Saturday, October 31, 2015

SkillSelect: Submit EOI ยังไงไม่ให้พลาด


EOI คือขั้นตอนแรกและเป็นขั้นตอนที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งของการสมัคร PR ด้วย Skilled Migrant การที่เรายื่น EOI เข้าไปก็เหมือนเป็นการยื่นความจำนงว่า เราสนใจที่จะสมัครและทำวีซ่าในสาขาของ Skilled Migrant ไม่ว่าจะเป็น Subclass 189; Independent Skilled Migrant, Subclass 190; Skilled Nominated หรือ Subclass 489; Skilled Regional Sponsored.

การขอ PR ในประเภทของ Skilled Migrant เราต้องคำนวณ point ให้ได้ point 60 points ยกเว้น subclass 190 ที่เอาแค่ 55 points และ subclass 489 ที่เอา point แค่ 50 points .

การที่เรากรอกข้อมูลหรือยื่น EOI เข้าไปเนี๊ยะ แนะนำนะครับว่า submit เข้าไปแค่ประมาณ 60 ก็พอ แต่ให้เราสามารถ claim point ได้เยอะๆก็ตาม

เข้าใจนะครับว่าบางคนอาจจะมีประสบการณ์ในทำงานเพียบ วุฒิการศึกษาแน่น บวก point นั่น นี่ โน่น แล้วได้ 70-80 points อะไรประมาณนี้ ถ้าเราอยากจะกรอกข้อมูลเข้าไปเพื่อให้ได้ point เยอะๆก็ไม่เป็นไร แต่พอเราได้จดหมายเชิญให้สมัคร PR นี่สิ เราอาจมีปัญหาได้ ถ้าเราไม่สามารถพิสูจน์หรือ proove ได้ว่าเรามีคุณสมบัติตามที่เรากรอกข้อมูลเข้าไปจริง อย่างเช่น เรามีประสบการณ์ในการทำงานที่ต่างประเทศมา 10 ปี เราก็จะได้ 15 points แต่เผอิญว่าเราไม่ได้จดหมายใบผ่านงานมาจากบริษัทเก่าที่เราทำงานมาเพราะเราทำงานมานานมากแล้ว หรือไม่ก็บริษัทนี้ปิดตัวไปนานแล้ว เราติดต่อใครไม่ได้เลย

แต่ถ้าเรา claim point แค่ 5 points จากประสบการณ์ที่เราทำงานมา 3 ปีจากบริษัทที่อยู่ต่างประเทศ (จากประเทศออสเตรเลีย) และเราก็มีใบผ่านงานหรือใบรับรองงานอะไรเรียบร้อย มีเอกสารก็สามารถเอามาโชว์ เอามาอ้างอิงได้ 

การ claim point 15 points กับการ claim point 5 points มันก็แตกต่างกัน 10 points สมมุติว่าเรามี point จากที่อื่นอยู่แล้ว 55 points และเราอยากทำ Independent Skilled Migrant ที่ต้องใช้ 60 points
  • ถ้าเราจะ claim point 15 points จากประสบการณ์ในการทำงานที่ต่างประเทศมา 10 ปี เราก็จะได้ point รวมกัน 70
  • แต่ถ้าเรา claim point 5 points จากประสบการณ์ในการทำงานที่ต่างประเทศมา 3 ปี เราก็จะได้ point รวมกันเป็น 60

ไม่ว่าจะ 60 points หรือ 70 points เราก็จะได้รับจดหมายเชิญ letter of invitation ให้เราสมัคร PR เหมือนกัน เราไม่จำเป็นต้อง claim point สูงมากเกินไป เพราะถ้าหากเรา claim point เอาไว้สูงๆ แล้วตอนยื่น PR เข้าไปข้อมูลเราไม่ครบ point เรารวมกันแล้วไม่ได้ตามที่เราอวดอ้างสรรพคุณเราเอาไว้ วีซ่าเราก็ไม่ผ่านนะครับ

ยกตัวอย่างเช่น ตอนทำ EOI เรา claim เอาไว้ใหญ่โตว่าเรามี point ครบ 70 points แน่นอน แต่พอยื่นเรื่องทำ PR เข้าไป case officer คำนวญแล้วว่าจริงๆแล้วเรามี point แค่ 60 points เอง case เราก็จะไม่ผ่าน 

สู้เรา claim point เอาไว้ต่ำๆแต่ขอให้ผ่าน 60 points (หรือ 55 สำหรับ subclass 190 และ 489) แล้วตอนยื่นเอกสารเข้าไปทำเรื่องตอนขอ PR ถ้าเราสามารถยื่นเอกสารได้ point ตามที่เราบอกเอาไว้ หรือได้เยอะมากกว่า case เราก็จะไม่มีปัญหา เราก็จะได้ PR เลยทันที ง่ายๆ

การที่เรามี point มากกว่าตอนที่เรายื่น EOI นั้นไม่มีปัญหา แต่ในทางกลับกัน ถ้าเราไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเรามี point เยอะตามที่เราแจ้งเอาไว้ตอนทำ EOI นี่แหละจะเกิดปัญหาตามมา

ปกติแล้วทนายความหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์ เราจะ claim กันแค่พอดี จะได้ไม่ต้องวิ่งหาเอกสารวุ่นวายเพื่อมา support การ claim point ต่างๆ ถ้าเราอยากจะ claim point เยอะๆ ออกแนวเวอร์นิดหนึ่ง ก็ทำได้ครับ แต่เราต้อง make sure ว่าเรามีเอกสารต่างๆมา support ด้วย

ก็ลองเก็บเอาไปคิดดูนะครับ ถ้าจะทำ EOI กันเอง เราควรทำยังไง

Friday, October 30, 2015

หน่วยงานใหนที่ทำ Skill assessment


Skill assessment คือการเช็คและเทียบเท่ามาตรฐานการศึกษาของคนที่สมัครวีซ่าว่าวุฒิการศึกษาที่เราได้มานั้นได้มาตรฐานการศึกษาของประเทศออสเตรเลียหรือเปล่า หน่วยงานที่ดูแลเรื่องนี้ไม่ใช่กระทรวงการศึกษานะครับ

หน่วยงานที่ดูแลการทำ skill assessment ก็เป็นองค์กรที่ดูแลมาตรฐานการทำงานในแต่ละสาขาอาชีพ ยกตัวอย่างเช่นที่เมืองไทย พยาบาลก็ต้องมีใบประกอบวิชาชีพจาก สภาพยาบาล เป็นต้น

ลองดู SOL และก็ download กันเก็บเอาไว้นะครับจะได้อ้างอิงได้

เดี๋ยววันนี้เรามาลองศึกษากันดูว่า หน่วยงานใหนดูแล skill assessment ของงานสาขาอาชีพอะไรมั่ง ให้เราดูที่ Column D ของ SOL นะครับ


สมมุติว่าเราจบมาทางด้านบัญชี แล้วเราจะขอ PR ในรูปแบบของ skilled migrant ไม่ว่าจะด้วยวีซ่า 

  • Subclass 189; Independent Skilled Migrant
  • Subclass 190; Skilled Nominated
  • Subclass 489; Skilled Regional Sponsored
เราก็ต้องทำ skill assessment และหน่วยงานที่ทำ skill assessment ของ Accountant (General) ก็คือ CPA/ICAA/IPA 

แต่คนส่วนมากที่เป็นนักการบัญชี เค๊าก็จะทำ skill assessment กับ CPA กัน พอเรารู้ว่าเราต้องทำ skill assessment กับ CPA เราก็เข้าไปที่ website ของ CPA; https://www.cpaaustralia.com.au แล้วก็ติดต่อสอบถามข้อมูลกับ CPA ว่าจะทำ skill assessment จะต้องทำยังไงมั่ง

หรือคนที่จบมาทางด้านวิศวะกรรมศาสตร์ ก็ต้องทำ skill assessment กับ Engineers Australia; https://www.engineersaustralia.org.au อย่างนี้เป็นต้น 


