Sunday, May 29, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย ต่อวีซ่านักเรียนไม่ผ่าน ทำอะไรได้บ้าง


มีน้องคนหนึ่งโทรเข้ามาปรึกษา น้องต่อวีซ่านักเรียนไม่ผ่านเพราะลงเรียนมาแล้ว 8 ปี 

ก่อนอื่นเราก็ต้องขอปรบมือให้กับ case officer ก่อนนะครับ เพราะถ้าเราเป็น case officer เราก็คงไม่ให้ผ่านเหมือนกัน คนอะไรเรียนกันตั้ง 8 ปีเลยเหรอ เรียนเปลี่ยนไปเปลี่ยนมา ไม่ไปหน้ามาหลัง ก็ถูกต้องแล้วหละที่ทาง case officer ไม่ยอมให้ผ่าน

สรุปก็คือ case officer ก็พอจะดูออกว่าคงไม่ใช่คนที่ตั้งใจจะมาเรียนอะไรจริงจัง เพราะลงเรียนต่อ college แล้วก็เปลี่ยน course ลงไปมา ดูเหมือนว่าเรียนย่ำอยู่กับที่ ไม่มีการก้าวหน้า

เราเคยเขียน blog เอาไว้แล้วนะครับ ว่าวีซ่านักเรียนไม่ได้สามารถต่อไปได้เรื่อยๆ

พอน้องต่อวีซ่าไม่ผ่าน น้องก็มีเวลาในการที่อุทรณ์ภายใน 21 วัน
ถ้าถามเรา เราก็บอกว่าอุทรณ์ไปก็คงไม่ผ่านหรอก แต่น้องเขาก็สามารถอุทรณ์เพื่อซื้อเวลา ก็เท่านั้นเอง เพราะในระหว่างที่รอเรื่องการอุทรณ์ที่ AAT น้องเขาก็สามารถหาทางออกในเรื่องของวีซ่าได้ ถึงแม้ว่าตอนที่อุทรณ์น้องเขาจะถือ Bridging Visa A ก็เถอะ มันก็พอมีวิธี แต่เราก็ต้องบอกเอาไว้ก่อนนะครับว่าสถานการณ์ของแต่ละคนไม่เหมือนกัน แต่สถานการณ์ของน้องเขาเป็น แบบนี้ แบบนี้..... เราก็เลยแนะนำน้องเขาไป แบบนี้... แบบนี้:

Subclass 457
ทำวีซ่าทำงานโดยที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ เพราะว่าน้องเขามีญาติที่เปิดร้านนวด แต่น้องเขาไม่ได้จบหรือเรียนมาทางด้านนวด แต่ก็ทำได้นะครับ ขั้นตอนที่เราแนะนำคือ:

