Tuesday, December 29, 2009

Job Ready Program

เริ่มตั้งแต่วันที่ 1 Jan 2010 เป็นต้นไป, คนที่ขอ PR โดยใช้ skill ในการขอ เวลาทำ skill assessment จะต้องทำ "Job Ready Program" ด้วย Job Ready Program นี้ ก็จะมีผลบังคับใช้เฉพาะคนที่ใช้ trade skill occupations เท่านั้น ซึ่งน้องๆคนไทยส่วนมากอาจจะเข้าข่ายนี้ เพราะว่า Commercial Cookery และ Hairdressing ซึ่งคนไทยเรียนกันเยอะเหลือมาก ก็เข้าข่ายนี้ครับ ใครต้องการเช็คสาขาอาชีพอื่น ก็ติดต่อพี่จอห์นได้นะครับ มีจอห์นมี list ให้

Job Ready Program นี้ เป็นส่วนหนึ่งของ skill assessment โดย Trades Recognition Australia (TRA)

Job Ready Program นี้ก็คงทำให้นักเรียนต่างชาติหลายๆคนไม่ happy กันเยอะทีเดียวหละ เพราะว่า รายละเอียดจะเยอะมากขึ้น และค่าใช้จ่ายก็จะสูงมาก

สิ่งที่หลายๆคนควรรู้
- Job Ready Program นี้จะมีผลบังคับใช้ เฉพาะคนที่สมัครภายในประเทศออสเตรเลีย (onshore)
- Job Ready Program จะมีผลบังคับใช้ เริ่มจากวันที่ 1 Jan 2010 เท่านั้น คนใหนที่ยื่นเรื่องไปแล้วก็ถือว่าโชคดีไป
- Job Ready Program นี้มีผลบังคับใช้เฉพาะคนที่ใช้ trade skill เท่านั้น
- ค่าใช้จ่ายอาจสูงถึง $4,550.00.

นี่คือวีซ่า 3 ประเภท ที่มีผลบังคับใช้นะครับ:
- Skilled; Independent (Residence) Visa (Subclass 885)
- Skilled; Sponsored (Residence) Visa (Subclass 886)
- Skilled; Regional Sponsored (Provisional) Visa (Subclass 487)

จุดประสงค์ของ Job Ready Program ก็เพื่อเป็นการเช็คและเตรียมความพร้อมว่าเราหนะ มีความพร้อมที่จะทำงาน มากน้อยแค่ใหน เพราะถ้าเรามีความพร้อมมาก จะทำให้เราหางานได้ง่ายขึ้น มีโอกาสมากขึ้น ว่างั้นเถอะ เพราะปัญหาตอนนี้คือ คนที่ได้ PR แล้ว หางานไม่ได้กันเยอะ สรุปก็ต้องมาเป็นภาระขอเงินช่วยเหลือจากรัฐบาล (CentreLink)

ให้ take note ด้วยนะครับว่า คนที่สมัครภายนอกประเทศ หรือ offshore ไม่มีผลบังคับใช้อะไรทั้งสิ้น ก็สบายไป :)

ดูๆเหมือนว่า ทุกอย่างจะเริ่มยากขึ้น แนะนำว่าให้ปรึกษาผู้รู้นะครับ อย่าปรึกษาเพื่อน หรือเชื่อข่าวลือ
ถ้าจะยื่นเรื่องก็แนะนำให้ทนายหรืออิมมิเกรชั่นเอเย่นต์ (อย่างพี่จอห์น เป็นต้น) เป็นคนยื่นให้ ให้จำไว้เสมอว่า "เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่าย" นะครับ

Sunday, December 27, 2009

email มาปรึกษา

ช่วงนี้พี่จอห์นมี email เข้ามาเยอะมาก เนื่องจากว่า เขียน blog นี้ที่เป็นภษาไทย และยังเขียนอีก blog หนึ่งที่เป็นภาษาอังกฤษ http://immiteam.blogspot.com ก็อยากจะบอกว่า มี email เข้ามาจากทั่วมุมโลกจริงๆ ก็เลยอยากจะบอกทุกคนว่า เวลา email มาขอคำปรึกษาพี่จอห์นเนี๊ยะ พี่อยากจะให้ทุกคนเขียนเข้ามาแบบที่มีข้อมูลเยอะที่สุด เท่าที่จะเยอะได้ เพราะถ้าพี่จอห์นมีข้อมูลครบ ก็จะสามารถตอบคำถามไปได้เลยใน email เดียว จะได้ไม่ต้องส่งกันส่งกันมา พี่จอห์นไม่ได้ขี้เกียจนะครับ เพียงแต่ชอบการทำงานแบบ efficiency ก็เท่านั้นเอง