ก็ให้ดูตรง Column D ของแต่ละสาขาอาชีพของตัวเองนะครับ

เดี๋ยวเราจะบอกหน่วยงานบางหน่วยงานที่หลายๆคนอยากรู้กันนะครับ

หมอ: http://www.medicalboard.gov.au
พยาบาล: http://www.anmac.org.au

ทนายความหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์จะไม่ค่อยทำ skill assessment ให้ลูกค้ากันสักเท่าไหร่นะครับ เพราะจริงๆแล้วการทำ skill assessment เป็นอะไรที่ไม่ค่อยเกี่ยวกับเราสักเท่าไหร่ เพราะไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับกฎหมายอิมมิเกรชั่นเลย

ยังไงเสีย ใครจะทำ skill assessment อันใหน อะไรยังไงก็แนะนำให้ศึกษากันตั้งแต่เนิ่นๆนะครับ

ขอให้ทุกคนโชคดีในการทำ skill assessment นะครับ

Sunday, October 25, 2015

Skill assessment คืออะไร


เนื่องด้วยช่วงนี้เราได้เขียน blog เกี่ยวกับ Skilled Migrant เอาไว้เยอะ blog นี้ก็เลยขอเขียนอะไรเกี่ยวกับ skill assessment กันสะหน่อยนะครับ

การที่ชาวต่างชาติจะอพยพหรือเข้ามาทำงานที่ประเทศออสเตรเลียนั้น ทางรัฐบาลต้องการที่จะ make sure ว่าวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงานของคนๆนั้นได้มาตรฐานตามที่ประเทศออสเตรเลียกำหนดเอาไว้ ไม่ว่าคนๆนั้นจะจบการศึกษามาจากประเทศอื่นหรือจบการประเทศออสเตรเลียก็ตามเถอะ

การทำ skill assessment เพื่อขอวีซ่าในรูปแบบของ Skilled migrant จะแตกต่างจากการทำ skill assessment ของวีซ่าทำงาน temporary work, visa subclass 457 บ้างเล็กน้อย 

blog นี้จะเน้นการทำ skill assessment เพื่อการขอวีซ่าในรูปแบบของ Skilled migrant:
  • Subclass 189; Independent Skilled Migrant
  • Subclass 190; Skilled Nominated
  • Subclass 489; Skilled Regional Sponsored

จริงๆแล้วจุดประสงค์ของ skill assessment ก็เพื่อเป็นการเช็คว่าวุฒิการศึกษาของคนที่ต้องการเข้ามาอยู่ในประเทศออสเตรเลียนั้นได้มาตรฐานของประเทศออสเตรเลียหรือเปล่า เพราะแต่ละประเทศระบบการเรียนการสอนจะไม่เหมือนกัน มาตรฐานทางการศึกษาไม่เหมือนกัน เพราะบางมหาวิทยาลัยห้องแถวจากบางประเทศอาจจะมีมาตรฐานเทียบเท่าแค่ TAFE หรือ college ของประเทศออสเตรเลียก็ได้ ทางรัฐบาลและอิมมิเกรชั่นเองก็มีหน่วยงานที่คอยตรวจเช็คและตรวสอบเพื่อเปรียบเทียบมาตรฐานทางการศึกษาของสถาบันแต่ละสถาบันในแต่ละประเทศ

skill assessment ในแต่ละสาขาอาชีพที่อยู่ใน SOL; Skilled Occupation List จะไม่เหมือนกัน แตกต่างกันไปตามสาขาอาชีพ และหน่วยงานที่ดูแล ดังนั้นจึงเป็นการสำคัญที่เราจะต้องรู้ด้วยว่า สาขาอาชีพอะไร หน่วยงานใหนรับผิดชอบในเรื่องของการทำ skill assessment และภาษาอังกฤษที่ใช้ ต้องสอบเป็น general หรือ academic

การสอบภาษาอังกฤษเพื่อที่จะคำนวณ point ของ skilled migrant ปกติแล้วสอบแค่ general ก็พอ แต่การสอบภาษาอังกฤษเพื่อที่จะทำ skill assessment นั้น บางสาขาอาชีพก็ต้องสอบเป็น academic ดังนั้นเราต้องเช็คข้อมูลตรงนี้ก่อนว่า สรุปแล้วเราต้องสอบภาษาอังกฤษแบบใหนกันแน่ 

เนื่องด้วยสาขาอาชีพใน SOL มีเยอะ เราก็เลยไม่สามารถเอาข้อมูลของแต่ละสาขามาอธิบายได้นะครับ

การทำ skill assessment ของ skilled migrant ก็คือการเอาวุฒิทางการศึกษา ใบ certificate อะไรต่างๆที่เราเรียนจบและวิชาที่เราลงทะเบียนเรียน (transcript) ส่งไปให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเช็คว่าวิชาที่เราเรียนได้มาตรฐานของการศึกษาของประเทศออสเตรเลียหรือเปล่า

สำหรับคนที่จบปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาที่ใกล้เคียงกัน เราก็เอาวุฒิของปริญญาตรีเท่านั้นในการทำ skill assessment ดังนั้นถ้าใครตอนนี้เรียนปริญญาโทอยู่ เราก็ไม่จำเป็นต้องรอให้เราจบปริญญาโทเพื่อที่จะทำ skill assessment เราสามารถเอาวุฒิปริญญาตรีของเราทำ skill assessment ไปเลย ในขณะที่เรากำลังเรียนปริญญาโท แต่หลายคนก็ชอบอ้างว่าไม่มีเวลาทำเพราะเรียนหนัก รอเรียนให้จบก่อนแล้วค่อยทำ skill assessment

จริงๆแล้ว skill assessment มีเอาไว้เพื่อเช็คมาตรฐานทางการศึกษาของคนที่จบการศึกษามาจากประเทศอื่น ซึ่งเราก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมเด็กนักเรียนต่างชาติที่มาเรียนและก็จบการศึกษาที่ประเทศออสเตรเลียถึงต้องทำ skill assessment ด้วย เพราะถ้าเค๊าจบการศึกษาที่ประเทศออสเตรเลียแล้ว การศึกษาของเค๊ามันก็ต้องได้มาตรฐานของประเทศออสเตรเลียสิ บางทีกฎระเบียบการทำ skill assessment ของอิมมิเกรชั่นมันก็ไม่ค่อยที่จะ makesense สักเท่าไหร่ แต่เราก็คงหลีกเหลี่ยงไม่ได้ ถ้านั่นเป็นสิ่งที่ทางรัฐบาลออสเตรเลีย หรืออิมมิเกรชั่นต้องการ

ดังนั้นถ้าใครที่คิดจะทำ skill assessment เพื่อขอวีซ่าแบบ skilled migrant ก็ต้องเตรียมตัวกันตั้งแต่เนิ่นๆ อย่าปล่อยให้เรียนจบแล้วค่อยเตรียมตัว เพราะบางทีตอนที่เราเรียนจบแล้ว วีซ่าเราก็จวนเจียนใกล้จะหมด อาจจะไม่มีเวลาในการทำ skill assessment ก็ได้ เพราะการทำ skill assessment บางสาขาอาชีพนั้นก็ใช้เวลานานพอสมควร อย่างเช่นการทำ skill assessment ของสาขาอาชีพวิศวกรเป็นต้น เพราะต้องเขียน project ประกอบการทำ skill assessment ด้วย

ดังนั้นถ้าใครที่คิดจะทำ skill assessment เพื่อขอวีซ่าแบบ skilled migrant เราแนะนำให้รีบสอบภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็น IELTS หรืออะไรก็ตามแต่ที่เทียบเท่า เพราะว่าพอเรียนจบก็จะได้ทำ skill assessment เลย จะได้ไม่ต้องมาเสียเวลาไปสอบภาษาอังกฤษและก็รอผลสอบอีก

ขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จในการขอวีซ่าประเภทนี้นะครับ skilled migrant...

Friday, October 23, 2015

คำนวณ point ของการทำ Skilled Migrant ทำยังไง


วันนี้จะเขียนในเรื่องของการคำนวณ point ในการทำ Skilled Migrant นะครับ เราจะเน้นที่ Independent Skilled Migrant (subclass 189), Skilled Nominated (Subclass 190) และก็ Skilled Regional (subclass 489).

