Friday, November 30, 2018

ลูกเกิดที่นี่ 10 ปี ได้ citizen โดยอัตโนมัติ หลังจากนั้นสามารถสปอนเซอร์พ่อแม่ได้เลยทันที


ตามกฎหมาย Citizenship Act 1948
บุคคลที่เกิดที่ประเทศออสเตรเลีย ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเป็น PR หรือ citizen, ลูกก็จะได้เป็น Australian citizen โดยอัตโนมัติ

แต่ถ้าพ่อหรือแม่ทั้ง 2 คน ไม่ได้เป็น PR หรือ citizen
ถ้าลูกที่เกิดที่ประเทศออสเตรเลีย หลังจากวันที่ 20 Aug 1986, และใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียตามปรกติเป็นเวลา 10 ปี ก็สามารถขอเป็น citizen ได้เช่นเดียวกัน

แล้วลูกก็สามารถทำเรื่อง sponsor พ่อและแม่ได้เลยทันที 
ไม่ต้องรอให้ลูกอายุ 18 ปี

ลูกที่เกิดที่นี่ ถ้าคุณพ่อคุณแม่อยากจะได้ PR หลังจากนั้นลูกต้องอยู่ที่นี่ให้ได้ถึง 10 ปีนะครับ ลูกจะอยู่ด้วยวีซ่าอะไร จะด้วยวิธีไหนก็ตามแต่ 

ลูกสามารถสปอนเซอร์คุณพ่อและคุณแม่ได้เลยทันทีหลังจากนั้น

เอาเป็นว่า ที่ "J Migration Team" เรามี strategy ให้ ว่าจะต้องทำอะไร ยังไงบ้าง
step-by-step
เราสามารถ prepare roadmap to PR ให้กับคุณพ่อคุณแม่ได้ ถ้าลูกได้ citizen หลังจากที่อยู่ที่นี่มาได้เกิน 10 ปีแล้ว

เอ๊ะ อะไร ยังไงนะ
มันทำได้ด้วยเหรอ

อ๋อ... ทำได้สิจ๊ะ
อยากรู้หละสิ...

Monday, November 26, 2018

วีซ่า subclass 407; Training Visa


วีซ่า subclass 482 TSS; Temporary Skill Shortage Visa คือวีซ่าทำงานโดยที่มีนายจ้างสปอนเซอร์

แต่วีซ่า subclass 482 ก็เป็นอะไรที่มี requirement ที่ค่อนข้างยุ่งยาก (แต่ก็ไม่ได้ยุ่งยากมากจนเกินไปสำหรับหลาย ๆ คน) โดยเฉพาะให้เรื่องของ:
- ประสบการณ์การทำงาน
- skill assessment
- ผลสอบภาษาอังกฤษ

และอะไรอื่น ๆ อีกมากมาย

ก็เอาเป็นว่าแต่ละคนมีคุณสมบัติอะไรหลาย ๆ อย่างไม่เหมือนกัน
บางคนขอวีซ่า subclass 482 ได้ง่าย แต่บางคนขอได้ยาก

แล้วยิ่งวีซ่า subclass 482 ที่หลาย ๆ สาขาอาชีพที่ต้องมี Caveat หรือ special requirement เข้ามายุ่งเกี่ยวด้วย ความซับซ้อนมันก็ยุ่งวุ่นวายไปอีก แล้วไหนจะ GTE สำหรับสาขาอาชีพที่อยู่ใน short-term list อีก ดูมันวุ่นวายไปหมด

วีซ่าในหมู่ตระกูลของ subclass 400s มันก็หลายวีซ่าด้วยกัน
ไม่ว่าจะเป็น subclass 482, 407, 408 & 403...etc..etc..

เดี๋ยววันนี้เราขอ focus ไปที่วีซ่า subclass 407; Training Visa ก็แล้วกันนะครับ

วีซ่า subclass 407 เป็นวีซ่าสำหรับการฝึกงาน กับนายจ้างหรือองค์กรที่เขาต้องการจะ train เรา

มันก็เหมือนเป็นวีซ่าฝึกงานดี ๆ นี่เอง


วีซ่าตัวนี้ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับหลาย ๆ คน เพราะ requirement ของวีซ่าตัวนี้ไม่ได้ยากจะอะไรมากมาย แต่เราก็อยากจะให้ทุกคนเลือกวีซ่าตัวนี้ด้วยความระมัดระวัง

เพราะวีซ่าตัวนี้ไม่มีกฎหมายบังคับว่านายจ้างต้องจ่ายค่าแรงเราเท่าไหร่ เพราะนี่คือวีซ่าฝึกงานเท่านั้น

มันไม่ใช่วีซ่าทำงาน

ดังนั้นเราอาจจะได้วีซ่า 2 ปีก็จริง แต่ถ้าทำงานหรือฝึกงานโดยที่ไม่ได้ค่าแรงเลย เราจะกลายเป็น modern slaves หรือเปล่า

เราอยากจะให้ทุกคนคิดและไตร่ตรองให้ดี ๆ นะครับ

แต่ถ้าหากนายจ้างหรือองค์กรที่จะทำเรื่อง train หรือฝึกงานให้เรา มีการจ่ายค่าแรงที่ถูกต้อง นั่นก็ถือว่า OK

มันก็จะเป็นอะไรที่ Win-Win ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย

เพราะประสบการณ์การทำงานตอนที่ถือวีซ่า subclass 407, ถ้ามีการจ่ายค่าแรงอะไรที่ถูกต้อง และมีการเสียภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย เราก็สามารถนำเอาประสบการณ์การทำงานตรงจุดนี้มาต่อยอดในการทำวีซ่าตัวอื่น ๆ ได้ด้วย อย่างเช่น

- subclass 482 TSS
- subclass 186 ENS (PR)
- subclass 187 RSMS (PR)

พวก subclass เหล่านี้เราเคยเขียน blog ไปหมดแล้ว เขียนไปเยอะแล้ว
ลอง serch ดูใน blog ของเรานะครับที่ jpp168immi.blogspot.com