พี่จอห์นพร้อมที่จะตอบ email ทุกฉบับที่เข้ามา ก็เป็น FREE service อยู่แล้ว email กันเข้ามาได้ตลอด ถ้าจะให้ดี ทุกคนที่ email เข้ามาพี่จอห์นอยากให้เขียนประวัติตัวเองย่อๆมาด้วย resume หนะ เขียนมาเลย ใน resume พี่จอห์นอยากให้มีข้อมูลดังต่อไปนี้

- อายุ, วัน เดือน ปี เกิด
- สัญชาติ, คนไทยตอนนี้ถือหลายสัญชาติกันเยอะ
- ความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ ถ้ามีผลสอบ IELTS ด้วย จะดีมากเลย
- ประวัติการศึกษา ตั้งแต่จบ ม.ปลาย
- ประวัติการทำงาน (ถ้าเคยทำงานมาก่อน) วันที่เข้างาน และวันที่ออกจากงาน และหน้าที่รับผิดชอบใหนแต่ละตำแหน่งที่เคยทำมา
- สถานภาพสมรส
- มีลูกหรือเปล่า ถ้ามี มีกี่คน
- ถ้าแต่งงาน ก็ขอข้อมูลของแฟน เหมือนทุกอย่างที่อยู่ข้างบน ด้วยเหมือนกัน

ข้อมูลยิ่งเยอะ ยิ่งดี
ก็ email กันเข้ามาได้นะครับ ยินดีช่วยเหลือทุกคนนะครับ

Tuesday, December 22, 2009

Skills Assessment change from 1 Jan 2010

From 1 January 2010, applicants for Subclasses 487, 885 and 886 must have obtained a suitable skills assessment from the relevant skills assessing authority prior to making their visa application.

There will be changes to Skills assessment for onshore general skill migrants:
- Skilled – Independent (Residence), subclass 885
- Skilled – Sponsored (Residence), subclass 886, and
- Skilled – Regional Sponsored (Provisional), subclass 487

All these 3 subclasses need to have skills assessment done before lodge the application. These changes will take effect from 1 Jan 2010.

Skill assessment can take up to 30 working days, depends on the skills assessing authority. But, remember that 1 month is only 20 working days (Mon-Fri). Therefore, 30 working days is in fact 1.5 month.

Seems that things are getting tougher.

If you are in doubt, get the expert to help you out.

Saturday, December 19, 2009

AoS for Partner Visa: Onshore Temporary and Permanent (Subclasses 820 and 801)

เนื่องด้วยว่าพี่จอห์นได้มีโอกาสได้ให้คำปรึกษากับน้องคนหนึ่งที่สนิทกัน เกี่ยวกับ AoS for Partner Visa: Onshore Temporary and Permanent (Subclasses 820 and 801)ก็เลยขอเขียนไว่ตรงนี้ให้คนได้อ่านกัน ก็หวังว่าจะได้เป็นประโยชน์กับใครอีกหลายๆคน

Partner Visa คือวีซ่าสำหรับคู่แต่งงาน หรืออยู่กันแบบ de facto ไม่ว่า เพศเดียวกัน หรือเพศตรงข้าม ก็สามารถขอวีซ่านี้ได้ครับ

AoS; Assurance of Support คือเงินค้ำประกันสำหรับคนที่ขอวีซ่า เพื่อ make sure ว่า คนเหล่านั้นจะไม่มาขอเงินประกันสังคม ในช่วง 2 ปีแรก ที่ได้วีซ่า

การที่อิมมิเกรชั่นจะเรียกให้เรามี AoS; Assurance of Support หรือไม่นั้น ขึ้นอยู่กับ case ของเรา และความต้องการของ case officer ด้วย แต่ด้วยลักษณะของ Partner Visa ซึ่งต้องมี sponsor เป็นคน sponsor ให้อีกฝ่ายหนึ่งได้วีซ่า ถ้าหาก sponsor ยังเป็นนักเรียนอยู่ และยังไม่มีรายได้ หรืออาจจะไม่ใช่นักเรียนก็ได้ แต่เป็นคนที่มีรายได้ต่ำ โอกาสสูงมากที่ทางอิมมิเกรชั่นจะเรียกให้มี AoS.

