Monday, October 29, 2018

เป็น PR จะต้องรอได้ citizen ก่อนมั้ยถึงจะทำเรื่องสปอนเซอร์ Partner Visa ให้กับแฟนได้


หนูหริ่ง: "พี่คะ หนูถือวีซ่านักเรียน แฟนหนูเป็น PR ตอนนี้เขาสมัคร citizen ไปแล้ว เขารอเรียกสอบ citizen อยู่ค่ะ เขาสามารถสปอนเซอร์ทำเรื่อง Partner Visa ให้หนูได้เลยมั้ยคะ หรือว่าหนูจะต้องรอให้เขาได้ citizen ก่อน แล้วถ้าเขาทำเรื่องให้หนู มันจะไปทำให้ citizenship ของเขาล่าช้าหรือเปล่าคะ"

P' J:
- เป็น PR สามารถทำเรื่องสปอนเซอร์ Partner Visa ให้แฟนได้เลยครับ ไม่ต้องรอเป็น citizen
-  การที่แฟนเรามาทำเรื่องสปอนเซอร์ Partner Visa ให้เรา มันจะไม่มีผลกระทบอะไรกับ citizenship application ของเราเลยจ๊ะ มันคนละส่วนกัน

หนูหริ่งมีคำถามเยอะจริง อะไรจริง
ไม่ต้องคิดมากนะหนู
ไม่ต้องไปฟังพวกหางอึ่งให้มาก
ถ้าคน 2 คนรักกันจริง อะไรจริง หวังที่จะถือไม้เท้ายอดทอง กระบองยอดเพชรหละก็ ทำ ๆ ไปเถอะ ไม่ต้องรอให้แฟนเราเป็น citizen ก่อนหรอก

อีกอย่างหนูหริ่งก็จะได้ไม่ต้องไปเสียค่าเทอมเรียนอะไรก็ไม่รู้ ที่ตัวเองก็ไม่ได้อยากจะเรียนเท่าไหร่

เอาค่าเทอมมาจ่ายค่าสมัคร  Partner Visa กันดีกว่ามั้ยหนู
$7,160.00 ได้ PR เลยนะหนู

ดีกว่าไอ้ที่หนูเรียน ๆ ไปเนี๊ยะ จะได้อะไรหรือเปล่า เห็นเปลี่ยน course เรียนกันไปมาอยู่นั่นแหละ Marketing บ้าง Management บ้าง Business บ้าง เฮ้ย ที่มันเรียนคล้าย ๆ กันเลยนะหนูจ๋า สมัครวีซ่านักเรียนรอบหน้า หนูจะรอดเหรอจ๊ะ จะเขียน GTE (Genuine Temporary Entry) ว่าไงกันดีหละ

anyway.... P' J ขอตัวกลับไปทำงานต่อนะครับ

รีดนมไก่ เก็บไข่วัว 

Sunday, October 28, 2018

ร้านนวด กับวีซ่า subclass 482, 186 & 187


ตั้งแต่ปีที่แล้วแล้ว ที่ร้านนวดติด caveat ซึ่งก็คือ special condition ในการที่ร้านนวดจะสามารถทำเรื่องสปอนเซอร์พนักงานได้

ไม่ว่าจะเป็น subclass 482 หรือ visa subclass 186
visa subclass 187 ไม่ติด condition เพราะวีซ่า subclass 187 คือวีซ่าที่ทางร้านที่อยู่เมืองรอบนอกสามารถทำเรื่องได้

caveat หรือ special condition ของร้านนวดที่สามารถทำเรื่องสปอนเซอร์พนักงานได้นั้น

เราขอบอกได้เลยว่าร้านนวดไทย ที่เป็นนวดแบบ นวดผ่อนคลาย หรือนวดแบบสปา อะไรประมาณนี้ ทำไม่ได้แล้ว 

