Friday, September 30, 2022

Skill Assesment; version update 2022

เนื่องด้วยช่วงนี้เราได้เขียน blog เกี่ยวกับ Skilled Migrant เอาไว้เยอะ blog นี้ก็เลยขอเขียนอะไรเกี่ยวกับ skill assessment กันสะหน่อยนะครับ


การที่ชาวต่างชาติจะอพยพหรือเข้ามาทำงานที่ประเทศออสเตรเลียนั้น ทางรัฐบาลต้องการที่จะ make sure ว่าวุฒิการศึกษาและประสบการณ์การทำงานของคนๆนั้นได้มาตรฐานตามที่ประเทศออสเตรเลียกำหนดเอาไว้ ไม่ว่าคนๆนั้นจะจบการศึกษามาจากประเทศอื่นหรือจบการประเทศออสเตรเลียก็ตามเถอะ


การทำ skill assessment เพื่อขอวีซ่าในรูปแบบของ Skilled migrant จะแตกต่างจากการทำ skill assessment ของวีซ่าทำงาน temporary work, visa subclass 457 บ้างเล็กน้อย


blog นี้จะเน้นการทำ skill assessment เพื่อการขอวีซ่าในรูปแบบของ Skilled migrant:
Subclass 189; Independent Skilled Migrant
Subclass 190; Skilled Nominated
Subclass 489; Skilled Regional Sponsored


จริงๆแล้วจุดประสงค์ของ skill assessment ก็เพื่อเป็นการเช็คว่าวุฒิการศึกษาของคนที่ต้องการเข้ามาอยู่ในประเทศออสเตรเลียนั้นได้มาตรฐานของประเทศออสเตรเลียหรือเปล่า เพราะแต่ละประเทศระบบการเรียนการสอนจะไม่เหมือนกัน มาตรฐานทางการศึกษาไม่เหมือนกัน เพราะบางมหาวิทยาลัยห้องแถวจากบางประเทศอาจจะมีมาตรฐานเทียบเท่าแค่ TAFE หรือ college ของประเทศออสเตรเลียก็ได้ ทางรัฐบาลและอิมมิเกรชั่นเองก็มีหน่วยงานที่คอยตรวจเช็คและตรวสอบเพื่อเปรียบเทียบมาตรฐานทางการศึกษาของสถาบันแต่ละสถาบันในแต่ละประเทศ


skill assessment ในแต่ละสาขาอาชีพที่อยู่ใน SOL; Skilled Occupation List จะไม่เหมือนกัน แตกต่างกันไปตามสาขาอาชีพ และหน่วยงานที่ดูแล ดังนั้นจึงเป็นการสำคัญที่เราจะต้องรู้ด้วยว่า สาขาอาชีพอะไร หน่วยงานใหนรับผิดชอบในเรื่องของการทำ skill assessment และภาษาอังกฤษที่ใช้ ต้องสอบเป็น general หรือ academic


การสอบภาษาอังกฤษเพื่อที่จะคำนวณ point ของ skilled migrant ปกติแล้วสอบแค่ general ก็พอ แต่การสอบภาษาอังกฤษเพื่อที่จะทำ skill assessment นั้น บางสาขาอาชีพก็ต้องสอบเป็น academic ดังนั้นเราต้องเช็คข้อมูลตรงนี้ก่อนว่า สรุปแล้วเราต้องสอบภาษาอังกฤษแบบใหนกันแน่


เนื่องด้วยสาขาอาชีพใน SOL มีเยอะ เราก็เลยไม่สามารถเอาข้อมูลของแต่ละสาขามาอธิบายได้นะครับ


การทำ skill assessment ของ skilled migrant ก็คือการเอาวุฒิทางการศึกษา ใบ certificate อะไรต่างๆที่เราเรียนจบและวิชาที่เราลงทะเบียนเรียน (transcript) ส่งไปให้หน่วยงานที่รับผิดชอบเช็คว่าวิชาที่เราเรียนได้มาตรฐานของการศึกษาของประเทศออสเตรเลียหรือเปล่า


สำหรับคนที่จบปริญญาตรีและปริญญาโทในสาขาที่ใกล้เคียงกัน เราก็เอาวุฒิของปริญญาตรีเท่านั้นในการทำ skill assessment ดังนั้นถ้าใครตอนนี้เรียนปริญญาโทอยู่ เราก็ไม่จำเป็นต้องรอให้เราจบปริญญาโทเพื่อที่จะทำ skill assessment เราสามารถเอาวุฒิปริญญาตรีของเราทำ skill assessment ไปเลย ในขณะที่เรากำลังเรียนปริญญาโท แต่หลายคนก็ชอบอ้างว่าไม่มีเวลาทำเพราะเรียนหนัก รอเรียนให้จบก่อนแล้วค่อยทำ skill assessment


จริงๆแล้ว skill assessment มีเอาไว้เพื่อเช็คมาตรฐานทางการศึกษาของคนที่จบการศึกษามาจากประเทศอื่น ซึ่งเราก็ไม่เข้าใจเหมือนกันว่าทำไมเด็กนักเรียนต่างชาติที่มาเรียนและก็จบการศึกษาที่ประเทศออสเตรเลียถึงต้องทำ skill assessment ด้วย เพราะถ้าเค๊าจบการศึกษาที่ประเทศออสเตรเลียแล้ว การศึกษาของเค๊ามันก็ต้องได้มาตรฐานของประเทศออสเตรเลียสิ บางทีกฎระเบียบการทำ skill assessment ของอิมมิเกรชั่นมันก็ไม่ค่อยที่จะ makesense สักเท่าไหร่ แต่เราก็คงหลีกเหลี่ยงไม่ได้ ถ้านั่นเป็นสิ่งที่ทางรัฐบาลออสเตรเลีย หรืออิมมิเกรชั่นต้องการ


ดังนั้นถ้าใครที่คิดจะทำ skill assessment เพื่อขอวีซ่าแบบ skilled migrant ก็ต้องเตรียมตัวกันตั้งแต่เนิ่นๆ อย่าปล่อยให้เรียนจบแล้วค่อยเตรียมตัว เพราะบางทีตอนที่เราเรียนจบแล้ว วีซ่าเราก็จวนเจียนใกล้จะหมด อาจจะไม่มีเวลาในการทำ skill assessment ก็ได้ เพราะการทำ skill assessment บางสาขาอาชีพนั้นก็ใช้เวลานานพอสมควร อย่างเช่นการทำ skill assessment ของสาขาอาชีพวิศวกรเป็นต้น เพราะต้องเขียน project ประกอบการทำ skill assessment ด้วย


ดังนั้นถ้าใครที่คิดจะทำ skill assessment เพื่อขอวีซ่าแบบ skilled migrant เราแนะนำให้รีบสอบภาษาอังกฤษ ไม่ว่าจะเป็น IELTS หรืออะไรก็ตามแต่ที่เทียบเท่า เพราะว่าพอเรียนจบก็จะได้ทำ skill assessment เลย จะได้ไม่ต้องมาเสียเวลาไปสอบภาษาอังกฤษและก็รอผลสอบอีก


ขอให้ทุกคนประสบความสำเร็จในการขอวีซ่าประเภทนี้นะครับ skilled migrant...