  1. อุทรณ์เรื่องไปที่ AAT ภายใน 21 วัน น้องก็จะได้ Bridging Visa A
  2. ไปทำ RPL, Diploma Remedial Massage Therapist, ปกติก็ประมาณ 5-6 weeks ได้ ถ้าเอกสารครบนะครับ
  3. ทางร้านทำวีซ่า subclass 457, Stage 1: Standard Business Sponsor (SBS)  และ Stage 2 Nomination ในระหว่างที่น้องเขาอยู่ที่ประเทศออสเตรเลียได้
  4. เนื่องด้วยน้องเขาถือ Briding Visa A และน้องเขาก็โดนวีซ่า refusual มาจากวีซ่านักเรียนด้วย ดังนั้นน้องเขาจะโดน section 48 คือ ไม่สามารถยื่นเรื่องขอวีซ่าภายในประเทศออสเตรเลีย แต่ก็ไม่เห็นยากอะไรนะครับ ตอนนี้น้องเขาถือ Bridging Visa A, น้องเขาก็สามารถขอ Briding Visa B ได้ เพื่อเดินทางออกไปข้างนอกประเทศได้ (ออกได้ไม่เกิน 3 เดือน)
  5. พอน้องเขาขอ Bridging Visa B, น้องเขาเดินทางออกไปนอกประเทศออสเตรเลียได้ จะไปเมืองไทย ไปบาหลี ไป Fiji หรือไป New Zealand อะไรก็ว่าไป เราก็สามารถยื่นวีซ่าทำงานโดยมีนายจ้างสปอนเซอร์มาจากข้างนอกประเทศออสเตรเลีย offshore ได้ครับ
  6. พอน้องเขายื่นเรื่องมาจากข้างนอกเสร็จ น้องเขาก็ยังสามารถกลับเข้ามาประเทศออสเตรเลียด้วยวีซ่า Bridging Visa B เพื่อที่จะรอวีซ่า subclass 457 เพราะวีซ่า subclass 457 (รวมไปถึง subclass 186 ENS และ subclass 187 RSMS) นั้นสามารถยื่นที่ใหนก็ได้ และสามารถรอวีซ่าอยู่ที่ใหนก็ได้
  7. ในระหว่างที่น้องเขารอเรื่องอุทรณ์ของ AAT ซึ่งก็คงจะต้องใช้เวลานาน; 203 วัน โดยเฉลี่ย (6-7 เดือน) เรามั่นใจว่าวีซ่า subclass 457 ถ้าเอกสารครบ อะไรครบ วีซ่าก็น่าจะออกได้ภายใน 6-8 weeks
Partner Visa
เนื่องด้วยน้องคนนี้ ตอนนี้ก็กำลังคบหาอยู่กับคนๆหนึ่งซึ่งเขาก็สามารถทำเรื่องสปอนเซอร์ให้น้องทำ Partner Visa ได้ ถึงแม้ว่าน้องกับแฟนคนนี้จะคบหากันยังไม่ถึง 12 เดือนก็ไม่เป็นไรครับ เพราะที่ NSW น้องสามารถไปจด register of relationship แล้วก็ยื่นทำเรื่องได้เลย ไม่ต้องรอให้ครบ 12 เดือน

แต่ก็อีกแหละ น้องเขาไม่สามารถยื่น Partner Visa ได้ที่ประเทศออสเตรเลีย เพราะน้องติด section 48 (วีซ่านักเรียนไม่ผ่าน visa refusal) 

แต่น้องเขาก็สามารถยื่น Partner Visa ได้คล้ายๆกับการยื่นวีซ่าทำงานโดยมีนายจ้างสปอนเซอร์ visa subclass 457 ด้วยการเดินทางออกไปยื่นข้างนอกประเทศเป็น offshore พอยื่นเสร็จน้องเขาก็สามารถกลับเข้ามารอเรื่องอุทรณ์จาก AAT ได้ พอเรื่องผลของการอุทรณ์จาก AAT ออกมา ซึ่งดูท่าทางก็คงไม่ผ่านอยู่แล้ว น้องเขาก็สามารถบินออกไปรอเรื่องต่ออยู่ที่เมืองไทย แต่อย่างน้อย เนื่องด้วย Bridging Visa A ของน้องที่ได้มาจาก AAT น้องเขาก็สามารถใช้เวลาอย่างน้อย 6-7 เดือน (203 วันโดยเฉลี่ย) อยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย เพื่อที่จะอยู่กับแฟน หรือทำงานอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย หรืออะไรก็ว่าไป

แล้วเวลาที่เหลือน้องเขาก็สามารถออกไปรอ Partner Visa อยู่ที่เมืองไทยอีกประมาณ 5 เดือน เพราะ Partner Visa ก็ใช้เวลาในการ process โดยประมาณแล้วก็อยู่ที่ 12 เดือน

