Wednesday, December 25, 2024

ร้านอาหาร; Subclass 482/494/186/187

Subclass 482/494/186/187


ร้านอาหาร ถ้าอยากจะทำเรื่องผ่านง่าย ๆ

ถ้าร้านเปิดทั้งกลางวันและกลางคืน

1. ควรจะมีพนักงานในระบบอย่างน้อย 8 คนนะครับ

2. เป็น PR/Citizen อย่างน้อย 3 คน

3. พนักงานทุกคนเป็น full-time หรือ part-time มี casual ได้สูงสุด 2 คน

Sunday, December 22, 2024

J Migration Team; ไม่ทำหลาย subclass

1. ไม่ต้องทำหลาย subclass

2. แต่ subclass ที่เราทำ เราต้องรู้ลึกและรู้จริง go deep, not wide. Be speialise, not generalise.

3. หากเรา "ดีพอ" และ "พอดี" ทุกอย่างมันจะมาของมันเอง

4. เราไม่แข่งกับใคร เราก็อยู่เป็น "ปลาสวยงาม" ของเราไป ว่ายสวย ๆ อยู่เหนือทุก drama ใช้ชีวิตของเราให้มีความสุข #ค่าเรามี 💕💕💕

Living a HAPPY life without any burdens is a true revenge 💕💕💕

Go deep, not wide. Be speialise, not generalise.

22/12/2024 💕💕💕

Friday, December 20, 2024

AAT; offshore แล้วบินกลับเข้ามา


ไม่ว่าจะวีซ่าอะไรก็ตามแต่ถ้าติดเรื่องอยู่ที่ AAT/ART.

1. ขอ Bridging Visa B แล้วบินออกนอกประเทศ

2. ยื่นเรื่องนอกประเทศ เป็น offshore

3. Links Bridging Visa ให้เข้ากับวีซ่าที่ตัวเองยื่นไป ไม่เกี่ยวกับ section 48

4. เมื่อเรามีข้อ 3 เราก็ no สน no care เรื่องที่ AAT/ART อีกต่อไป จะถอนเรื่องที่ AAT/ART หรือไม่ถอนก็ได้ มีค่าเท่ากัน

อ่านกฎหมายรู้ ดูกฎหมายเป็น
ปรึกษาคนที่มี MARN และดูประสบการณ์เขาด้วย

Thursday, December 19, 2024

National Innovation Visa; Subclass 858

National Innovation Visa; Subclass 858

1. No skill assessment

2. No occupation list

3. No point test (unlike subclass 189, 190, 491).

4. No minumum English requirement.

5. Age: up to 55 แต่ก็ข้อยกเว้น ขอให้เก่งและเจ๋งจริง

6. ไม่มี sector ขอให้เก่งและเจ๋งจริงในสายงานและนำคุณประโยชน์แก่ประเทศออสเตรเลีย

Tweak a little bit from the Global Talent Visa นะครับ

concept เดิม เพิ่มเติมคือค่อนข้าง flexbile แต่ก็อย่างที่บอกว่า "ขอให้เก่งและเจ๋งจริงในสายงานและนำคุณประโยชน์แก่ประเทศออสเตรเลีย"

Monday, December 16, 2024

WAH เริ่มทยอยกลับไทยถาวรกันเยอะมากขึ้น

P' J เริ่มเห็นเด็ก WAH เริ่มทยอยกลับไทยถาวรกันเยอะมากขึ้น

แต่อย่าลืมนะครับว่าก่อน COVID, WAH ของประเทศไทยมีโควต้าแค่ 500 คน

แล้วอิมมิเกรชั่นก็เพิ่มเป็นช่วงหรือหลัง COVID นิด ๆ เป็น 2,000 คนต่อปี

อะไรที่มันเยอะเกินความพอดี มันก็ไม่ดี
ทางสายกลางดีที่สุด sustainable ที่สุด

บางทีก็ต้องให้น้อง ๆ มาลองสัมผัสเอง
จะได้รู้ว่าสิ่งที่เห็นให้โลก online มันก็แค่ "ด้านที่เขาอยากนำเสนอ"

