หน่วยงานที่ดูแลการทำ skill assessment ก็เป็นองค์กรที่ดูแลมาตรฐานการทำงานในแต่ละสาขาอาชีพ ยกตัวอย่างเช่นที่เมืองไทย พยาบาลก็ต้องมีใบประกอบวิชาชีพจาก สภาพยาบาล เป็นต้น
ลองดู SOL และก็ download กันเก็บเอาไว้นะครับจะได้อ้างอิงได้
เดี๋ยววันนี้เรามาลองศึกษากันดูว่า หน่วยงานใหนดูแล skill assessment ของงานสาขาอาชีพอะไรมั่ง ให้เราดูที่ Column D ของ SOL นะครับ
ลองดู SOL และก็ download กันเก็บเอาไว้นะครับจะได้อ้างอิงได้
เดี๋ยววันนี้เรามาลองศึกษากันดูว่า หน่วยงานใหนดูแล skill assessment ของงานสาขาอาชีพอะไรมั่ง ให้เราดูที่ Column D ของ SOL นะครับ
สมมุติว่าเราจบมาทางด้านบัญชี แล้วเราจะขอ PR ในรูปแบบของ skilled migrant ไม่ว่าจะด้วยวีซ่า
- Subclass 189; Independent Skilled Migrant
- Subclass 190; Skilled Nominated
- Subclass 489; Skilled Regional Sponsored
แต่คนส่วนมากที่เป็นนักการบัญชี เค๊าก็จะทำ skill assessment กับ CPA กัน พอเรารู้ว่าเราต้องทำ skill assessment กับ CPA เราก็เข้าไปที่ website ของ CPA; https://www.cpaaustralia.com.au แล้วก็ติดต่อสอบถามข้อมูลกับ CPA ว่าจะทำ skill assessment จะต้องทำยังไงมั่ง
หรือคนที่จบมาทางด้านวิศวะกรรมศาสตร์ ก็ต้องทำ skill assessment กับ Engineers Australia; https://www.engineersaustralia.org.au อย่างนี้เป็นต้น
ก็ให้ดูตรง Column D ของแต่ละสาขาอาชีพของตัวเองนะครับ
เดี๋ยวเราจะบอกหน่วยงานบางหน่วยงานที่หลายๆคนอยากรู้กันนะครับ
พยาบาล: http://www.anmac.org.au
I.T.: https://www.acs.org.au
ทนายความหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์จะไม่ค่อยทำ skill assessment ให้ลูกค้ากันสักเท่าไหร่นะครับ เพราะจริงๆแล้วการทำ skill assessment เป็นอะไรที่ไม่ค่อยเกี่ยวกับเราสักเท่าไหร่ เพราะไม่ได้เกี่ยวข้องอะไรกับกฎหมายอิมมิเกรชั่นเลย
ยังไงเสีย ใครจะทำ skill assessment อันใหน อะไรยังไงก็แนะนำให้ศึกษากันตั้งแต่เนิ่นๆนะครับ
ขอให้ทุกคนโชคดีในการทำ skill assessment นะครับ
No comments:
Post a Comment