Wednesday, March 30, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย Protection Visa วีซ่าผู้ลี้ภัยกับผี คนวีซ่าขาด ทำอะไรได้มั่ง



สืบเนื่องมาจาก blog อันก่อนว่า สรุปแล้ว Protection Visa วีซ่าผู้ลี้ภัยใช้ได้กับคนไทยจริงเหรอ 

สำหรับคนที่เป็นผี วีซ่าขาด ถ้ามันไม่มีทางเลือกอื่นแล้ว ก็สามารถสมัครขอ Protection Visa วีซ่าผู้ลี้ภัยได้นะครับ สมัครหนะสมัครได้ แต่จะให้ผ่านหนะคิดว่าคงยาก แต่ก็สามารถอุทรณ์ต่อเพื่อยืดเวลาได้

สรุปง่ายๆก็คือ แค่ซื้อเวลาเพื่อที่จะจัดการชีวิตอะไรสักอย่างเฉยๆ 

ก็ดีกว่าที่จะเป็นคนเถื่อนที่ไม่มีวีซ่า เพราะถ้าโดนจับมาก็จะเกิดเรื่องยุ่ง วุ่นวายอีก แต่ถ้าสมัคร Protection Visa วีซ่าผู้ลี้ภัยเข้าไป อย่างน้อยเราก็ได้ Bridging Visa มาถือเอาไว้

แต่ข้อเสียก็คือ Onshore visa processing time ของ Protection Visa วีซ่าผู้ลี้ภัย นั้นทำงานกันเร็วมาก ประมาณ 90 วัน หรือ 3 เดือนเอง

พอวีซ่าเราไม่ผ่าน เราก็สามารถอุทรณ์ได้ คราวนี้ดีหน่อย เพราะศาลที่ AAT ใช้เวลาในการพิจารณา case ประมาณ 400 วัน ก็ประมาณ 1 ปี กับอีก 1-2 เดือน

รวมกันเบ็ดเสร็จก็เป็นการซื้อเวลาไปได้ประมาณ 1 ปีครึ่ง (คร่าวๆ นะครับ คณิตคิดง่ายๆ)

บางคนก็เลือกที่จะซื้อเวลา 1 ปีครึ่งนี้ เพราะอย่างน้อยก็ดีกว่าเป็นผี หรือพวกวีซ่าขาด 

อย่างน้อยก็มีวีซ่าอะไรถืออย่างถูกต้องตามกฏหมาย เพราะ Bridging Visa เป็นวีซ่าอีกประเภทหนึ่งที่ถูกต้องตามกฏหมาย ต่อให้เป็น Briding Visa แบบใหนก็ตามเถอะ

เพราะจริงๆแล้วคนที่เป็นผี ในระยะเวลาหนึ่งปีครึ่งนี้ อะไรต่อมิอะไรก็เกิดขึ้นได้ ถ้าคุณสมบัติอะไรครบ เราก็สามารถยื่นทำเรื่อง ให้เป็นวีซ่าอย่างอื่นได้ อยากรู้ว่าเปลี่ยนเป็นวีซ่าตัวใหนได้บ้าง ติดต่อเราได้หลังไมค์นะครับ

Friday, March 18, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย Protection Visa วีซ่าผู้ลี้ภัยใช้ได้กับคนไทยจริงเหรอ



Protection Visa หรือวีซ่าสำหรับผู้ลี้ภัย เป็นวีซ่าสำหรับคนที่หนีภัยอะไรก็ตามแต่ ยกเว้นภัยธรรมชาติ คำว่าหนีภัยในที่นี่ก็หมายถึง ภัยที่เป็นอันตรายต่อชีวิตเรา ภัยที่เราไม่สามารถกลับไม่ประเทศเราได้ ส่วนมากพวกที่ขอ Protection Visa ก็จะเป็นพวกหนีภัยสงคราม พวกตะวันออกกลางที่ประเทศเขา บ้านเมืองเขามีสงครามกัน

หรืออีกประเภทหนึ่งก็จะเป็นพวกลี้ภัยทางการเมือง เพราะถ้าหากกลับประเทศไป ความปลอดภัยที่มีต่อชีวิตอาจจะไม่มี

