Monday, December 20, 2021

Partner Visa: quote ราคา

"Partner Visa: quote ราคา"


Partner Visa, ราคาค่าบริการ professional service fee (no refund) ของเรา แต่ละ case ไม่เหมือนกัน แล้วแต่ความยากง่าย


แล้วแค่คดีและประวัติอาชญกรรมของคนสมัครหรือคนสปอนเซอร์


เพราะคนที่เข้ามาหาเรามีผ่านโลกอันโชกโชนมาแล้วทั้งนั้น
เพราะที่ case ง่าย ๆ เขาก็ทำกันเองอยู่แล้ว


เราจะไม่ quote ราคาของเราจนกว่าเราได้เห็น police check ของทั้งคนสมัครและคนสปอนเซอร์


เรามี 8 คำถามส่งให้ potential ลูกค้าเสมอ
8 คำถามนั้นต้องตอบมาก่อนครับ เราถึงจะ quote ราคาให้ได้


เราไม่ quote ราคาอะไรจากปากเปล่า


เพราะเราเคยโดนมาแล้วที่บอกว่าตัวเองไม่มีคดี ไม่มีประวัติอาชญกรรม
แต่พอทำ police check ออกมาแล้วมี criminal record 2 หน้ากระดาษ A4 ซึ่งเราคิดว่ามันไม่แฟร์กับเราและทีมงาน เพราะคนสมัครหรือคนสปอนเซอร์ที่มี criminal record ความยากมันยากมากถึงมากที่สุด มันต้อง spend time ในการทำ case แล้วเราก็ไม่เคย charge ลูกค้าเพิ่มกับเวลาที่เราต้อง spend เพิ่มเข้าไป บริษัทเราไม่ค่อย charge อะไรหยุมหยิม ปวดหัว เรา charge เป็น case เป็น package ไปเลย


ใครที่สนใจทำ case กับเราก็ทำ police check เอาไว้เลยครับ
1 ใน 8 คำถามที่เราส่งไป ก็จะมีการบอกการทำ police check ด้วย
ถ้าทำไม่ได้ก็บอกเรา เราก็จะมี video clip การทำ police check ด้วย ง่าย ๆ ไม่ยาก


บริษัทของเราทำงานเป็นแบบนี้ครับ
ที่อื่นทำแบบไหน เราไม่รู้
แต่เราสะดวกแบบนี้


#JMigrationTeam
#MARN0851174

Sunday, December 19, 2021

Student Visa offshore; same-sex

"น้องอีกไม่นาน" กับ "น้องนานแค่ไหน" เป็นคู่รักเพศเดียวกัน

ตอนนี้น้องอยู่เมืองไทยด้วยกันทั้งคู่

น้องทั้งสองต้องการทำขอวีซ่านักเรียนและก็ทำเรื่องมาพร้อมกัน ไม่อยากแยกกันมา ไม่อยากอยู่แยกกัน

เนื่องด้วยเมืองไทย คู่รักเพศเดียวกันยังไม่สามารถแต่งงานกันได้ แต่เราก็สามารถยื่นมาด้วยกันแบบ de facto ได้


เราแนะนำให้ "น้องอีกไม่นาน" และ "น้องนานแค่ไหน" ยื่นเรื่องพร้อมกัน ไม่ต้องยื่นแยกหลายที ปวดหัว แต่น้องทั้งสองต้องมีเอกสารยืนยันความสัมพันธ์ว่าเป็น partner กันจริง ใช้ชีวิตคู่ร่วมกันจริง ไม่ใช่แค่แฟนจีบกันไปจีบกันมา


น้องทั้งสองจะต้องโชว์ว่าน้องทั้งสองมี commitment การใช้ชีวิตคู่ร่วมกัน ตกล่องปล่องชิ้น ถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร


เอกสารร่วมกันที่น้องทั้งสอง "น้องอีกไมานาน" กับ "น้องนานแค่ไหน" ควรมีคือ:

- บัญชีคู่ที่เปิดร่วมกันเกิน 12 เดือน

- อยู่บ้านหลังเดียวกัน มีชื่อในทะเบียนบ้านเดียวกันเกิน 12 เดือน

- หรือถ้าอยู่ condo หรือเช่า condo ก็มีชื่อร่วมกัน ค่าน้ำ ค่าไฟ นั่น นี่ โน่น เกิน 12 เดือน บางคนอยู่หอด้วยกันช่วงที่เรียนด้วยกันเกิน 12 เดือนก็ใช้ได้ครับ


