Wednesday, June 26, 2024

SAF; Skilling Australian Fund


SAF คือเงินที่ทางเจ้าของธุรกิจต้องจ่ายให้กับรัฐบาล ถ้าเจ้าของธุรกิจต้องการทำเรื่องสปอนเซอร์พนักงานต่างชาติด้วย วีซ่า subclass 482; TSS, Subclass 494, subclass 186 ENS และ subclass 187 RSMS


ทางรัฐบาลก็จะนำเอาเงินส่วนนี้ไปฝึกหัดแรงงานของประเทศออสเตรเลียเพื่อต่อไปในอนาคต ออสเตรเลียจะสามารถผลิตแรงงานในสาขาอาชีพต่าง ๆ เองได้ โดยที่เจ้าของธุรกิจหรือนายจ้างไม่จำเป็นต้องจ้างแรงงานต่างชาติอีกต่อไป

SAF หรือ Skilling Australian Fund นี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 12 August 2018 เป็นต้นไป


SAF สามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้

SAF คือรายจ่ายที่ทางธุรกิจหรือนายจ้างต้องจ่าย ไม่ใช่รายจ่ายของพนักงาน

วีซ่า subclass 482, TSS; Temporary Skill Shortage 
วีซ่า subclass 482 มี 3 stages คือ:
Stage 1: Standard Business Sponsor (SBS)
Stage 2: Nomination
Stage 3: Visa Application


สำหรับวีซ่า subclass 482 TSS, ถ้ายอดขายของธุรกิจน้อยกว่า $10,000,000 ต่อปี, ทางธุรกิจจะต้องจ่าย SAF เป็นจำนวน $1,200 ต่อปี 

ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าทางร้านต้องการสปอนเซอร์ cook เป็นเวลา 2 ปี
SAF ก็จะเป็น 
$1,200 x 2 = $2,400.00

หรือถ้าทางร้านต้องการสปอนเซอร์ chef เป็นเวลา 4 ปี
SAF ก็จะเป็น 
$1,200 x 4 = $4,800.00

สำหรับวีซ่า subclass 482 TSS, ถ้ายอดขายของธุรกิจถึง $10,000,000  ต่อปี หรือมากกว่า, ทางธุรกิจจะต้องจ่าย SAF เป็นจำนวน $1,800 ต่อปี 

ยกตัวอย่างเช่น
ถ้าทางร้านต้องการสปอนเซอร์ cook เป็นเวลา 2 ปี
SAF ก็จะเป็น 
$1,800 x 2 = $3,600.00

หรือถ้าทางร้านต้องการสปอนเซอร์ chef เป็นเวลา 4 ปี
SAF ก็จะเป็น 
$1,800 x 4 = $7,200.00

วีซ่า subclass 186 ENS และ วีซ่า subclass 187 RSMS
สำหรับวีซ่า subclass 186 และ  วีซ่า subclass 187
วีซ่า subclass 186 และ  วีซ่า subclass 187 มี 2 stages คือ:
Stage 1: Nomination
Stage 2: Visa Application

วีซ่า subclass 186 หรือ subclass 187 ก็ให้เอาวันที่ยื่น stage 1; Nomination เป็นหลัก

สำหรับวีซ่า subclass 186 หรือ subclass 187, ถ้ายอดขายของธุรกิจน้อยกว่า $10,000,000 ต่อปี, ทางธุรกิจจะต้องจ่าย SAF เป็นจำนวน $3,000 ต่อ 1 nomination

สำหรับวีซ่า subclass 186 หรือ subclass 187, ถ้ายอดขายของธุรกิจถึง $10,000,000  ต่อปี หรือมากกว่า, ทางธุรกิจจะต้องจ่าย SAF เป็นจำนวน $5,000 ต่อ 1 nomination

Monday, June 24, 2024

โรงงาน, Subclass 482: Production Manager


โรงงานทำขนมปัง อะไร ใด ๆ เอย
หรือทุกโรงงานที่มีเครื่องจักรกล
สามารถสปอนเซอร์พนักงานในตำแหน่ง "Production Manager" ได้นะครับ

1. ถือ Subclass 482: x 2 ปี

2. แล้วขอ PR ด้วย Subclass 186; Transitional Stream

Production Manager อยู่ใน short-term list ดังนั้นคุณสมบัติของคนสมัครควรมีดังต่อไปนี้