แต่พวกที่ชอบคิดอะไรกันแปลกๆ คิดอะไรกันแผลงๆ พวกมักง่าย พวกที่แบบว่า เออหนะ ขอยื่นใบสมัครเข้าไปก่อน คิดอะไรไม่ออก อย่างน้อยก็ได้ Bridging Visa มา เผื่อฟลุ๊ก เผื่อจะได้ PR

หลายคนที่อยู่ที่นี่วีซ่าขาด ชอบมีคนแนะนำทำกันแบบนี้เหลือเกิน เพราะว่าคนที่วีซ่าขาดสามารถสมัคร Protection Visa วีซ่าสำหรับผู้ลี้ภัยได้ แต่ถ้าเราไม่มีภัยอะไรที่เป็นอันตรายต่อชีวิต เราก็สามารถกลับบ้านเกิดเมืองนอนเราได้ พอสมัครไป เรื่องมันก็ไม่ผ่านอยู่ดี มันก็เป็นช่องทางให้เราถูกหลอกเฉย ๆ

Tuesday, March 15, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย Australian Child Visa จะเอาลูกมาอยู่ที่นี่ ต้องทำอะไร ยังไงบ้าง


Child Visa ซึ่งชื่อก็บอกอยู่แล้วว่าเป็นวีซ่าสำหรับเด็ก Child Visa เป็นวีซ่าสำหรับพ่อแม่ที่เป็น PR, Citizen หรือ ชาวนิวซีแลนด์ ที่ต้องการทำเรื่องเอาลูกตัวเองที่ถูกต้องตามกฏหมาย มาอยู่ที่ออสเตรเลียแบบถาวร หรือ PR

คำว่า "ลูกที่ถูกต้องตามกฏหมาย" รวมไปถึง:

  • ลูกแท้ๆที่เกิดจากเรา ที่เกิดจากสายเลือด
  • ลูกบุญธรรม ที่ทำเรื่องถูกต้องตามกฏหมายแล้ว มีจดหมายจากเจ้าหน้าที่รับรองว่าลูกคนนั้น เป็นลูกบุญธรรมจริง
  • ลูกบุญธรรมจะมี special requirement นะครับคือ:
    • คนที่เป็นพ่อ/แม่บุญธรรม ต้องทำเรื่องก่อนที่เราจะเป็น PR หรือ citizen
    • ต้องเป็นลูกบุญธรรมก่อนอายุ 18 ปี
หลายคนคิดว่า Child Visa นี้มีไว้สำหรับทำเรื่องเอาลูกที่อายุต่ำกว่า 18 มาอยู่ที่ออสเตรเลีย จริงๆแล้วไม่ใช่นะครับ Child Visa นี้มีไว้สำหรับทำเรื่องเอาลูกที่อายุต่ำกว่า 25 ปี เพื่อที่จะมาอยู่ที่ออสเตรเลียนะครับ เพียงแต่ว่าคุณสมบัติของลูกที่อายุต่ำกว่า 18 ปี จะแตกต่างจากคุณสมบัติของลูกที่อายุต่ำกว่า 25 ปี ก็เท่านั้นเอง

คุณสมบัติของลูกที่อายุต่ำกว่า 18:
  • เป็นลูกที่ถูกต้องตามกฏหมาย
  • ยังเป็นโสด ไม่มี partner, อาจจะมีลูกติดเพราะความผิดพลาดในชีวิต นั่น นี่ โน่น ได้ แต่ต้องเป็นโสด
  • ผู้ปกครองอนุญาติให้เดินทางออกนอกประเทศได้

คุณสมบัติของลูกที่อายุระหว่าง 18 - ต่ำกว่า 25:
เนื่องด้วยลูกที่อายุ 18 ปีขึ้นไปถือว่าบรรลุนิติภาวะแล้ว คุณสมบัติของผู้สมัครก็จะแตกต่างไปจากลูกที่อายุต่ำกว่า 18 ปี คุณสมบัติของลูกที่อายุระหว่าง 18 - ต่ำกว่า 25 ปี ที่สามารถทำเรื่องขอเป็นคนที่นี่ แบบ Child Visa ได้ มีดังต่อไปนีั้

