Sunday, January 31, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย เป็นผี วีซ่าขาด ทำยังไงจะไม่ให้โดนแบน


ประเทศออสเตรเลีย เป็นประเทศที่กว้างใหญ่และสวยงาม หลายๆคนที่ได้มาอยู่ที่นี่แล้ว ก็หลงใหลในบรรยากาศและโอกาสในชีวิต อะไรต่างๆนาๆ ก็อาจจะมีบ้างที่บางท่าน บางคนพอได้วีซ่ามาอยู่หรือมาเที่ยวชั่วคราวแล้ว พอวีซ่าหมด หรือต่อวีซ่าไม่ได้ หรือวีซ่าโดนยกเลิก จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ เลือกที่จะไม่กลับเมืองไทย เลือกที่จะอยู่ต่อแบบผิดกฏหมาย ถ้าเป็นคนไทย เราก็เรียกกันง่ายๆว่าอยู่เป็นผี หรือวีซ่าขาด ซึ่งภาษาทางกฏหมายเราก็เรียกกันว่า unlawful non-citizen

การที่คนเราอยู่แบบผิดกฏหมาย อยู่เป็นผีที่นี่ ทางเลือกในการขอวีซ่ามันก็มีจำกัด ดังที่เราได้เคยเขียนมาแล้ว แต่จริงๆแล้วมันก็มีวีซ่าอีกประเภทหนึ่งที่คนอยู่ผิดกฏหมาย หากมีคุณสมบัติครบ ทางอิมมิเกรชั่นเองก็มีการยกเว้น ให้คนเหล่านั้น สามารถขอวีซ่าได้ แต่เราไม่ขอนำมาเขียนไว้ที่นี่ก็แล้วกัน เพราะเรื่องที่เราอยากเขียนวันนี้คือ การที่เราอยู่เป็นผี วีซ่าขาด ถ้าเรากลับเมืองไทยไปแล้ว ทำยังไงจะไม่ให้โดนแบน หรือห้ามเข้าประเทศ

เราเคยแนะนำก่อนหน้านี้ว่า สำหรับคนที่อยู่เป็นผี หากวันหนึ่งอิ่มตัวแล้วกับการใช้ชีวิตอยู่ที่นี่และพร้อมที่จะกลับเมืองไทย การเดินทางกลับประเทศก็ไม่ควรที่จะกลับไปแบบง่าย โดยการซื้อตั๋วเครื่องบินแล้ว เดินทางไปที่สนามบินเลย เพราะอาจจะโดนกักตัวและสัมภาษณ์เสียเวลา ปกติแล้วเราก็ควรที่จะทำเรื่องขอ Bridging Visa E ก่อน ก่อนที่จะเดินทางออกนอกประเทศ เพราะยังไงเสีย Briding Visa E ก็ไม่มีค่าใช้จ่ายอะไร

การที่เราอยู่เป็นผี แล้วเดินทางออกนอกประเทศ ไม่ว่าจะด้วยการเดินทางออกไปเฉยๆโดยที่ไม่มี Bridging Visa E หรือคนที่ต้องการจัดการชีวิตตัวเองให้เป็นระเบียบเรียบร้อยด้วยการไปขอ Bridging Visa E ก่อน แล้วค่อยเดินทางออก จะยังไงก็ตามแต่ การเดินทางออกไปแบบนี้ ทั้งด้วยการเดินทางออกไปด้วย Bridging Visa E หรือไม่มี Bridging Visa E ก็ตาม เราจะถูกห้ามเข้าประเทศอีก 3 ปี

แล้วถ้าเราไม่อยากถูกห้ามเข้าประเทศหละ เราควรจะทำยังไงดี
  1. เราไม่ควรเดินทางออกนอกประเทศโดยที่ไม่มีวีซ่า มีหลายคนที่ชอบแค่ซื้อตั๋ว แล้วก็เดินทางไปสนามบินเลย
  2. เราไม่ควรเดินทางออกนอกประเทศด้วย Bridging Visa E
หลายคนอาจสงสัยว่าเอ๊ะ ใหนบอกว่าคนที่อยู่เป็นผี ควรจะขอ Bridging Visa E ก่อนที่จะเดินทางออกนอกประเทศ

ถูกต้องครับ คนที่อยู่เป็นผี ก่อนที่จะเดินทางออกนอกประเทศควรที่จะขอ Bridging Visa E ก่อนที่เดินทางออกไป เราไม่ควรที่จะเดินดุ่มๆไปที่สนามบินเลย แต่พวกที่เดินดุ่มๆไปที่สนามบิน และพวกที่เดินทางออกด้วย Bridging Visa E ก็จะโดนห้ามเข้าประเทศอีก 3 ปีด้วยกันทั้งนั้น ดังนั้นเราก็ต้องพยายามหลีกเลี่ยงการเดินทางออกนอกประเทศแบบนี้

เราก็จำเป็นที่จะต้องเดินทางออกนอกประเทศด้วยวีซ่าตัวอื่นที่ไม่ใช่ Bridging Visa E ซึ่งมันก็พอมีวิธี หากเราพอใจที่จะทำเรื่อง "บางสิ่งบางอย่าง" เพื่อให้ได้มาซึ่ง "วีซ่าอะไรอีกตัวหนึ่ง" แล้วมีระยะเวลาให้เราเดินทางออกได้ ภายใน 28 วัน

เนื่องด้วยเราเดินทางออกนอกประเทศด้วย "วีซ่าอะไรอีกตัวหนึ่ง" ที่ไม่ใช่ Bridging Visa E เราก็จะไม่โดนห้ามเข้าประเทศ 3 ปี 

ส่วนเราจะกลับเข้ามาอีกหรือเปล่านั้น นั่นมันอีกเรื่องหนึ่ง เพราะวันนี้เราจะ focus เฉพาะเรื่องการโดนห้ามเข้าประเทศเท่านั้น

ส่วนเรื่องการทำเรื่อง "บางสิ่งบางอย่าง" เพื่อให้ได้มาซึ่ง "วีซ่าอะไรอีกตัวหนึ่ง" นั้นเราไม่ขอนำมาเขียนก็แล้วกัน เดี๋ยวชีวิตคนเรามันจะง่ายเกินไป มันจะไม่เห็นความยากลำบากของชีวิต...