Student Agent; วีซ่าท่องเที่ยว & วีซ่านักเรียน



Student Agents ที่ promote ว่ายื่นวีซ่าท่องเที่ยวแล้วไม่ติด 8503 (ห้ามยื่นเรื่องต่อภายในประเทศ) แล้วให้มายื่นวีซ่านักเรียน onshore

มันไม่ได้ง่ายแบบนั้น

เพราะว่าเราเห็นคนที่ได้วีซ่าท่องเที่ยวแล้วติด 8503 เยอะมาก
มี email เข้ามาถามเราเรื่อย ๆ เรื่องนี้

ตัวเองขอแล้วไม่ติด 8503
ไม่ได้แปลว่ามันไม่มี

ชอบคิดอะไรกันง่าย ๆ
ชอบ promotes อะไรกันตื้น ๆ

แมงเม่าก็เยอะ

เข้าใจว่าค่าสมัครมันแค่ $150 (offsore, subclass 600)
แต่มันเป็นการ promote ที่ผิด ๆ
ที่บอกข้อมูลไม่ครบ ครึ่ง ๆ กลาง ๆ

...ตามนั้น...

AUD กับแมงเม่า



ประเทศออสเตรเลียใช้เงินเป็น AUD ครับ
ถ้าบริษัทไหน อะไร ยังไง โฆษณาขอวีซ่ามาทำงานแล้วได้ค่าแรงคำนวณออกมาเป็นเงินบาท THB

ตัวเลขมันช่างดูสูง ดูเยอะ ล่อตาล่อใจ
ยั่วยวนใจเสียนี่กระไร

ถ้าค่าแรงคำนวณออกมาเป็นเงินบาท THB ให้เสร็จสรรพ
มันมีกลิ่นตุ ๆ นะ

ทำไมไม่คำนวณให้เป็นเงิน AUD
hmmmm.... ชวนสงสัย 🙂

ระวังเด้อ แมงเม่าทั้งหลาย

...ไม่รู้...ไม่รู้...

Subclass 482; ผลการเรียน 5 ปี



Subclass 482 ผลการเรียน 5 ปี
ไม่ต้องสอบภาษาอังกฤษ

เราสามารถนับกันเองได้เลยครับ
หรือถ้าจะ email มาหา P' J
P' J ขอเป็น format แบบนี้ใน MS-Word นะครับ
ทำเป็นตารางมาจะได้ง่ายสำหรับทุกคน เพราะแต่ละวันเรามี email เยอะมากครับ ต้องขอโทษจากใจริง และ P' J ก็ตอบเองทุก email


Tuesday, September 27, 2022

วีซ่าท่องเที่ยว & วีซ่านักเรียน



"วีซ่าท่องเที่ยว & วีซ่านักเรียน"


- วีซ่าท่องเที่ยวทำงานไม่ได้ครับ

- วีซ่าท่องเที่ยว ยื่นวีซ่านักเรียน onshore ได้ Bridging Visa A ก็ทำงานไม่ได้ครับ

- วีซ่าท่องเที่ยว ยื่นวีซ่านักเรียน onshore ได้ Bridging Visa A ก็ทำงานไม่ได้ครับ ถ้าวีซ่านักเรียนไม่ผ่าน แล้วยื่นอุทธรณ์ รอเรื่อง 2-2.5 ปี ก็ทำงานไม่ได้ครับ

ส่วนจะทำเรื่องขอทำงาน มันก็คงไม่ make sense เพราะวีซ่านักเรียน you ต้อง demonstrate ว่า you มีศักยภาพในการเงินในการจ่ายค่าเทอม ค่ากิน ค่าอยู่

ศึกษารู้เท่าทันนะครับ

อ่านอะไรในกลุ่มโยกย้ายที่ให้ข้อมูลแค่ด้านเดียว
fake มากขอบอก

อ่านอะไรในกลุ่ม "ทีมต่าง ๆ บ้าบอคอแตก" ที่ให้ข้อมูลแค่ด้านเดียว
review bluff กันไปวัน ๆ
เต็มไปด้วย spam ของ student agents เอย
ครูสอน IELTS เอย
fake มากขอบอก

อ่านอะไรใน page ให้กำลังใจ ให้ idea ในการโยกย้ายที่ให้ข้อมูลแค่ด้านเดียว ที่ตัวเองก็ยังไม่เคยทำอะไรแบบนั้นมาก่อน
fake มากขอบอก

Note: ไม่ชอบให้เลื่อนผ่าน ไม่ต้องเสียเวลา ไปวิ่งต่อในทุ่งลาเวนเดอร์ของ you นะครับ ว่ายน้ำบนบก!!!

Sunday, September 25, 2022

Partner Visa ภาษาของหัวใจ ขวัญกับเรียม



ความรักมันเป็นภาษาของหัวใจ ภาษาดอกไม้ ภาษาสีชมพูนะ จะเพศเดียวกันหรือต่างเพศ จะสูงขาวดำเตี้ยอะไรก็ตามแต่ ถ้ามันได้รักกันแล้ว จะแต่งกันปุ๊บปั๊บมันก็ทำกันได้ อิมมิเกรชั่นไม่ได้มองว่าเป็น commercial อะไรยังไง ขอเพียงให้เรารักกันจริง ชั่วฟ้าดินสลาย เหมือนขวัญกับเรียม และสามารถพิสูจน์ได้ว่า ความรักระหว่าวขวัญกับเรียมนั้น

  • long-term, long-term ในที่นี้คือกะจะอยู่กันยาว ถือไม้เท้ายอดทองกระบองยอดเพชรนะครับ ไม่ได้เกี่ยวว่าคบกันมานานแล้ว
  • genuine, ขวัญกับเรียมต้องรักกันจริง ไม่ได้จ้างแต่ง
  • continuing, ก็ประมาณว่า ขวัญยังรักเรียมอยู่ ยังไม่หมดรัก พิศวาสยังไม่สิ้น