แต่ก็ไม่ได้หมายความว่า ร้านนวดจะต้องเป็นคลีนิคเหมือนที่หลาย ๆ คน post กันไปเรื่อยเปื่อยตามโลก social, เราเห็นบ่อยมาก

setting ของร้านนวดที่สามารถทำเรื่องสปอนเซอร์ได้นั้นจะต้องเป็นนวดรักษา

เป็นแบบ therapeutic setting

หลาย ๆ คนก็บอกว่าที่ร้านมี healthfund
และพนักงานก็เรียนจบ Remedial Massage Therapy Practice มา (หรือใกล้เคียง) พวกใบจบหลักสูตรระยะสั้น ๆ จากวัดโพธิ์ที่เมืองไทย ใช้ไม่ได้นะครับ

มี healthfund หรือเปล่านั้น ไม่ได้เกี่ยวกับการ setup ร้านเป็น  therapeutic setting เลยครับ

การ set ร้านเป็น therapeutic setting ก็สามารถดูได้จากชื่อร้าน การทำ brochure และก็พวกรูปถ่ายต่าง ๆ รอบบริเวณร้าน

80% ของการ setting ของร้านจะต้องเป็นการนวดเพื่อรักษาอาการ เป็น therapeutic setting

หลาย ๆ คนก็บอกว่า ร้านเขาอยู่เมืองรอบนอก เป็น regional area ไม่จำเป็นต้องมีพวก special condition เหล่านี้ สามารถทำเรื่องสปอนเซอร์ได้เลย

ถูกต้องครับ
แต่ถูกแค่ครึ่งเดียว

ร้านที่อยู่เมืองรอบนอก ถ้าทำเรื่องสปอนเซอร์ด้วยวีซ่า subclass 187 RSMS ซึ่งเป็น PR เลย ก็จะไม่ติดพวก special condition เหล่านี้

ร้านที่สามารถทำเรื่องสปอนเซอร์ด้วยวีซ่า subclass 187 ไม่จำเป็นต้องว่าต้องเปิดมาแล้วกี่ปี ร้านเปิดใหม่ก็สามาถทำได้เลย (ถามมาเยอะเหลือเกิน)

แต่ปัญหามันไม่ได้อยู่ทางร้านหนะสิ
มันอยู่ที่ตัวคนสมัคร เพราะถ้าจะทำเรื่องสปอนเซอร์เป็น subclass 187 ซึ่งเป็น PR เลยเนี๊ยะ มันต้องเป็นแบบ Direct Entry ซึ่งกฎใหม่มันก็จะยากขึ้นนิดหนึ่งตรงที่ว่า:

  • คนสมัครต้องมีวุฒิการศึกษาที่ตรงกับสาขาอาชีพ (ลองอ่านข้างบนดูนะครับ)
  • คนสมัครจะต้องมีประสบการณ์ 3 ปี full-time หรือถ้า part-time ก็ต้องเป็น 6 ปี parr-time (นี่แหละปัญหาใหญ่)
  • คนสมัครจะต้องมีผลสอบภาษาอังกฤษ ถ้าเป็น IELTS ก็เป็น IELTS general, 6 each band; พูด อ่าน เขียน ฟัง

ถ้าเผื่อคุณสมบัติของคนสมัครไม่ถึงที่จะทำ visa subclass 187, RSMS แบบ Direct Entry, คนสมัครเองก็อาจจะมีคุณสมบัติพอที่จะสมัครวีซ่า subclass 482 TSS ซึ่งเป็นวีซ่าทำงาน เพราะประสบการณ์ก็ไม่ได้เอาเยอะถ้าเปรียบเทียบกับ subclass 187 และภาษาอังกฤษก็ไม่ได้เอาเยอะ ถ้าเปรียบเทียบกับ subclass 187

แต่ปัญหามันก็จะมาติดอยู่ที่คุณสมบัติของร้านอีกแหละ เพราะวีซ่า subclass 482 TSS และ subclass 186 ENS ทางร้านจะติด caveat คือ special condition อย่างที่เรากล่าวมาแล้วเบื้องต้น

ดังนั้นจึงไม่แปลกที่เราเห็นร้านนวดตอนนี้ประกาศขายกันเยอะแยะมากมาย เพราะเขาไม่สามารถทำเรื่องสปอนเซอร์วีซ่า subclass 482 TSS  และ subclass 186 ENS ซึ่งเป็น PR