ก็แค่นี้แหละ หลักฐานในการแสดงความสัมพันธ์ของคู่รักเพศเดียวกัน สำหรับคู่ที่ยังไม่ได้แต่งงานหรือแต่งงานกันไม่ได้นะครับ เพราะเมืองไทยยังแต่งงานแบบเพศเดียวกันไม่ได้ ล้าหลังไปนิสต์ อาจจะ busy ปลูกผักชีอยู่ หรือตัดสินใจอยู่ว่าจะขึ้นทางด่วนดีหรือไม่ หรือว่าจะเลี้ยงไก่ 2 ไว้กินไข่ดี อย่าเพิ่งฆ่าไก่


anyway, ไม่ว่าจะอะไร ยังไง ก็ตามแต่ เราขอเอาใจช่วยทุกคนจ๊ะ

ขอให้ไปให้ถึงฝั่งฝัน


วีซ่านักเรียน ถ้าทำเรื่อง เราก็แนะนำให้ทำเรื่องมาพร้อมกันเลยครับ ไม่ต้องแยกกันมา ขี้เกียจยื่นเรื่องหลายรอบ ทำทีเดียวให้มันจบ ๆ ไปเลย และคู่รักก็จะไม่ได้แยกกันอยู่ด้วย


สู้ ๆ นะจ๊ะ "น้องอีกไม่นาน" กับ "น้องนานแค่ไหน"

Friday, December 10, 2021

Partner Visa; Domestic Violence จักรวาลนฤมิต

 

Partner Visa, ก่อนที่ case officer จะ process ข้อมูลของคนสมัคร case officer จะต้อง process คุณสมบัติของคนสปอนเซอร์ก่อน ถึงแม้ตอนนี้เราสามารถยื่นเรื่องได้พร้อมกันก็ตามเถอะ ต่อไปอาจจะต้องทำเรื่องของสปอนเซอร์ให้เป็น approved sponsored ก่อน คนสมัครถึงจะยื่นเรื่องได้ (รอประกาศของอิมมิเกรชั่น)

การที่สปอนเซอร์จะสามารถสปอนเซอร์ใคร someone ได้นั้น ตัวสปอนเซอร์เองก็ต้องมีคุณสมบัติที่ดี ที่โปร่งใสด้วย

สปอนเซอร์ที่มีคดีต่าง ๆ ก็จะมีปัญหาเสมอ โดยเฉพาะถ้าคดีหรือประวัติอาชญกรรมนั้น ๆ เกี่ยวกับ:
- คดียาเสพติด โดยเฉพาะการค้ายาเสพติด (ถ้าเสพเองก็ไม่ค่อยเท่าไหร่)
- คดีที่เกี่ยวกับอาวุธสงคราม
- คดีข่มขืน
- คดีอนาจารเด็ก child pronography
- คดีความรุนแรงภายในครอบครัว; domestic violence
และอื่น ๆ อีกมากมาย

ใครจะมีคดีอะไรมา เราอย่าเพิ่งด่วนตัดสินใคร
ทุกคนสามารถเริ่มต้นชีวิตใหม่ได้

เรื่องความรุนแรงภายในครอบครัวก็เหมือนกัน เรื่อง domestic violence เราอย่าเพิ่งไปตัดสินใคร ซักถามข้อมูลกันให้ละเอีดก่อนว่าคนสปอนเซอร์ได้ทำอะไรแบบนั้นจริง ๆ มั้ย เพราะบางทีการมี domestic violence เองคนที่ไปฟ้องก็อาจจะเกิดจากความหวาดกลัวและอารมณ์ชั่ววูบ มันอาจจะไม่ใช่การทำร้ายร่างกายกันจริง ๆ อาจจะเป็นการส่ง SMS มาขู่หรือด่าทอ ซึ่งจริง ๆ มันก็ไม่น่าจะเกิดขึ้นแหละ อาจจะด้วยความที่หวาดกลัวหรืออารมณ์ชั่ววูบของอีกฝ่ายที่เข้าไปแจ้งความกับตำรวจ ซึ่งเราก็เห็นด้วยที่เขาทำแบบนั้น ทุกชีวิตไม่ควรอยู่ด้วยความหวาดกลัว

