Friday, December 3, 2021

Bridging Visa C

Bridging Visa C เป็น Bridging Visa สำหรับคนที่ไม่มี substantive visa เวลายื่นขอ substantive visa อะไรไปเข้าไป แทนที่จะได้ Bridging Visa A เหมือนคนอื่นทั่ว ๆ เราก็จะได้ Bridging Visa C นี้แทนนะครับ

คนที่ไม่มี substantive visa หมายถึง:
- คนที่ถือ Bridging Visa A, B หรือ C
- คนที่วีซ่าขาด

Note: ถ้าถือ Bridging Visa E เวลายื่นวีซ่าตัวอื่นเข้าไป ก็จะได้ Bridging Visa E ไม่ใช่ Bridging Visa C

Bridging Visa C มีทั้งข้อดีและข้อเสีย

ข้อดีคือ:
จากที่วีซ่าขาด ตอนนี้เราก็สามารถยื่นวีซ่าได้แล้ว ไม่ต้องอยู่ต่อไปแบบกล้า ๆกลัว วีซ่าที่สามารถยื่นได้ก็มี วีซ่าแต่งงาน Partner Visa, visa พวก skilled migrant อย่างเช่น subclass 189 และวีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ subclass 482, subclass 186, subclass 494 เป็นต้น (ไม่ขออธิบายเรื่อง visa subclass 189, 482, 186 หรือ ภตภ ตรงนี้นะครับ ไม่งั้นจะยาวเกิน)

ข้อเสียคือ:

เดินทางออกนอกประเทศไม่ได้ ไม่เหมือน Bridging Visa A ที่สามารถขอเป็น Bridging Visa B ทำเรื่องเดินทางออกนอกประเทศได้ Bridging Visa C ถ้าออกไปแล้วก็ออกไปเลย

จริง ๆ แล้ว เราคิดว่า ข้อดีมันมากกว่าข้อเสีย


ก็เราวีซ่าขาดมาตั้งนานสองนาน เดินทางออกนอกประเทศไม่ได้อยู่แล้ว ถ้าออกไปก็โดน exclusion อีก คือเข้ามาอีกไม่ได้กี่ปี ๆ ก็ว่าไป ถ้าเราได้ Bridging Visa C แล้วเดินทางออกไปนอกประเทศไม่ได้ ก็ไม่เห็นเป็นไรหนิ อยู่ถือ Bridging Visa C เพื่อรอผลวีซ่าตัวใหม่ออก รออีกนิดหน่อยจะเป็นอะไรไป

Bridging Visa C มีแค่ให้เราอยู่ที่นี่เพื่อรอวีซ่าตัวใหม่จะออกเท่านั้น ส่วนวีซ่าตัวใหม่ จะผ่านหรือไม่ผ่านนั้นมันอีกคนละเรื่อง ขึ้นอยู่กับว่า เราจะ present ข้อมูลของเรายังไง เอกสารอะไรครบใหม

หลาย ๆ คนที่วีซ่าขาด พอยื่นวีซ่าตัวอื่นเข้าไป อย่างเช่น Protection Visa เป็นต้น (ไม่แนะนำ) พอได้ Bridging Visa C มา ก็เหมารวมไปว่าตัวเองนั้นได้ PR ไปแล้ว

มันไม่ใช่นะครับ

ลองศึกษาข้อมูลกันนิดหนึง

Bridging Visa C ไม่ใช่ PR
ไม่ได้หมายความว่าวีซ่าเราผ่าน คนที่ยื่น Protection Visa หรือวีซ่าลี้ภัยโปรดเข้าใจใหม่

"Bridge" แปลว่าสะพาน ข้ามจากฝั่งหนึ่งไปยังอีกฝั่งหนึ่ง
"Bridging Visa" หมายถึงวีซ่าที่ให้เรารอจากวีซ่าตัวหนึ่ง ไปเป็นวีซ่าอีกตัวหนึ่ง จะผ่านหรือไม่ผ่าน จะข้ามไปอีกฝั่งหนึ่งได้หรือไม่ อันนั้นหนะอีกเรื่องหนึ่ง

No comments:

Post a Comment