Wednesday, August 30, 2023

249311 Teacher of English to Speakers of Other Languages

249311 Teacher of English to Speakers of Other Languages:


- Subclass 407, ไม่แนะนำ
- Subclass 482
- Subclass 494, แล้วตามด้วย Subclass 191 (PR)
- Subclass 187, ได้เฉพาะคนที่ถือกฎเก่า Subclass 457
- Subclass 190 (PR): WA, TAS, ACT
- Subclass 491 (TR): WA, TAS, ACT แล้วตามด้วย Subclass 191 (PR)
- Subclass 482 DAMA: QLD แล้วตามด้วย Subclass 186 Transional Stream DAMA (PR)

241111 Early Childhood (Pre-primary School) Teacher

241111 Early Childhood (Pre-primary School) Teacher:

- Subclass 189 (PR), เป็น choice ที่ดีที่สุด
- Subclass 190 (PR): WA, TAS, ACT, SA, NSW เป็น choice ที่รองลงมา
- Subclass 491 (TR): WA, TAS, ACT, NSW เป็น 3rd choice ที่รองลงมา แล้วตามด้วย Subclass 191 (PR)
- Subclass 407, ไม่แนะนำ
- Subclass 482
- Subclass 494, แล้วตามด้วย Subclass 191 (PR)
- Subclass 187, ได้เฉพาะคนที่ถือกฎเก่า Subclass 457
- Subclass 482 DAMA: NT, WA, VIC, SA, QLD แล้วตามด้วย Subclass 186 Transitional Stream DAMA (PR).

421111 Childcare Worker

421111 Childcare Worker:

- Subclass 187 (PR); ได้เฉพาะคนที่ถือกฎเก่า Subclass 457 เท่านั้น
- Subclass 482 DAMA: NT, WA, NSW, VIC, SA, QLD แล้วตามด้วย Subclass 186 Transitional Stream DAMA (PR)

ปัญหาคือเราจะไปอยู่เขต regional ของ DAMA ได้หรือเปล่า

ลองดูแผนที่ของ DAMA บางเขตก่อนนะครับ

ลองไปใช้ชีวิตอยู่กันนะครับ ว่าจะอยู่ได้มั้ย

134111: Child Care Centre Manager

134111: Child Care Centre Manager

Child Care Centre Manager อยู่ใน long-term list ดังนั้นสามารถขอได้หลาย subclass:
- Subclass 189 (PR)
- Subclass 190 (PR): WA, TAS, ACT, NSW
- Subclass 149 (TR): WA, TAS, ACT, NSW แล้วตามได้ Subclass 191 (PR)
- Subclass 485
- Subclass 407: ไม่แนะนำ
- Subclass 482
- Subclass 494 แล้วตามด้วย Subclass 191 (PR)
- Subclass 186 (PR)
- Subclass 187 (PR): ได้เฉพาะคนที่ถือกฎเก่า Subclass 457
- Subclass 482 DAMA: NT, WA, SA แล้วตามด้วย Subclass 186 Transitional Stream, DAMA (PR)

399411: Jeweller

399411: Jeweller

- Subclass 407: ไม่แนะนำ
- Subclass 482
- Subclass 494 แล้วตามด้วย Subclass 191 (PR)
- Subclass 187, ทำได้เฉพาะคนที่ถือกฎเก่า subclass 457
- Subclass 190 (PR): TAS, ACT
- Subclass 491: TAS, ACT แล้วตามด้วย Subclass 191 (PR)

Tuesday, August 29, 2023

Subclass 408; 8107 - Work limitation


Subclass 408; COVID Visa Stream

8107 - Work limitation คือ:

ถ้าเราถูกสปอนเซอร์หรือทำงานกับนายจ้างเจ้าใดเจ้าหนึ่ง
- เราจะต้องทำงานกับนายจ้างเจ้านั้นต่อ
- ไม่ทำงานกับนายจ้างอื่น
- ไม่เป็นนายตัวเอง (self-employed)
- ไม่ทำอะไรนอกเหนือจุดประสงค์ของวีซ่าตัวนี้ ที่ถูกออกแบบมาเพื่อช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานช่วง COVID

Monday, August 28, 2023

เก็บทุก resume

ทุก resume ที่น้อง ๆ ส่งมาให้ P' J ตรวจเพื่อทำ Subclass 482, Subclass 494, Subclass 186