เพระว่าอะไรที่มันได้มากันง่ายๆ มันก็ไม่เห็นคุณค่ากัน...

Monday, January 25, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย เป็นผี วีซ่าขาด ขอวีซ่าอะไรได้มั่ง


สำหรับคนที่เป็นผี วีซ่าขาด นี่คือรายชื่อของวีซ่า subclass ต่างๆที่เราสามารถสมัครได้:

– Special Eligibility (residence)
– Child (residence)
– Partner (temporary)
– Partner (residence)
– Protection (ถ้ายังไม่เคยสมัครมาก่อน)
– Medical treatment (visitor)
– Territorial asylum (residence)
– Border (temporary)
– Special category (temporary)
– Bridging A
– Bridging B
– Bridging C
– Bridging D
– Bridging E

อย่างที่บอกเอาไว้นะครับ นี่คือรายชื่อของวีซ่า subclass ที่คนเป็นผี หรือวีซ่าขาดสามารถสมัครได้ แต่จะผ่านหรือไม่ผ่านนั้น แต่ละ subclass จะมี requirement ไม่เหมือนกัน เราก็ต้องดูกันไปเป็น case-by-case

นอกจากวีซ่าจากรายการด้านบนแล้ว มันก็ยังมีวีซ่าบางจำพวก ที่คนเป็นผี หรือวีซ่าขาดสามารถสมัครได้เช่นเดียวกัน แต่เราจะไม่ขอนำมาเสนอก็แล้วกัน เพราะวีซ่าประเภทนี้ เราต้องดูคุณสมบัติอะไรอีกหลายๆอย่าง

เราขอบอกเฉพาะคนที่เป็นลูกค้าเราเท่านั้น...

Sunday, January 24, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย เป็นผี วีซ่าขาด ไม่ได้น่ากลัวอย่างที่เราคิด


เป็นผี วีซ่าขาด ไม่จำเป็นต้องอยู่อย่างหวาดระแวง ไม่จำเป็นต้องอยู่อย่างหลบๆซ่อนๆ ไม่ต้องอยู่เป็นเบี้ยล่างของใคร ไม่จำเป็นต้องให้ใครมาข่มขู่ รีดไถ หรือทำให้ความเป็นมนุษย์ของเรามันถดถอยน้อยลงไป

แนะนำให้คนที่เป็นผี พวกวีซ่าขาด ให้ดำเนินชีวิตไปตามปกติเหมือนคนอื่นๆโดยทั่วไป เพียงแต่ว่าเราทำงานไม่ได้ ก็เท่านั้นเอง... ตรงนี้มันไม่มีทางเลือกจริงๆ

สาเหตุที่เราบอกว่าคนที่เป็นผี วีซ่าขาด ไม่จำเป็นต้องอยู่อย่างหวาดระแวงนั้นก็เพราะว่า
  • ช่วงที่เศรษฐกิจโลกมีการถดถอย Global Financial Crisis (GFC) ในช่วงรัฐบาลของ Kevin Rudd, รัฐบาลชุดนั้นได้มีการลดค่าใช้จ่ายด้วยการลดจำนวนพนักงานข้าราชการของกระทรวงอิมมิเกรชั่นไป 10% ซึ่งก็ถือว่าเยอะมาก หลังจากนั้นเป็นต้นมา การที่อิมมิเกรชั่นจะออกไปตรวจจับคนที่วีซ่าขาดนั้นแทบจะไม่มีเลย เพราะว่าทางอิมมิเกรชั่นเองก็ขาดบุคากรทางด้านนี้
  • ทางอิมมิเกรชั่นเองตอนนี้ จะออกจับกุมพวกที่เป็นผี วีซ่าขาด ก็ต่อเมื่อมีคนแจ้งข้อมูลเข้ามาเท่านั้น อิมมิเกรชั่น จะไม่แบบว่า จู่ๆก็มาเคาะประตูหน้าบ้านเรา ไม่ใช่นะครับ คือต้องมีคนแจ้งข้อมูลเข้าไป
  • ดังนั้นถ้าเราใช้ชีวิตไปตามปกติ เราไม่ได้ไปเหยียบหางใคร คิดว่าคงจะไม่มีใครมาคิดร้ายอะไรกับเรา เราก็ไม่ควรที่จะตื่นเต้น หรือนอนหวาดผวาไปสะทุกคืน เดี๋ยวจะกลายเป็นโรคจิตกันพอดี (เอ๊ะ..... หรือว่าเป็นไปแล้ว!!!)

ทนายความหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์ทุกคน มีหน้าที่ที่จะให้ความช่วยเหลือและปกป้องทุกคนที่เข้ามาปรึกษา เพราะว่านั่นมันเป็น code of conduct ที่พวกเราต้องทำตาม เพราะถ้าไม่ทำตาม นั่นก็หมายถึงว่าใบประกอบวิชาชีพ license เราอาจจะโดนยึดได้ ดังนั้นการที่คนเราเป็นผี วีซ่าขาดนั้นก็ไม่จำเป็นต้องอยู่อย่างหวาดผวาหรือกลัวว่า เวลาไปปรึกษาทนายความหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์แล้ว เราจะมีการแจ้งจับ

ผิดครับ ตรงกันข้าม เราปกป้อง ให้คำแนะนำและให้ความช่วยเหลือต่างหากหละ

เราเองก็ขอประณามคนที่คอยกดขี่ข่มเหงคนที่เป็นผี วีซ่าขาด

การกดกี่ข่มขู่ และเอารัดเอาเปรียบเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน ทำอะไรต่อไปในชีวิตก็คงไม่เจริญหรอก 

คิดใหม่ กลับตัว กลับใจ สังคมจะให้อภัยมั๊ย เราไม่รู้ แต่เราหนะคงไม่ เพราะเราไม่ชอบ...

สถานการณ์ชีวิตของแต่ละคนมันไม่เหมือนกัน ให้โอกาสกับคนอื่นบ้าง ให้ที่กับคนอื่น ที่ให้เขาได้ยืน ได้หายใจบ้าง ถ้าคนเรามันเลือกได้ เราก็คิดว่าเขาคงไม่อยากมาเป็นผี วีซ่าขาด กันหรอก

ปัญหาทุกอย่างมันต้องมีทางออกสิ... ขอให้เรารู้เรื่องกฏหมายบ้าง รู้การเปลี่ยนแปลง และการผลันเปลี่ยนนโยบายของรัฐบาล 

ถ้ามัวแต่จับกลุ่มคุยกันแบบแม่บ้านๆ คำตอบที่ได้ก็จะได้แบบแม่บ้านๆ 

เอ๊ะ.... เป็นแม่บ้านแล้วมันผิดตรงใหน
ไม่ผิดจ๊ะ แต่ก็คุยกันเรื่องแม่บ้านๆ หนะดีแล้ว แบบว่า ไปกินข้าวที่ใหน ดูทีวีรายการอะไร จะบินแล้วนะค่ะ เที่ยวบินใหน ทักมาได้ อะไรประมาณนี้ ไม่ต้องคุยเรื่องกฎหมาย!!!

Saturday, January 23, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย วีซ่า subclass 457 แต่ละ stage


อย่างที่เคยกล่าวเอาไว้แล้วว่า การสมัครวีซ่า subclass 457 นั้นมี 3 ขั้นตอน 3 stages:

- Stage 1: Standard Business Sponsorship (SBS)
- Stage 2: Nomination
- Stage 3: Visa Application


แต่ละขั้นตอนมีความยากและความง่ายที่แตกต่างกัน ดังที่ได้เขียนเอาไว้ใน blog นี้แล้ว

แต่ละขั้นตอนก็มีระยะเวลาในการพิจารณาที่แตกต่างกันออกไปเช่นเดียวกัน แต่ที่แน่ๆคือ
  • ถ้า stage 1 (SBS) ไม่ผ่าน, stage 2 และ stage 3 ก็จะไม่ผ่านไปด้วย
  • ถ้า stage 1 ผ่าน, แต่ stage 2 ไม่ผ่าน, stage 3 ก็จะไม่ผ่านอยู่ดี
  • การที่คนสมัครจะได้วีซ่า subclass 457 การสมัครทุกขั้นตอน ต้องผ่านหมด
ดังนั้นถ้าหากใครไม่รีบมาก วีซ่ายังไม่หมดง่าย เราก็แนะนำให้สมัครไปทีละ stage, อาจจะช้าหน่อย แต่ก็ sure กว่ากันเยอะ เพราะว่าถ้า เกิด stage 1 หรือ stage 2 ไม่ผ่าน เป็นการยากมากที่เราจะขอค่าสมัครคืนจากอิมมิเกรชั่น

ตรงกันข้าม หากคนใหนวีซ่าใกล้จะหมด ไม่มีทางเลือกอื่นแล้ว ก็สามารถยื่นเรื่องเข้าไปทั้ง 3 ขั้นตอนได้เลยพร้อมๆกัน แต่ก็อยากจะให้ระลึกไว้เสมอว่า ไม่ว่าจะขั้นตอนใดขั้นตอนหนึ่งไม่ผ่าน ขั้นตอนสุดท้าย stage 3 ก็จะพลอยไม่ผ่านไปด้วย แต่ถ้ายื่น onshore เราก็สามารถอุทรณ์ได้ตามปกติ แต่ก็เสียเวลา เสียตังค์และที่แน่ๆคือเสียความรู้สึก

ถ้าไปเป็นได้ ก็แนะนำให้ทุกคน ดำเนินเรื่องเอาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆ โดยเฉพาะขั้นตอนที่ 1 และขั้นตอนที่ 2 ถ้าพร้อมเมื่อไหร่ก็ทำขั้นตอนที่ 1 และขั้นตอนที่ 2 รอเอาไว้เลย จะได้ไม่ยุ่งยากทีหลัง

ถ้าเรามีเวลาพอ หรือไม่รีบมากนัก ถ้าเราสามารถสมัครไปทีละ stage แบบนี้ เราก็จะ safe ตัวเราเองได้ดีกว่า...