หลาย ๆ ครั้งที่คนทั้ง 2 กลับมาคืนดีและปรับความเข้าใจกัน แต่สิ่งที่เขาเคยโดนแจ้งความไปแล้ว หรือสิ่งที่เขาเคยขึ้นศาลมา คดีอะไรต่าง ๆ มันจะติดตัวเราไปตลอดชีวิต จะทำ police check กี่รอบมันจะติดออกมาด้วย ระบบกฎหมายที่นี่ไม่เหมือนที่เมืองไทย

คนสปอนเซอร์ที่มีคดีหรือประวัติอาชญกรรมของ domestic violence อาจจะไม่ได้เป็นเหมือนสิ่งที่มันเขียนออกมาใน police check ก็ได้ เราก็ต้องสัมภาษณ์ ซักประวัติข้อมูลของลูกค้าก่อนเสมอ

"น้องจักวาล" กับ "น้องนฤมิต" ติดต่อเข้ามาทำเรื่อง Partner Visa กับ P' J

P' J ก็เห็นแล้วแหละว่าน้องจักวาลเองก็เคยประวัติหรือคดีอะไรมาบ้าง P' J ก็อธิบายถึงความยากและ complication ที่จะตามมาและลองให้น้องจักวาลกับน้องนฤมิตลองติดต่อบริษัทอื่นก่อน ลองติดต่อทนายหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์อื่นก่อนว่ามีใครจะรับทำ case นี้หรือเปล่า เพราะ P' J เอง case ก็เยอะและสังขารก็ล่วงโรยไปตามอายุขัย วัย "21" 

คงจะเป็นบุพเพอาละวาดของพวกเราแหละ 
หากน้องจักวาลและน้องนฤมิตติดต่อไปหลายบริษัท ไม่มีใครรับทำ case ของน้องเลย เนื่องด้วยประวัติอะไรต่าง ๆ นานา

ก็คงต้องเป็น P' J สินะ รู้ทั้งรู้ว่ายาก
ใจอ่อนเสมอ ถ้าเข้าถูกทาง
แต่ P' J ก็อธิบายและ lay down the implication ต่าง ๆ และ step ในการทำ 1-2-3-4 เพราะความยากของ case ของคนสปอนเซอร์ที่มีประวัติ domestic violence

หลังจากที่ยื่นเรื่องไป

เป็นไปตามคาดทุกอย่าง คือ case officer บอกว่าคนสปอนเซอร์มีประวัติ domestic violence ดังนั้นมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมในการทำเรื่องสปอนเซอร์ Partner Visa....blah...blah...

เรื่องพวกนี้ P' J เตรียมการเอาไว้แล้วจ๊ะ
เพราะเราจะขอดู police check ของคนสปอนเซอร์ก่อนที่จะรับเรื่องหรือไม่รับเรื่องเสมอ

เอาเป็นว่า P' J และทีมงานรู้ว่าจะต้องทำอะไรบ้าง

ขอบคุณทั้งน้องจักวาลและน้องนฤมิตที่ไม่ดื้อ
P' J บอกให้ทำอะไร น้องทั้ง 2 ก็ทำตามทุกอย่าง อย่างไม่มีเงื่อนไข
ถึงแม้ว่ามันอาจจะหมายถึงการขับรถ 3 ชั่วโมงเพื่อเอาไปเอกสารตัวนั้น

แน่นอน case นี้โดนลากยาวหลายปี
แต่เราก็ฝ่าฝันอุปสรรคไปด้วยกัน
คงจะเป็นบุพเพอาละวาดจริง ๆ แหละ
เหนื่อยแต่คุ้มค่าแห่งการรอคอย

น้องนฤมิตตอนนี้วีซ่าผ่านแล้ว
ได้ TR และ PR พร้อมกันเลย เพราะ case โดนลากยาวมาหลายปีแล้ว

ช้าแต่ก็หายเหนื่อยเลย
อีก 12 เดือนน้องนฤมิตสามารถขอ citizen ได้เลย

แบบนี้ต้อง "จุดพลุ"
แบบนี้ต้องฉลอง
party ต้องมาละ
น้ำจิ้มซีฟุ๊ดหรือน้ำยำ J.Dok Jig ต้องถึงละ
สิ้นปีละ ปัง ปัง กันหน่อย 

