Wednesday, December 30, 2015

Review right ของวีซ่า subclass 457, 186 และ 187


วีซ่า subclass 457 ซึ่งเป็นวีซ่าชั่วคราวทำงานได้ 4 ปี แต่หลังจากนั้นสามารถขออยู่เป็นคนที่นี่ถาวรได้ ด้วย subclass 186 (ENS) หรือ subclass 187 (RSMS) หลังจากทำงานกับธุรกิจหรือนายจ้างเป็นเวลาอย่างต่ำ 2 ปี ซึ่งก็ใช้ได้กับพวก self-sponsor เหมือนกัน

ข้อดีของการขอวีซ่าทำงาน วีซ่า subclass 457 หรือวีซ่า ENS subclass 186 หรือ วีซ่า RSMS subclass 187 ก็คือ ผู้สมัครสามารถสมัครได้ทั้งแบบ onshore และ offshore และผู้สมัครก็สามารถรอผลวีซ่าจากที่ใหนก็ได้ จะอยู่รอภายในประเทศออสเตรเลียหรือจะรอมาจากนอกประเทศออสเตรเลียก็ได้  และสมาชิกของครอบครัวหรือผู้ติดตามก็ไม่จำเป็นต้องอยู่ที่ที่เดียวกันกับคนสมัคร ซึ่งก็หมายความว่าคนสมัครเองสามารถทำขอวีซ่าตอนที่เขาอยู่ที่ออสเตรเลียเป็น onshore แต่สมาชิกในครอบครัว ซึ่งหมายถึง สามีหรือภรรยา หรือ partner ในกรณีที่เป็นคู่รักเพศเดียวกัน รวมไปถึงลูกๆ (ถ้ามี) ถ้าหากอยู่เมืองไทยก็สามารถสมัครไปได้เลยพร้อมๆกัน ใน application เดียวกัน ไม่ต้องแยก

นั่นก็คือข้อดี แต่ในขณะเดียวกัน สมาชิกของคนในครอบครัวถ้าสมัครมาจากนอกประเทศหรือ offshore ถ้าเผื่อวีซ่าไม่ผ่าน จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ จะไม่สามารถอุทรณ์หรือทำเรื่อง  appeal ได้ สำหรับคนที่ขอวีซ่า 457, 186 หรือ 187 คนที่สามารถทำเรื่องอุทรณ์ได้จะเป็นคนที่สมัครภายในประเทศเป็น onshore เท่านั้นนะครับ 

ยังไงเสียก่อนขอวีซ่า 457, 186 หรือ 187 ถ้าเผื่อเป็นไปได้ เราก็แนะนำให้สมาชิกทุกคนในครอบครัวเดินทางเข้าประเทศออสเตรเลีย แล้วสมัครภายในประเทศออสเตรเลียเป็น onshore กันทั้งหมด แต่หลังจากยื่นเรื่องเสร็จแล้ว ถ้าเขาอยากจะไปรอเรื่องอยู่ที่ข้างนอกเป็น offshore ก็ไม่เป็นไร

ยังไงเสียก็กันไว้ดีกว่าแก้นะครับ 

อย่าเป็นพวก เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่ายนะครับ

Saturday, December 26, 2015

การกรอกฟอร์มคนเข้าเมือง


รู้มั๊ยเอ่ยว่าฟอร์มที่เราๆกรอกกันเวลาเข้าประเทศออสเตรเลียหนะ นั่นเป็นอีกฟอร์มของอิมมิเกรชั่นนะครับ หลายๆคนอาจไม่รู้ คิดว่าเป็นฟอร์มทั่วๆไปของ custom จริงๆแล้วไม่ใช่นะครับ ฟอร์มที่เราๆกรอกกันตอนเข้าประเทศออสเตรเลียนั้น เป็นฟอร์มทางการของอิมมิเกรชั่น เราเรียกกันว่า ฟอร์ม 13 (Form 13)