ถ้าสามารถโชว์ได้ 3 อย่างนี้ ต่อให้เจอกันปุ๊บ รักกันปั๊บ แต่งกันเลยก็ไม่มีปัญหาอะไร ปัญหามันจะอยู่ที่ว่า ขวัญกับเรียมจะโชว์เอกสารอะไรได้มั่งเพื่อให้ครบคุณสมบัติของความรักที่แท้จริง ดัง 3 ประการเบื้องต้น

ไม่ว่าจะ
เพศเดียวกันหรือต่างเพศ ทุกคู่รักสามารถจด register of relationship (WA ไม่มี, NT ไม่แน่ใจ) หรือแต่งงานได้ สมรสเท่าเทียมเป็นสิ่งที่สวยงาม เมืองไทยควรมีอย่างยิ่ง

ถ้าจะจดทะเบียนแต่งงานกันที่ออสเตรเลียจะต้องมีการ book วันก่อนล่วงหน้านะครับ 30 วันเพราะการ book วันแต่งงานทางหน่วยงานจะมีการ list รายชื่อคู่ที่จะแต่งงาน และจะดูว่าจะมีใครมา object หรือประท้วงหรือเปล่า เพราะไม่ว่าเราหรือเขาอาจมีคู่คดีเก่าที่ยังสะสางปัญหาหัวใจกันยังไม่เสร็จ พิศวาสยังไม่สิ้น ถ้ามีใครมาประท้วงหรือ object การแต่งงาน เราก็ยังแต่งไม่ได้

30 วันก็นานเหมือนกันนะครับ ใครที่วีซ่าใกล้จะหมดก็ต้องมีการเตรียมตัวกันล่วงหน้าด้วยนะครับ

หากคู่รักคู่ใหน ไม่อยากที่จะรอ 30 วันก็สามาถจูงมือถือแขน จุจุ๊บ จุจุ๊บ กันไปจดทะเบียนความสัมพันธ์กัน (register of relationship) ได้เลย เพราะการจด register of relationship ไม่ต้อง book เดินไปจด จ่ายเงิน แล้วเดินออกมาได้เลย

  • การจด register of relationship สามารถทำได้เฉพาะแค่บางรัฐเท่านั้น
  • การจด register of relationship สามารถนำเอาใบเสร็จที่จ่ายตังค์มาขอ Partner Visa แบบ defacto ได้เลย
  • การจด register of relationship สามารถทำได้ทั้งคู่รักเพศเดียวกัน หรือคู่รักต่างเพศ 
  • การจด register of relationship มีข้อดีคือ ถ้าอยู่มาวันหนึ่ง ทั้งคู่ต้องเลิกลากันไป ทั้งคู่ก็แค่เก็บข้าวของ แล้วเดินจากกันไป ไม่ต้องไปทำเรื่องหย่าให้เสียเวลา
  • การจด register of relationship, เราไม่จำเป็นต้องอยู่ด้วยกันถึง 12 เดือน 

ดังนั้น ไม่ว่าเราจะรักกันแบบ ขวัญกับเรียม ขวัญกับขวัญ หรือเรียมกับเรียม ก็สามารถจด register of relationship ได้หมดนะครับ

Copyright: แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น, ไม่อนุญาตให้ copy & paste, ไม่อนุญาตให้ screen capture

ยื่นเมื่อพร้อม; โยกย้าย & แมงเม่า



เมื่อประเทศออสเตรเลียเปิด border แล้ว
เมื่อกระแสโยกย้ายต่าง ๆ นานาโพสต์กันว่อนใน internet
เมื่อ facebook กลุ่ม "ทีมต่าง ๆ นานา" มีการ review ชีวิตต่าง ๆ นานาที่เมืองนอก

ความสุขอันหอมหวาน
ค่าแรงอันแสนสูง
ขับ rider ก็ได้เงินเป็นกอบเป็นกำ
อากาศอันปราศจาก PM2.5

ดาราโพสต์ว่าอาหารที่นั่นที่นี่ จานละเท่านั้นเท่านี้ เขาโพสต์ในพื้นที่ของเขาก็เดือดร้อนกันไปทั่ว ประโยคสุดท้ายของเขามันคงแทงใจสินะ ไม่ชอบก็เลื่อนผ่าน แค่นั้นป๊ะวะ จะอะไรกันนักกันหนา ทุกอย่างต้องโยงเข้าการเมืองหมด... ขุ่นพระ... แบบนี้เราแนะนำให้ลงสมัครเลือกตั้งเองนะครับ

กับกระแสโยกย้ายที่ทุก ๆ คนก็คิดเอาเหมือนว่าที่ประเทศออสเตรเลียคือเกาหลีใต้ ที่ซื้อตั๋วเครื่องบินแล้วเข้าประเทศได้เลย

ตื่นจ๊ะลูก

ที่นี่ไม่ใช่กรุงเทพ-เชียงใหม่ที่จะซื้อตั๋วแล้วบินได้เลย

เราได้รับ email เยอะมากที่ส่ง email มาหาเราแล้วบอกว่าวีซ่าไม่ผ่าน บางคนก็ยื่นกันเอง บางคนก็มีเอเจนต์ที่ทำวีซ่าท่องเที่ยวยื่นให้

ค่าสมัครวีซ่าท่องเที่ยวที่ offshore ไม่แพงครับ
$150 
คนที่นึกอยากจะยื่นก็ยื่นกันเองได้

แต่... แต่... เราก็ต้องตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริงด้วยว่า:

1. เราจะสมัครวีซ่าอะไร
2. คุณสมบัติของเราน่าผ่านหรือเปล่า แบบไม่หลอกตัวเอง
3. ถ้าวีซ่าผ่านแล้ว เราจะทำอะไร ยังไงต่อกับชีวิต; 1-2-3-4

เราได้มีการเตรียมตัวเอาไว้หรือยัง

ไม่ใช่ตะบี้ตะบันสมัครเข้าไปเพียงเพราะว่าเห็นคนอื่นสมัคร แต่ไม่ได้ดูเลยว่าคุณสมบัติเราครบหรือเปล่า เรามีความรู้เรื่องวีซ่าดีแค่ไหน