Friday, January 22, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย วีซ่า subclass 457 กับระยะเวลาที่เปิดทำการ


สำหรับธุรกิจที่ต้องการทำเรื่องสปอนเซอร์คนงาน หรือสปอนเซอร์ตัวเองแบบ self-sponsored สิ่งที่ควรรู้ก็คือ 
  • new business หรือธุรกิจใหม่ที่เปิดทำงานน้อยกว่า 12 เดือนจะสามารถทำเรื่องสปอนเซอร์ Standard Business Sponsor (SBS) ได้แค่ 1-1.5 ปีเท่านั้น ขึ้นอยู่ว่าเราเปิดทำการมาแล้วกี่เดือน
  • ธุรกิจที่เปิดทำการมาแล้วเกิน 12 เดือนสามารถทำเรื่องสปอนเซอร์ได้ 5 ปี
และการเปิดธุรกิจในที่นี้ก็คือต้อง actively operated  นะครับ คือเปิดทำการ เปิดทำมาค้าขายจริงๆ ไม่ใช่แค่จดทะเบียนการค้าเฉยๆ

สำหรับคนที่ทำ self-sponsored จึงสำคัญมากกับการวางแผนว่าต้องทำอะไรมั่ง โดยเฉพาะคนที่วีซ่าใกล้จะหมด เพราะโดยปกติแล้วคนไทยที่ทำ self-sponsored กันส่วนมากก็จะเปิดร้านอาหารหรือไม่ก็ร้านนวด เพราะว่าเป็นธุรกิจที่เปิดกันง่าย

ธุรกิจร้านอาหารสามารถสปอนเซอร์พนักงานได้ในตำแหน่ง
  • Chef
  • Restaurant Manager
ธุรกิจร้านนวดสามารถสปอนเซอร์พนักงานได้ในตำแหน่ง
  • Massage Therapist
ธุรกิจร้านอาหาร ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นร้านอาหารไทยนะครับ จะเป็นร้านอาหารอะไรก็ได้

ธุรกิจร้านนวดก็เหมือนกัน ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นร้านนวดไทย จะเป็นนวดแบบใหนก็ได้ นวดแบบจีน หรือแบบฝรั่งอะไรก็ได้หมด

และปกติแล้ว 99.99% ของคนที่ทำวีซ่า subclass 457 วีซ่าทำงาน ท้ายที่สุดแล้ว แทบทุกคนก็อยากจะขอ PR เพื่อที่จะเป็นคนที่อยู่ที่นี่ได้ถาวร

แต่การขอ PR นั้น ถ้าถือวีซ่า subclass 457 เราก็ต้องทำงานให้กับธุรกิจนั้นๆเป็นเวลาอย่างน้อย 2 ปี ถึงจะสามารถขอ PR ได้ แต่ถ้าร้านหรือธุรกิจเองสามารถสปอนเซอร์พนักงานได้แค่ 1-1.5 ปี เราก็ต้องมาทำเรื่อง approve ร้านเพื่อที่จะสปอนเซอร์พนักงานอีกรอบ หลังจากธุรกิจเองเปิดทำการมาแล้วเกิน 12 เดือน เพื่อที่จะให้เขาทำงานต่อได้ถึง 2 ปี เพื่อที่จะขอ PR ได้

สำหรับคนที่ถือวีซ่านักเรียนมา ก็ลองบวกลบคูณหาร ค่าใช้จ่ายดูว่า กับท่าเทอมที่ต้องจ่ายและต้องไปเรียน เปรียบเทียบกับค่าใช้จ่ายของการทำวีซ่า subclass 457, 2 รอบ อันใหนมันจะคุ้มมากกว่ากัน

แต่ละคนสถานการณ์ไม่เหมือนกัน ก็แนะนำให้เลือกเอาที่เหมาะกับตัวเองที่สุดนะครับ

Tuesday, January 19, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย วีซ่า subclass 457, stage 2 Nomination


วันนี้เรามี case studies จาก Austlii นะครับ สำหรับคนที่ภาษาอังกฤษดี ลองอ่านกันดูนะครับ

พวกนี้ไม่ใช่ลูกค้าเรานะครับ….. เราต้องออกตัวไว้ก่อน 

Case 1:
คนจีนตั้งบริษัทเอง เป็นพวกร้านขายเนื้อ ทำวีซ่า subclass 457 แบบ self-sponsor ตำแหน่ง Sales and Marketing Manager อยากจะบอกว่า ตำแหน่งพวกนี้ โดน reject กันที่ stage 2 ทั้งนั้นแหละ appeal ไปก็ไม่ผ่าน

http://www.austlii.edu.au/au/cases/cth/AATA/2015/3916.html


Case 2:

อีก case หนึ่ง เป็นธุรกิจ cleaning บริษัททำความสะอาด พวกที่ทำ subclass 457 แบบ self-sponsored เหมือนกัน ตำแหน่ง 
- Business Development Manager และ 
- Sales and Marketing Manager 

ตำแหน่งพวกนี้ โดน reject กันที่ stage 2 ทั้งนั้นแหละ appeal ไปก็ไม่ผ่าน

ดังนั้น stage 2 nomination, การทำ genuine position สำคัญมากนะครับ ถ้าเป็นไปได้ก็ควรให้ expert หรือ professional เขาทำกัน เพราะถ้าไม่อย่างนั้นก็คงเป็นพวก เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย

Sunday, January 17, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย วีซ่า subclass 457, Stage 2 Nomination ที่ชอบมีปัญหากัน


วีซ่า subclass 457 มี 3 stages คือ:

- Stage 1: Standard Business Sponsorship; ขั้นตอนนี้คือการทำเรื่องเพื่อขอว่าธุรกิจหรือนายจ้างมีความประสงค์ที่จะทำการว่าจ้างพนักงานต่างด้าวมาทำงาน และธุรกิจเองก็ต้องโชว์ว่าธุรกิจมีศักยภาพทางการเงินดีพอที่จะจ้างพนักงานมาทำงานด้วย และธุรกิจก็ควรจะมี record ว่าธุรกิจเองได้มีการจ้างพนักงานที่เป็นคนที่นี่ด้วย; PR หรือ citizen

- Stage 2: Nomination; ขั้นตอนนี้คือการยื่นเสนอไปที่อิมมิเกรชั่นว่าธุรกิจเรามีความจำเป็นที่จะต้องจ้างพนักงานในตำแหน่งนี้ยังไง การยื่นข้อมูลก็ต้องสมเหตุสมผล เพราะถ้าไม่อย่างนั้นทุกธุรกิจก็คงจะขอวีซ่า subclass 457 กันเต็มไปหมด เพราะวีซ่า 457 ถูกออกแบบมาเพื่อให้ธุรกิจหรือนายจ้างสามารถหาคนงานมาทำงาน เพื่อเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของประเทศ

- Stage 3: Visa Application; คือขั้นตอนการตรวจเช็คคุณสมบัติของคนขอวีซ่าว่าเขามีคุณสมบัติ วุฒิการศึกษา และประสบการณ์เหมาะสมกับตำแหน่งที่จะมีการว่าจ้างหรือเปล่า

Stage 2 เป็นอีกหนึ่ง stage ที่มักจะมีปัญหากัน เพราะคนที่ขอวีซ่า ทำเรื่องยื่นเข้าไปง่ายๆ เป็น application ที่ไม่สมบูรณ์ ข้อมูลไม่ครบ หรือไม่สามาถอธิบายว่าธุรกิจมีความจำเป็นที่จะต้องจ้างพนักงานต่างชาติมาทำงานยังไง

เนื่องด้วยทางรัฐบาลเองไม่ต้องการให้ธุรกิจหรือรายจ้างเอาเปรียบพวกแรงงานต่างชาติ นอกจากทางอิมมิเกรชั่นจะมีการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำเอาไว้แล้ว ทางอิมมิเกรชั่นก็ยังมีการกำหนด condition ของการทำงานทุกอย่างจะต้องไม่น้อยหรือด้อยไปกว่าพนักงานที่เป็นคนที่นี่; PR หรือ citizen เพราะถ้าไม่อย่างนั้น ธุรกิจหรือนายจ้างก็คงไปจ้างพนักงานต่างชาติกันหมด

condition ที่กล่าวถึงก็คือพวก วันหยุด holiday, sick leave, pay leave และชั่วโมงการทำงาน

งาน fulltime ที่ออสเตรเลียต้อง 38 ชั่วโมงต่อ 1 อาทิตย์นะครับ

ถ้าหากธุรกิจหรือนายจ้างไมีมีพนักงานที่เป็นคนที่นี่; PR หรือ citizen ทำงานในตำแหน่งที่มีการว่าจ้าง ทางธุรกิจจะต้องมีการโชว์ว่าทางธุรกิจเองได้ทำการ research มาแล้วว่าตำแหน่งงานนี้ ค่าจ้างต้องเท่าไหร่ working condition ต้องเป็นยังไง ทางธุรกิจหรือนายจ้างเองต้องมีการยื่นข้อมูลตรงนี้เข้าไปด้วย เราเรียก requirement ของ stage 2 Nomination ตรงจุดนี้ว่า "No equivalent worker" หากใครที่คิดจะยื่นวีซ่า subclass 457 เอง ก็ต้อง make sure ว่าเรา address requirement ตรงนี้ด้วย

นอกจากการพลาดในการตอบหรือให้ข้อมูลของ "No equivalent worker" แล้ว อีก 1 requirement ที่เราต้อง address ให้ได้ก็คือ "Genuine position" 

ธุรกิจหรือนายจ้างที่พลาดกันมากก็จะพลาดกันตรงนี้แหละ ตรงที่ต้อง address requirement ว่าตำแหน่งที่เราจะจ้างพนักงานนี้เป็นตำแหน่งที่ธุรกิจต้องการจริงๆยังไง

เราเคยเขียน blog เกี่ยวกับเรื่อง genuine position เอาไว้ก่อนหน้านี้แล้ว ยังไงก็ลองแวะเข้าไปอ่านกันได้นะครับ

2 requirements นี้เป็น requirement หลักๆของ stage 2 Nomination แต่ stage 2 เองก็มี requirement อื่นๆอีกมากมายนะครับที่เราต้อง address 

นี่แค่ 2 ในอีกหลายๆ requirement เท่านั้น...

Thursday, January 14, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย ค่าแรงขึ้นต่ำของวีซ่า subclass 457; Temporary Skilled Migration Income Threshold (TSMIT)


การทำงานที่ประเทศออสเตรเลียทุกสาขาอาชีพจะมีการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำที่ชัดเจน ซึ่ง FairWork Ombudsman จะเป็นหน่วยงานที่คอยดูแล ควบคุมและตรวจสอบในเรื่องของการจ่ายค่าแรงพนักงานที่ออสเตรเลีย ซึ่งคนที่ทำงานที่ประเทศออสเตรเลียก็จะมีความรู้เรื่องนี้กันอยู่แล้ว จะมีก็แต่คนที่มาจากประเทศอื่นนี่แหละ ที่ไม่ค่อยรู้เรื่องนี้ว่าตัวเองมาทำงานที่ประเทศออสเตรเลียแล้ว ต้องได้ค่าแรงขั้นต่ำอะไร ยังไง