P' J ไม่เคยทิ้ง

เรามีการจัดเก็บเข้าไปในระบบ
เราใช้ Chromebook และเราซื้อ GoolgeDrive เอาไว้ 
และเราซื้อ space ค่อนข้างเยอะ

ทุก ๆ resume จากปี 2016 เราไม่เคยทิ้ง
และ GoogleDrive มัน search หา files ง่ายมาก

ดีใจน้อง ๆ หลาย ๆ คนมีความพยายามและความมุ่งมั่น
บางคน email และติดต่อมาตอนนี้
พอเราไป search หาข้อมูลเก่าใน GoogleDrive 
น้องเคยติดต่อมาแล้ว น้องเคยส่ง resume มาแล้วเมื่อ 2021

ตอนนี้น้องกลับมาแล้ว กลับมาพร้อกับประสบการณ์ที่ "พร้อมทำ" เรื่องเลย

น่ารักมาก

เราเห็นความพยายามของน้อง ๆ แล้ว
บอกได้เลยครับว่ามัน heal ใจจริง ๆ 

P' J เอาใจช่วยทุก ๆ คนนะครับ

เหนื่อยได้
ท้อได้
พักได้
แต่อย่าหยุด

Saturday, August 26, 2023

One-stop shop; Chef

"สมสวย" จาก student visa ไปถึง PR

ถาม: "พี่ทำ Subclass 485 มั้ยคะ"
ตอบ: "ทำครับ แต่ subclass 485 ของหนู ต้องมี stage 1 ของ JRP ด้วยนะ"

ถาม: "พี่ทำ stage 1 ของ JRP มั้ยคะ"
ตอบ: "ทำครับ"

เมื่อมีประสบการณ์ครบ 3 ปี full-time ตอนถือ subclass 485 น้องต้องทำ Skill Assessment กับ VETASSESS

ถาม: "พี่ทำ Skill Assessemnt ของ VETASSESS มั้ยคะ"
ตอบ: "ทำครับ"

เมื่อทำ Skill Assessment เสร็จ น้องต้องทำ Subclass 186; Direct Entry (PR)

ถาม: "พี่ทำ Subclass 186; Direct Entry มั้ยคะ"
ตอบ: "ทำครับ"

ส่งจนถึงฝั่งจ๊ะ
One-stop shop ไม่ต้องย้ายไปไหน

Friday, August 25, 2023

Chef; Subclass 485

Chef; Subclass 485

1. ต้องใช้ JRP; Job Ready Program

2. แต่ใช้แค่ JRP; Stage 1 (ประหยัดตังค์)

3. JRP สามารถทำได้เลย หลังจากจบ Cert IV Commercial Cookery (Kitchen Management) ไม่ต้องรอจบ Diploma of Hospitality

Note: JRP มีทั้งหมด 4 Stages:

Stage 1: Provisional Skills Assessment

Stage 2: Job Ready Employment (JRE)

Stage 3: Job Ready Workplace Assessment (JRWA)

Stage 4: Job Ready Final Assessment (JRFA)

เป็นทุกอย่างให้เธอแล้ว

Wednesday, August 23, 2023

Subclass 482; Engineer

ได้ subclass 482; Engineering แล้ว ไม่ว่าจะ offshore หรือ onshore

- ไม่จำเป็นต้องทำงานกับนายจ้างต่อถึง 3 ปีเพื่อที่จะได้ PR เสมอไปนะครับ มันมีอีกหลาย pathway มาก:

1: ถ้ามีประสบการณ์ 3 ปี full-time ก็สามารถขอ PR ด้วย Subclass 186; Direct Entry นะครับ


2. หรือจะขอ Skilled Migrant Visa ก็ได้; Subclass 189 (PR), Subclass 190 (PR), Subclass 491 (TR แล้วตามด้วย Subclass 191: PR)


ศึกษารู้เท่าทันนะครับ
จะได้ไม่เสียเวลา

Tuesday, August 22, 2023

HIV


เวลาเราได้รับจดหมายจาก MOC (Medical Officer of CommonWealth) ว่าเรามีเชื้อ HIV ก็ไม่ต้องตกใจนะครับ