หลายๆคนคงจะอ่านแล้วงง เพราะข้อมูลมันอาจจะเยอะไปหน่อย เดี๋ยวเอาเป็นว่า เราจะเขียนให้เป็น step-by-step ก็แล้วกันนะครับ:
  1. อุทรณ์เรื่องไปที่ AAT ภายใน 21 วัน เหมือนข้างบนเลย น้องก็จะได้ Bridging Visa A
  2. ทำเรื่องจด register of relationship ที่ NSW
  3. ขอ Bridging Visa B เพื่อบินออกไปยื่น Partner Visa ข้างนอกประเทศ เป็น offshore
  4. บินกลับเข้ามาประเทศออสเตรเลียภายใน 3 เดือนด้วย Bridging Visa B
  5. อยู่รอผลการอุทรณ์ ซึ่งก็จะใช้เวลาประมาณ 6-7 เดือนโดยประมาณ
  6. พอผลการอุทรณ์ออกซึ่งก็ไม่น่าจะผ่านอยู่แล้ว น้องก็บินกลับไปรอเรื่องต่ออยู่ที่เมืองไทย
  7. พอเรื่อง Partner Visa ผ่าน น้องก็สามารถบินกลับเข้ามาที่ประเทศออสเตรเลียได้ ด้วย Partner Visa
นี่คือคำแนะนำของเรานะครับ ส่วนน้องเขาจะเข้าใจหรือทำตามหรือเปล่านั้นเราไม่รู้ เพราะเราเองก็เข้าใจว่าน้องเขาก็ไปปรึกษาที่อื่นเหมือนกัน แต่บางที่บอกว่า ยื่นอะไรไม่ได้เลย!!!

ปรึกษาใคร ปรึกษาอะไรก็ต้องดูด้วยนะครับ คนที่เราปรึกษาด้วยต้องมี MARN ที่ถูกต้องตามกฏหมาย ไม่ใช่เป็นแค่พนักงานหน้า counter เท่านั้น 

หรือไม่ใช่เพียงเพราะเห็นเขาไป post นั่น นี่ โน่น ใน Internet ตาม group หรือ webboard ต่างๆ เช็ค credential เขาด้วยก็แล้วกัน

Friday, May 27, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย วีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ subclass 457 เปลี่ยนแปลงค่าแรง ลดภาษี เราทำได้ ไม่เชื่ออย่าหลบหลู่


ลูกค้าท่านหนึ่ง ทำวีซ่าทำงานโดยมีนายจ้างสปอนเซอร์ subclass 457 และลูกค้าท่านนี้สอบภาษาอังกฤษยังไม่ผ่าน 

วีซ่า subclass 457, ผลสอบภาษาอังกฤษต้องเป็น IELTS general overall 5, ทุกอย่างอย่างต่ำ 4.5 นะครับ; พูด อ่าน เขียน ฟัง

ถ้าไม่อยากสอบ IELTS ก็สามารถสอบภาษาอังกฤษของตัวอื่นได้นะครับ ที่เทียบเท่า

เนื่องด้วยลูกค้าท่านนี้ผลสอบทางด้านภาษาอังกฤษยังไม่ดีพอ เขาก็เลยทำการยกเว้นในเรื่องของภาษาด้วยการใช้การว่าจ้างในตำแหน่งที่สูง $96,400 ต่อปี 

ผลกระทบที่มีตามมาก็คือ ลูกค้าท่านนี้ก็ต้องจ่ายภาษีรายได้ส่วนบุคคลเป็นจำนวนมาก และนายจ้างเองก็ต้องจ่าย superannuation contribution เป็นจำนวนมากเช่นกัน ทุกๆ 3 เดือน

แต่พอทำงานไปไม่กี่เดือน ลูกค้าท่านนี้ก็ไปสอบ IELTS อีกรอบ ปรากฏว่าผล IELTS คราวนี้ผ่าน และเขาเองก็ไม่อยากที่ต้องเสียภาษีใน rate ที่สูงๆอีกต่อไป ส่วนนายจ้างเองก็อยากจะลดการจ่าย superannuation contribution เช่นเดียวกัน