1. จบป.ตรี อะไรก็ได้ (เท่าที่เราทำมานะครับ) จบจากประเทศไหนก็ได้ และที่สำคัญคือไม่ต้องทำ Skill Assessment

2. ประสบการณ์ Production Manager ในโรงงาน 2 ปี full-time หรือ 4 ปี part-time (จนกว่ากฎจะเปลี่ยน)

3. ILETS (general) overall 5, each band 4.5 หรือใช้ผลการเรียน 5 ปี

4. ไม่กำหนดอายุ แต่ตอนขอ PR (Subclass 186) ต้องอายุต่ำกว่า 45 ปี

แทบทุกโรงงานขอ Production Manager ได้นะครับ
แค่ยอดขายอย่าให้ขี้เหล่มาก
และมีพนักงานที่เป็น PR/Citizen บ้าง

Sunday, June 23, 2024

01 July 2024; Subclass 482, Subclass 457, Subclass 494


เริ่ม 01 July 2024; Subclass 482, Subclass 457, Subclass 494

- เปลี่ยนนายจ้าง ให้เวลาในการแจ้งเรื่องไปที่อิมมิเกรชั่น 180 วัน (ประมาณ 6 เดือน) จาก 60 วัน

- ในระหว่างเปลี่ยนนายจ้าง หรือหานายจ้างใหม่ เราสามารถทำงานอื่น หรือรับ job อื่นรอได้

เอาจริง ๆ นะ

ถ้าไม่มีใครแจ้งอิมมิเกรชั่น อิมมิเกรชั่นไม่เคยรู้หรอกว่าเราเปลี่ยนงานหรือเปลี่ยนนายจ้าง

แค่มันจะมีปัญหาตอนนับประสบการณ์ต่อวีซ่า ต่อ PR; Subclass 186/187 Transitional Stream (TRT) แค่นั้นเอง

ถ้าเราอยู่เงียบ ๆ หานายจ้างใหม่ของเราไป
ก็ไม่เป็นอะไรนะ แค่เราไม่ไปเหยียบหางใครก็พอ

Tuesday, June 18, 2024

Skill Assessment สายงาน Architect


Skilled Migrant Visa; Subclass 189, Subclass 190, Subclass 491 สาย Architect หน่วยงานในการทำ Skill Assessment มีดังต่อไปนี้

1. Architect ทำ Skill Assessment กับ AACA

2. Landscape Architect ทำ Skill Assessment กับ VETASSESS

3. Naval Architect ทำ Skill Assessment กับ Engineers Australia

4. Architectural Draftsperson ทำ Skill Assessment กับ VETASSESS

5. Architectural, Building and Surveying Technicians (nec) ทำ Skill Assessment กับ VETASSESS

AACA: Architects Accreditation Council of Australi: https://aaca.org.au/

Engineers Australia: https://www.engineersaustralia.org.au/

VETASSESS: https://www.vetassess.com.au/

Saturday, June 15, 2024

เริ่ม 01 July 2024; วีซ่าเหล่านี้ไม่สามารถขอวีซ่านักเรียนภายในประเทศได้


เริ่ม 01 July 2024; วีซ่าเหล่านี้ไม่สามารถขอวีซ่านักเรียนภายในประเทศได้


Subclass 485 (Temporary Graduate)
Subclass 600 (Visitor)
Subclass 601 (Electronic Travel Authority)
Subclass 602 (Medical Treatment)
Subclass 651 (eVisitor)
Subclass 771 (Transit)
Subclass 988 (Maritime Crew)
Subclass 995 (Diplomatic Temporary) – primary visa holders only
Subclass 403 (Temporary Work) International Relations)) – Domestic Worker (Diplomatic or Consular) stream
Subclass 426 (Domestic Worker (Temporary) – Diplomatic or Consular)

Saturday, June 8, 2024

คำนวณ point ของ Skilled Migrant Visas; Subclass 189, Subclass 190, Subclass 491


การคำนวณ point ของ Skilled Migrant Visas; Subclass 189, Subclass 190, Subclass 491


  • Independent Skilled Migrant (subclass 189) คือการขอวีซ่าเป็น PR โดยใช้ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในการทำงานของตัวเอง ไม่ต้องให้ใครสปอนเซอร์ การที่จะ PR ด้วย subclass นี้เราต้องทำ point ให้ได้ 65 points ขึ้นไป