  • เป็นลูกที่ถูกต้องตามกฏหมาย
  • ยังเป็นโสด ไม่มี partner, อาจจะมีลูกติดเพราะความผิดพลาดในชีวิต นั่น นี่ โน่น ได้ แต่ต้องเป็นโสด
  • เนื่องด้วยลูกที่อายุเกิน 18 ปี นั้นถือว่าบรรลุนิติภาวะแล้ว ลูกต้องมีเหตุผลว่าทำเป็นยังเป็น dependent ของพ่อแม่อยู่ ทำไมยังขอเงินพ่อแม่ใช้อยู่ เหตุผลที่เราใช้กันส่วนมากก็คือลูกยังเป็นนักเรียน เรียนต่อ fulltime ก็เลยยังขอเงินพ่อแม่ใช้อยู่ หรืออีกลักษณะหนึ่งก็คือลูกอาจจะมีร่างกายหรือจิตใจที่ไม่สมบูรณ์ ยังต้องการการดูแลและการเอาใจใส่จากพ่อแม่
ถ้าหากคุณสมบัติของลูกครบ พ่อแม่ที่เป็น PR, Citizen หรือชาวนิวซีแลนด์ ก็สามารถทำเรื่องสปอนเซอร์ลูก ทำเรื่องให้ลูก ขอเป็นคนที่นี่ เป็น PR ได้นะครับ

Saturday, March 12, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย วีซ่าทำงาน subclass 457 จะบีบก็ตาย จะคลายก็รอด


1 ในวีซ่ายอดฮิตของคนไทยที่ต้องการมาอยู่ที่ออสเตรเลียอย่างถาวรก็คือการขอวีซ่าทำงาน subclass 457 เพราะหลังจากถือวีซ่า subclass 457 ได้ 2 ปีแล้ว เราก็สามารถทำเรื่องขอ PR (ENS subclass 186 หรือ RSMS subclass 187) เป็นคนที่นี่ได้

การที่เราถือวีซ่า subclass 457 เป็นเวลา 2 ปีกับนายจ้างคนปัจจุบัน ก็เพราะว่าเป็น stream อะไรที่ง่ายกว่าการขอเป็น PR เลยโดยตรง 

จริงๆแล้วถ้าเราไม่อยากที่จะถือวีซ่าทำงาน subclass 457 เป็นระยะเวลา 2 ปี เราก็สามารถทำได้โดยการขอเป็น PR เลยโดยใช้ Direct Entry Stream ของ ENS subclass 186 นั่นก็คือ คนสมัครจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้:

แต่เนื่องด้วย หลายๆคนไม่สามารถทำ PR แบบ Direct Entry ได้ อาจจะเป็นเพราะเหตุผลทางด้านภาษาอังกฤษ หรือเหตุผลทางด้านประสบการณ์ทำงานก็เป็นได้ หลายๆคนจึงเลือกที่จะทำวีซ่าทำงาน subclass 457 ก่อน 2 ปี แล้วค่อยสมัคร PR แบบ Transitional Stream ซึ่งก็จะเป็นอะไรที่ง่ายกว่า เพราะว่า requirement ทางด้านภาษาอังกฤษจะเป็นอะไรที่ง่ายกว่าคือ:
  • มีผลภาษาอังกฤษ IELTS (general) ค่าเฉลี่ยแค่ 5.0 และทุก part ต้องอย่างต่ำ 4.5 ถ้าไม่ต้องการสอบ IELTS ก็สามารถสอบภาษาอังกฤษประเภทอื่นๆได้ ก็ทำวีซ่า subclass 457 ได้แล้ว และหลังจากนั้น 2 ปี ก็ทำ PR แบบ Transitional Stream โดย มีผลภาษาอังกฤษ IELTS (general) ทุก part ต้องอย่างต่ำ 5.0 ซึ่งก็จะง่ายกว่า Direct Entry
สำหรับคนที่ทำวีซ่าทำงาน subclass 457 แบบ self-sponsorship มันก็ไม่มีปํญหาอะไร เพราะเราก็เป็นเจ้าของกิจการ แล้วเราก็ทำเรื่องสปอนเซอร์ตัวเอง ยังไงเสียมันก็ไม่มีความขัดแย้งกันอยู่แล้ว