หรือที่ website เราที่ jmigrationteam.com นะครับ

วีซ่า subclass 407 ไม่ได้จำกัดอายุของคนสมัคร ขอให้อายุ 18 ขึ้นไปก็ใช้ได้แล้ว

และภาษาอังกฤษเองก็ requires แค่ IELTS (general) overall 4.5
หรือถ้าเรียนพวก college หรือ TAFE full-time ที่ประเทศออสเตรเลียเป็นเวลา 1  ปี ก็สามารถเอามาเทียบเท่ากับ IELTS overall 4.5 ได้

ถ้าใครเรียนระดับมัธยมไม่ว่าเป็นที่ประเทศออสเตรเลีย หรือเรียนเป็น internaltional school มาจากประเทศอื่น ก็สามารถนำเอามาเทียบเท่าได้เหมือนกัน แต่ต้องเรียน full-time 5 ปี

แต่ถ้าเป็นมัยธม + ประถม เรียนแค่ 3  ปีก็พอ (สื่อการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ เรียนแบบ face-to-face ตัวเป็น ๆ )

การที่เราจะขอวีซ่า subclass 407 เราก็ต้องมีนายจ้างหรือองค์กรที่ต้องการ sponsor เราก่อน ก็เหมือนการทำ nomination ของพวกวีซ่า subclass 482 TSS ซึ่งนายจ้างเองหรือองค์กรก็ต้องทำเรื่องเข้าไปเพื่อขอเป็นหน่วยงานที่สามารถทำเรื่องสปอนเซอร์คนด้วยวีซ่าตัวนี้ 

เรื่องการ nominate position เข้าไปก็ไม่แตกต่างอะไรจากพวกวีซ่า subclass 482, 186 & 187

ถ้าหากเราขอวีซ่าอะไรไม่ได้แล้ว คุณสมบัติไม่ครบ หรือว่าเรายังไม่พร้อมอะไรหลาย ๆ อย่าง มีอะไรก็คว้าเอาไว้ก่อน ก็คว้าวีซ่า subclass 407 มาก่อนก็ได้นะครับ

มันก็ไม่ได้เลวร้ายอะไรมาก

วีซ่า subclass 407 มันก็ยังสามารถเป็น Pathway ไปทำอะไรอื่นได้อีกเยอะเหมือนกัน เพราะวีซ่าที่ได้มา 2 ปี อะไรก็สามารถเกิดขึ้นได้ภายใน 2 ปีนี้

ถ้าเดินไปข้างหน้า แล้วทางมันตัน
เราก็ลองถอยหลังออกมา 1 ก้าวดูนะครับ
แล้วลองมองหันซ้าย แลขวาดู ชีวิตมันอาจจะมีทางออกหรือทางเลือกอะไรอย่างอื่นด้วย

วีซ่าตัวนี้ก็สามารถทำเรื่องขอมาจากเมืองไทยได้ด้วยนะครับ สำหรับใครที่สนใจอยากจะมาลองทำงานกับนายจ้างก่อน 2 ปี 

หรือนายจ้างอยากจะให้เราทดลองทำงานกับเขาก่อน 2 ปีว่า OK มั้ย อยู่ด้วยกันได้มั้ย ทำงานด้วยกันได้มั้ย อะไรประมาณนี้

ก็ลองมองวีซ่า subclass 407 ตัวนี้ เป็นอีกทางเลือกหนึ่งด้วยนะครับ

Sunday, November 25, 2018

เรียนอยู่ที่นี่มานานแล้ว ทำอะไรต่อได้บ้าง


"หนูหนาตาโต" คุณพ่อคุณแม่ส่งมาเรียนที่ private school ที่ออสเตรเลียตั้งแต่ primary school แล้ว (ระดับประถม) เพราะว่าพี่สาวก็เรียนอยู่ที่นี่ด้วย

น้องเรียน primary school ที่นี่
น้องเรียน secondary school; high school ที่นี่
เสร็จแล้วน้องก็เรียนต่อมหาลัยที่นี่

น้องอยากรู้ว่าน้องสามารถขอ PR หรือทำอะไรต่อได้บ้าง

hmm... น้องเรียนที่นี่มานานจริง 
เรียนมาตั้งแต่เด็กแล้ว น้องก็ถือ student visa มาโดยตลอด ซึ่งก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะน้องก็มาเรียนจริง ๆ เรียนมาตั้งแต่ primary school แล้ว

เอาเป็นว่าน้องมาโตที่นี่เลยก็ว่าได้

น้องอยากจะขอวีซ่าที่สามารถขอได้ด้วยตัวเอง
ไม่ต้องมีใครสปอนเซอร์

แต่ด้วยสาขาวิชาที่น้องเลือกเรียนที่มหาลัย ไม่ได้อยู่สาขาที่ทางรัฐบาลต้องการ ดังนั้นน้องก็ทำอะไรมากไม่ได้

แม้แต่วีซ่า subclass 485 เอง น้องไม่สามารถขอได้ เพราะน้องถือ student visa มาตั้งแต่เด็กแล้ว ก่อนวันที่ 5 Nov 2011

แต่ตัวน้องเองก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไร ประมาณว่าเรียนจบแล้วจะอยู่ต่อก็ได้ หรือไม่อยู่ต่อก็ได้ เพราะฐานะทางครอบครัวก็เป็นอะไรที่มั่นคงอยู่แล้ว และอีกอย่างหนึ่งก็คือ คุณพ่อคุณแม่ส่งน้องมาเรียนที่นี่ตั้งแต่เด็ก ๆ เลย น้องก็อยากจะกลับไปใช้ชีวิตที่เมืองไทยกับคุณพ่อคุณแม่บ้าง ก็แค่นั้นเอง

เราก็แค่อยากจะบอกว่า สำหรับคนที่ต้องการขอวีซ่าด้วยตัวเอง หลังจากที่เรียนจบ มันก็จะมีพวก skilled migrant นะครับ

subclass 189; Independent Skilled Migrant Visa
subclass 190; Skilled Nominated Visa
subclass 489; Skilled Regional Visa

เพียงแต่ว่าเราก็ต้องเลือกเรียนในสาขาอาชีพที่รัฐบาลต้องการนะครับ


Thursday, November 22, 2018

visa subclass 408 มีโปรแกรมพิเศษสำหรับ South Australia เท่านั้น; Supporting Innovation in South Australia (SISA)