  • Skilled Nominated (Subclass 190) เป็นการขอ PR โดยให้รัฐบาลของแต่ละรัฐสปอนเซอร์ในสาขาอาชีพที่รัฐนั้นๆต้องการ การขอ PR ด้วย subclass นี้เราต้องทำ point ให้ได้อย่างต่ำ 60 points ก็พอ เพราะอีก 5 points รัฐแต่ละรัฐจะเป็นฝ่ายสปอนเซอร์เอง (60 + 5 = 65 points) 

  • Skilled Regional (subclass 491) เป็นการขอ PR โดยให้รัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละรัฐ (town council) ที่อยู่แถบนอกเมืองใหญ่ (regional area) หรือญาติที่อยู่แถบนอกเมืองใหญ่ (regional area) สปอนเซอร์ในสาขาอาชีพที่รัฐบาลท้องถิ่นนั้นๆต้องการ การขอ PR ด้วย subclass นี้เราต้องทำ point ให้ได้ 50 points ก็พอ เพราะอีก 15 points รัฐบาลท้องถิ่นหรือญาติเราที่อยู่ regional area จะเป็นฝ่ายสปอนเซอร์เอง (50 + 15 = 65 points)

การขอวีซ่าประเภทของ Skilled Migrant เราจะสามารถขอได้ก็ต่อเมื่อเราจบการศึกษามาในสาขาอาชีพที่ทางรัฐบาลออสเตรเลียต้องการ ซึ่งทางรัฐบาลจะมี Medium and Long‑term Strategic Skills List

การขอ PR ของ Skilled Migrant เหมาะสำหรับคนที่มีวุฒิทางการศึกษาสูง Skilled Migrant เป็นที่ต้องการของรัฐบาลในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะพรรคการเมืองใหนเป็นรัฐบาลก็เถอะ 

หลักในการคำนวณ point ของ Skilled Migrant มีดังต่อไปนี้

point ทุกอย่างคำนวณตอนที่ทำ EOI และข้อมูลทุกอย่างต้องเอาวันที่จดหมายเชิญ letter of invitation เท่านั้น ข้อมูลตรงนี้สำคัญเพราะว่าคะแนนในเรื่องของอายุและวันเกิดเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะถ้าจดหมายเชิญให้สมัครวีซ่าถูกส่งมาก่อนหรือหลังวันเกิดเราไม่กี่วันก็สามารถมีผลและปัจจัยต่อคะแนนของเราได้

1. อายุ
18-24 (ยังไม่ถึง 25); 25 points
25-32 (ยังไม่ถึง 33); 30 points
33-39 (ยังไม่ถึง 39); 25 points
40-44 (ยังไม่ถึง 45); 15 points


จะเห็นว่าคนที่มีอายุ 25-32 ปี จะได้ point สูงสุดคือ 30 points เพราะรัฐบาลถือว่าเป็นคนที่อยู่ในช่วงวัยทำงาน ถ้ามีคนทำงานก็แสดงว่าเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของออสเตรเลีย และมีคนเสียภาษีเยอะด้วย ดังนั้นอายุไม่ใช่เพียงแต่ตัวเลขนะครับสำหรับ Skilled Migrant อายุนั้นสำคัญในการนับ point

  • Competent English; IELTS 6 (general) each band/OET B หรือเทียบเท่า, สามารถสมัคร Skilled Migrant ได้ แต่ไม่มี point ให้
  • Proficient English; IELTS 7 (general) each band/OET B หรือเทียบเท่า, 10 points
  • Superior English; IELTS 8 (general) each band/OET A หรือเทียบเท่า, 20 points

3. ประสบการณ์การทำงานจากต่างประเทศ
ประสบการณ์จากประเทศใหนก็ได้ ขอให้ไม่ใช่ประเทศออสเตรเลีย เพราะประสบการณ์จากประเทศออสเตรเลียจะมีการนับ point ที่แตกต่างกันออกไป

ประสบการณ์ทำงานต้องเกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงกับสาขาอาชีพที่ทำเรื่องของ PR

ประสบการณ์ต้องเป็นประสบการณ์หลังจากที่เรียนจบเท่านั้น

ประสบการณ์ต้องเป็น 20 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ขึ้นไป (ซึ่งแตกต่างจากการทำ Direct Entry ของวีซ่า subclass 186)
  • 3 ปี แต่น้อยกว่า 5 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 5 points
  • 5 ปี แต่น้อยกว่า 8 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 10 points
  • 8-10 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 15 points