Form 13 นี้ก็เป็นฟอร์มที่ชาว New Zealand ใช้ในการขอวีซ่า subclass 444 ซึ่งเป็นวีซ่า subclass พิเศษสำหรับชาว New Zealand เพื่อให้อยู่ที่ประเทศไปได้เรื่อยๆไม่มีกำหนด แต่วีซ่า subclass 444 นี้ไม่ใช่วีซ่าถาวรนะครับ เป็นแค่วีซ่าชั่วคราว ดังนั้นชาว New Zealand ที่เข้ามาอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียหลังจากวันที่ 26 Feb 2001 จะได้วีซ่า subclass 444 กัน ไม่ใช่ PR นะครับ 

ถ้าชาว New Zealand อยากได้ PR ซึ่งเป็นวีซ่าถาวร ก็ต้องสมัครขอวีซ่า subclass อื่นๆ อะไรก็ว่าไป 

เดี๋ยววกกลับมาที่เรื่องฟอร์ม 13 กันดีกว่า ฟอร์ม 13 เป็นฟอร์มทางการของอิมมิเกรชั่น ดังนั้นข้อมูลทุกอย่างที่เรากรอกตอนที่เราเข้ามาในประเทศออสเตรเลีย จะมีผลต่อการขอวีซ่าหรือซิติเซ่นของเราอย่างแน่นอน

ยกตัวอย่างเช่น Partner Visa ที่อยู่ที่เรากรอกลงไปในฟอร์ม 13 มีความขัดแย้งกับฟอร์มที่เรากรอกตอนยื่นเรื่องขอ Partner Visa หรือเปล่า เพราะข้อมูลจากฟอร์ม 13 จะมีการนำจัดเก็บเข้าในระบบคอมพิวเตอร์ของกระทรวงอิมมิเกรชั่น 

หรือไม่ก็คู่นักเรียนที่ไม่ได้แต่งงานหรือจด register of relationship กันแต่บอกว่าเป็นคู่ de facto กัน ก็ต้อง make sure นะครับว่าที่อยู่ที่เรากรอกลงไปในฟอร์ม 13 ตอนที่เราเข้าประเทศมามีความสอดคล้องกับข้อมูลที่เราให้ไปกับอิมมิเกรชั่นตอนขอพวกวีซ่าติดตามนักเรียน

ฟอร์ม 13 เป็นอีกฟอร์มที่สำคัญ โดยเฉพาะคนที่มีการเข้าออกประเทศบ่อยๆ ดังนั้นจะกรอกอะไรลงไปคิดสักนิดหนึ่งนะครับ โดยเฉพาะเรื่องของที่อยู่ มีหลายๆคนชอบเอาที่อยู่เพื่อนมาลง ซึ่งเราก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าเพราะอะไร ถ้าเหตุผลเพียงแค่เพราะจำที่อยู่ตัวเองไม่ได้ สุดท้ายแล้วอะไรที่เรากรอกลงไป สักวันหนึ่งมันจะมาหลอกหลอนตัวเราเองนะครับ เพราะข้อมูลอะไรก็ตามแต่ ถ้าหากเรามีความตั้งใจที่จะบิดเบือนความเป็นจริง อาจเจอ PIC4020 คือข้อหาให้ข้อมูลเท็จแก่อิมมิเกรชั่น โดนแบน 3 ปีนะครับ  (ban เฉพาะที่ขอวีซ่าชั่วคราว วีซ่าถาวร PR ไม่โดน ban นะครับ)

ยังไงเสียต่อไปก็อยากจะให้ทุกคนใส่ใจในการกรอกฟอร์ม 13 ฟอร์มของคนเข้าเมืองด้วยนะครับ

Friday, December 25, 2015

RSMS ดีกว่า 457 และ ENS ยังไง


Regional Sponsored Migration Scheme (RSMS) subclass 187, คือวีซ่าที่เป็น PR และมีข้อดีเยอะแยะมากมายเมื่อเปรียบเทียบกับ visa Subclass 457 และ ENS Subclass 186 แล้ว