ข้อมูลในจดหมาย
การคำนวณค่าใช้จ่ายว่าเราเป็นภาระของรัฐบาล นั่น นี่ โน่น มันเป็นการคำนวณจากบุคคลคนหนึ่ง (MOC) ซึ่งเป็นใครก็ไม่รู้ ไม่มีชื่อ ไม่มีตัวตน

เราสามารถ fight และก็ argue ได้ครับ
เราสามารถขอ 2nd opinion จาก specialist ของเราได้ครับ เอาการคำนวณมาเปรียบเทียบกัน ค่าใช้จ่ายมันอาจจะไม่สูงขนาดนั้นก็ได้

เอา treatment plan ของเรามาโชว์ว่าเรามีการักษาตัวยังไง นั่น นี่ โน่น

ทุกอย่างสามารถ fight ได้ ด้วยเหตุและผล
ทุกอย่างสามารถ argue ได้ ด้วยเหตุและผล

เราทำมาแล้ว
และก็ชนะมาแล้ว

HIV is not the end of the world
โลกมันเปลี่ยนไปแล้วครับ
ยาและเทคโนโลยีสมัยนี้เขาไปถึงไหนถึงไหนแล้ว

เมื่อได้จดหมายจาก MOC ก็ไม่ต้อง panic
ตั้งสติ และ plan กันว่าจะสู้กันยังไง; 1-2-3-4

ทุกอย่างอยู่ที่ปลายปากกา
จะเขียนยังไงให้ persuasive

Friday, August 18, 2023

234511: Life Scientist (General)

234511: Life Scientist (General)

Skill Level 1 นะครับ
วุฒิการศึกษาอย่างต่ำ ป.ตรี ในสาขานั้น ๆ

Life Scientist อยู่ใน long-term list ครับ โอกาสในการขอ Skilled Migrant visa นั้นมีเยอะมาก; Subclass 189, Subclass 190, Subclass 491

วีซ่าที่สามารถขอได้:
- Subclass 189 (PR)
- Subclass 190 (PR): WA, TAS, ACT, SA
- Subclass 491 (TR): WA, TAS, ACT แล้วตามด้วย Subclass 191 (PR)
- Subclass 485
- Subclass 482
- Subclass 482 (DAMA): SA แล้วตามด้วย Subclass 186 (PR) DAMA
- Subclass 494: แล้วตามด้วย Subclass 191 (PR)
- Subclass 407: ไม่แนะนำนะครับ
- Subclass 186 (PR): ได้ทั้ง Transitional Stream และ Direct Entry
- Subclass 187 (PR): เฉพาะกฎเก่า grandfathering rule จาก Subclass 457 เท่านั้น

234611: Medical Laboratory Scientist

234611: Medical Laboratory Scientist

Skill Level 1 นะครับ
วุฒิการศึกษาอย่างต่ำ ป.ตรี ในสาขานั้น ๆ

Medical Laboratory Scientist อยู่ใน long-term list ครับ โอกาสในการขอ Skilled Migrant visa นั้นมีเยอะมาก; Subclass 189, Subclass 190, Subclass 491

Skilled Migrant Visa; อะไรที่เราขอได้ด้วยตัวเอง เราก็สบายใจที่สุด ไม่ต้องยืมจมูกคนอื่นหายใจ (P' J เองก็ได้ PR มาจาก Skilled Migrant ครับ)

วีซ่าที่สามารถขอได้:
- Subclass 189 (PR)
- Subclass 190 (PR): WA, TAS, ACT, NSW
- Subclass 491 (TR): WA, TAS, ACT แล้วตามด้วย Subclass 191 (PR)
- Subclass 485
- Subclass 482
- Subclass 482 (DAMA): NSW, SA แล้วตามด้วย Subclass 186 (PR) DAMA
- Subclass 494: แล้วตามด้วย Subclass 191 (PR)
- Subclass 407: ไม่แนะนำนะครับ
- Subclass 186 (PR): ได้ทั้ง Transitional Stream และ Direct Entry
- Subclass 187 (PR): เฉพาะกฎเก่า grandfathering rule จาก Subclass 457 เท่านั้น

311213: Medical Laboratory Technician

311213: Medical Laboratory Technician

มีโอกาสอยู่นะครับ:

- Subclass 491 (TR): WA, TAS, ACT, NSW แล้วต่อด้วย Subclass 191 (PR)
- Subclass 190 (PR): WA, TAS, ACT, NSW
- Subclass 482
- Subclass 494: 
แล้วต่อด้วย Subclass 191 (PR)
- Subclass 187 (PR): เฉพาะกฎเก่า grandfathering rule จาก Subclass 457
- Subclass 407: ไม่แนะนำนะครับ อย่าทำเลย

รวมไปถึง 3112 Medical Technicians อื่น ๆ ด้วย

Occupations:
311211 Anaesthetic Technician
311212 Cardiac Technician
311213 Medical Laboratory Technician
311214 Operating Theatre Technician
311215 Pharmacy Technician
311216 Pathology Collector / Phlebotomist
311217 Respiratory Technician
311299 Medical Technicians nec

Job description ค่อนข้างใกล้เคียงกัน ต้องมานั่งไล่ดูทีละ occupation นะครับ

วุฒิการศึกษาอย่างต่ำ Diploma นะครับ ในสาขานั้น ๆ

ศึกษารู้เท่าทัน
กฎหมายอิมมิเกรชั่น ปรึกษาคนที่มี MARN เท่านั้น

Sunday, August 13, 2023

รูดบัตรให้ลูกค้าก่อน อีกแล้วครับท่าน; 19 May 2020 - 13 Aug 2023

เราทำงานอยู่ในสายงานนี้มาค่อนข้างนานแล้ว; 2008
เมื่อเราเจอคนที่ศีลเสมอ อะไรก็เกิดขึ้นได้
เราจำได้เสมอในวันที่เราไม่มี
ณ วันนั้นมันไม่มีใครยื่นมือเข้ามาช่วยเลย 

ในวันที่เราพอจะมีอยู่บ้างเล็กน้อย ถึงจะมีไม่มาก เราก็ไม่เคยลืมที่จะแบ่งปัน ช่วยเหลือ เท่าที่กำลังเรามี มันอาจจะไม่ได้มากนัก เราก็ช่วยได้เท่าที่เราช่วยได้ แบบไม่เบียดเบียนตัวเอง

เราก็ไม่ได้ทำแบบนี้กับทุกคนนะครับ
เราก็ทำเฉพาะกับคนที่เรา feeling comfortable เท่านั้น

เมื่อเราเห็นใคร struggle อยู่บ้าง (อันนี้เราก็คิดเอง เออเองนะ เขาอาจจะไม่ได้ struggle ก็ได้) น้องไม่ได้ขอหรอก แต่จากการที่เราคุยกันทาง email มันก็พอจะสัมผัสได้ว่าน้องเองก็กำลังหมุนเงินอยู่ ชักหน้าไม่ถึงหลัง เพราะต้องเปิดร้านด้วย สองคนพี่น้องสู้ชีวิต ซึ่งเราก็ยังไม่เคยเจอตัวเป็น ๆ เลย แต่เคยทำ video call กันครั้งหนึ่ง และนอกนั้นก็เป็นโทรศัพท์คุยกัน

จริง ๆ เราก็มี face-to-face consultation ที่ต้องเจอกันนะ
แต่ตอนนั้นเราต้อง cancel เพราะเราเองต้องกลับเมืองไทยกระทันหัน ไม่อย่างนั้นแล้ว เราก็คงได้เจอกันตัวเป็น ๆ

ทุกวันนี้ก็ยังไม่เคยเจอกันตัวเป็น ๆ เลยครับ

พี่น้องคู่นี้น่ารักครับ เราทำ roadmap ชีวิตให้; 1-2-3-4 แล้วน้องก็เดินตาม roadmap ที่เราวางไว้ให้ ไม่เป๋ออกนอกข้าง

วีซ่าบางตัวมันก็ต้องมี Stage 1-2-3
แค่น้องถามว่า Stage นั้น นั่น นี่ โน่น เขาสามารถใช้บัตร credit ที่เมืองไทยรูดจ่ายได้มั้ย ซึ่งมันก็รูดได้แหละ เราก็รู้แล้วแหละว่าน้องคงต้องหมุนเงิน เพราะว่าต้องเปิดร้านกัน

เราก็เลยเสนอว่า Stage นั้น น้องก็รูดบัตรของน้องที่เมืองไทยไป
Stage นี้ เดี๋ยวพี่จะรูดบัตรของพี่ให้เอง คือเราก็ไม่ได้ช่วยทั้งหมด