ดังนั้นถ้าเราทำงานที่ใหนก็อย่าลืมขอจดหมายผ่านงานเป็นภาษาอังกฤษไว้ด้วยนะครับ จดหมายผ่านงาน (work reference) ที่ใช้ในประเทศออสเตรเลียไม่ต้องลงค่าแรงนะครับ ลงข้อมูลแค่ตำแหน่งว่าเราทำงานในตำแหน่งอะไร มีหน้าที่อะไรบ้าง และเริ่มทำงานจากวันที่เท่าไหร่ ถึงวันที่เท่าไหร่

4. ประสบการณ์การทำงานที่ประเทศออสเตรเลีย
ประสบการณ์ทำงานต้องเกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงกับสาขาอาชีพที่ทำเรื่องของ PR

ประสบการณ์ต้องเป็นประสบการณ์หลังจากที่เรียนจบเท่านั้น

ประสบการณ์ต้องเป็น 20 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ขึ้นไป (ซึ่งแตกต่างจากการทำ Direct Entry ของวีซ่า subclass 186/187)

  • 1 ปี แต่น้อยกว่า 3 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 5 points
  • 3 ปี แต่น้อยกว่า 5 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 10 points
  • 5 ปี แต่น้อยกว่า 8 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 15 points
  • 8-10 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 20 points

5. การศึกษา
จากประเทศใหนก็ได้แต่ต้องได้มาตฐานของประเทศออสเตรเลีย สถาบันการศึกษาทุกสถาบันของเมืองไทยได้มาตฐานของประเทศออสเตรเลีย ดังนั้นคนที่เรียนจบจากเมืองไทย ไม่ต้องกังวลในจุดนี้ ประเทศที่จะมีปัญหาก็จะเป็นประเทศ Philippines อะไรประมาณนี้

การศึกษาเรานับ point เอาการศึกษาที่สูงที่สุด ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับสาขาอาชีพที่เราขอก็ตาม

  • ปริญญาเอก; 20 points
  • ปริญญาตรี-ปริญญาโท; 15 points
  • Diploma, ปวช-ปวส; 10 points

6. เรียนที่ประเทศออสเตรเลีย
เรียนอะไรก็ได้ที่ประเทศออสเตรเลียที่ course การเรียนเป็นหลักสูตรเวลาเรียนอย่างต่ำ 2 ปี โดยที่ไม่นับช่วงที่เรียนภาษาอังกฤษ, 5 points

7. โบนัส point ต่างๆ
  • สอบผ่านภาษาต่างประเทศ อย่างเช่นภาษาไทยเป็นต้น ที่รับรองโดย NAATI, ต้องสอบเป็นล่าม หรือ นักแปลระดับ paraprofessional level ขึ้นไป, 5 points
  • Skill assessment ของ partner ในสาขาอาชีพเดียวกันกับคนสมัคร;5 points
  • ถ้า partner ของเราสอบ IELTS general each band 6 หรือ PTE Academic 50 each band; 5 points
  • หรือถ้าเราเป็นโสด เราก็ได้ไปเลย 10 points
  • Professional year, 5 points
    • IT
    • Accounting
    • Engineering
  • เรียนที่ประเทศออสเตรเลียในสถาบันที่อยู่ regional area, 5 points

8. Bonus of the Bonus:
ถ้าเรียน 2 ปีที่ออสเตรเลีย หลักสูตร Master degree (research) หรือ PhD ที่อยู่ในสาขาดังนี้ ก็จะได้อีก 10 points

8.1 Natural and physical sciences:

biological sciences
chemical sciences
earth sciences
mathematical sciences
natural and physical sciences
other natural and physical sciences
physics and astronomy

8.2: Information technology
computer science
information systems
information technology
other information technology

8.3 Engineering and related technologies:
aerospace engineering and technology
civil engineering
electrical and electronic engineering and technology
engineering and related technologies
geomatics engineering
manufacturing engineering and technology
maritime engineering and technology
mechanical and industrial engineering and technology
other engineering and related technologies
process and resources engineering.