จะทำได้ก็เฉพาะวีซ่า subclass 187 RSMS ซึ่งเป็นร้านที่อยู่เมืองรอบนอก

เมืองรอบนอกหนะคุณสมบัตร้านครบ แต่คุณสมบัติคนสมัครไม่ค่อยจะครบกัน

ก็อยากจะฝากเอาไว้ให้หลาย ๆ คนได้คิดกันนะครับ
ทั้งนายจ้างเอง และก็ลูกจ้าง

ถ้าคิดว่า blog นี้มีประโยชน์ โปรดแชร์



Thursday, October 25, 2018

ติด blacklist จากธนาคาร สามารถที่จะทำเรื่องสปอนเซอร์ Partner Visa เราได้ไหม


ถาม: "P' J ครับ ผมถามเผื่อเพื่อนนะครับ ถ้าคนที่จะสปอนเซอร์เราติด blacklist จากธนาคาร สามารถที่จะทำเรื่องสปอนเซอร์ Partner Visa เราได้ไหมครับ"

ตอบ: "เป็นหนี้ธนาคาร หรือติด blacklist ธนาคาร ไม่เกี่ยวอะไรกับอิมมิเกรชั่นเลยครับ ดังนั้นเราสามารถทำเรื่อง sponsor แฟนเรา ทำเรื่อง Partner Visa  ได้ครับ"

Note: ทำไมเพื่อนไม่ถามเองนะ!!!

Bridging Visa C จะเดินทางออกนอกประเทศ


หนูหริ่ง: "พี่คะ หนูถือ Bridging Visa C หรือมีเรื่องด่วน เรื่องฉุกเฉิน หนูสามารถเดินทางออกนอกประเทศได้มั้ยคะ"

P' J: "Bridging Visa C ไม่สามารถเดินทางออกนอกประเทศได้นะครับ ถ้าอยากจะออกก็ออกไปได้ แต่กลับเข้ามาไม่ได้"

Bridging Visa C มีเอาไว้สำหรับคนวีซ่าขาดจ๊ะ
กลับไปได้ กลับไปแล้ว กลับไปเลย
ฉุกเฉินหรือไม่ฉุกเฉิน อิมมิเกรชั่นไม่ได้สนใจตรงจุดนั้นจ๊ะ

อิมมเกรชั่นใจร้ายหรือเปล่า เราไม่รู้ เราไม่ขอออกความคิดเห็นตรงจุดนั้น แต่ก็เอาเป็นว่า ทุกวีซ่ามันมี condition อะไรของมันเสมอ

Friday, October 19, 2018

ร้านอยู่ใน postcode regional area จำเป็นที่จะต้องทำยอดขายมั้ย


ถาม: "ร้านที่อยู่ใน postcode regional จำเป็นที่จะต้องทำยอดขายหรือเปล่า ถึงจะสามารถทำเรื่องสปอนเซอร์พนักงานได้"

ตอบ: "ร้านอยู่ที่ไหนก็ต้องทำยอดขายหมดแหละครับ ถึงจะสามารถทำเรื่องสปอนเซอร์พนักงานได้ ร้านที่ยอดขายไม่ถึง คือร้านที่ไม่มีศักยภาพทางการเงินที่จะทำเรื่องสปอนเซอร์พนักงานได้ครับ ไม่เกี่ยวกับ postcode หรือถิ่นที่ตั้ง"

ร้านที่ไม่ต้องทำยอดขาย คือร้านที่ไม่ได้อยู่ในดวงใจของอิมมิเกรชั่นนะครับ

Tuesday, October 16, 2018

SAF วีซ่า subclass 186 หรือ 187


หนูหริ่ง: "หนูขอสอบถามเรื่อง SAF ของ วีซ่า 186 ที่หนูจะมีสิทธิ์ยื่นปีหน้าค่ะ หนูจะได้เตรียมเรื่องเงินเอาไว้, ตอนนี้ธุรกิจร้านที่ทำอยู่รายได้น้อยกว่า $10,000,000 อยู่แล้ว ซึ่งต้องจ่าย $3,000 ต่อ 1 nomination. แล้วสำหรับหนูกับลูก ซึ่งเป็นผู้ติดตาม พวกเรา 2 คนต้องจ่ายด้วยไหมคะ?  สรุปคือ 3 คน พ่อแม่ลูก ต้องจ่าย $3,000 หรือ ต้องจ่าย $9,000"

