Saturday, March 12, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย วีซ่าทำงาน subclass 457 จะบีบก็ตาย จะคลายก็รอด


1 ในวีซ่ายอดฮิตของคนไทยที่ต้องการมาอยู่ที่ออสเตรเลียอย่างถาวรก็คือการขอวีซ่าทำงาน subclass 457 เพราะหลังจากถือวีซ่า subclass 457 ได้ 2 ปีแล้ว เราก็สามารถทำเรื่องขอ PR (ENS subclass 186 หรือ RSMS subclass 187) เป็นคนที่นี่ได้

การที่เราถือวีซ่า subclass 457 เป็นเวลา 2 ปีกับนายจ้างคนปัจจุบัน ก็เพราะว่าเป็น stream อะไรที่ง่ายกว่าการขอเป็น PR เลยโดยตรง 

จริงๆแล้วถ้าเราไม่อยากที่จะถือวีซ่าทำงาน subclass 457 เป็นระยะเวลา 2 ปี เราก็สามารถทำได้โดยการขอเป็น PR เลยโดยใช้ Direct Entry Stream ของ ENS subclass 186 นั่นก็คือ คนสมัครจะต้องมีคุณสมบัติดังต่อไปนี้:

แต่เนื่องด้วย หลายๆคนไม่สามารถทำ PR แบบ Direct Entry ได้ อาจจะเป็นเพราะเหตุผลทางด้านภาษาอังกฤษ หรือเหตุผลทางด้านประสบการณ์ทำงานก็เป็นได้ หลายๆคนจึงเลือกที่จะทำวีซ่าทำงาน subclass 457 ก่อน 2 ปี แล้วค่อยสมัคร PR แบบ Transitional Stream ซึ่งก็จะเป็นอะไรที่ง่ายกว่า เพราะว่า requirement ทางด้านภาษาอังกฤษจะเป็นอะไรที่ง่ายกว่าคือ:
  • มีผลภาษาอังกฤษ IELTS (general) ค่าเฉลี่ยแค่ 5.0 และทุก part ต้องอย่างต่ำ 4.5 ถ้าไม่ต้องการสอบ IELTS ก็สามารถสอบภาษาอังกฤษประเภทอื่นๆได้ ก็ทำวีซ่า subclass 457 ได้แล้ว และหลังจากนั้น 2 ปี ก็ทำ PR แบบ Transitional Stream โดย มีผลภาษาอังกฤษ IELTS (general) ทุก part ต้องอย่างต่ำ 5.0 ซึ่งก็จะง่ายกว่า Direct Entry
สำหรับคนที่ทำวีซ่าทำงาน subclass 457 แบบ self-sponsorship มันก็ไม่มีปํญหาอะไร เพราะเราก็เป็นเจ้าของกิจการ แล้วเราก็ทำเรื่องสปอนเซอร์ตัวเอง ยังไงเสียมันก็ไม่มีความขัดแย้งกันอยู่แล้ว

แต่ปัญหาที่เราได้เห็นได้เจอก็คือ ปัญหาระหว่างนายจ้างกับลูกจ้าง ซึ่งบางทีดูๆแล้วมันก็เป็นปัญหาโลกแตก เพราะว่า:
  • ลูกจ้างในระหว่างที่ต้องทำงานให้กับนายจ้างให้ครบ 2 ปี ในระหว่างนี้นายจ้างมีสิทธิ์เปลี่ยนใจที่จะเลิกจ้าง หรือไม่ทำเรื่องสปอนเซอร์ได้ตลอดเวลา ยกตัวอย่างเช่น ลูกจ้างทำงานกับนายจ้างมาแล้ว 1 ปี 11 เดือน กับ 29 วัน แล้วนายจ้างเปลี่ยนใจเลิกจ้าง และเลือกที่จะไม่ทำเรื่องสปอนเซอร์ต่อ ทุกอย่างก็จบ ดังนั้นในช่วง 2 ปีแรก ลูกจ้างก็เหมือนลูกไก่ในกำมือ จะบีบก็ตาย จะคลายก็รอด
  • ในขณะเดียวกัน ถ้านายจ้างได้ทำเรื่องสปอนเซอร์ลูกจ้าง ทำ PR (ENS subclass 186 หรือ RSMS subclass 187) แล้ว เนื่องด้วย PR ที่ได้มา ไม่ติด condition อะไร (NILL) ดังนั้นลูกจ้างถ้าหากได้ PR แล้วและเลือกที่จะโบกมือลา เขาก็สามารถทำได้ ถึงแม้ว่าตอนนี้ทางอิมมิเกรชั่นเองก็พยายามที่จะอุดรอยรั่วตรงจุดนี้ ด้วยการใส่ requirement เข้าไปตอนที่ลูกจ้างสมัคร PR ว่าเขาต้องทำงานกับนายจ้างอย่างต่ำ 2 ปี แต่จะมีสักกี่คนกันเชียวที่อ่าน requirement พวกนั้นจริงๆนอกจากทนายความหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์ เพราะส่วนใหญ่แล้ว ถ้าลูกจ้างเลือกที่จะโบกมืออำลา นายจ้างเองบางทีก็ไม่รู้ requirement และ obligation อะไรต่างๆ น้อยนักที่นายจ้างจะโทรไปแจ้งอิมมิเกรชั่น หรือต่อให้โทรไปแจ้งอิมมิเกรชั่นก็น้อยนักที่อิมมิเกรชั่นจะทำอะไร เพราะลูกจ้างได้ PR แล้ว case มันโดนปิดไปแล้ว และ PR ที่ได้มาก็ไม่ติด condition อะไร ไม่เหมือนวีซ่าทำงาน subclass 457 ที่มี condition ติดมาด้วยว่าลูกจ้างต้องทำงานกับนายจ้างนั้นๆ หรือนายจ้างกับลูกจ้างก็อาจจะเป็นคนที่รู้จักกัน เป็นญาติกัน บางทีมันก็อยู่ในสถานการณ์ที่กลืนไม่เข้า คลายไม่ออก เหมือนกัน

จะด้วยปัญหาอะไรก็ตามแต่ เราก็แนะนำให้ทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งลูกจ้างและนายจ้าง นั่งจับเข่าคุยกัน คุยกันด้วยเหตุผล หาทางออกที่ดีที่สุด ให้เป็นประโยชน์ทั้ง 2 ฝ่ายก็แล้วกันนะครับ

ให้ win-win ด้วยกันทั้งคู่...




No comments:

Post a Comment