เพื่อเป็นการป้องกัน (ป้องกันอะไรไม่ได้มากเลย) การเอารัดเอาเปรียบแรงงานที่มาจากต่างประเทศ โดยเฉพาะแรงงานที่มาทำงานด้วย วีซ่า subclass 457 ทางอิมมิเกรชั่นได้มีการกำหนดค่าแรงขั้นต่ำของคนที่ถือวีซ่า subclass 457 ว่าต้องมีค่าแรงขั้นต่ำเท่าไหร่ๆ เพราะว่าทางอิมมิเกรชั่นเองไม่ต้องการให้นายจ้างเอารัดเอาเปรียบพนักงานที่ทำงานด้วยวีซ่า 457 

หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ ทางอิมมิเกรชั่นเองไม่ต้องการให้นายจ้างไปจ้างพนักงานด้วยวีซ่า subclass 457 มาถูกๆ แล้วไม่มีการว่าจ้างพนักงานที่เป็นคน local เลย (PR หรือ citizen).

แต่ค่าแรงขั้นต่ำนี้ทางอิมมิเกรชั่นเป็นหน่วยงานที่กำหนดออกมาเอง ไม่เกี่ยวอะไรกับ Fairwork Ombudsman 

ค่าแรงขั้นต่ำของคนที่ถือวีซ่า subclass 457 เราเรียกกันว่า Temporary Skilled Migration Income Threshold หรือ TSMIT ซึ่ง TSMIT จะมีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลาขึ้นอยู่กับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจ 

TSMIT ปัจจุบันอยู่ที่ $53,900 และก็บวกกับ super contribution อีก 9.50% (super จะมีการขึ้นทุกๆ financial year 0.25% จะกว่า super จะถึง 12%)

ปี 2016, ทางอิมมิเกรชั่นจะมีการ review ว่า TSMIT ปัจจุบันซึ่งอยู่ที่ $53,900 นั้นยัง OK อยู่มั๊ย ยังเหมาะกับสถานการณ์ทางเศรษฐกิจอยู่หรือเปล่า หรือว่าควรจะมีการปรับขึ้น-ลง มากน้อยแค่ใหน

อิมมิเกรชั่นจะมีการ review TSMIT ประมาณปลายเดือน April 2016 เดี๋ยวเราก็คงได้ข่าวสารกันว่า TSMIT จะมีการเปลี่ยนแปลงยังไงกันบ้าง

ดังนั้นจึงสำคัญมากที่นายจ้างหรือเจ้าของธุรกิจ เวลาทำเรื่องขอวีซ่าให้กับพนักงาน visa subclass 457 ในจดหมายการจ้างงานหรือ contract of employment ค่าแรงจะต้องไม่ต่ำกว่า $53,900 เพราะถ้าค่าแรงต่ำกว่า TSMIT ($53,900) ทางอิมมิเกรชั่นเองก็จะไม่ approve การ sponsor คนมาทำงานด้วยวีซ่า subclass 457

Wednesday, January 13, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย จ่ายนายจ้างเพื่อทำวีซ่า subclass 457 มีความผิดทางอาญา


เมื่อวันที่ 14 December 2015 ที่ผ่านมา กหมายการเอาความผิดทางแพ่งและอาญาของการจ่ายนายจ้างเพื่อการทำวีซ่า subclass 457 ได้ผ่านสถาสูงและมีการประกาศออกมาใช้เป็นกฎหมายแล้ว

วีซ่า subclass 457 เป็นวีซ่าที่มีเอาไว้สำหรับนายจ้างหรือธุรกิจที่ต้องการสปอนเซอร์คนต่างชาติมาทำงาน เพราะว่านายจ้างหรือธุรกิจไม่สามารถหาพนักงานมาทำงานในตำแหน่งนั้นๆได้ พูดง่ายๆก็คือปัญหาการขาดแคลนแรงงาน

เพื่อเป็นการแก้ปัญหานี้ รัฐบาลก็ได้ออกแบบวีซ่า subclass 457 ออกมาเพื่อให้นายจ้างสามารถดำเนินธุรกิจได้ต่อไป เพื่อเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจ แต่ในขณะเดียวกันก็มีนายจ้างบางกลุ่มได้มีการเรียกเก็บเงินจากคนที่สมัครวีซ่า subclass 457 เพื่อเป็นการแลกเปลี่ยนกับการได้มาของวีซ่า subclass 457 สรุปก็คือ "ขายวีซ่า subclass 457" เพราะมีหลายๆคนที่ happy ที่จะจ่ายเงินเยอะเพื่อซื้อวีซ่า subclass 457 กัน อาจจะด้วยเพราะเหตุผลหลายๆอย่าง คืออยากมีชีวิตที่ดีขึ้น อยากทำเพื่อครอบครัว อยากให้ครอบครัวได้อยู่ที่นี่กัน