สถานีต่อไป "citizenship" นะหนู

ขอบคุณที่เชื่อใจเรา
ขอบคุณที่เลือกใช้บริการของเรา
สินค้าดีใช้แล้วช่วยบอกต่อ

Sunday, December 5, 2021

Skill Assessment: Restaurant Manager

การทำ Skill Assessment ของ Restaurant Manager เพื่อทำวีซ่า subclass 494, subclass 190 และ subclass 491

ถ้าเราจบ Diploma of Hospitality Management:
- เราต้องมีประสบการณ์ในการทำงานในตำแหน่งของ Restaurant Manager อย่างน้อย 20 hr/week เป็นระยะเวลา 1 ปี

ถ้าจบการศึกษาอย่างอื่น ไม่ว่าจะเป็น:
1. Diploma in Business
2. Advanced diploma in Management
3. Advanced diploma in Marketing and Communication
4. Master of Professional Accounting หรือแม้แต่
5. Master of Business Administration; MBA

เราต้องมีประสบการณ์ในการทำงานในตำแหน่งของ Restaurant Manager อย่างน้อย 20 hr/week เป็นระยะเวลา 2 ปี

Restaurant Manager ทำ Skill Assessment กับ VETASSESS นะครับ

Friday, December 3, 2021

Bridging Visa E


Bridging Visa E ก็เป็นอีก Bridging Visa หนึ่งที่เราคิดว่าคนไทยน่าจะรู้กันไว้ ไม่ต้องไป worries เรื่อง Bridging Visa D หรือ Bridging Visa F เพราะโอกาสที่เราจะได้ใช้ Bridging Visa พวกนั้นมีน้อยมาก (D กับ F)

Bridging Visa E นั้นเป็น Bridging Visa อีก Bridging Visa ที่มีประโยชน์ต่อสถานะภาพของเรา  

Bridging Visa E มีไว้สำหรับคนวีซ่าขาดเท่านั้น ก็คือประมาณว่าแทนที่เราจะอยู่วีซ่าขาด ผิดกฏหมาย เราก็ทำเรื่องขอ Bridging Visa E ได้ อย่างน้อยก็จะได้มีวีซ่าถูกต้อง ไม่โดนจับ ไม่ต้องเข้าไปอยู่ศูนย์กักกัน detention centre

ในกรณีที่ทางอิมมิเกรชั่นมีการเข้าไปจับคนที่ไม่มีวีซ่า คนที่อยู่แบบผิดกฏหมาย ปกติทางอิมมิเกรชั่นก็จะออก Bridging Visa E ให้ได้เลยทันที เราไม่ต้องไปขอที่อิมมิเกรชั่น เจ้าหน้าที่ที่ทำการจับเรา สามารถออก Bridging Visa E ได้เลยตอนนั้น ถ้าเขามีคอมพิวเตอร์นะ หรือไม่เขาก็ต้องโทรเข้ามาที่อิมมิเกรชั่น) แล้วก็เราจัดการเรื่องตั๋วเครื่องบิน หรือเก็บข้าวของกลับประเทศ คืออย่างน้อย เราก็ถือวีซ่าอะไรสักอย่าง ไม่ได้วีซ่าขาดแล้ว เพราะคนต่างด้าวทุกคนอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียต้องมีวีซ่าอย่างใดอย่างหนึ่ง เพราะถ้าไม่มีวีซ่า ถือว่าอยู่แบบผิดกฏหมาย

อย่างน้อยถ้าเจ้าหน้าที่ออก Bridging Visa E ให้เรา ณ ตอนนั้น อย่างน้อยก็ถือว่าเราถือวีซ่า อย่างใดอย่างหนึ่งละ ไม่ได้อยู่อย่างผิดกฏหมาย ไม่มีวีซ่า หรือวีซ่าขาด

และอีกอย่างก็คือ ถ้าเราได้ Bridging Visa E แล้ว เราก็ไม่จำเป็นต้องโดนจับไปที่ศูนย์กักกัน พราะถ้าเราโดนจับไปที่ศูนย์กักกัน มันก็จะมีค่าใช้จ่ายมีเพิ่มเข้ามา ที่รัฐบาลของออสเตรเลียจะต้องออกจ่ายไปก่อน แล้วค่อยมาเก็บกับรัฐบาลไทยทีหลัง ซึ่งเสียทั้งเวลาและเป็นภาระของรัฐบาลทั้ง 2 ฝ่ายเปล่า ๆ