มันยังมีอีกหลายด้านและหลายมุมมาก

เอาจริง ๆ นะ สำหรับ P' J แล้วคนยิ่งมาเยอะยิ่งดีครับ
ไม่เกี่ยวกับการของ "J Migration Team" นะครับ อันนี้ของเราอยู่ตัวแล้ว หรือต่อให้ปิดทำการวันนี้ถาวรเราก็ไม่ได้เดือดร้อนอะไร ชีวิตเราปลอดหนี้ครับ และมี income มาจากที่อื่นด้วย

ที่บอกว่าคนเข้ามาเยอะยิ่งดีสำหรับ P' J คือ:

1. มันช่วย drive ราคาบ้านให้สูงขึ้นครับ P' J มี investment properties หลายหลังครับ คนยิ่งเข้ามาเยอะ ราคาบ้านก็ยิ่งสูงขึ้น

2. มันช่วย drive ราคาเช่าบ้านให้สูงขึ้นครับ P' J เป็น landlord ครับ มีบ้านให้คนเช่าอยู่หลายที่ เอาเป็นว่า 5 รัฐ

แต่ก็นั่นแหละ อยากให้คนที่จะมา set เรื่อง expectation หน่อยก็ดี

ชีวิตมันอาจจะไม่ได้เป็นไปตามที่เขาออกสื่อ online ก็ได้

WAH มาง่ายครับ กดโควต้าได้ก็ได้มา
คนที่เข้ามาได้ก็จะทำ video clips review ชีวิตในออสเตรเลียกันรัว ๆ

ไม่มีใครเอาชีวิตเศร้า ๆ ของตัวเองออกสื่อหรอกครับ (ส่วนมาก)

อะไร ใด ๆ:

3. ไม่ต้องเอาชีวิตเราไปเปรียบเทียบกับใครนะครับ

4. ดูชีวิตคนในโลก online ก็เอาเป็นแค่ reference เท่านั้นนะครับ ไม่ต้องหยิบมาทั้งหมด

5. ระวังโรคซึมเศร้า เสพสื่อ online อย่างมีสติ หรือจะให้ดีก็ควรทำ social detox บ้าง อยู่กับคนบนโลกจริง ๆ อยู่กับคนในครอบครัว คนรอบข้างที่รักเรา จะดีที่สุดครับ สังคม online ก็แค่ฉาบฉวย (ที่ P' J ทำสื่อ online, อันนี้มันคือสื่อการตลาดของ P' J ครับ วันหนึ่งเมื่อ P' J เลิกทำธุรกิจ P' J ก็จะไปตามทางของ P' J ที่วางเอาไว้ครับ P' J ไม่ยึดติดกับสิ่งที่มีในโลก online มันก็แค่ภาพลวงตา ที่ผ่านมาแล้วก็ผ่านไป ลาภ ยศ สรรเสริญก็เช่นเดียวกัน มันก็แค่ "ภาพลวงตา")

มองมากกว่าที่ตาเห็น
ฟังมากกว่าที่เคยได้ยินนะครับ

Thursday, December 12, 2024

Subclass 186 (ENS); TRT from 07 December 2024


Subclass 186 (ENS); TRT from 07 December 2024

1. Subclass 186 TRT ไม่มี occupation list นะครับ

2. ขอแค่เราถือ Subclass 482 มาแล้ว 2 ปี ก็ขอ Subclass 186 (ENS); TRT ได้

3. กฎใหม่คือ ไม่จำเป็นต้อง Subclass 482 กับนายจ้างเดิม เราเปลี่ยนนายจ้างได้ นับประสบการณ์จากหลาย ๆ นายจ้างได้ ขอแค่ถือ Subclass 482 เป็นระยะเวลา 2 ปีก็พอ "กับนายจ้างไหนก็ได้" กฎใหม่เริ่ม 07 December 2024.

4. คุณสมบัติอย่างอื่นของ Subclass 186 ยังเหมือนเดิม เรื่องอายุ เรื่องภาษาอังกฤษ ลองไล่อ่านดูนะครับ โพสต์เก่า ๆ
กฎใหม่: 07 December 2024

Wednesday, December 11, 2024

วีซ่าออสเตรเลีย ต้องมีเงินเก็บ

อยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย ถ้ายังต้องต่อวีซ่า เราต้องมีเงินเก็บนะครับ

1. ถ้าปุบปับต้องอุทธรณ์

2. ถ้าปุบปับต้องเดินทางออกนอกประเทศเพื่อยื่นเรื่อง offshore (ซื้อตั๋ว)