หรือเลือกที่ไปอ่าน ไป follow page ให้แรงบันดาลใจต่าง ๆ นานา เราก็ต้องดูด้วยว่าเขามาด้วยวิธีไหน สรุปแล้วเรากับเขามีคุณสมบัติคล้าย ๆ กันหรือเปล่า

บางคนยื่นวีซ่าท่องเที่ยวเข้าไปแล้วไม่ผ่าน 2 รอบ
นั่นมันกำลังบอกอะไรเราหรือเปล่าครับ
บางทีเราก็ต้องอยู่ในโลกของความเป็นจริง

ทำอะไรช้าลงหน่อยก็ได้
ศึกษาหาความรู้เรื่องวีซ่าไปก่อน
รออีกซัก 6-12 เดือนดีกว่ามั้ย
ทำคุณสมบัติของตัวเราเองให้ดีกว่านี้ก่อน ทำ profile ของเราให้ดีกว่านี้ดีกว่ามั้ย แล้วค่อยสมัครทีเดียวแล้วผ่านเลย ไม่ดีกว่าเหรอ

ดีกว่าจะยื่นแล้วยื่นอีก แล้วก็ถูก knocked back

เราอยากเห็นทุกคนไปถึงฝั่งฝันครับ
แต่เราไม่อยากเห็นแมงเม่า เพราะแมงเม่ามีเยอะมาก

เราได้รับ email ที่หลาย ๆ คนวีซ่าไม่ผ่านแล้วต้องการให้เรา review เยอะมาก ส่วนมากแล้วเราไม่ review ครับ 

เอาจริง ๆ คือเราไม่มีเวลา ถ้านัดปรึกษามาแต่แรกจะดีกว่า เราจะได้บอกว่า "case นี้ควรไปต่อ" หรือ "case นี้ให้รอก่อน" 

แต่ถ้ายื่นไปแล้ว แล้วโดนปฏิเสธ
โดนเจาะไข่แดงไปแล้ว คนที่ยื่นก็ต้องรับผิดชอบนะครับ รวมไปถึงคนที่ยื่นเอง
ก็เหมือนกับกางเกงในนั่นแหละ ไม่มีใครอยากใช้ของคนอื่น... 
ใครเป็นคนยื่น ให้คนนั้นเป็นคนดูแล เราไม่ค่อยรับของเก่าใคร
condom ใส่แล้ว ไม่ใส่ซ้ำนะครับเด็ก ๆ 

ศึกษาหาความรู้ตั้งแต่เนิ่น ๆ ยื่นเรื่องเมื่อพร้อมจะดีที่สุดครับ
ไม่ต้องไปตะบี้ตะบันยื่นตามคนอื่นเขา เพียงเพราะเห็นคนนั้นคนนี้ review นั่น นี่ โน่น

ที่เขามาได้ แสดงว่าเขาคงพร้อม
ของเราที่โดนปฏิเสธก็อาจจะเป็นเพราะ "ตอนนี้" เรายังไม่พร้อม คุณสมบัติเรายังไม่ครบ

แต่ไม่แน่ อีก 6-12 เดือน คุณสมบัติเราอาจจะเปลี่ยนไปก็ได้
แล้วค่อยยื่นตอนนั้นจะดีกว่าครับ

เป็นกำลังใจให้กับทุกคน
แต่ก็อยากให้ทุกคนตั้งอยู่บนพื้นฐานของความเป็นจริง ไม่หลอกตัวเอง

...ยื่นเมื่อพร้อม...

Saturday, September 24, 2022

10 ปี 12 ปี ได้กลับเมืองไทยแล้ว

 


ชีวิตคนเรา บางทีก็เหมือนเช่นดั่งละคร

หลาย ๆ คนมีความคิดความอ่านที่แตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่คุณวุฒิและวัยวุฒิของแต่ละคน

ทุกคนมีต้นทุนชีวิต พื้นฐานการเลี้ยงดูที่แตกต่าง

Friday, September 23, 2022

Subclass 186/187: ผลสอบภาษาอังกฤษ

Subclass 186/187, ผลสอบภาษาอังกฤษต้องยื่น ณ วันที่ยื่นเรื่องนะครับ

ตอนยื่น Stage 2; Visa Application

Subclass 186/187 ไม่สามารถยื่นผลสอบภาษาอังกฤษตามไปทีหลังได้
ต่อให้ยื่นอุทธรณ์ก็ตาม

ถ้าได้ผลสอบภาษาอังกฤษมาแล้ว
ก็ต้องยื่นเรื่องใหม่นะครับ
No choice.

Sunday, September 18, 2022

แอบส่องอาชีพ: Real Estate Agent



สืบเนื่องมาจาก blog ก่อนที่ P' J เขียนถึงระบบการศึกษาและโอกาสในชีวิตที่ประเทศออสเตรเลีย ที่ P' J dealing กับ real estate agent ที่ Brisbane, QLD วันนี้ก็เลยขอซูมเลนส์ส่องอาชีพไปที่ real estate agent ดูนะครับ เราคิดว่ามันเป็นอีกหนึ่งอาชีพที่น่าสนใจเลยทีเดียวหละ

ถึงแม้ว่าอาชีพ real estate agent จะถูก rank number 2 ลองลงมาจาก car salesperson ในเรื่องของอาชีพที่มีความน่าเชื่อถือน้อยก็ตาม (อันนี้เราอ่านเจอในหนังสือพิมพ์นานแล้ว ตอนนี้ทุกอย่างอาจเปลี่ยนแปลงแล้วก็ได้)

real estate agent เป็นอาชีพที่ไม่มีเพดานทางด้านรายได้
ไม่จำเป็นต้องมีหน้าร้าน เพราะบริษัท real estate จะเป็นคนดูแลในเรื่องนี้

real estate agent ก็คือ "พนักงานขาย" ดี ๆ นี่แหละ ยิ่งขายดีขายเก่ง ยิ่งได้ commision เยอะแบบไม่มีเพดาน

เป็นอาชีพที่ไม่ต้องมีหน้าร้าน มีแค่โทรศัพท์มือถือเครื่องเดียวก็ทำงานได้แล้วครับ ถ้าข้ออ้างไม่เยอะ

ไม่ต้องไปยืนขาขดขาแข็งเหมือนงาน hospitality หรืออาชีพที่มีหน้าร้านทั่ว ๆ ไป ยืน ๆ ปิ้ง ๆ ย่าง ๆ อยู่หน้าเตาไฟ รายได้ถูกจำกัดตามเวลาปิดเปิดของธุรกิจ

shhhh... คนมีตังค์ไม่ค่อยอวด คนอวดไม่ค่อยมีตังค์....