  • Independent Skilled Migrant (subclass 189) คือการขอวีซ่าเป็น PR โดยใช้ความรู้ ความสามารถและประสบการณ์ในการทำงานของตัวเอง ไม่ต้องให้ใครสปอนเซอร์ การที่จะ PR ด้วย subclass นี้เราต้องทำ point ให้ได้ 60 points ขึ้นไป
  • Skilled Nominated (Subclass 190) เป็นการขอ PR โดยให้รัฐบาลของแต่ละรัฐสปอนเซอร์ในสาขาอาชีพที่รัฐนั้นๆต้องการ การขอ PR ด้วย subclass นี้เราต้องทำ point ให้ได้อย่างต่ำ 55 points ก็พอ เพราะอีก 5 points รัฐแต่ละรัฐจะเป็นฝ่ายสปอนเซอร์เอง
  • Skilled Regional (subclass 489) เป็นการขอ PR โดยให้รัฐบาลท้องถิ่นของแต่ละรัฐ (town council) ที่อยู่แถบนอกเมืองใหญ่ (regional area) หรือญาติที่อยู่แถบนอกเมืองใหญ่ (regional area) สปอนเซอร์ในสาขาอาชีพที่รัฐบาลท้องถิ่นนั้นๆต้องการ การขอ PR ด้วย subclass นี้เราต้องทำ point ให้ได้ 50 points ก็พอ เพราะอีก 10 points รัฐบาลท้องถิ่นหรือญาติเราที่อยู่ regional area จะเป็นฝ่ายสปอนเซอร์เอง

การขอวีซ่าประเภทของ Skilled Migrant เราจะสามารถขอได้ก็ต่อเมื่อเราจบการศึกษามาในสาขาอาชีพที่ทางรัฐบาลออสเตรเลียต้องการ ซึ่งทางรัฐบาลจะมี Skilled Occupation List; SOL ให้เราดู

การขอ PR ของ Skilled Migrant เหมาะสำหรับคนที่มีวุฒิทางการศึกษาสูง Skilled Migrant เป็นที่ต้องการของรัฐบาลในยุคปัจจุบันเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะพรรคการเมืองใหนเป็นรัฐบาลก็เถอะ 

หลักในการคำนวณ point ของ Skilled Migrant มีดังต่อไปนี้

point ทุกอย่างคำนวณตอนที่ทำ EOI และข้อมูลทุกอย่างต้องเอาวันที่จดหมายเชิญ letter of invitation เท่านั้น ข้อมูลตรงนี้สำคัญนะครับเพราะว่าคะแนนในเรื่องของอายุและวันเกิดเป็นปัจจัยสำคัญ เพราะถ้าจดหมายเชิญให้สมัครวีซ่าถูกส่งมาก่อนหรือหลังวันเกิดเราไม่กี่วันก็สามารถมีผลและปัจจัยต่อคะแนนของเราได้

อายุ
18-24; 25 points
25-32; 30 points
33-39; 25 points
40-44; 15 points
45-49; สามารถสมัคร Skilled Migrant ได้ แต่ไม่มี point ให้

จะเห็นว่าคนที่มีอายุ 25-32 ปี จะได้ point สูงสุดคือ 30 points เพราะรัฐบาลถือว่าเป็นคนที่อยู่ในช่วงวัยทำงาน ถ้ามีคนทำงานก็แสดงว่าเป็นการส่งเสริมเศรษฐกิจของออสเตรเลีย และมีคนเสียภาษีเยอะด้วย ดังนั้นอายุไม่ใช่เพียงแต่ตัวเลขนะครับสำหรับ Skilled Migrant อายุนั้นสำคัญในการนับ point

  • Competent English; IELTS 6 (general)/OET B หรือเทียบเท่า, สามารถสมัคร Skilled Migrant ได้ แต่ไม่มี point ให้
  • Proficient English; IELTS 7 (general)/OET B หรือเทียบเท่า, 10 points
  • Superior English; IELTS 8 (general)/OET A หรือเทียบเท่า, 20 points

ประสบการณ์การทำงานจากต่างประเทศ
ประสบการณ์จากประเทศใหนก็ได้ ขอให้ไม่ใช่ประเทศออสเตรเลีย เพราะประสบการณ์จากประเทศออสเตรเลียจะมีการนับ point ที่แตกต่างกันออกไป

ประสบการณ์ทำงานต้องเกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงกับสาขาอาชีพที่ทำเรื่องของ PR

ประสบการณ์ต้องเป็นประสบการณ์หลังจากที่เรียนจบเท่านั้น

ประสบการณ์ต้องเป็น 20 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ขึ้นไป (ซึ่งแตกต่างจากการทำ Direct Entry ของวีซ่า subclass 186/187)
  • 3 ปี แต่น้อยกว่า 5 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 5 points
  • 5 ปี แต่น้อยกว่า 8 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 10 points
  • 8-10 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 15 points

ดังนั้นถ้าเราทำงานที่ใหนก็อย่าลืมขอจดหมายผ่านงานเป็นภาษาอังกฤษไว้ด้วยนะครับ จดหมายผ่านงาน (work reference) ที่ใช้ในประเทศออสเตรเลียไม่ต้องลงค่าแรงนะครับ ลงข้อมูลแค่ตำแหน่งว่าเราทำงานในตำแหน่งอะไร มีหน้าที่อะไรบ้าง และเริ่มทำงานจากวันที่เท่าไหร่ ถึงวันที่เท่าไหร่

ประสบการณ์การทำงานที่ประเทศออสเตรเลีย
ประสบการณ์ทำงานต้องเกี่ยวข้องหรือใกล้เคียงกับสาขาอาชีพที่ทำเรื่องของ PR

ประสบการณ์ต้องเป็นประสบการณ์หลังจากที่เรียนจบเท่านั้น

ประสบการณ์ต้องเป็น 20 ชั่วโมงต่ออาทิตย์ขึ้นไป (ซึ่งแตกต่างจากการทำ Direct Entry ของวีซ่า subclass 186/187)

  • 1 ปี แต่น้อยกว่า 3 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 5 points
  • 3 ปี แต่น้อยกว่า 5 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 10 points
  • 5 ปี แต่น้อยกว่า 8 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 15 points
  • 8-10 ปี ในระยะเวลา 10 ปีที่ผ่านมา, 20 points

การศึกษา
จากประเทศใหนก็ได้แต่ต้องได้มาตฐานของประเทศออสเตรเลีย สถาบันการศึกษาทุกสถาบันของเมืองไทยได้มาตฐานของประเทศออสเตรเลีย ดังนั้นคนที่เรียนจบจากเมืองไทย ไม่ต้องกังวลในจุดนี้ ประเทศที่จะมีปัญหาก็จะเป็นประเทศ Philippines อะไรประมาณนี้

การศึกษาเรานับ point เอาการศึกษาที่สูงที่สุด ถึงแม้ว่าจะไม่เกี่ยวกับสาขาอาชีพที่เราขอก็ตาม

  • ปริญญาเอก; 20 points
  • ปริญญาตรี-ปริญญาโท; 15 points
  • Diploma, ปวช-ปวส; 10 points

เรียนที่ประเทศออสเตรเลีย
เรียนอะไรก็ได้ที่ประเทศออสเตรเลียที่ course การเรียนเป็นหลักสูตรเวลาเรียนอย่างต่ำ 2 ปี โดยที่ไม่นับช่วงที่เรียนภาษาอังกฤษ, 5 points

โบนัส point ต่างๆ
  • สอบผ่านภาษาต่างประเทศ อย่างเช่นภาษาไทยเป็นต้น ที่รับรองโดย NAATI, ต้องสอบเป็นล่าม หรือ นักแปลระดับ paraprofessional level ขึ้นไป, 5 points
  • Skill assessment ของ partner ในสาขาอาชีพอะไรก็ได้ ที่อยู่ใน occupation list, อายุต่ำกว่า 50 ปี, ภาษาอังกฤษ IELTS general, overall 6 (หรือเทียบเท่า), 5 points
  • Professional year, 5 points
    • IT
    • Accounting
    • Engineering
  • เรียนที่ประเทศออสเตรเลียในสถาบันที่อยู่ regional area, 5 points