เมื่อเร็ว ๆ นี้ South Australia ได้มีการประกาศโปรแกรมพิเศษสำหรับใครที่ต้องการของวีซ่า subclass 408 (Temporary Activity)

visa subclass 408 มีหลาย stream มาก แต่ blog นี้ขอเขียนถึงเฉพาะโปรแกรมพิเศษที่เรียกว่า SISA เท่านั้นนะครับ

SISA คือ Supporting Innovation in South Australia, subclass 408

ก็จะเป็นวีซ่าชั่วคราว 3 ปีที่ให้เราและครอบครัวสามารถทำธุรกิจที่เกี่ยวกับนวัตกรรม (innovation) อะไรใหม่ ๆ 

วีซ่าตัวนี้จะเริ่มทดลองใช้กับ South Australia ก่อน และวีซ่านี้ทุกคนจะ  expire ภายในวันที่ 30 Nov 2021

หากโปรแกรมตัวนี้ได้รับการตอบรับที่ดี ทางรัฐบาลอาจจะมีการขยายโปรแกรมนี้ไปที่รัฐอื่น ๆ 

การที่เราจะขอ visa subclass 408 จากรัฐบาลของ South Australia, เราจะต้องเขียน business plan หรือ proposal project เข้าไปเสนอกับทางรัฐบาลของ South Australia

Business idea หรือ innovation idea จะต้องอยู่ในอุตสาหกรรมอะไรก็ได้ แต่ 7 อุตสาหกรรมนี้จะได้รับการพิจารณาเป็นพิเศษ:

- การทหารและการสำรวจอวกาศ; 
Defence and Space
สาขาคอมพิวเตอร์; Cyber Security, Big Data, Digital and Blockchain
อุสาหกรรมทางด้านอาหาร ไวน์ และการเกษตร; Food, Wine and AgTech
สุขภาพ, แพทย์ และยา; Health and Medical Technology
หุ่นยนต์; Robotics
สื่อ โฆษณา และหนังภาพยนต์; Media and Film

50% ของทรัพย์สิน และ 50% ของพนักงานจะต้องอยู่ที่ South Australia และสร้างงานให้กับคนที่อยู่ที่ South Australia

อุตสาหกรรมที่ไม่สามารถขอ visa subclass 408 ได้ภายใต้ SISA ของ South Australia คือ:

- cafe หรือร้านอาหาร; Cafés and restaurants
- บริษัทที่ปรึกษา; Consulting firms/companies
- บริษัทจัดหางาน; Employment agencies
- บริษัทนำเข้าหรือส่งออก; Export/import businesses/companies
- แฟรนไชส์; Franchises
- นวดเท้า; Foot reflexology
- ร้านนวด; Massage parlours
- ฝังเข็ม; Acupuncture
- ร้านยาจีน; Traditional Chinese medicine
- ร้านสมุนไพร; Herbal dispensing businesses
- ร้านขายหินเพื่อปรับโหงวเฮ้งหรือฮวงจุ้ย Geomancy/fengshui business
- ร้านค้าปลีกทั่ว  ๆ Retail


คนสมัครสามารถสมัคได้มาจากต่างประเทศ (offshore application) หรือสมัครภายในประเทศ (onshore application)

คนที่สมัครภายในประเทศห้ามถือวีซ่าเหล่านี้:
- วีซ่านักเรียน
- visa subclass 403 (ทูตหรือคนที่ทำงานให้กระทรวงการต่างประเทศของประเทศอื่น รวมไปถึงคนใช้ของทูตของประเทศต่าง ๆ ด้วย)
- subclass 771 พวกทำงานบนเรือ

เงินลงทุนสำหรับคนที่สมัครภายในประเทศ:
- ถ้าสมัครคนเดียว ต้องมีเงินลงทุน $5,000 - $10,000
- ถ้ามีคนติดตาม 1 คน, ต้องมีเงินลงทุน $10,000 - $15,000
- ถ้ามีคนติดตาม 2 คน, ต้องมีเงินลงทุน $15,000 - $20,000
ถ้ามีคนติดตาม 3 คน, ต้องมีเงินลงทุน $20,000 - $25,000

เงินลงทุนสำหรับคนที่สมัครมาจากต่างประเทศ:
- ถ้าสมัครคนเดียว ต้องมีเงินลงทุน $20,000 - $25,000
- ถ้ามีคนติดตาม 1 คน, ต้องมีเงินลงทุน $25,000 - $30,000
- ถ้ามีคนติดตาม 2 คน, ต้องมีเงินลงทุน $30,000 - $35,000
ถ้ามีคนติดตาม 3 คน, ต้องมีเงินลงทุน $35,000 - $40,000

คุณสมบัติอย่างอื่นของคนสมัคร:
- อายุต่ำกว่า 45

- ผลสอบภาษาอังกฤษ IELTS (general หรือ academic ก็ได้) 5 each band หรือจะใช้ผลสอบของ OET, PTE Academic, TOEFL iBT หรือ CAE ก็ได้

TOEFL iBT;
- Listening 4
- Reading 4
- Writing 14
- Speaking 14


PTE Academic; ทุก band อย่างต่ำ 36


CAE; ทุก band อย่างต่ำ 154


OET; B


- คนที่ถือ passport ของประเทศ UK, Canada, New Zealand, USA, หรือ Ireland ไม่ต้องมีผลสอบภาษาอังกฤษ


วีซ่าที่ได้มาจะเป็นวีซ่า 3 ปี
หลังจาก 3 ปีนี้ เราก็สามารถต่อยอดธุรกิจ ต่อยอดชีวิตไปเป็นวีซ่าตัวอื่นได้ ไม่ว่าจะเป็น Business Visa subclass 188A, visa subclass 482 TSS, subclass 186 ENS, subclass 187 RSMS, subclass 189, subclass 190 หรือ subclass 489 และอื่น ๆ อีกเยอะแยะมากมาย

Saturday, November 17, 2018

วีซ่า subclass 457 สาชาอาชีพที่อยู่ใน short term list โชคดีได้กฎเก่า ขอ PR ได้ แต่ได้วีซ่ามาแค่ 2 ปีเอง จะทำยังไงดี