ข้อดีของการได้ Bridging Visa E ก็คืออย่างน้อยเวลาได้ Bridging Visa E เราก็ยังสามารถอยู่บ้านไม่ต้องโดนกักกัน ได้เก็บข้าวเก็บของ เตรียมตัวเดินทางกลับประเทศ ไม่ต้องรีบร้อนอะไรมากมาย 

สำหรับคนที่ต้องการอยู่ต่อเพื่อเก็บเอกสารร่วมกันกับแฟน เพื่อเตรียมตัวทำ Partner Visa ก็สามารถทำได้เช่นเดียวกัน ใช้เวลาในช่วงที่ถือ Bridging Visa E นี้ในการเก็บเอกสาร

Bridging Visa E:

1. ถ้าเราทำผิดวีซ่า condition แล้วโดนยกเลิกวีซ่า แต่เราก็ยังสามารถถือ Bridging Visa E เพื่ออยู่รอผลวีซ่าตัวใหม่ได้ ยกตัวอย่างเช่น วีซ่านักเรียน ทำเรื่องวีซ่าแต่งงาน แล้วไม่อยากไปเรียน เมื่อเราปล่อยให้โรงเรียนแจ้งอิมมิเกรชั่น แล้วยกเลิกวีซ่าเราไปเลย แล้วเราก็ทำเรื่องขอ Bridging Visa E เพื่อที่จะอยู่รอวีซ่าแต่งงานของเราได้ ไม่มีปัญหาอะไร ประหยัดตังค์ ไม่ต้องไปเรียนก็ได้

2. ถ้าเราวีซ่าขาด ถ้าเราไม่อยากอยู่ที่นี่แล้ว เราอยากจะกลับเมืองไทยแล้ว เราก็สามารถทำได้ด้วยการไปทำเรื่องขอ Bridging Visa E ที่อิมมิเกรชั่นที่ใหนก็ได้ พอเราได้ Bridging Visa E เราก็สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้ ซื้อตั๋วกลับประเทศไทยได้เลย

คือถ้าเราวีซ่าขาด ถ้าอยู่มาวันหนึ่งอยากจะกลับประเทศไทย ก็ไม่ใช่ว่าอยู่ดี ๆแล้วไปซื้อตั๋วเครื่องบิน แล้วเดินดุ่ม ๆ ไปที่สนามบินนะครับ จริง ๆ แล้วก็ทำได้ แต่ก็จะกลายเป็นเรื่อง เพราะเราไม่มีวีซ่า เดี๋ยวเจ้าหน้าที่อิมมิเกรชั่นก็ต้องมาสัมภาษณ์ นั่น นี่ โน่น ดีไม่ดีอาจจะไม่ทันขึ้นเครื่องก็ได้ วีธีที่ดีที่สุดก็คือไปขอ Bridging Visa E ก่อน แล้วค่อยไปซื้อตั๋วเครื่องบินกลับเมืองไทย แบบนั้นจะได้ไม่มีปัญหาที่สนามบิน จะได้เดินทางออกได้เลย เดินทางด้วยความราบรื่น


3. ถ้าวีซ่าปัจจุบันเรามีปัญหา จะด้วยอะไรก็ตามแต่แล้วยื่นเรื่องอุทรณ์ AAT (Administrative Appeals Tribunal) ไม่ทัน ปกติแล้ว case officer ก็จะไม่ใจร้ายเท่าไหร่ เราก็จขอ Bridging Visa E ได้ เพราะขอฟรี ทางเจ้าหน้าที่หรือ case officer จะออก Bridging Visa E ให้เราก็ต่อเมื่อ เรารู้ว่าเราจะยื่นวีซ่าตัวใหม่ภายใน 3-5 วัน 

สรุปคือถ้าอิมมิเกรชั่นให้ Bridging Visa E เรามา เราก็รีบรับเลยละกัน ดีกว่าอยู่แบบวีซ่าขาด พอได้ Bridging Visa E เราก็ค่อยทำเรื่องขอวีซ่าตัวใหม่ หาทางขยับขยายกันต่อไป แต่เราก็ต้องดูด้วยว่า Bridging Visa E สามารถสมัครวีซ่าตัวไหนต่อได้บ้าง หรือสมัครตัวไหนไม่ได้ ไม่ใช่เอะอะคิดอะไรไม่ออกก็ขอ Bridging Visa E 