3. ถ้าปุบปับต้องยื่นเรื่องภายในเวลาไม่กี่วัน ก่อนที่จะเกิดอะไรขึ้นกับวีซ่าตัวปัจจุบัน

ทุกอย่างเร่งรีบ
ทุกอย่างปุบปับ
อย่าลืมว่าค่าบริการก็ต้องแพงกว่าปรกติ

เก็บเงินเอาไว้เยอะ ๆ ครับ
ชีวิตเมืองนอกไม่ได้ง่ายอย่างที่ทุกคนคิด

มองมากกว่าที่ตาเห็น
ฟังมากกว่าที่เคยได้ยิน 💕💕💕

Saturday, December 7, 2024

Subclass 186 (ENS); Direct Entry


Subclass 186 (ENS); Direct Entry

- Subclass 186; ENS (Employer Nomination Scheme) คือวีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ ดังนั้นเราต้องมีนายจ้างในการทำเรื่องให้

ทุกสาขาอาชีพใน CSOL; Core Skills Occupation List สามารถขอ Subclass 186 (ENS); Direct Entry ได้นะครับ (เท่าที่เราเข้าใจ)

ได้ PR เลย

1. มีนายจ้างสปอนเซอร์

2. มี Skill Assessment (บางสาขาอาชีพได้รับการยกเว้น)

3. ประสบการณ์ใน "ตำแหน่งนั้น ๆ" 3 ปี full-time หรือ 6 ปี part-time เอามารวมกันได้ ประสบการณ์จากที่ไหนก็ได้

4. วุฒิการศึกษาตรงกับ "ตำแหน่งนั้น ๆ " วุฒิการศึกษาจากที่ไหนก็ได้

5. มีผลสอบภาษาอังกฤษ IELTS (general); 6 each band, พูด อ่าน เขียน ฟัง หรือ PTE 50 each band

6. อายุไม่ถึง 45

Copyright: ถ้าจะแชร์ให้แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น ไม่ copy & paste, ไม่ screen capture.

Tuesday, December 3, 2024

อายุ 43 ทำอะไรได้บ้าง


อายุ 43 ทำอะไรได้บ้าง:

- ขอ Skilled Migrant Visa ได้; Subclass 189, Subclass 190, Subclass 491

- ขอ Subclass 494 ได้

- ขอ Subclass 186 (ENS); Direct Entry ได้

- ขอ Subclass 482 ไปได้เรื่อย ๆ ทุก ๆ 4 ปี แต่ไม่น่าทัน Subclass 186 (ENS); TRT ยกเว้นคนที่มีรายได้ $175K p.a.

- ขอ Subclass 482; DAMA ได้ แต่เราไม่ทำ DAMA (ไม่มีเวลาเขียน proposal)

- ขอ Subclass 407 ได้ แต่เราไม่ทำ Subclass 407 (ไม่มีเวลาเขียน Training Plan, ไม่คุ้ม)

Note: แต่คนที่อยู่ในรูป อายุ "21" นะครับ

Monday, December 2, 2024

พักกาย พักใจ

ยื่นวีซ่าไปแล้วจิตตก ต้องการกลับไปพักผ่อนที่เมืองไทย ให้ขอ Bridging Visa B แล้วออกไปพักร่าง พักกาย พักใจนะครับ


อย่าทิ้งทุกอย่าง
เพราะเงินที่จ่ายค่าสมัครไปนั้น มันขอ refund ไม่ได้ หรือขอยากมากถึงมากที่สุด

ไปพักร่างได้
ไปพักใจได้
บาง subclass ก็กลับไปรอที่เมืองไทยได้

พอได้วีซ่าแล้ว มีวีซ่าแล้ว เราก็เข้าออกประเทศได้
จะมาอยู่หรือเปล่านั้นอีกเรื่องหนึ่ง

เอาเมื่อร่างกายพร้อม
เอาเมื่อจิตใจพร้อม

แต่ที่แน่ ๆ คือเรามีวีซ่าอยู่ในมือแล้ว จะมาหรือเปล่า อันนั้นอีกเรื่องหนึ่ง
อย่าทำอะไรเพียงเพราะอารมณ์ชั่ววูบ

Thursday, November 28, 2024

ณ condo ที่กรุงเทพ

 