ขอย้ำนะครับ ว่าน้องไม่ได้ขอนะครับ เราไม่ได้มีบริการอะไรแบบนี้ ต้องออกตัวไว้ก่อน เดี๋ยวคนมาขอให้เรารูดบัตรให้ก่อน เราคงตายพอดี

คืออันนี้น้องเค๊า consult กับเรามานานแล้ว ก่อนที่จะตัดสินใจทำเรื่องกับเรา เราถึงกล้ารูดบัตรให้น้องไปก่อน

เราก็เลยบอกน้องไปว่า เดี๋ยว Stage นี้เราจะรูดบัตรให้น้องไปก่อน ($5K)
น้องมีหมายเลขบัญชีเราอยู่แล้ว น้องสะดวกเมื่อไหร่ก็ทยอยจ่ายคืน เมื่อไหร่ก็เมื่อนั้น ไม่มีกำหนด เอาที่สะดวก

เกิดมาบนโลกใบนี้ เราไม่เคยคิดดอกเบี้ยอะไรใครนะครับ ทำไม่เป็น จ่ายคืนก็คือแค่จ่ายคืนเท่าที่เรารูดไปให้ และก็ไม่ได้กำหนดเวลาว่าต้องคืนเมื่อไหร่ อะไร ยังไง คือน้องจัดการของน้องเองเลย พร้อมเมื่อไหร่ก็โอนมา พร้อมเท่าไหร่ก็โอนมา ก็แค่นั้นเองจริง ๆ 

และเราก็ไม่เคยจดเอาไว้ด้วยซ้ำว่าน้องโอนมาเท่าไหร่แล้ว
เราบอกให้น้องจดเอาไว้เองเลย บางทีน้องก็โอน $500 บ้าง อะไร นั่น นี่ โน่น

เราไม่รู้ด้วยซ้ำว่ามันเหลืออยู่เท่าไหร่
เราก็ไม่เคยถาม ไม่เคยทวง

เรารูดบัตรให้น้อง: 19 May 2020
น้องก็ทยอยจ่ายของน้องไป เราไม่เคยถาม ไม่เคยทวง
วันนี้: 13 Aug 2022 น้อง email ว่าจ่ายครบหมดแล้ว งวดสุดท้าย

3 ปี 3 เดือน

ที่เขียนมาทั้งหมด เราไม่ต้องการ claim ว่าเราต้องเป็นคนดี นั่น นี่ โน่น นะครับ เอาจริง ๆ นะครับ ชีวิตเราเลยจุดนั้นไปแล้ว อายุปูนนี้แล้ว "21"

ชีวิตเราทุกวันนี้ เรา no สน no care แล้ว
เราไม่ต้องให้ใครมา validate ความเป็นตัวตนของเรา
คนรักก็รักไป
คนเกลียดก็เกลียดไป (มีเยอะ แต่... so what?? They don't pay my bills)

ทุกวันนี้เรารู้สึกเฉย ๆ เพราะเรามี "inner-circle" ของเรา เพราะเรามี "ทีม J" ของเรา เพราะมี "ครอบครัว J" ของเรา แค่นี้เราก็มีความสุขแล้วครับ

วันนี้เขียนอะไรไปเรื่อยเปื่อยนะครับ
เขียนไปตามใจที่มันอยากจะเขียน
เขียนรวดเดียวจบ ไม่ได้ proofread เพื่อความมีอรรถรส :)

บันทึกเอาไว้ในความทรงจำ เผื่อแก่ตัวไป วัย "22" จะได้กลับมาอ่าน

13/08/2023

Saturday, August 12, 2023

Payslip; ทำอะไรให้มันถูกต้อง


อีกหนึ่ง payslip ของทีมงาน P' J
payslip จริง
ของจริง
case จริง

payslip ของบริษัทเราไม่ใส่ตำแหน่ง เพราะไม่มีความจำเป็น


เมื่อเราเอาทุกอย่างเข้าระบบ
จ่าย superannuation ให้กับทีมงานอย่างถูกต้อง
ไม่มี "เงินทอน"


เงิน superannuation 11% สามารถทำอะไรได้เยอะครับ:
1. เก็บไว้ใช้ตอนแก่
2. ใช้ในการลงทุนได้, SMSF; Self-Managed Super Funds
3. ใช้ในการซื้อประกันชีวิต (P' J ชอบอันนี้ เพราะราคาไม่แพงมาก)