การซื้อขายวีซ่า subclass 457 ตั้งแต่วันที่ 14 December 2015 เป็นต้นมา ถือว่ามีความผิดทั้งทางแพ่งและทางอาญา ทั้งตัวนายจ้างเองและคนสมัครวีซ่าด้วย มีโทษทั้งจำและปรับ
  • ความผิดทางอาญา สามารถจำคุกได้ถึง 2 ปี และโดนปรับ $64,000 ต่อคน ถ้าเป็นบริษัทก็จะโดนปรับ $324,000
  • ความผิดทางแพ่ง ถ้าเป็นประเภทบุคคลก็จะโดนปรับ $43,200 ต่อคน แต่ถ้าเป็นบริษัทก็จะโดนปรับ $216,000
การซื้อขายวีซ่า subclass 457 นั้นผิดกฏหมายนะครับ ไม่แนะนำให้ทำกัน แทนที่จะซื้อขายวีซ่า subclass 457 ก็น่าจะเอาตังค์มาเปิดธุรกิจเองเลย อาจจะเปิดกันกับเพื่อนอะไรก็ว่าไป แล้วเอาธุรกิจนั้นสปอนเซอร์ตัวเองเป็นพวก self-sponsored เพราะว่า
  • ถูกกฏหมาย
  • มีรายได้ มีงานทำ มีเงิน
  • เป็นเจ้าของธุรกิจ และจะได้มีโอกาสสปอนเซอร์คนอื่นได้ด้วย ญาติๆหรือคนในครอบครัว
  • ถ้าต้นทุนมีไม่เยอะ ก็ลองหุ้นกันกับเพื่อนๆดู
แนะนำให้คิดอะไรให้รอบคอบก่อนที่จะทำอะไรกันนะครับ

Tuesday, January 12, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย เรียนมาแบบนี้ ประสบการณ์แบบนี้ ขอวีซ่า subclass 457 ได้หรือเปล่า

วีซ่ายอดฮิตของคนไทยอีกประเภทหนึ่งก็คือวีซ่าทำงาน หรือที่เรียกกันว่า วีซ่า subclass 457 และ 3 สาขาอาชีพยอดฮิตก็คือ
  • Chef
  • Restaurant Manager
  • Massage Therapist
หลายๆคนสงสัยว่าจะต้องเรียนอะไรมา จะต้องมีประสบการณ์อะไรมาถึงจะสามารถขอวีซ่าทำงานประเภทนี้ได้

เราไม่จำเป็นต้องเรียนมาตรงสาขาพอดีเป๊ะ ในการขอวีซ่า subclass 457 ขอให้เราเรียนในสาขาที่ใกล้เคียงก็เป็นพอ ก็เอาเป็นว่า "closely related" ก็แล้วกัน ส่วนใครจะมีความสามารถโชว์ว่าสาขาที่เราเรียนมานั้น "closely related" ขนาดใหน อันนั้นก็เป็นความสามารถเฉพาะตนนะครับ

เราสามารถเช็คได้ว่าสาขาอาชีพที่เราเรียนมานั้นอยู่ในสาขาอาชีพที่ใกล้เคียงกับตำแหน่งที่เราทำงานได้ด้วยการเข้าไปดูข้อมูลสาขาอาชีพที่กระทรวงสถิติแห่งชาติ ซึ่งก็เป็นแหล่งข้อมูลที่ทนายความและอิมมิเกรชั่นเอเจนท์ใช้กัน และที่แน่ๆก็คือเป็นข้อมูลที่ case officer ใช้อ้างอิงด้วย ดังนั้นเราก็จะได้ข้อมูลที่ถูกต้อง ข้อมูลที่ตรงกัน

ข้อมูลของกระทรวงสถิติแห่งชาติอยู่ที่ Australian Bureau of Statistics (ABS): http://www.abs.gov.au

ข้อมูลของตำแหน่ง:
ก็ลองศึกษาดูนะครับว่าวุฒิการศึกษาอะไรที่สามารถนำมาใช้ได้ในการทำวีซ่าทำงาน วีซ่า subclass 457

ยกตัวอย่างเช่น:

  • คนที่ต้องการทำงานในตำแหน่ง chef ก็ควรเรียนพวก Diploma in Commercial Cookery มา
  • คนที่ต้องการทำงานในตำแหน่ง Restaurant Manager ก็ควรเรียนพวก Diploma in Hospitality Manager, หรือพวก Tourism & Hotel, พวกการจัดการทั่วไป หรือการตลาด การบัญชี (Management, Marketing, Accounting...etc) หรือสาขาที่ใกล้เคียง
  • คนที่ต้องการทำงานในตำแหน่ง Massage Therapist ก็ควรจะเรียนพวก Diploma in Remedial Massage Therapist หรือสาขาที่ใกล้เคียง

นอกจากการขอวีซ่า subclass 457 แล้ว ข้อมูลตัวเดียวกันก็ยังสามารถนำเอามาใช้ในการขอ PR การเป็นคนที่นี่ถาวรได้ด้วย สำหรับคนที่ทำวีซ่า subclass 186 (ENS) และ subclass 187 (RSMS) แบบ Direct Entry คือขอเป็น PR ได้เลย ไม่ต้องถือวีซ่า subclass 457 เป็นเวลา 2 ปี



Saturday, January 9, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย Visa subclass 457, Self-sponsorship กับ genuine position


จากการเปลี่ยนแปลงเมื่อวันที่ 21 November 2015 ที่ผ่านมา (จริงๆคือ 9pm 20 November 2015 ที่อิมมิเกรชั่นมีการ shutdown ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเปลี่ยนแปลงพวก online application และเปิดให้ใช้อีกทีก็ 21 November เช้า)

วีซ่า subclass 457 ได้การเปลี่ยนแปลงแบบฟอร์ม online ของ stage 1, Standard Business Sponsor (SBS) ซึ่งตอนนี้มีการสอบถามรายละเอียดด้วยว่าใครเป็นเป็น director ของบริษัท ซึ่งก่อน 21 November 2015 จะไม่มีการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับ director ของบริษัท 