ไม่เกี่ยวกับวีซ่า


"ณ condo ที่กรุงเทพ"

ณ condo ที่กรุงเทพ ในระหว่างที่เรารอ Grab
ก็มีคนส่งของ นำของมาส่งตรง reception/security

ทุกคนพูดจาภาษาท้องถิ่น
ไม่ได้พูดภาษากลาง
ทุกคนที่ "ทุกคน" จริง ๆ แสดงว่าพวกเขาก็คงรู้จักกันแหละ คงมาบ่อย

ก็แสดงว่าพวกเขาเหล่านั้น เข้ามาในเมืองกรุง มาใช้ชีวิตทำมาหากิน

เราก็แอบคิดอะไรของเราไปเรื่อยเปื่อยว่า...

คงจะดีไม่น้อยนะ ถ้าพวกเขาเหล่านั้นสามารถทำมาหากินได้ที่บ้านเกิดตัวเอง
ไม่ต้องมากระจุกกันในเมืองกรุง

- รถติด
- อากาศเสีย
- สังคมแออัด แก่งแย่งแข่งขัน

สำหรับเรา ชีวิตเราค่อนข้างตกผลึกแล้วหละว่าเมืองกรุงคงไม่ตอบโจทย์ (P' J จะโยกย้ายไปเป็น "ผีตองเหลือง" ครับ ไปเรื่อย ๆ กระเป๋า handcarry 1 ใบ + Chromebook 1 เครื่อง ค่ำไหนนอนนั่น)

asset อะไรที่เรามีในเมืองกรุงก็คงจะขายออก

ตอนนี้เราก็รอแค่ให้ condo ที่เราซื้อมา รอให้ถึง 5 ปีแล้วค่อยขายออก จะได้ไม่ต้องเสียภาษีเยอะ
จาก 3 จะเก็บเอาไว้แค่ 1 ก็พอ และคงไม่เก็บสะสมอะไรเพิ่มอีก

เมืองกรุง
เอาเป็นแค่มาทำธุระนิดหน่อย แวะมาเที่ยวเล่นบ้างบางทีก็พอ

ลูกพี่ลูกน้องเราบางคนก็ทำกันแบบนั้นแล้ว จากแต่ก่อนเคยอู้ฟู้อยู่แถวชลบุรี มีร้านค้าเป็นของตัวเองเยอะแยะมากมายหลายร้านดักลูกค้าทุกหัวมุมตลาด แต่ต้องแลกมาด้วยอาการภูมิแพ้ของลูกชาย เพราะอากาศจากโรงงานในระแวกนั้น

ทุกวันนี้เขาขายกิจการทุกอย่างที่ชลบุรี
แล้วไปใช้ชีวิตอยู่ใกล้ธรรมชาติ ริมแม่น้ำ
มีร้านเล็ก ๆ 2 ร้าน และลูกก็หายจากการเป็นหืดเป็นหอบ

มันดีมากเลย

ชีวิตคนเรา บางทีมันก็มาถึงบริบทที่ว่า
อยู่ที่ไหนก็ได้ ขอแค่

1. อยู่กับคนที่เรารักและรักเรา

2. "มีเงิน"

ลองหลีกหนีความวุ่นวาย สังคมแก่งแย่ง ชิงดีชิงเด่น
แล้วไปใช้ชิวิตที่ต่างจังหวัด ต่างเมืองดูนะครับ มันมีความสุขมากเลย
ชีวิตเรียบง่าย

มันอาจจะตอบโจทย์ชีวิตเราก็ได้

ทำอะไรช้าลงหน่อยก็ได้
Smell the roses along the way.

"โยกย้าย" บางทีก็แค่ "ย้ายจังหวัด" นะครับ
ขอแค่ "มีเงิน"
อยู่ที่ไหนก็ได้
อยู่ในที่ที่อากาศดี
รถไม่ติด

...อะไรประมาณนี้... 💕💕💕

...เล่าสู่กันฟัง ไม่เกี่ยวกับวีซ่า... 💕💕💕

28/11/2024

Saturday, November 23, 2024

Work Reference; Subclass 482/494/186

Subclass 482/494/186:

1. ไม่มี work reference หรือจดหมายผ่านงานจากนายจ้าง ยื่นไม่ได้นะครับ

2. PAYG หรือ Income Statements อย่างเดียวไม่พอ เพราะเราไม่รู้ว่าตำแหน่งคุณคืออะไร และมันก็ไม่มี job description

3. พนักงานกับนายจ้าง ไม่ว่าจบกันด้วยดีหรือไม่ดี เวลาออกจากงาน เราต้องมีจดหมายผ่านงานครับ work reference สำคัญ

4. ร้านปิดไปแล้ว ก็สามารถให้นายจ้างหรือ HR (ถ้าเขายังมีชีวิตอยู่และหาตัวเขาเจอ) เขียนจดหมายรับรองได้ครับว่าบุคคลคน ๆ นี้เคยทำงานในองค์กรนี้ ตำแหน่งนี้ job description นี้

Monday, November 18, 2024

Subclass 407; Training Visa (วีซ่าฝึกงาน)


Subclass 407; Training Visa (วีซ่าฝึกงาน)

วีซ่า subclass 407 เป็นวีซ่าสำหรับการฝึกงาน กับนายจ้างหรือองค์กรที่เขาต้องการจะ train เรา

มันก็เหมือนเป็นวีซ่าฝึกงานดี ๆ นี่เอง

วีซ่าตัวนี้ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับหลาย ๆ คน เพราะ requirement ของวีซ่าตัวนี้ไม่ได้ยากอะไรมากมาย แต่เราก็อยากจะให้ทุกคนเลือกวีซ่าตัวนี้ด้วยความระมัดระวัง

เพราะวีซ่าตัวนี้ไม่มีกฎหมายบังคับว่านายจ้างต้องจ่ายค่าแรงเราเท่าไหร่ เพราะนี่คือวีซ่าฝึกงานเท่านั้น

มันไม่ใช่วีซ่าทำงาน

ดังนั้นเราอาจจะได้วีซ่า 2 ปีก็จริง แต่ถ้าทำงานหรือฝึกงานโดยที่ไม่ได้ค่าแรงเลย เราจะกลายเป็น modern slaves หรือเปล่า

เราอยากจะให้ทุกคนคิดและไตร่ตรองให้ดี ๆ 

แต่ถ้าหากนายจ้างหรือองค์กรที่จะทำเรื่อง train หรือฝึกงานให้เรา มีการจ่ายค่าแรงที่ถูกต้อง นั่นก็ถือว่า OK

มันก็จะเป็นอะไรที่ Win-Win ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย

เพราะประสบการณ์การทำงานตอนที่ถือวีซ่า subclass 407, ถ้ามีการจ่ายค่าแรงอะไรที่ถูกต้อง และมีการเสียภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย เราก็สามารถนำเอาประสบการณ์การทำงานตรงจุดนี้มาต่อยอดในการทำวีซ่าตัวอื่น ๆ ได้ด้วย

วีซ่า subclass 407 ไม่ได้จำกัดอายุของคนสมัคร ขอให้อายุ 18 ขึ้นไปก็ใช้ได้แล้ว

และภาษาอังกฤษเองก็ requires แค่ IELTS (general) overall 4.5
หรือถ้าเรียนพวก college หรือ TAFE full-time ที่ประเทศออสเตรเลียเป็นเวลา 1 ปี ก็สามารถเอามาเทียบเท่ากับ IELTS overall 4.5 ได้

subclass 407 เป็นวีซ่า 2 ปี

แต่ขอไป 2 ปีอาจจะได้มาแค่ 1 ปีก็มี หรือไม่ก็ refuse ไปเลย

เพราะ 407 เป็นวีซ่าฝึกงาน บางคนก็ประสบการณ์เยอะแล้ว มันไม่มีอะไรที่จะต้องมาฝึกกันแล้ว อย่างนี้เป็นต้น

และ Training Plan ก็เป็นอะไรที่ละเอียดมาก

ต้องเขียนอธิบายเป็นราย week เลยว่า แต่ละ week ต้อง train ต้องฝึกอะไรกันบ้าง

1 ปี มี 52 weeks ก็ต้องอธิบายว่า 52 weeks นั้นหนะ จะต้องฝึก จะต้อง train อะไรกัน

สุดท้ายแล้วใครจะเลือกวีซ่า subclass ตัวไหน
ทุกคนมีจุดประสงค์ในชีวิตที่แตกต่างกัน เราไม่ judge ใคร
ก็ชั่งใจให้ดี ๆ ซ้ายหรือขวา หน้าหรือหลัง

