ใคร "someone" จาก Melbourne โทรมาหาเรา โทรมาถี่ ๆ มาก
เราไม่ได้รับสาย เพราเป็นสายแปลก
เบอร์นี้ไม่ได้นัดเอาไว้
นางคงไม่รู้จักเราแหละ ถ้ารู้จักเราไม่มีโทรมาโดยที่ไม่ได้นัดหมาย และจะไม่โทรถี่ขนาดนี้... oops!!!
เราก็เดาเอาว่าคงไม่ใช่คนที่ follow ใน page เรา เพราะถ้า follow เราใน page คนส่วนมาก (ไม่ทั้งหมด) ก็พอจะรู้อยู่ว่าเราไม่รับสายแปลกนานแล้ว
เราก็จำได้ว่าหลังจากนั้นเขาก็ทักเข้ามาใน Facebook page inbox
แต่เราก็ politely ตอบกลับไปแหละว่า "ไม่ว่าง" เพราะบางทีเราก็รับ book เอาใว้หมดแล้วในอาทิตย์นั้น ๆ
รวบรัดตัดตอน เอาเป็นว่าเราได้คุยกันในที่สุด
เป็น case ของพี่ชายของเค๊า
เงินมาผ้าหลุด (งก)
case ของคุณพี่ท่านนี้มีความ unique เฉพาะตัว เพราะพี่เค๊าถือ subclass 457 เป็นวีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ และก็เป็น transitional arragement เพราะพี่เค๊าถือหรือยื่น subclass 457 ก่อนหรือ ณ วันที่ 18 Apr 2017 วันที่รัฐบาลยุค Malcolm Turnbull ประกาศเปลี่ยนกฎแบบฝ้าแลบ แต่เขาก็ยังมี transitional arragment ให้คนที่ถือกฎเก่า อันนี้ก็ถือว่าเป็นความโชคดีไป รัฐบาลก็ไม่ได้โหดร้ายมากนัก
case นี้ ทุกสิ่งอย่าง เราคุยผ่านน้องสาว ซึ่งเป็นเจ้าของร้าน ทำเรื่องให้พี่ชาย
น้องสาวทำเรื่องให้พี่ชาย คนในครอบครัว มันมี way ของมัน
การที่เราออกมาเขียน page, เขียน blog ให้ข้อมูลฟรี ๆ แบบนี้
แต่ก็ยังไม่อีกหลายคน หลายชีวิตที่ยังไม่รู้จัก page เรา ไม่รู้จัก blog เรา
ไม่รู้จัก "J Migration Team" เพราะหลาย ๆ ธุรกิจเขาก็จะมีทนายประจำของธุรกิจของเขาอยู่แล้ว
เรามันก็แค่มดตัวเล็ก ๆ อยู่ที่ Wollongong
เราก็ไป VIC office ทุก ๆ 3 เดือนนะ
ไป QLD office ทุก ๆ 3 เดือนนะ
แต่พี่เค๊าก็ไม่ได้รู้จักเรา อาจจะไม่ได้เล่นโซเซียล
ก็ไม่เป็นไร คนที่รู้จักก็รู้จัก
คนไม่รู้จักเราก็เยอะ เพราะหลาย ๆ คนก็ไม่ได้มีเวลามานั่งอ่านข้อมูล หรือเสพข้อมูลในโลก online อะไรมาก เพราะเขาก็ต้องก้มหน้าก้มตา ทำมาหากิน ซึ่งก็ไม่แปลก คนส่วนมากก็ปล่อยเรื่องวีซ่าให้กับทนายหรืออิมมิเกรชั่นเอเจนท์ประจำธุรกิจเป็นคนจัดการ เจ้าของธุรกิจทุกที่ต้องมีทนายประจำร้านอยู่แล้ว
case ของคุณพี่ท่านนี้ มีความหัวเลี้ยวหัวต่อนิดหนึ่งคือ ทนายประจำร้านยื่นวีซ่า subclass 186 ENS หลังวันที่ 16 Nov 2019 แล้วทาง case officer ขอผลสอบภาษาอังกฤษ IELTS 6 each band หรือ PTE Academic 50 each band
Oh...no... ยื่นหลังหรือ ณ 16 Nov 2019 วันที่กฎหมายเปลี่ยน