P' J: "SAF  ของวีซ่า subclass 186, subclass 187 จ่ายต่อ 1  nomination ครับ ไม่ใช่จ่ายต่อคน ดังนั้น จ่ายแค่ $3,000 ก็พอ"

Monday, October 15, 2018

Financial statement ของวีซ่านักเรียน


ถาม: "ตอนนี้ผมถือวีซ่านักเรียนเรียนภาษาอังกฤษที่ xyz ได้จนถึงปีหน้า แต่อยากจะอยู่ต่อ ทางอิมมิเกรชั่นจะขอดู bank statement ไหมครับ เผอิญตอนมาเรียน ผมยื่นแค่ bank guarantee ไม่ได้ยื่น bank statement ครับ"

ตอบ: "bank guarantee ก็ใช้ได้เหมือนกันครับ"

คำถามพวกนี้ก็เป็นอีกหนึ่งคำถามยอดฮิตของคนที่ต้องการขอวีซ่านักเรียนนะครับ

การโชว์ศักยภาพทางการเงินในการขอวีซ่านักเรียนเราสามารถทำได้หลายแบบ เพียงแต่ว่าเอกสารที่เอามาโชว์จะต้องบ่งบอกถึงศักยภาพทางการเงินที่เราสามารถถอนออกมาเพื่อที่จะใช้จ่ายในชีวิตประจำวันหรือว่าจ่ายค่าเทอม

ดังนั้นไม่ว่าจะเป็นเงินในบัญชี หรือจดหมายจากธนาคาร แบงค์การันตีว่าเรามีเงินอยู่ในบัญชีมากน้อยแค่ไหน

ส่วนบัญชีธนาคารที่เราใช้ก็ไม่จำเป็นที่จะต้องเป็นบัญชีของเราแค่คนเดียว

เราสามารถใช้บัญชีของใครก็ได้ที่เป็นบุคคลในครอบครัวของเรา

ไม่ว่าจะเป็นบัญชีของ พ่อ แม่ พี่ น้อง ลุง ป้า น้า อา

หรือบัญชีของ พ่อแฟน แม่แฟน อะไรต่าง ๆ นานาก็ว่ากันไป

เพียงแต่ว่าถ้าเผื่อเราจะใช้บัญชีของคนอื่นที่ไม่ใช่บัญชีส่วนตัวของเรา เราก็ต้องมีหลักฐานมายืนยันด้วยว่าเรามีความเกี่ยวข้องกับคนที่เป็นเจ้าของบัญชีนั้นอย่างไร

ยกตัวอย่างเช่น

ถ้าเผื่อเราจะใช้บัญชีของคุณพ่อหรือว่าของคุณแม่ เราก็ต้องมีใบเกิดมาโชว์ด้วยว่าท่านทั้งสองเป็นพ่อหรือว่าเป็นคุณแม่ของเราจริง

หรือถ้าเผื่อจะใช้บัญชีของแฟน เราก็ต้องเอาหลักฐานมายืนยันด้วยว่าเขาเป็นแฟนเราจริง มันอาจจะเป็นทะเบียนสมรส หรือว่าอะไรต่าง ๆ อย่างอื่น สำหรับคู่รักที่ยังไม่ได้แต่งงานกัน หรือคู่รักที่เป็นคู่รักเพศเดียวกัน (ที่ประเทศไทยยังไม่สามารถแต่งงานกันได้)