RSMS คือวีซ่าที่นายจ้างหรือธุรกิจในเมืองท้องถิ่นรอบนอก (regional) ที่มีความต้องการที่จะจ้างพนักงานในสาขาอาชีพที่อยู่ใน CSOL ที่เคยเขียนเอาไว้แล้ว

Regional area ก็ดีไปอีกอย่างหนึ่งเพราะจริงๆแล้วเมืองบางเมืองไม่ได้ห่างไกลจากตัวเมืองใหญ่ๆเลยนะ แต่ตามรหัสไปรษณีย์ก็ถือว่าเป็น regional area ยกตัวอย่างเช่น

  • Cairns, QLD เป็นเมืองใหญ่มาก แต่ว่าไม่ได้อยู่ใน Gold Coast หรือ Brisbane ถ้าใครเคยไปเที่ยว Cairns จะรู้เลยว่า เป็นเมืองใหญ่ เมืองแห่งการท่องเที่ยว ดังนั้นพวกร้านอาหารไทย ร้านนวดไทยที่ Cairns สามารถทำเรื่องขอวีซ่า RSMS ให้พนักงานได้สบายๆ เพราะถือว่าเป็น regional
  • Moss Vale, Bowral หรือ Mittagong, NSW ก็ไม่ห่างจาก Wollongong มาก ขับรถ 45 นาที ก็ถือว่าเป็น regional area แล้ว เช่นเดียวกัน ร้านอาหารไทย หรือร้านนวดไทย สามารถทำเรื่อง RSMS ได้ง่ายๆ
นอกจากนี้ WA, SA, TAS ถือว่าเป็น regional ทั้งรัฐเลย และ เขตการปกครองพิเศษ ACT และ NT พื้นที่ทั้งหมดก็ถือว่า regional หมดเลย (ACT และ NT ไม่ใช่รัฐ แต่เป็นเขตการปกครองพิเศษ)

สรุปง่ายๆคือ WA, SA, TAS, ACT และ NT เป็น regional หมดเลย ไม่ต้องดูรหัสไปรษณีย์ให้วุ่นวาย

การขอวีซ่า RSMS คล้ายๆกับวีซ่า subclass 457 และ ENS Subclass 186 แต่มีข้อดีคือ:
  • คนสมัครไม่จำเป็นต้องใช้ประสบการณ์ใรการทำงาน หรือ work experiene ในการสมัคร ดังนั้นนักเรียนที่เรียนจบมาใหม่ๆ สามารถทำ RSMS ได้ไม่ยาก
  • เพียงแค่คนสมัครต้องมีคุณวุฒิทางการศึกษาให้ตรงกับสาขาอาชีพที่รัฐบาลต้องการ (CSOL) และมีคุณสมบัติทางด้านภาษาครบ แค่นี้ก็สมัคร RSMS ได้แล้ว
หลายๆคนอาจบอกว่า แล้วถ้าเราไม่มีนายจ้างหละจะทำยังไง ทางออกอีกทางหนึ่งก็คือ self-sponsored คือเปิดธุรกิจเองเลย แล้ว apply RSMS ให้กับตัวเอง ซึ่งก็สามารถทำได้เหมือนกัน

เรื่อง self-sponsor เราก็เคยเขียน blog เอาไว้แล้ว ก็แนะนำให้ลองอ่านดูนะครับ

ดังนั้น RSMS จึงเป็นประเภทของวีซ่าที่น่าจับตามองนะครับ เป็นทางเลือกอีกทางหนึ่ง

Thursday, December 17, 2015

เอกสารที่ต้องเก็บ employer obligation กับ visa subclass 457


เนื่องด้วยอิมมิเกรชั่นจะมีการล้างบางและทำการ clean up อะไรต่างของโปรแกรม visa subclass 457 เพราะเนื่องด้วยวีซ่า 457 เองก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ

เมื่อวันที่ 14 December 2015 ที่ผ่านมา ทางรัฐบาลเองก็ได้มีการออกกฎหมายใหม่มาเพื่อลงโทษนายจ้างที่เรียกเก็บเงินจากลูกจ้างในการขอวีซ่า 457 เพราะมีนายจ้างหลายๆที่เรียกเก็บเงินกันรายอาทิตย์เลยว่าลูกจ้างต้องจ่ายเค๊าเท่าไหร่ต่อเท่าไหร่

ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าอิมมิเกรชั่นจะมาเคาะประตูหน้าร้านแล้วขอดูเอกสารต่างๆของทางธุรกิจ

สิ่งที่อิมมิเกรชั่นอยากจะขอดูก็คือ
  • ขอดูว่าพนักงานที่ถือวีซ่า 457 ทำงานที่นี่จริงๆหรือเปล่า เจ้าหน้าที่ของอิมมเกรชั่นอาจจะขอดูหน้า ขอดูตัวเป็นๆ
  • ขอดู payroll และ roster ว่าแต่วัน แต่ละอาทิตย์ใครทำงานบ้างและจ่ายค่าแรงกันเท่าไหร่


สิ่งที่นายจ้างควรรู้เกี่ยวกับ obligation ของวีซ่า 457
  • นายจ้างต้องจ่ายค่าตั๋วเครื่องบิน (economy class) เที่ยวเดียวกลับไปประเทศของลูกจ้าง ตาม passport ที่ถือ ถ้าลูกจ้างถือ passport หลายสัญชาติ ลูกจ้างสามารถเลือกได้ว่าเขาจะไปประเทศใหน
  • ปกติ business ที่ถูก approve ก็จะถูก approve ให้สามารถ sponsor คนทำงานได้ 5 ปี แต่เอกสารทุกอย่างต้องเก็บเอาไว้หลังจากนั้น 5 ปี เพราะอิมมิเกรชั่นสามารถเข้ามาตรวจได้ตลอดเวลา สรุปคือนายจ้างต้องเก็บเอกสารอะไรต่างๆไว้เป็นเวลา 10 ปี
  • อิมมิเกรชั่นสามารถเดินเข้ามาตรวจธุรกิจเราได้ตลอดเวลา แต่เราไม่จำเป็นต้องเอกสารให้เจ้าหน้าที่ดูวันนั้น เราสามารถบอกให้เจ้าหน้าที่มาใหม่ได้ เพราะเราอาจจะไม่พร้อมหรือไม่มีเวลาเตรียมตัวหรือเตรียมเอกสาร เพราะธุรกิจหลายๆธุรกิจก็อาจจะมีหลายสาขา เอกสารอาจจะอยู่อีกที่หนึ่ง
  • แต่ถ้าอิมมิเกรชั่นส่ง email หรือจดหมายมา เราต้องตอบภายในวันที่ทางอิมมิเกรชั่นกำหนด ดังนั้นถ้าอิมมิเกรชั่นเดินเข้ามาโดยไม่ได้นัดหมาย เราไม่จำเป็นต้องเอาอะไรให้ดู แต่ถ้าส่ง notice มา เราต้องตอบกลับ

เกร็ดเล็กๆน้อยที่นายจ้างหรือธุรกิจควรรู้
  • กฎหมายกำหนดว่านายจ้างต้องจ่ายตั๋วเครื่องบินให้ลูกจ้างกลับประเทศนั้นๆ แต่ไม่ได้บอกว่าต้องไปเมืองอะไร ไปจังหวัดใหน ดังนั้นถ้าลูกจ้างบอกว่าต้องการไปลงเชียงใหม่ หรือภูเก็ต (เพราะอยากไปเที่ยว) นายจ้างก็ต้องซื้อให้ ถึงแม้ว่าลูกจ้างเริ่มทำงานแค่ 1 วันแล้วลาออก
  • ถ้าลูกจ้างไม่ได้ทำงานกับเราแล้ว ลูกจ้างไม่จำเป็นต้องแจ้งอะไรต่ออิมมิเกรชั่น เพราะเป็นหน้าที่ของนายจ้างที่ต้องแจ้งอิมมิเกรชั่น ถ้านายจ้างไม่ได้แจ้งอะไรต่ออิมมิเกรชั่น อิมมิเกรชั่นก็จะไม่รู้เลยว่าลูกจ้างคนนั้นเลิกทำงานกับนายจ้างแล้ว