AoS นี้จะเป็นหน้าที่หน่วยงานของ CentreLink นะครับ ไม่ใช่หน้าที่ของอิมมิเกรชั่น การมี AoS นี้คือเราต้องหาคนมาค้ำประกัน ซึ่งคนค้ำประกันก็ต้องมีรายได้ขั้นต่ำ เท่าโน้นเท่านี้ก็ว่ากันไป รายได้ขั้นต่ำของคนค้ำประกันนั้นจะขึ้นอยู่กับว่า คนค้ำประกันนั้นโสดหรือเปล่า แต่งงานหรือเปล่า มีลูกหรือเปล่า มีลูกกี่คน ทุกอย่างจะ factor เข้ามาหมดเลย ดังนั้นอย่าเหมาเอารวมๆว่า คนค้ำประกันต้องมีรายได้เท่าโน้น หรือเท่านี้ พี่จอห์นแนะนำให้โทรไปเช็คกับทาง CentreLink แล้วเค็าจะบอกตัวเลขที่แน่นอนให้ได้ เพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับน้องคนนี้คือ เพื่อนคนแรกที่จะช่วยเป็นผู้ค้ำประกันนั้นยังไม่แต่งงาน ทาง CentreLink ก็จะบอกว่าเค๊าต้องมีรายได้เท่านั้นเท่านี้ แต่พอเพื่อนคนนี้เปลี่ยนใจไม่อยากเป็นผู้ค้ำประกันหละ น้องคนนี้ก็ไปหาคนค้ำประกันอีกคนหนึ่ง แต่คนนี้แต่งงานแล้ว มีลูก 2 คน รายได้ของผู้ค้ำประกันคนนี้ก็ต้องเป็นอีกแบบหนึ่ง

รายได้ขั้นต่ำของผู้ค้ำประกันจะมีการ review ทุกๆปี ถ้าจะให้ได้ข้อมูลที่แน่นอน ก็ต้องเช็คกับทาง CentreLink นะครับ

Wednesday, December 16, 2009

Skilled – Independent (Residence) visa (subclass 885)

เนื่องด้วยช่วงนี้นักเรียนต่างชาติพากันจบเยอะ และหลายคนก็รีบจัดการเรื่องขอ PR โดยทันที หลายๆคนเร่งให้ยื่นเรื่องก่อนวันที่ 1 Jan 2010 ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนแปลงทางกฏหมาย โดยเฉพาะน้องๆคนไทยที่เรียน Commercial Cookery และ Hairdressing ซึ่งก็เป็นสาขาเรียนยอดฮิตของนักเรียนไทยส่วนใหญ่

ช่วงนี้ก็เลยมีคนสอบถามเรื่องการขอ PR "Skilled – Independent (Residence) visa (subclass 885)" กันเข้ามาเยอะมาก เนื่องจากว่ามีหลายคนที่ต้องเร่งยื่นเรื่อง ไม่ว่าจะเนื่องมาจาก อยากยื่นก่อนวันที่ 1 Jan 2010 หรือ วีซ่าใกล้จะหมดก็ตาม ก็มีอยู่ 2 เรื่องที่พี่จอห์นอยากจะแจ้งให้ทราบ

1. เรื่องตรวจร่างกาย เราไม่ต่้องรอผลตรวจร่างกายนะครับ หรือไม่ต้องรอวันตรวจก็ได้ เราสามารถเอา receipt จาก appointment หรือการ book ตรวจร่างกาย ยื่นไปก่อนก็ได้ ตรวจร่างกายเมื่อไหร่ ผลออกเมื่อไหร่แล้วค่อยยื่นเอกสารตามก็ได้