ก็แนะนำให้ทุกคนลองคำนวณ point ของตัวเองดูนะครับ



Thursday, October 15, 2015

Skilled Migrant, SkillSelect และ EOI คืออะไร


Skilled Migrant คือกลุ่มคนทำงานที่มีทักษะ มีฝีมือ มีความรู้ ที่ทำงานเสียภาษีและพัฒนาประเทศ เป็นที่ต้องการของรัฐบาลออสเตรเลียเป็นอย่างยิ่ง ขั้นตอนแรกของ SkillSelect คือ EOI ซึ่งคนสมัครต้องกรอกข้อมูลเข้าไปในระบบ online 

EOI; Expression of Interest คือขั้นตอนที่คนจะทำวีซ่าต้องยื่นข้อมูลเข้าไปว่าเรามี point มีคุณสมบัติครบมั๊ย

** เดี๋ยวคงจะได้เขียนเรื่อง point test เร็วๆนี้นะครับ อดใจนิด

EOI ทำ online ได้อย่างเดียวนะครับ ไม่มีแบบฟอร์มแบบ paper-based นะครับ, EOI คือระบบที่ให้คนสมัครกรอกข้อมูลเพื่อประมวลผลตัวเองว่าตัวเองได้คะแนนกี่ point 

ช่วงที่ทำ EOI เราจะแค่กรอกข้อมูลเฉยๆนะครับ ระบบจะไม่มีการให้ upload เอกสารใดๆทั้งสิ้น เพราะการ upload เอกสารนั่นจะเป็นการสมัครวีซ่าเลยโดยตรง แต่ EOI ไม่ใช่การสมัครวีซ่า, EOI เป็นแค่การประเมิณผลและคุณสมบัติคร่าวๆแค่นั้น

EOI เป็นบริการที่ฟรี 

EOI จะทำการคำนวณ point, และคนที่ได้คะแนนมากกว่า 60 points ก็จะถูกเชิญให้มาสมัครวีซ่า โดยจะได้รับ letter of invitation จากอิมมิเกรชั่น 

Skilled Nominated subclass 190 และ Skilled Regional Sponsored, เอาแค่ 55 points นะครับ

แต่สิ่งที่เราต้องระวังก็คือ
  • EOI, ไม่ใช่การสมัครวีซ่า ดังนั้นช่วงที่เรายื่น EOI เราจะไม่ได้ Bridging Visa อะไรเลย
  • ถ้าเรายื่นวีซ่าภายในประเทศออสเตรเลียเป็น onshore เราก็จะได้ Bridging Visa หลังจากที่ยื่นวีซ่าแล้ว (Bridging Visa A หรือ C, แล้วแต่สถานภาพทางวีซ่าของเรา ณ ตอนนั้น)
  • เราจะสามารถยื่นวีซ่าได้หลังจากที่เราได้รับจดหมายเชิญแล้วเท่านั้น letter of invitation, ถ้าไม่ได้รับจดหมาย เราก็ยังสมัครไม่ได้ ดังนั้นคนใหนที่วีซ่ากระชั้นชิด วีซ่าใกล้หมดแล้ว ถ้าคิดจะยื่นวีซ่าภายในประเทศออสเตรเลีย onshore ก็ต้องมีการเตรียมตัวกันตั้งแต่เนิ่นๆนะครับ
  • ก่อนที่จะยื่นวีซ่า เอกสารทุกอย่างต้องพร้อม พร้อมที่จะ upload เข้าไปในระบบ เพราะถ้าเราได้รับจดหมายเชิญ letter of invitation แล้วเราต้องสมัครวีซ่าภายใน 60 วัน และถ้าภายใน 60 วันเรายังไม่สมัคร ทางอิมมิเกรชั่นก็จะมีการส่งจดหมายเชิญมาอีกรอบเป็นรอบที่ 2 แต่รอบที่ 2 นี้จะเป็นการส่งจดหมายรอบสุดท้าย ถ้าเรายังไม่ได้สมัครอีกในรอบที่ 2 ภายใน 60 จดหมายเชิญก็ใช้ไม่ได้แล้ว เพราะจะมีวันหยุดอายุ expiry date ภายใน 60 วัน
ถึงแม้ว่าจดหมายเชิญ letter of invitation หมดอายุแล้วรอบที่ 2 เราก็ยังสามารถทำ EOI ใหม่ได้อีกเรื่อยๆ ไม่มีจำกัด แต่ก็จะเป็นการเสียเวลา ดังนั้นถ้าใครที่กำลังเรียนอะไรอยู่และถ้าคิดจะทำ Skilled Migrant ไม่ว่าจะเป็น
  • Subclass 189; Independent Skilled Migrant
  • Subclass 190; Skilled Nominated
  • Subclass 489; Skilled Regional Sponsored

ก็แนะนำให้เตรียมเอกสารเอาไว้ตั้งแต่เนิ่นๆก็ได้ อย่างเช่น
  • police check ที่เมืองไทย
  • police check ของออสเตรเลียสำหรับคนที่ต้องการยื่นภายในประเทศออสเตรเลีย onshore
  • และก็เอกสารประจำตัวทั่วๆไป อย่างเช่นใบเกิด สูติบัตร อะไรประมาณนี้
ข้อดีของ Skilled Migrant  คือเราสามารถสมัครได้ทั้งภายในประเทศออสเตรเลีย หรือภายนอกประเทศออสเตรเลีย และก็สามารถอยู่รอวีซ่าได้ทั้งในและนอกประเทศออสเตรเลียเช่นเดียวกัน

ยื่นเรื่องที่เมืองไทยแล้วเข้ามารอวีซ่าที่ออสเตรเลียก็ได้ หรือ
ยื่นเรื่องที่ออสเตรเลียแล้วกลับไปพักผ่อนแล้วรอเรื่องอยู่ที่เมืองไทยก็ได้

ไม่ว่าจะสมัคร หรือรอเรื่อง onshore หรือ offshore มีค่าเท่ากัน
Skilled Migrant มันดีอย่างนี้นี่เอง จะสมัครที่ใหน จะรอที่ใหนได้หมด อย่างที่ได้กล่าวเอาไว้เบื้องต้นว่า Skilled Migrant นั้นเป็นที่ต้องการของรัฐบาลออสเตรเลียเป็นอย่างยิ่ง...


Monday, October 12, 2015

SkillSelect ประวัติย่อๆของอิมมิเกรชั่นที่ออสเตรเลีย


ประเทศออสเตรเลียมีประวัติศาสตร์ที่ยาวนานในเรื่องของอิมมิเกรชั่น เพราะกลุ่มคนที่มาตั้งรกรากที่ออสเตรเลียจริงๆแล้วก็คือกลุ่มนักโทษที่ถูกส่งมาจากประเทศอังกฤษ ในช่วงก่อนสงครามโลก นโยบายอิมมิเกรชั่นของประเทศออสเตรเลียจะมีการนำคนเข้ามาเฉพาะชาวตะวันตกที่ผิวขาวเท่านั้น เพราะสมัยก่อนยังมีนโยบาย White Australian กันอยู่


Arthur Calwell, รัฐมนตรีว่าการกระทรวงอิมมิเกรชั่นได้กล่าวเอาไว้ว่า เค๊าจะเอาเรือออกไปรับคนเข้าประเทศออสเตรเลีย และถ้าไม่มีเรือ ก็จะไม่มีอิมมิแกรน เค๊าก็ประกาศเอาเรือมาให้เค๊าเถอะ เดี๋ยวเค๊าจะเอาเรือออกไปรับ "the right type" ของคนอพยพ

คำว่า "the right type" ของ Arthur Calwell ในสมัยก่อนหมายถึง ฝรั่งผิวขาวเท่านั้น ซึ่งเค๊าก็เน้นไปที่ประเทศอังกฤษเพราะว่าคนอังกฤษคือคนกลุ่มแรกๆที่ย้ายมาตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย

ส่วนคนที่ผิวสีเข้ม นอกเหนือไปจากฝรั่งผิวขาวถือว่า "not a right type".