หรือถ้าหากเงินในบัญชีของเรามีไม่มากพอ เราก็สามารถใช้บัญชีหลาย ๆ บัญชีมารวมกันได้

บัญชีของเรานิดนึง บัญชีของคุณพ่อนิดนึง บัญชีของคุณแม่นิดนึง

บัญชีของแฟนเราอีกนิดนึง บัญชีของพ่อแม่แฟนอีกนิดนึง

เอามารวมกันได้ครับ

คณิตคิดง่าย ๆ

อย่าลืมนะครับไม่ว่าเราจะทำอะไรยังไงก็ตามแต่

Common sense จะ make sense เสมอ

Friday, October 12, 2018

ข่าว...ข่าว...ข่าว


ช่วงนี้เราก็เห็นสื่อต่าง ๆ ออกมาทำข่าวกันเรื่อง population planning กันเหลือเกิน

ข่าวนั่น นี่ โน่น
เดี๋ยวรัฐมนตรีกระทรวงอิมมิเกรชั่นก็ออกมาบอกว่ามีนโนบายที่พลักดันคนออกไปอยู่เมืองรอบนอกมั่งหละ

เดี๋ยววันต่อมาป้า Premier ของ NSW  ก็ออกมาให้ข่าวบ้างแหละว่า Sydney คนเยอะแล้ว

อะไรกันเนี๊ยะป้า ป้าเพิ่งรู้เหลือ
Sydney คนก็เยอะมาแต่ไหนแต่ไรแล้วป้า 
สองเขือพี่หลับไหล ลืมตื่นฤาพี่
พอเห็นนายกคนไหม่กับรัฐมนตรีกระทรวงอิมมิเกรชั่นคนใหม่ออกมาพูด นั่น นี่ โน่น ป้าก็ออกมาร่วมด้วย ช่วยกัน ป้าเป็นอะไรมากมั้ยป้า ป้ากินยาลืมเขย่าขวดแน่เลยป้า

เอาเป็นว่าพวกเราก็ไม่ต้องไป speculate the speculation (ต้องแปลป๊ะหนู??) อะไรกันให้มากก็แล้วกัน

ก็เอาเป็นว่าพวกที่เขียนข่าว เขาก็ทำหน้าที่เขียนข่าว ขายข่าวของเขาไป จะไปว่าอะไรเขาก็ไม่ได้ เขาต้องทำหามากินหนะน๊อ

แต่เอายังงี้ก็แล้วกัน พวกสูเจ้าทั้งหลาย โปรดฟังข้าก่อน
อันพวกนักการเมืองทั้งหลายเหล่านั้น จะเป็น Harry Potter ก็หาไม่

คือมันไม่ได้เปลี่ยนแปลงอะไรได้ทันที ปุ๊บปั๊บแบบนั้น

การที่กฎหมายอะไรจะมีการประกาศออกมาใช้ มันก็ต้องมีการผ่านกระบวนการ การไกร่กรองก่อน

ถ้าร่างกฎหมายไม่ผ่านสภาสูงหละ ทุกอย่างก็จะไม่มีอะไรในก่อไผ่
สภาล่างหนะมันผ่านแน่นอนอยู่แล้วแหละ ก็รัฐบาลกุมเสียงข้างมากอยู่นี่นา

เออ ที่มีฮาไปกว่านี้ก็คือ แล้วถ้าเลือกตั้งครั้งต่อไป
แล้วถ้ามีการเกิดการเปลี่ยนแปลงของรัฐบาลด้วยหละ
อะไรจะเกิดขึ้น... อยากจะให้ทุกคนได้คิดกัน

ดังนั้นเราก็ดู ๆ กันไปก่อนจะดีกว่ามั้ย
ยังไม่ต้องกระโตกกระตากไป

ลองหามุมมองที่แตกต่างดูนะครับ
อย่ามัวแต่เสพข่าวไปวัน ๆ 

อ้อ... แอบกระซิบข้าง ๆ หู รู้แล้วก็ไม่ต้องไปบอกใคร
พวก subclass 186 (ENS) ยังไงก็ไม่น่าจะโดนนโยบายอะไร อันใหม่นี้ที่เขาบอกว่าจะพยายามผลักดันคนไปอยู่เมืองรอบนอก เพราะ subclass 186 เป็นวีซ่าที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ ถ้านายจ้างอยู่ในเมือง เราก็ทำงานในเมือง ก็แค่นั้นเอง จบ...