ไม่ว่าจะเลือก subclass ไหน เราก็ขอเป็นกำลังใจให้นะครับ

Note: เราเลิกทำ subclass 407 มาซักพักแล้ว 2019 ขอเอาเวลาไปทำอะไรอย่างอื่น

Visa Cancellation; เมื่อวีซ่าคุณถูกยกเลิก

Visa Cancellation; เมื่อวีซ่าคุณถูกยกเลิก:

1. ณ ตอนนี้ as of today คุณคือคนวีซ่าขาดครับ

2. วีซ่าขาด ไม่สามารถทำงานได้

3. เมื่อยื่น AAT ก็ต้องรอ case number

4. เมื่อได้ case number ถึงจะ Bridging Visa E ได้

5. เมื่อได้ Bridging Visa E ถึงจะขอ work right ได้

6. Bridging Visa E เดินทางออกนอกประเทศได้ แต่เข้าประเทศไม่ได้ จนกว่าวีซ่าจะผ่าน

follows visa conditions ของตัวเองนะครับ ชีวิตจะได้ไม่ลำบาก!!!

Friday, November 15, 2024

Bridging Visa E; เอกสารสำหรับคนที่จะเดินทางออกนอกประเทศ

 เอกสารสำหรับคนที่จะเดินทางออกนอกประเทศ:

- passport
- Thai ID
- bill ที่มีที่อยู่เรา
- ที่อยู่
- เบอร์โทร
- air ticket สำหรับคนที่จะเดินทางออกนอกประเทศ

Thursday, November 14, 2024

จดหมายลาออกจากงาน

"จดหมายลาออกจากงาน"

1. จดหมายลาออกจากงาน ต้องมาจากพนักงาน ไม่ใช่มาจากนายจ้าง

2. จดหมายที่มาจากนายจ้างคือ "termination of employment" ไม่ใช่จดหมายลาออกจากงาน มันคนละส่วนกัน

ลายเซ็นของเรา
อย่าเซ็นอะไรพร่ำเพรื่อ

3. แจ้งล่วงหน้ากี่วัน กี่อาทิตย์ ให้ดู contract of employment

4. นายจ้างยังคงต้องจ่ายแรงพนักงานที่ยังทำงานอยู่ใน contract และช่วงที่ลา annual leave

5. ช่วงที่นายจ้างไม่ต้องจ่ายค่าแรง อันนั้นคือ "leave without pay" คือช่วงที่เราลาเกิน

6. ถ้า takes annual leave, sick leave แล้วไม่ได้ค่าแรง เราแจ้ง FairWork ได้

7. จดหมายลาออก ไม่ต้องอธิบายเหตุและผลในการลาออก มันเป็นเรื่องของเรา เอาแต่เนื้อ น้ำไม่เอา บอกแค่ว่าแจ้งลาออกและยื่น notice วันนี้และวันสุดท้ายของการทำงานคือวันไหน แค่นี้เลยจริง ๆ

จดหมายลาออกของ P' J สมัยทำงานเป็นลูกจ้าง
P' J เขียนไม่น่าจะเกิน 3 บรรทัด อันนี้จากสัจจริง

FairWork ติดต่อ: 131394 💕💕💕

Wednesday, November 13, 2024

วีซ่า subclass 407; Training Visa



วีซ่า subclass 482 TSS; Temporary Skill Shortage Visa คือวีซ่าทำงานโดยที่มีนายจ้างสปอนเซอร์

แต่วีซ่า subclass 482 ก็เป็นอะไรที่มี requirement ที่ค่อนข้างยุ่งยาก (แต่ก็ไม่ได้ยุ่งยากมากจนเกินไปสำหรับหลาย ๆ คน) โดยเฉพาะให้เรื่องของ:
- ประสบการณ์การทำงาน
- skill assessment
- ผลสอบภาษาอังกฤษ

และอะไรอื่น ๆ อีกมากมาย

ก็เอาเป็นว่าแต่ละคนมีคุณสมบัติอะไรหลาย ๆ อย่างไม่เหมือนกัน
บางคนขอวีซ่า subclass 482 ได้ง่าย แต่บางคนขอได้ยาก

แล้วยิ่งวีซ่า subclass 482 ที่หลาย ๆ สาขาอาชีพที่ต้องมี Caveat หรือ special requirement เข้ามายุ่งเกี่ยวด้วย ความซับซ้อนมันก็ยุ่งวุ่นวายไปอีก แล้วไหนจะ GTE สำหรับสาขาอาชีพที่อยู่ใน short-term list อีก ดูมันวุ่นวายไปหมด

วีซ่าในหมู่ตระกูลของ subclass 400s มันก็หลายวีซ่าด้วยกัน
ไม่ว่าจะเป็น subclass 482, 407, 408 & 403...etc..etc..