ในช่วงก่อนสงครามโลก สังเกตุได้จาก speech ของ Arthur Calwell ว่า รัฐบาลออสเตรเลียยังไม่มีหลักการในการคัดเลือกคนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ประเทศออสเตรเลีย หลักการในตอนนั้นคือ ใครก็ได้ที่ไม่ใช่
  • คนผิวดำ
  • คนเอเชีย
  • นักโทษ
และต้องพูดภาษาของทวีปยุโรปได้ ขอย้ำนะครับว่าเป็นภาษาของทวีปยุโรป ไม่ใช่ภาษาอังกฤษ!!! ภาษาอะไรก็ตามเถอะ ขอให้เป็น European language เป็นพอ

ดังนั้นถ้าทางรัฐบาลออสเตรเลียไม่ต้องการใครอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ประเทศออสเตรเลีย รัฐบาลก็จะทำการทดสอบเขียนตามคำบอก (dictation) เป็นภาษาของทวีปยุโรป ถ้าคนนั้นไม่สามารถสอบผ่านเขียนตามคำบอกเป็นภาษาของทวีปยุโรป ก็จะถูกห้ามอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ประเทศออสเตรเลีย

แบบว่าอารมณ์คนละอารมณ์กับการสอบ IELTS เลยนะ

สมัยก่อนนะเค๊าสอบเขียนตามคำบอกนะ...

นโยบายก่อนสงครามโลกจะเป็นแบบ exclusion
แต่นโยบายหลังสงครามโลกจะเป็นแบบ selection

หลังจากสงครามโลกครั้งที่ 2, นโยบายของอิมมิเกรชั่นก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไป โดยที่สมัยก่อนหน้านั้น นโยบายอิมมิเกรชั่นของออสเตรเลียจะเน้นไปที่ Family Stream, คือประมาณว่าถ้าใครคนใดคนหนึ่งในครอบครัวได้อพยพมาอยู่ที่ออสเตรเลียก่อนละก็ เค๊าก็สามารถสปอนเซอร์คนในครอบครัวของเค๊ามาได้ง่ายๆ ดังนั้นแถวชายเมืองแถบ Melbourne ก็มีคนมาจากประเทศ Greece กันทั้งหมู่บ้าน อะไรประมาณนั้น 

ช่วงปี 1984 - 1985; สถิติของคนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานประเภท Family Stream จะมากกว่า Skilled Migrant, แต่

ช่วงปี 1996 - 1997; สถิติของคนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานประเภท Skilled Migrant จะค่อยๆมากกว่า Family Stream, และก็เป็นอย่างนั้นมาจนถึงปัจจุบัน (2015).

ในช่วงแรกๆของ 21st Century รัฐบาลออสเตรเลียก็เริ่มที่จะหันเหไปเน้นการนำเข้า Skilled Migrant แทน Family Stream เพราะ Skilled Migrant คือกลุ่มคนทำงาน มีทักษะ มีฝีมือ มีความรู้ ทำงานเสียภาษีและพัฒนาประเทศ

ระบบ point system ของ Skilled Migrant มีการเปลี่ยนแล้วเปลี่ยนอีก แต่ระบบที่เราใช้อยู่ในปัจจุบันคือ SkillSelect ซึ่งก็มีการประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 1 July 2012, ส่วนตัวเราเองก็ได้ไปเข้า seminar นั่น นี่ โน่น ในเรื่องของ SkillSelect ที่ออกมาใหม่

โดยส่วนตัวแล้วชอบ point system ระบบปัจจุบันของ SkillSelect, 3 ปีแล้วก็ได้แต่หวังว่าอย่าเปลี่ยนแปลงไปมากกว่านี้เลย ดีแล้ว ชอบแล้ว...

แนวคิดของ SkillSelect ก็มีมาในปี 2011 (DIAC; Deparmtne of Immigraiton and Citizenship) ก่อนที่จะประกาศใช้อย่างเป็นทางการเมื่อ 1 July 2012 จากสมัยก่อนสงครามโลกที่ Arthur Calwell เคยได้กล่าวเอาไว้ว่าเค๊าต้องการเฉพาะคนที่เป็น "the right type" เท่านั้นที่จะสามารถอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ประเทศออสเตรเลียได้

ตั้งแต่ปี 2011 เป็นต้นมา ไม่ว่าใครจะเป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงอิมมิเกรชั่น ภาษาที่เค๊าใช้กันตามสื่อต่างๆก็ได้เปลี่ยนเป็น "the best and the brightest" เริ่มต้นจาก Peter Van Vilet

คือประมาณว่าใครอยากจะอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานที่ประเทศออสเตรเลียตอนนี้ก็ต้องเป็น
  • the best, และก็
  • the brightest 
ดังนั้นนโยบายของอิมมิเกรชั่นอะไรต่อมิอะไรที่ออกมา ก็จะเน้นไปที่ Skilled Migrant เพราะเป็นอะไรที่คล้องจองกับนโยบาย "the best and the brightest" ดังนั้นจึงไม่แปลกที่ Family Stream Migrant ไม่ว่าจะเป็น Partner Visa หรือ Parent Visa จึงต้องรอนานมากกว่า Skilled Migrant...

Sunday, October 11, 2015

สอบภาษาอังกฤษ สอบตัวไหนดี



วีซ่าชั่วคราวและ PR (Permanent Residence) ที่ต้องสอบทักษะภาษาอังกฤษเพื่อทำวีซ่า ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงเรื่องของการสอบภาษาอังกฤษเมื่อต้นปีที่ผ่านมา นอกจากการสอบ IELTS แล้วเรายังมีทางเลือกอีกหลายทางในการทดสอบความสามารถทางด้านภาษาอังกฤษนะครับ ซึ่งตอนนี้เราสามารถสอบได้ถึง 5 ศูนย์สอบด้วยกันคือ

  • IELTS; International English Language Testing System
  • OET; Occupational English Test
  • TOEFL iBT; Test of English as a Foreign Language internet-based test
  • PTE Academic; Pearson Test of English Academic
  • CAE; Cambridge English Advanced test

Functional

  • IELTS; ทุก band อย่างต่ำ 4.5
  • TOEFL iBT; ทุก band อย่างต่ำ 32
  • PTE Academic; ทุก band อย่างต่ำ 30
  • CAE; ทุก band อย่างต่ำ 147


Vocational

  • IELTS; ทุก band อย่างต่ำ 5
  • TOEFL iBT; 
    • Listening 4
    • Reading 4
    • Writing 14
    • Speaking 14
  • PTE Academic; ทุก band อย่างต่ำ 36
  • CAE; ทุก band อย่างต่ำ 154
  • OET; B

Competent

  • IELTS; ทุก band อย่างต่ำ 6
  • TOEFL iBT; 
    • Listening 12
    • Reading 13
    • Writing 21
    • Speaking 18
  • PTE Academic; ทุก band อย่างต่ำ 50
  • CAE; ทุก band อย่างต่ำ 169
  • OET; B

Proficient ( ทำหรับคนที่ต้องทำ point เพื่อทำ Skilled Migrant)

  • IELTS; ทุก band อย่างต่ำ 7
  • TOEFL iBT; 
    • Listening 24
    • Reading 24
    • Writing 27
    • Speaking 23
  • PTE Academic; ทุก band อย่างต่ำ 65
  • CAE; ทุก band อย่างต่ำ 185
  • OET; B

Superior ( ทำหรับคนที่ต้องทำ point เพื่อทำ Skilled Migrant)

  • IELTS; ทุก band อย่างต่ำ 8
  • TOEFL iBT; 
    • Listening 28
    • Reading 29
    • Writing 30
    • Speaking 26
  • PTE Academic; ทุก band อย่างต่ำ 79
  • CAE; ทุก band อย่างต่ำ 200
  • OET; A


ใครสะดวกที่จะเลือกสอบภาษาอังกฤษของหน่วยงานใหนก็เลือกเอานะครับ เราไม่จำเป็นต้องสอบเฉพาะ IELTS อีกต่อไป