อะ เดี๋ยวเรามาแกะรอยอาชีพนี้กันดู

Note1: P' J ไม่ใช่ real estate agent อันนี้เราเขียนจากที่เราได้มีโอกาสสัมผัสมา ถ้าใครติดตามเราใน facebook page ส่วนตัวก็พอจะรู้ว่าเราก็มีการลงทุนในอสังหาอยู่พอกร้อมแกร้ม ตามรอย Robert Kiyosaki สิ่งที่เราจะเขียนต่อไปนี้ เราเขียนในฐานะของคนนอก outsider ที่มองเข้ามาข้างใน ข้อมูลผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้ากราบงาม ๆ ขออภัยเอาไว้ ณ ที่นี้ อนุญาตให้ตีตูด 3 ที หรือ real estate agent ท่านไหนแวะผ่านมาที่ Wollongong, ก็มา educates เราได้นะครับ over the cup of tea

Real Estate Agent คืองานขายที่รายได้ไม่มีเพดาน คุณขายเยอะ คุณก็ได้ค่า commission เยอะ แค่นั้นเลยจริง ๆ 

และ agent ที่เก่ง ๆ เขาขายบ้านได้ปีละมากกว่า 100 หลังก็มีครับ (อันนี้มีจริงครับ confirm ได้ แต่ก็อย่างที่บอก ...คนมีไม่ค่อยอวด คนอวดไม่ค่อยมี...)

ช่วง 2020-2021-2022 เป็นปีที่ property booming มาก คุณพระ

เมื่อรัฐบาล import immigrant เข้ามาในประเทศ เพื่อ boost economy
New arrival, new commers เหล่านี้ก็ต้องการที่อยู่อาศัย 
ยังไง ๆ มันก็คือปัจจัย 4

ตอนนี้ demand มีมากกว่า supply
และมันก็เกิดขึ้นมาแล้วกับเรา ประสบการณ์ตรง
เราเคยไป inspect บ้านในปี 2020 ช่วง COVID, บ้านหลังสวย ๆ อยู่ติดทะเลสาบ ทำเลดี ๆ วิวสวย ๆ พอเราไปถึงนะ มีคนเข้าคิวอยู่แล้วเพื่อจะ inspect อยู่ประมาณ 100 คน

100 คนครับ อ่านไม่ผิด
เราเองก็แทบ shock เหมือนกัน ว่า "เฮ้ย นี่เรามาซื้อบ้านนะ ไม่ได้มาซื้อ McDonald" ทำไมแถวเข้าคิวมันยาวมาก inspect บ้านช่วงปี 2020/2021 เป็นอะไรที่ท้อมาก เพราะการแข่งขันสูงมาก คนได้เงินเหนาะ ๆ เลยคือ real estate agent

ใครบอกว่าช่วง COVID คนไม่มีเงิน!!!

ดังนั้น real estate agent เก่ง ๆ ขายบ้านได้ปีละ 100+ หลังเป็นเรื่องที่ทำกันได้ครับ ไม่ใช่เรื่องเพื้อฝัน

เดี๋ยวเรามาลองชำแหละรายได้ที่ real estate agent จะได้รับกันดูนะครับ ผิดถูกประการใด กราบขออภัยไว้ ณ ที่นี้ 

- สมมุติว่า real estate agent ขายบ้านได้ปีละ 100 หลัง (อันนี้คือ modest แล้วนะ)

- สมมุติว่าเราคา "เฉลี่ย" อยู่ที่หลังละ $700,000.00

- 100 หลัง = $70,000,000.00

- สมมุติว่าบริษัท real state ได้ 3% commission จาก developer
3% x $70,000,000.00
= $2,100,000.00

- บริษัท real estate ก็ split กันกับ real estate agent, 30:70
บริษัท real estate ได้ 30% ของ commission ($2,100,000.00)
real estate agent ได้ 70% ของ commission ($2,100,000.00)
70% x $2,100,000.00
= $1,470,000.00

 Note2: 3% commision จาก developer นี่คือแล้วแต่ agreement ของแต่ละบริษัท หากข้อมูลเราผิดพลาดประการใด ข้าพเจ้าขออภัย

Note3: split ระหว่างบริษัท real estate กับ real estate agent; 30:70 อันนี้ก็แล้วแต่ข้อตกลงของแต่ละบริษัท ไม่ได้ fix ตายตัว

เบา ๆ ค่า commission AUD $1,470,000.00
สำหรับการขายบ้าน 100 หลังต่อปี

real estate agent บางคนอาจจะบอกว่า "หนูไม่เห็นขายได้ปีละ 100+ หลังเลย"

อ๋อ... นั่นมันปัญหาของหนูจ๊ะแล้วหละ ไม่ใช่ปัญหาของพี่ 
เพราะคนที่ขายได้ปีละ 100+ หลังนั้นมีอยู่จริง

ใครอยากจะมี licence เป็น real estate agent อย่างถูกต้องตามกฎหมาย ก็ต้องเรียน Cert IV Real Estate Practice นะครับ ค่าเทอมประมาณ $2,590.00 หรือถูกกว่านี้ก็มี เรียน online ก็มีเยอะแยะ

ถ้าเรียน $2,590.00 แล้วทำเงินได้ $1,470,000.00 มันก็น่าเรียนนะครับ

เผื่อใครอยากได้ inspiration เกี่ยวกับ real estate ก็ลองดู:
- Selling OC ใน Netflix
- Selling Tampa ใน Netflix
- Million Dollar Beach House ใน Netflix

งาน sale หากมีใจรักก็รุ่งได้นะครับ

ทุกคนมีความฝันที่แตกต่างกันออกไป
ใหญ่บ้าง เล็กบ้าง แล้วแต่ประสบการณ์ชีวิตของใครมัน

หากเรามีความฝันที่แน่วแน่ ก็ขอให้เดินไปให้ถึงฝั่งฝันนะครับ

เหนื่อยได้
ท้อได้
พักได้
แต่หย่าหยุด

อย่างที่บอกไปว่า P' J ไม่ใช่ real estate agent นะครับ เราเขียนมาจาก perspective ของคนข้างนอก หากผิดพลาดประการใด เรากราบขออภัยและพร้อมที่จะแลกเปลี่ยนความรู้กัน ถ้า real estate agent คนไหนผ่านไปแถว Wollongong ก็แวะมาทักทายกันได้นะครับ.... 

