เนื่องด้วยอิมมิเกรชั่นจะมีการล้างบางและทำการ clean up อะไรต่างของโปรแกรม visa subclass 457 เพราะเนื่องด้วยวีซ่า 457 เองก็มีการเปลี่ยนแปลงอยู่เรื่อยๆ
เมื่อวันที่ 14 December 2015 ที่ผ่านมา ทางรัฐบาลเองก็ได้มีการออกกฎหมายใหม่มาเพื่อลงโทษนายจ้างที่เรียกเก็บเงินจากลูกจ้างในการขอวีซ่า 457 เพราะมีนายจ้างหลายๆที่เรียกเก็บเงินกันรายอาทิตย์เลยว่าลูกจ้างต้องจ่ายเค๊าเท่าไหร่ต่อเท่าไหร่
ดังนั้นจึงไม่ใช่เรื่องแปลกถ้าอิมมิเกรชั่นจะมาเคาะประตูหน้าร้านแล้วขอดูเอกสารต่างๆของทางธุรกิจ
สิ่งที่อิมมิเกรชั่นอยากจะขอดูก็คือ
- ขอดูว่าพนักงานที่ถือวีซ่า 457 ทำงานที่นี่จริงๆหรือเปล่า เจ้าหน้าที่ของอิมมเกรชั่นอาจจะขอดูหน้า ขอดูตัวเป็นๆ
- ขอดู payroll และ roster ว่าแต่วัน แต่ละอาทิตย์ใครทำงานบ้างและจ่ายค่าแรงกันเท่าไหร่
สิ่งที่นายจ้างควรรู้เกี่ยวกับ obligation ของวีซ่า 457
- นายจ้างต้องจ่ายค่าตั๋วเครื่องบิน (economy class) เที่ยวเดียวกลับไปประเทศของลูกจ้าง ตาม passport ที่ถือ ถ้าลูกจ้างถือ passport หลายสัญชาติ ลูกจ้างสามารถเลือกได้ว่าเขาจะไปประเทศใหน
- ปกติ business ที่ถูก approve ก็จะถูก approve ให้สามารถ sponsor คนทำงานได้ 5 ปี แต่เอกสารทุกอย่างต้องเก็บเอาไว้หลังจากนั้น 5 ปี เพราะอิมมิเกรชั่นสามารถเข้ามาตรวจได้ตลอดเวลา สรุปคือนายจ้างต้องเก็บเอกสารอะไรต่างๆไว้เป็นเวลา 10 ปี
- อิมมิเกรชั่นสามารถเดินเข้ามาตรวจธุรกิจเราได้ตลอดเวลา แต่เราไม่จำเป็นต้องเอกสารให้เจ้าหน้าที่ดูวันนั้น เราสามารถบอกให้เจ้าหน้าที่มาใหม่ได้ เพราะเราอาจจะไม่พร้อมหรือไม่มีเวลาเตรียมตัวหรือเตรียมเอกสาร เพราะธุรกิจหลายๆธุรกิจก็อาจจะมีหลายสาขา เอกสารอาจจะอยู่อีกที่หนึ่ง
- แต่ถ้าอิมมิเกรชั่นส่ง email หรือจดหมายมา เราต้องตอบภายในวันที่ทางอิมมิเกรชั่นกำหนด ดังนั้นถ้าอิมมิเกรชั่นเดินเข้ามาโดยไม่ได้นัดหมาย เราไม่จำเป็นต้องเอาอะไรให้ดู แต่ถ้าส่ง notice มา เราต้องตอบกลับ
เกร็ดเล็กๆน้อยที่นายจ้างหรือธุรกิจควรรู้
- กฎหมายกำหนดว่านายจ้างต้องจ่ายตั๋วเครื่องบินให้ลูกจ้างกลับประเทศนั้นๆ แต่ไม่ได้บอกว่าต้องไปเมืองอะไร ไปจังหวัดใหน ดังนั้นถ้าลูกจ้างบอกว่าต้องการไปลงเชียงใหม่ หรือภูเก็ต (เพราะอยากไปเที่ยว) นายจ้างก็ต้องซื้อให้ ถึงแม้ว่าลูกจ้างเริ่มทำงานแค่ 1 วันแล้วลาออก
- ถ้าลูกจ้างไม่ได้ทำงานกับเราแล้ว ลูกจ้างไม่จำเป็นต้องแจ้งอะไรต่ออิมมิเกรชั่น เพราะเป็นหน้าที่ของนายจ้างที่ต้องแจ้งอิมมิเกรชั่น ถ้านายจ้างไม่ได้แจ้งอะไรต่ออิมมิเกรชั่น อิมมิเกรชั่นก็จะไม่รู้เลยว่าลูกจ้างคนนั้นเลิกทำงานกับนายจ้างแล้ว
นี่ก็เป็นเกร็ดเล็กๆน้อยๆที่นายจ้างหรือธุรกิจต้องรู้นะครับ จะได้ไม่มีปัญหาเวลาอิมมิเกรชั่นแวะเข้ามาตรวจ เพราะอิมมิเกรชั่นเริ่มเข้มงวดกับวีซ่า subclass 457, ENS subclass 186 และ RSMS subclass 187 กันมากขึ้น
No comments:
Post a Comment