มีหลายคนที่ยังถือว่าโชคดี ยื่นสมัครขอวีซ่าทำงานโดยที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ subclass 457 ก่อนกฎเปลี่ยน

แต่ยื่นในสาขาอาชีพที่เปลี่ยนมาอยู่ใน short-term list
- cook
- restaurant manager
- massage therapist

ยื่นก่อนหรือภายในวันที่ 18 Apr 2017 วันที่กฎเปลี่ยน
ยังขอ PR ได้
แต่ปัญหาคือ วีซ่าออกหลังวันที่ 18 Apr 2017 ซึ่งก็จะได้วีซ่ามาแค่ 2 ปีเอง

และเราก็ต้องทำงานให้กับนายจ้างนี้เป็นเวลา 2 ปี (กฎเก่า) แล้วถึงจะขอ PR ได้

ตายละ ทำไงดี
ได้วีซ่ามา 2 ปี
ต้องทำงานให้ครบ 2 ปี 
แล้วจะขอ PR ได้ไง 
ถ้ายื่นก่อนวีซ่าหมด เราก็คงจะทำงานด้วยวีซ่า subclass 457 ไม่ครบถึง 2 ปี

อ๋อ

มันก็พอมีวิธีทำครับ:

1. ยื่นวีซ่าหลัง 5pm ของวันนั้น เพราะถือว่าเราทำงานครบ 2 ปีแล้ว แต่ก็ต้องรีบยื่น submit online ก่อนเที่ยงคืน ก่อนที่วีซ่าเราจะหมด มีทนายฝรั่งพุงยื่นบางคนทำแบบนี้ แต่ที่ J Migration Team เราคงไม่ทำแบบนี้จ๊ะ เพราะจาก 5pm - 12 midnight, ถ้าช่วงเวลานั้น ทางอิมมิเกรชั่นมีการ shutdown ระบบเพื่อซ่อมแซมหละ เราก็คงยื่นไม่ทัน

เราจะทำแบบที่ 2 จ๊ะ

2. เราจะยื่น Tourist Visa เข้าไป หรือวีซ่าอะไรก็ได้ 
ยื่นก่อนวีซ่าหมด 1-2 วัน เพื่อให้ได้มี Bridging Visa A มาเป็น back up เอาไว้ พอทำงานครบ 2 ปี วีซ่าหมด, Bridging Visa A ของเราก็จะ take effect ทันที แล้วในช่วงที่ถือ Bridging Visa A นั้น เราก็สามาถขอ PR ได้จ๊ะ เพราะวีซ่า subclass 186 ENS หรือ subclass 187 RSMS, คนที่ถือ Bridging Visa A, B หรือ C สามารถขอวีซ่า subclass 186/187 ได้จ๊ะ

พอยื่น subclass 186/187 เข้าไป เราก็ถอนเรื่อง Tourist Visa ออกมา


เห็นม๊ะ มันก็ไม่ได้ยุ่งยากอะไร
ไม่ต้องคิดนอกกรอบจ๊ะ เพราะเด็กรุ่นใหม่ พุงไม่ยื่นอย่างเรา ไม่มีกรอบอะไรทั้งสิ้น use imagination และ creativity ภายใต้กฎเกณฑ์ของกฎหมาย มันก็ทำได้

สาเหตุที่เราเลือกยื่นวีซ่าท่องเที่ยว เพราะว่าค่าสมัครมันถูกดีหนะ $355 
แต่ solution นี้ก็ไม่จำเป็นที่ต้องใช้กับทุกคนนะครับ

ถ้า... ถ้า...

ใครบางคนได้วีซ่ามา 22 Jun 2017 หละ
แล้ววีซ่าหมดวันที่ 22 Jun 2019 ซึ่งเป็นวันเสาร์หละ
ถ้าคนถือวีซ่าทำงานเป็นแบบ roster และ contract of employment บอกว่าทำงาน full-time; 38 หรือ 40 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ ถ้าทางร้านจัด roster ตารางการทำงานของอาทิตย์นั้นให้ครบ 38 หรือ 40 ชั่วโมงภายในวันศุกร์ ซึ่งก็คือ 21 Jun 2019

พอเราทำงานเสร็จวันที่ 21 Jun 2019 เราก็ถือว่าเราทำงานครบ 2 ปีแล้ว เพราะวันที่ 22 Jun 2019 มันเป็นวันหยุด เราก็สามารถยื่นเรื่องได้เลยวันศุกร์ หลังเลิกงาน 5pm อะไรก็ว่าไป

ปัญหาทุกอย่างมีทางออกนะครับ
ค่อย ๆ คิด ค่อย ๆ แก้กันไปทีละเปราะ ทางมันก็ไม่ได้ตันไปหมดซะเลยทีเดียว
ลองหาที่ปรึกษาที่ดี ที่ไว้ใจได้ดูละกัน

เราก็ขอเป็นกำลังใจให้กับทุกคนนะครับ เดินไปตามหาฝันของตัวเองให้เจอนะครับ

มีเป้าหมายในชีวิตที่แน่นอน 
ถ้าเรามีเป้าหมายในชีวิตที่ชัดเจน เส้นทางในการเดินทางมันจะปรากฎขึ้นมาเอง

Friday, November 16, 2018

BAS และ Profit & Loss Statement คืออะไร


BAS และ Profit & Loss Statement


BAS คืออะไร??
Financial Statement คืออะไร??