 Copyright: หากต้องการแชร์ แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น ไม่อนุญาติให้ copy & paste, ไม่อนุญาตให้ screen capture

เขียนเองทุกตัวอักษร

Monday, September 12, 2022

Master of Education กับ Master of Teaching



Master of Education กับ Master of Teaching ไม่เหมือนกันครับ


Master of Education:

- เหมาะสำหรับคนที่เป็นอาจารย์อยู่แล้ว สอนอยู่แล้ว แล้วต้องการไปเรียนเพิ่มเติม เพื่อเลื่อนตำแหน่ง เพื่อเลื่อนเงินเดือน เพื่อต่อยอดในการทำงาน

- คนทั่ว ๆ ไปก็เรียนได้ถ้าสนใจ


Master of Teaching:

- สำหรับคนที่ไม่มี Bachelor of Education แล้วต้องการไปเป็นอาจารย์สอนหนังสือ ไม่ว่าจะสอนปฐมวัย ประถม หรือ high school


Note: ครูประถมขอ PR ไม่ได้, ครูประถมวัย หรือ ครูสอน high school สามารถขอ PR ได้

Skill Assessment สาขาอาชีพครู:
- IELTS Academic:
- Reading: 7
- Writing: 7
- Speaking: 8
- Listening: 8


Business Visa; subclass 188 (01 July 2021)


Business Visa; subclass 188 กฎใหม่ของ 01 July 2021 (2021 นะครับ ไม่ใช่ 2022)

- Subclass 188A: personal and business net asset AUD 1.25M (business turnover AUD 750K x 2 years)

- Subclass 188B: AUD 2.5M (ซื้อบ้านหรือหุ้น รวมกันได้)

- Subclass 188C: AUD 5M

วีซ่า 4 ปี 3 เดือน

แล้วตามด้วย PR; Subclass 888

See you all at the end of the rainbow.

Thursday, September 8, 2022

มีทุกวันนี้ได้เพราะอยู่ในออสเตรเลีย ซึ่งเป็นประเทศที่เอื้ออำนวย


“มีทุกวันนี้ได้เพราะอยู่ในออสเตรเลีย ซึ่งเป็นประเทศที่เอื้ออำนวย”

เอ่อ… ประโยคด้านบน ไม่จริงเสมอไป

มันเป็นแค่ 1 factor เท่านั้นครับ

คนมีความสามารถ อยู่ที่ไหนก็ประสบความสำเร็จได้ครับ ไม่จำเป็นต้องเป็นประเทศออสเตรเลีย

ก็เรียนในสาขาที่มันที่เป็นต้องการของโลกใบนี้สิ ไม่ใช่ไปเรียนอะไรสะเปะสะปะ

 

แล้วทำไมเรียนสะเปะสะปะ

อ๋อ คะแนน ATAR ไม่ถึง เข้าเรียนในคณะนั้น ๆ ไม่ได้

 

แล้วทำไมคะแนน ATAR ไม่ถึง

อ๋อ ตอนเรียน high school ไม่ได้ตั้งใจเรียน... และอื่น ๆ อีกมากมาย ต่าง ๆ นานา ข้ออ้างสารพัด

.

.

ก่อนที่จะไปโทษสิ่งแวดล้อมหรือปัจจัยภายนอกที่เรา control ไม่ได้

จริง ๆ แล้ว ปัญหาทุกอย่างเริ่มต้นที่ตัวเราหรือเปล่า

 

ถ้าตั้งใจเรียนตอนอยู่ high school

ได้คะแนน ATAR ดี

ได้เข้าเรียนในคณะที่เราชอบ และเป็นที่ต้องการของโลกใบนี้

เราจะไม่ได้เป็นแค่ที่ต้องการของออสเตรเลียครับ เราเป็นที่ต้องการของโลกใบนี้ จะไปทำงานที่ไหนก็ได้

ไม่จำเป็นต้องเป็นแค่ออสเตรเลียเท่านั้น 


คนไทยจบวิศวะ ทำงานที่ NASA ก็มี

คนไทยเป็นอาจารย์สอนที่มหาลัยในต่างประเทศมีเยอะแยะ

คนไทยเป็นอาจารย์สอน high school สอนเด็กฝรั่งก็มี

 

เมื่อเราเป็นฝ่าย “เลือก” ไม่ใช่ “ถูกเลือก”

ทุกอย่างก็สบาย

 

เพื่อนเราที่เรียน Computer Science จาก UOW ตอนนี้ก็ทำงานกระจายอยู่ทั่วโลก บางคนรับราชการ บางคนเป็นอาจารย์สอนมหาลัย (ตอนนั่งเรียนด้วยกัน เค๊าก็ไม่ได้เก่งอะไรมาก oops!!!)

 

อันนี้แหละ Global Citizen อย่างแท้ทรู

มีความลื่นไหลทางสัญชาติ

จะอยู่ที่ไหนก็ได้ ไม่จำเป็นต้องเป็นออสเตรเลีย

ทำงานที่ไหนก็ได้ที่เงินดี แค่นี้เลยจริง ๆ 

เราไม่ยึดติดครับว่าต้องทำงานที่ประเทศไหน ขอแค่เงินดีเป็นพอ

 

ก่อนที่จะโทษระบบโครงสร้าง ซึ่งเรา control ไม่ได้

อย่าลืมหลับตาลง แล้วมองย้อนไปสมัยที่เราเป็นเด็ก high school ว่าตัวเองตั้งใจเรียนหรือเปล่า 

จากวันนั้น ถึงวันนี้ ผลของการกระทำของตัวเราเองในวันนั้น มันส่งผลมาถึงการเป็นตัวตนของเราในวันนี้หรือเปล่า

 

ก่อนที่จะโทษระบบโครงสร้าง

ตัวเองพยายามมากพอหรือยัง

 

P’ J เรียน ป.1  เข้าเรียนก่อนอายุ

ตอนนั้นอ่านหนังสือเรียนภาษาไทย “มานี มานะ” ที่บ้านบอกว่าต้องอ่านออกเสียง

เราอ่านออกเสียง เสียงดังไปถึงบ้านข้าง ๆ

ที่บ้านไม่มีไฟฟ้า เราใช้ตะเกียงน้ำมันในการอ่าน!!!