เอ๊ะ ไหนเราบอกว่าไม่ต้องการ speculate the speculation ไง
แต่เอาเถอะ ขอนิดหนึงนะ ไม่ว่ากัน :)

เดี๋ยว Harry Potter ขอนั่งทำงานต่อนะครับ... ไม่ต้องดูข่าวกันให้มาก

No news is a good news  จ๊ะ
เอาเวลาไปทำอะไรอย่างอื่นที่มันมีประโยชน์กว่านี้จะดีกว่ามั้ย :)

Saturday, October 6, 2018

ขวัญของเรียม Partner Visa ไม่ต้องหย่ากับแฟนเก่า



ขวัญกับเรียมเป็นคู่รักกันหวานแหววมาจากเมืองไทย
ทั้ง 2 คนรักกันมากปานจะแหกจั๊กกะแร้ดม

เรียมทำวีซ่านักเรียนเพื่อมาเรียนต่อที่ประเทศออสเตรเลีย
ขวัญเองก็ถือวีซ่าติดตามเรียมมา แหมมันช่างเป็นอะไรที่หวานแหวว เหมาะเจาะอะไรเช่นนี้

ทั้ง 2 ได้จดทะเบียนสมรสเป็นสัญญารักมั่น
ได้กระดาษ A4 มาแปะข้างฝา 1 ใบ

เรียมก็ไปเรียนหนังสือในมหาลัยแห่งหนึ่ง เอาเป็นว่าเรียนที่ UOW ละกัน
ขวัญเองก็ทำงาน หามรุ่งหามค่ำที่ร้านอาหารไทยที่นี่บ้าง ทำงาน clean บ้าง เพื่อเลี้ยงดูครอบครัวและทำหน้าที่ของคู่รักที่ดีต่อเรียม

แต่เนื่องด้วย lifestyle ที่เริ่มแตกต่าง
คนหนึ่งไปเรียนในมหาลัย
คนหนึ่งทำงาน
ทั้ง 2 คนเวลาไม่ค่อยตรงกัน
ทั้ง 2 คนเริ่มที่จะมีเพื่อนคนละกลุ่มที่แตกต่างกันออกไป

ทั้ง 2 เริ่มห่างเหิน ถึงแม้ว่าจะอยู่ด้วยกัน บ้านหลังเดียวกัน
กายอยู่ ใจไม่อยู่ อะไรต่าง ๆ เริ่มดูไม่ลงตัว
ขวัญกับเรียมดูเหมือนว่าความสัมพันธ์ดูเริ่มจืดจาง

ขวัญกับเรียมก็เลยนั่งจับเข่าคุยกัน
แล้วทั้ง 2 คนก็ตกลงกันว่าเปลี่ยนสถานะจาก married มาเป็น open relationship

โอ้ ช่างเป็นอะไรที่ modern จริง ๆ 
"open" relationship หมายความว่า ยังเป็นคู่รักกันอยู่ แต่ไม่ผูกมัด ทั้ง 2 ฝ่ายสามารถเลือกที่จะมีคนใหม่ได้

ทั้งคู่เริ่มดูเหินห่าง

แก้วที่มันร้าว ไม่นานก็คงจะแตก

เรียมบางทีก็เรียนดึก กลับบ้านค่ำ ๆ มืด ๆ 

กลับดึก อยู่ก็ลึกในซอยเปลี่ยว
โดดเดี่ยว ดึกอย่างนี้ ไม่มีผู้คน
เดินเข้าไป หัวใจเรียมหล่น
เรียมคอยกังวลอยู่อย่างนี้ ทุกทีคงแย่

เรียมต้องการรูปหล่อ กล้ามใหญ่ ใครสักคน
ที่จะมีจิตใจต่อกัน
มีแก่ใจ ไปไหนไปกัน
จะเปลี่ยว จะดึก เรียมคงไม่กลัว

และแล้ว เรียมก็ได้รู้จักเพื่อนชายคนใหม่ เขาเป็นคนที่นี่ (PR/Citizen)เพื่อนใหม่ของเรียมชื่อ "มาก" 
"มาก" เป็นคนไทยมาจากพระโขนงที่มาเติบโตที่นี่