2. เรื่องการทำ skill assessment ก็เหมือนกัน จริงๆแล้วเราก็ไม่ต้องผลของ skill assessment เราสามารถเอา receipt จาก post office มาโชว์ว่าเรายื่นเรื่องไปแล้วก็พอ เพราะ skill assessment จะเป็นอะไรที่ take time มาก ดังนั้นเราไม่จำเป็นต้องรอ พี่จอห์นก็แนะนำให้ยื่นเรื่องไปก่อน แล้วได้ผลจาก skill assessment เมื่อไหร่ ก็ค่อยส่งตามไปทีหลัง

Monday, December 14, 2009

สามารถติดต่อพี่จอห์นได้หลายวิธี

วันนี้ก็นั่งทำ case ให้ลูกค้าท่านหนึ่ง แต่ก็ขอแอบมาเขียน blog หน่อยก็แล้วกัน เพราะพี่จอห์นคิดว่าคงจะเป็นประโยชน์กับหลายๆคน

ช่วงนี้คน search เจอ blog นี้กันเยอะ ซึ่งพี่จอห์นก็เขียน blog นี้เป็นภาษาไทย และอีก blog หนึ่งก็จะเป็นภาษาอังกฤษซึ่งก็จะ target ลูกค้าและคนอ่านคนละกลุ่มเป้าหมาย

ช่วงนี้มีคนตืดต่อเข้ากันเยอะเพราะ search เจอพี่จอห์นใน Internet ก็จะมีคนติดต่อมาจากทั่วโลก เมืองไทย อเมริกา พม่า มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ และก็เกือบทุกรัฐในออสเตรเลียเอง

- ถ้าจะโทรมา พี่จอห์นก็แนะนำว่าไม่ให้ใช้ "private number" หรือเบอร์โทรส่วนตัวโทร เพราะบางทีพี่จอห์นไม่ว่างรับสาย ถ้าเป็น private number แล้วพี่จอห์นก็โทรกลับไม่ได้ จริงๆพี่จอห์นก็อยากจะรับสายทุกสายที่เข้ามา แต่บางทีก็ติดลูกค้าคนอื่น หรือบางทีก็โทรดึกเกินไป ยังไงก็เช็คเวลาของออสเตรเลียด้วยนะครับ เวลาของเรา ใช้เวลาที่ Sydney นะครับ หรือถ้าโทรวันอาทิตย์ พี่จอห์นก็คงไม่รับสาย เพราะอยากพักผ่อนจริงๆ สำหรับวันอาทิตย์

- วิธีที่ดีที่สุดก็คงเป็น SMS นะครับ SMS กันเข้ามาได้ตลอดเวลา ไม่ต้องกังวลเรื่องเวลา หรือวันอาทิตย์ เพราะ SMS เนี๊ยะ พี่จอห์นก็จะตอบกลับเมื่อว่าง หรือนัดคุยกันช่วงที่ว่างอะไรประมาณเนี๊ยะ SMS เนี๊ยะ คือได้ตลอด 24 ชั่วโมงเลย ไม่มีปัญหา

- หรือไม่ก็ทาง email ซึ่งพี่จอห์นจะตอบกลับภายใน 24 ชั่วโมง email ก็อยู่ข้างบนนะครับ ให้สังเกตุว่า พี่จอห์นจะจงใจใส่ space ตรงเครื่องหมาย "@" เพื่อป้องกันพวก junkmail ดังนั้นเวลาส่ง email มา ก็ลบตรง space ตรงเครื่องหมาย "@" ออกไปก็แล้วกันนะครับ

- หรือถ้าใครอยากได้ยินเสียง ก็แนะนำให้ใช้ Skype นะครับ ID ของพี่จอห์นคือ paopeng ก็ลอง add กันเข้ามาก็แล้วกัน

Wednesday, December 9, 2009

วีซ่าแต่งงาน 3 วัน ผ่าน

ยื่นเรื่องขอ PR วีซ่าแต่งงานให้ลูกค้า ยื่นวันที่ 3 Dec 2009 วีซ่าผ่านวันที่ 8 Dec 2009 เมื่อวานนี้เอง
เอกสารครบ ทุกอย่างผ่านไปด้วยดี ซึ่งก็ผ่านภายใน 3 วันทำการ (ไม่นับเสาร์-อาทิตย์)