BAS คือ Business Activity Statement ที่นายจ้างหรือเจ้าของธุรกิจจะต้อง declare รายรับรายจ่ายให้กับ ATO (Australian Taxation Office) ทุก ๆ 3 เดือน นายจ้างทุกคนต้องมี


Financial Statement หรือ Profit & Loss นายจ้างหรือเจ้าของธุรกิจต้องมีเช่นเดียวกัน Profit & Loss เขาจะทำกันทุก ๆ วันที่ 30 June ของทุกปี; the end of financial year


เอกสารทั้ง 2 ตัวนี้ accountant จะต้องทำและส่งให้เจ้าของร้านหรือเจ้าของธุรกิจนะครับ


เอกสาร 2 ตัวนี้ ต้องใช้ในการทำวีซ่าทำงานโดยที่มีนายจ้างหรือธุรกิจสปอนเซอร์นะครับ
ไม่ว่าจะเป็น subclass 482 TSS
Subclass 186 ENS

หรือ subclass 187 RSMS

Thursday, November 15, 2018

Cook 457, 1.5 ปี ทำอะไรได้บ้าง


"น้องต๊ะติ๊งโหน่ง" สมัครขอวีซ่า subclass 457 ด้วยตำแหน่ง cook หลังวันที่ 18 Apr 2017 แต่ก่อนวันที่ 18 Mar 2018

ด้วยความที่ว่าน้องยื่นหลังวันที่ 18 Apr 2017 ซึ่งกฎใหม่ของ 457 ก็เริ่มใช้แล้วคือ:

- cook เป็นสาขาอาชีพที่อยู่ใน short-term list ไม่สามารถขอ PR ได้

- cook เป็นสาขาอาชีพที่อยู่ใน short-term list ดังนั้นจะขอวีซ่าได้แค่ 2 ปีเท่านั้น

นอกจากนี้แล้วร้านที่ทำเรื่องสปอนเซอร์ให้น้อง ก็เป็นร้านใหม่ เปิดทำการไม่ถึง 12 เดือน ดังนั้นทางร้านจะสามารถสปอนเซอร์พนักงานได้แค่ 1.5  ปีเท่านั้น ไม่ถึง 2 ปี

ดังนั้นน้องจึงได้วีซ่ามาแค่ 1.5 ปี ซับซ้อนกันเข้าไปอีก

เนื่องด้วยน้องยื่นวีซ่าก่อนวันที่ 18 Mar 2018, วีซ่าของน้องยังเป็นวีซ่า  subclass 457 อยู่ ยังไม่ใช่ 482, ดังนั้นน้องยังสามารถยื่นวีซ่า subclass 482 ได้ภายในประเทศอีกถึง 2 ครั้ง ครั้งละ 2 ปี

2 + 2 = 4 คณิตคิดง่าย ๆ 

ถ้าน้องจะต่อวีซ่าอีกรอบ ก็ต้องเป็นวีซ่า subclass 482, และจะต่อได้อีก 2 รอบภายในประเทศ รวมกันเป็น 4 ปี

แต่ถ้าน้องอยากได้ PR น้องก็ต้องทำงานด้วยวีซ่าอะไรก็ได้ (subclass 457 หรือ 482 ก็ได้) จากนายจ้างคนไหนก็ได้ 

เมื่อไหร่ที่น้องมีประสบการณ์ครบ 3 ปี full-time น้องก็สามารถขอ PR ด้วยวีซ่า subclass 187 RSMS ด้วยร้านที่อยู่เมืองรอบนอก (เรา post postcode ให้บ่อยแล้ว ไม่ขอ post อีกนะครับ) เพราะร้านที่อยู่เมืองรอบนอกหรือ regional area จะมีสาขาอาชีพที่เรียกว่า ROL (Regional Occupation List) ซึ่งสามารถขอ PR ได้

Cook เป็นสาขาอาชีพที่อยู่ใน ROL ดังนั้น cook สามารถขอ PR ได้ ถ้าออกไปทำงานกับนายจ้างที่อยู่เมืองรอบนอก

แต่เนื่องด้วย "น้องต๊ะติ๊งโหน่ง" ยื่นเรื่องหลัง 18 Apr 2017 จึงโดนกฎใหม่ที่ว่า cook ไม่สามารถขอ PR ได้ นอกจากใช้ ROL ของ subclass 187 RSMS ดังนั้นสิ่งที่น้องสามารถทำได้คือ:

- ขอวีซ่า subclass 482 เพื่อให้ได้วีซ่าที่สามารถทำงานได้ จะขอกับนายจ้างเดิมหรือนายจ้างใหม่ก็มีค่าเท่ากัน

- เอาประสบการณ์การทำงานจาก วีซ่านักเรียน + วีซ่า subclass 457 + วีซา subclass 482 เอามารวมกันให้ได้ 3 ปี full-time แล้วใช้ประสบการณ์การทำงานตรงนี้ไปขอ PR ด้วยวีซ่า subclass 187 RSMS กับร้านที่อยู่เมืองรอบนอก

- วีซ่า subclass 187 RSMS ที่ขอจะต้องเป็น Direct Entry Stream เท่านั้น ดังนั้นน้องต้องสอบ IELTS (general) ให้ได้ 6 each band; พูด อ่าน เขียน ฟัง น้องไม่สามารถใช้ผลการเรียน 5 ปีมาทำการยกเว้นได้

นี่ก็เป็นอีกหนึ่ง pathway ที่น้องต๊ะติ๊งโหน่งจะสามารถทำได้

สุดท้ายแล้ว ชีวิตนี้เป็นของเรานะครับ
ใครจะคิด จะทำอะไร ยังไง แบบไหน ก็ต้องเลือกเอาเอง
ชีวิตเรา เราก็ต้องกุมบังเหียนของชีวิตเราเอง

P' J มีหน้าที่แค่แนะนำและทำหน้าที่ของเรือจ้างเฉย ๆ 
ทุกคนต้องตัดสินใจกันเอาเองว่า จะทำยังไงต่อดีกับชีวิต

Wednesday, November 14, 2018

Automatic citizenship by birth ลูกเกิดที่นี่ 10 ปี ได้ citizen โดยอัตโนมัติ


ตามกฎหมาย Citizenship Act 1948
บุคคลที่เกิดที่ประเทศออสเตรเลีย ถ้าพ่อหรือแม่คนใดคนหนึ่งเป็น PR หรือ citizen, ลูกก็จะได้เป็น Australian citizen โดยอัตโนมัติ

แต่ถ้าพ่อหรือแม่ทั้ง 2 คน ไม่ได้เป็น PR หรือ citizen
ถ้าลูกที่เกิดที่ประเทศออสเตรเลีย หลังจากวันที่ 20 Aug 1986, และใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียตามปรกติเป็นเวลา 10 ปี ก็สามารถขอเป็น citizen ได้เช่นเดียวกัน