มากเป็นคนรูปร่างสูง ใส่แว่น เป็นเด็กเรียน
มากกล้ามใหญ่ เรียมชอบ
เรียมอยู่ด้วยแล้วรู้สึกอบอุ่น คุยกันรู้เรื่อง

มากกับเรียมก็เริ่มใช้ชีวิตคู่ด้วยกัน 
เรียมย้ายออกมาจากขวัญ และมาใช้ชีวิตคู่ร่วมกันอยู่กับมาก
1 ปีผ่านไป มากต้องการให้เรียมอยู่กับเขา ตราบจนชั่วฟ้าดินสลาย

มากก็เลยจะทำเรื่อง Partner Visa ให้กับเรียม 
ถึงแม้ว่าเรียมยังไม่หย่าจากขวัญก็ตามเถอะ เพราะทั้งมากและเรียมได้ใช้ชีวิตคู่ร่วมกันมาเกิน 1 ปีแล้ว

แต่ติดอยู่ตรงที่เรียมเองก็เป็นห่วงขวัญ เพราะขวัญเองก็ถือวีซ่าติดตามเรียมมา

ขวัญกับเรียมไม่ได้ทะเลาะกัน
ทั้ง 2 คนจากกันด้วยดี ยังเป็นเพื่อนที่ดีต่อกัน

ที่ผ่านมา 1 ปีถึงแม้ว่าเรียมจะไปให้ชีวิตอยู่กับมาก
เรียมก็ไม่เคยแจ้งเรื่องอะไรไปที่อิมมิเกรชั่น
ขวัญก็อยู่ของขวัญเงียบ ๆ ไป ทำงานเก็บตังค์อะไรของขวัญไป

โถ พ่อขวัญของเรียม

ถึงแม้ว่าเรียมจะไปเริ่มต้นชีวิตใหม่กับมากแล้ว
เรียมก็ไม่อยากที่จะทำร้ายใครทั้งสิ้น

เรียมอยากจะรู้ว่า เรียมจะสามารถทำอะไรได้บ้าง

สิ่งที่เรียมสามารทำได้ก็คือ:

  • เรียมก็ทำ Partner Visa กับมากไปตามปรกติ เพราะคุณสมบัติเรื่องความสัมพันธ์ของมากกับเรียมครบสมบูรณ์ ไม่มีปัญหา
  • เรียมก็ไม่ต้องแจ้งเรื่อง cancel visa อะไรของขวัญไป
  • ขวัญก็ใช้ชีวิตของขวัญไปเรื่อย ๆ เงียบๆ ขวัญอาจจะเจอรักใหม่ก็ได้ ใครจะรู้
  • แต่ขวัญเองก็ต้อง update email address และ contact detail กับทางอิมมิเกรชั่นด้วย เพราะถ้าเผื่อทางอิมมิเกรชั่นจะ cancel วีซ่าของขวัญ ขวัญจะได้อุทธรณ์กับ AAT ได้ทัน แต่เราก็คิดว่าคงอีกนานกว่าอิมมิเกรชั่นจะได้รับข้อมูลตรงจุดนี้ ดังนั้นขวัญเองก็ไม่ต้องหวาดผวาอะไรมากจนเกินเหตุ

จะเกิดอะไรขึ้นกับขวัญ ไม่มีใครทราบได้
เพราะหน่วยงานของ Partner Visa เองเขาก็ busy ของเขาอยู่แล้ว พอได้รับ application ของเรียมกับมาก ทางเจ้าหน้าที่เองอาจจะไม่ได้มีเวลาในการแจ้งไปที่อีกหน่วยงานหนึงที่คอยดูแลในเรื่องการยกเลิกวีซ่านักเรียนก็ได้

ดังนั้นขวัญเองก็ไม่ต้องกลัวอะไรมากมาย
ไม่ต้องหวาดผวาเกินความจำเป็น

ในส่วนเรียมเองก็จะได้ move on มี relationship ใหม่กับมากกันต่อไป

นี่แหละ เรื่องของความรัก
มันไม่เข้าใครออกใครจ๊ะ

โถ... รักหลายเศร้า...

ขวัญของเรียมกับพี่มากพระโขนง