เสร็จไปหนึ่ง case เดี๋ยวอาทิตย์นี้มีอีก case ที่ต้องรีบ

refering ถึง blog ที่เขียนไปเมื่ออาทิตย์ที่แล้ว; 4 Dec 2009 เกี่ยวกับน้องที่ถือวีซ่านักเรียน แล้วทำเรื่องแต่งงาน
นี่คืออีกตัวอย่างหนึ่งที่เอเยนต์ในซิดนีย์บอกน้องคนนี้ว่าทำไม่ได้ ลาออกจากโรงเรียนไม่ได้ เดี๋ยววีซ่าจะขาด (จริงๆแล้วอยากได้ค่าเทอม)

ตอนนี้น้องคนนี้วีซ่าก็ผ่านไปแล้วเรียบร้อย ภายใน 5 วัน
สบายไปแล้วหนึ่งคน ไม่ต้องไปเสียเงินลงทะเบียนเรียน เพื่อเสียค่า commission ให้เอเยนต์ในซิดนีย์อีกต่อไป

Saturday, December 5, 2009

เลือกใช้อิมมิเกรชั่นเอเยนต์ที่มี MARN เท่านั้น

สืบเนื่องจากการเขียน blog ไปเมื่อวาน รู้สึกว่ามีอาการค้างคาใจที่อยากจะต้องเขียนต่อ เพราะหลายๆคน โดยเฉพาะคนไทยที่ไม่ค่อยรู้เรื่องนี้เท่าไหร่

ตามกฎหมายอิมมิเกรชั่นของที่ออสเตรเลีย อิมมิเกรชั่นเอเจนท์ที่ถูกกฎหมายและลงทะเบียนถูกต้อง หรือ Registered Migration Agent ทุกคนจะต้องมีหมายเลขประจำตัวคือ MARN และกฎหมายก็บังคับด้วยว่า การโฆษณาทุกอย่าง ไม่ว่าจะเป็น email, Internet, นามบัตร และการโฆษณาตามสื่อต่างๆ อิมมิเกรชั่นเอเจนท์ที่ถูกต้อง จะต้องแจ้งหรือแสดง MARN ตลอด ลืมไม่ได้ เพราะนี่คือกฎหมายบังคับ

ถ้าใครไม่มี MARN ก็แสดงว่าไม่ใช่อิมมิเกรชั่นเอเจนท์ที่ถูกกฎหมาย หรือเรียกง่ายๆว่า "ของเก๊" "ของปลอม" ดังนั้นอยากให้ทุกคนระหวังให้ดี เพราะคนบางคนคิดว่า ไปอ่านหาข้อมูลจาก website ของกระทรวงอิมมิเกรชั่น แล้วก็มาเสนอตัวเป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์ แบบนี้ผิดกฎหมายครับ แต่ด้วยความที่หลายๆคนไม่รู้ว่าอิมมิเกรชั่นเอเจนท์ที่ถูกต้อง จะต้องมี MARN โชว์ตลอด

การที่จะเป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย ไม่ใช่ว่าทุกคนก็สามารถเป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์ได้ โดยเฉพาะหลัง 1 July 2006 (เอ... หรือว่าเราจำปีผิดหว่า ไม่แน่ใจ) การที่จะเป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์นั้น ต้องจบ Graduate Certificate in Australian Migration Law & Practice จากมหาวิทยาลัย ซึ่งตอนนี้เปิดสอนอยู่แค่ 4 มหาวิทยาลัยเอง ซึ่งหนึ่งในนั้นก็มี ANU (The Australian National University) ซึ่งพี่จอห์นจบมา และจบมาก็ไม่ใช่ง่ายๆ ตอนลงทะเบียนเรียนหนะ มีคนเรียนเยอะแยะ แต่พอแต่ละเทอมผ่านไป คนก็เริ่มน้อยลง น้อยลง

