ป้าคำดอกงิ้วกับป้านิตยา สองเพื่อนรักหักเหลี่ยม แม่ค้าขายน้ำพริกแห่งเมืองสยาม
ป้าทั้งสองต้องการหาข้อมูลเรื่องวีซ่าให้กับหลานสาวของป้าซึ่งอยู่ที่ออสเตรเลีย น้องรัดเกล้ายอด
น้องรัดเกล้ายอดตอนนี้ใช้ชีวิตอยู่ที่ประเทศออสเตรเลีย ถือวีซ่านักเรียนและขายของออนไลน์ไปด้วย น้องขายน้ำพริกหางกุ้งและน้ำพริกตาดำ ต่าง ๆ นานาของทั้งป้าคำดอกงิ้วและป้านิตยา ใครชอบสินค้าตัวไหนติดต่อน้องรัดเกล้ายอดได้
ธุรกิจขายน้ำพริกออนไลน์ของน้องไปได้สวย น้องยังไม่พร้อมที่จะกลับไปเมืองไทยตอนนี้ ถึงแม้ว่าน้องจะคิดถึงลูกชิ้นยืนกินมากก็ตาม น้องก็ยังอยากที่จะอยู่ที่นี่อีกสักนิด ก่อนที่กลับจะเมืองไทย
โชคดีที่น้องรัดเกล้ายอดทำงานอยู่ใน critical sector:
- Agriculture; อุตสาหกรรมการเกษตร- Food processing; อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
- Healthcare; งานที่เกี่ยวกับสาธารณสุข
- Aged care; ดูแลผู้สูงวัย
- Disability care; ดูแลคนพิเศษ
- Childcare; ดูแลเด็ก
- Tourism and hospitality; อาหาร การโรงแรม และการท่องเที่ยว
น้องสามารถขอวีซ่า subclass 408; COVID Stream ได้นานถึง 12 เดือนและก็สามารถต่อได้อีก (ถ้า COVID ยังอยู่กับพวกเรา)
และงานที่น้องทำ นอกจากจะอยู่ใน critical sector ที่สามารถขอ subclass 408 ได้แล้ว งานของน้องยังอยู่ในสาขาอาชีพที่สามารถขอวีซ่า subclass 407; Training Visa วีซ่าฝึกงานซึ่งน้องก็สามารถขอได้นานถึง 2 ปีด้วย
สรุปคือน้องสามารถขอได้ทั้ง subclass 407 และ subclass 408
งั้นเรามาดูความแตกต่างระหว่างวีซ่า 2 ประเภทนี้กัน
ข้อดีและข้อเสีย เพื่อที่ป้าคำดอกงิ้วและป้านิตยาจะไปเอาข้อมูลนี้ไปประมวลผลและปรึกษาหารือกับน้องรัดเกล้ายอดต่อไป
subclass 408 ที่สามารถออกได้นานถึง 12 เดือนในช่วง COVID
ถ้าเราทำงานอยู่ใน critical sectors ในช่วง COVID-19 pandemic:
- Agriculture; อุตสาหกรรมการเกษตร
- Food processing; อุตสาหกรรมการแปรรูปอาหาร
- Healthcare; งานที่เกี่ยวกับสาธารณสุข
- Aged care; ดูแลผู้สูงวัย
- Disability care; ดูแลคนพิเศษ
- Childcare; ดูแลเด็ก
- Tourism and hospitality; อาหาร การโรงแรม และการท่องเที่ยว
subclass 408 สามารถทำงานได้ full-time
ไม่ต้องสอบ IELTS
ไม่ต้องใช้ bank statement (เพราะใช้สัญญาจ้างงานแทน)
subclass 408 สามารถต่อได้อีก จนกว่าสถานการณ์ COVID จะดีขึ้น จนกว่าจะมีการประกาศออกมาใหม่จากอิมมิเกรชั่น
หรือสำหรับใครที่ต้องการอยู่ต่อ ทำงานเก็บตังค์ นี่ก็เป็นอีกหนึ่ง subclass ที่เราสามารถขอได้ช่วง COVID-19 นะครับ ถ้าเราทำงานอยู่ใน critical sector ใน 7 sectors ด้านบน
ก็ลองดูนะครับ
เป็นอีกหนึ่งทางเลือก
ก็ดีกว่าจ่ายค่าเทอมไม่ใช่เหรอ???
มันก็เหมือนเป็นวีซ่าฝึกงานดี ๆ นี่เอง
วีซ่าตัวนี้ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกสำหรับหลาย ๆ คน เพราะ requirement ของวีซ่าตัวนี้ไม่ได้ยากจะอะไรมากมาย แต่เราก็อยากจะให้ทุกคนเลือกวีซ่าตัวนี้ด้วยความระมัดระวัง
เพราะวีซ่าตัวนี้ไม่มีกฎหมายบังคับว่านายจ้างต้องจ่ายค่าแรงเราเท่าไหร่ เพราะนี่คือวีซ่าฝึกงานเท่านั้น
มันไม่ใช่วีซ่าทำงาน
ดังนั้นเราอาจจะได้วีซ่า 2 ปีก็จริง แต่ถ้าทำงานหรือฝึกงานโดยที่ไม่ได้ค่าแรงเลย เราจะกลายเป็น modern slaves หรือเปล่า
เราอยากจะให้ทุกคนคิดและไตร่ตรองให้ดี ๆ นะครับ
แต่ถ้าหากนายจ้างหรือองค์กรที่จะทำเรื่อง train หรือฝึกงานให้เรา มีการจ่ายค่าแรงที่ถูกต้อง นั่นก็ถือว่า OK
มันก็จะเป็นอะไรที่ Win-Win ด้วยกันทั้ง 2 ฝ่าย
เพราะประสบการณ์การทำงานตอนที่ถือวีซ่า subclass 407, ถ้ามีการจ่ายค่าแรงอะไรที่ถูกต้อง และมีการเสียภาษีที่ถูกต้องตามกฎหมาย เราก็สามารถนำเอาประสบการณ์การทำงานตรงจุดนี้มาต่อยอดในการทำวีซ่าตัวอื่น ๆ ได้ด้วย
วีซ่า subclass 407 ไม่ได้จำกัดอายุของคนสมัคร ขอให้อายุ 18 ขึ้นไปก็ใช้ได้แล้ว
และภาษาอังกฤษเองก็ requires แค่ IELTS (general) overall 4.5
หรือถ้าเรียนพวก college หรือ TAFE full-time ที่ประเทศออสเตรเลียเป็นเวลา 1 ปี ก็สามารถเอามาเทียบเท่ากับ IELTS overall 4.5 ได้
subclass 407 เป็นวีซ่า 2 ปี
แต่ขอไป 2 ปีอาจจะได้มาแค่ 1 ปีก็มี หรือไม่ก็ refuse ไปเลย
เพราะ 407 เป็นวีซ่าฝึกงาน บางคนก็ประสบการณ์เยอะแล้ว มันไม่มีอะไรที่จะต้องมาฝึกกันแล้ว อย่างนี้เป็นต้น
และ Training Plan ก็เป็นอะไรที่ละเอียดมาก
ต้องเขียนอธิบายเป็นราย week เลยว่า แต่ละ week ต้อง train ต้องฝึกอะไรกันบ้าง
1 ปี มี 52 weeks ก็ต้องอธิบายว่า 52 weeks นั้นหนะ จะต้องฝึก จะต้อง train อะไรกัน