การที่จะลดรายจ่ายของภาษีและ superannuation contribution นั้นทำได้ง่ายมากครับ ถ้าธุรกิจเคยทำ Stage 1 Standard Business Sponsorship (SBS) มาแล้ว เราก็สามารถใช้ SBS ตัวเก่าได้ แต่ว่าต้องทำ Stage 2 Nomination ใหม่ เพราะ Stage 2 Nomination นี้ จะเป็นตัวกำหนดค่าแรงและการว่าจ้าง พวก contract of employment อะไรต่างๆ

ดังนั้นเราก็ต้องทำ Stage 2 Nomination กันใหม่ เพื่อที่จะเป็นการลดการว่าจ้างจาก $96,400 ต่อปี ให้เหลือแค่ $53,000 (market rate ของ สาขาอาชีพในระแวกเมืองนั้น)

แค่เราเห็นตัวเลข เราก็หนักใจแล้ว เพราะถ้าจะให้ลดค่าแรงจาก $96,400 มาเป็น $53,000 นี่มันลดไปแบบครึ่งต่อครึ่งเลย เราก็หนักใจว่าจะไปอธิบายเรื่อง genuine position กับทางอิมมิเกรชั่นยังไง แต่เราก็เขียน case เข้าไป อธิบายน้ำท่วมทุ่ง ยกแม่น้ำทั้ง 5 และทุกอย่างก็ผ่านไปได้ด้วยดี

Stage 2 Nomination ของลูกค้าท่านนี้ผ่านไปได้ด้วยดี ก็เป็นลดค่าใช้จ่ายของเขาที่ต้องเสียภาษี และตัวนายจ้างเองก็ไม่ต้องจ่าย superannuation contribution ในราคาที่สูงๆอีกต่อไป เป็นการประหยัดและ save money ด้วยกันไปหมดทุกคน

เรามั่นใจว่า case แบบนี้มีน้อยมาก จู่ๆคนเราค่าแรงเปลี่ยนจาก $96,400 มาเป็น $53,000

เรามั่นใจว่า ทนายหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์คนอื่นๆ ถ้าเจอ case แบบนี้ ก็คงไม่ค่อยอยากจะทำ เพราะมีอย่างที่ใหนเหรอ จู่ๆคนเราค่าแรงเปลี่ยนจาก $96,400 มาเป็น $53,000 นั้นไม่ได้ทำกันได้ง่ายๆนะครับ เราต้องสามารถอธิบายเหตุผล และที่มาที่ไป

หลายๆคนคิดว่า case แบบนี้ทำไปก็คงไม่ผ่าน แต่เราก็ดูแล้วมันก็มีโอกาสความน่าจะเป็น เพียงแต่ต้องเตรียมเอกสารกันเยอะ เพื่อมาโชว์ให้กับทางอิมมิเกรชั่น เอกสารอะไรทุกอย่างก็ต้องครบ

เราไม่ได้มอง case ทุก case ที่ปัญหานะครับ เรามองว่าเอ๊ะ case มันเป็นแบบนี้ มันมีวิธีใหนมั่งที่จะสามารถช่วยลูกค้าท่านนี้ได้บ้าง เพราะถ้าทำสำเร็จ มันก็เป็นอะไรที่ Win-Win ด้วยกันหลายๆฝ่ายที่เกี่ยวข้อง 

เรารู้และเข้าใจว่างานที่เราทำเกี่ยวข้องกับชีวิตใครหลายๆคนนะครับ

Sunday, May 15, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย พยานเซ็นฟอร์ม 888 Australian Partner Visa


สำหรับคนที่ขอ Partner Visa ในออสเตรเลีย เราก็ต้องมีพยานอย่างต่ำ 2 คนนะครับ ที่ต้องเป็นพยานและรู้เห็นความสัมพันธ์ของเราว่าความสัมพันธ์ของเรานั้นมีคุณสมบัติครบทั้ง 3 ประการคือ:

  • เป็นความสัมพันธ์ที่แท้จริง (genuine)
  • เป็นความสัมพันธ์ระยะยาว (long-term)
  • เป็นความสัมพันธ์ที่ต่อเนื่อง (continuing)