สามารถทำได้โดย citizenship by birth 

Saturday, November 10, 2018

ผู้พลิกสถานการณ์ จากคนวีซ่าขาด ไปเป็น Bridging Visa C แล้วได้วีซ่า 482 TSS ตำแหน่ง chef จ่อคิวรอทำ PR


"ผู้พลิกสถานการณ์" 

จากคนวีซ่าขาด ไปเป็น Bridging Visa C แล้วได้วีซ่า 482 TSS ตำแหน่ง chef จ่อคิวรอทำ PR

"หิ่งห้อย" เคยเข้ามาปรึกษาเรามากกว่า 1 ครั้ง
ครั้งแรก ๆ เราจำไม่ค่อยได้หรอกว่าเรื่องอะไร มันนานมาแล้ว
รู้แต่ว่าครั้งล่าสุดเขาเข้ามาปรึกษาเพื่อที่จะทำเรื่องวีซ่า subclass 457 

วีซ่าทำงานโดยที่มีนายจ้างสปอนเซอร์

เขาเข้ามาตอนนั้น ปีที่แล้ว ปลาย ๆ ปี มันยังเป็น 457 อยู่
ปัญหา ณ ตอนนั้นคือ "หิ่งห้อย" ถือ Bridging Visa C เพราะเคยวีซ่าขาดชั่วคราว คือขาดไม่เกิน 28 วัน แล้วเขาก็ยื่นวีซ่า "xyz"

วีซ่า "xyz" ในที่นี้ไม่ใช่วีซ่าผู้ลี้ภัย หรือ Protection Visa นะครับ ไม่ต้องมโน...

ปัญหาของ Bridging Visa C คือออกนอกประเทศไม่ได้
ออกไปแล้วออกไปเลย

แต่วีซ่า subclass 457  กฎเก่าก็คือ ถ้าถือ Bridging Visa ก็ต้องออกไปยื่นเรื่องนอกประเทศ แต่ถ้าหิ่งห้อยออกไปนอกประเทศแล้ว ขอวีซ่า 457 ไม่ผ่าน หิ่งห้อยก็กลับเข้ามาไม่ได้ และอุทธรณ์ไม่ได้ด้วย

ทุกคนเครียด
แต่เรากะว่าเราจะพยายามทำให้ดีที่สุด

นอกจากนี้แล้ว หิ่งห้อยก็ยังไม่รู้ว่าร้านไหนจะทำเรื่องสปอนเซอร์ให้เขา เพราะตอนนี้ทำงาน 2 ร้าน นั่น นี่ โน่น รายละเอียดปลีกย่อยเยอะมาก

เพื่อลดอัตราความเสี่ยง
เรา plan กันว่าเราจะทำ stage 1 & stage 2 ของวีซ่า subclass 457 ในระหว่างที่หิ่งห้อยอยู่ที่นี่ก่อน พอ stage 2 nomination ผ่าน แล้วเราค่อยให้หิ่งห้อยบินออกไปทำเรื่องและรอเรื่องอยู่ข้างนอก

ในระหว่างที่เราก็เตรียมเอกสารกันอยู่นั้น
วีซ่า subclass 482 ก็กำลังจะมีการประกาศใช้

และแล้วมันก็มีการประกาศใช้ออกมาจริง ๆ แต่มีข้อดีห้อยมาด้วย นั่นก็คือ

คนที่ถือ Bridging Visa A, B หรือ C สามารถยื่นวีซ่าได้ภายในประเทศออสเตรเลีย

เราก็รีบแจ้งข่าวดีให้กับหิ่งห้อย แล้วก็รีบทำเรื่องกันทันที โดยที่หิ่งห้อยเองไม่ต้องไปรอที่นอกประเทศ

นี่คือข้อดีของการมีที่ปรึกษาที่ดี
ที่ปรึกษาที่คอย update การเปลี่ยนแปลงของกฏหมายและก็แจ้ง และติดต่อลูกค้าอยู่เป็นประจำ

ทุกอย่างผ่านไปได้ด้วยดี
stage 1 SBS (Standard Business Sponsor) ผ่าน ไม่ขอเอกสารอะไรเพิ่ม (ก็แบบว่าเอกสารครบหนะ...เออ)

Stage 2 Nomination ผ่าน
Stage 3 Visa Application ผ่าน

ทุกอย่างผ่านไปได้ด้วยดี ไม่มีสะดุด
ไม่มีการเรียกทำ skill assessment

จากคนที่แบกปัญหาร้อยแปดพันเก้า
ตอนนี้ชีวิตแจ่มใส
ท้องฟ้าไม่ได้ดูมืดมนอีกต่อไป
ตอนนี้หิ่งห้อยก็จ่อคิวรอทำ PR เพราะเธอได้ IELTS 6 มาแล้วเรียบร้อย

เราก็ดีใจที่เราได้เป็นส่วนหนึ่งของการเดินทางในครั้งนี้นะครับ

ชีวิตเรือจ้าง
Celebrates small wins along the way
Pat my own back.


สงครามยังไม่จบ นับศพยังไม่ได้; subclass 186/187 ไม่มีผลสอบ IELTS


"สงครามยังไม่จบ นับศพยังไม่ได้" 
subclass 186 & 187 การขอ PR โดยที่มีนายจ้างสปอนเซอร์

น้อง "xyz" ถือวีซ่า subclass 457
วีซ่าทำงานโดยที่มีนายจ้างสปอนเซอร์

น้องถือวีซ่า 457 ในตำแหน่ง cook
น้องถือวีซ่าก่อนวันที่ 18 Apr 2017, ก่อนที่กฎหมายจะเปลี่ยนแปลง
ตำแหน่ง cook น้องสามารถขอ PR ได้ ถึงแม้จะเป็นสาขาอาชีพที่อยู่ใน short-term list ก็ตาม
น้องสามารถขอ PR ได้หลังจากที่ทำงานกับนายจ้าง 2 ปี ไม่ต้องทำถึง 3 ปี เพราะน้องยังใช้กฏเก่าอยู่

แต่วันที่ 01 Jul 2017 จากแต่ก่อนที่ขอ PR ของวีซ่า subclass 186 & 187 ต้องใช้ IELTS 5 each band ก็มีการเปลี่ยนแปลงเป็น 6 each band (general)