2-3 อาทิตย์ที่แล้ว P' J เขียนเรื่องการใช้เงิน supperannuation ซื้อประกันชีวิตไปแล้ว ไม่แน่ใจเหมือนกันว่าอยู่ที่ facebook page หรือ facebook ส่วนตัว (เปิดเป็น public) ลองไล่หาดูนะครับ

มันใช้ชีวิตด้วยความสบายใจมากเลยเมื่อเรามีประกันชีวิตจาก superannuation มัน sleep well at night, มัน worry free

ดังนั้นนายจ้างเองก็ต้อง play a part ด้วย
ทำอะไรให้มันถูกต้อง
แล้วจะได้ไม่ต้องบ่นกันว่าพนักงานทำงานอยู่กับตัวเองไม่นาน

แต่ถ้าเมื่อไหร่ทีมงานอยากออกไปเติบโตของเขาเอง เราก็พร้อมเป็นลมใต้ปีกให้กันและกัน

ฝากเอาไว้ให้คิด :)

Thursday, August 10, 2023

Agedcare Worker; ต่อยอดขอ PR ได้มากน้อยแค่ไหน

P' J คุยกับเพื่อนต่างชาติคนหนึ่งที่เป็น Agedcare worker ทำงานอยู่ในเมืองใหญ่เมืองหนึ่ง

Note: เพื่อนต่างชาติคนนี้ทำงานอยู่ในเมืองนะครับ ไม่ใช่เขตรอบนอก

เพื่อนบอกว่าที่ทำงานของเขาขาดคนจริง
แต่ไม่ได้ขาดมากถึงกับขนาดที่นายจ้างต้องทำเรื่องสปอนเซอร์ใคร
เพราะอยู่ในเมือง มันก็พอมีคนเข้าออกอยู่บ้าง ก็พอหมุน ๆ ทำ roster กันไป

และนายจ้างก็ไม่อยากปวดหัวเรื่อง paperwork, เขาไม่ได้ desperate ขนาดนั้น

ใครที่คิดว่านายจ้างจะทำ Labour Agreement ให้
ก็ดูเมือง ดู location ที่เราทำงานด้วยนะครับ

ถ้าเขตรอบนอกหนะไม่แน่ นายจ้างอาจจะหาพนักงานยาก
แต่เท่า ๆ ที่ได้ฟังจากเพื่อนต่างชาติ และคนรอบข้างพูดมา

บริษัทที่อยู่ในเมืองใหญ่ ๆ เขาก็ไม่ได้มีความจำเป็นที่จะต้องทำเรื่องสปอนเซอร์ใครนะครับ เขาก็ไม่ได้ desperate อะไรขนาดนั้น อาจจะแตกต่างจากเมืองที่อยู่รอบนอก

วีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ ไม่ว่า Labour Agreement Stream หรือไม่ Labour Agreement Stream บอกเลยว่าอะไรที่เราต้องยืมจมุกคนอื่นหายใจหนะ ยากเสมอ...

ก่อนที่ลงเรียน course อะไร คิดก่อนเสมอว่ามันสามารถต่อยอดอะไรได้มากน้อยแค่ไหน

เราชอบเรียนหรือเปล่า
OK มันอาจจะช่วยให้ทำหางานทำได้ง่ายขึ้น แต่เรื่องต่อยอดไป PR นั้น มันคนละเรื่องกัน

มองให้รอบ ๆ ด้านหน่อยก็ดีเหมือนกันนะครับ

ฝากเอาไว้ให้คิด

ทำงานเป็น Subcontractor ใช้ ABN


เมื่อเราทำงานเป็น ทำงานเป็น Subcontractor ใช้ ABN; Australian Business Number

ไม่ว่าจะเป็น Massage Therapist, ช่างทาสี หรืออาชีพอื่น ๆ 

ถ้าจะขอวีซ่าทำงานที่มีนายจ้างสปอนเซอร์ ไม่ว่าจะ Subclass 482, Subclass 494 หรือ Subclass 186; Direct Entry