ที่บอกว่าพยาน 2 คนนั้นคือ 2 คนต่อ 1 application นะครับ ไม่ใช่พยาน 2 คนจากฝ่ายเรา และพยาน 2 คนจากฝ่ายเขา ถ้าเป็นแบบนั้นมันก็เป็น 4 คนแล้วสิ


และ 2 คนที่เป็นพยานนั้น ก็ต้องเป็น PR หรือ citizen เท่านั้น เราก็ต้องหลักฐานอะไรมาโชว์ด้วยว่าพยานเรา 2 คนนั้นเป็น PR หรือ citizen หลักฐานก็อาจจะเป็น visa grant สำหรับคนที่เป็น PR ส่วนคนที่เป็น citizen ก็อาจจะเป็นใบเกิด ใบ certificate of citizenship หรือ Australian passport

หลักฐานบางอย่างที่ไม่สามารถใช้ได้คือ
  • ใบขับขี่
  • Medicare card
เพราะคนที่ไม่ใช่ PR หรือ citizen ก็สามารถมีใบขับขี่หรือ Medicare card ได้ โดยเฉพาะชาวนิวซีแลนด์ที่อยู่ที่นี่มานานแล้ว ถือแค่วีซ่าชั่วคราวเป็น Special Category ไม่ใช่ PR!!!

พยานสามารถเป็นคนในครอบครัวได้ ขอให้คนในครอบครัวเป็น PR หรือ citizen แค่นั้นก็พอ เพราะ requirement ไม่ได้บอกว่าห้ามเป็นคนภายในครอบครัว..... นี่ก็เป็นอีกหนึ่งในหลายอย่างๆที่หลายๆคนเข้าไปผิดกัน แล้วก็ชอบนำเอาไปพูด

การเซ็นฟอร์ม 888 นั้นพยานต้องเซ็นต่อหน้า JP (Justice of the Peace) หรือ คนที่มีอาชีพอยู่ใน list บางทีเราก็อาจจะหา JP หรือเจ้าหน้าที่ที่พยานต้องเซ็นเอกสารต่อหน้าได้ยาก ดังนั้นใครที่คิดจะทำ Partner Visa ก็ต้องหาพยานที่เขาสามารถเซ็นฟอร์ม 888 แล้วก็ต้องหาวันที่เขาว่างด้วย เพื่อที่จะได้ไปเซ็นเอกสารต่อหน้า JP (หรืออาชีพที่อยู่ใน list) เพราะบางทีมันก็เกิดปัญหาในลักษณะที่ว่าพยานไม่ว่างที่ต้องไปเซ็นเอกสารต่อหน้า JP เพราะพยานเองก็ต้องทำงาน อะไรทำนองนี้

จะยังไงเสีย หากใครคิดจะทำ Partner Visa ก็แนะนำให้เตรียมตัวกันตั้งแต่เนิ่นๆนะครับ จะได้ไม่เสียเวลาเพราะฟอร์ม 888 มันเป็นอะไรที่ต้องเกี่ยวข้องกับคนอื่น เพราะบางทีเรื่องของเวลาและการทำงาน มันอาจจะสะดวกเรา แต่ไม่สะดวกเขาก็เป็นได้

Sunday, May 8, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย มีแฟน มี Partner จะเอาเขาพ่วงทำวีซ่า subclass 457 จะทำยังไง


บางทีเราก็แปลกใจกับการทำงานของทนายหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์บางแห่ง โดยเฉพาะแถว Chinatown 

บางคนอาจจะบอกว่า ไม่เห็นต้องพาดพิงถึง Chinatown เลย

ไม่รู้สินะ เผอิญว่าเราเป็นพวก stand up & speak up สะด้วยสิ ก็อยากจะพาดพิงหนะ... ก็มันรู้สึกแบบนี้จริงๆ