พอเรียนจบได้เป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์ ทุกๆปีเราก็ต้องมีการต่อใบอนุญาตเพื่อเอา MARN ต่อ เราก็จะมี seminar และวิชาเรียนที่เราต้องไป ซึ่งพี่จอห์นเองก็เลือกที่จะเรียนและสอบอยู่ที่บ้าน เพราะไม่ชอบเดินทางเข้า Sydney ซึ่งทั้งหมดก็มี 10 วิชา ดังนั้นก็ไม่ง่ายนะที่จะ continue เป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์

ที่นี้กฎหมายมันก็มีช่องโหว่ที่ว่า
1. ถ้าคนที่เป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์ถูกต้องตามกฎหมาย มี MARN สามารถเปิดบริษัทหรือสำนักงาน โดยที่เจ้าของบริษัทหรือสำนักงานเป็นคนที่มี MARN คนเดียวก็พอ พนักงานคนอื่นในบริษัทหรือสำนักงานไม่จำเป็นต้องมี แต่คนที่มี MARN จะต้องฝึกและ train คนที่ไม่มี MARN

2. อิมมิเกรชั่นเอเจนท์ที่อยู่ต่างประเทศ ไม่จำเป็นต้องมี MARN สังเกตุได้เลย เอเยนต์ที่เมืองไทย มีใครมั่งที่มี MARN

มีหลายครั้งเหลือเกินที่น้องคนไทยที่นี่ ได้รับคำปรึกษามาจากพนักงานในสำนักงาน และเอเจนท์ที่ซิดนีย์ และพนักงานเหล่านั้นก็ไม่ได้เป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์แต่อย่างไร เพียงแต่แค่ทำงานในบริษัทนั้น ช่วยกรอกฟอร์ม ทำโน่นทำนี่ไป บางทีคำแนะนำต่างๆเหล่านั้น ไม่ตรงกับตัวกฎหมายที่ทางกระทรวงอิมมิเกรชั่นออกมา เพราะการอ่านเอาข้อมูลจาก website ของกระทรวงอิมมิเกรชั่นนั้น เป็นแค่ข้อมูลทั่วๆไปที่ open to public ซึ่งทุกคนสามารถเข้าไปอ่านได้อยู่แล้ว แต่สำหรับ Registered Migration Agent หรืออิมมิเกรชั่นเเอเจนท์ที่ถูกต้องตามกฏหมาย และมี MARN เราจะตีความบทบรรยัติทางกฎหมายที่จะซับซ้อนไปกว่านี้เยอะ มันไม่ใช่แค่ plain English ทั่วๆไป เราต้องเรียนกันจากมหาวิทยาลัย และข้อมูลที่อิมมิเกรชั่นเอเจนท์ใช้ จะเป็นข้อมูลตัวเดียวกันที่ case officer ใช้ คือเราไม่ได้ใช้ข้อมูลจาก website เราอ่านกันจาก legislation เลย

ส่วนเอเจนท์ที่เมืองไทยหนะ ก็ไม่ต้องพูดถึงเลย จะมีสักกี่คนที่เป็นอิมมิเกรชั่นเอเจนท์ที่ถูกต้องตามกฎหมาย เอาเป็นว่า พี่จอห์นจะเขียนเรื่องนี้แยกไว้อีกต่างหากก็แล้วกัน เพราะแค่นี้ blog นี้ก็จะยาวเกินไปแล้ว

Friday, December 4, 2009

วีซ่านักเรียน แต่งงาน ขอ PR จะมีปัญหามั๊ย

พี่จอห์นขอตอบคำถามที่น้องๆหลายคนสงสัยกันเยอะ และก็ได้ข้อมูลไม่ค่อยตรงเท่าไหร่ โดยเฉพาะข้อมูลจากโรงเรียนและเอเยนต์ที่หาเด็กเข้าไปเรียนเพื่อที่ต้องการค่า commision โดยที่ไม่ได้นึกถึงความต้องการของเด็ก และไม่ได้เป็นอิมมิเกรชั่นเอเยนต์อะไรเลย เพราะตอนนี้ โดยเฉพาะที่ Sydney ที่เอเยนต์ทำหน้าที่ทั้ง อิมมิเกรชั่นเอเยนต์ และ Education Agent ควบกันไปด้วย เดี๋ยวพี่จอห์นจะแยกเขียน blog เกี่ยวกับเรื่องนี้ไว้อีกหัวข้อก็แล้วกัน