เอกสารที่ต้องใช้คือ:
1. Invoice ที่เราออกให้นายจ้างทุก ๆ week (อันนี้ optional นะครับ สำหรับการขอวีซ่า แต่ยื่นไปก็ไม่เสียหาย)
2. Personal tax return
3. จดหมายรับรองจากนายจ้างว่าเราทำงานที่นั่นจริง จากวันที่เท่าไหร่ - ถึงวันที่เท่าไหร่

แต่ถ้าจะทำ Skill Assessment เอกสารก็จะมีมากกว่าการขอวีซ่านะครับ

เอกสารที่ต้องใช้คือ:
1. Invoice ที่เราออกให้นายจ้างทุก ๆ week
2. Personal tax return
3. จดหมายรับรองจากนายจ้างว่าเราทำงานที่นั่นจริง จากวันที่เท่าไหร่ - ถึงวันที่เท่าไหร่
4. bank statement ที่เราได้รับค่าแรง, highlight มาเลยว่าอันไหนคือค่าแรงที่เราได้รับ

Note: 
1. Subclass 482 ทำ Skill Assessment เฉพาะบางสาขาอาชีพเท่านั้น

 2. Subclass 494 ต้องทำ Skill Assessment ทุกสาขาอาชีพ

3. Subclass 186; Direct Entry สาขาบางอาชีพได้รับการยกเว้น

Copyright: ถ้าจะแชร์ให้แชร์จากต้นโพสต์เท่านั้น, ไม่ copy & paste, ไม่ screen capture

Sunday, August 6, 2023

ทำความเข้าใจกับ Payslip กัน


บริษัทเราปฏิเสธไม่ทำเรื่อง Skill Assessment ให้กับหลาย ๆ คนที่ติดต่อเข้ามา เพราะมีปัญหาเรื่อง payslip กัน

OK, โพสต์นี้อาจจะเกี่ยวหรือไม่เกี่ยวกับ Skill Assessment เราไม่รู้ แต่เอาเป็นว่า เรามาทำความรู้จักและเข้าใจการอ่าน payslip กันหน่อยดีกว่า

อันนี้คือ payslip จริง
case จริง ของพนักงาน P' J นะครับ

ที่บริษัทเรา เราจ่ายค่าแรงพนักงานทุก ๆ week
บางที่จ่ายทุก ๆ 2 weeks ก็ไม่ผิดนะครับ
แต่ทุกครั้งที่จ่ายค่าแรงให้กับพนักงาน
พนักงานจะต้องได้รับ payslip ครับ

นายจ้างจะบอกว่าตอนนี้ ATO ใช้ระบบ Single Touch Pay และ link ข้อมูลทุกอย่างเข้ากับ ATO แล้ว ก็เลยไม่มี payslip อันนั้นถูกแค่ครึ่งเดียวครับ

เพราะระบบ Single Toch Pay มันจะส่งแค่ผลรวมของรายได้ต่อปีของพนักงานเข้ากับ ATO

มันไม่ได้แยกออกมาเป็น week-by-week ซะหน่อย
แล้วพนักงานจะรู้ได้ยังไงว่า week นี้เขาโดนหักภาษีไปเท่าไหร่ week นี้เขาควรจะได้รับเงิน supperannuation เท่าไหร่

ถ้าไม่มี payslip พนักงานก็ไม่มีข้อมูลตรงจุดนี้ครับ
ซึ่งเราคิดว่ามันไม่แฟร์กับพนักงาน

และ payslip มันก็แค่กดปุ่มส่ง email ในระบบ XERO, Quickbooks หรือ MYOB แค่นั้นเอง

เอาจริง ๆ นะครับ มันไม่ได้ยากเลย!!!!
P' J เป็นคน generates payslip ให้กับทีมงานทุก ๆ week เอง
ก็ไม่เห็นมีปัญหาอะไร

ข้ออ้างไม่ต้องเยอะ

ไม่ว่าองค์กรจะน้อยหรือใหญ่ เรื่องพวกนี้ต้องไม่มีข้ออ้างนะครับ ใจเขาใจเรา ทำอะไรให้มันถูกต้องแล้วชีวิตจะง่าย


เดี๋ยวเรามาดู payslip ของพนักงานคนนี้กันนะครับ
เป็น payslip จริง 
case จริง, ทีมงานของ P' J เอง

1. ค่าแรงของ week นี้ $3,300
2. โดนหักภาษีไป $1,331 (ระบบ XERO, Quickbooks หรือ MYOB จะคำนวณให้เอง)
3. รายได้ที่เขาได้รับ หลังจากหักภาษีแล้ว: $1,969 (net pay)
4. 11% supperannuation on top ของค่าแรง: $363