Copyright: ถ้าจะแชร์ให้แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น ไม่ copy & paste, ไม่ screen capture

AAT: refund หรือไม่ refund


1. AAT; Administrative Appeals Tribunal หรือศาลอุทธรณ์ เป็นหน่วยงานอิสระ ไม่ขึ้นตรงกับอิมมิเกรชั่น Department of Home Affairs แต่จะใช้กฎหมายอิมมิเกรชั่นตัวเดียวกันในการตัดสิน case

2. AAT ไม่ได้มีหน้าที่ในการออกวีซ่า แต่จะมีหน้าที่พิจารณาว่าศาลเห็นด้วยหรือไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของ case officer แค่นั้นเลยจริง ๆ

Outcome จะมีแค่ 2 อย่างคือ:
- เห็นด้วย (affirms) กับ
- ไม่เห็นด้วย (remits)

ถ้าศาลอุทธรณ์เห็นด้วยกับคำตัดสินของอิมมิเกรชั่น แสดงว่าเราแพ้

ถ้าศาลอุทธรณ์ไม่เห็นด้วยกับคำตัดสินของอิมมิเกรชั่น แสดงว่าเราชนะ

3. ถ้าเราชนะ เรื่องของเราก็จะถูกส่งกลับไปที่อิมมิเกรชั่นเพื่อ process ต่อไป

วีซ่าแต่ละ subclass มีหลาย criteria ในการพิจารณา
ถ้าเราชนะที่ศาลอุทธรณ์ครั้งนี้ ด้วยเรื่องนี้
แต่พอเรื่องถูกส่งกลับไปที่อิมมิเกรชั่น ทาง case officer ก็จะพิจารณา criteria ตัวอื่นด้วย เราอาจจะถูกปฏิเสธอีกรอบ ในอีก criteria อย่างอื่นก็เป็นได้ อันนี้ไม่แปลก

ถ้าโดนปฏิเสธอีก เราก็สามารถอุทธรณ์ได้อีก อันนี้ก็ไม่แปลก

4. ถ้าเราชนะ เราจะได้ค่าสมัครของ AAT คืน 50%

5. ถ้าเราแพ้ เราจะไม่ได้อะไรคืนเลย

6. ถ้าเราถอน (withdraw) เรื่องออกมาจาก AAT เราก็จะไม่ได้คืนเลยเช่นเดียวกัน และ Bridging Visa เราจะ active ไปอีก 35 วัน

7. ถ้าเราแพ้ Bridging Visa ของเรายัง active อยู่อีก 35 วัน ถ้าเราต้องยื่นเรื่องไปที่ศาลสูง เราก็สามารถทำได้ภายใน 35 วัน หรือบางคนก็เลือกที่จะส่งเรื่องต่อไปเป็น Ministerial Intervention ก็ได้

แปลเอกสาร


"แปลเอกสาร"

1. วีซ่าท่องเที่ยว ถ้ายื่นที่ไทย ไม่ต้องแปลเอกสารครับ เพราะ case officer เป็นคนไทย แต่ถ้ายื่น onshore เอกสารก็ต้องแปล แต่ไม่ต้อง NAATI

2. วีซ่าชั่วคราวทุกชนิด อย่างเช่น วีซ่านักเรียน Subclass 500, วีซ่าทำงาน Subclass 482, Subclass 494 หรือ Subclass 491 และ TR อื่น ๆ อีกมากมาย (Subclass 820/309) แปลเอกสารครับ แต่ไม่ต้อง NAATI

3. วีซ่าถาวร (PR) ทุกชนิด อย่างเช่น Partner Visa Subclass 801/100, วีซ่าทำงาน Subclass 186, Subclass 187 หรือ Subclass 191 และอื่น ๆ อีกมากมาย แปลเอกสารครับ แต่ไม่ต้อง NAATI

4. Citizenship ต้องแปลเอกสารครับ อันนี้ต้อง NAATI

บริษัทชอบเอกสารที่แปลมาแบบ full translation นะครับ ไม่ใช่ extract translation อันนี้ความชอบส่วนตัว ไม่มีถูกไม่มีผิด มันอ่านง่ายกว่า

ถ้าแปลแบบ extract มา P' J ก็ส่งไปแปลใหม่อยู่ดี (P' J จ่ายเอง) เวลาอ่านมันสบายตากว่า 🙂