แต่ปัญหาที่เราได้เห็นได้เจอก็คือ ปัญหาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ซึ่งบางทีดูๆแล้วมันก็เป็นปัญหาโลกแตก เพราะว่า:
  • ลูกจ้างในระหว่างที่ต้องทำงานให้กับนายจ้างให้ครบ 2 ปี ในระหว่างนี้นายจ้างมีสิทธิ์เปลี่ยนใจที่จะเลิกจ้าง หรือไม่ทำเรื่องสปอนเซอร์ได้ตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น ลูกจ้างทำงานกับนายจ้างมาแล้ว 1 ปี 11 เดือน กับ 29 วัน แล้วนายจ้างเปลี่ยนใจเลิกจ้าง และเลือกที่จะไม่ทำเรื่องสปอนเซอร์ต่อ ทุกอย่างก็จบ ดังนั้นในช่วง 2 ปีแรก ลูกจ้างก็เหมือนลูกไก่ในกำมือ จะบีบก็ตาย จะคลายก็รอด
  • ในขณะเดียวกัน ถ้านายจ้างได้ทำเรื่องสปอนเซอร์ลูกจ้าง ทำ PR (ENS subclass 186 หรือ RSMS subclass 187) แล้ว เนื่องด้วย PR ที่ได้มา ไม่ติด condition อะไร (NILL) ดังนั้นลูกจ้างถ้าหากได้ PR แล้วและเลือกที่จะโบกมือลา เขาก็สามารถทำได้ ถึงแม้ว่าตอนนี้ทางอิมมิเกรชั่นเองก็พยายามที่จะอุดรอยรั่วตรงจุดนี้ ด้วยการใส่ requirement เข้าไปตอนที่ลูกจ้างสมัคร PR ว่าเขาต้องทำงานกับนายจ้างอย่างต่ำ 2 ปี แต่จะมีสักกี่คนกันเชียวที่อ่าน requirement พวกนั้นจริงๆนอกจากทนายความหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์ เพราะส่วนใหญ่แล้ว ถ้าลูกจ้างเลือกที่จะโบกมืออำลา นายจ้างเองบางทีก็ไม่รู้ requirement และ obligation อะไรต่างๆ น้อยนักที่นายจ้างจะโทรไปแจ้งอิมมิเกรชั่น หรือต่อให้โทรไปแจ้งอิมมิเกรชั่นก็น้อยนักที่อิมมิเกรชั่นจะทำอะไร เพราะลูกจ้างได้ PR แล้ว case มันโดนปิดไปแล้ว และ PR ที่ได้มาก็ไม่ติด condition อะไร ไม่เหมือนวีซ่าทำงาน subclass 457 ที่มี condition ติดมาด้วยว่าลูกจ้างต้องทำงานกับนายจ้างนั้นๆ หรือนายจ้างกับลูกจ้างก็อาจจะเป็นคนที่รู้จักกัน เป็นญาติกัน บางทีมันก็อยู่ในสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้า คลายไม่ออก เหมือนกัน

จะด้วยปัญหาอะไรก็ตามแต่ เราก็แนะนำให้ทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งลูกจ้างและนายจ้าง นั่งจับเข่าคุยกัน คุยกันด้วยเหตุผล หาทางออกที่ดีที่สุด ให้เป็นประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่ายก็แล้วกันนะครับ

ให้ win-win ด้วยกันทั้งคู่...




Wednesday, March 9, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย ว่าด้วยเรื่องของวีซ่า subclass 457


วันนี้ดีใจกับน้อง P, น้อง B และลูกชายตัวเล็ก น้อง B-Junior ด้วยนะครับได้วีซ่าทำงาน subclass 457 ผ่านกันทั้งครอบครัวแล้ว

เมื่อไม่นานมานี้ น้อง P ติดต่อเข้ามาเพื่อที่จะทำวีซ่า subclass 457 

ทีแรกเราก็ plan กันเอาไว้แล้วว่าจะยื่นเดือนโน้นเดือนนี้ แต่อยู่มาได้ไม่นาน น้องก็โทรมาบอกว่า เนื่องด้วยน้อง B คุณสามีถือวีซ่า subclass 573 ที่ต้องเรียนมหาลัย แต่คุณน้องดันไปเรียนพวก college ซึ่งเป็น subclass 572 และอิมมิเกรชั่นส่งจดหมายมา intention of cancellation คือแบบว่าจะ cancel วีซ่า ให้อธิบายว่าทำไมน้องถึงไปเรียนผิด subclass อะไรประมาณนี้