โดยส่วนตัวแล้ว เราคิดว่า Bridging Visa E เป็น Bridging Visa อีกตัวหนึ่งที่ทำประโยชน์ได้หลายอย่างนะครับ จะคิดจะทำอะไรจะได้มีทางหนีทีไล่ได้ ก็ลองไปศึกษากันดู

Bridging Visa C


Bridging Visa C เป็น Bridging Visa สำหรับคนที่ไม่มี substantive visa เวลายื่นขอ substantive visa อะไรไปเข้าไป แทนที่จะได้ Bridging Visa A เหมือนคนอื่นทั่ว ๆ เราก็จะได้ Bridging Visa C นี้แทนนะครับ

คนที่ไม่มี substantive visa หมายถึง:
- คนที่ถือ Bridging Visa A, B หรือ C
- คนที่วีซ่าขาด

Note: ถ้าถือ Bridging Visa E เวลายื่นวีซ่าตัวอื่นเข้าไป ก็จะได้ Bridging Visa E ไม่ใช่ Bridging Visa C

Bridging Visa C มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

ข้อดีคือ:
จากที่วีซ่าขาด ตอนนี้เราก็สามารถยื่นวีซ่าได้แล้ว ไม่ต้องอยู่ต่อไปแบบกล้า ๆกลัว วีซ่าที่สามารถยื่นได้ก็มี วีซ่าแต่งงาน Partner Visa, visa พวก skilled migrant อย่างเช่น subclass 189 และวีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ subclass 482, subclass 186, subclass 494 เป็นต้น (ไม่ขออธิบายเรื่อง visa subclass 189, 482, 186 หรือ ภตภ ตรงนี้นะครับ ไม่งั้นจะยาวเกิน)

ข้อเสียคือ:

เดินทางออกนอกประเทศไม่ได้ ไม่เหมือน Bridging Visa A ที่สามารถขอเป็น Bridging Visa B ทำเรื่องเดินทางออกนอกประเทศได้ Bridging Visa C ถ้าออกไปแล้วก็ออกไปเลย

จริง ๆ แล้ว เราคิดว่า ข้อดีมันมากกว่าข้อเสีย


ก็เราวีซ่าขาดมาตั้งนานสองนาน เดินทางออกนอกประเทศไม่ได้อยู่แล้ว ถ้าออกไปก็โดน exclusion อีก คือเข้ามาอีกไม่ได้กี่ปี ๆ ก็ว่าไป ถ้าเราได้ Bridging Visa C แล้วเดินทางออกไปนอกประเทศไม่ได้ ก็ไม่เห็นเป็นไรหนิ อยู่ถือ Bridging Visa C เพื่อรอผลวีซ่าตัวใหม่ออก รออีกนิดหน่อยจะเป็นอะไรไป

Bridging Visa C มีแค่ให้เราอยู่ที่นี่เพื่อรอวีซ่าตัวใหม่จะออกเท่านั้น ส่วนวีซ่าตัวใหม่ จะผ่านหรือไม่ผ่านนั้นมันอีกคนละเรื่อง ขึ้นอยู่กับว่า เราจะ present ข้อมูลของเรายังไง เอกสารอะไรครบใหม

หลาย ๆ คนที่วีซ่าขาด พอยื่นวีซ่าตัวอื่นเข้าไป อย่างเช่น Protection Visa เป็นต้น (ไม่แนะนำ) พอได้ Bridging Visa C มา ก็เหมารวมไปว่าตัวเองนั้นได้ PR ไปแล้ว

มันไม่ใช่นะครับ

ลองศึกษาข้อมูลกันนิดหนึง

Bridging Visa C ไม่ใช่ PR
ไม่ได้หมายความว่าวีซ่าเราผ่าน คนที่ยื่น Protection Visa หรือวีซ่าลี้ภัยโปรดเข้าใจใหม่

"Bridge" แปลว่าสะพาน ข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
"Bridging Visa" หมายถึงวีซ่าที่ให้เรารอจากวีซ่าตัวหนึ่ง ไปเป็นวีซ่าอีกตัวหนึ่ง จะผ่านหรือไม่ผ่าน จะข้ามไปอีกฝั่งหนึ่งได้หรือไม่ อันนั้นหนะอีกเรื่องหนึ่ง