สมัยนั้นยังไม่มีพิมรี่พายคอยติด solar cells


นี่ไงหละ ความพยายาม

 

ก่อนที่จะโทษระบบโครงสร้าง

อย่าลืมโทษตัวเราเอง

เมื่อเราเลิกโกหกตัวเราเอง

เมื่อนั้นเราก็พบความสุขในชีวิต

 

P’ J จบ high school (year 10-11-12) ภายใน 1 ปี 

ก็อ่านหนังสือ 7 วัน 7 คืนหนะจ๊ะ อยู่ year 10, ก็อ่านคณิต ฟิสิกส์ เคมี ชีวะ ของ year 12 จบหมดแล้ว (เกลียดชีวะที่สุด เกือบตก)


หากเรามีความตั้งใจจริง มีความมุ่งมั่น

ทุกอย่างเราสร้างเองได้ จากสมองและสองมือที่มี


ใช้ความสามารถของตัวเองล้วน ๆ


เมื่อเราไม่ได้เกิดมาบนเงินกองทอง ปากก็ต้องกัด ตีนก็ถีบ


จากเด็กที่อ่านออกเสียง หนังสือ “มานี มานะ” ภายใต้ตะเกียงน้ำมัน ตอน ป.1

ถ้า P’ J ทำได้

คนอื่นก็ทำได้


เหนื่อยได้

ท้อได้

พักได้

แต่อย่าหยุด


และก็เลิกโทษสิ่งแวดล้อมรอบข้าง

หัดโทษตัวเองบ้างก็ดี!!! 


โทษทุกสิ่งอย่างรอบข้าง

ยกเว้นโทษตัวเอง

=


Note: เราเขียนในพื้นที่ของเรา ไม่ชอบให้เลื่อนผ่าน 


Copyright: แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น ไม่อนุญาตให้ copy & paste, ไม่อนุญาตให้ screen capture


Monday, September 5, 2022

Subclass 494, Subclass 482; Nomination

Subclass 482, Subclass 494:

- Stage 1; Standard Business Sponsor (SBS) valid 5 ปี นายจ้างสามารถใช้กับพนักงานทุกคนได้

- Stage 2: Nomination, 1 Nomination ต่อ 1 application เท่านั้น ดังนั้นทุก ๆ ครั้งที่ยื่น Stage 1; Nomination ทางร้านจะต้องจ่ายค่า SAF; Skilling Australian Fund... "ทุก ๆ ครั้งที่ยื่น"


Nomination ของพนักงานคนนี้ ก็ใช้กับพนักงานคนนี้เท่านั้น 1 ครั้งเท่านั้น

ไม่สามารถใช้กับพนักงานคนอื่นได้

หรือถ้าจะต้องยื่นรอบต่อ ๆ ไป จะด้วยเหตุผลอะไรก็ตามแต่ นายจ้างต้องจ่ายค่า SAF ทุก ๆ ครั้งที่ยื่น, ทั้ง Subclass 482 และ Subclass 494

Saturday, September 3, 2022

Australia; the land of opportunities



ช่วงนี้ P' J แอบส่องพวกบ้านและอสังหาที่ Brisbane และเมืองใกล้เคียง


ไม่อะไรหรอก

คือใน NSW, ข้าพเจ้าไม่มีปัญญาซื้อ ราคามันขึ้นจุ๊ด ๆ ยิ่งกว่าจรวดของ Elon Musk

เบี้ยน้อยหอยสังฆ์อย่างเรา ก็ขอไปเป็นเขยเมือง QLD ละกัน ข้าพเจ้าขอฝากเนื้อฝากตัว


ในระหว่างที่ไถ ๆ มือถือดู listing ที่ realestate.com.au เราก็เห็น property ที่เราสนใจ คิดในใจว่าน่าจะเอื้อมถึง ก็เลยส่ง email enquiry ไป

เราได้รับ email ตอบกลับมา เนื้อหาใจความไม่สำคัญครับ ที่สำคัญคือชื่อ agent และวุฒิการศึกษาต่าง ๆ ที่อยู่ตรง email signaure ของเขา


real estate agent คนนี้จบ Master of Engineering ครับ และก็มี Cert IV Real Estate Practice เพื่อที่จะเป็น real estate agent อย่างถูกกฎหมาย


มันเตะตามากตรงที่เขาจบ ป.โท Engineering แล้วมาเรียน Cert IV นี่แหละ


มันทำให้เราเห็นว่าประเทศออสเตรเลียเปิดกว้างทางการศึกษา


- เราจบอะไรมาก็ช่าง จบโทมาแล้วก็ช่าง ถ้าเราอยากเปลี่ยนงาน เปลี่ยนอาชีพ เราก็ไปลงเรียนเพิ่ม เพิ่มเติม ก็แค่นั้นเอง ไม่ต้องอื่นไกลเลย เราก็เป็นหนึ่งในนั้นที่เรียนหลายอย่าง อยากเป็นอะไร อยากประกอบอาชีพอะไร เราก็ไปเรียนเพิ่ม ก็แค่นั้นเอง ทุกอย่างต้องมีใบประกอบวิชาชีพครับ ไม่ใช่ไปโพสต์รับทำนั่น นี่ โน่น ตาม facebook group "ทีมต่าง ๆ นานา" แบบไม่มีใบประกอบวิชาชีพ แบบนั้นทำไม่ได้


- จบ ป.โท แล้ว อยากจะลงเรียน Cert IV ก็ไม่ผิดอะไร ประเทศออสเตรเลียไม่เคยปิดกั้นทางการศึกษา มันดีตรงนี้นี่เอง หวังว่าตรงจุดนี้ก็น่าจะตอบคำถามหลาย ๆคนก็ชอบถามว่า จบ ป.โท แล้วลงเรียน Cert IV ได้มั้ย ลงเรียน Diploma ได้มั้ย ได้สิครับ... why not??? ถ้าเรามีใจรักที่จะเรียน ต้องอยากเรียนจริง ๆ นะ พวกที่อยากเรียนแบบปลอม ๆ เพียงเพราะอยากจะมาทำงาน แบบนั้นไม่นับ