เดี๋ยววันนี้เราขอ focus ไปที่วีซ่า subclass 407; Training Visa ก็แล้วกันนะครับ

วีซ่า subclass 407 เป็นวีซ่าสำหรับการฝึกงาน กับนายจ้างหรือองค์กรที่เขาต้องการจะ train เรา


วีซ่าตัวนี้ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับหลาย ๆ คน เพราะ requirement ของวีซ่าตัวนี้ไม่ได้ยากอะไรมากมาย แต่เราก็อยากจะให้ทุกคนเลือกวีซ่าตัวนี้ด้วยความระมัดระวัง

เพราะวีซ่าตัวนี้ไม่มีกฎหมายบังคับว่านายจ้างต้องจ่ายค่าแรงเราเท่าไหร่ เพราะนี่คือวีซ่าฝึกงานเท่านั้น

มันไม่ใช่วีซ่าทำงาน

ดังนั้นเราอาจจะได้วีซ่า 2 ปีก็จริง แต่ถ้าทำงานหรือฝึกงานโดยที่ไม่ได้ค่าแรงเลย เราจะกลายเป็น modern slaves หรือเปล่า

เราอยากจะให้ทุกคนคิดและไตร่ตรองให้ดี ๆ

ประสบการณ์การทำงานตอนที่ถือวีซ่า subclass 407, ถ้ามีการจ่ายค่าแรงอะไรที่ถูกต้อง และมีการเสียภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย เราก็สามารถนำเอาประสบการณ์การทำงานตรงจุดนี้มาต่อยอดในการทำวีซ่าตัวอื่น ๆ ได้ด้วย อย่างเช่น

- subclass 482 TSS
- subclass 186 ENS (PR)
- subclass 494 

พวก subclass เหล่านี้เราเคยเขียน blog ไปหมดแล้ว เขียนไปเยอะแล้ว
ลอง serch ดูใน blog ของเรานะครับที่ jpp168immi.blogspot.com


วีซ่า subclass 407 ไม่ได้จำกัดอายุของคนสมัคร ขอให้อายุ 18 ขึ้นไปก็ใช้ได้แล้ว

และภาษาอังกฤษเองก็ requires แค่ IELTS (general) overall 4.5
หรือถ้าเรียนพวก college หรือ TAFE full-time ที่ประเทศออสเตรเลียเป็นเวลา 1  ปี ก็สามารถเอามาเทียบเท่ากับ IELTS overall 4.5 ได้

ถ้าใครเรียนระดับมัธยมไม่ว่าเป็นที่ประเทศออสเตรเลีย หรือเรียนเป็น internaltional school มาจากประเทศอื่น ก็สามารถนำเอามาเทียบเท่าได้เหมือนกัน แต่ต้องเรียน full-time 5 ปี

แต่ถ้าเป็นมัยธม + ประถม เรียนแค่ 3  ปีก็พอ (สื่อการเรียนการสอนเป็นภาษาอังกฤษ เรียนแบบ face-to-face ตัวเป็น ๆ )

การที่เราจะขอวีซ่า subclass 407 เราก็ต้องมีนายจ้างหรือองค์กรที่ต้องการ sponsor เราก่อน ก็เหมือนการทำ nomination ของพวกวีซ่า subclass 482 TSS ซึ่งนายจ้างเองหรือองค์กรก็ต้องทำเรื่องเข้าไปเพื่อขอเป็นหน่วยงานที่สามารถทำเรื่องสปอนเซอร์คนด้วยวีซ่าตัวนี้ 

เรื่องการ nominate position เข้าไปก็ไม่แตกต่างอะไรจากพวกวีซ่า subclass 482, 186 & 494