ทั้ง ๆ ที่พี่เค๊าเรียนจบ ABAC มาจากเมืองไทย เรียนเป็นภาษาอังกฤษมาหลายปี และก็มาเรียนที่ออสเตรเลียอีกหลายปี พี่เค๊ามีผลการเรียนเกิน 5 ปีแน่นอน แต่ทนายของทางร้านก็พลาดตรงที่ไม่ได้ยื่นก่อนวันที่ 16 Nov 2019 ก่อนที่กฎของ subclass 186/187 จะเปลี่ยน
สรุปก็คือเสียโอกาสไป
แต่เท่านั้นยังไม่พอ
พี่ผู้ชายท่านนี้อายุกำลังจะเกินกำหนดอีกไม่กี่เดือน พี่เค๊ามีทางเดียวคือสอบ IELTS/PTE ให้ได้ ถ้าอายุเกิน ทุกอย่างก็คือจบ พับเสื่อกลับบ้าน
และที่ peak ไปกว่านั้นคือ stage 1 nomination ผ่านแล้ว
ดังนั้น stage 2 ต้องยื่นภายใน 6 เดือนเท่านั้น ถ้าหลัง 6 เดือน nomination ก็จะ expire... จบข่าว (ยื่น stage 1 ได้ใหม่แหละ แต่มันก็ต้องเสียตังค์)
Strategy ที่เราใช้คือ:
1. ยื่น stage 2 ของ subclass 186 เข้าไปใหม่ โดยทั้ง ๆ ที่พี่เค๊าไม่มีผลสอบ IELTS/PTE อย่างน้อยก็เพื่อยื้อเวลา รู้ว่ายังไงก็ไม่ผ่าน แต่พี่เค๊าต้องการแค่ Bridging Visa เพื่อที่จะอยู่ที่นี่แล้วสอบภาษาอังกฤษให้ได้ เพราะการที่เรายื่น stage 2 เข้าไปใหม่ มันก็เป็นการซื้อเวลาให้พี่เค๊า 6-9 เดือนในการเร่งสอบภาษาอังกฤษ อันนี้ก็ถือว่าเป็นการยื่น stage 2 ของ subclass 186 ชีวิตคนเราบางทีมันก็ no choice ก็ต้องทำ เงินซื้ออะไรไม่ได้ทุกอย่าง แต่ก็ซื้อโอกาสให้พี่เค๊าอยู่ที่นี่เพื่อสอบภาษาอังกฤษ
2. หลังจากนั้นก็ถอน stage 2 อันเก่าที่ยื่นไปครั้งแรกกับทนายคนเก่า ทนายของร้านที่ทำอย่างพังทะลาย
สาเหตุที่ถอน เพราะ stage 2 อันเก่าได้ case officer แล้ว และ case officer ก็ขอผลสอบภาษาอังกฤษมาแล้ว ถ้าพี่เค๊าไม่มีส่งไปให้ case officer วีซ่าของพี่เค๊าก็จะโดนปฏิเสธ และพี่เค๊าก็จะโดน section 48 ไม่สามารถยื่นวีซ่าได้ภายในประเทศออสเตรเลีย หลาย ๆ คน prefer ที่จะยื่นเรื่อง onshore ครับ มันทำอะไรต่อมิอะไรได้เยอะกว่าการออกไปยื่นเรื่อง offshore
3. วันเวลาผ่านไป ไวเหมือนโกหก ตดยังไม่หายเหม็น พี่เค๊าสอบ PTE Academic ผ่าน เราก็ต้องยื่น stage 2 ของ subclass 186 กันอีกรอบสิครับ เป็นการยื่น stage 2 รอบที่ 3 ของพี่เค๊า (1 รอบกับทนายคนเก่า และ 2 รอบกับเรา แต่อย่างน้อยเราก็มี strategy มี roadmap 1-2-3-4 ให้พี่เค๊า) และถอน stage 2 ของตัวเก่าออกมา ที่ยื่นกับเราครั้งแรก แต่เป็นครั้งที่ 2 ของพี่เค๊า
หลังจากนั้นพวกเราก็รอวน ๆ ไป
เมื่อพี่ถูกเรียกให้ไปตรวจร่างกาย เราก็รู้แล้วหละ ว่าวีซ่าพี่เค๊าจะผ่านแล้ว
พี่เค๊านั่งรอดอกไม้ที่หัวบรรไดทุกค่ำคืน