Saturday, October 10, 2015

แต่งงาน ไม่จำเป็นต้องเปลี่ยนนามสกุล สะหน่อย


ก่อนอื่นเราต้องขอออกตัวก่อนนะครับว่าไม่ได้ต่อต้านอะไรกับคนที่แต่งงานแล้วก็เปลี่ยนนามสกุลตามสามีอะไรประมาณนี้ ก็แค่อยากจะให้ความรู้และเสนอแนะแนวทาง ทางเลือกอีกทางหนึ่งเฉยๆ ส่วนใครจะเลือกเดินทางสายใหน ไม่มีถูกและก็ไม่มีผิดครับ ชอบทางใหนก็เลือกทางนั้น ไม่ว่ากัน

คู่ที่แต่งงาน ไม่ว่าจะเปลี่ยนนามสกุลหรือไม่เปลี่ยนนามสกุล ไม่มีผลอะไรใดๆทั้งสิ้นต่อการยื่นวีซ่านะครับ บางคนคิดว่าการที่เค๊าเปลี่ยนนามสกุลไปใช้ของสามีแล้วจะทำให้ case การยื่นวีซ่าของเค๊าดูดี ปล่าวเลยครับ อิมมิเกรชั่นไม่ได้มองตรงจุดนั้นแม้แต่นิดเดียว เพราะไม่ว่าจะเป็น Marriage Act หรือ Migration Act ทั้งกฎหมายทั้ง 2 ตัวไม่ได้กล่าวถึงเรื่องการเปลี่ยนนามสกุลเลย 

การเปลี่ยนนามสกุลตามสามี มันก็เป็นแค่วัฒนธรรมอีกอย่างหนึ่งก็แค่นั้นเอง ซึ่งก็ยังเป็นที่ปฏิบัติกันอยู่เยอะไม่ว่าจะเป็นประเทศไทยหรือประเทศออสเตรเลีย แต่ก็มีหลายประเทศที่เค๊าเลิกปฏิบัติกันแล้ว อย่างเช่นประเทศสิงคโปร์เป็นต้น

ก็เข้าใจนะครับว่า คู่แต่งงานบางคู่ ฝ่ายชายก็อาจจะอยากแสดงความเป็นเจ้าเข้าเจ้าของโดยให้ฝ่ายหญิงเปลี่ยนนามสกุลตามสามี โดยเฉพาะฝ่ายชายที่สูงอายุหน่อย ขอเน้น ว่าสูงอายุ....

แต่ถ้าฝ่ายหญิงพึงพอใจที่จะเปลี่ยนไปใช้นามสกุลของฝ่ายชายก็ไม่เป็นไร ก็ไม่มีอะไรเสียหาย เพราะผู้หญิงบางคนที่เค๊าแต่งงานกับผู้ชายฝรั่ง บางคนเค๊าอาจจะอยากจะมีนามสกุลฝรั่งก็เป็นได้ เผื่ออยากดูเก๋ไปอีกแบบก็ว่ากันไป

แต่ก็อย่างว่าแหละครับ ต่างคนต่างจิตใจ ไม่ว่ากัน

สาเหตุที่เราเขียนเรื่องนี้ก็เพราะว่า เราทำงานตรงนี้มานาน ทุกครั้งที่ทำ case ให้ลูกค้าที่เป็นคนไทย คือแบบว่ามีการเปลี่ยนชื่อกันเยอะมาก เปลี่ยนชื่อเฉยๆก็เยอะ เปลี่ยนนามสกุลก็เยอะ และบาง case ก็ แต่งแล้วหย่า หย่าแล้วแต่ง เปลี่ยนนามสกุลกันมันส์ไปเลย เอกสารการเปลี่ยนชื่อนี่เพียบ 

ถามว่าผิดมั๊ยที่เปลี่ยนนามสกุล ก็ไม่ผิดนะครับ แต่ถ้าเราสามารถตัดปัญหาหยุมหยิมพวกนี้ไปได้ตั้งแต่เนิ่นๆก็ดี บอกได้เลยว่า ตั้งแต่มาอยู่ที่ออสเตรเลีย และโดยเฉพาะได้ทำงานทางด้านนี้แล้ว เห็นคู่สมรสมาแล้วเกือบทุกรูปแบบ แต่งแล้วหย่า หย่าแล้วแต่ง นับกันไม่ไหวจริงๆ แต่ก็อีกแหละ ไม่ว่าอะไรนะครับ ชีวิตคนเรามันเลือกไม่ได้ ถ้าเลือกได้เค๊าก็คงไม่อยากที่จะ แต่งแล้วหย่า หย่าแล้วแต่ง กันหรอก (ใช่หรือเปล่านะ หรือบางคนอาจจะชอบเปลี่ยนรสชาติ)

คนเรารักกัน ถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชร นามสกุลเป็นแค่สิ่งที่เราสมมุติกันขึ้นมา เปลี่ยนนามสกุลหรือไม่เปลี่ยนนามสกุลมันไม่ได้ทำให้เรารักกันน้อยลง

อยากเปลี่ยนชื่อ เปลี่ยนนามสกุลหนะเปลี่ยนได้ แต่เวลายื่นเรื่องทำวีซ่าไปที่อิมมิเกรชั่น ก็แนะนำให้เขียนกราฟการเปลี่ยนชื่อตั้งแต่เกิดจนถึงปัจจุบันด้วยนะครับ ถ้า case officer เค๊าไม่สามารถพิสูจน์ว่าเราเป็นใครบอกได้เลย case officer เค๊าไม่มานั่งเรียงชื่อให้เราแน่ๆ โดยเฉพาะคนที่ทำเรื่องวีซ่าท่องเที่ยวให้พ่อหรือแม่มาเยี่ยมเราที่นี่ เราก็ต้องพิสูจน์ว่าเราเป็นลูกของพ่อเรา เป็นลูกของแม่เราจริงๆ คราวนี้แหละสนุกกันแน่ จะเชื่อมโยงกันยังไง

คนเราตอนแต่งงานกัน รักกันหวานชื่นดูดดื่มอุรา แต่เผื่อใจไว้ตอนหย่าด้วยก็ดี สรุปว่าเราจะใช้นามสกุลใคร คิดการไกลกันนิดหนึง... นะครับ 

เผื่ออะไรไว้วันข้างหน้าด้วยก็แล้วกัน

Friday, October 9, 2015

Partner Visa ไม่จำเป็นต้องมี sex เสมอไป


Partner Visa ถึงแม้ว่า 99.99% จะเป็นวีซ่าสำหรับคู่รักแบบสามีภรรยา หรือคู่รักแบบเพศเดียวกัน แต่ทุกอย่างไม่ได้ fix ไม่ได้บังคับว่าอะไรต้องเป็นแบบนี้แบบเดียว เป๊ะๆๆๆ.... ไม่ใช่

เอ่อ....แล้วอีก 0.01% หละ.... Partner Visa สามารถทำอะไรได้มั่ง

จริงๆแล้ว Partner Visa ความหมายตามกฎหมายของอิมมิเกรชั่นแล้ว ไม่ได้กล่าวถึงเรื่องของการมี sex หรือการมีเพศสัมพันธ์แต่อย่างใดเลย แต่ก็นั่นแหละ เนื่องด้วยว่าเราใช้ความสัมพันธ์เชิงชู้สาวในการสมัครและทำเรื่อง Partner Visa กันสะเป็นส่วนใหญ่ คนส่วนมากก็เลยเหมาคิดเอาว่าจริงๆแล้ว Partner Visa คือวีซ่าสำหรับคู่รัก พอพูดถึงคู่รักมันก็ต้องมี sex เข้ามาเกี่ยวข้องเลยทันที ตามธรรมชาติของมนุษย์ที่อยู่ในวัยเจริญพันธ์ทั้งหลาย 

แต่เราก็ไม่ควรเหมาเอาว่าทุกคน ทุกคู่ต้องเป็นแบบนั้นกันหมด ไม่ใช่...

อย่าว่าแต่คนเราทั่วๆไปเลยครับที่คิดแบบนี้ แม้แต่ case officer เองก็เถอะ เพราะว่า case officer ที่อิมมิเกรชั่นเองก็เป็นพนักงานของรัฐบาลคนหนึ่งที่ทำงานแค่ 9am-5pm เท่านั้น มีการเข้าๆออกๆกันอยู่เป็นประจำ พอมีคนใหม่เข้ามาทำงานก็ต้องมานั่ง train กันอีก, case officer มือใหม่หนะมีเยอะมาก ทำ case ผิดก็มีเยอะแยะ 

case officer ไม่ได้ถูกเสมอไป...