พอมีการสอบถามรายละเอียดโครงสร้างของบริษัท มันก็จะมีผลต่อเนื่องมาที่ Stage 2 ของวีซ่า Subclass 457 เพราะ Stage 2 คือ Nomination ซึ่งทางธุรกิจต้องมีการแจ้งความจำนงว่า ธุรกิจเองมีต้องการที่จะจ้างพนักงานหรือสปอนเซอร์พนักงานต่างชาติคนนี้ยังไง ทางธุรกิจเองมีความจำเป็นยังไง แล้วทำไมถึงไม่สามารถหาพนักงานที่เป็น local ที่เป็น PR หรือ citizen ไม่ได้ 

อันนี้ก็ต้องแล้วแต่ทักษะการเขียน persuasive writing ของคนที่ทำเรื่องนะครับว่าจะอธิบายเข้าไปยังไง จะเขียนบอก "ก็ฉันต้องการจ้างคนๆนี้หนะ" มันก็คงไม่ได้

โดยปกติแล้วการทำ Nomination ธุรกิจก็ต้องโชว์ว่าตำแหน่งงานที่มีการสปอนเซอร์นี้เป็นตำแหน่งจริงๆที่มีอยู่ในธุรกิจ เจ้าของธุรกิจไม่ได้สร้างตำแหน่งงานขึ้นมาเพื่อหวังผลทางวีซ่า จุดนี้แหละที่ธุรกิจหลายๆเจ้าจะมีปัญหากัน คือไม่สามารถอธิบายหรือแจกแจงเหตุผลให้กับอิมมิเกรชั่นได้อย่างชัดเจนว่าธุรกิจเรานั้นมีความจำเป็นที่จะต้องมีพนักงานในตำแหน่งนี้อย่างไร ธุรกิจเองไม่ได้สร้างตำแหน่งงานขึ้นมาเพื่อหวังผลทางอิมมิเกรชั่น

แล้วยิ่งถ้าเราเป็นพวก self-sponsored ด้วยแล้ว คือพวกที่เปิดบริษัทเอง แล้วทำเรื่องสปอนเซอร์ตัวเอง หรือคนในครอบครัว ดังนั้นคนที่นามสกุลเดียวกัน 99.99% จะถูกถามว่าเป็นอะไรกันกับ director ของบริษัท ดังนั้นคนที่เป็น self-sponsor หรือคนในครอบครัวที่ถูก nominate ตำแหน่งขึ้นมา ก็ต้องเตรียมตัว เตรียมใจ และเตรียมพร้อมในการตอบคำถามเกี่ยวกับ genuine position

ปกติแล้ว หลักในการตอบคำถาม genuine position มันก็มีความยากอยู่ในตัวของมันอยู่แล้ว ตอนนี้มาเจอข้อมูลของโครงสร้างของบริษัทและ director แล้ว มันยิ่งเป็นการเพิ่ม degree ของความยากเข้าไปอีก แต่ถ้าใครอยากจะมองว่ามันเป็นอะไรที่ท้าทายก็ไม่เป็นไร

ก็เข้าใจนะครับว่าวีซ่า subclass 457 มีการ scrutinize กันเยอะ และมีการ submit recommendation กันบ่อยมาก 

การ submit recommendation ก็คือกระทรวงอิมมิเกรชั่นจะมีการเปิดโอกาสให้กับกลุ่มทนายและอิมมิเกรชั่นเอเจนท์ หรือกลุ่มนักวิชาการที่เกี่ยวข้องได้ยื่นข้อเสนอแนะแนวทางการเปลี่ยนแปลงวีซ่า subclass 457 เพื่อให้วีซ่า subclass 457 ได้ทำหน้าที่ของวีซ่าที่ถูกออกแบบ คือจัดสรรค์หาพนักงานให้กับธุรกิจเพื่อเป็นการส่งเสริมธุรกิจและสร้างงาน ส่งเสริมเศรษฐกิจให้กับประเทศ

ดังนั้นหลังจาก 21 November 2015 เป็นต้นมา หลายๆคนที่คาดหวังกันเอาไว้ว่า จะใช้หลักการ self-sponsor ในการทำวีซ่าก็ต้องมีการเตรียมตัวกันให้ดีๆ เพราะคิดว่ายังไงก็ต้องโดนคำถามเกี่ยวกับ genuine position

Self-sponsor ยังสามารถทำวีซ่า subclass 457 ได้เหมือนเดิม เพราะว่ากฏหมายเองได้มีการอนุญาตให้ทำได้ เพียงแต่อิมมิเกรชั่นมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือ policy ในเรื่องของ self-sponsor ก็เท่านั้นเอง ตราบใดที่เราสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับ self-sponsor กับ genuine position ได้ วีซ่า subclass 457 ก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะยังไงเสีย policy ก็คือ policy ไม่ใช่กฏหมาย

ถ้าคนที่ไม่ได้ทำงานทางด้านกฏหมายอิมมิเกรชั่นก็อาจจะไม่รู้ความแตกต่างระหว่า policy กับกฏหมาย ก็ไม่เป็นไร ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของทนายหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์ก็แล้วกัน

มันก็อาจจะมีบ้างที่บางที case officer มือใหม่อาจจะไม่ approve stage 2 Nomination ของเรา แต่ปกติแล้ว self-sponsor ก็สามารถชนะได้ตอนที่ยื่นอุทรณ์ ขอให้เรามีความรู้เรื่องความแตกต่างระหว่าง policy กับกฏหมายก็เป็นพอ และทนายหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์สามารถนำเอากฏหมายจาก section ใหน section ใหน มาอ้างอิงในการยื่นอุทรณ์