Friday, June 7, 2024

Health Waiver; Skilled Migrant Visa vs Employer Sponsored



น้อง "เอว D" เรียนจบและทำงานในสาขาอาชีพที่อยู่ใน long-term list; Medium and Long‑term Strategic Skills List เอาเป็นว่าเป็นสาขาที่ in high demand และ high profile มาก

คือถ้าจะยื่น Skilled Independent Visa; Subclass 189 น้อง "เอว D" น้องจะถูก invite เลยทันที เพราะแต้มเขาก็ค่อนข้างเยอะ และเป็นอาชีพที่ high deman จริง ๆ

แต่ช่างน่าเสียดาย
สุขภาพของน้องไม่ดี 
ซึ่งถ้าตรวจสุขภาพก็คือจบเกมส์เลยทันที

เพราะ Skilled Migrant Visa; Subclass 189, Subclass 190 และ Subclass 491 ไม่มี Health Waiver

ช่างน่าเสียดายจริง ๆ เพราะสาขาอาชีพของน้อง "เอว D" เป็นที่ต้องการของประเทศออสเตรเลียมาก อยู่ใน Medium and Long‑term Strategic Skills List

อะไร ใด ๆ ทุกสิ่งอย่างมีทางออกเสมอ
ถ้าปรึกษาทุกที่ ปรึกษาถูกคน

Knowledge is KING 

Skilled Migrant Visa; Subclass 189/190/491 ไม่มี Health Waiver

แต่ Subclass 186, Subclass 187, Subclass 494 มี Health Waiver นะครับ

Health Waiver คือการขอทำเรื่องยกเว้น เรื่องปัญหาสุขภาพ เราเคยเขียนไปแล้ว ลองไล่อ่านดูนะครับ

Profile ของน้อง "เอว D" ดีมากถึงมากที่สุด:

1. อายุต่ำกว่า 45

2. สาขาอาชีพอยู่ใน Medium and Long‑term Strategic Skills List

3. มี Skill Assessment 

4. มีประสบการณ์ในการทำงานในตำแหน่งนั้น ๆ 3 ปี full-time หรือ 6 ปี part-time เอาหลาย ๆ ที่มารวมกันได้

5. มีสอบ ILETS 6 each band (general) หรือมากกว่า

6. มีนายจ้างที่พร้อมจะสปอนเซอร์เลยทันที

ดังนั้นน้อง "เอว D" ก็สามารถขอ PR ได้ด้วย Subclass 186; Direct Entry ได้เลยทันที

แล้วทำเรื่องยกเว้นในส่วนของเรื่องปัญหาสุขภาพเอา ซึ่งเราเรียกว่า Health Waiver

- Health Waiver เราเคยเขียนไปแล้วนะครับ ลองไล่อ่านดู

Subclass 186; Direct Entry:

1. ทำได้เฉพาะสาขาอาชีพที่อยู่ใน long-term list (Medium and Long‑term Strategic Skills Lis) เท่านั้น

2. คนสมัครไม่จำเป็นต้องทำงานกับนายจ้างคนนั้นมาก่อน

สาขาอาชีพใน short-term list; Short‑term Skilled Occupation List ก็มี pathway ไปเป็น PR นะครับ:

1. ขอวีซ่า Subclass 482

2. ถือ Subclass 482 กับนายจ้างนั้น ๆ เป็นระยะเวลา 2 ปี

3. แล้วขอ PR ด้วยวีซ่า Subclass 186; Transitional Stream (TRT) ซึ่งก็สามารถขอ Health Waiver ได้สำหรับน้อง "เอว D"

ทุกปัญหามีทางออกนะครับ
เรื่องบางเรื่องปรึกษาคนที่มี MARN นะครับ และก็ประสบการณ์ของเขาด้วย

MARN บางคนก็ไม่ออกสื่อนะครับ เขา "อาจจะ" มี something to hide หรือเขาอาจจะ busy มากก็ได้

เลือก MARN ที่ถูกจริตใครมันนะครับ

Copyright: ถ้าจะแชร์ให้แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น ไม่ cop & paste, ไม่ screen capture

Subclass 485: ไม่ใช่วีซ่าทำงาน


Subclass 485: ไม่ใช่วีซ่าทำงานนะครับ


1. Subclass 485; Temporary Graduate Visa คือวีซ่าให้มาเปล่า ๆ นะครับ จุดประสงค์ก็เพื่อสำหรับคนที่ต้องการทำ Skilled Migrant Visa; Subclass 189/190/491 แล้วคุณสมบัติไม่ถึง point ไม่พอ รัฐบาลก็เลยมีวีซ่าตัวนี้เอาไว้คอยช่วยเหลือ