เกิดเรื่องแล้วหละสิ เพราะคิดว่าน้องคงต้องโดน cancel วีซ่าแน่ๆเพราะน้องทำผิดจริง คือเรียนผิด subclass ผิด condition แต่พี่ J ก็ไม่ได้ไปวุ่นวายตรงจุดนั้น ก็ปล่อยให้เอเจนท์นักเรียนเขาเขียนจดหมายแก้ต่างอะไรของเขาไป แต่เราก็ต้องรีบทำเรื่องและสมัครวีซ่า subclass 457 ให้น้องเขา จำได้ว่า น้องติดต่อมาวันพฤหัส เราก็ต้อง drop everything ที่กำลังทำอยู่เลย เพราะกลัวว่าวีซ่าน้องจะโดน cancel คือเอาเป็นว่า ต้องรีบ submit เรื่องเข้าไปก่อน อย่างน้อยให้ได้ Bridging Visa A มาก่อน อย่างอื่นค่อยว่ากัน เอกสารค่อยทยอย upload เข้าไปทีหลัง

ช่วงนั้นเราก็เลยทำงานกันสายฟ้าแลบ LINE กันไปLINE กันเอา เอาเอกสาร เอาข้อมูล โทรด้วย email ด้วย เสร็จยื่นทั้ง 3 stages ภายใน 2 วัน เพราะเราไม่ชอบทำงานแบบพวก "เอิงเอย"

ถามว่ายื่นวีซ่า subclass 457 ภายใน 1-2 วันทำได้มั๊ย ทำได้นะ แต่จะไม่ขอทำอีก เพราะเป็นอะไรที่ stressful มาก แต่ที่ทำก็เพราะต้องการช่วยน้องก็แค่นั้นเอง และเราก็ทำกันช่วง weekend ด้วย

และแล้ววีซ่านักเรียนของน้องก็โดน cancel ไปตามความคาดหมาย แต่นั่นมันคือปัญหาของเอเจนท์นักเรียนที่ชอบเอานักเรียนมาเรียนผิด subclass กัน เราเคย blog เตือนกันไปแล้วหลายรอบ เอาเป็นว่า วันนี้ไม่ใช่ประเด็นที่ต้องการพูดก็แล้วกัน

หลังจากที่วีซ่าน้องโดน cancel เราก็จัดการทำเรื่อง Bridging Visa E ให้ครอบครัวน้องเขา เพื่อที่จะอยู่รอวีซ่าที่นี่ได้

ทุกอย่างผ่านไปได้ด้วยดี ครับครัวน้องได้วีซ่า subclass 457 แล้ว

oh...BTW, น้องเขาเป็นเจ้าของธุรกิจด้วยจ๊ะ สรุปคือทำพวก self-sponsorship

ใครบอกว่า self-sponsorship ทำไม่ได้เหรอ
ไม่จริงนะ ทำได้ แต่เอกสารจะเยอะมากขึ้นตอนทำ stage 2 Nomination

ถ้าเป็นคนชอบเขียน เป็นคนชอบอธิบาย ก็ไม่น่าจะมีปัญหาในเรื่องของการเขียนและอธิบายการทำ self-sponship ว่า position หนะ geunine ยังไง มีความจำเป็นยังไง ซึ่งเราก็ได้เขียน blog เอาไว้แล้วก่อนหน้านี้

ก็เอาเป็นว่า นี่ก็เป็นอีก another success story ก็แล้วกัน

ก็ให้เป็นอุทาหรณ์ว่า

  • อย่าเรียนอะไรผิด subclass
  • มีอะไร ให้เตรียมการไว้ตั้งแต่เนิ่น เพราะคิดว่ามีน้อยนักที่ทนายหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์จะรับ case emergency แบบนี้ อาจจะรับได้ แต่ต้องโดนฟันแพงๆๆ

Sunday, March 6, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย Partner Visa ของออสเตรเลีย ตอนที่ 5; คู่รักเพศเดียวกัน


เพื่อให้เข้าบรรยากาศ Sydney Gay and Lesbian Mardi Gras Parade ทุกเสาร์แรกของ March วันนี้เราขอเขียน blog เกี่ยว Partner Visa ของออสเตรเลีย แบบคู่รักเพศเดียวกันนะครับ