แต่พี่ครับ วีซ่ามันยังไม่ผ่าน เราไม่สามารถส่งดอกไม้ไปได้ พี่ไม่ต้องรอนะครับ ใช้ชีวิตของพี่ตามปรกติไป เมื่อถึงเวลา เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น มันจะมาของมันเอง
ไม่เร่งผล
ไม่กังวลนะครับพี่ :)
และแล้ววันที่รอคอยก็มาถึง
วีซ่าผ่าน ณ เวลา 2:43pm
เราจำเวลาได้ เพราะมันเลยเวลาสั่งดอกไม้แล้ว ร้านดอกไม้ online ต้องสั่งก่อน 2pm เท่านั้น ดอกไม้ถึงจะส่งภายในวันเดียวกัน
ก็ไม่เป็นไรนะ
ปรกติเราให้ทีมงานของเราเป็นคนจัดการในเรื่องของดอกไม้
แต่ case นี้ พี่ท่านนี้ เราขอเป็นคนเลือกเอง สั่งเอง เสร็จสรรพ
ก็กะเอาว่าดอกไม้ไปส่ง 3pm-5pm ให้ surprise หัวใจวายกันเล่น ๆ เพราะพี่เค๊ารอมานานมาก และพี่เค๊าผ่านอะไรมาเยอะกับทนายคนเก่าของร้าน
เราก็กะจะจุดพลุเต็มที่
แพลนเอาไว้แล้วว่า ดอกไม้ไปถึง 3pm-5pm
แล้วเราก็จะ email ตามไป 5pm อะไรประมาณนี้
OK ได้เลย
OK-1: draft email ของพี่เค๊า เรียบร้อยเสร็จสรรพ saved เอาไว้แล้ว รอส่งวันรุ่งขึ้น
OK-2: draft email ของแฟนพี่เค๊าด้วย เสร็จสรรพ ปุ๊บ ๆ ๆ แล้วก็นั่งทำงานต่อ
และแล้วเราก็ได้รับ LINE message จากน้องสาวของพี่เค๊า
ว่าดีใจ วีซ่าผ่านแล้ว นั่น นี่ โน่น
เอ๊ย... เดี๋ยวก่อนนะ เกิดอะไรขึ้น
ดอกไม้วันต้องวันรุ่งขึ้นหนิ
email มันก็ต้องวันรุ่งขึ้น ตอนเย็น หลังจากดอกไม้สิ ก็แพลนเอาไว้หมดแล้ว
OMGGGGGGGGG
โอ๊ยยยยยยยยยยย เกลียดตัวเองที่สุด... LOL
เสียแผนหมดเลย
เราเผลอกดส่ง email ของแฟนพี่เค๊าซะหละ
หมดกัน ความแตก!!!
surprise ซ้อน surprise
คือถ้าคนติดตามได้ PR พี่เค๊าซึ่งเป็น main applicant ก็ต้องได้ PR ด้วยสิ
ก็เอาเป็นว่า happy กันไปทุกฝ่าย
ทั้งคนที่อยู่ Wollongong และคนที่ Melbourne
อีก 12 เดือนทำเรื่องขอ citizenship นะครับพี่
กราบขอบพระคุณคุณพี่ท่านนี้และน้องสาวของเค๊า
ที่เลือกใช้บริการของเรา
สินค้าดีใช้แล้วช่วยบอกต่อนะครับ
เรารู้สึกทราบซึ้งจากหัวจิต
จากมดตัวเล็ก ๆ ตัวหนึ่งที่ Wollongong
ก้าวเล็ก ๆ ของวันนั้นเมื่อปี 2008
จากเด็กตัวน้อย ๆ คนหนึ่ง มดตัวเล็ก ๆ จาก Wollongong
13 ปีผ่านไป เราผ่านอะไรมาเยอะ
ในวันที่มีคนบอกว่า "Wollongong เมืองเล็ก ๆ จะมีลูกค้าหรือเปล่า จะมีเงินจ่ายค่า registration รายปีหรือเปล่า" ตรง ๆ ซึ่ง ๆ หน้าเมื่อปี 2008/2009
เราโดนมาหมดแล้วจ๊ะ
กราบขอบคุณลูกค้าทุกคนที่เลือกใช้บริการของเรา
กราบขอบคุณทุกคนที่ให้ความไว้วางใจ
สินค้าดีใช้แล้วช่วยบอกต่อ
ศีลเสมอแล้วเจอกัน
No comments:
Post a Comment