เรื่องมีอยู่ว่า มีน้องคนหนึ่งต้องการทำวีซ่าทำงาน subclass 457 ตัวของน้องเองสามารถยื่นวีซ่าได้ภายในออสเตรเลีย เป็น onshore application แต่แฟนของน้องไม่สามารถยื่นวีซ่าภายในออสเตรเลียได้ เพราะวีซ่าของแฟนน้องติด condition 8534

แฟนของน้องติด condition 8534 ก็ไม่เห็นเป็นอะไรเลยนี่นา แฟนของน้องก็แค่ต้องยื่นวีซ่า offshore ก็แค่นั้นเอง และการยื่น offshore ก็ไม่จำเป็นต้องกลับไปที่เมืองไทยเสมอไป แฟนของน้องก็แค่เดินทางออกไปนอกประเทศออสเตรเลียก็เท่านั้นเอง จะบินไป บาหลี, Fiji, New Zealand อะไรก็ว่าไปสิ พอยื่นเรื่องเสร็จก็สามารถบินกลับมารอวีซ่าอยู่ภายในออสเตรเลียได้ ถ้าวีซ่าน้องเขายังยาวพอนะ เพราะวีซ่าทำงาน subclass 457 ก็ใช้เวลาในการดำเนินการประมาณ 6-8 อาทิตย์

อ่าน case study ของวีซ่า subclass ที่ยื่น offshore และเรายื่น online, click submit ในขณะที่น้องเขายังอยู่บนอากาศได้ที่นี่นะครับ: ต่อวีซ่า offshore

วีซ่า subclass 457, 186 และ 187 สามารถยื่นได้ทั้ง offshore และ onshore และสามารถรอวีซ่าได้ทั้ง  offshore และ onshore เช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น

  • ยื่นวีซ่า onshore, สามารถรอวีซ่าได้ onshore หรือ offshore
  • ยื่นวีซ่า offshore, สามารถรอวีซ่าได้ onshore หรือ offshore

ดังนั้น location ของการรอวีซ่าจะไม่มีปัญหา จะมีก็แค่ location ตอนยื่นวีซ่าแค่นั้นเอง เพราะบางคนก็ติด condition 8503 หรือ 8534


โดยส่วนตัวแล้ว ถ้าใครทำวีซ่าทำงาน subclass 457 ถ้าคนทำมีแฟนหรือมีครอบครัว เราก็จะแนะนำให้ทำเป็น application เดียวกันไปเลย ไม่จำเป็นต้องทำของ main applicant ก่อน พอเรื่องผ่านแล้วค่อยมาทำให้แฟนหรือคนในครอบครัวทีหลัง

เราคิดว่ามันไม่ make sense หนะ ทำไมต้องทำแยกหลายรอบด้วย ไม่เข้าใจ แต่รู้สึกว่าทนายหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์บางแห่ง โดยเฉพาะแถว Chinatown ชอบทำกันเหลือเกินแบบนี้ 

ไม่รู้สินะ อยากให้ลูกค้าทำหลายรอบ จะได้ charge หลายๆรอบหรือเปล่า ไม่เข้าใจ...

ปกติถ้าเราต้องแยกทำ case หลายๆรอบ เราก็ทำตามความประสงค์ของลูกค้ามากกว่า เราไม่ได้แนะนำว่าต้องทำแบบนั้นหรือแบบนี้ เราบอกทางเลือกต่างๆให้ลูกค้าแล้วให้ลูกค้าเลือกเอง เพราะบางคนก็แบบว่าอยากจะทำของตัวเองให้เสร็จๆก่อน เพราะแฟนก็แบบว่าเพิ่งคบกันได้ไม่นาน ไม่ได้เป็นพวกแบบว่าถือไม้เท้ายอดกระบองยอดเพชรอะไรประมาณนั้น แต่ถ้าเป็นแฟนที่ความรักมั่นคงหรือแต่งงานเป็นครอบครัว ปกติเราก็ต้องทำเป็น case เดียวกันอยู่แล้ว ไม่แนะนำให้แยกทำหลายรอบ...