2. วีซ่า Subclass 485 ไม่มี condition นะครับ ดังนั้นเราจะทำอะไรกับชีวิตเราก็ได้ เรียนก็ได้ ทำงานก็ได้ แต่ไม่ได้จัดอยู่ในหมวดหมู่วีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ เพราะคนที่ไม่ต้องการทำงานก็มีเยอะแยะ คนที่ทางบ้านค่อนข้างอู้ฟู้หน่อย เขาก็กิน เล่น เที่ยว ของเขาไปก็มี เยอะแยะ 🙂

ข้อมูลเชิงลึกของวีซ่า Subclass 485 เราเขียนไปแล้วค่อนข้างเยอะที่ blog ลองไล่อ่านดูนะครับ

Wednesday, June 5, 2024

Subclass 482; Short‑term Skilled Occupation List

Short‑term Skilled Occupation List หรือเราเรียกกันสั้น ๆ ว่า สาขาอาชีพที่อยู่ใน "Short-term List"

Tuesday, June 4, 2024

Bridging Visa

"Bridging Visa"

1. คนที่จะขอ Bridging Visa B ได้ จะต้องถือ Bridging Visa A หรือ B เท่านั้น

2. คนที่ถือ Bridging Visa C หรือ E ไม่สามารถขอ Bridging Visa B ได้ ดังนั้นถ้าออกไปนอกประเทศแล้ว จะต้องรอจนกว่าวีซ่าตัวใหม่จะ grant แล้วเท่านั้นถึงจะกลับเข้ามาได้

3. Bridging Visa A จาก Protection Visa หรือวีซ่าลี้ภัย โอกาสที่จะขอ Bridging Visa B ได้อยู่ที่ 0.001%

4. Bridging Visa B ไม่สามารถ grant ตอนที่เราอยู่ offshore ได้ หลาย ๆ คนตกม้าตายตรงจุดนี้

5. Bridging Visa A จะถูก cancel ทันทีที่เรารูด passport ที่ airport หรือออกนอกประเทศ ดังนั้นก่อนออกนอกประเทศจะต้องมี Bridging Visa B

6. ทุกการโดนแบน ไม่ว่าจะ 3 ปีหรืออะไรก็ตามแต่ นั่น นี่ โน่น กฎหมายมีข้อยกเว้นเสมอ (รู้แค่นี้พอ)

...และอื่น ๆ อีกมากมาย... 💕💕💕

AAT: Bridging Visa

"AAT: Bridging Visa"

1. ในระหว่างการยื่นอุทธรณ์ ถ้าเราถือ Bridging Visa A และขอ Bridging Visa B ($180) กลับไทยไปเยี่ยมครอบครัว ไม่มีผลต่อการยื่นอุทธรณ์

2. ถ้าหากผลตัดสินว่าไม่ผ่านในระหว่างอยู่ไทย ยังสามารถกลับเข้ามาในออสเตรเลียได้ภายใน 35 วัน

3. ไม่ผ่านศาลอุทธรณ์ you ก็ไปต่อศาลสูงได้ 1.5 - 2 ปี 💕💕💕

Note1: คนที่จะขอ Bridging Visa B ได้ จะต้องถือ Bridging Visa A หรือ B เท่านั้น 

Note2: คนที่ถือ Bridging Visa C หรือ E ไม่สามารถขอ Bridging Visa B ได้

Note3: Bridging Visa A จาก Protection Visa หรือวีซ่าลี้ภัย โอกาสที่จะขอ Bridging Visa B ได้อยู่ที่ 0.001%

Sunday, June 2, 2024

Skilled Migrant; 2024/2025

จะยื่น Subclass 189/190/491 ดูโควต้าของปี 2024/2025 กันด้วยนะครับ 

ตั้งอยู่บนโลกของความเป็นจริงนะครับ

เตรียม plan b, c, d เอาไว้ด้วย

ไม่ไหวอย่าฝืน
อย่าตกเป็นเหยื่อของโลกโซเซี่ยล

ทุกที่มีปัญหาทางด้านโครงสร้างของเขา หนีปัญหาเรื่องโครงสร้างจากที่หนึ่งมา ก็มาเจอปัญหาทางด้านโครงสร้างของอีกที่หนึ่งอยู่ดี

หลายคนเป็นโรคซึมเศร้า
หลายคนเลือกที่จะจบชีวิตตัวเอง (คุ้มแล้วหรือ??)

