Saturday, January 9, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย Visa subclass 457, Self-sponsorship กับ genuine position


จากการเปลี่ยนแปลงเมื่อวันที่ 21 November 2015 ที่ผ่านมา (จริงๆคือ 9pm 20 November 2015 ที่อิมมิเกรชั่นมีการ shutdown ระบบคอมพิวเตอร์เพื่อเปลี่ยนแปลงพวก online application และเปิดให้ใช้อีกทีก็ 21 November เช้า)

วีซ่า subclass 457 ได้การเปลี่ยนแปลงแบบฟอร์ม online ของ stage 1, Standard Business Sponsor (SBS) ซึ่งตอนนี้มีการสอบถามรายละเอียดด้วยว่าใครเป็นเป็น director ของบริษัท ซึ่งก่อน 21 November 2015 จะไม่มีการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับ director ของบริษัท 

พอมีการสอบถามรายละเอียดโครงสร้างของบริษัท มันก็จะมีผลต่อเนื่องมาที่ Stage 2 ของวีซ่า Subclass 457 เพราะ Stage 2 คือ Nomination ซึ่งทางธุรกิจต้องมีการแจ้งความจำนงว่า ธุรกิจเองมีต้องการที่จะจ้างพนักงานหรือสปอนเซอร์พนักงานต่างชาติคนนี้ยังไง ทางธุรกิจเองมีความจำเป็นยังไง แล้วทำไมถึงไม่สามารถหาพนักงานที่เป็น local ที่เป็น PR หรือ citizen ไม่ได้ 

อันนี้ก็ต้องแล้วแต่ทักษะการเขียน persuasive writing ของคนที่ทำเรื่องนะครับว่าจะอธิบายเข้าไปยังไง จะเขียนบอก "ก็ฉันต้องการจ้างคนๆนี้หนะ" มันก็คงไม่ได้

โดยปกติแล้วการทำ Nomination ธุรกิจก็ต้องโชว์ว่าตำแหน่งงานที่มีการสปอนเซอร์นี้เป็นตำแหน่งจริงๆที่มีอยู่ในธุรกิจ เจ้าของธุรกิจไม่ได้สร้างตำแหน่งงานขึ้นมาเพื่อหวังผลทางวีซ่า จุดนี้แหละที่ธุรกิจหลายๆเจ้าจะมีปัญหากัน คือไม่สามารถอธิบายหรือแจกแจงเหตุผลให้กับอิมมิเกรชั่นได้อย่างชัดเจนว่าธุรกิจเรานั้นมีความจำเป็นที่จะต้องมีพนักงานในตำแหน่งนี้อย่างไร ธุรกิจเองไม่ได้สร้างตำแหน่งงานขึ้นมาเพื่อหวังผลทางอิมมิเกรชั่น

แล้วยิ่งถ้าเราเป็นพวก self-sponsored ด้วยแล้ว คือพวกที่เปิดบริษัทเอง แล้วทำเรื่องสปอนเซอร์ตัวเอง หรือคนในครอบครัว ดังนั้นคนที่นามสกุลเดียวกัน 99.99% จะถูกถามว่าเป็นอะไรกันกับ director ของบริษัท ดังนั้นคนที่เป็น self-sponsor หรือคนในครอบครัวที่ถูก nominate ตำแหน่งขึ้นมา ก็ต้องเตรียมตัว เตรียมใจ และเตรียมพร้อมในการตอบคำถามเกี่ยวกับ genuine position

ปกติแล้ว หลักในการตอบคำถาม genuine position มันก็มีความยากอยู่ในตัวของมันอยู่แล้ว ตอนนี้มาเจอข้อมูลของโครงสร้างของบริษัทและ director แล้ว มันยิ่งเป็นการเพิ่ม degree ของความยากเข้าไปอีก แต่ถ้าใครอยากจะมองว่ามันเป็นอะไรที่ท้าทายก็ไม่เป็นไร

ก็เข้าใจนะครับว่าวีซ่า subclass 457 มีการ scrutinize กันเยอะ และมีการ submit recommendation กันบ่อยมาก 

การ submit recommendation ก็คือกระทรวงอิมมิเกรชั่นจะมีการเปิดโอกาสให้กับกลุ่มทนายและอิมมิเกรชั่นเอเจนท์ หรือกลุ่มนักวิชาการที่เกี่ยวข้องได้ยื่นข้อเสนอแนะแนวทางการเปลี่ยนแปลงวีซ่า subclass 457 เพื่อให้วีซ่า subclass 457 ได้ทำหน้าที่ของวีซ่าที่ถูกออกแบบ คือจัดสรรค์หาพนักงานให้กับธุรกิจเพื่อเป็นการส่งเสริมธุรกิจและสร้างงาน ส่งเสริมเศรษฐกิจให้กับประเทศ

ดังนั้นหลังจาก 21 November 2015 เป็นต้นมา หลายๆคนที่คาดหวังกันเอาไว้ว่า จะใช้หลักการ self-sponsor ในการทำวีซ่าก็ต้องมีการเตรียมตัวกันให้ดีๆ เพราะคิดว่ายังไงก็ต้องโดนคำถามเกี่ยวกับ genuine position

Self-sponsor ยังสามารถทำวีซ่า subclass 457 ได้เหมือนเดิม เพราะว่ากฏหมายเองได้มีการอนุญาตให้ทำได้ เพียงแต่อิมมิเกรชั่นมีการเปลี่ยนแปลงนโยบายหรือ policy ในเรื่องของ self-sponsor ก็เท่านั้นเอง ตราบใดที่เราสามารถตอบคำถามเกี่ยวกับ self-sponsor กับ genuine position ได้ วีซ่า subclass 457 ก็ไม่มีปัญหาอะไร เพราะยังไงเสีย policy ก็คือ policy ไม่ใช่กฏหมาย

ถ้าคนที่ไม่ได้ทำงานทางด้านกฏหมายอิมมิเกรชั่นก็อาจจะไม่รู้ความแตกต่างระหว่า policy กับกฏหมาย ก็ไม่เป็นไร ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของทนายหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์ก็แล้วกัน

มันก็อาจจะมีบ้างที่บางที case officer มือใหม่อาจจะไม่ approve stage 2 Nomination ของเรา แต่ปกติแล้ว self-sponsor ก็สามารถชนะได้ตอนที่ยื่นอุทรณ์ ขอให้เรามีความรู้เรื่องความแตกต่างระหว่าง policy กับกฏหมายก็เป็นพอ และทนายหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์สามารถนำเอากฏหมายจาก section ใหน section ใหน มาอ้างอิงในการยื่นอุทรณ์

No comments:

Post a Comment