ที่ประเทศออสเตรเลียยังไม่มีกฏหมายรองรับการแต่งงานแบบเพศเดียวกัน แต่นั่นก็ไม่ได้เป็นอุปสรรคที่คู่รักแบบเพศเดียวกันจะทำเรื่องสปอนเซอร์หรือขอวีซ่าให้กับคู่รักของเขา

ความรักไม่มีพรหมแดน
ความรักไม่มีศาสนา
ความรักไม่มีการแบ่งเพศ

คู่รักแบบเพศเดียวกันสามรถทำเรื่องสมัคร Partner Visa เพื่อที่จะเป็นคนที่นี่ได้ 

การสมัคร Partner Visa ของคู่รักเพศเดียวกัน สามารถทำได้ 2 แบบคือ

อยู่กันแบบ de facto:
หากคู่รักคู่ใหน ได้ใช้ชีวิตคู่ร่วมทุกข์ร่วมสุขกันถึง 12 เดือนแล้ว ก็สามารถทำเรื่อง ขอสมัคร Partner Visa ได้ คำว่าร่วมทุกข์ร่วมสุขในที่นี้คือ การใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกันเลย ไม่ใช่เป็นแค่ boyfriend (ชาย-ชาย) หรือ girlfriend (หญิง-หญิง) ที่แบบว่าไปมาหาสู่ หรือแค่จีบกันไปจีบกันมาเฉยๆ 

การใช้ชีวิตคู่ คือแบบว่าได้ตกล่องปล่องชิ้นกันแล้ว

การใช้ชีวิตคู่อยู่ด้วยกันถึง 12 เดือน เราก็ต้องมีหลักฐานมาโชว์ด้วย ว่าเราอยู่ด้วยกันถึง 12 เดือนจริงๆ ไม่ใช่แค่อ้างเป็นแค่ลมปากเปล่าๆว่า เราอยู่ด้วยกันมา 12 เดือนแล้ว ดังนั้น เราก็ควรจะมีบิลหรือเอกสารต่างๆมาที่อยู่เดียวกัน อย่างนี้เป็นต้น หรือมีการเปิดบัญชีธนาคารร่วมกัน 

จด register of relationship:
การจด register of relationship ของแต่ละรัฐและเขตการปกครองพิเศษ จะไม่เหมือนกัน แต่เอาเป็นว่า ไม่ว่าเราจะจด register of relationship ที่รัฐหรือเขตการปกครองพิเศษที่ใหนก็ตาม เราสามารถใช้ใบเสร็จที่ได้จากการจด register of relationship มาทำเรื่องขอ PR แบบ Partner Visa ได้เลย

ข้อดีของการจด register of relationship คือ:
  • พอเราจด register of relationship แล้ว เราสามารถเอาใบเสร็จที่เราจ่ายตังค์มารีบสมัครและทำเรื่องได้เลย เราไม่จำเป็นต้องรอให้ได้ certificate ส่งมาที่บ้าน
  • การจด register of relationship ไม่ได้กำหนดว่าต้องอยู่ด้วยกันถึง 12 เดือน ดังนั้นใครที่อยากจะจด register of relationship ก็สามารถเดินจูงมือกันไปจดได้เลย

เนื่องด้วยกฏหมายที่ออสเตรเลียยังไม่มีการรองรับการแต่งงานแบบเพศเดียวกัน ดังนั้นคู่รักแบบเพศเดียวกันที่จดทะเบียนสมรสมาจากประเทศอื่น จะไม่สามารถเอาใบทะเบียนสมรสมาประกอบการและใช้เป็นเอกสารในการสมัคร Partner Visa

ถ้าจะสมัคร Partner Visa ของออสเตรเลีย ก็จะต้องทำเป็นแบบ de facto ที่อยู่ด้วยกันถึง 12 เดือน หรือแบบจด register of relationship เท่านั้น

นี่ก็เป็นข้อมูลของการทำ Partner Visa แบบคู่รักเพศเดียวกันที่ทุกคู่ควรจะรู้เอาไว้

เราก็ขออวยพรให้คู่รักทุกคู่ ได้ PR ได้วีซ่ากันอย่างที่หวังกันทุกคู่นะครับ...