น้องๆที่ถือวีซ่านักเรียน พอแต่งงานกับแฟนที่เป็นคน local ที่นี่ ไม่ว่าจะเป็น PR หรือ Citizen ก็ตามแต่ พอแต่งงานเสร็จ สามารถยื่นเรื่องขอ PR ได้เลยทันทีครับ ไม่ต้องรอ แต่งวันนี้ ยื่นขอ PR พรุ่งเลยยังได้

ปัญหาที่น้องๆหลายคนเจอก็คือ วีซ่านักเรียนที่ได้มา เป็นวีซ่ายาว เพราะลงทะเบียนเรียนไป 2-3 ปี แต่จ่ายค่าเทอมเป็นเทอมๆไป ทางโรงเรียนก็จะบอกว่า ลาออกไม่ได้นะเพราะถ้าลาออกแล้ววีซ่านักเรียนจะโดนตัด เพราะว่าทางโรงเรียนอยากได้ตังค์ไงหละ

จริงๆแล้วลาออกได้ครับ แต่ต้องลาออกหลังจากเรายื่นเรื่องนะ ถ้าเรายื่นเรื่องแล้ว ก็สามารถลาออกได้เลย เพราะเราจะได้ bridging visa ซึ่งจะ take effect ทันทีหลังจากวีซ่านักเรียนเราโดน cancel

คนทั่วไปรู้เรื่อง bridging visa น้อยมาก ต้องอิมมิเกรชั่นเอเยนต์เท่านั้นที่รู้เรื่อง bridging visa จริงๆ ดังนั้นเวลาขอคำปรึกษาจากใครต้องเช็คด้วยว่า คนนั้นหนะ เค๊าเป็น อิมมิเกรชั่นเอเยนต์ที่ถูกกฏหมายหรือเปล่า เพราะอิมมิเกรชั่นที่ถูกกฏหมาย ทุกคนต้องมีหมายเลข MARN ดังนั้นพี่จอห์นแนะนำให้น้องๆเช็คด้วยว่า นามบัตร เค๊าเหล่านั้นมี MARN หรือเปล่า

bridging visa นี้ก็เป็น visa มหัสศจรรย์ที่ทันทีที่วีซ่านักเรียนหมดอายุ หรือโดนตัด bridging visa ก็จะ take effect ทันที และน้องที่ยื่นเรื่องแต่งงานเข้าไปก็จะได้ bridging visa ไปจนกว่าผลเรื่อง PR จากการแต่งงานจะออก

และจากประสบการณ์ที่พี่จอห์นยื่นเรื่องวีซ่า PR แบบแต่งงานให้น้องๆมาหลายคู่ ถ้าเอกสารทุกอย่างครบ ก็ประมาณ 2-3 อาทิตย์ ผลก็ออกแล้วครับ

Tuesday, December 1, 2009

ภาษาอังกฤษที่จะยากขึ้นหลังจาก 1 January 2010

มีการเปลี่ยนแปลงอะไรบ้าง?

ก็จะมีการเปลี่ยนแปลงในเรื่องของ requirement ของเรื่องภาษาอังกฤษอยู่ 2 ประเด็น
ประเด็นแรกคือ คนที่เป็น trade occupation งานช่าง ที่ต้องใช้ฝีมือและทักษะเฉพาะตัว; ช่างตัดผม หรือ เชฟ และอื่นๆอีก ประเด็นที่สองคือ คนที่สมัครแบบออกไปอยู่ตามท้องถิ่น หรือ Skilled-Regional Sponsored visa.

มีการประกาศมาจากกระทรวงอิมมิเกรชั่น เมื่อวันที่ 12 May 2009 (ก็นานมาแล้ว นำมาเขียนย้ำ เพราะใกล้วันที่ 1 Jan 2010 แล้ว) ว่า ผู้สมัครขอ PR ประเภทช่างทักษะและฝีมือ หรือ trade occupation จะเพิ่ม IELTS ขั้นต่ำเป็น 6.0 ตั้งแต่วันที่ 1 Jan 2010 เป็นต้นไป สำหรับคนที่สมัครขอ PR แบบที่ต้องไปอยู่ตามท้องถิ่น Skilled-Regional Sponsored ก็เช่นเดียวกัน IELTS ขั้นต่ำก็จะเป็น 6.0 ตั้งแต่วันที่ 1 Jan 2010


จะมีผลกระทบต่อใครมั่ง?