อย่าลืมนะครับ จะเลือกใช้ทนายหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์ อย่าดูกันแค่ที่ราคา ลองบวก ลบ คูณ หาร กันให้ดีๆ ถ้า case ใหนสามารถรวบรัดตัดตอนได้ รีบทำ รีบเสร็จไม่ดีกว่าเหรอ เราก็จะได้ดำเนินชีวิตอะไรของเราต่อไป get on with life...etc

Wednesday, May 4, 2016

วีซ่าออสเตรเลีย จะทำยังไงเมื่ออิมมิเกรชั่นโทรมาหา


หลายๆคนชอบคิดว่า พอเรายื่นเรื่องขอวีซ่าของออสเตรเลียไปแล้ว เจ้าหน้าที่จากอิมมิเกรชั่นจะโทรมาหา จะโทรมาสัมภาษณ์ นั่น นี่ โน่น

ไม่จริงนะครับ ถ้าเราทำเรื่องเข้าไปดีๆ เอกสารครบ เจ้าหน้าที่หรือ case officer สามารถออกวีซ่าให้ได้เลยโดยที่ไม่มีการโทรหา หรือว่าอะไรใดๆทั้งสิ้น

กรณีที่เจ้าหน้าที่หรือ case officer โทรมาหาเรา ก็อาจจะเป็นเพราะว่าเอกสารไม่ครบ แบบนี้ไม่ดีนะครับ หรือทางเจ้าหน้าที่ต้องการที่จะเช็คเอกสารอะไรบางอย่าง ซึ่งก็เป็นสัญญาณไม่ค่อยดีเท่าไหร่ เพราะถ้าเอกสารดี เอกสารครบ เจ้าหน้าที่หรือ case officer ต้องไม่โทรมาสิครับ

แต่ถ้าสำหรับ case ที่ต้องการเอกสารเพิ่ม ถ้าเราให้ email ไปกับทางอิมมิเกรชั่น เจ้าหน้าก็จะติดต่อทาง email มากกว่า เพราะจะสะดวกและรวดเร็วกว่า นั่นคือเรื่องของการขอเอกสารเพิ่ม

แต่ในกรณีที่เจ้าหน้าที่หรือ case officer ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม หรือต้องการสอบถามความเท็จจริงอะไรบางอย่าง ถ้าหากเจ้าหน้าที่หรือ case officer โทรมา เราไม่แนะนำให้ตอบอะไรไปโดยที่ไม่ได้ตั้งตัว หรือตั้งหลัก เพราะคำตอบที่ตอบไปจะมีผลต่อการพิจารณาวีซ่าของเราแน่นอนนะครับ

สำหรับคนที่ใช้บริการของทนายความหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์ ตามปกติแล้วเจ้าหน้าที่หรือ case officer จะติดต่อมาทางทนายความหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์นะครับ ไม่ต้องห่วง แต่ใครที่ทำกันเอง หรือ case officer บางคนก็โทรไปหาขอที่ขอวีซ่าโดยตรง เราก็มีทักษะในการตอบดังต่อไปนี้นะครับ


  • บอกให้ติดต่อทนายความหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์
  • บอกว่าตอนนี้ไม่ว่าง ไม่สะดวกให้โทรมาใหม่
  • บอกว่าขอล่ามแปล (เพื่อที่จะถ่วงเวลา แล้วเราจะได้มีสมาธิในการตอบ)

นี่ก็เป็นเทคนิคเล็กๆน้อยๆนะครับ ถ้าเผื่อใครโดนเจ้าหน้าที่หรือ case officer โทรหาแล้วเราไม่พร้อมที่จะตอบคำถาม อย่างน้อยก็จะได้มีเวลาในการเตรียมตัว เพราะทุกอย่างที่เราตอบไป จะมีผลต่อวีซ่าของเราทั้งนั้นนะครับ ถ้ายังไม่พร้อมที่จะตอบ ก็ยังไม่ต้องรีบตอบนะครับ ต้องหาเวลาในการตั้งสติก่อน...