น้องบอกว่า IELTS 6 each band มันไกลเกินสำหรับน้อง น้องเอื้อมไม่ถึง

น้องเข้าไปปรึกษาบริษัทบางบริษัท
เขาบอกให้น้อง pack ของกลับบ้าน ถ้าสอบ IELTS ไม่ถึง 6

สำหรับการ pack ของกลับบ้านสำหรับบางคนฟังแล้วอาจดูง่าย แต่สำหรับใครบางคนที่เขาอยากจะอยู่ที่นี่ อาจเป็นเพราะเขาเองก็มีการงานที่มั่นคงที่นี่ เขาสามารถหาเงินได้เยอะกว่าที่เมืองไทย เขาสามารถส่งเงินและ support ที่บ้านที่เมืองไทยดีกว่า

ชีวิตของแต่ละคนไม่เหมือนกัน
เราจะเอาตัวเราเองเป็นบรรทัดฐานไม่ได้

น้องไปปรึกษาหลายที่ (หรือเปล่านะ แต่เท่าที่เราจำได้ น่าจะ 2 ที่หรือเปล่านะ ไม่แน่ใจ) แต่ก็มีเอเจนท์นักเรียนแนะนำให้น้องเข้ามาหา P' J

น้องบอกว่าน้องไม่กล้าเข้ามา ไม่กล้า book ไม่กล้านัด ไม่กล้า make appointment น้องบอกน้อง "กลัว" เห็น P' J ดุ ๆ 

เอ่อ... อายครูไม่ได้วิชา อายแม่ค้าไม่ได้กินขนม นะจ๊ะหนู

แต่... anyway... น้องก็เข้ามาแหละ

ต้องเข้ามาปรึกษาเราว่า น้องจะทำยังไงได้บ้าง ถ้า IELTS น้องไม่ถึง 6

เราก็ check ดูแล้ว น้องมีผลการเรียน 5 ปี (ขอย้ำ ผลการเรียน 5 ปี ไม่จำเป็นต้องจบทุกใบนะครับ ขอให้ไปนั่งเรียนตัวเป็น ๆ แค่นั้นเอง)

เราก็บอกน้องไปว่าทำได้

เสร็จแล้วทุกอย่างก็ลงเอยด้วยดี

ตอนนี้น้องได้ PR แล้ว น้องก็ plan ก็มีชีวิตใหม่ ชีวิตที่ดีขึ้น จะซื้อบ้าน นั่น นี่ โน่น

ที่เหลือก็คงจะมาทำส้มตำปูปลาร้าให้ P' J ทานที่ Wollongong
น้องบอกน้องจะเอาครกมาเองเลย... อะนะ ว่ากันไป
(สัญญาต้องเป็นสัญญา
สัญญาว่ามาต้องมา) 

จากที่มีคนบอกให้น้อง pack ของกลับบ้าน
ตอนนี้ได้ PR ไปแล้ว

เป็นไงหละ "สงครามยังไม่จบ นับศพยังไม่ได้" นะครับ
ถ้าน้องเชื่อเขา pack ของกลับบ้านไปแล้ว ทุกอย่างก็คงจบ

สินค้าดี ใช้แล้วต้องบอกต่อนะหนู...

P' J ผู้พลิกสถานการณ์
ปรบมือดัง ๆ 
โค้งงาม ๆ 
โบกมือเบา ๆ 
โปรยยิ้ม

สุขที่สุด ณ จุดที่เป็น

Wednesday, November 7, 2018

Caveat วีซ่า subclass 482, subclass 186 ENS ตำแหน่งยอดขายที่ต้องถึง $1,000,000.00


ตั้งแต่วีซ่า subclass 457 มีการเปลี่ยนกฎเมื่อ 18 Apr 2017 สาขาอาชีพต่าง ๆ ก็จะมี caveat เข้ามาด้วย ซึ่งมันก็ใช่ต่อเนื่องกันมาถึงวีซ่า subclass 482 TSS (Temporary Skill Shortage)

และ 01 Jul 2017, caveat ก็มีการนำมาใช้กับวีซ่า subclass 186 ENS ด้วย

Caveat คือ special requirement ของแต่ละสาขาอาชีพที่นายจ้างจะทำเรื่องสปอนเซอร์ลูกจ้างได้

อย่างเช่น

สาขาอาชีพที่นายจ้างหรือธุรกิจต้องมียอดขายหรือ turn over ให้ถึง $1,000,000.00 ต่อปีก็จะมี:
- Accountant (general)
- Conference and Event Organiser
- Customer Service Manager
- Management Accountant
- Marketing Specialist
- Recruitment Consultant
- Taxation Accountant
- Transport Company Manager

สาขาอาชีพที่ค่าแรงจะต้องไม่ต่ำกว่า $65,000.00 ต่อปี:
Conference and Event Organiser
Customer Service Manager
- Liaison Officer
- Market Research Analyst
- Marketing Specialist
- Multimedia Designer
- Procurement Manager
- Property Manager
- Real Estate Representative
Technical Sales Representatives

Tuesday, November 6, 2018

สาขาอาชีพที่มีความเสี่ยงในการขอ nomination stage 2 ของวีซ่า subclass 482 TSS


สาขาอาชีพที่มีความเสี่ยงในการขอ nomination stage 2 ของวีซ่า subclass 482 TSS และ stage 1 ของวีซ่า subclass 186 ENS (PR)

ถ้าเลี่ยงได้ควรเลี่ยงตำแหน่งเหล่านี้ครับ

- Customer Service Managers
- Sales and Marketing Managers
- Contract Administrators
- Retail buyers
- Marketing Specialists
- Market Research Specialists
- Supply and Distribution Manager
- Transport Company Manager
- Accountants
- Liaison Officers

Working and Holiday, subclass 462 และ Working Holiday subclass 417


สรุปเมื่อวาน (05 Nov 2018) ที่รัฐบาลมีการประกาศการเปลี่ยนแปลงของ Working Holiday Maker (WHM)

Working Holiday Maker (WHM) มี 2 subclasses นะครับ
- Work and Holiday (WAH) subclass 462 อันนีัคนไทยสมัครได้ ปีละ 500 คน (ใครจะเป็นผู้โชคดีกดโควต้าได้)
- Working Holiday subclass 417 คนไทยสมัคไม่ได้