นี่ก็เป็นเกร็ดเล็กๆน้อยๆที่นายจ้างหรือธุรกิจต้องรู้นะครับ จะได้ไม่มีปัญหาเวลาอิมมิเกรชั่นแวะเข้ามาตรวจ เพราะอิมมิเกรชั่นเริ่มเข้มงวดกับวีซ่า subclass 457, ENS subclass 186 และ RSMS subclass 187 กันมากขึ้น

Sunday, December 13, 2015

จะ maintain training benchmark ยังไงให้ผ่าน PR


ได้เขียนเรื่อง training benchmark เอาไว้เยอะแล้ว ไม่ว่าจะเป็นข้อมูลทั่วไปของ training benchmark และการที่ธุรกิจต้อง maintain training benchmark ทุกๆปียังไง

การ maintain training benchmark ของธุรกิจนั้น แตกต่างจากการทำบัญชีทั่วๆไปคือ

ปกติแล้วเวลาเราทำบัญชีเสียภาษี ธุรกิจจะต้องทำบัญชีทุก 3 เดือน ทุก quarter (ไตรมาส) คือ
  • Jan - Mar
  • Apr - Jun
  • Jul - Sep
  • Oct - Dec
และปีงบประมาณก็เริ่มจาก 1 July ของปีนี้ ไปจนถึงวันที่ 30 June ของปีถัดไป 

แต่อิมมิเกรชั่นเอง ไม่ได้ทำให้ชีวิตเราสบายเลย อิมมิเกรชั่นไม่ได้ทำตาม accounting practice, อิมมิเกรชั่นไม่ได้คิดการทำ training benchmark เป็นไตรมาสเหมือนการทำบัญชี แต่อิมมิเกรชั่นจะนับเอา 12 เดือนจากวันวันนั้น

ยกตัวอย่างเช่น, ถ้าธุรกิจ ได้รับการ approve และได้มีการจ้างพนักงานที่ถือวีซ่า subclass 457 วันที่ 13 December 2015, การ maintain training benchmark ก็จะนับเอา 12 เดือนจากวันที่ 13 December 2015 ดังนั้นการ maintain training benchmark ก็ต้อง maintain จาก
  • 13 December 2015 - 12 December 2016
ซึ่งเป็นอะไรที่ปวดหัวมาก เพราะต้องมานั่งคำนวญว่า payroll การจ่ายค่าแรงพนักงาน จากวันที่นั้น ถึงวันที่นี้มันเป็นอะไรที่หยุมหยิมมาก แต่อิมมิเกรชั่นก็เลือกที่จะทำอะไรให้มันวุ่นวายโดยไม่ใช่เหตุ

ดังนั้นธุรกิจใหนที่จะต้อง maintain training benchmark ก็ต้องคำนวญวันที่กันให้ดีๆนะครับ จะไม่ได้ไม่มีปัญหากัน ตอนทำ PR (Permanent Resident) ต่อจากวีซ่า subclass 457

Sunday, December 6, 2015

วีซ่า subclass 457, ENS, RSMS กับ training benchmark


เราได้เคยเขียน blog อธิบายเรื่องของ Training Benchmark ไปแล้วตั้งแต่ช่วง July. ถ้าใครไม่รู้ว่า Training Benchmark คืออะไรก็แนะนำให้เข้าไปอ่านกันได้นะครับ