จะมีผลเฉพาะกับคนที่ยื่นใบสมัครหลังจากวันที่ 1 Jan 2010 เท่านั้น (วันที่ 1 Jan วันปีใหม่ เป็นวันหยุดนะคร๊าบบบบบ) ใครที่ยื่นก่อนวันที่ 1 Jan 2010 ก็จะไม่มีผลกระทบกับกฏใหม่อันนี้


เหตูผลที่มีการปรับเปลี่ยนเพิ่ม requirement ระดับของภาษา?

เนื่องด้วยสาขาอาชีพทุกสาขาอาชีพที่นอกเหนือจาก trade occupation ได้มีการปรับระดับ requirement ของภาษาอังกฤษ ดังนั้น สาขาอาชีพใน trade occupation ก็ต้องมีการเพิ่มด้วย เพื่อให้สอดคล้องกับสาขาอาชีพอื่นๆ และที่สำคัญก็คือ การที่เรามีความสามารถใช้ภาษาอังกฤษในการสื่อสาร มันก็จะเป็นการง่ายต่อเรา ที่จะออกไปหางานทำได้


จะมีการยกเว้นสำหรับนักเรียนที่เพิ่งลงทะเบียนเรียนไปหรือเปล่า?

ข่าวร้ายครับ จะไม่มีการยกเว้นสำหรับนักเรียนที่เพิ่งจะลงทะเบียนเรียน หรือตอนนี้เรียนสาขาอาชีพใน trade occupation เป็นอันขาด เพราะทางอิมมิเกรชั่นได้ออกมาประกาศตั้งแต่เดือน May 2009 ซึ่ง ถึงวันที่ 1 Jan 2010 ก็ประมาณ 7 เดือน ซึ่งก็ถือว่านานพอสมควรในการเตรียมตัว

นักเรียนต่างชาติที่มาเรียน Certificate III, trade course ก็ต้องมีผลสอบภาษาอังกฤษ IELTS 5.0 อยู่แล้ว แล้วถ้าเรียนต่อที่นี่อีก 2 ปี พอถึงตอนนั้น ภาษาอังกฤษก็ควรจะดีขึ้น ดังนั้น IELTS 6.0 ก็ไม่น่าจะมีปัญหา

คะแนน points ของ partner จะได้รับผลกระทบอะไรหรือเปล่า?

ถ้าเราต้องใช้คะแนน points จาก partner เรา การเพิ่ม requirement ของภาษาอังกฤษในครั้งนี้ก็มีผลกระทบด้วยครับ

ทำใม requirements ของ skilled migration เปลี่ยนแปลงบ่อยจังเลย?

Skilled migration programs คือวิถีอีกทางหนึ่งที่รัฐบาลออสเตรเลียใช้ในการดึงดูดคนเข้ามาทำงานในสาขาอาชีพที่ออสเตรเลียขาดแคลน สภาพการของเศรษฐกิจที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่บ่อยๆ จึงมีผลกระทบต่อ Skilled migration programs ซึ่งต้องปรับเปลี่ยนไปตามสภาพเศรษฐกิจของประเทศ และทางรัฐบาลของออสเตรเลียก็ต้องการ make sure ว่าคนที่ได้ PR นั้น มีความชำนาญและความสามารถในสาขาอาชีพนั้นๆจริง และภาษาก็สำคัญในการสมัครและหางานทำที่นี่

และเนื่องด้วยกฏหมายมีการเปลี่ยนแปลงบ่อย พี่จอห์นก็แนะนำให้คนที่ต้องการทำเรื่องขอ PR ให้ปรึกษาทนายและนักกฏหมายด้านอิมมิเกรชั่น ซึ่งพี่จอห์นเองก็เป็นหนึ่งในนั้น เพราะกฏหายจะมีความซับซ้อนมากขึ้นเรื่อยๆ ให้จำไว้เสมอว่า เสียน้อยเสียยาก เสียมากเสียง่ายนะ