สิ่งที่ควรรู้คือ:

1. ที่โดนหักภาษีไป $1,331 เงินตรงนี้ไม่ได้หายไปไหนนะครับ คือนายจ้างจะต้องจ่าย $1,331 ภาษีล่วงหน้าเข้าไปที่ ATO แทนพนักงาน พอสิ้นปี วันที่ 30 June ของทุก ๆ ปี ระบบของ ATO ก็จะคำนวณเองว่าภาษีที่นายจ้างหักจ่ายให้กับพนักงานไปล่วงหน้าทุก ๆ week นั้น มันเยอะหรือน้อยเกินไปหรือเปล่า ถ้าเยอะเกิน พนักงานก็ทำเรื่อง claim คืนกลับมา ก็แค่นั้นเอง มันก็คือเงินของพนักงานแหละ ถ้าน้อยเกิน พนักงานก็ต้องจ่ายภาษีเพิ่มให้กับ ATO แค่นั้นเอง มันง่ายแค่นี้เองจริง ๆ ครับ อย่าซิกแซ็กให้ซับซ้อน

2. 11% superannuation อันนี้คือเงินสะสมของพนักงานที่นายจ้างต้องจ่าย ก็น่าจะเหมือนเงินประกันสังคมที่เมืองไทยหรือเปล่า เราไม่แน่ใจ หลาย ๆ ประเทศมีชื่อเรียกที่แตกต่างกันออกไป ที่สิงคโปร์ก็เรียกว่า CPF (Central Provident Fund) เงิน 11% supperannation ตรงนี้นะครับ นายจ้างต้องจ่าย on top ของค่าแรงนะครับ ไม่ใช่ไปหักออกจากค่าแรงของพนักงาน ดังนั้นบริษัทเราเองก็ต้องจ่ายเงิน supperannuation $363 อาทิตย์นี้ 

อาทิตย์หนึ่ง ๆ บริษัทเราจ่าย superannuation ให้กับทีมงานค่อนข้างเยอะครับ แต่มันสบายใจมากบอกเลย ใจเขาใจเรา คนทำงานเขาก็อยากได้อะไรที่มันถูกต้อง ที่มันโปร่งใส ที่มันตรวจสอบได้

และที่สำคัญพนักงานก็สามารถใช้เงินใน supperannation ซื้อประกันชีวิตได้ครับ เราได้โพสต์เรื่องนี้ไปแล้ว

ทุกคนที่ทำงาน ต้องมี payslip นะครับ
ยิ่งต้องต่อยอดชีวิตในการทำวีซ่าอะไรต่าง ๆ แล้ว ทุกอย่างต้องเข้าระบบ แล้วชีวิตจะง่าย

หลังจากนั้นนะครับ จะซื้อบ้าน จะกู้เงินอะไร มันก็ง่ายไปหมด

เรื่อง payslip, เรื่องการเสียภาษี กรุณาติดต่อ accountant นะครับ เราแค่ให้ข้อมูลเบื้องต้น เพราะเราเห็นลูกค้าเราหลาย ๆ คนที่จะทำวีซ่า หรือจะทำ Skill Assessment มีปัญหาเรื่องนี้กันเหลือเกิน เห็นแล้วปวดใจแทน

ฝากเอาไว้ให้คิดนะครับ

ชีวิตต้องง่าย 
ถ้าไม่ง่ายแสดงว่าไม่ใช่

Tuesday, August 1, 2023

Partner Visa: เมื่อเลิกกันกับแฟนเก่า

ถ้าไม่อยากให้แฟนเก่าเห็นว่าเรา submit อะไรเข้าไปบ้างใน ImmiAccount:

1. เราสร้าง ImmiAccount ของเราขึ้นมาใหม่

2. เรา share online application ของเราจาก ImmiAccount อันเดิมไป ImmiAccount อันใหม่

3. ตอนที่เรากด share, ระบบจะถามว่าให้ remove online application ออกจาก ImmiAccount อันเก่าหรือเปล่า ก็แค่ tick ว่าให้ remove

แค่นั้นจ๊ะ

สร้างความร้าวฉานคืองานของ J หรือเปล่า