- ประเทศออสเตรเลียเปิดกว้างทางการศึกษาและโอกาส เราอยากทำงานอะไร เราก็ไปลงเรียนอะไรนั้น ๆ แต่เราต้องรู้ก่อนว่าเราต้องการทำงานอะไร พอเรารู้ว่าสาขาอาชีพนั้น ๆ ต้องมี requirement อะไรบ้างในการมี license หรือใบประกอบวิชาชีพในการทำงาน เราก็ไปลงเรียน course นั้น ๆ เราก็ต้อง work backward หรือ reverse engineer ดังนั้นคนที่บอกว่าเรียนมาแล้ว ทำงานไม่ตรงสาย อ้าว... ก็เพราะ you เรียนสะเปะสะปะไง พวกเรียนไปเรื่อยเปื่อย เรียนอะไรก็ไม่รู้ ก็ไม่ต่างจากไม้หลักปักเลนหรอกครับ ตั้งเป้าหมายให้ชัดเจน แล้วค่อย ๆ ไต่เต้าไปให้ถึงจุดนั้น พวกที่บอกว่าเรียนมาแล้ว แล้วทำงานไม่ตรงกับสิ่งที่เขาเรียนมา ก็ต้องกลับไปดูสิ่งที่เขาเรียนหนะจ๊ะ ว่าไก่กาอาราเล่หรือเปล่า


anyway, ประเทศออสเตรเลียเปิดกว้างทางการศึกษาครับ

ตัวอย่าง:

- เรารู้จักใคร someone ที่กลับมาเรียนหมอตอนอายุ 45 โคตรเท่เลย เขาอาจจะผ่านอะไรมาเยอะก่อนหน้านั้น แล้วกลับมาเรียนใหม่ก็ได้ อันนี้เราไม่รู้ ประเทศออสเตรเลียมี 2nd chance ให้กับทุก ๆ คน ขอเพียงแค่เราทำทุกอย่างให้มันถูกต้อง เคารพกฎหมายและกฎระเบียบของที่นี่


- คุณแม่ของเพื่อนเราคนหนึ่ง ส่งเสียลูก ๆ เรียนจนถึง ป.ตรี แล้ว (ก็ส่งเสียเพื่อนเรานี่แหละ) ลูก ๆ โตจบปริญญากันหมดแล้ว ลูก ๆ ทำงานเป็นหลักเป็นฐานกันหมดแล้ว คุณแม่อายุประมาณ 50+ กลับไปเรียนต่อ ป.ตรี เพื่อที่จะเป็นอาจารย์สอนนักเรียนประถม คุณแม่ตามหาฝันของตัวเองตอนอายุ 50+ หลังจากทำหน้าที่ของแม่อย่างสมบุญครบถ้วน เพื่อนเราก็สนับสนุนให้คุณแม่ของเขาตามหาฝันของตัวเอง เราคุยเรื่องนี้กับเพื่อนเราทีไร เพื่อนก็จะน้ำตาปริ่ม ๆ ทุกทีเลย


- ตอนที่เราเรียน Computer Science ที่ UOW เราก็ไปลงวิชาเลือกของ commerce ลงเพื่อเก็บหน่วยกิตเฉย ๆ... oops!!!... สิ่งที่น่าประทับใจมากคือ นักเรียนใน class เป็นคุณแม่ท่านหนึ่ง คุณแม่พาลูกอายุ 4-5 ขวบมานั่งเรียนใน lecture ด้วย ก็คงจะเป็นเวลาที่ลูกเลิกเรียนที่ preschool หรือเปล่าไม่แน่ใจ แต่มันเป็นภาพที่น่าประทับใจมาก ผ่านมาหลายปีแล้ว เราก็ยังจำภาพนั้นได้ดี การศึกษาที่นี่เปิดโอกาสให้กับทุกคนอย่างแท้จริงครับ ไม่มีใส่ชุดนักศีกษา ไม่มีรับน้อง... shhhhhh :)


- ที่เจ๋งไปกว่านั้นคือ ตอนเรากลับไปเรียน part-time ป.ตรีใบที่ 2, อักษรญี่ปุ่น (อ่านไม่ผิดจ๊ะ จาก จบ computer science, แล้วเรียนต่อ อักษรญี่ปุ่น แล้วต่อด้วยกฎหมายอิมมิเกรชั่น....  แซ่บ....) เพื่อนในห้องเป็นรุ่น ๆ คุณปู่หรือคุณตา อายุน่าจะ 65-70+ ได้ มานั่งเรียนใน class


ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศที่เปิดกว้างทางการศึกษาครับ อายุเท่าไหร่ก็กลับมาเรียนได้ ดังนั้นหลาย ๆ คนที่ถามว่าอายุเท่านั้น เท่านี้ มาเรียนได้มั้ย อายุเท่าไหร่ก็เรียนได้ครับ เรียนได้จนลมหายใจสุดท้ายเลยก็ได้ ถ้าจะมาเรียนที่นี่ ถ้าจะขอวีซ่านักเรียน ก็เขียน GTE; Genuine Temporary Entry ให้ดี ๆ ก็แค่นั้นเอง


กลับมาที่ real estate agent คนนี้ที่่ QLD

เราชอบตรงที่เขาไม่ได้ยึดติดว่าจบ "Master degree" ต้องทำงานแบบนั้น แบบนี้เท่านั้น เราสามารถเปลี่ยนสายงานได้ 

ประเทศออสเตรเลียเป็นประเทศที่ไม่ค่อยยึดติดอะไร เราชอบอะไรตรงจุดนี้มาก เราไม่ต้องถือตัวว่า ป.โท ต้องแบบนั้น แบบนี้ ไม่ ego, ไม่ยึดติด

ป.โท ก็กลับไปลงเรียน Cert IV (ปวช) ได้ครับ ถ้ามันเป็นใบเบิกทางในการทำงาน... why not??? 


Real estate agent เงินเยอะนะครับ จะบอกให้ เขาขายบ้านกันยังกะขายขนมครก demand มากกว่า supply และบ้านก็เป็น 1 ในปัจจัย 4


ประเทศออสเตรเลีย คือประเทศแห่งโอกาส

ทุกอย่างเราสามารถสร้างเองได้ จากสมองและสองมือที่มี

เราไม่จำเป็นต้องเกิดมาบนกองเงินกองทอง

ทุกคนมีต้นทุนชีวิตเท่ากัน นั่นก็คือ "ความเป็นคน"


เราเอาเวลาไปทำมาหากิน และทำตัวให้เป็นประโยชน์ต่อสังคมดีกว่าครับ อย่ามัวแต่แซะการเมือง


ฝันให้ไกล แล้วไปให้ถึง

แล้วเจอกันครับ... at the end of the rainbow


Copyright: แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น, ไม่อนุญาตให้ copy & paste, ไม่อนุญาตให้ screen capture


เขียนเองทุกตัวอักษร

ก็แค่ตื่น 4:45am เอ๊งงงงงง