การเปลี่ยนแปลงจากวันที่ 05 Nov 2018:

- เริ่มจากวันที่ 05 Nov 2018, จากที่แต่ก่อนเฉพาะคนที่ทำงานอยู่ที่ NT เท่านั้นที่สามารถทำงานใน regional area เพื่อที่จะต่อวีซ่าในปีที่ 2 ตอนนี้ regional area อื่น ๆ ก็สามารถใช้ในการต่อวีซ่าปีที่ 2 ได้แล้วครับ (area ไหนบ้าง ยังไม่ทราบแน่ชัด)

- ทั้ง subclass 417 และ subclass 462, คนสมัครสามารถทำงานในฟาร์มกับนายจ้างเดิม ได้ถึง 12 เดือน จากแต่ก่อนแค่ 6 เดือน

- เริ่ม 01 July 2019, ทั้ง subclass 417 และ subclass 462 สามารถต่อวีซ่าปีที่ 3 ได้ ถ้าในปีที่ 2 ได้ทำงานในตำแหน่งที่ทางรัฐบาลกำหนด และอยู่ในพื้นที่ที่รัฐบาลกำหนด อย่างน้อย 6 เดือน (ข้อมูลเพิ่มเติมยังไม่ประกาศ)

- subclass 417 (ไม่เกี่ยวกับคนไทย) คนสมัครจาก Canada และ Ireland สามารถสมัครได้ถึงอายุ 35 ปี

สำหรับคนที่ถือวีซ่า subclass 417 หรือ subclass 462 ที่ NT ที่ได้รับการยกเว้นให้ทำงานกับนายจ้างเดิมเป็นเวลา 12 เดือนก็ยังสามารถทำได้ตามปรกติ (ถ้าทำงานใน Aged & Disability Care, การเกษตร, งานก่อสร้าง, เหมืองแร่ และอุตสหกรรมการท่องเที่ยว Tourism และ Hospitality)

คนที่ถือวีซ่า subclass 462 (คนไทยทำได้) ที่ NT ก็ยังสามารถทำงานในอุตสาหกรรมการท่องเที่ยว Tourism และ Hospitality, การเกษตรและการประมง เพื่อขอวีซ่าในปีที่ 2 ได้เหมือนเดิม

Friday, November 2, 2018

Partner Visa, be true to yourself ไม่โกหก


Partner Visa คือวีซ่าสำหรับคู่รัก
ไม่ว่าจะเพศเดียวกัน หรือต่างเพศ
ไม่ว่าอีกฝ่ายจะอายุมากกว่าอีกฝ่ายมากน้อยแค่ไหน
ไม่ว่าอีกฝ่ายจะได้รับการยอมรับจากครอบครัวของฝ่ายหรือไม่
ไม่ว่าครอบครัวของอีกฝ่ายจะยอมรับในสิ่งที่เราเป็นได้หรือไม่
ไม่ว่าเราจะเคยเจอครอบครัวของอีกฝ่ายหนึ่งหรือไม่

มันไม่เกี่ยวอะไรกับคนอื่นเลยจ๊ะ จริง ๆ 

Partner Visa หรือวีซ่าคู่รัก มันเป็นเรื่องราวของคน 2 คนที่เขารักกัน

คนอื่นเขาจะคิดยังไง นั่นมันปัญหาของเขา ไม่ใช่ปัญหาของเรา

ง่าย ๆ สั้น ๆ คือ เขาไม่ได้มานอนร่วมเตียงเดียวกันกับเรา

เพื่อน ๆ หางอึ่ง หรือตัวเราเองนี่แหละอาจจะคิดไปว่า "เออ คู่รักแบบ traditional มันต้องเป็นแบบนี้ แบบนี้นะ"

ตื่นได้แล้วหนู ๆ จ๋า

ตื่นมาเผอิญโลก และโรค ของความเป็นจริง
คู่รักของเราไม่จำเป็นต้องเหมือนใคร และไม่จำเป็นต้องให้ใครมาเหมือน

Partner Visa มันก็ต้องเขียนอธิบายเรื่องราวความสัมพันธ์ นั่น นี่ โน่น อยู่แล้ว

ของจริง ไม่ต้องโกหกจ๊ะ
ถ้าเรายังไม่เคยเจอพ่อแม่เขาเลย ก็บอกไปเลยว่ายังไม่เคยเจอ จบ
ถ้าเราพาแฟนไปเที่ยวเมืองไทย แต่ยังไม่พร้อมที่พาไปหาครอบครัวเรา ก็บอกไปเลยว่าเราไม่ได้พาไปหาครอบครัวเรา จบ

ชีวิตเรา เราต้องกุมบังเหียนชีวิตของเราเอง

ชีวิตคู่ของเราอาจจะไม่เหมือนละครเกาหลี ก็ไม่เป็นไร
ชีวิตคู่ของเรา เราแสดงเอง เรากำกับเอง
อย่าให้สังคมภายนอก หรือเพื่อนหางอึ่ง มากำกับชีวิตเรา บอกว่าต้องเขียนอธิบายเรื่องราวแบบนั้น นั่น นี่ โน่น

ไม่จ๊ะไม่ ของจริงไม่ต้องโกหก

เดี๋ยวถ้าเพื่อ case officer โทรมาสัมภาษณ์แล้ว ตอบไม่ตรงกัน เพราะว่าเราจำไม่ได้ว่าโกหกอะไรไปบ้าง ไม่ดีจ๊ะ

ตัวจริง ต้องนิ่ง

เพชร ยังไงก็ต้องป็นเพชรอยู่วันยังค่ำ
เราอย่าไปลดค่าของเราเอง ด้วยการโกหก
ไม่ดีจ๊ะ

ขอให้ทุกคนทำอะไรด้วยสติ
มีศีลธรรมตั้งมั่น
ทำอะไรอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ที่เหลือ ทุกอย่างจะลงตัวเอง
เชื่อเรา...

รักที่สุด ณ จุดที่เป็น

ถ้าคิดว่า blog นี้มีประโยชน์โปรดแชร์