คำจำกัดความของ Partner จริงๆแล้วคือ คน 2 คนที่ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน ฝากผีฝากไข้ ดูแลซึ่งกันละกัน ใช้ชีวิตด้วยอยู่กันเหมือนเป็นคนคนเดียวกัน มี mutual commitment ซึ่งกันและกัน ฟังๆดูแล้วมันก็เหมือนคู่สามีภรรยา คู่เกย์ คู่เลสเบี้ยนทั่วๆไปแหละ แต่เอ๊ะ... แล้วทำไมกฎหมายอิมมิเกรชั่นไม่ได้บอกหละ ว่าคน 2 คนต้องมี sex มีเพศสัมพันธ์ โจ๋งพรึ่มโจ๋งพรึ่มกัน อะไรแบบเนี๊ยะ ไม่มีนะ

คงถึงเวลาแล้วสินะที่เราหลายๆคนต้องเปิดหูเปิดตาเปลี่ยนแนวความคิดกันใหม่ เกี่ยวกับเรื่องของ Partner Visa กัน เพราะสมัยนี้เค๊ามี case แบบว่าคนสูงอายุ ไม่มีคนในครอบครัวเหลือแล้ว หรือเลือกที่จะมาอยู่กับเพื่อนที่สนิท ก็อยู่ด้วยกันแบบเพื่อน ไม่ได้มี sex ไม่ได้มีอะไรกัน ไม่ได้เป็นแฟน เป็นแค่เพื่อนกันธรรมดา แต่ว่าเค๊า 2 คน  ใช้ชีวิตอยู่ด้วยกัน ฝากผีฝากไข้ ดูแลซึ่งกันละกันเปรียบเสมือนเป็นคนคนเดียวกัน ซึ่งก็ถือว่าเป็น mutual commitment อีกแบบหนึ่งเช่นเดียวกัน ซึ่งมันก็ไม่แตกต่างอะไรไปจากคู่สามีภรรยา คู่เกย์ คู่เลสเบี้ยนทั่วๆไป เค๊าก็ถือว่าเป็น Partner เหมือนกัน เพียงแต่ไม่มี sex ไม่มีเพศสัมพันธ์ ไม่มีการโจ๋งพรึ่มโจ๋งพรึ่มกัน... ก็แค่นั้นเอง

ยื่นวีซ่าไปไม่ผ่าน เพราะ case officer มือใหม่ อ่อนหัด แต่สุดท้ายก็ชนะตอนอุทรณ์หรือขึ้นศาลอยู่ดี....เป็นไงหละ!!!

ก็ได้แต่หวังว่า case officer จะได้มีการเรียนรู้จาก case law พวกนี้และจะได้มีการพิจารณา case ที่แตกต่างออกไปจากสมัยเดิมๆกัน หมดสมัยการพิจารณา case แบบดึกดำบันแล้วหละ

ใครสนใจที่อยากจะศึกษาพวก case law ก็แนะนำ website: http://www.austlii.edu.au นะครับ เป็น website ของหลายๆมหาวิทยาลัยที่ทำงานร่วมกัน เพื่อให้นักกฎหมาย นักเรียน หรือบุคคลทั่วๆไปเข้าไปอ่านกัน ก็อาจจะอ่านยากกันนิดหนึ่ง เพราะภาษาที่ใช้ก็เป็นภาษาทางด้านกฎหมายกัน ถ้าใครเก่งในเรื่องของภาษาอังกฤษ ก็แนะนำให้ลองเข้าไปอ่านกันดูนะครับ

Sunday, October 4, 2015

Partner Visa แล้วถ้าหากคนสปอนเซอร์เสียชีวิตหละ


วีซ่าสำหรับคู่รักก็จะมี Partner Visa (Onshore & Offshore) และก็ Prospective Marriage Visa

Prospective Marriage Visa คือวีซ่าคู่หมั้น ที่ต้องยื่นมาจากนอกประเทศออสเตรเลีย; offshore เท่านั้น วีซ่าคู่หมั้นก็จะได้มาแค่ 9 เดือนเท่านั้น มีเอาไว้สำหรับคู่รักที่ต้องการมาแต่งงานที่ประเทศออสเตรเลีย แล้วยื่น Partner Visa ที่ออสเตรเลีย

ไม่ว่าจะเป็น Partner Visa (ทั้งแบบยื่นภายใน และนอกประเทศออสเตรเลีย) หรือ Prospective Marriage Visa จะเกิดอะไรขึ้นถ้าแฟนเราเกิดเสียชีวิตขึ้นมา?

Partner Visa เราไม่ขอใช้ subclass number นะครับ เดี๋ยวจะงงไปกันใหญ่

ยื่นมาจากข้างนอกประเทศ; offshore:
  • Partner Visa ที่ยื่นมาจากนอกประเทศ ในขณะที่กำลังรอเรื่องอยู่ข้างนอก ถ้าหากแฟนเราเกิดการเสียชีวิตขึ้นมา วีซ่าเราที่สมัครเอาไว้ก็จะไม่ผ่านนะครับ
  • Prospective Marriage Visa หรือวีซ่าคู่หมั้นก็เช่นเดียวกัน ในขณะที่กำลังรอเรื่องอยู่ข้างนอก ถ้าหากแฟนเราเกิดการเสียชีวิตขึ้นมา วีซ่าเราที่สมัครเอาไว้ก็จะไม่ผ่านนะครับ
  • สรุปก็คือทั้ง Partner Visa และก็ Prospective Marriage Visa ที่ยื่นมาจากข้างนอกประเทศออสเตรเลีย ถ้าแฟนเราเกิดเสียชีวิตขึ้นมา สรุปก็คือเราจะไม่ได้วีซ่านะครับ


ยื่นภายในประเทศ; onshore:
  • คนที่ได้ Prospective Marriage Visa มา แล้วในระหว่างรอการแต่งงาน ถ้าแฟนเราเกิดเสียชีวิตขึ้นมาก่อนที่จะแต่งงานกัน เราก็จะสมัคร Partner Visa ไม่ได้
  • คนที่ได้ Prospective Marriage Visa มา แล้วแต่งงานภายใน 9 เดือนแต่ยังไม่ได้ยื่นเรื่องทำ Partner Visa ก็ยังสามารถทำเรื่อง Partner Visa ได้ แต่คนที่จะสปอนเซอร์เราทำ Partner Visa ได้นั้นก็คือ พ่อแม่ของแฟนเรา ดังนั้นถ้าเราไม่สนิทหรือไม่เป็นที่ยอมรับของพ่อแม่ของแฟนเรา ก็แนะนำให้เก็บเสื้อผ้ายัดใส่กระเป๋า กลับบ้านเก่าไปได้เลยนะครับ หรือจะสมัครวีซ่าตัวอื่น อะไรก็ว่าไป แต่คงจะสมัคร Partner Visa ไม่ได้
  • หลังจากที่ยื่น Partner Visa ไปแล้ว ไม่ว่าจะเป็นแบบจดทะเบียนแต่งงาน, จดทะเบียนความสัมพันธ์ register of relationship, หรือ de facto ที่อยู่ด้วยกันแบบไม่จดอะไรเลย ไม่ว่าจะเป็นคู่รักแบบเพศเดียวกัน หรือต่างเพศ ถ้าเราได้ยื่น Partner Visa ภายในประเทศออสเตรเลียไปแล้ว แล้วถ้าแฟนเราเกิดเสียชีวิตขึ้นมา เราก็ทำการแจ้งไปที่อิมมิเกรชั่น แล้วเราก็จะได้ PR ทันที ปกติก็ไม่ต้องรอถึง 2 ปี เพราะไม่รู้จะรอไปทำไม แฟนก็เสียชีวิตไปแล้วหนิ
สาเหตุที่ Partner Visa เราผ่านถ้าเรายื่นวีซ่าภายในประเทศออสเตรเลียในกรณีที่แฟนเราเสียชีวิตนั้น ทางกฎหมายอิมมิเกรชั่นจะดูว่าความสัมพันธ์เป็นความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่องหรือไม่ถ้าหากแฟนเรายังมีชีวิตอยู่; conitnuing relationship  

ซึ่งปกติแล้วมันก็ต้องเป็นความสัมพันธ์แบบต่อเนื่อง conitnuing relationship ทั้งนั้นแหละ ก็ต่อเนื่องมาจนถึงลมหายใจสุดท้ายของเค๊าไง...