ถ้าหากเราขอวีซ่าอะไรไม่ได้แล้ว คุณสมบัติไม่ครบ หรือว่าเรายังไม่พร้อมอะไรหลาย ๆ อย่าง มีอะไรก็คว้าเอาไว้ก่อน ก็คว้าวีซ่า subclass 407 มาก่อนก็ได้


วีซ่า subclass 407 มันก็ยังสามารถเป็น Pathway ไปทำอะไรอื่นได้อีกเยอะเหมือนกัน เพราะวีซ่าที่ได้มา 2 ปี อะไรก็สามารถเกิดขึ้นได้ภายใน 2 ปีนี้

ถ้าเดินไปข้างหน้า แล้วทางมันตัน
เราก็ลองถอยหลังออกมา 1 ก้าวดูนะครับ
แล้วลองมองหันซ้าย แลขวาดู ชีวิตมันอาจจะมีทางออกหรือทางเลือกอะไรอย่างอื่นด้วย

วีซ่าตัวนี้ก็สามารถทำเรื่องขอมาจากเมืองไทยได้ด้วยนะครับ สำหรับใครที่สนใจอยากจะมาลองทำงานกับนายจ้างก่อน 2 ปี 

หรือนายจ้างอยากจะให้เราทดลองทำงานกับเขาก่อน 2 ปีว่า OK มั้ย อยู่ด้วยกันได้มั้ย ทำงานด้วยกันได้มั้ย อะไรประมาณนี้

ก็ลองมองวีซ่า subclass 407 ตัวนี้ เป็นอีกทางเลือกหนึ่ง

1. เราเลิกทำ Subclass 407 ตั้งแต่ปี 2019 แล้ว เราไม่มีเวลาจริง ๆ ครับในการเขียน training plan ของ Stage 2; Nomination ใครจะทำวีซ่าตัวนี้ เราก็แนะนำให้ติดต่อบริษัทอื่นนะครับ เราไม่มีที่แนะนำ

2. ยื่น Subclass 407 แล้วไม่ผ่าน เราสามารถอุทธรณ์เรื่องเข้าไปที่ศาลอุทธรณ์ได้ (ART) แล้วก็จัดการชีวิตตัวเองให้เสร็จสรรพในระหว่างที่รอ ART; 1.5 - 2 ปี

Tuesday, November 12, 2024

Partner Visa; น้องเซียงเหมี่ยงกับน้องพอกะเทิน


"น้องเซียงเหมี่ยง"กับ "น้องพอกะเทิน" คู่รักเพศเดียวกัน แยกกันอยู่ คนหนึ่งอยู่เมืองไทย คนหนึ่งอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย

"คบกัน" มาหลายปี
ไป ๆ มา ๆ หาสู่กัน
แต่ไม่มีเอกสารร่วมกันเลย

คำว่า "คบกัน" ในที่นี่ต่อให้จะหลายปียังไงก็ตาม อิมมิเกรชั่นถือว่าเป็นช่วงเวลาของ "dating; จีบกันไปจีบกันมา"

ช่วงเวลาที่ "dating" จะไม่ถูกนับเอาไปรวมกับเวลาที่เป็น de facto กันนะครับ เพราะถือว่ายังไม่มี commitment ร่วมกัน

Commitment ร่วมกันควรมีดังต่อไปนี้ (คร่าว ๆ);  
- บัญชีคู่ร่วมกัน มีการจับจ่ายใช้สอยร่วมกัน
- มีทรัพย์สินร่วมกัน
- มีรายจ่ายร่วมกัน
- รู้จักครอบครัวของแต่ละฝ่าย (ไม่รู้จักไม่เป็นไร แต่ต้องอธิบายได้)

อะไรต่าง ๆ นานา แบบนี้เป็นต้น

อันนี่แค่คร่าว ๆ นะครับ

ที่เขียนมาทั้หมดก็แค่อยากจะบอกว่า ระยะเวลาที่ dating ไม่นับว่าเป็น commitment ร่วมกัน

ทะเบียนสมรส ต่อให้ตอนนี้เมืองไทยมีสมรสเท่านั้นเทียม
แต่ให้ทั้งคู่จดทะเบียนสมรส มันก็แค่ทำให้ทั้งสองสามารถยื่นเรื่องสมัครได้ แต่ปัจจัยที่วีซ่าจะผ่านนั้น ก็ต้องตามข้อมูลด้านบนเลย

อะไรประมาณนี้