อิมมิเกรชั่นได้มีการเปลี่ยนแปลงแบบฟอร์มในการขอวีซ่า 457, ENS และ RSMS โดยเฉพาะหลังจาก 9am วันที่ 21 November 2015 (ชอบเปลี่ยนอะไรกันช่วง weekend) เป็นต้นมา ทางอิมมิเกรชั่นได้มีการเปลี่ยนแปลงคำถามและข้อมูลในเรื่องของ Training Benchmark มากเลย

เป็นเรื่องปกติที่คนทำวีซ่า subclass 457 ก็ต้องทำเรื่องขอ PR ต่อ ไม่ว่าจะเป็น ENS (subclass 186) หรือ RSMS (subclass 187) 

ช่วงที่ทำเรื่อง ENS หรือ RSMS อิมมิเกรชั่นก็จะถามในเรื่องของ traning benchmark ของทุกๆปีที่ผ่านมาที่ทางธุรกิจได้มีการจ้างพนักงานด้วยวีซ่า subclass 457

สรุปง่ายๆคือ ปีใหนที่ธุรกิจมีพนักงานถือวีซ่า subclass 457 ทำงานอยู่ ทางธุรกิจเองต้องมีการทำ training benchmark ของปีนั้นๆ แต่ถ้าเมื่อไหร่ที่พนักงานถือวีซ่า subclass 457 ลาออก หรือ พนักงานถือวีซ่า 457 ได้ PR แล้ว ทางธุรกิจเองก็ไม่ต้องทำ training benchmark อีกต่อไป

หากธุรกิจมีการทำเรื่อง Standard Business Sponsor (SBS) มาก่อน แล้วต้องกลับมาทำวีซ่า subclass 457 อีกรอบ จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ ทางอิมมิเกรชั่นก็จะถามว่าแต่ละปีที่เคยมีการจ้างพนักงาน subclass 457 ทางธุรกิจเองมีค่าใช้จ่ายในเรื่องของ Traning Benchmark ยังไง ซึ่งผิดกับเมื่อก่อนมาก เพราะเมื่อก่อนเราไม่ต้องกรอกข้อมูลในเรื่อง Training Benchmark ทุกๆปี เราลักไก่เอาแค่ 1 ปี (12 เดือน) ก่อนยื่นเรื่องก็ทำได้เรื่องได้แล้ว แต่ตอนนี้รู้สึกว่าอิมมิเกรชั่นจะเข้มงวดมาก จะมาลักไก่อะไรกันไม่ได้เลย

ดังนั้นจึงสำคัญมากถ้าธุรกิจมีการจ้างพนักงานที่ถือวีซ่า subclass 457 ทางธุรกิจเองต้องเก็บ record ของการ traning ต่างๆทุกปีตราบใดที่ทางธุรกิจยังคงมีการจ้างพนักงานที่ถือวีซ่า subclass 457 และการ traning เองก็ต้อง train พนักงานที่เป็น PR หรือ citizen เท่านั้น train คนที่เป็นพนักงานต่างชาติไม่ได้ (train ได้แต่จะนับเอาค่าใช้จ่ายมา cliam ในเรื่องของ training benchmark ไม่ได้) และก็ต้องอย่าลืมว่าพนักงานที่ถือวีซ่า subclass 457 นั้นก็ยังถือว่าเป็นพนักงานต่างชาติ ดังนั้นถ้ามีการ train พนักงานที่ถือวีซ่า subclass 457 รายจ่ายของการ train พนักงานที่ถือวีซ่า subclass 457 ก็ไม่สามารถนำเอามา claim เป็นรายจ่ายของ traing benchmark ได้

ยังไงเสียก็แนะนำให้ธุรกิจเก็บ record ต่างๆเอาไว้ด้วยนะครับ เพราะเมื่อถึงเวลาทำ PR จะได้ไม่มีปัญหากัน