง คิดว่าไม่นานเกินไป


Saturday, March 29, 2014

limitation for sponsor for Partner Visa

เมื่อไม่นานมานี้ทางอิมมิเกรชั่น ได้มีกฏออกมาใหม่ว่า sponsor ที่จะ sponsor partner ทำ Partner Visa นั้น มี conditions อยู่ว่า

  • ถ้าเคย sponsor partner มาก่อน ต้องทิ้งช่วงไว้ 5 ปี ถึงจะ sponsor partner คนใหม่ได้ ระยะเวลา 5 ปี นับจากวันที่ยื่นเรืองของ partner คนเก่า ไม่ใช่วันแต่งงานหรือวันที่เริ่มมี relationship กัน
แต่ก็มีข้อยกเว้น ที่ sponsor ไม่ต้องรอถึง 5 ปี ถ้า
  • sponsor กับ partner คนเก่ามีลูก (ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ) ด้วยกัน แล้ว partner คนเก่าเสียชีวิต
  • sponsor กับ partner คนใหม่มีลูกด้วยกัน (ที่ยังไม่บรรลุนิติภาวะ)
  • sponsor กับ partner คนใหม่มีความสัมพันธ์กันอย่างต่ำ 2 ปี
นี้ก็เป็น condition ใหม่ที่มีการประกาศออกมาใช้ ก็ไม่แน่ว่าอนาคตจะมีการเปลี่ยนแปลงอะไรอีก

Sunday, March 23, 2014

student visa, visa conditions

student visa หรือวีซ่านักเรียนนั้นมีเอาไว้เพื่อให้เรามาเรียนหนังสือ ไม่ใช่ทำ student visa  เพื่อมาหางานทำ ถ้าใครที่มาด้วย student visa แล้วก็พยายาม push the limit นั้น พี่จอห์นไม่แนะนำนะครับ อย่าทำเลย มันเหนื่อย(ใจ)และสร้างความวุ่นวายให้กับชีวิตมากกว่า

ปกติแล้ว student visa ก็จะมี visa conditions นั่น นี่ โน่น ที่เราต้อง follow โดยเฉพาะชั่วโมงในการเข้าเรียน หรือมีผลการเรียนที่ OK.

ถ้าถือ student visa แล้วไม่ค่อยเข้าเรียน มัวแต่แอบทำงานหาเงิน หรือไม่ก็ผลการเรียนไม่ดี เพราะไม่มีเวลาอ่านหนังสือ ไม่ว่าสาเหตุจะมาจากเราไม่เข้าเรียน ทำงานเยอะเกิน หรือมัวแต่ party ก็แล้วแต่ ถ้าทางสถาบันการศึกษาทำหนังสือไล่เราออกแล้วแจ้งไปทางอิมมิเกรชั่น โอกาสที่เราจะรอดหนะยากมาก 99.99% โดนส่งกลับ ต่อให้ appeal กับ MRT ก็ทำอะไรไม่ค่อยได้ เพราะเราเองที่ทำผิด visa conditions ตั้งแต่แรก ส่วนมากคนที่ appeal กับ MRT ก็แค่เพื่อซื้อเวลาเพื่อทำงานอยู่ต่อแค่นั้นเอง เพราะ MRT กว่าจะ process case เราก็เป็นปีหรือ 2 ปี ซึ่งช่วงที่รอก็สามารถทำงานเก็บตังค์ได้

แต่ทั้งนี้และทั้งนั้น พี่จอห์นไม่แนะนำนะครับ ถ้าจะถือวีซ่านักเรียนก็ควรจะเรียนจริงๆ ถ้าอยากหางานทำ ก็ควรเรียนในสาขาที่ทางออสเตรเลียขาดแคลนบุคลากร แล้วค่อยหางานทำเป็นหลักเป็นแหล่ง

เข้าใจว่าชีวิตทุกคนไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบมีเงินเป็นกระสอบๆมาเรียนเมืองนอก ถ้ามันเป็นหนทางหรือทางเลือกสุดท้ายอย่างน้อยก็ต้อง follow visa conditions ทุกอย่างอย่างเคร่งครัดนะครับ จะได้ไม่มีปัญหา

Sunday, January 5, 2014

วีซ่าแต่งงาน แฟนไม่ได้ทำงานก็สามารถสปอนเซอร์ทำวีซ่าได้


Partner visa หรือที่คนไทยรู้จักกันก็คือ วีซ่าแต่งงาน มีลูกค้าหลายคนสอบถามเข้ามาว่า แฟนไม่ได้ทำงาน แฟนสามารถสปอนเซอร์เราขอ PR ได้มั๊ย คำตอบคือ "ได้" ครับ

ไม่ว่าแฟนเรา (เพศเดียวกัน หรือต่างเพศ) ไม่ได้ทำงาน หรือขอเงินจาก Centrelink เค๊าก็สามารถทำเรื่อง sponsor เราขอ PR ได้ครับ ไม่มีปัญหาอะไร เพียงแต่ว่าแฟนเราอาจจะต้องหาคนมาค้ำประกันว่าเค๊าสามารถดูแลเราเรื่องที่อยู่อาศัย ค่ากินค่าอยู่ได้อย่างต่ำ 2 ปี หลังจากที่เราได้ PR เพราะว่าช่วง 2 ปีแรกเราไม่สามารถขอเงินอะไรจาก Centrelink ได้ สวัสดิการที่ได้ก็คือ Medicare และก็สามารถไปเรียนภาษาอังกฤษฟรี ก็แค่นั่นเอง


ซึ่งจริงๆแล้วสวัสดิการจาก Medicare ก็ดีพอแล้วนะครับ ไปหาหมอ ไปโรงพยาบาลฟรี

จริงๆแล้วทางรัฐบาลของออสเตรเลียก็อยากให้แฟนเรามีงานทำ หรืองานที่มั่นคงหนะนะ เพราะเค๊าจะได้ดูแลและ support เราได้ในช่วง 2 ปีแรกหลังจากได้รับ PR

แต่เท่าที่ทำ case มาหลายๆ case ถ้าแฟนเราเป็นคนที่บรรลุนิติภาวะแล้ว ทางอิมมิเกรชั่นก็ไม่มีการเรียกหาคนค้ำประกัน เท่าที่สังเกตุว่าทางอิมมิเกรชั่นมีการเรียกหาคนค้ำประกันก็ต่อเมื่อ ทัังคู่แบบว่ายังเป็นเด็กหน่อมแน๊มอยู่ เรียนด้วยกันทั้งคู่ คนที่เป็นสปอนเซอร์เองก็ยังเป็นเด็ก อะไรประมาณนี้ก็จะมีการเรียกหาคนค้ำประกัน แต่ถ้าเป็นผู้ใหญ่แล้ว บรรลุนิติภาวะแล้ว ต่อให้กินเงิน Centrelink ก็ไม่มีปัญหาอะไร โตแล้วคิดว่ายังไงก็คงไม่พากันอดตาย (เอ๊....หรือว่าไม่แน่.... แต่ที่แน่ๆคือ เท่าที่ทำ case มา มีคนที่กินเงิน Centrelink ก็เยอะแต่ก็ยังไม่มีปัญหาสักราย)

ส่วนคนค้ำประกัน (garantor) ก็เป็นใครก็ได้ สามารถเป็น พ่อ แม่ พี่ น้อง หรือเพื่อนก็ได้ ทั้งนี้และทั้งนั้นผมก็แนะนำให้ปรึกษาทนายความทางด้านกฎหมายอิมมิเกรชั่น หรือไม่ก็ registered migration agent นะครับ เค๊าสามารถช่วยท่านได้