เพราะภูมิคุ้มกันทางด้านจิตใจไม่เข้มแข็งพอ และก็เสพสื่ออะไรต่าง ๆ นานาจากโลกโซเซี่ยลเยอะเกินไป

ใช้ชีวิตอยู่บนโลกของความเป็นจริงนะครับ

Saturday, June 1, 2024

Strategy; Subclass 485 ว่าด้วยเรื่องของอายุคนสมัคร


"Subclass 485 ว่าด้วยเรื่องของอายุคนสมัคร"

"Strategy" คือสิ่งที่กำลังจะเกิดขึ้น

"Strategy" คือสิ่งที่รัฐบาลอยากจะให้มันเกิดขึ้น


แต่ไม่ได้หมายความว่ามันจะต้องเกิดขึ้น in time

ไม่ได้หมายความว่ามันจะต้องเกิดขึ้นจริง ๆ

ไม่ได้หมายความว่ามันจะเปลี่ยนแปลงอะไรไม่ได้


เคยทำงาน project ใหญ่ ๆ ในองค์กรไหมครับ

เคยไหมครับที่ project deadline มันเลื่อนแล้วเลื่อนอีก


ประกาศที่หน้า website ก็สามารถเปลี่ยนแปลงได้ ถ้าไม่ยังไม่มี legislation ออกมารองรับ


อะไร ใด ๆ ปีหน้าเลือกตั้งใหม่นะครับ :)

ยังไม่รู้เลยใครจะได้เป็นรัฐบาล


Wait and see... อย่างมีสติ

เตรียม plan B, C, D เอาไว้คร่าว ๆ แต่ไม่ต้องเครียดมาก ระวังเป็นโรคซีมเศร้า


P' J อยู่ที่นี่มานานแล้วครับ "เฉย ๆ" กับทุกการเปลี่ยนแปลง

สาขาอาชีพนั้น สาขาอาชีพนี้จะถูกตัดออกไปจาก list


"สาขาอาชีพนั้น สาขาอาชีพนี้จะถูกตัดออกไปจาก list"

บางทีมันก็เป็นแค่การจัดระเบียบ list ใหม่
ย้ายจาก list นี้ ไปอยู่อีก list หนึ่งเพื่อให้มีความเหมาะสมมากกว่านี้ก็ได้นะครับ

"เอาออก" กับ "จัดระเบียบใหม่" ไม่เหมือนกัน

panic ไปก็เท่านั้น

TSMIT: $73,150


TSMIT: Temporary Skilled Migration Income Threshold คือค่าแรงขั้นต่ำสำหรับคนที่ขอวีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ ไม่ว่าจะเป็น:

- Subclass 482
- Subclass 494
- Subclass 186
- Subclass 187

เริ่ม 01 July 2024; ค่าแรงขั้นต่ำของทั้ง 4 Subclasses นี้จะอยู่ที่ $7,3150

อันนี้เฉพาะ:

1. Subclass 482/494 ที่ยื่น Stage 2; Nomination ตั้งแต่วันที่ 01 July 2024 เป็นต้นไป

ไม่เกี่ยวว่าจะยื่น Stage 3 เมื่อไร เราเอา Stage 2; Nomination เป็นหลัก

2. Subclass 186/187 ที่ยื่น Stage 1; Nomination ตั้งแต่วันที่ 01 July 2024 เป็นต้นไป

ไม่เกี่ยวว่าจะยื่น Stage 2 เมื่อไร เราเอา Stage 1; Nomination เป็นหลัก

สำหรับใครที่อยากจะ lock-in ค่าแรงขั้นต่ำปัจจุบันเอาไว้:

- Subclass 482/494: ก็ยื่น Stage 2; Nomination ก่อนวันที่ 01 July 2024 ส่วน Stage 3 ยื่นเมื่อไรก็ได้

- Subclass 186/187: ก็ยื่น Stage 1; Nomination ก่อนวันที่ 01 July 2024 ส่วน Stage 2 ยื่นเมื่อไรก็ได้