ก็อ่านเอาไว้ประดับความรู้นะครับ ถ้าเผื่อเหตุการณ์ไม่คาดคิดเกิดขึ้นกับเรา เราจะได้เตรียมตัวได้ถูก ส่วนคนที่ยื่น Partner Visa มาจากข้างนอกประเทศออสเตรเลียก็จะได้ทำใจได้ รู้ข้อบทกฎหมาย จะได้ไม่ต้องไปตีโพยตีพายอะไรภายหลัง

Saturday, October 3, 2015

Partner Visa; domestic violence เราจะได้ PR เลยทันที


Partner Visa คือวีซ่าสำหรับคู่รัก ไม่ว่าจะเป็นเพศเดียวกันหรือต่างเพศ ไม่ว่าจะเป็นแบบแต่งงานจดทะเบียนสมรส, จดทะเบียนความสัมพันธ์ หรืออยู่กันแบบ de facto อยู่ด้วยกันแบบไม่จดอะไรเลย

คนเรานะตอนที่รักกันก็รักกันหวานชื่น ดูดดื่มอุรา ตัดสินใจทำ Partner Visa ให้กับคู่รักตัวเอง คู่ใหนที่รักกันหวานชื่นก็ดีไป เราก็ขอแสดงยินดีด้วย

แต่ก็อย่าลืมว่าชีวิตคู่ของหลายๆคนไม่ได้โรยด้วยกลีบกุหลาบเสมอไป บางคนที่ทำเรื่องสปอนเซอร์คู่รักตัวเองก็ชอบทำตัวกร่างไปเรื่อย คิดว่าตัวเองเจ๋งสามารถบอกเลิก หรือยกเลิกการสปอนเซอร์ได้ตลอดเวลา ซึ่งในความเป็นจริงมันก็เป็นแบบนั้นจริงๆ คือคนที่สปอนเซอร์เราสามารถยกเลิกการสปอนเซอร์ได้ตลอดเวลา 

แต่นั่นก็ไม่ได้หมายความว่าเราต้องตกเป็นเบี้ยล่างของอีกฝ่ายหนึ่งตลอดไป เพราะกฎหมายอิมมิเกรชั่นก็ได้มีปกป้องสิทธิความเป็นมนุษย์ของอีกฝ่ายเอาไว้เช่นกันว่า ถ้าหากความสัมพันธ์เกิดมีการกดขี่ข่มเหง มีการทำร้าย ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ของอีกฝ่ายหนึ่ง นั่นก็ถือว่าเป็น domestic violence ส่วนการทำร้ายทางด้านจิตใจก็เหมือนการข่มขู่เพื่อให้อีกฝ่ายหนึ่งตกเป็นเบี้ยล่าง หรือมีการกักขังหน่วงเหนี่ยวและกดขี่ข่มเหงในเรื่องของการเงินด้วย คนที่ขอวีซ่าไม่จำเป็นต้องทนอยู่กับชีวิตคู่แบบข้าทาสแบบนั้น คนที่ขอวีซ่าก็สามารถแจ้งเรื่องไปที่อิมมิเกรชั่น แล้วก็จะได้ PR ในทันทีครับ ไม่จำเป็นต้องทนอยู่กับชีวิตคู่แบบข้าทาสไปถึง 2 ปี

หลายๆคนจะรู้จัก domestic violence กันแค่เรื่องของการทำร้ายร่างกาย แต่จริงๆแล้ว domestic violence รวมไปถึงการทำร้ายหรือกดขี่ทางด้านจิตใจด้วยครับ อาจจะกดขี่ให้เรื่องของการเงิน หรืออาจข่มขู่เช้า ข่มขู่เย็น เล่นสงครามประสาทกับเราว่าถ้าเราไม่ทำอะไรตามที่เค๊าบอก เค๊าจะไปยกเลิกวีซ่าเราทันทีอะไรประมาณนี้ พวกนี้ถือว่าเข้าข่าย domestic violence ทางด้านจิตใจด้วยเช่นเดียวกันครับ แต่มันก็อาจจะไม่เด่นชัดเหมือน domestic violence แบบการทำร้ายร่างกาย

อยากจะบอกทุกคนเพื่อเป็นความรู้เหลือเกินว่า ถ้าหากเกิด domestic violence ภายในชีวิตคู่ของเรา เราไม่จำเป็นต้องทนอยู่ ตกเป็นเบี้ยล่างหรือข้าทาสของอีกฝ่ายหนึ่งนะครับ บางคนที่ไม่รู้ ก็ทนอยู่กับชีวิตคู่แบบนั้นเพราะว่าอยากจะได้ PR

ถ้าหากชีวิตคู่ท่านใหนเกิดมีการทำร้ายร่างกาย ตบตีกัน เราก็แนะนำให้ทำดังต่อไปนี้ครับ

  • ถ่ายรูปส่วนที่โดนทำร้าย ถ้าอัดเทปหรือ video clip ได้ก็อัดเอาไว้
  • ไปแจ้งตำรวจแล้วตำรวจจะให้ reference number การแจ้งความมา
  • ไปหาหมอ GP ทั่วๆไปก่อนแล้วเก็บ record การไปหาหมอของเราเอาไว้ด้วย เสร็จแล้วก็ให้หมอ GP เขียนเรื่องส่งต่อ referral ไปให้หมอจิตแพทย์ (ไม่ได้แปลว่าเราบ้านะ แค่ stress หรือเครียดเท่านั้นเอง)
  • เล่าเรื่องให้หมอจิตแพทย์ฟัง แล้วหมอจะออกหนังสือให้ว่าเรา stress หรือเครียด นั่น นี่ โน่น อะไรก็ว่าไป
  • เสร็จแล้วแจ้งไปที่อิมมิเกรชั่น หรือติดต่อทนายหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์
  • อิมมิเกรชั่นจะมีฟอร์มให้กรอก ในฟอร์มนี้ก็จะมีช่องให้หมอหรือพยาบาลเซ็น เราก็กลับไปหา GP และหมอจิตแพทย์ของเรานั่นแหละ เราต้องหาคนเซ็น 3 คน ถ้าได้ GP และหมอจิตแพทย์เซ็นแล้วก็อาจจะให้พยาบาล หรือพนักของรัฐที่เกี่ยวข้อง อย่างเช่นหน่วยงานที่ให้ความช่วยเหลือเรื่อง domestic violence ให้เค๊าเซ็นเพิ่มอีกหนึ่งคน หรือกลับไปหาตำรวจคนเดิมตอนที่เราแจ้งความ
  • ถ้าเราได้เอกสารครบ เราก็ส่งกลับไปที่อิมมิเกรชั่น ถ้าทางอิมมิเกรชั่นดูเอกสารแล้ว ถ้าเห็นว่าเกิด domestic violence จริง ทางอิมมิเกรชั่นก็จะให้ PR เราทันทีครับ
แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า เราอยากได้ PR มากจนตัวสั่น ชวนแฟนทะเลาะทุกวัน แบบนั้นก็ไม่ไหวนะ

Domestic violence สามารถเกิดได้ทั้งกับผู้ชายและผู้หญิง


ดังนั้น ถ้าหากชีวิตคู่ใคร หรือชีวิตคู่ของเพื่อนคนใหนเจอปัญหาเรื่อง domestic violence ก็อย่านิ่งดูดาย อย่าอยู่แบบเป็นเบี้ยล่างหรือข้าทาสเพียงเพื่อจะได้วีซ่านะครับ กฎหมายมีทางออกให้ครับ เราต้องมีความรู้เรื่องกฎหมายเพื่อที่อยู่รอดในสังคมนี้ได้